ประว ต ภาคว ชาภ ม สถาป ตยกรรม ไทย

จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และ ยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและ ใต้ สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลปะโทนวัดพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีทีพบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มียอดแหลมอยู่ด้านบน

“…ชื่อขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นเครื่องประดับปลายหลังคา นั่งอยู่บนอกไก่ตรงส่วนที่ไม้ตัวรวยหรือไม้นาคสำรวยมาบรรจบกัน ช่อฟ้านี้มีรูปลักษณะคล้ายหัวพญานาคปลายแหลม…” (จากหนังสือ “พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง” ของอาจารย์โชติ กัลยาณมิตร)

หากแต่เมื่อลองศึกษาสถาปัตยกรรมในประเทศเพื่อนบ้านดูบ้าง เรากลับพบว่าองค์ประกอบเดียวกับที่ช่างไทยเรียกกันว่า “ช่อฟ้า” ในศิลปะลาวหรือศิลปะล้านช้าง เขาเรียกว่า “โหง่” (บางท่านสะกดเป็นอักษรไทยว่า “โหง่ว” ก็มี)

แต่ยิ่งไปกว่านั้น ในศัพท์สถาปัตยกรรมลาวล้านช้างมีคำว่า “ช่อฟ้า” แต่กลับไปหมายถึงรูปปราสาท (อาคารหลังคาซ้อนชั้นยอดแหลม) ขนาดเล็ก ประดับบนกึ่งกลางสันหลังคาโบสถ์วิหาร และในกรณีที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่ง (เช่น ๕ หรือ ๗) รูปปราสาทเหล่านี้ก็มักเรียงแถวลดหลั่นลำดับความสูงจากกึ่งกลางหลังคาลงไปทั้งทางด้านหน้าและหลัง

คติการประดับตกแต่งกึ่งกลางสันหลังคาอุโบสถด้วยรูปปราสาทจำลองแบบเดียวกันนี้ พบแพร่หลายทั้งในเขตภาคอีสานและล้านนาของไทย ลาว ขึ้นไปจนถึงในสิบสองปันนาทางภาคใต้ของจีน

ที่คนไทยเคยเห็นกันจนคุ้นตาก็ได้แก่ “ช่อฟ้า” บนสันหลังคา “สิม” (อุโบสถ) วัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แน่นอนว่า รูปปราสาท “ช่อฟ้า” ย่อมมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่เป็นแกนกลางจักรวาล และเขาสัตตบริภัณฑ์ซึ่งแวดล้อมอยู่

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ รูป “ช่อฟ้า” แบบนี้ก็คือการถ่ายทอดภาพเขาพระสุเมรุและเขาสัตตบริภัณฑ์แบบ “ตัดขวาง” อย่างที่ทำในงานจิตรกรรม ให้กลายเป็นประติมากรรมประดับสันหลังคา

ทว่า สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนถูกมองข้ามไปก็คือ เหตุใดสิ่งนี้จึงเป็น “ช่อฟ้า” หรือเป็นช่อของฟ้าอย่างไร

ผู้เขียนขอเสนอว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่ในภาษาไทยภาคกลางปัจจุบันสะกดคำนี้ผิด ทำให้สืบกลับไปหาความหมายดั้งเดิมไม่พบ

เพราะแท้จริงแล้ว คำนี้ควรต้องสะกดว่า “ฉ้อฟ้า”

“ฉ้อ” ในที่นี้ มิได้มีความหมายว่าคดโกง หากแต่เป็นคำเดียวกับ ฉ ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า หก (๖) อย่างในเทศน์มหาชาติเวสสันดรก็มีกัณฑ์ที่ ๑๒ คือ “ฉกษัตริย์” หมายวงศ์กษัตริย์ทั้งหกพระองค์ที่พลัดพรากจากกันไป คือพระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหาและชาลี ได้กลับมาพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้ง

“ฉ้อฟ้า” จึงมีความหมายถึงสวรรค์ทั้งหกชั้น คือ “ฉกามาพจรเทวโลก” ไล่จากจาตุมหาราชิกา-ดาวดึงส์-ยามา-ดุสิต-นิมมานรดี ขึ้นไปจนถึงปรนิมมิตวสวัตดี

การใช้คำว่าช่อฟ้า/ฉ้อฟ้า ตามความหมายนี้ มีปรากฏมาแล้วในวัฒนธรรมล้านนาเมื่อ ๕-๖๐๐ ปีมาแล้ว เช่นใน “โคลงนิราศหริภุญชัย” ก็มีโคลงบทหนึ่งว่า “จากเจียรช่อฟ้าโลกย์ ลงดิน ดาฤๅ” เป็นการกล่าวสรรเสริญความงามของพระอาราม ว่าเหมือนกับชะลอจากสวรรค์ชั้นฟ้า (หกฟ้า หกชั้น) ลงมาไว้บนพื้นดิน ซึ่งเป็นขนบเดียวกับที่นายนรินทร์ธิเบศร์ ชมกรุงเทพฯ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ใน “นิราศนรินทร์” ว่า “อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ” นั่นเอง

ดังนั้น “ช่อฟ้า” ในศิลปะลาวล้านช้างที่อยู่กึ่งกลางหลังคาอุโบสถ จึงน่าจะมีความหมายดั้งเดิมว่าเป็นสถานที่ตั้งของสวรรค์หกชั้น อันอยู่เหนือเขาพระสุเมรุขึ้นไป

แต่ “ช่อฟ้า” อย่างไทย จะไปเกี่ยวข้องกับ “ฉ้อฟ้า” ทางไหนนั้น ก็คงต้องปล่อยให้เป็นปริศนากันต่อไป เพราะหากค้นดูในเอกสารโบราณ ไทยกลางก็เคยสะกดคำ “ช่อฟ้า” ว่า “ฉ้อฟ้า” มาก่อนเหมือนกัน ดังที่ในหนังสือ “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง” ตอนหนึ่งเล่าเรื่องโรงช้างหลวงในกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นอาคารก่ออิฐ หลังคามุงกระเบื้อง และ “มีฉ้อฟ้าหางหงษทาแดงทุกโรง ช้างพลายยืนในโรงฉ้อฟ้าโรงละตัว”

ยิ่งไปกว่านั้น “สมเด็จครู” สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ยังทรงเคยมีลายพระหัตถ์ถึงพระยาอนุมานราชธน อธิบดีกรมศิลปากร เมื่อปี ๒๔๘๔ (ต่อมาพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม ๔”) ว่าทรงสงสัยเรื่อง “ช่อฟ้า” มาก เพราะ“ช่อฟ้าอย่างที่ฟันเปนทีหัวนาคชะโงกออกมานั้น เก่าขึ้นไปไม่พบเลย มีแต่ของใหม่…”

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ประว ต ภาคว ชาภ ม สถาป ตยกรรม ไทย

มีความเป็นมาเริ่มต้นจาก “โรงเรียนช่าง บ.ส.อ.” ในการอำนวยการของบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2497 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ยุบเลิกบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา ( บ.ส.อ.) โรงเรียนจึงถูกยุบเลิกไปด้วย แต่ความต้องการสถานที่เรียนต่อสำหรับนักเรียนที่จบหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษา ชั้นสูงจำนวนมากทำให้เกิด “ โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง ” ขึ้นเพื่อผลิตช่างไทยที่มีความสามารถ ปฏิบัติงานก่อสร้างได้อย่างจริงจัง โดยกรมโยธาธิการได้รับคำสั่งให้ดำเนินการเปิดทำการสอน เมื่อ 9 สิงหาคม 2499 หลักสูตร 2 ปี มีแผนกช่างก่อสร้างเพียงแผนกเดียว

ต่อมากรมโยธาธิการได้ถูกยุบไปรวมกับกรมโยธาเทศบาล ทำให้โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง กลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีก อาจารย์ประสม รังสิโรจน (ศาสตราจารย์)ซึ่งได้รับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ตั้งแต่ปี 2505 ได้ปรับปรุงหลักสูตรยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิค โดยได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ขณะนั้น ขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ” (College of Design & Construction) เมื่อ 26 เมษายน 2506 ใช้อาคารสถานที่ ณ ตำบลบางพลัด จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) เปิดการสอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาวิศวสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน, สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์, สาขาวิชาวิศวกรรมการทาง, สาขาวิชาวิศวกรรมการสำรวจ, รับนักศึกษาที่จบมัธยมศึกษาปีทื่ 5 สายสามัญผ่านการสอบคัดเลือกของสภาการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตร 3 ปี ผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

เริ่มแรกมีสถาปนิกที่เป็นอาจารย์ประจำอยู่ก่อน ปี 2506 จำนวน 3 ท่าน

ประว ต ภาคว ชาภ ม สถาป ตยกรรม ไทย

ประว ต ภาคว ชาภ ม สถาป ตยกรรม ไทย

อาจารย์กำแหง ฟักน้อย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์)

ประว ต ภาคว ชาภ ม สถาป ตยกรรม ไทย

อาจารย์อรวรรณ สีมานนท์ปริญญา

ประว ต ภาคว ชาภ ม สถาป ตยกรรม ไทย

มีอาจารย์ประสม รังสิโรจน เป็นผู้อำนวยการ

อาจารย์ประสมได้ขอโอน อาจารย์ สุภา ผาสุข (ผู้ช่วยศาสตราจารย์) มาเป็นอาจารย์ประจำทำการสอนและช่วยงานด้านบริหาร

มีอาจารย์ใหม่เพิ่มขึ้น 4 ท่าน คือ อาจารย์ วิวัฒน์ เตมียพันธ์ รองศาสตราจารย์) อาจารย์ เทียนชัย สระตันติ์ อาจารย์ กิตติ ทิพยประสิทธิ์ อาจารย์ วิชัย บุณยมาลิก

อาจารย์ วิเชียร สุวรรณรัตน์ (รศ.) อาจารย์ ปรัชญา ฉกาจทรงศักดิ์ (รศ.) อาจารย์ สุปรีชา หิรัญโร (รศ.) อาจารย ม.ร.ว.พีระเดช จักรพันธุ์ (รศ.) อาจารย นวลจันทร์ ทองไถ้ผา อาจารย์ ฉัตรไชย คทวณิช (รศ.) อาจารย์ มณี พนิชการ อาจารย์ สุภณัฐ นิลรัตน (ผศ.) อาจารย์ สุรัตน์ รุ่งเต่า อาจารย์ ประลอง พีรานนท์ (รศ.) อาจารย์ ประศาสน์ คุณะดิลก (รศ.)

อาจารย์ สัตยา ชุ่มสุวรรณ อาจารย์ สมศักดิ์ ปรียวนิตย์ (ผศ.) อาจารย์ แดง เหรียญสุวรรณ (ผศ.) อาจารย์ สมศักดิ์ แย้มพราย (ผศ.) อาจารย์ ดลฤดี บุญนาค อาจารย์ ผุสดี สุจริตตานนท์ อาจารย์ คงเดช หุ่นผดุงรัตน์ อาจารย์ เดชา วราชุน (รศ.) อาจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (รศ.) อาจารย์ ปิยวัฒน์ มังกรวงษ์ อาจารย์ สมเกียรติ ไตรพันธุ์ (ผศ.)

อาจารย์ ไพรัตน์ วงษ์รุ่ง (ฟักน้อย) อาจารย์ ระพี โสมภูติ อาจารย์ อัจฉรา ศรีสุเทพ (สืบสินธุ์สกุลไชย) อาจารย์ ศิวลี สระตันติ์ อาจารย์ องุ่น อัศเวทย์ อาจารย์ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (รศ.) อาจารย์ สุพร พบสุข อาจารย์ เครือวัลย์ ศีตะจิตต์ (ผศ.) อาจารย์ พรชัย เจนจิระพงษ์เวช อาจารย์ หัทยา เชี่ยววัฒกี อาจารย์ เสาวภาคย์ ธรมธัช (ลดาวัลย์ ผศ.)

อาจารย์ สุธาทิพย์ นาคศิริ อาจารย์ วนิดา ธูปะเตมีย์ (รศ. คุณหญิง) อาจารย์ ชัยรัตน์ อิศรัตน์ อาจารย์ โอวาท พูลศิริ อาจารย์ ขวัญใจ สนั่นวาณิชย์ อาจารย์ จินตนา กลัดอ่ำ อาจารย์ สุขุมาลย์ มานะพงษ์ (นิลรัตน์ ผศ.) อาจารย์ เฉลิมศรี ปรีชาพานิช (ผศ.) อาจารย์ ดาวมณี รัศมีเจริญ อาจารย์ กุลวดี สายศรีหยุด

ในการปรับปรุงหลักสูตรและดำเนินการสอนของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์พิเศษจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานอื่นเช่น สำนักผังเมือง เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาและช่วยสอน ประกอบด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์ ศาสตราจารย์ ดร.นิวัตต์ ดารานันทน์ ศาสตราจารย์ เรืองศักดิ์ กันตะบุตร ศาสตราจารย์ ศุกรี กัมปนานนท์

อาจารย์ ชัยยา พูนศิริวงศ์ คุณหลวง ชลานุสสร พ.ต.หญิงจิตรา ชูจินดา อาจารย์ อภัย ผะเดิมชิด

กรมอาชีวศึกษามีนโยบายให้ย้ายสถานศึกษามาอยู่ที่ลาดกระบัง ในที่ดินที่ทายาทเจ้าคุณทหารบริจาคให้กระทรวงศึกษาธิการ เพราะสถานที่ของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างที่บางพลัดคับแคบ ไม่อาจขยายตัวได้วิทยาลัยไดัรับงบประมาณทำการก่อสร้างอาคารที่ลาดกระบังใน เนื้อที่ 80 ไร่เศษ เสร็จและย้ายมาอยู่ที่ลาดกระบังเมื่อ ตุลาคม 2514 ในปีนี้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 14 (7) แห่งพ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการสอนของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง เห็นว่าเป็นสถานศึกษาที่จะจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้ จึงมีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2514 ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างเข้าสมทบในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2516 เป็นต้นไป ( ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องให้วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างรวมเข้ากับสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2515)

ขั้นแรกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผลิตนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลักสูตร 3 ปี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ และศิลปอุตสาหกรรม รับนักศึกษาที่จบ ม.ศ. 5 สายสามัญ ผ่านการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ร่วมกับสถาบัน เพื่อผลิตช่างเทคนิคหรือผู้ช่วยสถาปนิก ผู้ช่วยมัณฑนากร และผู้ช่วยนักออกแบบ และระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี หลังจากได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญาในสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อแล้ว โดยต้องผ่านการสอบคัดเลือกของสถาบันก่อน ปีการศึกษา 2517 ได้มีการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ จึงให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

ในระยะตั้งแต่ปี 2516 และต่อมามีอาจารย์มากขึ้นทั้งเข้าใหม่และย้ายมาจากที่อื่น

อาจารย์ สมลักษณ์ อัศวเหม (รศ.) อาจารย์ ธีรมน ไวโรจนกิจ (ผศ.) อาจารย์ กมล คล่องพิทยาพงษ์ อาจารย์ ม.ล.วรยส ลดาวัลย์ อาจารย์ เกษม บุญสวน อาจารย์ ลัดดา เตชะวณิช (บุญสวน) อาจารย์ กอบกุล อินทรวิจิตร (ผศ.) อาจารย์ สมเกียรติ์ โล่ห์เพ็ชรัตน์ อาจารย์ จามร รักการดี (ผศ.) อาจารย์ ป้อมชัย คุณะดิลก

อาจารย์ นิกตร์ นาคนิธิ อาจารย์ พันธุ์ชาย เสือวรรณศรี ( ผศ.) อาจารย์ กุสุมา นิลวิเศษ (ธรรมธำรง ผศ.) อาจารย์ นิรมล รัตนวิจัย (แย้มพราย ผศ.) อาจารย์ กุลธร เลื่อนฉวี อาจารย์ ยุพดี เลื่อนฉวี อาจารย์ พิลาส สุภัณวงษ์ (ผศ.) อาจารย์ พิศิษฐ์ วิริยวัฒน์ อาจารย์ เอกพงษ์ จุลเสนีย์ (ผศ.) อาจารย์ นันทนา สุวรรณมาลิก (ศิระประภาศิริ)

สำหรับอาจารย์ที่สอนวิชาสามัญ ได้แยกไปสังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะขึ้นใหม่ ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2520