เพราะเหตุใด จึงกล่าวว่าการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

1. กำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา

                    เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้ สงสัย จึงตั้งประเด็นหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษาขึ้นมา

               ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขตการศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค  เช่น

ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค
สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค

2. การรวบรวมหลักฐาน

                 ขั้นรวบรวมหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง  คือ เอกสารหรือหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้หรือสนใจ

             ในการรวบรวมหลักฐาน  ควรเริ่มด้วยการศึกษาหลักฐานชั้นรองโดยตรงก่อน เพื่อให้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา  และรวบรวมความคิดของผู้ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวมาก่อน  แล้วจึงไปค้นคว้าจากหลักฐานชั้นต้น  ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้นและอาจมีแนวคิดเพิ่มเติมขึ้นจากผู้ศึกษาไว้แต่เดิม

3. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน

              เป็นการประเมินความถูกต้องและความสำคัญของหลักฐาน เพราะหลักฐานบางอย่างอาจเป็นของปลอม หรือเลียนแบบของเก่า  หรือเขียนโดยบุคคลที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง  แล้วมาบันทึกไว้เสมือนได้รู้เห็นเอง  หรือแม้จะรู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง  แต่อาจมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ไม่วางตัวเป็นกลาง

            การวิเคราะห์หลักฐานแบ่งเป็น  2  วิธี  ดังนี้
            1. การประเมินภายนอก  เป็นการประเมินหลักฐานจากสภาพที่ปรากฏภายนอกว่าเป็นของแท้  ถูกต้องตามยุคสมัยหรือไม่  เช่น  กระดาษที่บันทึกเป็นของเก่าจริงหรือไม่  สมัยนั้นมีกระดาษแบบนี้ใช้หรือยัง  วัสดุที่ใช้เขียนเป็นของร่วมสมัยหรือไม่

            2. การประเมินภายใน เป็นการประเมินหลักฐานว่าถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เช่น การกล่าวถึงตัวบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ว่าถูกต้อง มีจริงในยุคสมัยของหลักฐานนั้นหรือไม่ หรือแม้แต่สำนวนภาษาว่าในสมัยนั้นใช้กันหรือยัง

4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

             เป็นขั้นตอนต่อจากที่ได้รวบรวมหลักฐาน  และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือนั้นๆแล้ว ข้อมูล คือเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหลักฐานที่รวบรวมและวิเคราะห์แล้วจากหลักฐานที่เชื่อถือได้  จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์  คือ แยกประเภท โดยเรียงเหตุการณ์ ตามลำดับเวลาก่อนหลัง เพราะความสำคัญของข้อมูล แล้วทำการสังเคราะห์ คือจัดเหตุการณ์  เรื่องเดียวกัน  และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน  และศึกษาความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อเหตุการณ์

5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

           เป็นการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้ค้นคว้า  วิเคราะห์ และสังเคราะห์มาแล้ว เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้  ข้อสงสัย  ตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น ในรูปแบบการเขียนรายงานอย่างมีเหตุผล

เพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ประวัติศาสตร์” กันจนคุ้นหู คำว่าประวัติศาสตร์อาจหมายถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว หรืออาจหมายถึงสาขาวิชาที่ศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างก็ได้ ซึ่งวันนี้ StartDee จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จัก “วิธีการทางประวัติศาสตร์” ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้นักวิชาการศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่าง เป็นขั้นเป็นตอน ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ และเข้าใจเรื่องราวในอดีตได้มากยิ่งขึ้น

ว่าแต่… กว่าจะเป็นการศึกษาที่มีขั้นตอนชัดเจนขนาดนี้ มนุษย์เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ

การศึกษาประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัส

430 ปีก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส (Herodotus) นักเขียนและนักภูมิศาสตร์ผู้มีชีวิตอยู่ในยุคกรีกโบราณได้เขียน The Histories ขึ้น โดยมุ่งหวังว่าการบันทึกนี้จะ “ช่วยให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา” งานเขียนของเฮโรโดตัสจึงนำเสนอเรื่องราวสาเหตุของการสู้รบและการทำสงครามระหว่างกรีกและเปอร์เซีย และมีการกล่าวถึงประเด็นการเมืองและอารยธรรมของทั้งสองอาณาจักรอย่างละเอียด

ขอบคุณรูปภาพจาก en.wikipedia.org และ www.amazon.com

นอกจากนี้เฮโรโดตัสยังเดินทางไปค้นหาหลักฐานเพื่อยืนยันเหตุการณ์ และทำให้บันทึกของเขาน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย งานเขียนของเฮโรโดตัสจึงเป็นงานเขียนชิ้นแรก ๆ ที่วางรากฐานการศึกษาประวัติศาสตร์ในตะวันตก นำไปสู่วิธีการทางประวัติศาสตร์ในยุคต่อ ๆ มา และเฮโรโดตัสก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

ความหมาย และความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method) หมายถึงวิธีการสืบค้นเรื่องราวในอดีต หรือการแสวงหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประกอบกับหลักฐานอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด บทบาทของวิธีการทางประวัติศาสตร์คือช่วยให้เราศึกษาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้เป็นระบบ  และทำให้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษามีความน่าเชื่อถือ เพราะวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลนั้นถูกต้องตามหลักวิชาการ

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีกี่ขั้นตอนกันนะ ?

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
  2. การรวบรวมหลักฐาน
  3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หรือการวิพากษ์คุณค่าของหลักฐาน
  4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
  5. การเรียบเรียงและนำเสนอ

โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา

หัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการศึกษาอาจเริ่มจากความสงสัยใคร่รู้ในเรื่องต่าง ๆ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นประเด็นถกเถียงที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในแวดวงการศึกษาประวัติศาสตร์ เมื่อได้ประเด็นที่สนใจอยากหาคำตอบแล้ว เราจึงทำการกำหนดประเด็นการศึกษากว้าง ๆ แล้วค่อยจำกัดขอบเขตของประเด็นการศึกษาให้แคบลงให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการศึกษา

2. การรวบรวมหลักฐาน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์คือร่องรอยและข้อมูลต่าง ๆ จากในอดีตที่หลงเหลืออยู่ เราสามารถใช้หลักฐานเหล่านี้มาเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  โดยขั้นตอนการรวบรวมหลักฐานคือการค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราจะศึกษา โดยค้นคว้าจากพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ อินเทอร์เน็ต หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตามประเภทของหลักฐานนั้น เราสามารถแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้หลายรูปแบบ เช่น

2.1 แบ่งตามลักษณะของการบันทึก ได้แก่

2.1.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ บันทึกใบลาน ศิลาจารึก พงศาวดาร สมุดข่อย จดหมายเหตุ วรรณกรรม หนังสือพิมพ์ ชีวประวัติ และหลักฐานอื่น ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านลายลักษณ์อักษร ยกตัวอย่างเช่นบันทึก The Histories ของเฮโรโดตัสที่เรากล่าวถึงไปก่อนหน้า ก็ถือเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน

ขอบคุณรูปภาพจาก anatsayaboorapanoey และ www.navanurak.in.th

2.1.1 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หลักฐานทางโบราณคดี ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มนุษย์ในอดีตเป็นผู้สร้างหรือทิ้งไว้ รวมถึงหลักฐานทางสถาปัตยกรรม เช่น วัด วัง ปราสาท สถูป เจดีย์ต่าง ๆ ประติมากรรมรูปปั้น ภาพวาดและจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ หลักฐานทางวัฒนธรรม เช่น นาฏศิลป์ ดนตรี เพลงพื้นบ้าน คำบอกเล่าและมุขปาฐะต่าง ๆ และหลักฐานประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เช่น ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ แผนที่และสื่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ

ปราสาทหินพิมาย ขอบคุณรูปภาพจาก th.wikipedia.org

ขอบคุณรูปภาพจาก th.wikipedia.org และ thailandtourismdirectory.go.th

2.2 แบ่งตามคุณค่าและความสำคัญของหลักฐาน ได้แก่

2.2.1 หลักฐานปฐมภูมิ หรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Source) คือหลักฐานที่เกิดในยุคสมัยเดียวกันกับเหตุการณ์นั้น ๆ หากผู้จดบันทึกหรือผู้สร้างหลักฐานอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยก็จะทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก ตัวอย่างหลักฐานชั้นต้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือราชการ พระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุที่ชาวต่างชาติเป็นผู้บันทึก ส่วนหลักฐานชั้นต้นที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในยุคสมัยนั้น ๆ

2.2.2 หลักฐานทุติยภูมิ หรือหลักฐานชั้นรอง (Secondary Source) คือหลักฐานที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้น ๆ จบลงแล้ว ผู้สร้างหลักฐานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่จัดทำหลักฐานหรือบันทึกต่าง ๆ ขึ้นตามคำบอกเล่าหรือข้อเท็จจริงที่ได้รับมาจากผู้อื่นอีกที ทำให้หลักฐานชั้นรองมีความน่าเชื่อถือน้อยลงเนื่องจากอาจมีความคลาดเคลื่อนในการถ่ายทอดระหว่างบุคคล หรืออาจมีการเสริมเติมแต่งความจริง และมีการใส่อคติของผู้สร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์รวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ไทย บทความหรืองานวิจัยทางประวัติศาสตร์ รูปปั้นหรือภาพวาดที่จัดทำขึ้นตามคำบอกเล่า เป็นต้น

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หรือการวิพากษ์คุณค่าของหลักฐาน

เมื่อได้หลักฐานเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการศึกษาแล้ว เราต้องตรวจสอบว่าหลักฐานประเภทต่าง ๆ ที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด เหมาะแก่การนำไปศึกษาเพื่อหาข้อเท็จจริงหรือไม่ การประเมินคุณค่าของหลักฐานมี 2 วิธี ได้แก่

3.1 การประเมินคุณค่าภายนอก หรือการวิพากษ์ภายนอก เป็นการตรวจสอบหลักฐานจากสภาพและลักษณะภายนอก เพื่อให้ทราบว่าหลักฐานนี้เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือชั้นรอง หลักฐานนี้เป็นของจริงหรือไม่ โดยพิจารณาจากอายุของหลักฐาน วัสดุที่ใช้ ผู้สร้าง วัตถุประสงค์ในการสร้าง และสภาพแวดล้อมที่หลักฐานถูกสร้างขึ้น

3.2 การประเมินคุณค่าภายใน หรือการวิพากษ์ภายใน คือการประเมินข้อมูลภายใน ซึ่งเป็นระดับที่ลึกขึ้น โดยอาศัยการตีความหลักฐานเพื่อให้เข้าใจความหมายและความหมายแฝง รวมถึงการประเมินหลักฐานว่าเป็นจริงหรือเท็จ โดยพิจารณาจากผู้เขียน ช่วงเวลาที่เขียน จุดมุ่งหมายในการเขียน สำนวนภาษา และเปรียบเทียบเนื้อความกับแหล่งอื่น ๆ

4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ และให้ข้อมูลที่เป็นจริง ขั้นตอนต่อมาเราจึงวิเคราะห์ข้อมูล เช่น วิเคราะห์ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ รายละเอียด และผลของเหตุการณ์

5. การเรียบเรียงและนำเสนอ

จากนั้นจึงนำเสนอข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก ในขั้นตอนนี้ผู้ศึกษาจะต้องตอบคำถามที่ได้ตั้งไว้ในหัวเรื่องที่จะศึกษา จากนั้นจึงนำเสนอออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งงานเขียน การบรรยาย อภิปราย ซึ่งเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้สู่สังคม

วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการที่นำมาซึ่งข้อเท็จจริงและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางประวัติศาสตร์ เพื่อน ๆ สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์นี้ไปประยุกต์กับการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในอนาคตได้ หรือจะลองสวมบทนักโบราณคดี ไปสำรวจแหล่งโบราณคดีในไทยกับครูกอล์ฟในแอปพลิเคชัน StartDee ก่อนก็ได้ ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนที่อยากทบทวนบทเรียนกันต่อก็ไปอ่านบทความ ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาประวัติศาสตร์ กันต่อได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก: สุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ)

Reference:

//en.wikipedia.org/wiki/Histories_(Herodotus)

//en.wikipedia.org/wiki/Herodotus

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ