2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new

สวัสดีคุณผู้อ่าน เจอกันอีกครั้งครับ ครั้งนี้มีข้อสงสัยเลยไปหาข้อมูล จึงนำข้อมูลที่ได้มาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกัน เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า…..

เนื่องจากเอกสาร บางเอกสารที่ใช้ในหน่วยงานราชการ ใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK บ้าง บางเอกสาร TH Sarabun New บ้าง

ผมจึงอยากรู้ว่าตกลงแล้วฟอนต์ทั้งสองนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ควรใช้ฟอนต์ไหนกันแน่ ที่แน่ๆไม่ได้มีฟอนต์ไทยสวยๆ อ่านง่าย ที่สำคัญคือฟรี ให้ใช้มากนัก……เรื่องราวเป็นอย่างไร เราไปชมกันเลย

ที่มาของ TH Sarabun

ฟอนต์สารบรรณเป็นหนึ่งใน 13 ฟอนต์แห่งชาติที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เผยแพร่หลังจัดประกวด เพื่อคัดสรรแบบอักษรของประเทศไทยที่ใช้ทดแทนฟอนต์จากผู้ผลิตต่างประเทศ อย่าง “Angsana New”, “Cordia New” ที่สร้างสรรค์โดย Unity Progress Company (UPC) และไมโครซอฟท์ได้ซื้อสิทธิ์การใช้งานเป็นของตน ซึ่งถึงเราจะใช้ฟอนต์เหล่านี้มายาวนานจนคิดว่าเป็นฟอนต์ฟรี แต่ถ้านำไปใช้ผิดประเภท เช่นใช้บนระบบอื่นที่ไม่ใช่ระบบของไมโครซอฟท์ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการใช้ได้เช่นกัน (ก็ต้องซื้อฟอนต์ละ $129 สำหรับการใช้อื่นๆ นอกเงื่อนไข)

โดยในปี 2553 คณะรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้หน่วยงานฝ่ายบริหารทั้งหมดใช้ชุดแบบอักษร “TH Sarabun PSK” เป็นมาตรฐานเดียวกัน และในปี 2554 ราชกิจจานุเบกษาก็เริ่มต้นใช้ฟอนต์สารบรรณแทนที่ฟอนต์อังสนาที่ใช้กันมายาวนาน(เอวังก็มีประการฉะนี้)

แล้วควรใช้อะไรกันแน่ ระหว่าง TH Sarabun PSK กับ TH Sarabun New

ทีมงานเว็บแบไต๋ได้สอบถามคุณศุภกิจ เฉลิมลาภ ผู้ออกแบบก็ได้ความว่าฟอนต์ TH Sarabun New ที่เผยแพร่ในปี 2554 นั้นปรับปรุงจากฟอนต์ TH Sarabun PSK ที่เผยแพร่ในปี 2550 ในเรื่องการแสดงผลในจอความละเอียดต่ำที่ทำได้ดีกว่า โดยคุณศุภกิจอธิบายว่า

“หลังจากได้มีการประกาศและเริ่มใช้แล้ว พบว่าการแสดงผลไม่คมชัดเมื่อใช้งานกับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำ ซึ่งเป็นจอส่วนมากที่หน่วยงานราชการใช้ จึงได้มีโครงการทำตัว TH Sarabun New ขึ้นมาเพื่อแก้ไข ปรับปรุงในส่วนของการแสดงผลให้คมชัดยิ่งขึ้น เมื่อใช้ในขนาดที่เล็กครับ แต่ว่าโดยทางกายภาพของฟอนต์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ช่องไฟ ระยะบรรทัดฯ ทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมดครับ”

คุณศุภกิจ ผู้ออกแบบ ยืนยันในเว็บแบไต๋ อีกว่าฟอนต์ TH Sarabun New สามารถนำมาทดแทน TH Sarabun PSK ได้ทันที การแก้ไขในเอกสารเดิมก็ไม่เสียรูปแบบการจัดเอกสารที่เคยทำไว้ ปริ๊นออกมาก็ได้ตัวอักษรเหมือนกัน แต่จะทำให้การแสดงผลบนจอภาพคมชัดขึ้น อ่านง่าย อ่านสบายตาขึ้น

สรุปเราก็คงได้คำตอบกันแล้วนะว่า TH Sarabun New มาแทน TH Sarabun PSK และเหมือนผู้พัฒนาอยากให้ใช้ TH Sarabun New (ถ้าไม่เชื่อผู้พัฒนา จะให้ไปเชื่อใครละจ๊ะ)

ดาวน์โหลดฟอนต์ TH Sarabun New ทางนี้จ้า

สามารถดาวน์โหลด TH Sarabun New ได้จาก f0nt.com ครับ โหลดฟรี ใช้ได้เลย!

ตัวอย่าง Font TH Sarabun New

ส่วนถ้าอยากได้ฟอนต์ Sarabun-Mai ที่มีรูปแบบตัวอักษรในน้ำหนักต่างๆ สำหรับใช้งานต่างๆ ก็สามารถหาซื้อได้จาก Katatrad (บริษัทของคุณศุภกิจ) ขายกันเป็นน้ำหนักตัวอักษร (เช่น ตัวบาง ตัวหนามาก ตัวหนา-เอียง) น้ำหนักละ 11,800 บาท ซื้อครบเซ็ต 8 น้ำหนักราคา 65,000 บาท (เห็นราคาเอามือลูบหน้าแล้วคิดในใจดังๆว่า กลับไปใช้ฟอนต์ Sarabun ฟรีอย่างเดิมดีแล้วอิอิ)

สำหรับท่านที่อาจจะต้องพิมพ์เอกสารราชการบ่อยๆ ซึ่งต้องใช้ TH Sarabun นั้น คงเป็นเรื่องน่าเบื่อที่จะต้องมาคอยเปลี่ยน Font ทุกครั้ง

อันที่จริงแล้ว ใน Microsoft Word 2016 (ล่าสุด ณ ตอนเขียนบทความนี้) ท่านสามามารถบันทึกรูปแบบเริ่มต้นทั้งฟอนต์, ขนาดฟอนต์ รวมทั้งรูปแบบตัวอักษรไว้เป็นค่าเริ่มต้นได้เลย (Overwrite the Normal.dotm template) ด้วยวิธีการต่อไปนี้ครัช

1. เลือก Font ที่จะเป็น Font เริ่มต้น ในตัวอย่างเลือกเป็น TH SarabunPSK ขนาด 16 แล้วก็คลิกตามลูกศรชี้

ปัญหา noto font จาก google

2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new
ใน word ภาษาอังกฤษใช้ Noto ได้หมด แต่พอเปลี่ยนเป็นไทยจะใช้ serif thai ดันใช้ไม่ได้ บังคับเป็นangsana หรือ อื่นๆ ที่ไม่ใช่ noto thaiในรูปคำไทยเป็น cordia

2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new
มาลองใช้ noto ภาษาไทย ใน powerpoint ดันใช้ได้ บน serif ล่าง san thai ui

ก่อนหน้านี้ noto ไทย ใช้ได้ปกติ พอล้างเครื่องแล้วลง โปรแกรมใหม่ ดันเป็นงี้ซะงี้น

ใครเคยเจอแล้วพอจะมีวิธีแก้ไหมครับ

office 2016 อัพเดต 1070(8326.2076) แท้ windows 10 แท้

แก้ไขข้อความเมื่อ

ข่าวใหญ่ของวงการไอทีวันนี้คงหนีไม่พ้น Office for iPad ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไมโครซอฟท์ยุคใหม่ใต้วิสัยทัศน์ Mobile-First Cloud-First

Office for iPad ยังไม่รองรับภาษาไทยเต็มรูปแบบ และยังไม่เปิดให้ดาวน์โหลดจาก App Store ของประเทศไทย แต่เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและใกล้ตัวผู้ใช้งานด้านไอทีจำนวนมาก Blognone จึงมาลองทดสอบการใช้งานกันแบบพรีวิวว่าเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะกับการใช้งานจริงมากน้อยแค่ไหน

คำเตือน: รูปเยอะมากครับ

ชื่อของมันคือ Office for iPad แต่เอาเข้าจริงแล้วมันเป็นแอพแยก 3 ตัวใน App Store ของแอปเปิล อันประกอบด้วย Word, Excel, PowerPoint สามารถดาวน์โหลดแยกได้เป็นรายตัวครับ ดาวน์โหลดได้ฟรีจาก App Store (USA)

ขนาดไฟล์ใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับแอพบน iOS ทั่วไป (ที่ไม่ใช่เกม) โดย Word มีขนาด 246MB, Excel มีขนาด 221MB, PowerPoint มีขนาด 205MB

ดาวน์โหลดเสร็จแล้วก็เปิดใช้งานได้ตามปกติ เรามาดูรายละเอียดกันรายตัวเลยครับ

Microsoft Word for iPad

แอพที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้งานกันมากที่สุดคือ Microsoft Word เมื่อเรียกแอพขึ้นมาจะเจอกับหน้า splash screen หน้าตาสวยงาม และหน้าจอแนะนำให้เราล็อกอินด้วย Office 365 (สามารถเลือกการใช้งานแบบไม่ต้องล็อกอินได้)

2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new
2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new

เสร็จเรียบร้อยแล้วเราจะเจอกับหน้าตาเริ่มต้นเหมือน Office รุ่นใหม่ๆ พวก Office 2010 หรือ 2013 โดยจะมีแท็บด้านซ้ายมือ และหน้าจอแสดงเอกสารฝั่งขวามือ

2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new

ลองสร้างเอกสารจากเทมเพลตที่มีมาให้ ผลเป็นดังภาพครับ ถ้าเราไม่ล็อกอิน แอพจะแสดงข้อความว่า Read-Only และเตือนให้เราสมัคร Office 365 เพื่อแก้ไขเอกสาร ส่วนหน้าตาของแอพโดยรวมๆ น่าจะพอเห็นภาพว่าใช้อินเทอร์เฟซแบบ Ribbon ผสมแถบเครื่องมือแบบเดิม

บริการกลุ่มเมฆที่เราสามารถเชื่อมต่อได้ ในตอนนี้มี 2 ตัวคือ OneDrive รุ่นปกติ และ OneDrive for Business ซึ่งในรีวิวนี้จะอิงจากการเปิดเอกสารใน OneDrive รุ่นปกตินะครับ

จากการใช้งานพบว่าความรู้สึกจะคล้ายกับ Office Online รุ่นบนเว็บมาก โดยเอกสารทั้งหมดที่เก็บอยู่ใน OneDrive ของเราจะโผล่มาให้เลือกแก้ไขตั้งแต่แรก (ส่วนตอนเซฟ สามารถเลือกได้ว่าจะเซฟลง OneDrive หรือเซฟลง iPad)

ทดสอบภาษาไทย

ทดสอบเปิดเอกสาร Word (.docx) ภาษาไทยที่ผมเก็บไว้ใน OneDrive นะครับ เปิดมาปั๊บเจอของดีเลย ตัวอักษรเป็นสี่เหลี่ยมเกือบหมด (เอกสารเดียวกันนี้เปิดบน Word Online ดูได้สวยงาม)

สังเกตว่าภาพข้างบนเลือกฟอนต์เป็น Calibri ซึ่งเป็นค่าดีฟอลต์ ลองเปลี่ยนเป็นฟอนต์อื่นๆ ดูพบว่ามี Cordia New ให้เลือก เปลี่ยนแล้วก็แสดงผลภาษาไทยสวยงาม สระไม่ลอย

การตัดคำภาษาไทย

ทีนี้ลองดูเรื่องการตัดคำบ้าง ผมสร้างเอกสารทดสอบบน Word Online ที่ตัวหนังสือติดกันเป็นพรืด (ตัดคำได้สวยงามบน Word Online) แล้วลองมาเปิดไฟล์เดียวกันบน Word for iPad พบว่ายังมีปัญหาการตัดคำครับ

ในเอกสารยังทดสอบเรื่องฟอนต์เพิ่มเติม โดยเลือก 2 ฟอนต์สุดฮิตของคนไทยคือ Cordia New (ช่วงบน) และ Angsana New (ช่วงล่าง) ผลคือ Cordia New แสดงผลได้ถูกต้อง แต่ Angsana New กลายเป็นฟอนต์ตัวอื่นแทน

ฟอนต์ภาษาไทย

มาดูฟอนต์ที่มีให้เลือกใน Word for iPad กันบ้างครับ มันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

  • Theme Fonts ฟอนต์ที่มากับธีมเอกสาร
  • Office Compatible Fonts ฟอนต์ของ Office เอง
  • iOS Fonts ฟอนต์ของระบบ iOS

ฟอนต์ภาษาไทยที่มากับ Office for iPad เท่าที่หาเจอมี Angsana New (ที่ไม่มีให้เลือกเสมอไป), Cordia New (มีให้เลือกตลอด), Courier New, Tahoma

ส่วนฟอนต์ของ iOS ก็สามารถใช้ฟอนต์ Thonburi ได้

ลองเลือก Tahoma แสดงผลได้ถูกต้อง ส่วน Thonburi ผลออกมาพออ่านออกแต่ก็เละๆ

ผลสรุปก็คืออ่านไทยได้เป็นบางฟอนต์ แต่ตัดคำภาษาไทยไม่ได้ครับ พอถูไถแต่ยังไม่สมบูรณ์ (เขายังไม่ออกเวอร์ชันที่รองรับภาษาไทยนี่เนอะ)

ฟีเจอร์ของ Word

หมดจากการทดสอบภาษาไทย ลองมาดูการทดสอบฟีเจอร์กันบ้าง จากการใช้งานพบว่าไมโครซอฟท์ไม่ใช้อินเทอร์เฟซแบบ Ribbon ตัวเต็มเพราะเปลืองที่ แต่ใช้วิธีแสดงเป็น drop-down menu เมื่อกดปุ่มแทน

ตัวเลือกมาตรฐานด้านการจัดฟอร์แมตก็มีครบ เช่น Styles และตัวหนาตัวเอียง เอฟเฟคต์อักษรต่างๆ

การแทรกตารางและวัตถุต่างๆ ในเอกสาร

ใส่ตารางได้ สไตล์ของตารางมีเท่ากับ Office ตัวเต็ม

ใส่รูปทรงต่างๆ ลูกศร แผนภาพ และ break ก็มีครบถ้วน

การกำหนดฟอร์แมตเอกสาร

กำหนด Layout ได้ รองรับ column และ orientation แต่ส่วนของขอบเอกสาร เลือกได้เฉพาะที่มีมาให้ ไม่สามารถกำหนดตัวเลขเองได้

รองรับ header, footer และ page numbers ในตัว เพียงแต่อาจไม่มีสไตล์ให้เลือกหลากหลายนักเมื่อเทียบกับ Word ตัวเต็ม

การตรวจสะกดและรีวิวเอกสาร

ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวสะกด ไม้บรรทัด และการนับคำ

ฟีเจอร์ด้านการรีวิวเอกสารและ track changes ก็มีให้ใช้ครับ

Microsoft Excel for iPad

อันดับต่อไปลองเล่น Excel กันบ้างครับ หน้าตาเริ่มต้นคล้ายกันคือมี splash screen และเทมเพลตมาตรฐานให้เลือกใช้งาน

2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new
2024 ทำไม google doc ถ งไม ม ฟ อน cordia new

ลองสร้างเอกสารตามเทมเพลตขึ้นมา 1 ไฟล์ แสดง Gantt chart ได้สวยงาม รองรับการแสดงเอกสารได้หลายแผ่นงาน (sheet)

การแก้ไขเอกสารมีคีย์บอร์ดแบบตัวเลขให้ใช้ และตัวช่วยเติมสูตรคำนวณด้วย

ทดสอบการใช้งานสูตร

เห็นมีสูตรที่คนไทยขาดไม่ได้ BAHTTEXT() โผล่ขึ้นมา เลยทดสอบหน่อยครับ ใช้งานได้ตามปกติไม่มีปัญหาอะไร

การใส่กราฟและชาร์ท

ใส่กราฟและชาร์ทได้เหมือน Office รุ่นเต็ม เท่าที่ลองดูคร่าวๆ ชาร์ทที่มีให้เลือกก็ไม่ต่างกันมาก

ฟีเจอร์อื่นๆ

ฟีเจอร์อื่นๆ ด้านการแสดงผล เลือกได้ว่าจะแสดงอะไรบ้าง รวมถึง Freeze Row/Column ได้ด้วยเลย (ถ้าเลือกฟอนต์เป็น Thonburi จะเละเหมือนกันครับ)

Microsoft PowerPoint for iPad

ส่วนของ PowerPoint จะบังคับให้แสดงผลเฉพาะในแนวนอนเพียงอย่างเดียว (Word/Excel ทำได้ทั้งสองแนว) หน้าตาตอนเริ่มต้นก็มีเทมเพลตให้เลือกมากมายเช่นกัน

ทดลองสร้างเอกสารจากเทมเพลต จะเห็นว่าหน้าตาก็คล้ายกับ PowerPoint ตัวเต็มที่มีรายการสไลด์ด้านซ้ายมือ และตัวสไลด์หลักทางขวามือ

การแก้ไขเอกสารเก่า

ทดลองเปิดสไลด์เก่าๆ พบว่าแสดงผลได้สวยงามดี สามารถแก้ไขรูปวาด (shape) ได้โดยตรง จับหมุนหรือย้ายตำแหน่งได้

Transition

รองรับ Transition ที่ระดับตัวแผ่นสไลด์ แต่ยังไม่รองรับ Animation ของวัตถุในสไลด์ครับ มีให้เลือก Transition เยอะเลย

ทดสอบเปิดเอกสารภาษาไทย

ทดสอบภาษาไทยด้วยวิธีเดียวกันคือ สร้างเอกสารภาษาไทยบน PowerPoint Online แล้วลองมาเปิดใน PowerPoint for iPad

ผลคืออ่านไทยได้แต่ฟอนต์เละครับ กลายเป็น Tahoma หมดเลย

สรุป

Office for iPad งานออกมาเนี้ยบกว่าที่คิด สวยงาม รวดเร็ว อ่านไฟล์เอกสารแทบไม่เพี้ยนเลย (เท่าที่ทดสอบ) ฟีเจอร์เยอะในระดับที่ใกล้เคียงกับ Office Online หรือบางจุดน่าจะเยอะกว่าด้วยซ้ำ เชื่อมโยงกับ OneDrive ทำให้สะดวกในการแก้ไขและแลกเปลี่ยนไฟล์

จุดด้อยตอนนี้คงเป็นว่ายังไม่รองรับภาษาไทยเต็มรูปแบบ (แต่ก็อยู่ในระดับที่ "อ่านได้") อันนี้คงต้องรอกันต่อไปว่าไมโครซอฟท์จะออกรุ่นภาษาไทยช้าเร็วแค่ไหน

ในระยะยาวแล้วผมคิดว่าถ้าต้องใช้งานเอกสาร Office เยอะๆ และไม่มีไลเซนส์ขององค์กร การลงทุนซื้อสมาชิก Office 365 น่าจะคุ้มอยู่ครับ เพราะใช้ได้ทั้งบนพีซี แมค แท็บเล็ต มือถือ ออนไลน์ ครบทุกอย่างเลย (ยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์คือไม่ขายแอพ แต่พยายามให้เราไปซื้อสมาชิก Office 365 ที่มีสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทน)