หลักธรรมในข้อใดที่ส่งเสริมให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข *

Authors

  • วิเชียร แสนมี สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

หลักพุทธธรรม, สันติภาพ, Buddhist Principles, Peacefull Co-Existence

Abstract

การวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ภิปรายผลเกี่ยวกับคุณค่าความหมายและความสำคัญของคำว่า สันติภาพ ในหลักการดำเนินชีวิตทั้งในทางศาสนาและวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสันติภาพและหลักอหิงสา (การไม่เบียดเบียน รุนแรงต่อกันและกัน) ในหลักพระพุทธศาสนา และ 3) แนวความคิดสันติภาพ ตามหลักพุทธธรรม ที่เกี่ยวข้องกับสังคม แหล่งที่มาหลักของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พระไตรปิฏก อรรถกถาหมวดธรรมต่างๆ และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่นงานวิจัยหนังสือและผลงานทางวิชาการ ฉะนั้น สันติภาพคือจุดประสงค์หลักของการอภิปรายในแนวความคิดตามหลักพุทธธรรมด้วยเหตุนี้ คำว่าสันติภาพนั้นไม่เพียงแต่หมายถึงภายนอกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงภายในจิตใจของมนุษย์ด้วย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า จิตสงบพบสุข พุทธปรัชญาสังคมที่คิดเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติของชีวิตที่ดีนั้น จะกล่าวถึงการมีชีวิตที่กลมกลืนเอื้อเฟื้อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ธรรมและวินัยไว้เป็นเนืองๆ ในที่ทุกสถานที่เสด็จไป หลักคำสอนของพระองค์นั้นจึงก่อให้เกิดสันติสุขภายในสงบสุขส่งผลให้ชีวิตมีความรักความสามัคคีซึ่งกันและกันและผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือฆราวาสที่ปฏิบัติหน้าที่ในสังคมจำต้องทำให้เกิดความสงบสุขและพึงมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และส่งเสริมอารยธรรมโลกด้วย จิตใจเป็นบ่อเกิดทั้งสงครามและสันติสุข ทั้งนรกและสวรรค์ หรือแม้แต่ความสุขและความทุกข์ยาก หรือแม้แต่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เกิดมาจากภายในจิตใจ สงครามเป็นความชั่วร้ายทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นจากความชั่วร้ายหรือความไม่ดีของจิตใจมนุษย์ และความสงบสุขอันเป็นสิ่งที่ดีหรือเรียกว่า คุณธรรม ก็ล้วนมามาจากจิตใจที่ดีของมนุษย์ ดังนั้นพระพุทธศาสนานั้น ถือใจเป็นสำคัญที่สุด ถือว่าใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ เป็นบ่อเกิดทั้งความรุนแรงและความสงบสุขทั้งมวล

Abstract

            The objectives of this research were 1) to discuss the meaning and significance of peace in religious and cultural life of the people of this mundane world, and 2) to discuss the concepts of peace in the Buddha’s teaching, relevant to the society. The main sources of this study were Tripiṭaka, Exegesis, Tika and other related sources such as research papers, books and academic works. While talking about Buddhism, peace is the central aim of the conceptual discussion. It does not only mean for outside, but also inside or in other words the peace of mind. A Buddhist social philosophy which thinks about the practice of the good life is said to consist in harmonious living with one’s fellow beings. Buddha’s tenet teaches two disciples at several places and time, the doctrine, which gives inward peace, resulting in harmonious living. The monk or layman whoever discharges their duties in the society, shall cause peace to the other fellow person. Mind is the source of war and peace, hell and heaven and happiness and misery. Even Nibbāna is to be found in the mind. War as a social evil is created from the evil or unwholesome mind and peace belong to good or virtue come from the wholesome mind. So, Buddhist accepts mind as the source of all violence and peace. 

Downloads

Download data is not yet available.

Issue

Section

บทความวิชาการ

สังคหวัตถุ 4 

หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

สังคหวัตถุ 4 : หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

        ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า การที่เรามาอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงได้ให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขคือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 ข้อ ได้แก่ ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  และ สมานัตตา โดยมีรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้

ทานในที่นี้มี 2 ประการก็คือ ทานที่ให้เป็นบุญ และทานที่ให้เป็นคุณ

     1.ทาน คือการให้เราจะเห็นว่าหลักธรรมหลายข้อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะขึ้นต้นด้วย “ทาน” เพราะเราทุกคนล้วนมีกิเลส ซึ่งกิเลสตัวแรกที่มักจะเจอคือ ความอยากได้ เมื่ออยากได้ก็เกิดความไม่อยากให้ ดังนั้น ทานจึงมักอยู่เป็นข้อเบื้องต้นในหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่ร่วมกัน ทานในที่นี้มี 2 ประการก็คือ ทานที่ให้เป็นบุญ และทานที่ให้เป็นคุณ

                ทานที่ให้เป็นบุญ ได้แก่ การสร้างกุศล บำเพ็ญบุญทั้งหลาย เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น

                ทานที่ให้เป็นคุณ ได้แก่ การให้สิ่งของการให้ของขวัญ เป็นต้น

        ในเรื่องของบุญกุศล ถ้าเป็นการทอดกฐินถือเป็นการให้แบบ จาคะ แต่ถ้าความมุ่งหมายแบบสังคหวัตถุ 4 เรามุ่งที่การให้แบบที่ 2 คือให้เพื่อเป็นคุณ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มักขาดแคลน เมื่อเราไปช่วยเขา ก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันขึ้นม

พูดแต่เรื่องที่ดี สิ่งที่ดี เบิกบานใจ

        2. ปิยวาจา การพูดวาจาที่ไพเราะ ฟังแล้วเกิดความชื่นใจ เบิกบานใจ เช่นเราศึกษาธรรมะได้ข้อคิดดีๆ ก็นำสิ่งเหล่านี้ไปบอกคนที่เรารัก คนที่เรารู้จัก เป็นต้น สิ่งที่เราจะพูดนั้นต้องเป็นเรื่องจริง เป็นคำสุภาพ ไพเราะนิ่มนวล พูดออกไปแล้วเกิดประโยชน์ เวลาพูดก็ต้องพูดด้วยจิตที่มีเมตตา เช่นว่า ถ้าเราจะไปตักเตือนใคร เราก็เลือกคำอย่างดีไปบอกเขาไปบอกด้วยจิตที่เมตตาหวังดีต่อเขา  เช่นเดียวกัน เมื่อเขามาบอกหรือตักเตือนเรา เราก็ต้องทบทวนว่าเขาอยากบอกอะไรกับเรา และหากเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่เราต้องปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นเราก็ควรไปขอบคุณเขา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า บุคคลที่มาแนะนำเราสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่เรา เมื่อเห็นเราผิดพลาด เรียกว่า “ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้”

และสิ่งสุดท้ายที่ต้องพิจารณาในการพูดคือ ต้องเลือกเวลาในการพูด พูดให้ถูกกาลเทศะด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น เวลาที่ผู้ฟังกำลังอารมณ์ไม่ดี หรือกำลังยุ่งนั้น เราก็ต้องเลือกคำให้ดีที่สุด

บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

        3. อัตถจริยา คือทำตนให้เป็นประโยชน์ บางครั้งในการทำงานอาจขาดกำลังแต่ถ้าเราช่วยกันงานที่ว่ายากก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ถ้าเราร่วมมือกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราเกิดรักความผูกพันชองบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม ในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์มี 2 ประการ คือ ต้องทำตัวเราให้เป็นคนดี มีประโยชน์เสียก่อน และสร้างประโยชน์ให้คนอื่นรอบข้าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสบุคคลไว้ 3 ประเภทคือ

1.อัตถจารีย์ ผู้ที่สร้างประโยชน์ ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน บุคคลแบบนี้น่ายกย่อง น่าสรรเสริญ

2.โมฆะบุรุษ บุรุษผู้ว่างเปล่า ไม่เอาอะไรเลย เฉยๆ ไม่ทำทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์

3.อนัตถัตจารีย์ ผู้ทำสิ่งไม่ใช้ประโยชน์ ถ้าเป็นเรื่องไม่ดี พวกนี้ชอบทำ การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เราต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่แล้งน้ำใจจึงจะเกิดความสุขได้ในสังคมนั้นๆ

        4. สมานัตตตา การวางตนให้พอดีในหน้าที่ของตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คือ วางตนให้เหมาะสมว่าตอนนี้เราอยู่ในฐานะอะไร เช่น พ่อก็มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก แม่ก็มีหน้าที่ดูแลบ้านดูแลครอบครัว ลูกเองก็มีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน และเมื่อเราทำงาน ถ้ามีใครไม่ทำตามหน้าที่แล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเรื่องการก้าวก่ายหน้าที่กันตามมา จนอาจส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตขึ้นได้ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้การวางตนให้เหมาะสม จะช่วยให้ไม่ต้องระวาดระแวงในการทำหน้าที่ของตน ซึ่งจะส่งผลให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ

        กล่าวโดยสรุป สังคหวัตถุ 4 คือ หลักธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ซึ่งได้แก่ ทาน คือการให้ ทั้งทานที่ให้เป็นบุญ และทานที่ให้เป็นคุณ ปิยวาจา คือการพูดวาจาที่ไพเราะ ฟังแล้วเกิดความชื่นใจ อัตถจริยา คือทำตนให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม สมานัตตตา คือวางตนให้เหมาะสมว่าตอนนี้เราอยู่ในฐานะใด หลักธรรม 4 ประการนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้คนในสังคมให้อยู่กันอย่างสันติสืบต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ