กรณ ไม ม ส ญญานเน ตในม อถ อต องทำย งไง

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรค ของผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียงที่ผ่านมาโดยตลอด อันดับต้นๆ ย่อมหนีไม่พ้น การเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างแน่นอน… วันนี้ SoundDD.Shop จะนำสาระเล็กๆน้อย ” 5 เทคนิคสุดเจ๋ง… ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)” ที่รวมทั้งสาเหตุการเกิดไมค์หอน เทคนิควิธีแก้ ได้อย่างดี พร้อมแล้วรับชมกันเลยครับ

สารบัญ

  • – – – – –

เสียงไมค์หอนเกิดจากอะไร?

ไมค์หอน คือ สัญญาณเสียงของไมโครโฟนไปยังลำโพงได้ทำการวนกลับซ้ำเข้าสู่ตัวไมโครโฟนอีกครั้ง ทำให้เกิดความถี่สะสมพลังงานซ้ำกัน จึงส่งผลให้เกิดเสียงไมค์หอนที่ออกมายังตัวลำโพงที่เราได้ยินกันนั่นเอง ทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์และเสียงที่สูงจนปวดหูได้

ไมค์หอนนั้นเกิดได้จากปัจจัย..หลายๆ กรณีด้วยกัน แต่หลักๆนั้นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดนั่น คือการป้อนสัญญาณเสียง หรือเสียงที่เราพูดผ่านไมโครโฟน จากแหล่งต้นเสียง (Source) จนกระทั่งสัญญาณเดินทางผ่านเครื่องมือและอุปกรณ์ชนิดต่างๆ เพื่อออกสู่ลำโพง หากแม้สัญญาณที่ได้นั้นออกสู่ผู้ฟัง ตามกระบวนการที่น่าจะเป็น ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ หากแต่สัญญาณที่ได้เกิดอาการวนซ้ำ กลับเข้าสู่ไมโครโฟนอีกครั้ง ผลลัพธ์ที่จะได้รับกลับมา นั่นคือ การเกิดอาการเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) นั่นเอง

นี่ก็เป็นสาเหตุเบื้องต้น ที่มักจะพบได้บ่อยๆ ซึ่งหน้างาน สถานที่ใช้งานจริงๆนั้น อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นก็เป็นไปได้ แต่หากทำตามคำแนะนำเบื้องต้น ตามคลิปดังกล่าวแล้ว ก็สามารถสบายใจ หายห่วงไปได้เยอะมากๆแล้วครับ

เป็นเทคนิคที่ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หอนได้เป็นอย่างดีที่นำไปปรับใช้ได้ ทั้งเรื่องการปรับสัญญาณให้เหมาะสม, การเลือกชนิดไมโครโฟนในการใช้งาน, การใช้งานไมโครโฟนให้ถูกต้อง, การออกแบบ การวางลำโพงให้ถูกหลัก และ การใช้อุปกรณ์เสริม ทั้ง 5 เทคนิคนี้จะช่วยได้เป็นอย่างมาก ไร้กังวลเสียงไมค์หอนได้เลย โดยมีเทคนิคดังนี้

1. การตั้งค่าเกน (Gain) อินพุท (Input) บนมิกเซอร์ ให้ได้ระดับสัญญาณที่เหมาะสม ที่สุด...

กรณ ไม ม ส ญญานเน ตในม อถ อต องทำย งไง

การปรับเกน (Gain) บนมิกเซอร์ เป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ของผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียง หรือผู้ที่สนใจด้านระบบเสียง ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจของ ระดับสัญญาณให้ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้งานให้ได้ดีที่สุด ในบางครั้งการเพิ่มเกน (Gain) อินพุท (Input) ในระดับสัญญาณที่มาก ยิ่งได้รายละเอียดของเสียงที่ดียิ่งขึ้น แต่อาจได้มา ซึ่งสัญญาณรบกวนรอบข้างเข้ามาได้ง่าย และจำนวนมากอีกด้วย นั่นเป็นสาเหตุอันดับแรก…ที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอนได้ง่าย

เพราะฉะนั้นการปรับเกน (Gain) หรือขยายสัญญาณของอินพุท (Input) บนมิกเซอร์ ควรปรับให้อยู่ในระดับ ความแรงของสัญญาณที่เหมาะสมอย่างที่สุด…เป็นวิธีแรกที่ช่วยให้เราป้องกันเสียง ไม่ให้ไมค์หวีดหอน ได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังได้เกนอินพุท (Gain Input) ขาเข้าของสัญญาณได้อย่างเหมาะสม และยังได้เนื้อเสียงทีดี และมีคุณภาพอีกต่างหาก…

2. การเลือกใช้ชนิดของไมโครโฟนให้ถูกต้องและเหมาะกับสมกับลักษณะของงาน

กรณ ไม ม ส ญญานเน ตในม อถ อต องทำย งไง

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจและศึกษาเบื้องต้นกันเสียก่อนว่าไมโครโฟนที่เราจะนำมาใช้งานนั้น มีลักษณะรูปแบบการรับเสียงในแบบใด ซึ่งเราเรียกรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนนี้ว่า “แพทเทิล” (Pattern) โดยแต่ละรูปแบบ ก็จะมีพื้นฐานการรับเสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยเราต้องคำนึงถึงรูปแบบการรับเสียงเป็นสำคัญ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานให้ถูกวัตถุประสงค์และถูกต้อง ให้มากที่สุด

ยกตัวอย่าง เช่น การนำไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงในแบบ “ออมนิไดเร็คนั่นแนล” (Omnidirectional) มาใช้งานบนเวที ซึ่งรูปแบบการรับเสียงไมโครโฟนชนิดนี้ นั้นสามารถรับเสียงได้ ในแบบรอบทิศทาง ซึ่งแน่นอนว่าบนเวที มีทั้งเสียงลำโพง และเสียงเครื่องดนตรีอย่างมากมาย และปัญหาที่จะตามมา นั่นคือ เกิดการวนซ้ำของสัญญาณเสียงจากลำโพงเข้าสู่ ไมโครโฟนได้โดยง่าย ปัญหาที่ตามมานั้นก็คงจะหนีไม่พ้น ปัญหาการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) นั่นเอง

***หากเราเลือกใช้ไมโครโฟนให้ถูกต้องกับลักษณะงาน ก็จะช่วย ไม่ให้ไมค์หวีดหอน ได้ในระดับนึงแล้วครับ ทางเรามีแนะนำไมโครโฟนที่มีคุณภาพไม่เกิดไมค์หอน คลิกเลย

3. พฤติกรรมการใช้งานไมโครโฟนของ...ผู้ใช้งาน

กรณ ไม ม ส ญญานเน ตในม อถ อต องทำย งไง

ผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียง ย่อมจะต้องทำความเข้าใจ แนวทางที่จะก่อให้เกิดปัญหาเสียงไมค์หวีดหอนอย่างถ่องแท้…เสียก่อน และทำความเข้าใจกับผู้ที่ใช้งานจริง บนเวทีด้วย เช่น พิธีกรในงาน ศิลปิน หรือ Mc ประชาสัมพันธ์ ตามงานและพิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง ในรูปแบบ และเทคนิคการใช้งานต่างๆ เช่น…

การพูดให้ใกล้ไมโครโฟนที่สุด เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะได้ความชัดเจนของเสียงยิ่งขึ้น เพราะการพูดห่างไมโครโฟนมากเกินไป อาจทำให้ผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียงต้องเร่งเกน ของสัญญาณอินพุทของไมโครโฟนเพิ่มมากขึ้น นั่นอาจทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน(Feedback)ได้โดยง่าย

พฤติกรรมที่ชอบกำหัวไมค์ในขณะ พูด หรือร้องเพลงของผู้ใช้งาน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน(Feedback) ได้ง่าย เพราะการกำหัวไมค์ขณะใช้งาน ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดการผิดเพี้ยนของวงจรการรับเสียงของตัวไมโครโฟนเอง ที่ผิดพลาด และผิดแปลกไป ทำให้เกิดการวนของสัญญาณภายในตัวของไมโครโฟน..นั่นเอง

4. การออกแบบระบบและจัดวางลำโพงที่ถูกต้อง

กรณ ไม ม ส ญญานเน ตในม อถ อต องทำย งไง

แน่นอนว่า..หากการออกแบบระบบเสียง หรือการจัดตั้งลำโพงผิดพลาด หรือการเลือกใช้งานลำโพงที่ผิดประเภท ตั้งแต่แรก ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ของห้อง หรือ พื้นที่ ในการใช้งาน เช่น การออกแบบและจัดวางลำโพงหลัก “Main PA” ให้อยู่ด้านหลังของจุดตั้งวางใช้งานไมโครโฟน ย่อมก่อให้เกิดการวนซ้ำของสัญญาณเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟนได้อย่างง่ายดาย นั่นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นการจัดวางลำโพงหลัก “Main PA” ผู้ออกแบบต้องจัดวางลำโพงให้เยื้องและจัดวางให้ล้ำ มาด้านหน้าเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่ออกมาจากด้านหน้าของตัวตู้ลำโพง วนซ้ำกลับเข้าสู่ไมโครโฟนอีกครั้ง

5. การใช้เครื่องมือและ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)

สำหรับวิธีสุดท้าย…ที่จะช่วย แก้ไมค์หวีดหอน นั่นคือ การใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ เข้ามาใช้งานภายในระบบของเรา เช่น อุปกรณ์จำพวก อีควอไลเซอร์ (Equalizer) , คอมเพรสเซอร์ (Compressor) , แอนตี้ ฟี๊ดแบค (Anti Feedback) หรือ อุปกรณ์จำพวก Filter ต่างๆ (หรือกรองคลื่นความถี่) ซึ่งอุปกรณ์จำพวกนี้ในยุคปัจจุบัน มีออกมาให้เลือกใช้งานกัน อย่างแพร่หลาย…วิธีการใช้งานก็ขึ้นอยู่ กับความสามารถ และประสบการณ์ของผู้ใช้งานของแต่ละท่าน เช่น

– การใช้อีควอไลเซอร์ (Equalizer) เพื่อบูธ หรือ เพิ่มเพื่อหาย่านความถี่เสียงที่ทำให้เกิดเสียงหอน และลด หรือคัท เสียงในย่านความถี่นั้นลง เพื่อลดอาการเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) การใช้งานในลักษณะนี้ผู้ใช้งานต้องมีประสบการณ์ในการฟังเสียงและการปรับแต่ง…เป็นอย่างมาก

– ‎การใช้คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อกดระดับสัญญาณของเสียง เพื่อให้ได้ระดับสัญญาณของเสียง ตามที่เราต้องการ เพื่อลดปัญหาการเกิดการพีค (Peak) ของสัญญาณเสียง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)

– ‎การใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “แอนตี้ ฟี๊ดแบค” (Anti feedback) โดยการให้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ หาย่านความถี่ของเสียงที่ทำให้เสียงไมค์หวีดหอนโดยอัตโนมัติ และทำการคัท หรือลดเสียงย่านนั้นลงอัตโนมัติ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้งานง่ายและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

สรุป

ทั้งหมดคือ 5 เทคนิคสุดเจ๋ง…ช่วย ลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างง่าย…ที่ไม่ว่าใครๆ ก็สามารถนำไปเป็นเทคนิค และ แนวทางในการทำงานได้อย่างถูกต้อง ก็หวังว่าจะ แก้ไมค์หวีดหอน กันได้บ้างนะครับ แล้วพบกับบทความดีๆ พร้อมสาระที่เป็นประโยชน์อีกครั้ง ในโอกาสต่อไป เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์แก่ท่านบ้าง ..ไม่มากก็น้อย

ทำยังไงให้โทรศัพท์มีสัญญาณ

วิธีแก้ปัญหาสัญญาณโทรศัพท์หาย.

1. เปิด Airplane Mode แล้วปิด ... .

2. รีสตาร์ตเครื่อง ... .

3. เดินหาสัญญาณ ... .

4. ถอด SIM แล้วใส่ใหม่ ... .

5. ตั้งค่าเครือข่ายใหม่ ... .

บทความโทรศัพท์มือถืออื่น ๆ ที่น่าสนใจ.

พื้นที่ไม่มีสัญญาณทำยังไง

โดยการแก้ไขจุดอับสัญญาณต่างๆเบื่องต้นนั้น สามารถทำได้โดยการโทรไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายตามค่ายต่างๆเพื่อขอความช่วยเหลือให้ตรวจสอบปัญหาการใช้งาน ในพื้นที่นั้นๆ โดยแจ้งพื้นที่ที่พบปัญหาจุดอับสัญญาณอย่างละเอียด เช่น เลข, อาคาร, ชั้น, ห้อง, หมู่บ้าน, แขวง/เขต หรือ จุดใกล้เคียง เป็นต้น

สัญญาณเน็ตไม่ดีเกิดจากอะไร

สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้าเกิดได้จากปัจจัยหลายๆด้านค่ะ เช่น จำนวนของผู้ใช้งานในช่วงเวลานั้น, Web Browser ของผู้ให้บริการแต่ละราย (เช่น Website ของต่างประเทศอาจจะมีส่วนทำให้ช้าลง), การใช้บริการอยู่ในพื้นที่ๆ มีสิ่งกีดขวาง เช่น อาคารหนาแน่น พื้นที่ที่มีผู้ใช้งานเยอะ รถติด คอนเสิร์ต เป็นต้น

ทำไม ais ไม่มีสัญญาณ

สัญญาณขาดๆ หายๆ / สัญญาณอ่อน / ไม่มีสัญญาณ / สายหลุด / รับสายไม่ได้ ➡ อาจเกิดจากพื้นที่ ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ➡ อยู่ในจุดอับสัญญาณ ➡ แนะนำให้เว้นช่วงการใช้บริการสักครู่ และลองใช้งานใหม่อีกครั้ง