ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

นับตั้งแต่ปิดตัวลงเมื่อปี 2561 สนามม้านางเลิ้งได้เข้าสู่กระบวนการแปลงโฉมเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของคนกรุงเทพมหานครในนาม "อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567

วันนี้ (5 ธ.ค.) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนิน ทรงวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ และจะทรงปลูกต้นไม้พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนรับเสด็จด้วย

  • 9 พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่ประดับไว้ในใจไทย
  • ย้อนชมสารคดีบีบีซี "ศูนย์รวมใจของชาติ-พระราชวงศ์ไทย"
  • Soul of a Nation สารคดีอันทรงคุณค่าโดยบีบีซีเมื่อ 40 ปีก่อน
  • รวมเรื่องราวในหลวงรัชกาลที่ 9 ในความทรงจำ

เมื่อสร้างแล้วเสร็จ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นี้จะไม่ได้เป็นเพียงสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับป่าและน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระทัยและทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

บีบีซีไทยประมวล 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่กว่า 200 ไร่ ที่กำลังจะเปลี่ยนโฉมจากสนามม้านางเลิ้งสู่อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9

102 ปี ตำนานสนามม้านางเลิ้ง

จุดเริ่มต้นของเรื่องราวประวัติศาสตร์บนพื้นที่ 279 ไร่ บนถนนพิษณุโลก เขตดุสิต เริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2459 เมื่อพระยาประดิพัทธภูบาลและพระยาอรรถการประสิทธิ์ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระบรมราชานุญาตตั้งสโมสรสนามม้าแข่งไทยเพื่อให้บริการแข่งม้าสำหรับคนไทยและนำรายได้มาใช้บำรุงพันธุ์ม้าจากออสเตรเลียและอังกฤษ โดยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระบรมราชานุญาตพร้อมทั้งได้พระราชทานนามในขณะนั้นว่า "ราชตฤณมัยสมาคมแห่งกรุงสยาม"

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, NurPhoto/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

บรรยากาศผู้ชมการแข่งม้าวันสุดท้ายที่สนามม้านางเลิ้งเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2561

ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์" แต่ประชาชนนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "สนามม้านางเลิ้ง"

ปิดตัวเพราะขาดทุนสะสม 1.3 พันล้าน

ระยะหลัง กิจการของสนามม้านางเลิ้งเริ่มซบเซา แม้จะมีความพยายามหารายได้เพิ่มเติมจากการให้บริการกีฬาหลากหลายประเภทและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ ห้องอาหาร ห้องจัดเลี้ยงต่าง ๆ แต่สนามม้านางเลิ้งก็ยังประสบกับปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่องกว่า 1,300 ล้านบาท

การขาดทุนนี้เกิดจากหลายปัจจัย แต่เหตุผลหนึ่งที่สื่อมวลชนรายงานคือ การที่ต้องส่งภาษีเข้ารัฐจำนวนมาก แม้ทางผู้บริหารราชตฤณมัยสมาคมฯ จะเคยทำหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อขอจ่ายภาษีลดลง แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, NurPhoto/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เกมการแข่งม้าครั้งสุดท้ายก่อนปิดฉาก 102 ปีของสนามม้านางเลิ้ง

ต่อมาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้ให้ราชตฤณมัยสมาคมฯ เช่าอาคารและที่ดินบริเวณสนามม้านางเลิ้ง 3 สัญญาเช่า ได้แจ้งบอกเลิกสัญญาเช่าและขอให้ส่งมอบสถานที่เช่าภายในเวลา 180 วัน พร้อมชำระค่าเช่าหรือค่าภาษีคงค้าง นับแต่วันที่ 4 เม.ย. 2561 เนื่องจากสัญญาดังกล่าวได้หมดอายุเช่ามานานแล้ว โดยการแข่งขันนัดสุดท้ายมีขึ้นในวันที่ 16 ก.ย. 2561 ปิดฉาก 102 ปีของสถานที่แข่งม้าประวัติศาสตร์นี้ลงอย่างสมบูรณ์

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิม ซึ่งเป็นที่ดินในพระปรมาภิไธย มาเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เกิดจากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงตั้งพระราชหฤทัยเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, Google Map/หน่วยงานราชการในพระองค์

คำบรรยายภาพ,

ที่ดินในพระปรมาภิไธย

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่่ผ่านมา สำนักพระราชวังเผยแพร่วีดิทัศน์อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ของการให้เป็นแหล่งเรียนรู้แนวพระราชดำริของทั้งสองพระองค์ผ่านองค์ความรู้เรื่องป่าและน้ำ ซึ่งนำมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

"...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ..."

(พระราชดำรัสสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2525 ณ บ้านถ้ำคิ้ว อ. ล่องดาว จ. สกลนคร)

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, SOPA Images/LightRocket via Getty Images

คำบรรยายภาพ,

คนงานกำลังปรับพื้นที่ภายในพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิม เพื่อเตรียมการก่อนสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 และอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ร.9 (ถ่ายเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564)

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักพระราชวังและเฟซบุ๊กแฟนเพจของ "โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน" และจากการสืบค้นของบีบีซีไทย ยังไม่ปรากฏข้อมูลว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ ทั้งในแง่การก่อสร้าง การพัฒนาพื้นที่ การออกแบบสวนและพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9 แผนการก่อสร้าง การบริหารจัดการ รวมทั้งงบประมาณในการก่อสร้าง

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, SOPA Images/LightRocket via Getty Images

คำบรรยายภาพ,

คนงานกำลังติดตั้งรั้วกั้นรอบพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิม (ถ่ายเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564)

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, SOPA Images/LightRocket via Getty Images

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวคาดจะใช้เวลาในการก่อสร้างอย่างน้อย 6 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2567

พระบรมราชานุสาวรีย์ ร. 9 คือ หัวใจของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ภายในพื้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งมีการเริ่มพัฒนาแบบมาตั้งแต่ปี 2561 มีจุดเด่นสำคัญ คือ "พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจและศูนย์กลางของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, หน่วยงานราชการในพระองค์

คำบรรยายภาพ,

พระบรมราชานุสาวรีย์ ร. 9 คือ หัวใจของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

เมื่อสร้างแล้วเสร็จ คาดว่าประชาชนจะสามารถมองเห็นอนุสาวรีย์ได้จากถนนรอบนอกพื้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งถนนศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 5 และถนนพิษณุโลก

คำบรรยายวิดีโอ,

บีบีซีไทยขอเชิญบันทึกพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่บีบีซีจากสารคดี Soul of a Nation

การออกแบบภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ยังมีความเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 อาทิ การออกแบบบ่อน้ำและสะพานเป็นเลข ๙ สะพานหยดน้ำพระทัย และสะพานไม้เจาะบากง ซึ่งจำลองมาจากสะพานที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จพระราชดำเนินเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2524 ที่บ้านเจาะบากง ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, หน่วยงานราชการในพระองค์

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, หน่วยงานราชการในพระองค์

ในครั้งนั้น พระองค์ทรงพระทับอยู่บนสะพานไม้กับนายพร้อม จินนาบุตร ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ ซึ่งกลายมาเป็นภาพพระราชกรณียกิจที่พสกนิกรจดจำได้จนถึงทุกวันนี้

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, หน่วยงานราชการในพระองค์

สวนแห่งความสุข และความยั่งยืน

จากแบบการก่อสร้างได้ออกแบบอุทยานแห่งนี้ให้สะท้อนหลักการบริการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากต้นน้ำ ผ่านฝายชะลอน้ำ และแนวคิดการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ส่วนกลางน้ำ ผ่านโครงการแก้มลิง กังหันน้ำชัยพัฒนา และพื้นที่พืชชุ่มน้ำ และปลายน้ำ ผ่านแปลงพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ บ่อปลานิลและการใช้พืชกรองน้ำ

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, หน่วยงานราชการในพระองค์

ภายในพื้นที่ยังสามารถรองรับน้ำในกรณีที่เกิดอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเชื่อมคลองผดุงกรุงเกษม กับคลองเปรมประชากร และคลองสามเสนอีกด้วย

ก าหนดการว นเฉล ม ร.10 ตามโรงเร ยน 2561

ที่มาของภาพ, Google Map/หน่วยงานราชการในพระองค์

นอกจากจะมีพื้นที่เพื่อเป็นแห่งศึกษาทางธรรมชาติและแนวความคิดแห่งความยั่งยืนของในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว ยังจัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับประชาชนออกกำลังกาย มีลานกิจกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

รวมภาพ: ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9

วันที่ 5 ธ.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฎ พิลาสกัลยาณี ไปยังอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต เพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9