Teamwork ค าคม การ ท างาน เป น ท ม

สร้าง Teamwork ให้ดี ด้วยการฟีดแบ็กให้เป็น แบบ ‘Diamond Cutter’ นักเจียระไนคำพูดให้เฉียบคม “ยังไม่ใช่แบบที่พี่ต้องการ ไปแก้มาใหม่” “ไปทำมาให้ดีกว่านี้” “งานยังมีปัญหานะ แก้มาให้เรียบร้อยด้วย” สารพัดการ ‘ฟีดแบ็ก’ จากหัวหน้าผู้เป็นที่รักที่ชวนให้ฉงนสงสัยเสียจริงๆ ว่า “แบบที่ต้องการ” หรือ “สิ่งที่ดีกว่านี้” สำหรับหัวหน้าคือแบบไหนกันแน่? . จริงๆ แล้ว หัวหน้าเองก็ต้องการ ‘ติเพื่อก่อ’ ไม่ได้มีเจตนาที่จะฟีดแบ็ก เพื่อสร้างความคลุมเครือมากกว่าเดิม แต่ปัญหาด้านการสื่อสารที่หัวหน้าไม่แน่ใจว่า จะใช้คำพูดแบบไหนให้ถนอมน้ำใจลูกน้อง จนตัดสินใจใช้คำพูดที่สุดแสนจะอ้อมค้อม ไม่มีความชัดเจน ทำให้ลูกน้องจับต้นชนปลายไม่ถูก และหาหนทางแก้ไขข้อผิดพลาดจากฟีดแบ็กของหัวหน้าไม่ได้เลยสักนิด ยิ่งทุกอย่างยังคงดำเนินไปด้วยความคลุมเครือ ก็มีแต่จะทำให้ลูกน้องรู้สึกเหนื่อยกับการทำงาน และหมดไฟไปเรื่อยๆ แทนที่ ‘ฟีดแบ็ก’ จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะการทำงาน กลับกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนจิตใจคนทำงานไปเสียอย่างนั้น อีริน เมเยอร์ (Erin Meyer) ผู้เขียนหนังสือ The Culture Map: Breaking Through the Invisible Boundaries of Global Business ได้บรรยายหัวข้อ ‘The Culture Map : Decoding How People Communicate, Lead, and Get Things Done Around The World’ ในงาน Techsauce Global Summit 2022 เกี่ยวกับการฟีดแบ็กไว้อย่างน่าสนใจ มีใจความสำคัญว่า ในสังคมการทำงานที่ต้องทำงานกับคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่ละคนจะให้ความสำคัญกับการฟีดแบ็กในมิติที่ต่างกันออกไป บางคนต้องการรับฟีดแบ็กอย่างตรงไปตรงมา แต่บางคนกลับรับไม่ได้ ทำให้เกิดการผิดใจระหว่างเพื่อนร่วมงานอยู่บ่อยครั้งจากการฟีดแบ็กงานกันแค่ประโยคเดียว ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็มีสาเหตุมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เมื่อหันกลับมาดูในสังคมการทำงานทั่วไป ต่อให้หัวหน้าจะไม่ได้ทำงานกับลูกน้องหลากหลายเชื้อชาติ แต่ทุกคนในทีมก็ล้วนเติบโตมาจากพื้นเพที่ต่างกัน แม้จะเกิดในประเทศเดียวกันก็ตาม ทำให้หัวหน้าต้องใส่ใจกับการฟีดแบ็กลูกน้องแต่ละคนอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานของทีมให้ดียิ่งขึ้น แล้วหัวหน้าจะมีวิธีการฟีดแบ็กที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของทีมได้อย่างไรบ้าง? วันนี้ Future Trends จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิธีการฟีดแบ็กที่ ‘จัสติน บาริโซ’ (Justin Bariso) ผู้เชี่ยวชาญด้านความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) แนะนำ อย่าง ‘Diamond Cutter’ วิธีที่เน้นการขัดเกลาคำพูดให้เฉียบคมดั่งการเจียระไนเพชรน้ำงาม [ ฟีดแบ็กแบบ ‘Diamond Cutter’ ต้องเป็นอย่างไร? ] การฟีดแบ็กแบบ Diamond Cutter ไม่ได้มีวิธีการที่ซับซ้อน แต่จะให้ความสำคัญกับ ‘การคิด’ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการส่งผ่านคำพูดไปยังผู้ฟัง ประหนึ่งการเจียระไนเพชรที่ต้องเริ่มจากขั้นตอนแรกอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้เพชรน้ำงามที่ถูกใจผู้สวมใส่ที่สุด นักฟีดแบ็กแบบ Diamond Cutter จะตั้งใจสรรหาวิธีการสื่อสารที่ทำให้ผู้ฟังเปิดใจ และนำคำแนะนำไปใช้แก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงาน โดยเฉพาะการเลือกใช้ถ้อยคำที่ตรงไปตรงมาแต่ไม่ทำร้ายน้ำใจ ตัวอย่างเช่น งานที่ลูกน้องส่งมาให้ตรวจยังมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และต้องการส่งกลับไปแก้ไข หัวหน้าก็อาจจะพูดว่า “โดยรวมใช้ได้แล้วนะ แต่ส่วนท้ายสามารถทำให้ชัดเจนกว่านี้ได้ด้วยการเติมรายละเอียดลงไป” เป็นการชี้ให้ลูกน้องเห็นว่า จุดแข็งที่ตัวเองมีอยู่แล้วคืออะไร และต้องปรับปรุงอย่างไรถึงจะเก่งขึ้น [ 3 เทคนิคเสริมความแกร่งการฟีดแบ็กแบบ ‘Diamond Cutter’ ] 👇👇อ่านต่อในคอมเม้นน้า👇👇

“การทำงานเป็นทีม” คือ อีกหนึ่งรูปแบบการทำงานในฝันของใครหลายคน เพราะผลลัพธ์ของการทำงานรูปแบบนี้มักจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้องค์กรเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันบุคลากรให้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา เพราะหากในทีมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำงานเข้าขากัน ตลอดจนมีความสนิทชิดเชื้อกัน ทำผลงานเป็นที่น่าพอใจ ก็มีสิทธิได้ปรับเลื่อนตำแหน่งหรือเงินเดือนขึ้นพร้อม ๆ กันทั้งทีม โดยลักษณะและแนวทางของการทำงานเป็น Teamwork อย่างมีประสิทธิภาพ มี 6 ข้อ ดังนี้

1. เข้าใจการทำงานของตนเอง และคนอื่น

จุดเริ่มต้นแรกของการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพนั่นก็คือ “ผู้ปฏิบัติงาน” แม้จะเป็นหน่วยเล็กที่สุดของทีม แต่ก็สำคัญที่สุดเช่นกัน เพราะการที่ทีมมีบุคลากรที่ดีมารวมตัวกัน รวมทั้งมีความเข้าใจถึงการทำงานของผู้อื่นในทีม โดยอาศัยข้อดีเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน หากมีจุดไหนที่แตกต่างกันมาก ก็พร้อมจะเข้าใจ

2. สร้างและโฟกัสเป้าหมายร่วมกัน

เมื่อทำงานเป็นทีมก็ควรเริ่มวางแผนโดยสร้างวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อโฟกัสเป้าหมายในการเดินไปข้างหน้าร่วมกัน และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามภารกิจ ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี ควรมีการกำหนดขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนให้ชัดเจน แต่โฟกัสในสิ่งเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือร่วมมือร่วมใจและวัดความสำเร็จของทีม โดยอาจเขียนวัตถุประสงค์และหน้าที่ของแต่ละคนเป็นลายลักษณ์อักษรให้เข้าใจง่ายและทำได้จริง สนองนโยบายองค์กร

3. สร้างทีมด้วยความสามารถหรือจุดเด่นของแต่ละคน

เมื่อกำหนดหน้าที่และภาระงานของแต่ละคนตามความสามารถ ตำแหน่ง และประสบการณ์แล้ว หัวหน้าทีมก็ควรมองหาจุดเด่นของแต่ละคน ทั้งในเรื่องการทำงานและทัศนคติต่าง ๆ เพื่อต่อชิ้นส่วนจิ๊กซอว์แต่ละอันให้เข้ากันประสานเป็นหนึ่งเดียว อาจสร้างระบบบัดดี้เพื่อให้รองรับการทำงานซึ่งกันและกัน ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและลดความผิดพลาดของงาน

4. ตรงไปตรงมา จริงใจต่อกัน ให้การสนับสนุนกัน

เมื่อทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกันแล้ว ก็ควรเปิดใจต่อกัน ตรงไปตรงมาทั้งในเรื่องของงาน และความจริงใจระหว่างกันในทีม มีข้อเสนอแนะ เห็นพ้องเห็นต่างในจุดไหนอย่างไรก็กล้าที่จะพูดออกไปตามตรงโดยไม่ใช้อารมณ์หรือเรื่องส่วนตัว เมื่อเห็นต่างแล้วก็ควรมีเหตุผลที่ดีสนับสนุนให้เกียรติกัน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้เพื่อนร่วมทีมได้แก้ไขจุดบกพร่อง สิ่งนี้ไม่นับเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่คือความจริงใจและให้การสนับสนุนกันอย่างแท้จริง (รู้ไหม เพื่อนร่วมทีมก็มีส่วนช่วยให้เราไปสู่ความสำเร็จ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้

ที่นี่

)

5. เพิ่มความสนิทสนม สานสัมพันธ์

ฝ่ายบุคคลหรือหัวหน้างานในหลาย ๆ องค์กร มีนโยบายละลายพฤติกรรมของทีม เช่น การไปเที่ยว Outing กิจกรรมสนุกสนานร่วมกันต่าง ๆ เพื่อหนุนให้เกิดความสนุกสนานสานสัมพันธ์กันในองค์กร เมื่อมีความสนิทสนมกันระดับหนึ่งแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมทำงานไปด้วยกันอย่างราบรื่นมากขึ้นไปอีก กิจกรรมแบบนี้จึงควรจัดขึ้นปีละหลายครั้งหน่อย เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องการทำงานเป็นทีมแล้ว ยังช่วยลดภาวะความตึงเครียดจากการทำงานได้อีกด้วย

6. เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่มีวินัย

บุคคลในทีมที่มี Teamwork ดี มักจะประกอบด้วยคนที่มีลักษณะภาวะความเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามในขณะเดียวกัน คำว่าผู้นำในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการเป็นหัวหน้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการกล้าตัดสินใจ กล้าแสดงความคิดเห็น รู้หน้าที่ของตนเอง ไม่ต้องรอให้ใครมาบังคับ มีข้อเสนอแนะที่ดีให้เพื่อนร่วมทีมอยู่เสมอ และในขณะเดียวกัน เมื่อผู้อื่นในทีมแสดงภาวะความเป็นผู้นำบ้าง ก็สามารถเป็นผู้ตามที่มีวินัย เปิดกว้าง ยอมรับข้อเสนอแนะแล้วนำมาปรับปรุงตนเองได้ ให้สมาชิกในทีมได้พัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา

ข้อดีของการทำงานเป็นทีมที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน เช่น ทักษะการประสานงาน ทักษะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทักษะทางการเงิน ฯลฯ เพราะไม่มีใครที่เพอร์เฟคมีความสามารถครบทุกด้าน การทำงานเป็นทีมจึงเป็นการช่วยกันอุดช่องโหว่ของแต่ละคน โดยที่ไม่ลืมการมีผู้นำที่มาช่วยเติมเพิ่มพลังในการโฟกัสจุดประสงค์ของงานร่วมกัน มีการพัฒนาสัมพันธภาพในทีมให้ดีอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ