เพราะ เหตุ ใด สุขภาพ จิต จึง มี ความ สำคัญ ต่อ มนุษย์

บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะภายนอกและลักษณะภายในทั้งหมดของบุคคล นับตั้งแต่รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง เจตคติ แรงจูงใจ สติปัญญา ความสามารถ ปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ ลักษณะประจำตัวต่างๆ (traits) ความนึกคิด ความรู้สึกที่บุคคลนั้นมีต่อตนเอง ส่วนที่เหลือค้างจากประสบการณ์ บุคลิกภาพ จึงเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล ไมมีใครในโลกที่มีบุคลิกภาพเหมือนกันแม้แต่คู่แฝดจากไข่ใบเดียวกัน

บุคลิกภาพของคนเราจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ
1) โครงสร้างทางชีววิทยาและกรรมพันธุ์
2) สภาพแวดล้อมในพัฒนาการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เกิดหรือเกิดเลยก็ว่าได้

สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่เจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ทุพพลภาพ อวัยวะต่างๆ อยู่ในสภาพที่ดีมีความสมบูรณ์แข็งแรงสามารถทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กันทุกส่วนได้เป็นอย่างดีและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

สุขภาพจิต หมายถึง ความสามรถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ และไม่ขัดกับสภาพความเป็นจริงในสังคมที่บุคคลนั้นดำรงชีพอยู่

ความมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้
1. สภาพร่างกายและจิตใจมีการพัฒนาการและเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับวัย
2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ
3. บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต
นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่กล่าวถึงความเชื่อในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า “ A Sound Mind in a Sound Body”
ซึ่งมีผู้ให้ความหมายว่า “จิตใจที่ดีย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” ถ้าคนเราร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงดี จิตใจก็จะเป็นสุข สดชื่น แจ่มใส เบิกบาน แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ จิตใจก็จะหดหู่ ไม่สดชื่นแจ่มใส ดังนั้นคนเราถ้าจิตใจไม่สบายไม่เป็นสุข มีความเครียด มีความวิตกกังวลใจ ก็จะมีผลต่อร่างกาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ร่างกายซูบผอม หน้าซีดเซียวเศร้าหมอง นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าร่างกายและจิตใจแยกขาดออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป  สำหรับคำว่า ภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะหมายถึงสภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความปกติในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพส่วนใดส่วนหนึ่งมีความบกพร่องหรือมีสภาวะที่ผิดปกติไป ก็ถือว่าเกิดความไม่สมดุลระหว่างสุขภาพทั้งสองด้านขึ้น 

www.bhumibolhospital.rtaf.mi.th

คำว่าสุขภาพจิต (MENTAL HEALTH) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ความสามารถของบุคคลที่จะปรับปรุงตัวให้มีความสุขเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำรงชีวิตของตนเองอยู่ได้โดยไม่เสียความสมดุล ทำให้มีความสุข ความสบายใจ รวมทั้งสามารถ สนองความต้องการของตนเองในสังคมของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ใด้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นภายในจิตใจแต่อย่างใด ทั้งนี้คำว่าสุขภาพจิตมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ความปราศจากโรคทางจิตและโรคทางประสาทเท่านั้น”

สรุปแล้วสุขภาพจิตก็คือสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายทางด้านจิตใจนั้นเอง

ความสำคัญของสุขภาพจิต

สุขภาพจิต มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เนื่องจากถ้าบุคคลใดก็ตามมีภาวะความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจก็จะส่งผลถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1. ประกอบกิจการการงานต่าง ๆได้ด้วยดี

2. ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เป็นกำลังสำคัญในด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ เนื่องจากถ้ามีผู้ป่วยทางจิตมากทำให้รัฐต้องสูญเสียกำลังคนในการพัฒนาชาติ

4. ประหยัดงบประมาณให้กับประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิต

ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี

บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีจะแสดงพฤติกรรมให้ปรากฏ ดังนี้

1. มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

1.1 ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น กลัว วิตกกังวล โกรธ เกลียด อิจฉาริษยา และรู้สึกผิด

1.2 มีความเชื่อมั่นตนเองสามารถแก้ปัญหาและต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ ได้

1.3 ไม่ดูถูกตนเองหรือตำหนิตนเอง

1.4 สามารถทนต่อความผิดหวังได้

2. มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น

2.1 รู้จักรักและให้ความสนใจผู้อื่นด้วยความจริงใจ

2.2 มองโลกในแง่ดีเสมอ

2.3 มองเห็นความหวังดีของผู้อื่น

2.4 อยากเป็นมิตรกับบุคคลทั่วใป

2.5 เห็นอกเห็นใจบุคคลอื่นไม่เอารัดเอาเปรียบ

3. สามารถเผชิญกับปัญหาในชีวิตได้

3.1 สามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้

3.2 มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

3.3 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งของตนเองและสังคม

3.4 ตัดสินใจทำอะไรได้ด้วยตนเอง

3.5 มีความพอใจในงานที่ทำ

3.6 มีความมานะพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ

การส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้หลักการปรับตัว

ความหมายของการปรับตัว

การปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองความ

ต้องการของตนเองเพื่อลดความตึงเครียดทางจิตใจ

หลักการปรับตัว

การปรับตัวนั้นจะสามารถปรับในที่ต่าง ๆ ได้หลายสถานที่ ดัง

ต่อไปนี้

1. การปรับตัวในครอบครัว

1.1 ต้องทำความช่วยเหลือเข้าใจถึงความรู้สึกต่าง ๆ ที่พ่อแม่ มีต่อเรา เช่น ความรัก ความห่วงใย จึงต้องดูแลช่วยเหลือพ่อแม่บ้างตามเวลาและโอกาสที่อำนวย ช่วยเหลือการงานบ้านตามสมควร

1.2 ต้องเข้าใจสถานะทางการเงินของทางบ้าน รู้จักคุณค่าของเงิน ไม่ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย รู้จักการประหยัดและออม

1.3 ต้องเข้าใจหน้าที่ของตนเองในปัจจุบัน คือ การศึกษาเล่าเรียน โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียน สนใจต่อการเรียนอย่างสม่ำเสมอ

2. การปรับตัวในโรงเรียนหรือวิทยาลัย

2.1 คบเพื่อนที่ดี แล้วเพื่อนที่ดี ๆ นั้นจะมีส่วนช่วยให้เราประสบความ สำเร็จในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการศึกษา

2.2 ปรับปรุงในเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับครูอาจารย์ เพื่อน ๆ และพี่น้องร่วมสถานศึกษา ซึ่งบางคนอาจช่วยแก้ไขความทุกข์ใจ เราได้

2.3 ปรับปรุงด้านบุคลิกภาพของตนเอง เช่น แก้ไขความขี้อาย ความ เป็นคนโมโหหรือโกรธง่าย รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ บางครั้งต้องรู้จักคำว่า การเป็นผู้แพ้ รู้จักอดทน

2.4 เพิ่มสมรรถภาพในการเรียน ด้วยการขยันดูหนังสือให้มากขึ้น รวมทั้งการเข้าห้องสมุดเพื่อศึกษาหาข้อมูลเพื่มเติม

การสร้างมนุษยสัมพันธ์และการใช้จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การอยู่ร่วมกันของผู้ที่มีจิตใจสูงที่จะติดต่อสัมพันธ์ กัน ซึ่งมีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้

1. การรู้จัททักทายกับบุคคลโดยทั่วไปตามกาลเทศะ เช่น ถ้าทักทายผู้ใหญ่ ก็ต้องใช้วิธีไหว้ หรือถ้าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันจะใช้วิธียิ้มก็ได้

2. เรียกชื่อคนให้ถูกต้องและเรียกอย่างมีมารยาทโดยใช้สรรพนามนำหน้า ให้ถูกกาลเทศะและพยายามจำชื่อคนให้แม่นยำ

3. ประพฤตตนด้วยความสุภาพเรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อบุคคลทั่วไป แสดงความเป็นกันเองไม่ถือตัว ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลาหลีก เลี่ยงการทะเลาะวิวาทกับบุคคลอื่น

4. สร้างความมีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นผลทำให้มนุษย์ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

5. พูดและทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ โดยจะพูดและทำอะไรก็ตามต้องนึกถึงใจคนอื่น คือ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

6. ยอมรับฟังความคิดของบุคคลอย่างมีเหตุผล แล้วนำมาประกอบความ คิดของตนเองในการกระทำงานต่าง ๆ

7. ให้บริการการช่วยเหลือบุคคลอื่น ๆ อยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส

8. รู้จักการให้เกียรติบุคคลอื่น ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นผู้อื่นในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะ เป็นด้านความคิดหรือบุคลิกภาพ

การใช้จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

คนเราทุกคนต่างต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกด้วยความสุข ซึ่งการจะใช้ ชีวิตได้อย่างมีความสุขได้นั้นต้องรู้จักการปรับตนเองและการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ วิธีการนี้ส่วนหนึ่งจะกระทำได้โดยการใช้จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีหลักการปฎิบ้ตดัติ ดังนี้

1. การลดความเครียดทางอารมณ์

การดำเนินชีวิตของคนเรานั้น มักจะประสบกับสภาวะทางอารมณ์ที่มีทั้งดีและไม่ดี เมื่อมีอารมณ์ที่ไม่ดีบ่อยย่อมทำให้เกิดความเครียด ดังนั้น วิธีแก้ไขจึงทำได้โดยการหลีกเลี่ยงเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจ การระบายเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจให้คนอื่นฟังบ้าง เป็นต้น

2. พยายามหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ทุก ๆ วันมนุษย์เราต้องทำงานซึ่งจะเป็นผลทำให้ร่างกายเกิดอาการ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ดังนั้น จึงควรพักผ่อนร่างกายของเราด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เล่น กีฬา ทำงานอดิเรก พักผ่อนในสวนสาธารณะ เป็นต้น

3. ปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง

ก่อนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ เราควรปรับปรุงตัวเราเองในด้านบุคลิกภาพให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้เป็นที่ยอมรับนับถือไว้วางใจจากบุคคลอื่น เช่น การปรับปรุงในเรื่องการแต่งกาย การพูด การมอง ท่าทาง ตลอดจนกระทั่งสุขภาพ

4. การรู้จักผูกมิตรกับบุคคลทั่วไป

เพื่อนหรือมิตรสหายจะมีส่วนช่วยให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงควรเลือกคบเพื่อนหรือผูกมิตรด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน รู้จักการเอาใจเข้ามาใส่ใจเรา จะทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

การใช้บริการสุขภาพจิต

บริการสุขภาพจิต คือ การส่งเสริมสุขภาพจิตของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ ตลอดจนถึงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย จิตเวช ด้วยการบริการสุขภาพจิตประกอบด้วย

1. บริการส่งเสริมสุขภาพจิต ได้แก่ การให้ข้อมูลความรู้สุขภาพจิตทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตให้รู้จักดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร เอกสารเผยแพร่ความรู้สุขภาพจิตแก่ผู้สนใจโดยทั่วไป

2. บริการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มี ปัญหาสุขภาพจิตในระยะเบื้องต้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสุขภาพ จิตในระดับรุนแรง รวมทั้งการให้ข้อมูลความรู้สุขภาพจิตเกี่ยวกับการปรับตัว การแก้ไขปัญหาการลดความเครียด รวมทั้งการแนะนำสถานบริการ

3. บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ การตรวจวินิจฉัยผู้ที่สงสัยว่ามีปัญหาทางจิตใจหรีอมีความเจ็บป่วยทางจิตเวช และการบำบัดรักษา โดยวิธีการรักษาทางยา จิตบำบัดเฉพาะราย จิตบำบัดกลุ่ม การรักษาด้วยช็อตไฟฟ้า อาชีวบำบัดและกิจกรรมบำบัด

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช ให้กลับคืนสู่สภาพปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการกลับคืนสู่สภาพปกติคือการกลับไปดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

เมื่อใดที่ควรจะไปใช้บริการสุขภาพจิต

บุคคลที่ควรจะไปรับบริการสุขภาพจิต ได้แก่ บุคคลประเภทต่อไปนี้

1. บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ผู้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง และปัญหานั้นอาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตเวช อาจขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือไปขอรับ บริการจากสถานบริการ

2.  บุคคลที่มีความเจ็บป่วยทางจิต (ผู้ป่วยจิตเวช) ได้แก่

1. ผู้ป่วยกลุ่มโรคประสาท

2. ผู้ป่วยกลุ่มโรคจิต

ในการพิจารณาว่าเมื่อใดที่ควรจะไปใช้บริการสุขภาพจัดนั้น ให้พิจารณาจาก อาการและความรุนแรงของปัญหา โดยเฉพาะหากมีอาการรุนแรง จนอาจเป็นอันตราย ต่อตนเองต่อผู้อื่นหรือต่อความสงบสุขของชุมชน ควรจะรีบนำผู้ป่วยไปรับบริการบำบัดรักษาโดยเร่งด่วน นอกจากนี้ในกรณีที่สงสัยว่าบุคคลมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เด็กปัสสาวะรดที่นอน ก้าวร้าว ทารุณสัตว์ ควรปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนไปโรงพยาบาล

1. ถ้าผู้ป่วยเอะอะอาละวาด คลุ้มคลั่ง ขอร้องเพื่อนบ้านให้ช่วยหรือแจ้งผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องถิ่น

2. ถ้าผู้ป่วยตอบคำถามไม่ได้ให้มีญาติหรือผู้ใกล้ชิดไปด้วย

3. ถ้าเป็นผู้ป่วยเก่าซึ่งเคยรับการรักษาจากสถานบริการนั้น ให้นำบัตร ประจำตัวผู้ป่วยไปด้วย

4. ถ้าผู้ป่วยกำลังอยู่ระหว่างรักษาตัวจากสถานบริการ์อื่น ๆ ควรนำยาที่ ใช้ไปด้วย

5. ควรนำเอาเอกสารสำคัญ ได้แก่ บัตรประชาชน บัตรสุขภาพ และ เอกสารสิทธต่าง ๆ ที่สามารถขอรับการยกเว้นหรือลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลไปด้วย

6. ตรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น แปรงสีฟัน หวี หรือผ้าเช็ดตัว พร้อมเงินจำนวนเล็กน้อย ฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ผู้ป่วยจะได้ใช้เมื่ออาการเจ็บป่วยทุเลาแล้ว กรณีโรงพยาบาลรับไว้เป็นผู้ป่วยในหรือญาติคาดว่าจะเป็นเช่นนั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ