พรบ.ช อบ คคล พ.ศ.2505 และท แก ไขเพ มเต ม

ให้กรมการอำเภอออกประกาศให้สาธารณชนในท้องถิ่นทราบ มีกำหนดสิบห้าวัน แล้วจึงเสนต่อไปตามลำดับ พร้อมด้วยคำคัดค้าน ถ้ามี

เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ใช้ชื่อสกุลนั้นได้แล้ว ให้กรมการอำเภอจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น และออกหนังสือแสดงการรับจดทะเบียนให้แก่ผู้ขอ

มาตรา ๑๐ ชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนแล้วนั้น ให้ใช้เป็นชื่อสกุลของผู้สืบสาโลหิตในสกุลนั้น

มาตรา ๑๑ หัวหน้าครอบครัวที่ได้จดทะเบียนชื่อสกุลไว้แล้ว จะอนุญาตให้พี่หรือน้องร่วมบิดาเดียวกันใช้ชื่อสกุลนั้นก็ได้

มาตรา ๑๒ หัวหน้าครอบครัวใดยังไม่มีชื่อสกุล ย่อมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลซึ่งหัวหน้าครอบครัวที่เป็นพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกับตนได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นได้

มาตรา ๑๓ หญิงมีสามี ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี

มาตรา ๑๔ เมื่อบิดาของบุคคลใดไม่ปรากฏอยู่ชั่วกาลใด บุคคลนั้นจะใช้ชื่อสกุลฝ่ายมารดาชั่วกาลนั้นก็ได้

มาตรา ๑๕ ผู้ปกครองโรงพยาบาลหรือสถานที่รับเลี้ยงดูเด็กอาจขอจดทะเบียนชื่อสกุลเพื่อให้บรรดาเด็กที่ไม่ปรากฏนามบิดมารดาในโรงพยาบาลหรือสถานที่รับเลี้ยงดูเด็กนั้นใช้ก็ได้

มาตรา ๑๖ การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุลของตน หรือของผู้ที่อยู่ในความปกครอง ความอนุบาล หรือความพิทักษ์ของตน จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

มาตรา ๑๗ การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล ให้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนา พร้อมด้วยเหตุผล

ในกรณีการขอเปลี่ยนชื่อสกุลนั้น ให้กรมการอำเภอออกประกาศให้สาธารณชนในท้องถิ่นทราบ มีกำหนดสิบห้าวัน แล้วจึงเสนอต่อไปตามลำดับ พร้อมด้วยคำคัดค้าน ถ้ามี

มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและได้นำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่า เป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๑๙ ให้เรียกค่าธรรมเนียมแก่ผู้ที่ร้องขอเปลี่ยนชื่อสกุลใหม่ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินรายละสิบบาท

มาตรา ๒๐ การใช้ชื่อบุคคลในัหนังสือราชการนั้น ให้ใช้ชื่อตัว ชื่อรอง ถ้ามี และชื่อสกุล ประกอบกัน เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลมีราชทินนาม

มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอย่างอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี


พระราชบัญญัติฉะบับนี้ตราขึ้นเพื่อปรับปรุงและรวบรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องชื่อบุคคลขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย