2024 ห างงานประจำไปนาน กล บไปทำ ทำไม เป น

มีคำถามมากมายที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง โดยคำถามยอดฮิตหลังเผชิญหน้ากับวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมาก็คือ “ทำงานเสริมนอกเวลา ผิดกฎหมายไหม”

ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี 2022 โดยสหรัฐอเมริกามีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 8.3% และประเทศไทยที่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.66% รวมทั้งค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ก็อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องโดยทำระดับสูงสุดอยู่ที่ 38.40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 17.55% ตั้งแต่ต้นปี

ดังนั้นการทำงานเสริมนอกเวลาจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกของคนยุคใหม่ที่มองว่าการหารายได้เพียงทางเดียวนั้นไม่ตอบโจทย์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน หากอ้างอิงตามข้อมูลจาก จะเห็นได้ว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยนั้นอยู่ที่ 19,430 บาท แต่กลับมีค่าครองชีพเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 27,485 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนไทยนั้นใช้เงินติดลบต่อเดือนอยู่ที่ 8,055 บาท

แน่นอนใคร ๆ ก็อยากมีรายได้ 2 ทางหรือมากกว่านั้นเนื่องจากทุกคนย่อมอยากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตและต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี

ทำไมคนไม่กล้ารับงานเสริม

แม้ทุกคนจะเข้าใจกันดีว่าการหารายได้ 2 ทางย่อมดีกว่าการหารายได้ทางเดียวแต่หลายคนกลับหันหลังให้กับการรับเสริมไปเสียดื้อ ๆ โดยหนึ่งในเหตุผลหลัก ๆ ของพวกเขานั่นก็คือ “ปัญหาด้านเวลา”

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่กล้ารับงานนอก ได้แก่

  • ปัญหาด้านเวลาและสถานที่การทำงาน
  • งบประมาณไม่เพียงพอต่อการเริ่มต้นทำงาน 2 ที่
  • กลัวผิดกฎหมายของประเทศหรือผิดกฎบริษัทที่เสี่ยงต่อการไล่ออก
  • บริษัทมีข้อบังคับชัดเจนเกี่ยวกับการรับงานนอก
  • กลัวไม่มีเวลาให้ครอบครัวหรือพักผ่อน
  • สายงานที่ทำยากต่อการรับงานฟรีแลนซ์
  • อื่น ๆ อีกมากมาย

ในที่นี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในเรื่อง “ทำงานเสริมนอกเวลา ผิดกฎหมายไหม” ซึ่งหากให้ตอบตามข้อเท็จจริงนั้นจะสามารถบอกได้ว่า

“การทำงานเสริมนอกเวลา ไม่ผิดกฎหมาย แต่อย่างใด”

ทั้งนี้แน่นอนว่าหากคุณประกาศให้คนในบริษัททราบว่ารับงานนอกเสริมนั้นอาจเป็นเรื่องที่ทำให้หัวหน้าของคุณเพ่งเล็งคุณเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามหากคุณสามารถแบ่งเวลาได้ดีและเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์ขององค์กรย่อมไม่มีปัญหาใด ๆ

หมายเหตุ : ในกรณีที่บริษัทไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเสริมในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือสายงานเดียวกันเท่านั้น

ข้อเท็จจริงด้านกฎหมาย

เป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยทีเดียวที่การทำงานเสริมนอกเวลาไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งช่วยให้คนไทยไม่จำเป็นต้องจำกัดรายได้ไว้เพียงทางเดียวเท่านั้นแต่ยังสามารถทำอาชีพเสริมเพื่อเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งได้อีกด้วย

แต่การจะรับงานเสริมหรือทำการค้าขายก็ควรที่จะศึกษากฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทให้ดีเสียก่อนว่าคุณมีโอกาสที่จะทำผิดกฎระเบียบหรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็อาจถูกเลิกจ้างหรือ “ตกงาน” ได้ง่าย ๆ

ตามข้อมูลจากทนายความคดีแรงงาน By เนตินรา ได้ชี้แจงเหตุผล 3 ประเด็นว่าพนักงานสามารถรับงานนอกเสริมได้ แต่จะต้องไม่เป็นไปดังเหตุผล 3 ประการนี้

  1. ลูกจ้างไม่ได้เบียดเบียนใช้เวลางาน ไปรับจ้างทำงานอื่น เช่น มัวแต่ขายของออนไลน์จนเสียการเสียงานถือเป็นการเบียดเบียนเวลางาน
  2. ศาลเห็นว่างานที่ลูกจ้างรับทำนั้น เป็นกิจการคนละประเภทกับนายจ้าง ลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียและการรับทำงานอื่น ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายและไม่ขัดผลประโยชน์กับนายจ้าง
  3. ในสัญญาจ้างและข้อบังคับบริษัทไม่ได้ มีข้อห้ามว่า ลูกจ้างไม่สามารถรับงานนอกเวลาได้

ทั้งนี้ตามคำพิพากษาฎีกา 1253/2526 ได้กล่าวไว้ว่า “สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีข้อห้ามไม่ให้ลูกจ้างทำงานหารายได้จากที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุมัติก่อน เว้นเสียแต่จะเป็นการรับจ้างนอกเวลาทำงานของบริษัทและไม่ขัดกับนโยบายของบริษัท ซึ่งหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาและนอกจากระเบียบข้อบังคับของนายจ้างถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม”

แน่นอนว่าตามหลักกฎหมายแล้วนั้นการรับงานเสริมนอกเวลาถือเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด และพนักงานสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้กรณีถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลที่ไม่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตามหากเราพูดถึงหลักความเป็นจริงแล้วแม้จะมีการเลิกจ้างและการฟ้องร้องเกิดขึ้นจริงนั้นก็เป็นเรื่องที่ใครหลายคนกังวลว่าจะ “ตกงาน” เสียมากกว่าการรับเงินสินไหมทดแทน ดังนั้นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ที่ทำงานเสริมนอกเวลามักทำกันนั่นก็คือ

“รับงานเสริมนอกเวลาโดยไม่บอกใคร ไม่เบียดเบียนเวลาทำงาน และทำงานประจำอย่างเต็มความสามารถเหมือนเคย”

มุมมองของ HR กับการรับงานเสริมนอกเวลา

จากบทความของ HR CORNER ที่ได้ตีพิมพ์ในปี 2015 ได้ออกมาเปิดเผยว่ามีพนักงานหลายคนที่เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับการทำงาน 2 ที่หรือรับงานเสริมนอกเวลา ซึ่งเขาได้แชร์มุมมองเกี่ยวกับเทรนด์การทำงานใหม่ที่เรียกว่า “Gig Economy”

“เรื่องนี้น่าสนใจสำหรับดิฉัน เพราะคือเทรนด์ใหม่เรื่องความต้องการของพนักงานในโลกยุคใหม่ หรือ gig economy ซึ่งองค์กรต้องปรับตัวในการจ้างงาน และบริหารคนสำหรับคนกลุ่มนี้ให้ได้ จริง ๆ ในทางกฎหมายไม่ได้ห้ามการทำงาน 2 ที่ แต่ถ้ากฎบริษัทห้ามก็ทำไม่ได้”

แน่นอนว่าในมุมมองของ HR CORNER การทำงาน 2 ที่ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายหรือแปลกใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากตามข้อมูลของ Wallstreet Journel ยังพูดถึงการทำงานแบบ Remote Work ของ White-Collar ในธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Technology, Banking และ Insurance ล้วนทำงาน 2 ที่เป็นเรื่องปกติ ซึ่งเเปลว่าพนักงานในยุค Gig Economy มีการทำงานมากกว่า 1 ที่อย่างแน่นอน

ทั้งนี้องค์กรก็ต้องปรับตัวและมอบความชัดเจนให้กับพนักงานที่รับงานนอกด้วยเช่นกัน ตราบใดที่พนักงานยังสามารถส่งมอบงานได้ตามความคาดหวังของบริษัท ตรงต่อเวลาและทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็จะยิ่งไม่พบปัญหาใด ๆ ในองค์กรอย่างแน่นอน

ประโยชน์ของการทำงานเสริมนอกเวลา

นอกจากจะได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ก็ยังช่วยส่งเสริมทักษะเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำงานเสริมนอกเวลา ไม่ว่าจะเป็น

พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ

การทำงานเสริมจะช่วยเสริมสร้างทักษะไมว่าจะเป็น Hard Skill หรือ Soft Skill ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานประจำแบบปกติด้วยเช่นกัน เช่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การปรับตัวเข้ากับองค์กร ความตั้งใจและความรับผิดชอบ

แน่นอนว่าองค์กรขนาดใหญ่ในต่างประเทศก็ส่งเสริมการับงานเสริมนอกเวลาเพื่อช่วยให้พนักงานมีทักษะที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นและพร้อมนำมาปรับใช้ในการพัฒนาโปรเจกต์ได้อีกด้วย

เพิ่มพูนประสบการณ์ทำงาน

ยิ่งประสบการณ์ทำงานสูงมากเท่าไหร่ นั่นแปลว่าเรายิ่งมีความคุ้นชินกับงานต่าง ๆ ที่ทำมากขึ้นเท่านั้นนอกจากจะช่วยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเพิ่มเงินเดือนให้ได้แล้ว ยังช่วยให้เราสามารถทำงานต่าง ๆ ด้วยระยะเวลาที่น้อยลงจากความคุ้นชินได้อีกด้วย และนั่นแปลว่าเรทค่าตอบแทนรายชั่วโมงก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับด้วย

ความสุขจากการทำงานที่ชอบ

ท้ายที่สุดแล้วต่อให้ทำงานประจำมานานแค่ไหนแต่หากเป็นงานที่เราไม่มีความสุขก็ย่อมทำให้บั่นทอนจิตใจขึ้นทุกวัน ๆ โดยการรับงานเสริมนอกเวลาจะช่วยทำให้เราสามารถเลือกงานที่ชอบได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คอยช่วยเสริมสุขภาพจิตให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ส่งเสริมฐานเงินเดือน

การมีรายได้เพิ่มขึ้นทุกเดือนจากเงินเดือนประจำช่วยทำให้คุณสามารถที่จะกู้ซื้อบ้านหรือรถได้อย่าง่ายดาย อีกทั้งการทำงานเสริมคู่กับงานประจำยังช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งรอเงินเดือนขึ้นเป็นปี ๆ ซึ่งคุณสามารถกำหนดรายได้เสริมเองผ่านการทำงานหรือที่หลายคนมักเรียกว่าอาชีพอิสระ

“เวลา” เป็นสิ่งที่ต้องบริหาร

รู้หรือไม่ว่าแม้ว่าการบริหารเวลาของมนุษย์แต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิงแต่ก็ยังมี 8-8-8 Rule ที่บริษัท Startup ต่าง ๆ เลือกใช้ในการพัฒนาองค์กรขึ้นมาจาก 0 สู่ 1,000 ล้านบาท

สิ่งนี้ทำให้พนักงานประจำเริ่มหันมาการบริหารเวลาตาม 8-8-8 Rule มากยิ่งขึ้น โดยกฎง่าย ๆ ของการบริหารเวลาตาม Rule นี้ก็คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง เรียนรู้ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง

หากคุณทำงานประจำครบ 8 ชั่วโมงต่อวันนั่นแปลว่าคุณยังเลือกเวลาอีก 6-8 ชั่วโมงสำหรับการรับงานเสริมนอกเวลา (หากหักเวลาเดินทาง เวลารับประทานอาหาร และอื่น ๆ)

ซึ่งแน่นอนว่าคุณสามารถนำเวลาในการเรียนรู้ไปใช้สำหรับการรับงานนอกได้อย่างเต็มที่ หรือแม้กระทั่งมหาเศรษฐีระดับโลกอย่าง Elon Musk ก็เลือกที่จะแบ่งเวลาพักผ่อน 2 ชั่วโมงเพื่อมาเพิ่มให้กับชั่วโมงการทำงานและเรียนรู้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามคุณควรที่จะวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณว่าในแต่ละวันนั้นคุณจะทำอะไรบ้างและมีสิ่งใดที่ต้องทำบ้างซึ่งจะช่วยให้สามารถมองเห็นเวลาว่างได้เป็นอย่างดี

รับงานเสริมนอกเวลากับ Talance

หากจะให้ยกตัวอย่างการบริหารเวลาหากคุณรับงานเสริมนอกเวลาเพียงแค่คุณใช้เวลาว่างหลังเลิกงานของคุณเพียงวันละ 4 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ไม่นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์) หรือคิดเป็น 80 ชั่วโมงต่อเดือน นั่นแปลว่าคุณจะสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้อย่างน้อยเดือนละ 32,000 บาทต่อเดือน (คิดค่าจ้างรายชั่วโมงเริ่มต้น 400 บาท)

ถ้าคุณยังไม่เห็นภาพเพียงพอเราจะขอยกตัวอย่างให้คุณเข้าใจมากยิ่งขึ้น เช่น “นาย A รับงานฟรีแลนซ์จาก Talance หลังจากเลิกทำงานจากที่ทำงานวันละ 4 ชั่วโมงต่อวัน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ นั่นแปลว่า นาย A จะได้รายได้จำนวนทั้งสิ้น 4 ชั่วโมง x 10 วัน x 400 บาท = 16,000 บาท”