การตรวจหาโคล ฟอร มแบคท เร ย ม อด วย si-2

เป็นที่น่าสังเกตว่าเชื้อโคลิฟอร์มบางชนิดมีประวัติที่อ้างอิงว่าเป็นเชื้อโคลิฟอร์ม (coliform) ในอุจจาระ แต่มีการวิจัยที่แสดงถึงคำศัพท์ที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสมกว่า ได้แก่ เชื้อโคลิฟอร์ม (coliform) ที่ทนต่ออุณหภูมิ เพราะเชื้อมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตและหมักน้ำตาลแลคโตสได้ในอุณหภูมิที่สูงขึ้น แม้ว่าการทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์ม (coliform) ที่ทนต่ออุณหภูมิเป็นการทดสอบในครั้งเดียวเพื่อคาดประมาณจำนวนของ เชื้ออีโคไล (E. coli) ในตัวอย่าง แต่เชื้ออีโคไล (E. coli) ที่ก่อโรคบางชนิด (โดยเฉพาะ เชื้ออีโคไล O157:H7 (E. coliO157:H7) ไม่สามารถเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ผลการทดสอบได้

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะอาหารให้พลังงานและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆ ในร่างกาย แต่การเลือกรับประทานอาหารนอกจากจะมุ่งเน้นให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการแล้วยังต้องคำนึงถึงความสะอาดปลอดภัยของอาหารด้วย หากรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยได้

โดยเหตุนี้กรมอนามัยจึงได้คิดและพัฒนาชุดทดสอบขึ้นมา โดยมุ่งเน้นให้ง่ายต่อการใช้งานและอ่านผลสะดวกรวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขอนามัยของสังคมส่วนรวม

หลักการของชุดทดสอบ ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Si-Medium,Si-2) ใช้ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหาร และมือ ใช้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของอาหารตรวจเชื้อ จากสีม่วงใส เป็นสีม่วงอมเหลืองและสีเหลือง มีความขุ่นและแก๊สปุดเมื่อเขย่าเบาๆ

จำนวนตัวอย่างชุดทดสอบ – ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Si-Medium,Si-2) ขนาด 20 ตัวอย่าง/ชุด บรรจุในกล่องพลาสติกพร้อมอุปกรณ์ประกอบการทดสอบ – ขนาด Refill 50 ขวด (เฉพาะน้ำยาตรวจเชื้อ)

อายุและการเก็บรักษาชุดทดสอบ – เก็บในตู้เย็นมีอายุการใช้งาน 6 เดือน – เก็บในอุณหภูมิห้องมีอายุการใช้งาน 2 เดือน

ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (SI-2)

1.เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตรวจ ดังนี้

-น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (SI-2)

-ไม้พันสำลีที่ฆ่าเชื้อแล้ว

-สำลีก้อน

-กรรไกร

-คัตเตอร์

-แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค

2.ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดพื้นที่ถาดที่ใช้วางอุปกรณ์

การตรวจอาหาร

อาหารแข็ง ใช้กรรไกรที่ฆ่าเชื้อแล้วตัดอาหารให้มีชนาดเล็กลงและใช้ช้อนที่ฆ่าเชื้อแล้วตักอาหารลงในขวดน้ำยาประมาณ 1 กรัม ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 17-24 ชั่วโมง อ่านและรายงานผล

อาหารเหลว ใช้ช้อนชาที่ฆ่าเชื้อแล้วตักอาหาร 1 มิลลิลิตรใส่ลงในขวดน้ำยา ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 17-24 ชั่วโมง อ่านและรายงานผล

ควรงดเก็บอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น ยำต่างๆ แกงส้ม มะเขือเทศ

วิธีการสวอป

มือผู้สัมผัสอาหาร : หงายฝ่ามือที่ถนัดขึ้นสวอปจากปลายนิ้วถึงข้อที่ 2 เฉพาะหัวแม่มือให้สวอปถึงข้อที่ 1

แก้วน้ำ : สวอปครึ่งนิ้วจากขอบบนทั้งภายในและภายนอกจำนวน 5 ใบ / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

ช้อนส้อม : สวอปที่ตัวช้อนส้อมในส่วนที่สัมผัสอาหารทั้งด้านหน้าและด้านหลังจำนวน 5 คู่ / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

จาน ชาม ถ้วย : สวอปพื้นที่สัมผัสอาหารขนาด 2*2 ตารางนิ้ว จำนวน 5 ชิ้น / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

เขียง : สวอปด้านที่ใช้งานขนาด 2*2 ตารางนิ้วจำนวน 1 อัน / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

การอ่านและรายงานผล

ขวดที่ 1 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียสีม่วงใสปราศจากเชื้อ

ขวดที่ 2 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหลังใส่ตัวอย่างทดสอบและบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24 ชั่วโมง ให้ผลลบ (-) น้ำยายังคงเป็นสีม่วงใสไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าตัวอย่างไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

ขวดที่ 3 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหลังใส่ตัวอย่างทดสอบและบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24 ชั่วโมง ให้ผลบวก (+) น้ำยาเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีม่วงปนเหลือง มีความขุ่นและแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบาๆ แสดงว่าตัวอย่างมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

ขวดที่ 4 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหลังใส่ตัวอย่างทดสอบและบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24 ชั่วโมง ให้ผลบวก (++) น้ำยาเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง มีความขุ่นและแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบาๆ แสดงว่าตัวอย่างมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (SI-2) การตรวจภาชนะอุปกรณ์และมือ

1.จุ่มไม้พันสำลีในน้ำยา SI-2 บิดพอหมาด (ไม้พันสำลี 1 อัน/ น้ำยา 1 ขวด / ภาชนะอุปกรณ์ 5 ชิ้น ต่อประเภทภาชนะ)

2.ป้ายไม้พันสำลี บนผิวภาชนะอุปกรณ์หรือบริเวณที่จะตรวจโดยหมุนซ้ำไปมา

3.จุ่มไม้พันสำลีลงในขวดน้ำยา หมุนไปมาหลายๆครั้ง บิดพอหมาด นำไปป้ายภาชนะอุปกรณ์ทีละชิ้น ทำซ้ำจนครบ 5 ชิ้น

4.หักไม้พันสำลี โดยดึงไม้ให้พ้นปากขวดประมาณครึ่งหนึ่งแล้วหักไม้กับปากขวด และปิดฝาทันที ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 17-24 ชั่วโมง ก่อนอ่านและรายงานผล

ถ้าสารละลายเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลืองภายใน 24 ชั่วโมง แสดงว่ามีเชื้อโคลิฟอร์มให้รายงานผลเป็นบวก (+, Positive) ถ้าสารละลายยังคงมีสีม่วง (หรือจางลงเล็กน้อย) แสดงว่าตัวอย่างนั้นไม่มีเชื้อโคลิฟอร์มให้รายงานผลเป็นลบ (-, Negative) (ดังภาพ)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ