เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ขุดคลองรอบกรุง

                7.) สร้างสนามแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ.2541 จังหวัดนนทบุรีได้รับมอบหมายให้สร้างสนามกีฬาจัดการแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่หมู่บ้านเมืองทองธานี ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด แข่งขันกีฬาหลายประเภท ได้แก่ มวยสากลสมัครเล่น เทนนิส สนุกเกอร์ แบดมินตัน และยิมนาสติก

เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงนั้น การก่อสร้างต่างก็ค่อยๆ เริ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพระบรมมหาราชวัง, ประตูและป้อมปราการของพระราชวัง, กำแพงพระนคร ฯลฯ  บรรดาฝีมือช่างและแรงงานต่างๆ ก็มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งในจำนวนนั้น มีเขมร (จาม) และลาว ที่เข้ามาทำงาน และตั้งรกรากอยู่มาในชั้นลูกหลาน

ซึ่ง สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนอธิบายไว้ในกรุงเทพฯ มาจากไหน ว่า

งานก่อสร้างพระนครเริ่มจริงๆ เมื่อ พ.ศ. 2326 พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์จดว่า โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองสักเลกไพร่หลวงสมกําลังและเลกหัวเมืองทั้งปวง แล้วให้เกณฑ์ทําอิฐขึ้นใหม่บ้าง ให้ไปรื้ออิฐกําแพงเมืองกรุงเก่าบ้าง ลงมือก่อสร้างพระนคร ทั้งพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคล

โปรดให้รื้อป้อมวิชเยนทร์และกําแพงเมืองธนบุรีฟากตะวันออกตรงที่เรียกว่าคลองคูเมืองเดิมออก ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเก่า (ถึงตรงที่เป็นคลองบางลําพูปัจจุบัน)

เกณฑ์เขมรเข้ามาขุดคลองคูพระนครด้านตะวันออก ตั้งแต่วัดบางลําพู หรือวัดสังเวชไปออกแม่น้ำข้างใต้ที่วัดเชิงเลนหรือวัดบพิตรพิมุข แล้วพระราชทานชื่อว่าคลองรอบกรุง

ขุดคลองเชื่อมคลองรอบกรุงกับคลองคูเมืองเดิม 2 คลอง คลองหนึ่งคือคลองข้างวัดราชบพิธ อีกคลองหนึ่งข้างวัดราชนัดดากับวัดเทพธิดา ทำสะพานช้างและสะพานน้อยข้ามคลองภายในพระนครหลายตําบล

ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแก ปัจจุบันคือวัดสระเกศ พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เป็นที่สําหรับประชาชนชาวพระนครจะได้ลงเรือไปประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาเก่า

เขมรที่ถูกเกณฑ์มีหลายพวก แต่พวกหนึ่งเป็นจามที่เข้ารีตอิสลามอยู่ในเมืองเขมร เมื่อขุดคลองคูเมืองและคลองมหานาคแล้ว ก็โปรดให้ตั้งบ้านสองฝั่งคลองสืบมาถึงทุกวันนี้ เรียกบ้านครัว หมายถึงถูกกวาดต้อน มาทั้งครอบครัว เลยเรียกยกครัว กลายเป็นบ้านครัวในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังโปรดให้เกณฑ์ลาว (คืออีสานทุกวันนี้) เมืองเวียงจัน ตลอดจนหัวเมืองลาวริมแม่น้ำโขงฟากตะวันตก เข้ามาขุดรากก่อกําแพงพระนคร และสร้างป้อมเป็นระยะๆ รอบพระนคร

ลาวที่ถูกเกณฑ์ทั้งหมดนี้ไม่ได้กลับถิ่นเดิมเพราะการสร้างบ้านแปลงเมืองไม่ได้เสร็จในคราวเดียว หากทําต่อเนื่องหลายรัชกาล พวกที่เกณฑ์มาจึงตั้งหลักแหล่งกระจายทั่วไปตามแต่นายงานจะสั่งให้อยู่ตรงไหน ทํางานที่ไหน ที่สุดแล้วก็สืบโคตรตระกูลลูกหลานตั้งหลักแหล่งถาวรอยู่ในบางกอกกลาย เป็นคนกรุงเทพฯ

ในเอกสารเก่าบอกว่าพระนครเมื่อแรกสร้างมีกําแพงพระนครและคูพระนครยาว 175 เส้นเศษ (7 กิโลเมตรเศษ) มีเนื้อที่ในกําแพงพระนคร 2,163 ไร่ กําแพงสูงประมาณ 7 ศอก (3.60 เมตร) หนาประมาณ 5 ศอก (2.70 เมตร) มีประตู 63 ประตู เป็นประตูใหญ่ กว้างประมาณ 8 ศอก (4.20 เมตร) สูงประมาณ 9 ศอก (4.50 เมตร) 16 ประตู เป็นประตูช่องกุด (ประตูเล็ก) กว้างประมาณ 5 ศอก (2.70 เมตร) สูงประมาณ 4 ศอกคืบ (2.40 เมตร) 47 ประตู มีป้อม 14 ป้อม

ทุกวันนี้เหลือซากอยู่สองป้อม คือป้อมพระสุเมรุกับป้อมมหากาฬ

นอกจากนั้นยังมีประตูเข้าออกอยู่ระหว่างป้อม เช่น ประตูสามยอด เป็นประตูใหญ่มีสามยอด กับประตูเล็กเรียกประตูช่องกุดเป็นระยะๆ แล้ว ยังมีประตูผีเป็นช่องขนศพจากในเมืองไปเผานอกเมืองด้วย

กําแพงพระนครด้านแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นวังหลวงกับวังหน้าจะใช้กําแพงวังเป็นกําแพงป้องกันพระนครเช่นเดียวกับพระนครศรีอยุธยา

ในเวลาเมื่อทําการสร้างกําแพงพระนครนั้น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์จดว่า จะสร้างสะพานช้างข้ามคลองรอบกรุง แต่พระผู้ใหญ่สมัยนั้นถวายพระพรทักท้วงว่าจะเป็นอันตรายต่อพระนคร เลยให้งดไว้ไม่สร้าง ดังนี้

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!!

ในบทความเรื่อง คลองกับระบบเศรษฐกิจของไทย พ.ศ. 2367-2453 ของ กิตติ ตันไทย ได้อธิบายถึงการขุดคลองในเมืองไทยในอดีตว่ามีวัตถุประสงค์แท้จริงเพื่ออะไร รวมทั้งอธิบายถึงเมื่อขุดคลองแล้วผลประโยชน์ที่แท้จริงเกิดขึ้นกับผู้ขุดคลองหรือราษฎรในท้องถิ่นนั้นๆ หรือไม่อย่างไร

นอกจากนี้ บทความได้พาไปทำความเข้าใจเกี่ยวระบบกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตที่เกิดขึ้นจากคลอง รวมทั้งเข้าใจถึงการขยายตัวของผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการขุดคลองด้วย ซึ่งบทความดังกล่าวนี้ได้ตอบโต้ “ทฤษฎีสังคมพลังน้ำ” (hydraulic society) ของ วิตโฟเกล (wittfogel) ที่อธิบายว่าสังคมของเอเชียเป็นสังคมพลังน้ำ โดยที่ราษฎรเพาะปลูกโดยอาศัยการชลประทานเป็นสำคัญ แต่ กิตติ ตันไทย มองว่าไม่รัดกุมมากพอ เพราะละเลยหลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงได้อธิบายความสำคัญของคลองของแต่ยุคสมัยในประวัติศาสตร์ดังนี้

คลองขุดสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ พบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อการคมนาคม อาจจะมีการขุดคลองเพื่อยุทธศาสตร์บ้างตามสถานการณ์ความจำเป็น ส่วนการขุดคลองเพื่อเพาะปลูกมีแค่วงแคบๆ ซึ่งพบว่าคลองในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ “คลองภายในเมือง”, “คลองลัด” และ “คลองเชื่อม” โดยที่ คลองภายในเมือง ขุดขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกรุกรานโดยเป็นแนวกันทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันข้าศึก อย่างเช่น การขุด “คลองขื่อหน้า” ในสมัยอยุธยาเพื่อให้มีแม่น้ำล้อมรอบตัวเมืองทุกด้าน เป็นต้น หรือ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้ขุดคลองหลอด เพื่อป้องกันข้าศึก แต่ในขณะเดียวกันก็เพื่อการคมนาคมสะดวกมากยิ่งขึ้น

คลองลัด มีจุดประสงค์ในการขุดเพื่อย่นระยะทางคมนาคมให้สั้นลง เพื่อที่ให้ราษฎรไปมาได้สะดวกรวดเร็วในการประกอบอาชีพ อย่างเช่น คลองบางกอกใหญ่ (พ.ศ. 2065) เป็นต้น

คลองเชื่อมแม่น้ำ เป็นการขุดเพื่อการคมนาคมมากกว่าเพราะปลูก เพราะรัฐบาลห้ามขายข้าวออกนอกประเทศ ทำให้รัฐบาลและชาวนาขาดแรงกระตุ้นในการเพิ่มผลผลิตข้าว อย่างเช่น คลองสุนัขหอน คลองบางขุนเทียน เป็นต้น

คลองขุดสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวโดยทั่วไปแล้ว คลองขุดสมัยนี้ส่วนใหญ่ขุดเพื่อการคมนาคมและการค้าขายเป็นสำคัญ เห็นได้ชัดหลังจากที่ไทยทำสัญญาบาวริ่ง ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก โดยเฉพาะการค้าอ้อยและน้ำตาล อย่างเช่น การขุดคลองภาษีเจริญ (พ.ศ. 2410) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน ทำให้การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ กับราชบุรี และสมุทรสาครสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งยังเกื้อหนุนการขนส่งอ้อยและน้ำตาลอีกด้วย

คลองขุดสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวโดยทั่วไปแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นการขุดคลองเพื่อคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าชลประทาน กล่าวคือ เมื่อภาวะการค้าน้ำตาลเสื่อมลงในปลายปี 2410 และข้าวเริ่มมามีบทบาทกลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้หลักให้แก่ประเทศ ภาวะดังกล่าวทำให้แนวคิดในการขุดคลองเพื่อการคมนาคมและการเกษตรควบคู่กันไป ซึ่งคลองในสมัยรัชกาลที่ 5 อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ “คลองที่รัฐบาลขุด”, “คลองที่บริษัทคลองคูนาสยามขุด” และ “คลองที่เอกชนขุด”

คลองที่รัฐบาลขุด มีการขุดคลองถึง 8 คลอง เช่น คลองเปรมประชากร (พ.ศ. 2421) ขุดเพื่อย่นระยะคมนาคมระหว่างอยุธยากับกรุงเทพฯ และขยายพื้นที่การเพาะปลูกพร้อมกันด้วย รวมทั้งสมัยนี้ได้มีพระราชบัญญัติประกาศขุดคลอง พ.ศ. 2420 ที่กำหนดว่า ราษฎรที่ต้องการทำนาจะต้องช่วยขุดคลองหรือใช้แรงงาน พร้อมทั้งรัฐบาลจะงดเว้นค่านาและค่าสมพัตสร 3 ปี ทำให้การขุดคลองเพื่อการเพาะปลูกมีมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองทวีวัฒนา เป็นต้น

คลองที่บริษัทคลองคูนาสยามขุด จากภาวะการค้าและราคาข้าวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ราษฎรต้องการที่ดินปลูกข้าวมากขึ้น ที่ดินริมคลองจึงมีราคาตามไปด้วย สภาวะเช่นนี้กระตุ้นให้เอกชนกระตือรือร้นที่จะขุดคลองขายที่ดินเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ได้ร่วมกับนายโยกิม แกรซี่ พระนานพิธภาษี และนายยม ตั้งบริษัทขุดคลองและคูนาสยามขึ้น เพื่อทำการขุดคลอง เช่น คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เป็นต้น

คลองที่เอกชนขุด ขุดเพื่อต้องการกรรมสิทธิ์ที่ดินสองฝั่งคลอง เพราะมีกำไรมาก เช่น คลองพระยาบรรฦา คลองบางพลีใหญ่ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าบทความชิ้นนี้ต้องการที่จะอธิบายถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการขุดคลอง จากแต่เดิมขุดคลองเพื่อการคมนาคมเป็นหลัก สู่การขุดคลองเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยบทความนี้ได้อธิบายว่า สัญญาบาวริ่ง ที่ทำกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะภาวะการค้าข้าวเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงเร่งเพิ่มปริมาณผลิตข้าว เห็นได้ชัดจากการที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการขุดคลองเพื่อบุกเบิกที่นา ซึ่งดำเนินการอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและเอกชน

นโยบายการขุดคลองเพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ปรากฏว่ามีการขุดคลองถึง 15 คลอง (พ.ศ. 2413-2447) ผนวกกับนโยบายเลิกทาสและเลิกไพร่ ทำให้พวกไพร่มีอิสระและเป็นกำลังสำคัญในการผลิตข้าว สะท้อนให้เห็นว่าการขุดคลองในช่วงนี้ประสบความสำเร็จเพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ คือ ขุดคลองเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว

ประเด็นต่อมาที่จะตอบปัญหาตั้งแต่บทความได้ถามไว้ข้างต้น คือ เมื่อขุดแล้วผลประโยชน์ที่แท้จริงเกิดขึ้นกับผู้ขุดคลองหรือราษฎรในท้องถิ่นนั้นๆ บทความชิ้นนี้ได้อธิบายว่าผลของการขุดคลองได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย โดยการถือครองที่ดินมี 2 กรณี คือ การถือที่ดินโดยการได้รับพระราชทาน จะมอบแก่พวกพระราชโอรส พระราชธิดา เป็นต้น และการถือครองที่ดินโดยการจับจอง โดยการจับจองครองที่ดินริมฝั่งคลอง ราษฎรจะต้องออกเงินช่วยเสียค่าขุด

ซึ่งคนที่ได้ผลประโยชน์มากสุดคือ เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีทรัพย์ เพราะมีฐานะดีและมีทุนทรัพย์ ประกอบกับระเบียบวิธีการจับจองที่เอื้ออำนวยให้กับคนกลุ่มนี้มากกว่าราษฎรทั่วไป ส่วนชาวนาที่ไม่มีทุนทรัพย์ต้องเช่าที่นาของผู้มีบรรดาศักดิ์และผู้มีทรัพย์เพื่อเลี้ยงชีพ นอกจากนี้ชาวนายังต้องเสียค่านาเองอีกด้วย นับว่าเจ้าของนาเหล่านี้ “ทำนาบนหลังคน” อยู่อย่างสุขสบายภายใต้การขูดรีดชาวนา

กล่าวโดยสรุปคือ การขุดคลองตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น ส่วนใหญ่ขุดขึ้นเพื่อการคมนาคม หรืออาจจะใช้เพื่อการยุทธศาสตร์ป้องกันข้าศึกเป็นสำคัญ แต่เมื่อถึงช่วงรัชกาลที่ 4 เริ่มมีนโยบายเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในขุดคลองแต่ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ผลของสนธิสัญญาบาวริ่ง เกี่ยวกับการค้าข้าว ได้ส่งผลกระทบมายังรัชสมัยต่อมา คือ รัชกาลที่ 5 ที่เปลี่ยนนโยบายการขุดคลองเพื่อการคมนาคมอย่างเดียว มาเป็นการขุดเพื่อคมนาคมและขยายพื้นที่การเพาะปลูกควบคู่กันไป

แม้ “ทฤษฎีสังคมพลังน้ำ” (hydraulic society) ของ วิตโฟเกล (wittfogel) ที่อธิบายว่าสังคมไทยขุดคลองเพื่อเพาะปลูกเป็นสำคัญ แต่จากบทความนี้ได้ตอบคำถามอย่างชัดเจน ที่พบว่ามีข้อขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากการขุดคลองในประวัติศาสตร์ไทยไม่ใช่การขุดคลองเพื่อการชลประทานอย่างเดียวตาม “ทฤษฎีสังคมพลังน้ำ” (hydraulic society)

 

อ้างอิง :

กิตติ ตันไทย. (2527). คลองกับระบบเศรษฐกิจของไทย พ.ศ. 2367-2453. ในหนังสือ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การขุดคลองมหานาคในสมัยรัชกาลที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

๓. คลองมหานาค เป็นคลองสั้นๆ อยู่บริเวณเหนือวัดสระเกศ ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ และขยายคลองให้ใหญ่ขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๔๔ คลองนี้ขุดขึ้น เพื่อให้ประชาชนชาวพระนครได้ลงเรือไปประชุมเล่นเพลงเรือ และสักวา ในฤดูน้ำหลาก เหมือนอย่างคลองมหานาคที่กรุงศรีอยุธยา และให้ชื่อคลองอย่างเดียวกัน คลองนี้ขุดแยกจากคลองรอบกรุงที่ใกล้ป้อม ...

การขุดคลองรอบกรุงรัตนโกสินทร์มีความสําคัญอย่างไร

ผลจากการศึกษา วิจัย ได้ข้อสรุปว่า ในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นเขตวงราชธานีมีคลอง ขุดมาบ้างแล้วก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการขุด คือ เพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ การคมนาคม ขนส่ง และการค้าขาย ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะมีสืบมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการทำสนธิสัญญา เบาริง ต่อมาภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริง ...

ข้อใดคือจุดประสงค์สำคัญของการขุดคลองรอบกรุงในสมัยรัชกาลที่ 1

คลองคูเมืองเดิม ซึ่งเคยเป็นแนวคลองวงแหวนในสมัยธนบุรี ได้รับการปรับปรุงในสมัย รัชกาลที่ 1 คลองรอบกรุง เป็นคลองที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเพื่อเป็นโครงข่ายคลอง เชื่อมโยงการคมนาคมทางนํ้าภายในพระนคร คลองที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นทางสัญจรภายในพระนครมีด้วยกันหลายคลอง เช่น

สมัยก่อนขุดคลองทำไม

กล่าวโดยสรุปคือ การขุดคลองตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น ส่วนใหญ่ขุดขึ้นเพื่อการคมนาคม หรืออาจจะใช้เพื่อการยุทธศาสตร์ป้องกันข้าศึกเป็นสำคัญ แต่เมื่อถึงช่วงรัชกาลที่ 4 เริ่มมีนโยบายเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในขุดคลองแต่ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ผลของสนธิสัญญาบาวริ่ง เกี่ยวกับการค้าข้าว ได้ส่งผลกระทบมายังรัช ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ