กระช นช ดก บเวลาเก ดเหต ไม ม เวลาค ด

คอาการปวดข้อศอกหรือเจ็บข้อศอก คืออาการเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกตรงเอ็นกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบ พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้ข้อมือและข้อศอกมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการเล่นกีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส หรือแม้แต่จากการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน ยกของ การทำผม เป็นต้น ซึ่งผุ้ที่เป็นมักจะมีอาการ

Show
  • ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก อาจมีอาการปวดร้าวไปทั้งแขนจนถึงข้อมือ
  • ปวดมากขึ้นเวลายกของเกร็งแขน ขยับข้อศอกข้อมือหรือกำมือแน่น ๆ เพราะจะไปใช้งานบริเวณที่มีการอับเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จนถึงอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
  • อาการปวดจะเป็นอยู่ประมาณ 6–12 สัปดาห์แต่ถ้าเป็นมานานมากอาจใช้เวลารักษาเป็นปี

    อาการปวดข้อศอกมี 3 ประเภท

    1. ปวดข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow) พบได้บ่อยกว่าประเภทอื่น ๆ
    2. ปวดข้อศอกด้านใน (Golfer's elbow)
    3. ปวดข้อศอกด้านหลัง (Bursitis)

      สาเหตุของอาการปวดข้อศอก

      • เกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นที่เสื่อมสภาพรอบ ๆ ข้อศอก เนื่องจากการขาดความยืดหยุ่นและใช้งานหนักซ้ำ ๆ จนร่างกายซ่อมแซมไม่ทันจึงทำให้เกิดการอับเสบ
      • ลักษณะงานที่ต้องใช้แขนหรือข้อมือซ้ำ ๆ เช่น ช่างประเภทต่าง ๆ ที่ต้องทำงานโดยใช้ข้อมือทำงานซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทาสี การตอกตะปูหรือหมุนไขควง ชาวไร่ ชาวนาที่ใช้จอบเสียมขุดดิน แม่บ้านที่ทำงานบ้านประเภทซัก บิด ขัดหรือถู เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
      • นักกีฬาหรือผู้ที่เล่นเทนนิสนาน ๆ ครั้ง อุปกรณ์หรือทักษะการเล่นไม่ถูกต้องโดยเฉพาะท่าตีด้วยหลังมือ (Backhand)

        การรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อศอก

        แพทย์จะให้ยาแก้ปวดลดอาการอับเสบ (NSIADS) ชนิดรับประทาน หรือฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะตรงบริเวณที่ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอับเสบ ซึ่งบางครั้งก็ต้องฉีดยาซ้ำแต่ไม่ควรเกิน 2-3 ครั้ง / ปี ในจุดเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ในกรณีที่ได้รับการรักษาเต็มที่แล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้นการผ่าตัดนำพยาธิสภาพของเส้นเอ็นออกช่วยลดอาการลงได้ ซึ่งแพทย์แนะนำการปฏิบัติตัว เพื่อลดอาการอับเสบและอาการปวดในระยะแรก ดังนี้

        • พักหรือใช้งานให้น้อยลงโดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการหลีกเลี่ยงการใช้งานผิดท่า
        • ประคบด้วยน้ำแข็ง ภายใน 2 วันแรกควรประคบครั้งละ 20 นาทีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดความปวดจากการอับเสบและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
        • ถ้าจำเป็นแพทย์จะพิจารณาให้ใช้แถบรัดใต้ข้อศอก (Tennis elbow support) กรณียังต้องใช้งานแขนมาก

          การป้องกันอาการปวดข้อศอกสำหรับนักกีฬา สิ่งที่ต้องทำคือ การจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การใช้อุปกรณ์ในบ้าน เช่น ด้ามไม้กวาด ท่าหยิบจับหนังสือ เอกสาร ไม้เทนนิสต้องขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่เกินควร หัวไม้ควรมีขนาดประมาณ 95-110 ตารางนิ้ว ทำจากกราไฟด์จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เส้นเอ็นไม่ควรขึงดึงเกินไป ควรเช็คทุก 6 เดือน ด้ามจับต้องมีขนาดเหมาะมือ เป็นต้น รวมทั้งทักษะการเล่นที่ถูกต้องจะช่วยลดการบาดเจ็บได้มากส่วนผู้ที่ทำงานโดยต้องใช้กล้ามเนื้อแขน ข้อมือ ข้อศอกโดยลักษณะซ้ำๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่หนักเกินไป แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้การบริหารกล้ามเนื้อในท่าต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยลดการบาดเจ็บของข้อศอกบริเวณด้านนอกได้

          การบริหารข้อศอก

          เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่น และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังจากระยะอาการปวดในระยะแรกลดลง แบ่งเป็น

          1. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) โดยการกระดกข้อมือขึ้นลงและหมุนในขณะที่ทำข้อศอกควรเหยียดตรงในการทำแต่ละครั้งให้ค้างไว้ 20-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้งทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่ควรระวังไม่ทำจะมีอาการปวดมาก
          2. การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเนื้อ (Strengthening) โดยใช้อุปกรณ์ช่วย

            ท่าบริหาร

            ในระยะต่อไป ใช้ท่าบริหารเช่นเดียวกัน แต่เพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์หรือเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้งานครั้งต่อไป

            อาการปวดเข่า มีเสียงก๊อกแก๊กที่หัวเข่า ถือเป็นอาการแจ้งเตือนอย่างหนึ่งของร่างกายที่ควรต้องหันกลับมาดูแลเอาใจใส่ข้อเข่าก่อนที่จะ “ข้อเข่าเสื่อม”

            กระช นช ดก บเวลาเก ดเหต ไม ม เวลาค ด
            อาการปวดข้อเข่า เสียงก๊อกแก๊กดังจากหัวเข่ามีได้ 2 ลักษณะ คือ แบบที่ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย และแบบที่มีเสียงร่วมไปกับอาการปวด หรือรู้สึกข้อเข่าไม่มั่นคง บางครั้งอาจทำให้เสียวเข่าได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เกิดเสียงดังที่หัวเข่าแบบที่ไม่มีอาการปวดเข่าร่วมด้วยนั้น พบเฉพาะเวลางอเข่ามากๆ เป็นเวลานานๆ เช่นการนั่งยองๆ หรือลุกจากเก้าอี้เตี้ย เสียงดังในลักษณะนี้เกิดจากการขบกันของผิวกระดูกอ่อนหรือเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นในข้อเข่า โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่ในกรณีที่มีเสียงที่ดังก๊อกแก๊ก หรือรู้สึกเข่าลั่น ร่วมกับอาการปวดเข่า อาจเกิดจากความผิดปกติบริเวณหัวเข่า เช่น ข้อเข่าเสื่อมจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อนจนพื้นผิวข้อขรุขระ หรือมีนำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าน้อย ส่งผลให้เกิดการแทกระหว่างผิว ย่อมทำให้เกิดเสียงได้มากขึ้น หรือมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดเสียงดังเมื่อมีการขยับข้อเข่าได้เช่นกัน
            กระช นช ดก บเวลาเก ดเหต ไม ม เวลาค ด
            เช็คอาการปวดเข่า เข่ามีเสียง สัญญาณ “ข้อเข่าเสื่อม” 1. รู้สึกปวดเข่า โดยเฉพาะเวลางอเข่าหรือเมื่ออากาศเย็นๆ 2. รู้สึกปวดเข่า เวลาขึ้นลงบันได วิ่ง หรือ กระโดด 3. ได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลางอเหยียดเข่า 4. รู้สึกปวดเข่ามากขึ้นเมื่อนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ หรือนั่งในท่าที่เข่างอมากๆ 5. รู้สึกปวดเข่า และปวดเสียวมากขึ้นเมื่อต้องลงน้ำหนัก หรือยืนด้วยขาข้างเดียว 6. ไม่ค่อยมีแรง ทรงตัวไม่ค่อยได้ ขาโก่งมากขึ้น หากคุณมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง หรือเริ่มมีเสียงก๊อกแก๊กดังจากหัวเข่าร่วมกับมีอาการปวด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด และได้รักษาทันท่วงที หากละเลยอาจทำให้เกิดปัญหาในการทรงตัว หรืออาจเดินไม่ได้ต้องอยู่บนรถเข็น รู้สาเหตุหลักที่ทำให้มีอาการปวดเข่า เข่าลั่น เข่ามีเสียง ปัญหาส่วนใหญ่ล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยไม่รู้ตัวว่าพฤติกรรมหรือกิจจกรมที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้นส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมเป็นจํานวนมาก • การออกกำลังกายที่มีการกระแทกข้อซ้ำๆ ต่อเนื่องยาวนาน • มีน้ำหนักตัวมาก • ใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง
            กระช นช ดก บเวลาเก ดเหต ไม ม เวลาค ด
            นอกจากนี้ ต้นเหตุของอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมโดยธรรมชาติจะพบในวัยสูงอายุ หรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมวลกระดูกมีความแข็งแรงลดลง เช่น ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มพบปัญหาการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ หรือมีความผิดปกติแต่กําเนิดของข้อสะโพกหรือข้อเข่า อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ การบาดเจ็บหมอนรองข้อเข่าขาด กระดูกสะบ้าเอียงมากกว่าปกติเวลางอเข่า ทำให้กระดูกอ่อนตำแหน่งสะบ้าเข่าเคลื่อนที่เสียดสีมากกว่าปกติจนเกิดการอักเสบ เป็นต้น แก้ไขอาการปวดเข่า เข่ามีเสียงได้อย่างไร? การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในกรณีที่เกิดเสียงดังที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม การรักษาในระยะแรกอาจใช้วิธีการบริหารหัวเข่า ถ้าอาการยังไม่มาก อาจเริ่มจากการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และกล้ามเนื้อสะโพก รวมถึงหลีกเลี่ยงการงอเข่ามากๆ เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้แข็งแรงแล้วจะช่วยทำให้ลูกสะบ้าเอียงน้อยลง ช่วยลดแรงกระแทก นอกจากนี้ควรใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี รับประทานยาบำรุงข้อ ใช้ที่พยุงข้อ ฉีดยา ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม หรือวิธีการผ่าตัด แต่หากเป็นหมอนรองกระดูกฉีกขาดอาจใช้วิธีบริหารข้อเข่า ฉีดยา หรือถ้าเป็นมากอาจต้องผ่าตัดส่องกล้อง
            กระช นช ดก บเวลาเก ดเหต ไม ม เวลาค ด
            ทั้งนี้วิธีแก้ไขรักษาดังที่กล่าวมาจำเป็นต้องทำร่วมกับการลดน้ำหนักตัว เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า หากเรามีน้ำหนักตัวที่พอดี ก็จะช่วยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่าลงไปได้ และหลีกเลี่ยงการยืน เดินนานๆ เพราะจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลา และเพิ่มอาการบาดเจ็บมากขึ้น

            สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

            โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ สถาบันกระดูกและข้อ

            กระดูกสันหลังคดหายเองได้ไหม

            Share: พ่อแม่ต้องสังเกตโครงสร้างร่างกายลูกตั้งแต่วัยเด็ก หากเดินตัวเอียง ระดับหน้าอก สะโพกและหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังคด แต่ถ้าหาหมอเร็วสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

            กระดูกหลังคดควรนอนท่าไหน

            1. ท่านอน นอนตะแคงทับด้านซ้ายโดยวางแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ ใช้หมอนหรือผ้าขนหนูรองบริเวณสะโพกซ้ายส่วนที่กระดูกสันหลังโค้งนูนมากที่สุดเพื่อให้แนวกระดูกสันหลังใกล้เคียงแนวปกติมากที่สุด จากนั้นยกแขนขวาวางบนเก้าอี้เหนือศีรษะ คงท่าไว้ร่วมกับหายใจเข้าลึก 5 ครั้ง

            ปวดเอวด้านขวา เป็นโรคอะไร

            อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือปวดหลังด้านขวา มักมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ ข้อต่อกระดูกส่วนอก หรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ อุบัติเหตุ การกระแทก การเกร็งหรือยกของหนัก และสาเหตุอื่น ๆ เช่น แน่นหน้าอกจากสาเหตุทางโรคหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอก กรดไหลย้อน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคไต นิ่วในไต หรือปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ จึง ...

            โรคกระดูกเสื่อม รักษาหายไหม

            หลายคนคงจะเคยได้ยินนะครับว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดตอนอายุมากรักษายังไงก็ไม่หาย ให้ทำใจ แต่จริง ๆ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ โดยที่อาการที่เกิดจากโรคนี้เราสามารถบรรเทาให้ลดลงได้และชะลอไม่ให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้นะครับ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด