ข้อ ใด กล่าว ถูก ต้อง เกี่ยว กับ ศิลาจารึกหลักที่ 1


�Ԫ������� (���ʷ4513) �дѺ �Ѹ���֡�һշ�� 5
����ͧ ���Ҩ��ؾ�͢ع������˧ �ӹǹ 5 ���
�� �.�ؾ�� ���ѡ��� �ç���¹�ѹ�������
��������͡�ӵͺ���١��ͧ����ش
��ͷ�� 1)
����Ҩ��֡����ͧ������������
   �ѡɳТͧ���Ҩ��֡
   ����ѵ��˵ء�ó��Ӥѭ
   ����Ҫ����ѵԢͧ��͢ع������˧
   ����Ҫ�ó�¡Ԩ�ͧ��͢ع������˧
��ͷ�� 2)
����ͧ " ���Ҩ��֡��͢ع������˧ " �դس���㹡���֡�Ҵ�ҹ��Ӥѭ����ش
   ��ҹ�Ѱ��ʵ��
   ��ҹ�ѧ���Է��
   ��ҹ���ɰ��ʵ��
   ��ҹ�ѡ����ʵ��
��ͷ�� 3)
���Ҩ��֡��͢ع������˧ ����ö����ѡ�ҹ㹴�ҹ��Ӥѭ����ش
   ��ó���
   �ѧ���Է��
   ��ҹ�Ե���ʵ��
   ����ѵ���ʵ��
��ͷ�� 4)
"������ҡ�����ҡ��ҹ�ѹ㴡Թ����´� ����������͡�" �ҡ���������з�͹�����繤�ҹ�����ҹ�
   �����ѡ
   ������ѹ
   ������ѭ��
   �������֡�ͺ
��ͷ�� 5)
" �ٺ�˹ա٢���ҧມ�� �٢Ѻ��ҡ�͹��͡�" ��ͤ�������з�͹�з�͹����з�͹����������
   �����ѡ
   ����ʹ��
   ������ѭ��
   ���������ҭ

ประวัติความเป็นมา

            เมื่อราชวงศ์สุโขทัยได้สูญเสียอำนาจและกลายเป็นเมืองร้าง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ที่จารึกในยุคนั้นก็สาบสูญ ไปจากความทรงจำของชาวไทย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรง พระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาสได้เสด็จธุดงค์เมืองเหนือ (ปีมะเส็ง เญจศก จุลศักราช ๑๑๙๓) ในระหว่างประทับอยู่ที่สุโขทัยได้ทรงพบศิลาจารึก และพระแท่นมนังศิลา ณ บริเวณเนินประสาทพระราชวังเก่าสุโขทัย ครั้นเมื่อจะเสด็จกลับก็โปรดเกล้าฯ ให้นำพระแท่น มนังคศิลา และศิลาจารึกกลับมาไว้ที่วัดสมอราย(ราชาธิวาส) ที่กรุงเทพฯ แล้วย้ายมาไว้ ที่วัดบวรนิเวศ เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้โปรดให้นำมาไว้ที่วิหารขาว วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้นำศิลาจารึกนี้ไปรวมกับศิลาจารึกอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ปัจจุบันนี้ อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ผู้แต่ง

            มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลายท่าน และผู้ที่มีบทบาท สำคัญก็คือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้าน ภาษาตะวันออก ได้ศึกษาศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และได้จัดทำคำอ่านไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ และผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาโบราณ อีกหลายคน ได้ศึกษาการอ่านคำจารึก และการตีความถ้อยคำในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ศึกษาคำอ่านทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นจากการสันนิษฐาน ผู้แต่งอาจมีมากกว่า ๑ คน เพราะเนื้อเรื่อง ในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น ๓ ตอน คือ

        ตอนที่ 1 กล่าวถึง พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ใช้คำแทนชื่อว่า "กู" เข้าใจว่า พ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์เอง 

      ตอนที่ ๒ เป็นการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ใช้คำว่าพ่อขุนรามคำแหง โดยเริ่มต้นว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี" จึงเข้าใจว่าจะต้อง เป็นผู้อื่นแต่ง เพิ่มเติมภายหลัง 

        ตอนที่ ๓ เป็นตอนยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง โดยเริ่มต้นว่า "พ่อขุนรามคำแหง นั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย" ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าความ ในตอนที่ ๓ คงจารึกหลังตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ จึงเข้าใจว่าผู้อื่นแต่งต่อในภายหลัง

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

            ๑. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เช่น หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนชี้แจงอาณาเขตของกรุงสุโข

            ๒. เพื่อสดุดีพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง

ลักษณะการแต่ง

            แต่เป็นร้อยแก้ว ลักษณะเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด และมีสัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรคบ้าง

เนื้อเรื่อง

            เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ

        ตอนที่ ๑ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติ จนถึงเสด็จขึ้ครองราชย์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดา พระราชมารดา และพระเชษฐา

ตัวอย่างข้อความ

"พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตรียมแต่ยังเล็ก"

"เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเราแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลากูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู"

        ตอนที่ ๒ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ จนถึงด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๑ กล่าวถึงสภาพบ้านเมือง เหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ พระศาสนา การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖

ตัวอย่างข้อความ

"เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจัดใคร่ค้าเงินค้าทองค้าไพร่ฟ้าหน้าใส"

"คนเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน"

        ตอนที่ ๓ตั้งแต่ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒ จนถึงบรรทัดที่ ๒๗ (บรรทัดสุดท้าย) เป็นการยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัย         ตัวอย่างข้อความ

"ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อย มีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม"

คุณค่า

            ๑. ด้านภาษา จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย เช่น กล่าวถึงหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย ด้านสำนวนการใช้ถ้อยคำในการเรียบเรียงจะเห็นว่า - ถ้อยคำส่วนมากเป้นคำพยางค์เดียวและเป็นคำไทยแท้ เช่น อ้าง โสง นาง เป็นต้น - มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตปนอยู่บ้าง เช่น ศรีอินทราทิตย์ ตรีบูร อรัญญิก ศรัทธา พรรษา เป็นต้น - ใช้ประโยคสั้น ๆ ให้ความหมายกระชับ เช่น แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง - ข้อความบางตอนใช้คำซ้ำ เช่น "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ - นิยมคำคล้องจองในภาษาพูด ทำให้เกิดความไพเราะ เช่น "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบเอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" - ใช้ภาษาที่เป็นถ้อยคำพื้น ๆ เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน

            ๒. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย

            ๓. ด้านสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย ว่ามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด

            ๔. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวสุโขทัยที่ปฏิสืบมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การเคารพบูชาและเลี้ยงดูบิดามารดา นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงประเพณีทางศาสนา เช่น การทอดกฐินเมื่อออกพรรษา ประเพณีการเล่นรื่นเริงมีการจุดเทียนเล่นไฟ พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้ราษฎรทำบุญและฟังเทศน์ในวันพระ เช่น "คนเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน.......ฝูงท่วยมีศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"

วิดีโอ

วิดีโอ YouTube

อ้างอิง

//www.youtube.com/watch?v=VJlPzan0FpE

//www.ebook.mtk.ac.th/main/forum_posts.asp?TID=803

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ