2024 ทำไม ต องเช ฯเพ อนบ านมางาน ต งเสาเอก

เผยแพร่: 22 ม.ค. 2551 22:44 โดย: MGR Online

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวารที่ 3 สำนักพระราชวังกำหนดจัดพิธีตักบาตรพร้อมกันทั้งประเทศ ถวายเป็นพระราชกุศลโอกาสครบ 50 วัน และ 100 วัน ของการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุเผย การก่อสร้างพระเมรุเสาหลักรับน้ำหนักพระเมรุ 4 ต้นใช้วิธีวางเหล็กฉากจากฐานถึงยอดแล้วประกบทุกด้านด้วยไม้อัดเพื่อให้เหมือนเสาจริง เหตุไม้ซุงต้นใหญ่หายาก

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์ราชสกุลทุกมหาสาขา และหน่วยงานของรัฐ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศล บำเพ็ญพระกุศล และบำเพ็ญกุศล ถวายพระศพประจำสัปดาห์ ในทุกวันพุธ หลังจากพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (ทำบุญครบ 7 วัน) โดยสัตตมวารที่ 3 ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 23 ม.ค.นี้ ในการนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระราชทานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ขณะที่วานนี้( 22 ม.ค.) เวลา 18.50 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และ ทูลกระหม่อหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จฯไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยพระสงฆ์จากวัดสระเกศ และวัดมหาธาตุฯ เป็นผู้สวดพระพิธีธรรม

เวลา 10.08 น. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯในการพระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเพล แด่พระสงฆ์ที่นิมนต์จากวัดสุทัศนเทพวราราม และวัดประยูรวงศาวาส เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

ช่วงเช้า ม.จ.จุลเจิม ยุคล เดินทางมาเป็นประธานถวายภัตตาหารเช้า ในการพระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเช้า พระสงฆ์จากวัดอนงคาราม และวัดระฆังโฆษิตาราม ในงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และวานนี้มีประกาศจากสำนักพระราชวัง แจ้งว่า ในการบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในทุกวันพุธ สำนักพระราชวังจะเปิดให้ประชาชนเข้ากราบถวายสักการะพระศพ ในเวลา 14.00 - 16.00 น. แต่ยังสามารถเข้าร่วมในพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพ ในเวลา 18.00 - 22.00 น. ได้ตามปกติ

ขณะที่บรรยากาศภายในพระบรมมหาราชวัง วานนี้ มีประชาชนเดินทางมากราบถวายสักการะพระศพกันบางตากว่าทุกวัน ทว่ายังมีบุคคลสำคัญและคณะเดินทางมาถวายสักการะพระศพ กันอย่างต่อเนื่อง

อาทิ นายเลนนาร์ด ลินเนอร์ เอกอัครราชทูต ราชอาณาจักรสวีเดน ที่อัญเชิญพวงมาลาของ สมเด็จพระราชธิบดี คาล์ กุสตาฟที่ 16 และสมเด็จพระราชชินี ซิลเวียร์ ราชอาณาจักรสวีเดนมาถวายสักการะพระศพ และนายสเวน ฟิลลิปส์ ราชเลขาธิการในพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดี คาล์ กุสตาฟ ที่ 16 และสมเด็จพระราชินี ซิลเวียร์ แห่งราชอาณาจักรสวีเดน ที่ได้นำพวงมาลาส่วนตัวมาถวายสักการะพระศพ,ท่านผู้หญิงอิศรา บูรณศิริ กรรมการบริหารมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์, นางวงศ์ เกตุบำรุง วัย 94 ปี อดีตข้าราชการฝ่ายใน แผนกพระราชฐานฝ่ายใน,นางพูลศิริ ณ ระนอง อดีตคุณข้าหลวง ในพระองค์เจ้าวาปี บุษกร, ราชบัณฑิตยสถาน ,สมาชิกศูนย์ข้าราชบริพารผู้สูงอายุ สำนักพระราชวัง,พระตำหนักสวนกุหลาบ, วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ, สมาคมนักบินโบราณ 33 และคณะนักเรียนจากโรงเรียนวัดพระเชตุพน

นายกราชบัณฑิตยสถาน นำขรก.ถวายสักการะพระศพ

นายชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน ได้นำข้าราชการระดับสูง และเจ้าหน้าที่ในสังกัดราชบัณฑิตยสถานรวม 20 คน ร่วมวางพวงมาลา และขึ้นกราบถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

นายชัยอนันต์ กล่าวว่า ตนเคยเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เมื่อครั้งเดินทางไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พระองค์ท่านทรงรับสั่งเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ให้ตนฟังอย่างละเอียด เนื่องจากพระองค์ท่านเคยประทับอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลานาน พระองค์ท่านทรงมีพระจริยวัตรอันงดงาม และเรียบง่าย ทรงเป็นครู ที่ให้ความรู้กับทุกคนอย่างไม่ถือพระองค์ เพราะฉนั้นจึงทำให้ตน รู้สึกไม่ประหม่า ในเวลาที่เข้าเฝ้าพระองค์ท่าน

ด้าน นางจิตนา พันธุ์ฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า หลายคนมักจะทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ทางด้านภาษฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว พระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาไทยเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากพระนิพนธ์หลายๆ เรื่อง พระองค์ท่านทรงใช้ภาษาอย่างงดงาม และเรียบง่าย นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงเป็นห่วงในเรื่องของการใช้ภาษาไทย ของเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก พระองค์ท่านมักจะเน้นย้ำเสมอว่า ทุกคนควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

ตักบาตรถวายครบ 50 วัน 100 วัน

นายขวัญแก้ว วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ในฐานะรองประธานกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพี่นางเธอฯ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ดำเนินการจัดงานพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธี ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามประเพณี และสมพระเกียรติ ซึ่งที่ประชุมในวานนี้ได้เห็นชอบให้มีการจัดพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสครบรอบ 50 วัน แห่งการสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 21 ก.พ.51 และครบรอบ 100 วัน ในวันที่11 เม.ย. 51 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยในกรุงเทพฯจัดที่ท้องสนามหลวง หรือที่ลานพระราชวังดุสิต

โดยมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการจัดพิธีในกรุงเทพฯ และให้กระทรวงมหาดไทย แจ้งทุกจังหวัดจัดพิธีพร้อมกับกรุงเทพฯ จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วมพิธีด้วย

ใช้วิศวกรรมสมัยใหม่สร้างพระเมรุ

นายอารักษ์ สังหิตกุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เปิดเผยว่า การก่อสร้างพระเมรุขณะนี้ต้องรอรายละเอียดเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรมจาก น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะทำงานออกแบบพระเมรุให้แล้วเสร็จก่อน จากนั้นขั้นตอนต่อไปตนจะนำมาคำนวณโครงสร้างของพระเมรุทั้งหมด

ทั้งนี้ ในการจัดสร้างพระเมรุ ฝ่ายวิศวกรจะตั้งเสาหลัก 4 เสา เพื่อรับน้ำหนักตามแบบที่ฝ่ายสถาปัตยกรรมออกแบบไว้ ซึ่งในสมัยโบราณจะใช้ซุงต้นใหญ่เป็นเสาหลัก แต่ในครั้งนี้จะใช้เหล็กฉากมาทำโครงสร้างของเสาหลักที่มีลักษณะย่อมุม โดยวางเหล็กฉากสลับฟันปลาจากฐานไปถึงส่วนยอดของเสา จากนั้นจะใช้ไม้อัดประกบทุกด้านให้เหมือนเสาไม้จริง ส่วนความยาวของเสาเอกขึ้นอยู่กับแบบสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้ โดยเสาทั้ง 4 มุมจะเป็นการสร้างเสาหลักที่มีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ เพราะต้องรองรับน้ำหนัก และยึดโยงโครงสร้างของเสาต้นต่างๆ ของพระเมรุทั้งหมด ส่วนเสาเอกนั้นต้องรอทางพราหมณ์หลวง สำนักพระราชวังเป็นผู้ประกอบพิธีบวงสรวง และเลือกเสาหลักต้นใดต้นหนึ่งเป็นเสาเอก เพื่อประกอบพิธีบวงสรวง

สำหรับส่วนของปลียอดพระเมรุจะเป็นเหล็กเส้นประกบกับไม้ตบแต่ง ซึ่งการวางโครงสร้างทางวิศวกรรมจะต้องมีการคำนวณแรงลม เพราะเสาเหล็กจะต้องสามารถรับแรงกระแทกของลมบริเวณสนามหลวงได้ 160-200 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร เนื่องจากท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่โล่ง มีแรงลมกระโชกอยู่ตลอด ทั้งหมดขึ้นอยู่กับแบบสถาปัตยกรรมที่กำหนดมา ที่สำคัญในการก่อสร้างจะนำคานเหล็กมาใช้แทนคานไม้ เพื่อคำนวณการรองรับน้ำหนักของคนจำนวนมากที่จะทยอยหมุนเวียนขึ้นไปสักการะพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ บนพระเมรุอีกด้วย ดังนั้น คานต้องมีความแข็งแรงมากที่สุด และการทำงานจะต้องรัดกุม คำนึงถึงความปลอดภัยของโครงสร้างในการรับน้ำหนัก จะต้องไม่มีข้อผิดพลาดเด็ดขาด

ทำไมต้องมีพิธีลงเสาเอก

พิธีลงเสาเอกบ้านคืออะไร นอกจากนั้นในด้านความเชื่อแล้ว พิธีลงเสาเอกบ้านยังเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง เนื่องจากเสาเอกบ้าน เป็นการแทนสัญลักษณ์ของผู้ชายที่ความเป็นผู้นำ มีความแข็งแรง เปรียบเสมือนพ่อซึ่งเป็นช้างเท้าหน้าของบ้าน เพื่อปกป้องและดูแลครอบครัวและคนในบ้านให้อยู่ดีเป็นสุขนั่นเอง

ทำไมต้องลงเสาเอกเสาโท

คือเสาเหล็กหรือเสาโครงคร่าวก่อนสร้างแบบเทปูน หรือเสารับน้ำหนักของบ้าน อาคารชั้นหนึ่งนั่นเอง เสาเอกคือผู้ชาย เสาโทคือผู้หญิง เหตุผลของการประกอบพิธีกรรม ตามหลักดิน น้ำ ลม ไฟ ชัยภูมิศาสตร์และอาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู ถือว่าทุกสิ่งในโลก ธรรมชาติทุกมีส่วนเจ้าของหรือเทพผู้ดูแลรักษา

ใบไม้มงคล 9 อย่าง ลงเสาเอก มีอะไรบ้าง

9 ไม้มงคลในพิธียกเสาเอก เสริมพลังให้มั่งคั่งอยู่ดีมีสุข.

กันเกรา ชีวิตมั่นคง ป้องกันอันตราย.

ทรงบาดาล ชีวิตครอบครัวมั่นคง มั่งคั่ง แข็งแรง.

ชัยพฤกษ์ โชคดีมีชัยทุกประการ.

ราชพฤกษ์ ความเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนา.

ขนุน หนุนเสริมให้ร่ำให้รวย มีแต่คนหนุนนำ เกื้อหนุน.

ไม้สัก มีศักดิ์ศรี เกียรติยศ ชื่อเสียง.

ทองหลาง มีเงิน มีทองไม่อับจน.

เสาต้น ไหน เป็น เสาเอก บ้าน

เสาเอก คือ เสารับน้ำหนักบ้าน แต่ไม่ใช่เสาที่ตอกลงไปให้จมลงดิน ความสำคัญของเสาเอก คือเป็นเสาต้นแรกของบ้าน เป็นเหมือนการเริ่มต้นครอบครัว หากเริ่มต้นดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง