กฎหมายในช ว ตประจ าว น ม อะไรบ าง

พระราชบัญญัติคือกฎหมายที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน โดยเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศด้านต่างๆ และปกป้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน พระราชบัญญัติจะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาหลังจากพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

พระราชบัญญัติต่างๆ มีกี่ฉบับ ว่าด้วยเรื่องอะไรบ้าง

ความหมายของพระราชบัญญัติตามปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยให้นิยามพระราชบัญญัติ คือ กฎหมายบังคับใช้ที่ผ่านความเห็นชอบตามตามกระบวนการนิติบัญญัติ เริ่มด้วยการเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติของรัฐสภาเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับ จนผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา

พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ คือ Act เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา โดยเนื้อหาไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติทั้งหมดในประเทศไทยมีกี่ฉบับ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ฝ่ายข้อมูลกฎหมายไทย กองกฎหมายไทย วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 เผยแพร่ข้อมูลจำนวนพระราชทั้งหมดในประเทศไทย มี 911 ฉบับ

พระราชบัญญัติแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

กฎหมายในช ว ตประจ าว น ม อะไรบ าง

การแบ่งประเภทของพระราชบัญญัตินั้น ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นำมาจำแนก เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 50/2542 ความตอนหนึ่งว่า “รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติหลักในการยกเลิกกฎหมายไว้ จึงต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายทั่วไป ประกอบกับต้องดำเนินการโดยกฎหมายที่มีลำดับขั้นของกฎหมายเท่ากันหรือสูงกว่า” ดังนั้น หากพิจารณาด้วยลำดับชั้นของกฎหมาย จะแบ่งได้ 2 ประเภทเช่นกัน ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และ 2) พระราชบัญญัติทั่วไป

1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic Law) คือ กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดหรือกลไกสำคัญของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กลไกนั้นมีผลปฏิบัติได้อย่างแท้จริง และมีกระบวนการตราที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มี 10 ฉบับ ได้แก่

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
  3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
  5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
  6. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  7. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
  8. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
  9. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  10. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

2. พระราชบัญญัติทั่วไป

พระราชบัญญัติทั่วไปในปัจจุบันมีมากกว่า 900 ฉบับ ยกตัวอย่างพระราชบัญญัติ 15 ฉบับ ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน มีดังนี้

1. พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) มีชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 สรุปเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาทิ การเข้าถึงรหัสโดยมิชอบ, การเปิดเผยรหัสเข้าถึงคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น, การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ, การดักเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์, การแก้ไขหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น, การขัดขวางการใช้งานคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น เป็นต้น

2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ) ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2562 โปรดเกล้าฯ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมและดูแลกำกับการศึกษา กำหนดบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงต่างๆ ต่อระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) ฉบับที่ 8 ปี พ.ศ. 2566 โปรดเกล้าฯ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 เพื่อยกระดับคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปมาตรฐานสากล ช่วยให้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเป็นการปรับปรุงผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างตามยุคสมัยที่มีการทำงานที่บ้าน ที่พักอาศัยให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับลูกจ้าในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง

4. พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้าง

พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง) โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้มาซึ่งพัสดุ ทั้งงานพัสดุ งานบริการ งานก่อสร้าง จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน ตามนิติกรรมที่กำหนดในกฎกระทรวง

5. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543 โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เพื่อปรับปรุง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับก่อน กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับอาคารและผังเมือง ทั้งเจ้าของอาคาร ผู้ก่อสร้าง แล้วเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อความปลอดภัยของการอยู่อาศัย การจราจร ในเขตอยู่อาศัยและเขตพื้นที่ชุมชน

6. พระราชบัญญัติจราจรทางบก

พระราชบัญญัติจราจรทางบก (พ.ร.บ.จราจรทางบก) ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565 โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เพื่อแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมว่าด้วยการจราจรทางบก เพื่อบังคับใช้กฎหมายและการจัดระเบียบการจราจรทางบกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นประโยชน์แก่ความปลอดภัยสาธารณะ

7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน) พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่กำหนดการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นประโยชน์สุขต่อประชาชน และเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

8. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง) พ.ศ. 2557 กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เพื่อทำให้หลักเกณฑ์ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะและอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน

9. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) พ.ศ. 2562 โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เพื่อคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิ์ในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ กำหนดขอบเขตการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใด ให้เป็นไปตามกฎหมาย

10. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง) พ.ศ. 2542 เพื่อจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่สูงสุดในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับคู่พิพาท

11. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์) ฉบับที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และเป็นไปตามสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคี

12. พระราชบัญญัติล้มละลาย

พระราชบัญญัติล้มละลาย (พ.ร.บ.ล้มละลาย) ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2561โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เพื่อให้การคุ้มครองเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

13. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่) กำหนดความรับผิดชอบต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีที่ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรัฐที่ต้องรับผิดชอบ

14. พระราชบัญญัติสาธารณสุข

พระราชบัญญัติสาธารณสุข (พ.ร.บ.สาธารณสุข) พ.ศ. 2535 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของประชาชน กำหนดผู้ดูแล คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ

15. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน

พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน (พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน) พ.ศ. 2551 กำหนดบทบัญญัติต่างๆ จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล และการบริหาร เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน

พระราชบัญญัติ 15 ฉบับที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นตัวอย่างกฎหมายที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน มีเนื้อหา เพื่อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์การอยู่ร่วมกันของทุกภาคส่วน กำหนดหน่วยงานที่ดูแล รับผิดชอบ พร้อมกำหนดบทลงโทษ เพื่อเป็นมาตรฐานที่สร้างความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม

อ้างอิง.

1. พระราชบัญญัติ คืออะไร?., https://www.fpo.go.th/main/General-information-public-service/FAQ/2729/2745.aspx

2. พระราชบัญญัติ., https://library.parliament.go.th/th/node/2196

3. พระราชบัญญัติ., http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4

4. รู้หรือไม่ ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่กี่ฉบับ., https://www.krisdika.go.th/data/statistics-law/statistics-law_30-7-64.pdf

5. ลำดับศักดิ์ทางกฎหมาย ระหว่าง “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กับ พระราชบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย., https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/8think/think70.pdf