การเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดระเบียบแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของหลักฐาน หรือข้อมูลที่ได้ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อหาคำตอบตามความมุ่งหมาย และตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลนี้เป็นขั้นการทำงานที่ต่อเนื่องมาจากการวัด การนับ และจัดเรียงลำดับข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำเอาวิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์หาค่าตัวแปรหรือหาลักษณะของตัวแปร ผู้วิจัยจะต้องวางแผนและเตรียมการณ์ล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มทำการวิจัยโดยมีข้อแนะนำในการวิเคราะห์ดังนี้

1. กลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหรือข้อความที่เป็นปัญหาจนแจ่มแจ้งก่อน

2. ดูแต่ละหัวข้อปัญหาว่าต้องการข้อมูลประเภทใด และจะใช้วิธีการสถิติอะไร

3. สถิติเหล่านั้นหาได้หรือไม่จากข้อมูล เพื่อไปแก้ปัญหาจากจุดมุ่งหมายแต่ละข้อ

4. เลือกข้อมูลที่ได้มา นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ แบ่งตามเนื้อหาของปัญหาแต่ละข้อ

5. คำนวณค่าสถิติให้ตรงตามหัวข้อปัญหาที่จะตอบ

6. พยายามแปลความหมายของข้อมูลเป็นระยะ ๆ ไป

7. พยายามนึกถึงรูปร่างของตารางที่จะเสนอ ลักษณะควรย่อ สั้น แต่บรรยายความได้มาก

8. ถ้าข้อมูลจัดเสนอเป็นกราฟชนิดต่าง ๆ ก็ต้องหาวิธีการทำให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด อย่าให้ซับซ้อน    

          อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลใด ๆ มักไม่พ้นการใช้วิธีการทางสถิติ  ดังนั้น ในการวิเคราะห์ข้อมูล ควรมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

ขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล

            1. จัดหรือแยกประเภทข้อมูลที่จะศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกและง่ายต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อไป รวบรวมและจดบันทึกข้อมูลลงในกระดาษที่ได้เตรียมไว้

2. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลและระดับของข้อมูลที่นำมาศึกษาและสามารถตอบคำถามตามจุดมุ่งหมายการวิจัยที่ตั้งไว้

3. เสนอผลการวิเคราะห์ที่ได้ โดยพยายามเสนอให้มีความแจ่มชัดและเข้าใจง่าย ซึ่งนิยมเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมายหลักในการดำเนินการวิจัย คือ การศึกษาหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณลักษณะของประชากร การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ โดยหลักการควรศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากประชากร แต่เป็นการยากมากหรือในบางครั้งอาจเป็นไปไม่ได้ตามหลักการดังกล่าว ในทางปฏิบัติงานวิจัย จึงใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชากรนั้น ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจึงเป็นการหาค่าคุณลักษณะประจำกลุ่มตัวอย่างนั้น แล้วจึงใช้ค่าสถิติของกลุ่มตัวอย่างไปประมาณค่าคุณลักษณะของประชากร โดยการทดสอบสมมติฐานและการสรุปอ้างอิง 

การวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งหนึ่ง เพื่อค้นหาว่ามาจากอะไรเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อค้นหาสาเหตุแท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.2547:2)

การวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีระบบ
มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง  ๆ เพ่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา (เอกสาร 5 ประกาศแนบท้าย ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งให้สูงขึ้น พ.ศ. 2523 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 53)

โครงร่างของผลงานวิเคราะห์

โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิเคราะห์ดังนี้

  1. การกำหนดปัญหา
  2. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
  3. การวิเคราะห์ระบบแนวทางเลือก
  4. การกำหนดความเป็นไปได้
  5. การพัฒนาเค้าโครงหรือโครงร่างระบบ
  6. การพัฒนาระบบนำร่องหรือระบบต้นแบบ
  7. การออกแบบระบบ
  8. การใช้ระบบ
  9. การติดตามประเมินผลระบบ

 สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยจะวิเคราะห์อะไรได้บ้าง

  • การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ชนิดของบุคคลความรู้ ความสามารถและทักษะที่ต้องการสำหรับงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งาน

  1. วิเคราะห์ปรับปรุงงาน
  2. วิเคราะห์เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน
  3. วิเคราะห์เพื่อขจัดความสูญเสียในการปฏิบัติงาน
  4. วิเคราะห์เพื่อวางแผนกำลังคน
  5. วิเคราะห์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน
  6. วิเคราะห์เพื่อประเมินค่างาน
  7. วิเคราะห์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน

2) การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) หมายถึง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข แบบฟอร์ม พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคม ประการ หนังสือเวียน มติที่ประชุม คำสั่ง ระบบ
ไอที ฯลฯ เช่น วิเคราะห์งบประมาณ วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์หลักเกณฑ์ต่าง ๆ วิเคราะห์การเลื่อนเงินเดือน ฯลฯ

ขั้นตอนในการวิเคราะห์เอกสาร

  • กำหนดเรื่องหรือหัวข้อที่จะทำการวิเคราะห์
  • กำหนดวัตถุประสงค์/จุดหมายของการวิเคราะห์
  • กำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์
  • รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา คัดเลือก เอาเอกสารที่เชื่อถือได้ ที่มีความสมบูรณ์
  • ศึกษา/วิเคราะห์ ตามหลักเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี เทคนิคของการวิเคราะห์
  • สรุปผลการศึกษา
  • เขียนรายงานการวิเคราะห์

องค์ประกอบของเอกสารการวิเคราะห์

การวิเคราะห์เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ดังนั้นในที่นี้ให้ผู้ที่จะเขียนผลงานการวิเคราะห์เขียนองค์ประกอบของงานวิเคราะห์ ให้ล้อตามองค์ประกอบของงานวิจัย ดังนี้

  • ความเป็นมาและความสำคัญ
  • วัตถุประสงค์
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ขอบเขต
  • คำจำกัดความ
  • ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์
  • เอกสารอ้างอิง

โครงร่างของเอกสารการวิเคราะห์

          จากการที่การวิเคราะห์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับการวิจัย ดังนั้นในการเขียนโครงร่างของการวิเคราะห์จึงเขียนล้อตามโครงร่างของการเขียนงานวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 5 บท ดังนี้

          บทที่ 1 บทนำ

          บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง

          บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์

          บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์

          บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

 เทคนิคการเขียนรายงานการวิเคราะห์

แบบเชิงวิชาการ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนหน้า ประกอบด้วย ปกหน้า ปกใน บทสรุป คำนำ สารบัญ
  2. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
  • บทที่ 1บทนำ
  • บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์
  • บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์
  • บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
  1. ส่วนเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย บรรณานุกรม   ภาคผนวก

บทที่ 1 บทนำ

          บทนำ เป็นเนื้อหาส่วนแรกหรือบทเริ่มต้นของงานที่เขียนจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นในการนำเข้าสู่เนื้อเรื่องของงานที่เขียน   การเขียนบทนำจะต้องกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของงานที่จะปฏิบัติให้ชัดเจน รวมถึงแนวคิด วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิเคราะห์

หลักการทั่วไปของการเขียนบทนำ

  • ควรเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหา แนวคิด วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์ของเรื่องที่กำลังเขียน
  • ควรเขียนให้ผู้อ่านอยากอ่านเรื่องที่กำลังเขียนวาเป็นเรื่อที่สำคัญ มีความท้าทาย และน่าสนใจอย่างไร
  • ควรกล่าวนำให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญ เหตุผล ตลอดจนความจำเป็นที่ต้องมีการวิเคราะห์นี้
  • ควรมีการใช้ภาษาที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจง่าย สอดคล้อง กลมกลืน ไม่สบสน วกไปเวียนมา
  • การเขียนบทนำไม่ควรให้มีจำนวนหลายๆ หน้า ให้มีจำนวนหน้าพอประมาณ 2-3 หน้า

ส่วนประกอบของบทที่ 1

  • ความเป็นมาและความสำคัญ : ต้องเขียนถึงความเป็นมาและความสำคัญของการวิเคราะห์ให้ชัดเจน โดยเขียนถึงความเป็นมาของงานที่จะทำการวิเคราะห์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร หรือมีความจำเป็นอะไรที่ต้องมีมาทำการวิเคราะห์เรื่องนี้
  • วัตถุประสงค์ : ต้องเขียนอธิบาย ชี้แจง ให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เรื่องนั้นๆ เช่น เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกำลังคนในหน่วยงาน
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ต้องเขียนอธิบายชี้แจงให้ทราบประโยชน์ของการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนั้น เช่น ได้สภาพปัจจุบันของกำลังคนในหน่วยงาน ได้ภาระงานของบุคลากรในหน่วยงาน
  • ขอบเขต : ต้องเขียนอธิบายชี้แจง ให้ทราบถึงขอบเขต หรือ ข้อจำกัดของการวิเคราะห์เรื่องนั้น ๆ ว่ามีขอบเขตครอบคลุมอะไรบ้าง ประเด็นอะไรบ้าง อาจจะระบุเป็นปี เช่นการวิเคราะห์นี้ครอบคลุมเฉพาะ ปี 2556-2557
  • คำจำกัดความเบื้องต้น : ต้องเขียนอธิบายชี้แจงให้ทราบถึงคำจำกัดความต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเรื่องที่ทำการศึกษาวิเคราะห์นั้น ๆ คำศัพท์เฉพาะที่มีในคู่มืออาจเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาต่างประเทศ หรือคำย่อ ก็ได้

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักการเขียน แนวคิด ทฤษฎี มีดังนี้

  • จัดหมวดหมู่ของแนวคิด-ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นหมวดๆ เพื่อให้เห็นแนวทางในการ review literature อย่างชัดเจน
  • จัดลำดับของหมวดหมู่ให้เหมาะสม
  • เขียนและเรียบเรียงความรู้ด้านภาษาวิชาการให้เป็นความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน

การเขียน งานวิเคราะห์/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

  • ชื่อผู้เขียน
  • ชื่อเรื่องที่เราค้นคว้ามา
  • ชื่อหน่วยงานหรือสถานบันของเรื่อง
  • ปี พ.ศ. ที่พิมพ์
  • วัตถุประสงค์ของวรรณกรรมนั้น
  • วิธีการที่เข้าศึกษา/วิเคราะห์ (ทำอย่างไรเขาจึงได้ข้อสรุปออกมา)
  • ผลการศึกษา/วิเคราะห์ของเขา ค้นพบความจริงอะไรบ้าง

บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์

ในบทที่ 3 จะมีข้อข้อและรูปแบบเหมือนวิจัย คือ

  • ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  • การเก็บรวบรวมข้อมูล
  • สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • การวิเคราะห์ข้อมูล
  • เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล

เทคนิคต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ มีหลักความรู้ ทฤษฎี หรือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวิเคราห์งานหรือวิเคราะห์เอกสาร มีหลากหลายวิธี คือ

  • ระดับสมอง
  • ผังรากไม้
  • ผังก้างปลา
  • เดลฟาย
  • จุดแข็งจุดอ่อน
  • วัดรอบเท้าช้าง
  • เกณฑ์มาตรฐาน
  • เปรียบเทียบข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์

ในบทนี้ จะเขียนถึงของการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาการวิเคราะห์ การใช้สถิติวิเคราะห์ การแปลความหมาย อาจนำเสนอในรูปแบบที่เป็นตาราง แผนภูมิ หรือ กราฟ ในการช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น การนำเสนอผลการศึกษา ควรนำเสนอตามลำดับเรื่องของวัตถุประสงค์ที่ไว้ในในทบที่ 1 ซึ่งผลของการศึกษาวิเคราะห์จะต้องตอบวัตถุประสงค์ได้ทุกข้อตามที่ตั้งไว้

บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

การเขียนข้อเสนอแนะ

          หลังจากการตรวจสอบ หรือการวิจัย/วิเคราะห์เสร็จ ก็จะเจอกับปัญหาอุปสรรค ต่าง ๆ แล้วต้องมานั่ง สรุปปัญหาทั้งหมด เมื่อสรุปปัญหาทั้งหมดแล้วเราก็จะมาแยกว่าแต่ละปัญหา ถ้าเกิดแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไร และมีผลกระทบมากในระดับไหน สุดท้ายก็เสนอแนะวิธีการแก้ไข หรือเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหานั้น ส่วนข้อดีไม่ต้องเอามาเสนอ การเสนอแนะจะทำก็ต่อเมื่อเจอข้อเสีย หรือต้องการให้เกิดสิ่งที่ดีและเหมาะสมกว่า

          การเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย/วิเคราะห์ในครั้งต่อไป เป็นการนำเสนอว่า ถ้าจะมีการวิจัย/วิเคราะห์ต่อไปควรคำนึงถึงอะไรบ้าง หรือควรทำเรื่องอะไรบ้าง หรือควรจะเพิ่มตัวแปรอะไรบ้าง ควรปรับปรุงวิธีดำเนินการอย่างไร เครื่องมือในการวิจัย/วิเคราะห์ควรใช้แบบไหน

          ให้เสนอแนะว่าใคร หน่วยงานใด ควรจะดำเนินการอะไรต่อไป ข้อเสนอแนะต้องเป็นข้อเสนอที่ได้จากการวิจัย/วิเคราะห์ ไม่ใช่ข้อเสนอแนะในเชิงทฤษฎี ที่ไม่ได้มาจากข้อค้นพบในการวิจัย/วิเคราะห์ และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย/วิเคราะห์

การเขียนบรรณานุกรม

โดยแยกบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศ และแต่ละภาษานั้น ให้เรียงตามลำดับอักษร แบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน และพจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ