การจ ดการเร ยนการสอนน กเร ยนท ม ความความต องการพ เศษเร ยนรวม

What's hot

What's hot (20)

Viewers also liked

Viewers also liked (20)

Similar to การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

Similar to การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม (20)

การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

  • 1.
  • 2. มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
  • 3.
  • 4. รูปแบบการจัดเรียนร่วม 4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม 3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน 2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ 5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ 6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ
  • 5.
  • 6.
  • 7.
  • 8.
  • 9.
  • 10.
  • 11.
  • 12. ชลธาร์นนท์ .( 2545) . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกแบบเรียนร่วม . เอกสาร การสอนรายวิชาการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม . กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาการฝึก ครูสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ ผดุง อารยะวิญญู .( 2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว .

Report as inappropriate

Select your reason for reporting this presentation as inappropriate.**Required

Copyright Complaint

9 likes

views

Total views23,050

On Slideshare0

From embeds0

Number of embeds0

This saved item is also in a list.

Removing from saved will also delete the item from your lists

Add to a new list

การจ ดการเร ยนการสอนน กเร ยนท ม ความความต องการพ เศษเร ยนรวม

What would you like to name this list?*

Make list private

คำชี้แจง ชุดเอกสารศุกษาดุวยตนเอง วุชาความรูพ้ืนฐานดานการจัดการศกษาสาหรับคนพการหรือผูเรียน ที่มีความตองการจาเป็นพเศษ เร่ือง การจัุดการศุกษาแบบเรียนรวมุเลุมน้ี ไดุรวบรวมเน้ือหาจากเอกสาร บทความของนัุกการศกุ ษาที่เก่ียวขอุ งกัุบการจัุดการศุกษาแบบเรียนรวมซ่งมีเน้ือหาสาระท่ีุครูและบคลากร ที่สนใจควรทราบ ไดุแก ความรูพ้ืนฐานเก่ียวกับการจัดการศกษาแบบเรียนรวมุรูปแบบและกระบวนการจัด การศกษาแบบเรียนรวมุแนวทางการจัดการเรียนการสอนในช้ันเรียนรวมุการจัดสภาพแวดลอมที่สงเสรม การจัดการเรียนรวมุการจัดการพฤตกรรมนักเรียนในช้ันเรียนรวมุปัจจัยสงเสรมคว ามสาเร็จในการจัด การศกษาุแบบเรียนรวม และตัวอยางกรณีศกษานักเรียนเรียนรวมประเภทตางๆุเพืุอใหุครูุและผูุสนใจ นาความรูไปประยกต์ใชในการจัดการเรียนการสอน รวมถงการพัฒนาศักยภาพของผูเรียนใหมีประสทธภาพ สูุงขน้ ุพรอมทงั้ นาแนวทางความรแู นะนาแกผปู กครองตอไป คณะทางาน

สำรบญั หนำ้ คำนำ คำชแ้ี จง สำรบัญ แนวทำงกำรใชช้ ุดเอกสำรศกึ ษำด้วยตนเอง หนวยทุ่ี 1ุุความรพู ื้นฐานเกยี่ วกบั การจัดการศกษาแบบเรยี นรวม................................................ 1 หนวยทีุ่2ุุการบรหารจดั การเรยี นรวม………………………………………………………………………………. 13 หนวยทุ่ี 3 รปู แบบและกระบวนการจัดการศกษาแบบเรียนรวม…………………………………………… 26 หนวยทุ่ี 4ุุแนวทางการจดั การเรียนการสอนในชน้ั เรยี นรวม………………………………………………… 31 หนวยทุี่ 5ุุการจัดสภาพแวดลอมท่สี งเสรมการจัดการเรยี นรวม……………………………………………. 49 หนวยทุี่ 6ุุการจดั การพฤตกรรมนกั เรยี นในชนั้ เรียนรวม……………………………………………………… 56 หนวยทีุ่7ุุตัวอยางกรณีศกษานักเรียนเรียนรวมประเภทตางุๆ……………………………………………. 75 บรรณำนุกรม แบบทดสอบท้ำยบท แบบเขยี นสะทอ้ นคิด

แนวทำงกำรใชช้ ุดเอกสำรศกึ ษำด้วยตนเอง ทำ่ นที่ศึกษำเอกสำรควรปฏิบตั ิดังต่อไปน้ี 1. ศกษาขอบขายของเน้ือหาุสาระสาคญั และจดประสงค์ 2. ศกษาขอบขายของเนื้อหาและทาความเขาใจเนอื้ หาอยางละเอยี ด 3. ศกษาแหลงความรเู พ่มเตม 4. โปรดระลกไวเสมอวาการศุกษาจากเอกสารดวยตนเองเป็นเพยุี งสวนหนง่ ของการพุัฒนาความรูุ ดานการศุกษาพเุศษเทาุ นนั้ ควรศกษาคุนควาและหาประสบการณ์ตรงจากแหลงความรุูอ่นื ุๆุเพ่มเตม

1 หนว่ ยที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานเกี่ยวกบั การจดั การศึกษาแบบเรยี นรวม การศึกษาเปน็ สิทธพิ น้ื ฐานท่มี นษุ ยท์ กุ คนพึงได้รับจากการจัดสวสั ดิการแห่งรัฐ ไม่เว้นแม้บุคคล พิการ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ประชากรภายใต้ความท้าทายต่อกระแส การเปล่ียนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างเสรีและไร้พรมแดน มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพ่ือการดารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมท่ีมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ท่ีมุ่งเน้นการจัดให้คนทุกกลุ่มมีสิทธิ ได้รับการศึกษาทมี่ คี ุณภาพอยา่ งทวั่ ถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เลอื กปฏบิ ัติ (UNESCO, 2005) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเกิดข้ึนภายใต้ปรัชญาการศึกษาเพ่ือปวงชน (Education for All) ตามปฏิญญาสากลของประเทศสมาชิกองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในการประชุม World Conference on Education for All ในปี พ.ศ. 2533 ท่ีหาดจอมเทียน ประเทศไทย ซ่ึงทุกประเทศเห็นพ้องร่วมกันว่า การศึกษาเป็นสิทธิท่ีประชากรโลกทุกคนพึงได้รับเพ่ือการพัฒนาตนเอง ให้อยู่ในสังคมโลกได้อย่างเข้มแข็ง โดยทุกประเทศต้องกาหนดนโยบายและเร่งรัดจัดการศึกษาให้แก่ประชากร ของตนอยา่ งท่วั ถึงและไมค่ านึงถึงความแตกต่างทางรา่ งกาย สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือข้อจากัด อื่นใด ภายใน 10 ปี (UNESCO, 2005) ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ดาเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อสนองต่อข้อตกลง ปฏิญญาจอมเทียนดงั กล่าวอยา่ งต่อเนื่อง หน่ึงในน้นั คอื นโยบายการจัดการเรียนรวม ความเปน็ มาของการจดั การศึกษาแบบเรียนรวมในประเทศไทย การศึกษาแบบเรียนรวมในประเทศไทยเร่ิมต้นเป็นครั้งแรกเม่ือกว่า 60 ปี ที่ผ่านมา ซง่ึ ในขณะน้ันเรียกว่า “การเรียนร่วม “ โดยใน ปี 2499 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพได้ส่งนักเรียนตาบอด จานวนหน่ึงเข้าเรียนรวมกับนักเรียนที่มีสายตาปกติในโรงเรียนเซ็นคาเบรียลและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงได้มี การขยายการเรียนรวมไปยังโรงเรียนของรัฐและเอกชนอีกหลายแห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด แต่การ ดาเนินการยังไม่ประสบความสาเร็จเท่าท่ีควร เน่ืองจากโรงเรียนจานวนมากปฏิเสธการรับเด็กพิการและ ด้อยโอกาสเข้าเรียน โดยให้เหตุผลว่า เด็กเหล่าน้ีเป็นภาระแก่โรงเรียน บุคลากรขาดความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์ รวมทั้งโรงเรียนยังไม่มีความพร้อม การจัดการเรียนรวมขณะนั้นจึงยังไม่กว้างขวางและทั่วถึง เท่าที่ควร การดาเนินการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมส่วนใหญ่จึงข้ึนอยู่กับการผลักดันขององค์กรเอกชน การกุศล เช่น มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และมูลนิธิธรรมิกชนเพ่ือ คนตาบอดในประเทศไทยในพระบรมราชปู ถมั ภ์ ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีผลบังคับใช้ โดยมาตรา 43 กาหนดให้ “บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาข้ันพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี และ พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กาหนดให้การจัด การศึกษาตอ้ งเน้นกระบวนการเรียนรู้เพ่ือความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม สร้างองค์ความรู้อันเกิดจาก

2 การจดั สภาพแวดลอ้ มของสงั คมแห่งการเรยี นรู้และปัจจัยเก้ือหนนุ ให้บุคคลมีการเรยี นรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการจัด การศึกษาให้แก่เดก็ ท่ีมคี วามต้องการจาเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะในมาตรา 10 ท่ีกาหนดว่า “การจัดการศึกษา ตอ้ งจัดให้บุคคลมสี ทิ ธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาไมน่ อ้ ยกวา่ สบิ สองปีทีร่ ัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการจัดการศึกษาสาหรับบุคคลซ่ึงมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การส่ือสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่ง ไมส่ ามารถพึง่ ตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ” ทาให้สังคมไทยเริ่มตระหนักถึงสิทธิของบุคคลท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษและคน พกิ ารมากขึน้ ซ่ึงรัฐธรรมนญู และพระราชบญั ญัตฉิ บับดงั กล่าวมีผลต่อนโยบายการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียน ทม่ี คี วามต้องการจาเป็นพิเศษเป็นอยา่ งมากจนถงึ ปจั จุบัน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่รับผดิ ชอบในการจัดการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐานขณะน้นั จึงได้ริเริ่มดาเนินการจัดการศึกษาสาหรับ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสมาอย่างต่อเน่ือง เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างท่ัวถึงและ มีคุณภาพ โดยได้พัฒนาการศึกษาพิเศษภายใต้แนวคิดท่ีว่านักเรียนพิการที่ช่วยเหลือตนเองได้สามารถเรียน ร่วมกบั นักเรยี นทว่ั ไปได้ โดยสามารถพัฒนาได้ดกี ว่าเรียนกบั นักเรยี นพิการด้วยกัน และเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบประกาศให้ พ.ศ. 2542 เป็นปีการศึกษาเพื่อคนพิการ โดยมีนโยบายว่า “คนพกิ ารท่ีอยากเรียนต้องได้เรียน” ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายเพิ่มเติม โดยมีเจตนารมณ์ท่ีจะขยายโอกาสทางการศึกษาและจัดบริการการศึกษาให้ทั่วถึง จึงมีการกาหนดนโยบาย “คนพิการทุกคนต้องได้เรียน ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม” ซ่ึงได้ดาเนินการ อย่างตอ่ เนอื่ งมาจนถึงปัจจบุ นั นอกจากน้ีประเทศไทยยังได้เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยท่ีประชุมได้ขยายทศวรรษ คนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิกออกไปอีกหนึ่งทศวรรษ คือระหว่าง พ.ศ. 2546-2555 และการเข้าร่วม การรับรองกรอบปฏิบตั ิงานแหง่ สหสั วรรษจากทะเลสาบบวิ าโกะสสู่ งั คมบูรณาการปลอดจากอุปสรรคและตั้งอยู่ บนฐานของสิทธิสาหรับคนพิการในภูมิภ าคเอเชียและแปซิฟิกทาให้ ได้กรอบแนวคิดในการช่วยเหลือเด็ก ท่ีมีความบกพร่อง ผู้ติดเช้ือเอดส์ และการช่วยเหลือระยะแรกเร่ิม (The Biwako Millennium Framework for Action Towards an Inclusive, Barrier – Free and Right – Based Society for Persons with Disabilities in Asia and Pacific, 2007 อ้างในก่ิงเพชร ส่งเสริม, 2552) นอกจากน้ีประเทศไทยยังได้เข้าร่วม ประชุมกรอบปฏิบัติการดาการ์ (The Dakar Framework for Action, Education for All: Meeting Our Collective Commitments 2001) ซึ่งเป็นการประชุมระดับโลกเรื่องการศึกษา (The World Education Forum) จัดขึ้นที่เมืองดาการ์ ประเทศสาธารณรัฐเซเนกัล ในปี ค.ศ. 2000 ได้ระบุชัดเจนว่าการศึกษาถือเป็น สิทธิมนุษยชนข้ันพ้ืนฐาน ย่ิงไปกว่าน้ันยังได้เน้นย้าถึงความสาคัญของการปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐ เพ่อื ใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายการศกึ ษาเพอ่ื ปวงชน (UNESCO, 2000)

3 ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 มีการประชุมปฏิบัติการว่าด้วยสิทธิทางการศึกษา อันเป็นสิทธิของเด็ก ทุกคน (Regional Workshop on Universalizing the Right to Education of Good Quality : A Rights based Approach to Achiever Education for All, 2008 อา้ งในกง่ิ เพชร ส่งเสรมิ , 2552) ซึง่ ใหค้ วามสาคัญ ทเี่ ปา้ หมายและนโยบายของการจัดการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน นอกจากนี้ รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2550 ได้กาหนดสิทธิและเสรีภาพ ทางการศกึ ษาไวใ้ นมาตรา 49 ความวา่ “บคุ คลยอ่ มมสี ิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ ต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะ ยากลาบากตอ้ งได้รบั สิทธแิ ละการสนับสนุนจากรัฐเพ่ือใหไ้ ด้รับการศึกษาโดยเท่าเทียมกับบุคคลอ่ืน และการจัด การศึกษาอบรมขององคก์ รวชิ าชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลอื กของประชาชน การเรยี นรดู้ ้วยตนเองและการ เรยี นรูต้ ลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, 2550) และต่อมาในปี พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ ท่ีได้ประกาศใช้ ณ วันท่ี 27 มกราคม พ.ศ. 2551 ซ่ึงให้คานิยาม “คนพิการ” ว่า หมายถึงบุคคลท่ีมีข้อจากัดในการปฏิบัติกิจกรรม ในชีวิตประจาวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้หรือความบกพร่องอ่ืนใดประกอบ กับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจาเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ด้านหน่ึงด้านใดเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจาวันหรือเข้า ไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคล ทั่วไป และคาว่า “การเรียนร่วม” หมายถึง การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาท่ัวไปทุกระดับ และหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษาให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสาหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้ง คนพกิ าร (พระราชบญั ญัติการจัดการศึกษาสาหรบั คนพิการ, 2551) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา ของปวงชนชาวไทยไว้ใน มาตรา 54 วรรคหน่งึ ว่า “รัฐตอ้ งดาเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบ สองปี ตั้งแต่ ก่อนวัยเรียนจนจบการศกึ ษาภาคบงั คบั อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และ วรรค 3 ระบุไว้ ว่า “รัฐต้องดาเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการ เรียนรตู้ ลอดชวี ิต และจัดใหม้ กี ารร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัด การศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดาเนินการ กากับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมี คุณภาพและได้มาตรฐานสากล ท้ังนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซ่ึงอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติ เกี่ยวกับการจัดทาแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดาเนินการและตรวจสอบการดาเนินการ ให้เป็นไปตาม แผนการศึกษาแห่งชาติ” (รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย, 2560) จากการบังคับใช้กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กาหนดนโยบายและ เปา้ หมายปี พ.ศ. 2551 ไวค้ ือ เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนาความรู้ ขยายโอกาสทางการศึกษา ข้ันพื้นฐานของประชาชนให้กว้างขวางทั่วถึง มีคุณภาพ และขยายโอกาสทางการศึกษาทุกระดับและประเภท การศึกษา พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ โดยมีเป้าหมายให้มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและ คุณภาพการศึกษาสูงข้ึนทุกระดับและประเภทการศึกษา กระจายอานาจไปสู่เขตพื้นท่ีและสถานศึกษาโดยมี

4 เป้าหมายให้เขตพ้ืนที่การศึกษาและสถานศึกษามีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเอกชนและท้องถ่ินโดยมีเป้าหมายให้มีการจัดการศึกษาสอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและท้องถ่ิน (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, 2551 อา้ งใน กิ่งเพชร สง่ เสรมิ , 2552) ซง่ึ สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐานมีนโยบายมงุ่ เน้นขยายบทบาท หน้าที่ของหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องให้กว้างขวางข้ึน เน้นการพัฒนาเด็กพิการในลักษณะบูรณาการเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตตามศักยภาพ การทางานของโรงเรียนเป็นการทางานร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาและบุคลากรอื่น ในลักษณะรว่ มคดิ ร่วมวางแผน รว่ มตดั สินใจและร่วมรับผิดชอบ และที่สาคัญที่สุดคือการจัดการศึกษาเป็นการ เปล่ียนการศกึ ษาไปสสู่ ังคมทีเ่ นน้ สิทธมิ นษุ ยชนขัน้ พื้นฐาน (สุจินดา ผ่องอักษร, 2551 อ้างใน กิ่งเพชร ส่งเสริม, 2552) และในวันท่ี 10-12 มีนาคม พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมเร่ืองการปรับ จุดเน้นและกลยุทธ์ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานเพ่ือตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการ ประชุมสัมมนาผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานในขณะน้ัน โดยท่ีประชุมมีข้อสรุปให้กาหนดนโยบายเร่งด่วน เก่ียวกับการศึกษาพิเศษ กล่าวคือ ดาเนินการให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาสิบสองปี โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย รวมทั้งสนับสนุนผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรืออยู่ในสภาวะยากลาบาก ให้ได้รับการศึกษา และเพ่ิมโรงเรียนแกนนาเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก (ก่ิงเพชร ส่งเสริม, 2552) และในปี พ.ศ. 2559 กระทรวงศกึ ษาธิการไดป้ ระกาศนโยบาย “ปี 2559 เปน็ ปีแหง่ ความรว่ มมือด้านการจัดการศึกษาสาหรับเด็กท่ีมี ความต้องการจาเป็นพิเศษ” เพื่อส่งเสริมให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างท่ัวถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้าทางการศกึ ษา โดยความร่วมมอื ของทกุ ภาคส่วน ซึ่งแนวทางสาคัญในการดาเนินงานนโยบาย ดังกล่าว ได้แก่ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เพ่ือขยายโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับ การศึกษาทม่ี ีคุณภาพอย่างเทา่ เทยี มโดยไม่เลือกปฏบิ ตั ิ มีการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียน ที่จดั การศึกษาแบบเรยี นรวมในทุกพืน้ ที่ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน, 2561) จากกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ท่ีกล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาสาหรับ นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษในประเทศไทยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วมท่ีกาหนดไว้ชัดเจนในพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 และมีความพยายามอย่างจริงจังท่ีจะส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อมเดียวกับเพ่ือนในระดับเดียวกันอย่างเท่าเทียมในรูปแบบของ การศกึ ษาแบบเรียนรวมจนถงึ ปัจจบุ ัน ความหมายของการเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเกิดข้ึนจากปรัชญาการศึกษาเพื่อคนท้ังมวล โดยที่นักเรียน แต่ละคนมปี ระสบการณ์ ความต้องการ และจดุ เด่นที่แตกต่างหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ท้ังทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การจัดการศึกษาจึงจาเป็นต้องจัดให้ยืดหยุ่น และตอบสนองความแตกต่างเฉพาะเหล่านี้ มากกว่าการคาดหวังให้นักเรียนปรับตัวเองเข้ากับระบบการเรียน

5 การสอนท่ีได้จัดไว้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล หน่วยงานและนักวิชาการดา้ นการศกึ ษาได้ให้ความหมายของ “การศึกษาแบบเรียนรวม” ไว้ดังน้ี องค์กรยูเนสโก (UNESCO, 2005) ให้ความหมายของการเรียนรวมไว้ว่า เป็นกระบวนการจัด การศกึ ษาในโรงเรยี นทว่ั ไปท่ีตอบสนองตอ่ ความต้องการที่แตกต่างหลากหลายของนักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียน เดยี วกัน มีการสนับสนุนและบรกิ ารทางการศกึ ษาตามความตอ้ งการจาเปน็ ของนักเรียนแต่ละคนเพ่ือเข้าถึงและ ดาเนนิ กิจกรรมตา่ ง ๆ ไดใ้ นสภาพแวดลอ้ มท่มี ขี อ้ จากดั นอ้ ยท่ีสดุ Alquraini and Gut (2012) ได้อธิบายความหมายของการเรียนรวมไว้ว่า การเรียนรวมเป็น การจัดให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้เข้าเรียนอยู่ในชั้นเรียนเดียวกับเพ่ือนในวัยเดียวกันเต็มเวลา ใชห้ ลกั สตู รเดียวกัน โดยครูและครูการศึกษาพิเศษร่วมจัดการบริการสนับสนุนการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรม ของนักเรียนตามความต้องการจาเป็น เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมต่อการใช้ชีวิตในสังคมท่ีมีความแตกต่าง หลากหลาย McManis (2017) ให้ความหมายของการเรียนรวมไว้ว่า การเรียนรวมเป็นการศึกษาท่ีจัดให้ นักเรยี นทกุ คนในช้นั เรียนเดียวกับเพ่ือนในวัยเดียวกัน โดยไม่คานึงถึงข้อจากัดใดๆ ในโรงเรียนใกล้บ้าน เพ่ือให้ ได้รับการเรียนการสอน การช่วยเหลือ และการสนับสนุนที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้บรรลุผลสาเร็จตามหลักสูตร แกนกลาง เบญจา ชลธานนท์ (2543) ได้ให้ความหมายของการเรียนรวมว่า หมายถึง การจัดการศึกษา ให้นักเรียนทุกคนท่ีอยู่ในการศึกษาระดับเดียวกันในชั้นเรียนเดียวกัน โดยไม่ต้องแยกนักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษไปอยู่ในสถานศึกษาเฉพาะทาง โดยต้องสนับสนุนความช่วยเหลือทางการศึกษา ทางการแพทย์ บริการและความช่วยเหลืออ่ืนใด ต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ โครงสร้าง หลักสูตร วิธีการและเทคนิคการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม และบุคลากร เพื่อให้นักเรียนเรียนรวมกันได้อย่าง มคี ณุ ภาพ ผดุง อารยะวิญญู และ วาสนา เลิศศิลป์ (2551) ได้ให้ความหมายของการเรียนรวมไว้ว่า การเรียนรวม หมายถึง การจัดให้นักเรียนวัยเดียวกันได้เข้าเรียนด้วยกันทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ตลอดเวลาท่ีอยู่ในโรงเรียน โดยไม่คานึงว่านักเรียนมีความต้องการจาเป็นพิเศษ ซึ่งครูปฏิบัติต่อนักเรียนทุกคน ในฐานะเปน็ สมาชิกคนหนึ่งในชน้ั เรยี น จากความหมายของการเรียนรวมท่ีได้อธิบายไว้ทั้งหมดข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การเรียน รวม หมายถึง กระบวนการจัดการศึกษาที่จัดให้นักเรียนในวัยเดียวกันทุกคนได้เข้าเรียนในช้ันเรียนเดียวกัน โดยคานึงถึงข้อจากัดของนักเรียนแต่ละคน มีการปรับหลักสูตร จัดการกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนสนับสนุน บริการและความช่วยเหลือท่ีตอบสนองต่อความต้องการจาเป็นพิเศษของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพ่ือให้ นกั เรยี นเขา้ ถงึ การเรยี นรู้และกจิ กรรมต่าง ๆได้มากทสี่ ดุ ในสภาพแวดล้อมที่มขี อ้ จากดั นอ้ ยทีส่ ดุ

6 มุมมอง แนวคิด และหลักการสาคญั ของการเรียนรวม มุมมองและแนวคดิ เกี่ยวกบั ความพกิ ารท่ีมีอิทธิพลต่อการศกึ ษาของคนพิการ ความเขา้ ใจด้านมุมมองเกยี่ วกับความพิการมีความสาคัญต่อการจัดการศกึ ษาสาหรบั คนพิการ ในทกุ ระดบั สะท้อนการจัดการศึกษา การออกแบบการเรียนรู้ สอ่ื และกจิ กรรมต่างๆ รวมถงึ การปฏิบตั ติ อ่ คนพกิ ารในลักษณะทต่ี ่างกนั ไป (Terzi, 2004) มุมมองเก่ียวกับความพิการของแต่ละบุคคลถูกสะท้อนมาจากหลากหลายชุดความคิด ซึ่ง สามารถแบง่ ได้ ดังน้ี 1. รูปแบบแนวคิดแบบดั้งเดิม (Traditional Model) เป็นรูปแบบท่ีมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก ความเชื่อทางศาสนา โดยเชื่อว่าความพิการเกิดจากเวรกรรม บาปกรรม หรือผลจากการกระทาในอดีตชาติ ทั้งของคนพิการเองและพ่อแม่ ความพิการถูกมองว่า เป็นความแปลกประหลาด ทาให้เกิดการแบ่งแยก คนพิการออกจากคนท่ัวไปอย่างชัดเจน คนพิการตามแนวคิดนี้จึงมักถูกแยกออกจากสังคม เก็บไว้ที่บ้าน เปน็ ต้น (Terzi, 2004; Palawat & May, 2012) 2. รูปแบบแนวคิดทางการแพทย์ (Medical Model) เป็นรูปแบบแนวคิดที่เกิดขึ้นเมื่อ วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้า ทาให้มนุษย์สามารถทราบสาเหตุของความพิการ นาไปสู่การ รักษา แก้ไข และฟ้ืนฟูเพื่อปรับให้คนพิการสามารถเข้ากับส่ิงแวดล้อมต่างๆในสังคมได้ โดยมองความพิการเป็นเร่ืองของ ความบกพร่องท่ีเกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคลเท่าน้ัน คนพิการตามแนวคิดนี้จะได้รับการฟื้นฟูในสถาบันท่ีจัดขึ้น เฉพาะสาหรับคนพิการ เช่น สถานสงเคราะห์ โรงเรียนเฉพาะความพิการ เป็นต้น (Terzi, 2004; Palawat & May, 2012) 3. รูปแบบแนวคิดทางสังคม (Social Model) เป็นรูปแบบแนวคิดที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของ แนวคิดเร่ืองสิทธิมนุษยชน โดยตระหนักถึงความแตกต่างท้ังทางร่างกาย ความคิด และสติปัญญาของมนุษย์ แต่ละคน ที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการ อยูร่ ว่ มในสังคม ซงึ่ คนพิการเป็นสมาชิกที่มีสิทธิเป็นเจ้าของและอยู่อย่างมีคุณค่าและศักด์ิศรีในสังคมเช่นบุคคล อ่ืนๆ คนพิการตามแนวคิดนี้จะถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีสิทธิได้รับการศึกษา บริการสาธารณะ ร่วมกจิ กรรมทางสังคม และใช้ชวี ิตรวมกบั บุคคลทว่ั ไปตามปกติ (Terzi, 2004) แนวคิดทั้งสามรูปแบบนี้มีผลต่อวิถีการปฏิบัติต่อคนพิการและการสร้างสังคมรวมเป็น อย่างมาก สังคมไทยเปลี่ยนถ่ายแนวคิดท่ีมีต่อความพิการสะท้อนการจัดการศึกษาให้แก่คนพิการในรูปแบบ ตา่ งๆ ตงั้ แตก่ ารแยกคนพกิ ารออกจากสงั คม โดยมองวา่ คนพกิ ารไมจ่ าเป็นตอ้ งได้รับการศึกษา มาเป็นการจัดให้ คนพิการได้รับการศึกษาในสถาบันที่จัดขึ้นเฉพาะคนพิการ การให้คนพิการที่มีความพร้อมได้เข้าเรียนร่วม ในระบบและหลักสตู รทั่วไปทม่ี ีอยู่ และการจัดระบบการศึกษาให้คนพิการเข้าเรียนรวมในฐานะนักเรียนคนหน่ึง ในโรงเรียนท่วั ไป การจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษในอดีตมีพื้นฐานความคิดจาก ความบกพร่องหรือความพิการที่มองว่าเป็นเร่ืองผิดปกติทาให้นักเรียนไม่สามารถเรียนในระบบการศึกษาท่ีจัด ให้ได้ จาเป็นต้องได้รับการแก้ไขหรือปรับเปล่ียนให้มีความพร้อมต่อระบบการศึกษาท่ีมี ซึ่งหากนักเรียนไม่มี

7 ความพร้อมหรือไม่สามารถปรับตัวได้ ก็ไม่สามารถเข้าเรียนในระบบการศึกษาที่มีอยู่ได้ จะทาให้ถูกกีดกันจาก สงั คม แตเ่ มอ่ื เกดิ แนวคดิ รูปแบบใหม่ ทม่ี องวา่ มนุษย์ทกุ คนต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน ซ่ึงรวมถึงสิทธิทางการศึกษา นักเรียนท่ีมคี วามต้องการจาเป็นพเิ ศษตอ้ งมีสิทธไิ ดร้ ับการศกึ ษาในฐานะสมาชกิ คนหนง่ึ ในสงั คมเช่นบุคคลท่ัวไป (UNESCO, 2005) แตด่ ้วยระบบการศึกษาและสภาพแวดล้อมท่ีมีอยู่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้ จึง ต้องทาลายอปุ สรรคท่ีกีดขวางโอกาสในการเขา้ ถึงสิทธิทางการศึกษาของนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ เช่น นโยบาย สภาพแวดล้อม หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ส่ืออุปกรณ์ และการวัดผลประเมินผล เป็นต้น เพ่ือให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับบุคคลอื่น มีส่วนร่วมใน สังคม เน่อื งจากทุกคนมีศักยภาพสามารถเรียนรู้ไดส้ ูงสดุ ในสภาพแวดลอ้ มทม่ี ีข้อจากัดนอ้ ยทส่ี ดุ การศึกษาแบบเรียนรวมไม่เพียงแต่การอนุญาตให้นักเรียนที่มีความบกพร่องเข้าไปอยู่ใน โรงเรียนหรือชั้นเรียนกับเพ่ือนทั่วไปเท่าน้ัน แต่หมายถึงการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษา ร่วมกิจกรรมและพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของความแตกต่างได้อย่างเท่าเทียม ผู้จัดการศึกษาควรมองนักเรียน ท่มี คี วามตอ้ งการจาเป็นพิเศษเปน็ ส่วนหนึง่ ในการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น การออกแบบการศึกษา แผนการจัดการ เรยี นรู้ ส่ือและกิจกรรมต่างๆควรออกแบบโดยคานึงถึงการเข้าถึงของนักเรียนทุกคน (Universal Design) แทน การออกแบบส่งิ ใดสงิ่ หน่ึงเพอื่ นักเรียนท่ัวไปหรือนักเรียนพิการโดยเฉพาะเท่าน้ัน ลดปัญหาท่ีมองว่าการจัดการ เรียนรู้สาหรับนักเรียนพิการในช้ันเรียนรวมเป็นภาระที่เพ่ิมข้ึนของครู ทั้งนี้สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย แนวคดิ มุมมอง และความเขา้ ใจความพกิ ารทถ่ี ูกต้อง แนวคดิ พนื้ ฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดการศึกษาท่ีคานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนต้องมีโอกาสเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษาข้ันพื้นฐานโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างและ ขอ้ จากดั ใด ๆ ซงึ่ การศกึ ษาแบบเรียนรวมได้มีการกล่าวถึงในวงการการศึกษาพิเศษในแถบประเทศตะวันตกมา ตงั้ แต่ ปี พ.ศ. 2533 โดยเฉพาะในประเทศสหรฐั อเมรกิ าและสหราชอาณาจักร ซ่ึงกลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนท่ี มีความต้องการจาเป็นพิเศษมีบทบาทอย่างยิ่งในการผลักดันให้รัฐกาหนดนโยบายและมาตรการการจัด การศกึ ษาแบบเรียนรวมให้โรงเรยี นปฏิบัติตาม โดยการจัดให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้เข้าเรียน รวมกับนักเรียนทั่วไปในช้ันเรียนเดียวกัน และแนวคิดน้ีได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ท่ัวโลกในเวลาต่อมา (สุชาดา บุปผา, 2557) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมมีความเป็นรูปธรรมมากข้ึนเม่ื อการประชุม World Conference on Education for All ในปี พ.ศ. 2533 ณ หาดจอมเทียน ประเทศไทย ท่ีกาหนดให้รัฐบาลของ ประเทศสมาชิกองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติต้องจัดการศึกษาให้ประชากร ของแต่ละประเทศได้รบั การศึกษาอย่างทว่ั ถึงและเสมอภาคโดยไม่คานึงถงึ ความแตกต่างและข้อจากัดใด ๆ และ ต้องบูรณาการให้นักเรียนทุกคน ได้เรียนในชั้นเรียนเดียวกันให้ได้มากที่สุด (UNESCO, 2005) ซึ่งแนวคิดน้ีเป็น แนวคิดเร่ิมตน้ ในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นการจัดการศึกษาเพื่อ ปวงชนอย่างแท้จริง และมีอิทธิพลต่อการปรับเปล่ียนทิศทางในการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนท่ีมีความ ตอ้ งการจาเป็นพิเศษในทกุ ภูมภิ าคของโลก

8 ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษาสาหรับผู้มีความต้องการจาเป็นพิเศษและการเข้าถึง คุณภาพการศึกษา ในปี พ.ศ. 2534 ท่ีซาลามันกา ประเทศสเปน (UNESCO, 2000) ได้กาหนดหลักการจัด การศึกษาแบบเรยี นรวมบนพ้ืนฐานความเชอื่ ดังน้ี 1. เดก็ ทกุ คนมีสิทธิได้รบั การศึกษาและมีโอกาสประสบความสาเรจ็ 2. เด็กทุกคนมีคุณลกั ษณะ ความเข้าใจ ความสามารถ ระดบั และลักษณะการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกัน จากความเช่ือข้างต้นสามารถกาหนดเป็นหลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อเป็น แนวทางในการปฏิบตั ิ ดังนี้ 1. นักเรยี นทุกคนมสี ทิ ธไิ ดร้ ับการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐานและการศึกษาแบบเรียนรวม ทที่ าให้ สามารถเรียนรู้เตม็ ศกั ยภาพและประสบความสาเร็จได้ 2. นกั เรียนทุกคนมคี ุณค่าและความสามารถเฉพาะตน 3. การศึกษาแบบเรียนรวมส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้พัฒนาตนเอง ทง้ั ด้านวิชาการและสงั คม 4. นักเรียนทกุ คนมีวิธกี ารเรียนรทู้ ี่มปี ระสิทธิภาพแตกต่างกัน 5. นักเรียนทกุ คนเรยี นรู้ได้ดีเมื่อจดั การเรียนรู้ที่เหมาะสม เรยี นเรื่องท่ีสนใจและทา้ ทาย 6. นกั เรยี นทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาท่ีมีคุณภาพอยา่ งเท่าเทียมกัน 7. ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และใช้ทรัพยากรในท้องถ่ิน สง่ เสรมิ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จากความเชื่อและหลักการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดังกล่าว นาไปสู่การจัดการศึกษา ที่มีคุณภาพสาหรับนักเรียนทุกคน ทั้งนักเรียนท่ัวไปและนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ โดยไม่มีการ แบ่งแยก ซึ่งนกั เรียนทกุ คนได้เรยี นรตู้ ามความแตกต่างและข้อจากัดของแต่ละบุคคล ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยเกดิ ประโยชน์สงู สุดกบั นักเรียนทุกคนทีเ่ ก่ยี วข้อง ผดุง อารยะวญิ ญู และ วาสนา เลิศศิลป์ (2551) ใหป้ รัชญาในการจัดการเรียนรวม ไว้ดังน้ี 1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษา อย่างเทา่ เทียมกนั ไม่วา่ จะอยูใ่ นสถานะแบบใด 2. ความหลากหลาย (Diversity) มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน จะกาหนดให้ทุกคน เป็นเหมือนกันไม่ได้ การจัดการศึกษาต้องยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคลและเคารพในความแตกต่าง ของกันและกัน 3. การปรบั ตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมปกติ (Normalization) ทุกคนต้องการปรับตัว ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมและสังคมท่ัวไป ไม่ต้องการผิดแผกไปจากมาตรฐาน การศึกษาจึงควรจัดเพ่ือให้ทุกคน ปรับตวั เขา้ กบั สภาพแวดลอ้ มและสงั คมทั่วไปได้ 4. สังคมหลากหลายวัฒนธรรม (Multicultural Society) ในแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรม ท่ีหลากหลายมนุษย์ต้องยอมรับวัฒนธรรมท่ีแตกต่างกัน การจัดการศึกษาจาเป็นต้องคานึงถึงความแตกต่าง หลากหลายของวัฒนธรรมในสังคมนนั้ ๆ

9 5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในตนเอง ซ่ึงแต่ละคนมีไม่เท่ากัน การ ศึกษาตอ้ งจดั ให้บรรลุศกั ยภาพของแต่ละบคุ คล 6. มนุษยนิยม (Humanism) 7. กระบวนการทางสังคม (Socialization) มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งไม่สามารถแยกอยู่ตาม ลาพงั ได้ การให้การศกึ ษาโดยการแยกเฉพาะ จงึ ไมส่ อดคลอ้ งกบั การเป็นสัตวส์ งั คมของมนษุ ย์ 8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของแต่ละ บคุ คล ถงึ แม้จะจัดการศกึ ษาใหเ้ รียนรวมกนั แต่มีวิธีการเรยี นรเู้ ฉพาะของแต่ละบคุ คล 9. การพ่ึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์ในสังคมต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน การจดั การศกึ ษารวมกันสง่ เสริมใหเ้ กดิ การช่วยเหลอื พง่ึ พาซึง่ กันและกนั 10. สภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยท่ีสุด (Least Restrictive Environment: LRE) การจัด การศึกษาจาเป็นต้องจัดให้ในสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยที่สุด เพ่ือผู้เรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้เต็ม ตามศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คลได้มากที่สดุ แนวคิดเก่ียวกับสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment: LRE) กับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นแนวคิดสาคัญในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยท่ีนักเรียนท่ีมี คุณสมบัติได้รับบริการการศึกษาพิเศษต้องได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยที่สุด ซึ่งหมายความว่า นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษเหล่านี้ควรได้ใช้เวลากับเพื่อนท่ีไม่ได้รับบริการการศึกษาพิเศษในช้ันเรียน เดียวกัน (Morin, ND) โดยคณะกรรมการจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลต้องเข้าใจและคานึงถึงแนวคิด สภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยที่สุด เม่ือพิจารณาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan: IEP) ใหแ้ ก่นกั เรยี นท่ีมคี วามตอ้ งการจาเป็นพเิ ศษ ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษควรได้อยู่ร่วมในชั้นเรียนปกติกับเพื่อนท่ัวไปให้มาก ที่สุด 2. ช้ันเรียนพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความพิการ หรือการย้ายออกจากช้ันเรียนท่ัวไปควรเกิดข้ึน เฉพาะเม่ืออุปสรรคในการเรียนรู้และการร่วมชั้นเรียนของนักเรียนมีความรุนแรงมาก จนอุปกรณ์และบริการ เสรมิ ทจ่ี ดั ใหไ้ มส่ ามารถช่วยใหเ้ ดก็ ได้รบั บรกิ ารการศึกษาท่เี หมาะสมได้ คาสาคัญท่ีมักพบในแนวคิดเร่ืองสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยที่สุดคือ “ความเหมาะสม” แต่อย่างไรจึงกล่าวได้ว่า “เหมาะสม” ซ่ึงในท่ีนี้ “เหมาะสม” หมายความถึงส่ิงที่สอดคล้องและถูกต้องต่อ ความต้องการจาเป็นของนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ ในบางคร้ังการจัดให้นักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษอยู่ในช้ันเรียนรวมอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากบริการหรือโปรแกรมบางอย่างไม่สามารถจัดให้ในช้ัน เรียนรวมได้ เชน่ บริการทางการแพทย์ทต่ี อ้ งใชเ้ ครอ่ื งมือหรืออปุ กรณเ์ ฉพาะ (Morin, ND) แนวคดิ เรื่องสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยท่ีสุดในการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนท่ีมีความ ต้องการจาเปน็ พิเศษ ทาให้เกิดการจัดการศกึ ษาแบบเรียนร่วมและเรียนรวมใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนร่วม แบบ Mainstreaming การเรียนร่วมแบบ Integrated Education และการเรียนรวมแบบ Inclusive Education (Morin, ND)

10 หลายคนเข้าใจว่าคาท้ังสามมีความหมายเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสามคามีความ แตกต่างกนั ในทางปฏิบตั ิ ดงั นี้ การเรียนร่วมแบบ Mainstreaming เปน็ การจัดการเรียนโดยนานักเรียนที่มีความต้องการจาเป็น พิเศษเข้าไปอยู่ในช้ันเรียนพิเศษท่ีจัดแยกไว้ในโรงเรียนท่ัวไป หรือจัดให้น่ังเรียนอยู่มุมใดมุมหน่ึงของห้องในช้ัน เรียนทวั่ ไป หรือจดั ให้นักเรยี นเขา้ เรียนในชัน้ เรียนทั่วไปบางวิชา เพ่ือให้ได้เรียนรู้ทักษะวิชาการและทักษะสังคม กับเพื่อนในวัยเดียวกันในสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียน การเข้าเรียนในรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับทักษะและ ความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษเอง โรงเรียนไม่มีการจัดบริการหรือมี อุปกรณช์ ว่ ยใด ๆ ส่วนการเรียนร่วมแบบ Integrated Education เป็นการจัดให้นักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษเข้าเรียนรวมกับเพ่ือนในชั้นเรียนทั่วไป โดยมีบริการสนับสนุนช่วยเหลือให้เข้าร่วมกิจกรรมการ เรียนการสอนในโรงเรียนได้ แตน่ ักเรยี นต้องไดร้ ับการเตรียมความพรอ้ มใหม้ ีศกั ยภาพใกลเ้ คียงกับนักเรียนทั่วไป ใหม้ ากท่ีสุดกอ่ นเขา้ เรยี น และโรงเรยี นไม่มีการปรบั หลกั สตู ร วธิ กี ารสอน หรือการประเมินใด ๆ ในขณะท่ีการเรียนรวมแบบ Inclusive Education เป็นการจัดการศึกษาท่ียืดหยุ่นสาหรับ นกั เรยี นทกุ คนที่มสี ิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ไม่คานึงถึงข้อจากัดใดๆ โดยการจัดการศึกษาตอบสนองการ เรียนรู้ของนักเรียนท่ีมีวิธีการเรียนรู้และความสามารถที่แตกต่างกัน โรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักสตู ร วิธกี ารสอน และการประเมินผลให้เออ้ื ตอ่ การเรียนรู้ของนกั เรียนทุกคน แนวคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยท่ีสุด หรือ LRE สาหรับนักเรียนที่มีความ ตอ้ งการจาเป็นพเิ ศษมุ่งหวงั ให้ม่นั ใจว่านกั เรียนจะไดร้ ับการศึกษาในชั้นเรียนท่ัวไปได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลร่วมกันพิจารณาว่าสภาพแวดล้อม ที่มี ข้อจากัดน้อยที่สุดแบบใดเหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งรูปแบบของสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยที่สุดมีหลายรูปแบบ ไดแ้ ก่ 1. การเรียนรวมในชั้นเรียนท่ัวไปโดยมีการสนับสนุน ซึ่งรูปแบบน้ีนักเรียนจะใช้เวลาเรียน เต็มวนั ในชนั้ เรยี นรวมโดยได้รับบริการส่ืออุปกรณ์เพ่ือการเข้าถึง บริการอื่นท่ีเกี่ยวข้อง การช่วยเหลือสนับสนุน และการดดั แปลง หรือหลายอย่างทีก่ ล่าวมารวมกนั 2. การเรียนรวมในช้ันเรียนทั่วไปบางเวลา ซึ่งนักเรียนเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมบางเวลา และ บางเวลาเข้ารับการเรียนการสอนตัวต่อตัวหรือกลุ่มย่อยในช้ันเรียนพิเศษโดยครูเสริมวิชาการ หรือมีการดึงผู้เรียน ออกจากชัน้ เรียนบางเวลาเพื่อรับบริการพิเศษ 3. การเรียนในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ เป็นการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนพิเศษ ให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษท่ีมีการเรียนรู้คล้ายกัน และลักษณะธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นอุปสรรคในการเรยี นในชนั้ เรยี นรวมกับนกั เรียนทัว่ ไป 4. การเรียนในโรงเรยี นการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษ ที่ไดร้ ับความนยิ มในอดีต โดยเฉพาะในยคุ แรกของการจัดการศึกษาพิเศษซ่ึงสังคมยังมีแนวคิดแบ่งแยกคนพิการ ออกจากสงั คมของคนทวั่ ไปอยู่

11 5. โปรแกรมการศึกษาพเิ ศษนอกโรงเรียน เช่น ในโรงพยาบาล หรอื ที่บา้ น การเข้าใจแนวคิดเก่ียวกับสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยท่ีสุด ช่วยให้ครูผู้สอนและ คณะกรรมการจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเลือกสถานท่ีและวิธีการเรียนการสอนท่ีดีที่สุดให้กับนักเรียนท่ีมี ความตอ้ งการจาเป็นพเิ ศษแต่ละคนไดอ้ ย่างเหมาะสม ประโยชน์ของการศึกษาแบบเรียนรวม การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดการศึกษาที่ให้ประโยชน์ท้ังด้านวิชาการและสังคม แก่ทกุ ฝ่ายทม่ี ีสว่ นเกยี่ วขอ้ ง ได้แก่ คนพกิ าร นกั เรียนท่มี ีความต้องการจาเปน็ พิเศษ นักเรียนทั่วไป และบุคลากร ในโรงเรียน Johnston and Collins (2004) ได้นาเสนอประโยชน์ท่ีนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนท่ีจัด การศกึ ษาแบบเรยี นรวมได้รบั ไว้ ดังน้ี 1. ลดอคติและความกลัวต่อความแตกต่าง 2. ตระหนกั ในคุณคา่ ของความแตกตา่ งหลากหลาย 3. มีการเตรยี มพร้อมสาหรบั การอยรู่ ว่ มกนั ในสงั คมที่มีความแตกต่างหลากหลาย 4. รูจ้ กั ยอมรับคุณลกั ษณะทีแ่ ตกต่างของสมาชกิ แต่ละคนในชุมชน นกั เรียนท่ีมคี วามต้องการจาเป็นพิเศษได้ประโยชน์ ดงั นี้ 1. ได้รับประสบการณ์จากบคุ คลตน้ แบบอยา่ งเปน็ ธรรมชาติ 2. เขา้ ถึงและมสี ว่ นรว่ มในหลักสตู รแกนกลางและหลักสูตรทางเลือกอนื่ ๆ 3. มโี อกาสสร้างมิตรภาพกบั เพื่อนในโรงเรยี นและพัฒนาเป็นการตระหนักถงึ คุณคา่ ของทกุ คน นักเรยี นทั่วไปได้รับประโยชน์ ดงั น้ี 1. มีความเข้าใจวฒั นธรรมและความสามารถของสมาชกิ แตล่ ะคนในสงั คม 2. มีโอกาสเข้าถึงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ซ่ึงรวมตัวแทนจากประชากร นกั เรียนทง้ั หมด พฒั นาทกั ษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการคดิ วิเคราะห์อืน่ ๆ 3. มปี ระสบการณ์กับผู้สอน วธิ ี และเทคนคิ การสอนท่หี ลากหลาย 4. มโี อกาสพฒั นาทักษะการเปน็ ผนู้ า 5. มีโอกาสพัฒนามติ รภาพกบั เพ่ือนท่มี คี วามบกพร่องประเภทต่างๆ ครผู ู้สอนและบุคลากรท่เี ก่ียวข้องไดร้ ับประโยชน์ ดงั นี้ 1. มีโอกาสใหม่ ๆ ในการทางานร่วมกับบุคลากรทางการศึกษาพิเศษผ่านการสอนแบบ การสอนร่วมกัน (Co-teaching) การสอนเป็นทีม (Team-teaching) การสอนกลุ่มย่อย (Small Group Instruction) เปน็ ต้น 2. ตระหนักและเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้เฉพาะบุคคล ความรู้เก่ียวกับหลักสูตรตามความ แตกต่าง ความชอบ และวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน โดยพัฒนาการสอนตามความต้องการและจุดแข็งของ นักเรียน (Salend, & Garrick-Duhaney, 1999; Johnston and Collins, 2004) กล่าวโดยสรุปคือ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดการศึกษาท่ีจัดให้นักเรียนทุกคน ท่ีอยู่ในวัยเดียวกันได้เรียนในช้ันเรียนเดียวกัน ในสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยท่ีสุด และได้เรียนในช้ันเรียน

12 ท่ัวไปให้ได้มากท่ีสุด โดยการเรียนรวมอยู่บนพื้นฐานแนวคิดทางสังคมท่ีมองว่า ความพิการเกิ ดจาก สภาพแวดล้อม ระบบ และทัศนคติที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการศึกษา การจัดการเรียนรวมจึงปรับ สภาพแวดล้อม หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็น พเิ ศษเขา้ ถงึ การศกึ ษาที่มคี ุณภาพเชน่ เดียวกบั นักเรียนทั่วไป โดยได้รับการสนับสนุนสื่อ ส่ิงอานวยความสะดวก และบรกิ ารต่างๆ ทต่ี อบสนองต่อความต้องการจาเป็นของแต่ละบุคคล

13 หนว่ ยที่ 2 การบริหารจดั การเรยี นรวม การจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพจาเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพ่ือนา แนวนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติต่างๆ สู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียน โดยความร่วมมือของ เครือข่ายทุกภาคส่วนท่ีเก่ียวข้อง โดยต้องประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีความรู้ความเข้าใจ มีเจคติที่ดี และมี วิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนรวม มีการส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง องค์กรท่ีมีส่วนเก่ียวข้องในการจัดการเรียน รวม และจัดการให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และจัดการเรียนรวมตามแผนปฏิบัติการท่ีกาหนดไว้ ซึ่งในการบริหารจัดการเรียนรวมมีกรอบแนวคิดหลากหลายรูปแบบที่ผู้บริหารนามาปรับใช้ในการจัดการเรียน รวมทมี่ ีประสิทภิ าพและประสบความสาเร็จ ในหน่วยน้ีจะกล่าวถึงรูปแบบและกรอบแนวคิดสาคัญบางประการ ทไี่ ดร้ ับการยอมรับอย่างกว้างขวางเพื่อใช้ในการบรหิ ารจดั การเรยี นรวมที่มปี ระสทิ ธิภาพ รปู แบบการบรหิ ารจัดการท่สี ่งเสรมิ การจดั การศษึ าแบบเรียนรวม สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร ไดก้ าหนดรปู แบบการบรหิ าร จดั การทส่ี ง่ เสริมการจัดการเรียนรวมไว้ 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจยั นาเขา้ (Inputs) ประกอบด้วย 1.1 เครอื ข่าย 1) เครอื ขา่ ยภายใน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้นื ฐาน คณะกรรมการบริหารจดั การเรยี น รวม คณะกรรมการจดั ทาแผนการศกึ ษาเฉพาะบุคคล คณะกรรมการจัดทาหลักสูตรและการเรยี นการสอน และ คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการจัดการเรยี นรวม 2) เครอื ข่ายภายนอก ไดแ้ ก่ เครอื ขา่ ยชุมชน เครือขา่ ยโรงเรยี นเรียนรวม และเครือขา่ ยหนว่ ยงาน ทเ่ี กี่ยวข้อง 1.2 บุคลากรท่ีเก่ียวข้อง ซึง่ หมายถงึ คุณสมบตั ิและบทบาทของบุคลากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผูป้ กครอง นักเรยี นพกิ าร และนกั เรยี นทวั่ ไป 1.3 สภาพแวดลอ้ ม ได้แก่ สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพ แหล่งบริการทางวิชาการ องคป์ ระกอบท่ี 2 กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 2.1 การวางแผน (Planning) 2.2 การจดั การองค์กร (Organizing) 2.3 การสง่ เสรมิ สนบั สนุน (Supporting) 2.4 การประสานงาน (Coordinating) 2.5 การควบคมุ (Controlling) 2.6 การรายงาน (Reporting) องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วย 3.1 คุณภาพผู้เรียน

14 3.2 การจดั การเรียนการสอน 3.3 การบรหิ ารจดั การเรยี นรวม 3.4 การสรา้ งสงั คมแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 เง่ือนไขความสาเรจ็ ประกอบดว้ ย 4.1 เง่ือนไขภายใน ได้แก่ ผู้บริหารท่ีมีวิสัยทัศนแ์ ละมีภาวะผู้นาในการจดั การเรียนรวม ครทู ่ีมคี วามรู้ ความเขา้ ใจในการจดั การเรียนรวมและกระบวนการเรียนรู้สาหรบั นกั เรียนทมี่ ีความต้องการจาเป็นพิเศษ และ นักเรยี นที่มีความต้องการจาเปน็ พิเศษ 4.2 เง่ือนไขภายนอก ไดแ้ ก่ ผ้ปู กครองท่สี ่งเสริมสนบั สนนุ และใหค้ วามรว่ มมือในการจัดการศกึ ษา และ หนว่ ยงานทเ่ี กีย่ วข้องกับการจัดการศึกษาเรยี นรวม (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน, 2555) ในการบริหารจดั การเรียนรวมมีกรอบแนวคดิ สาคญั ทนี่ ามาใชเ้ พื่อให้การจัดการเรียนรวมมี ประสิทธิภาพและประสบความสาเรจ็ มดี งั นี้ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโดยใช้กรอบแนวคดิ SEAT กรอบแนวคิด SEAT (SEAT Framework) เป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการเรียนรวม ท่ีพัฒนาข้ึนในปี พ.ศ. 2546 จากงานวิจัยเรื่อง การศึกษาสาหรับคนพิการ: การวิจัยและพัฒนารูปแบบการ บริหารจัดการเรียนรวม ของ ดร. เบญจา ชลธารณ์นนท์ รักษาการณ์ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและ ผู้ด้อยโอกาสในขณะนั้น เพื่อหาแนวทางจัดการอุปสรรคท่ีทาให้การดาเนินการเรียนรวมท่ีผ่านมาไม่ประสบ ความสาเรจ็ จนตอ่ มาได้พัฒนาเป็นคู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT และได้เริ่มนามาใช้ ในการจดั การโรงเรียนแกนนาเรียนรวมของกระทรวงศึกษาธกิ าร ตั้งแตป่ งี บประมาณ 2547 กรอบแนวคิด SEAT เป็นกรอบการบริหารจัดการเรียนรวมอย่างเป็นระบบ มีองค์ประกอบ หลักท่ีต้องบริหารจัดการ 4 ประการ ได้แก่ 1) S มาจากคาว่า Student หมายถึงนักเรียน 2) E มาจากคาว่า Environment หมายถึง สภาพแวดล้อม 3) A มาจากคาว่า Activities หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) T มาจากคาว่า Tools หมายถึง เครื่องมือ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมสามารถวางแผนการ ดาเนินการจดั การเรียนรวมโดยพิจารณากรอบแนวคดิ ตามองค์ประกอบทั้ง 4 ดา้ นในการบริหารจดั การ ดังนี้ ด้านนักเรยี น (Students: S) นักเรียนตามกรอบแนวคิด SEAT เป็นองค์ประกอบหลักของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งหมายถึงนักเรียนทุกคนในโรงเรียน ท้ังนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษและนักเรียนท่ัวไป โดยต้องมี การเตรียมความพร้อมให้กบั นักเรียนท้ังสองกลุม่ สาหรบั การเรยี นรวม กลุ่มนักเรียนทั่วไป โรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมให้นักเรียนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจ เก่ียวกับความพิการและคนพิการ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล การอยู่ร่วมกันในสังคม การปฏิบัติ ตนและให้ความช่วยเหลือนักเรียนพิการและนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้อย่างถูกวิธี โดยจัด กิจกรรมให้ความรู้ อธิบายลักษณะความพิการแต่ละประเภท สร้างสถานการณ์จาลองให้นักเรียนได้เรียนรู้ นา

15 นักเรียนเยี่ยมชมสถานดูแลคนพิการ ฝึกอบรมทักษะการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็น พเิ ศษและการอยู่รว่ มกันในสงั คมทม่ี ีความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล กลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ โรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมให้นักเรียนท่ีมี ความต้องการจาเปน็ พเิ ศษมีความรู้ความเข้าใจความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล การอยูร่ ่วมกันในสังคม การรู้คุณค่า ในตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยพิจารณาความต้องการจาเป็นพิเศษ เป็นรายกรณีตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เพ่ือให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษดารงชีวิต ในโรงเรยี นได้อย่างอสิ ระมากท่ีสุด ด้านสภาพแวดล้อม (Environment: E) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพ่ือการเรียนรวม แบ่งเป็นการจัดการสภาพแวดล้อมทาง กายภาพและบคุ คลแวดล้อม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ โรงเรียนต้องจัดสภาพแวดล้อมให้นักเรียนที่มีความต้องการ จาเปน็ พิเศษสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและการเรยี นร้ตู า่ งๆ ได้อย่างอิสระ เชน่ การจัดทาทางลาดในบริเวณต่างๆ ของโรงเรยี นและอาคารเรียนโดยคานึงถึงการใช้งานได้อย่างอิสระและปลอดภัย จัดชั้นเรียนท่ีเอ้ือต่อการเรียนรู้ ตามความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น โตะ๊ เกา้ อี้ทีม่ ีระดับเหมาะสม แสงสวา่ งเพียงพอ เป็นต้น บุคคลแวดล้อม ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคลากรอ่ืนในโรงเรียน ซ่ึงมีส่วนสาคัญในการ เรียนรวมของนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ โรงเรียนต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการศึกษา แบบเรียนรวมให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรยี น โรงเรียนอาจแต่งต้ังคณะกรรมการเรียนรวมเพื่อ กาหนดนโยบายและแนวทางการดาเนินการจัดการเรียนรวมอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดย ชแ้ี จงนโยบายและแนวทางตา่ งๆ ให้ได้รับทราบโดยทว่ั กัน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ นอกจากนี้โรงเรียนยังต้อง มีแผนส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสาหรับลูกหลานท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ ในทุกกระบวนการ เนื่องจากผู้ปกครองเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดนักเรียนท่ีสุด มีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพของ นกั เรียนได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ ด้านกจิ กรรมการเรียนการสอน (Activities: A) กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบสาคัญอีกประการหน่ึงในการบริหารจัดการการ เรียนรวม ซึ่งหมายรวมถึงกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ท่ีโรงเรียนต้องจัดให้นักเรียนทุก คนไดร้ บั การพฒั นาทั้งดา้ นทกั ษะวิชาการ ทักษะวชิ าชีพ และทกั ษะชวี ิต โดยสอดคล้องกับความต้องการจาเป็น ของแต่ละบุคคล โรงเรยี นตอ้ งเตรียมการเพือ่ ส่งเสรมิ ให้มกี ารจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน ดังตอ่ ไปนี้ 1) การบริหารจัดการหลกั สตู ร โรงเรียนตอ้ งส่งเสรมิ ใหค้ รูผู้สอนมีความรแู้ ละเข้าใจการปรับ หลักสูตรทว่ั ไปให้เหมาะสมกับการจัดการเรยี นการสอนสาหรบั นักเรยี นท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ รายละเอียดเกยี่ วกบั การปรบั หลักสตู รสามารถศึกษาได้ในหนว่ ยท่ี..... ซง่ึ นอกจากนย้ี งั ต้องมีการพฒั นาหลักสูตร เพ่มิ เติม ซ่ึงพิจารณาตามความตอ้ งการจาเป็นของนักเรยี นทีม่ คี วามต้องการจาเป็นพเิ ศษแตล่ ะประเภท 2) การบริหารจัดการแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ Individualized Educational Program: IEP) เป็นแผนการจัดการศึกษารายบุคคลท่ีเขียนข้ึนเป็นลาย

16 ลักษณ์อักษร ใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนตามความต้องการจาเป็นของแต่ละบุคคล ประกอบด้วยเป้าหมายการศึกษาระยะยาว ระยะสั้น เทคโนโลยีอานวยความสะดวก ส่ือ บริการ และความ ช่วยเหลืออื่นใด ท่ีจาเป็น นอกจากนี้ยังระบุกระบวนการประเมินผลและวิธีการเรียนการสอนเฉพาะสาหรับ นกั เรียนแต่ละคน ซ่ึงได้จากการพิจารณาของคณะกรรมการจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โรงเรียน จึงต้องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลและบริหารจัดการให้ดาเนินการอย่างมี ประสทิ ธิภาพ ตอ้ งมนี โยบายให้ครผู ู้สอนใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลประกอบการออกแบบการเรียนรู้ ที่เป็นสากล Universal Design for Learning) ในชั้นเรียนรวม รวมถึงเทคนิคการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการ เรียนรวม ดังที่ได้กล่าวไว้ในหน่วยท่ี..... และต้องจัดให้มีการประเมินแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่าง น้อยปีละ 2 ครั้ง เพ่ือทบทวนและปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการปัจจุบันของ นกั เรยี น รวมถึงรายงานความก้าวหน้าของนกั เรียนใหผ้ เู้ กยี่ วขอ้ งทราบอยา่ งตอ่ เน่ือง 3) กจิ กรรมการเรียนการสอนนอกชั้นเรียน โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความต้องการ จาเป็นพิเศษได้ร่วมกิจกรรมนอกชั้นเรียน ท้ังในโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในแหล่ง เรยี นรู้ทห่ี ลากหลาย โรงเรียนต้องวางแผนการส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมนอกช้ันเรียน โดยบริหารจัดการ เรื่องการสนับสนุนส่ิงอานวยความสะดวก ความปลอดภัย การเดินทาง ฯลฯ เพื่อให้การจัดกิจกรรมเหล่านั้น บรรลุเป้าหมายท่ตี ้องการ 4) การประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนควรจัดคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา รูปแบบเรียนรวม เพ่ือสร้างความมั่นใจว่าการจัดการเรียนรวมมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กาหนด โดย คณะกรรมการประกันคุณภาพที่แต่งตั้งข้ึนต้องกาหนดองค์ประกอบ ตัวช้ีวัด และเกณฑ์ในการประกันคุณภาพ การจัดการเรียนรวมอยา่ งชดั เจน รวมท้ังกาหนดกิจกรรมการประกนั คุณภาพอยา่ งตอ่ เนื่อง ด้านเครอื่ งมอื (Tools: T) เครื่องมือในกรอบแนวคิด SEAT หมายถึงเคร่ืองมือที่นามาใช้ในการบริหารจัดการเรียนรวม เพ่ือจัดให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้รับการศึกษาท่ีมีคุณภาพภายใต้สภาพแวดล้อมท่ีมีขีดจากัด น้อยท่ีสดุ โดยเคร่ืองมอื ทใ่ี ชใ้ นการบรหิ ารจัดการเรียนรวมมีดังต่อไปนี้ 1) กาหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจด้านการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียน ให้ชัดเจน เพ่ือเป็นทิศทางในการดาเนินการจัดการเรียนรวมท่ีครู บุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน ที่เกย่ี วข้องเข้าใจ 2) การบริหารจัดการงบประมาณ โรงเรียนต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบริหาร จดั การเรยี นรวม 3) การจัดระบบบริหารจัดการเรียนรวม โรงเรียนต้องสร้างระบบบริหารจัดการเพ่ือใช้ในการ บริหารจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ข้อมูลนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ ข้อมูลครู และบคุ ลากร ข้อมลู องคก์ รเครอื ขา่ ย ขอ้ มลู เทคโนโลยีอานวยความสะดวก ส่ือ บริการ และความช่วยเหลืออ่ืน ใด ทางการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ นอกจากน้ีโรงเรียนต้องส่งเสริมให้ผู้ปกครอง นักเรียนทีม่ คี วามต้องการจาเปน็ พิเศษมีส่วนร่วมในการจัดการเรยี นรวม โดยแต่งต้ังผู้แทนผู้ปกครองนักเรียนที่มี

17 ความต้องการจาเปน็ พิเศษเปน็ คณะกรรมการโรงเรียนและคณะกรรมการจัดการเรียนรวม อย่างน้อยคณะละ 1 คน โรงเรียนควรกาหนดแผนพัฒนาครูและบคุ ลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรวม กาหนดแนวทางการดาเนนิ งาน การจัดสรรงบประมาณ บทบาทหน้าทข่ี องบคุ ลากรทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น แพทย์ พยาบาล นกั จติ วิทยา เปน็ ตน้ 4) เทคโนโลยีสง่ิ อานวยความสะดวก หมายถงึ อปุ กรณ์ เครื่องมือ รวมถึงสภาพแวดล้อมท่ีช่วย ให้นักเรยี นท่ีมีความตอ้ งการจาเปน็ พเิ ศษเข้าถึงการเรียนรู้และดารงชีวิตอิสระ โดยโรงเรียนต้องจัดให้สอดคล้อง กับความตอ้ งการของนกั เรียนแต่ละคน 5) ส่ือทางการศึกษา ซึ่งหมายถึง วัสดุ ส่ือ เครื่องมือ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ที่โรงเรียนต้องส่งเสริมให้ครูผู้สอนออกแบบและเลือกใช้ส่ือทางการศึกษาท่ีนักเรียนทุกคนเข้าถึงได้ โดยใช้ หลกั การออกแบบการเรยี นรู้ทเ่ี ปน็ สากล 6) บริการต่างๆ โรงเรียนต้องจัดบริการท่ีสนับสนุนให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ เข้าถึงการเรียนรู้ได้ภายใต้ข้อจากัดที่มี เช่น บริการแก้ไขการพูด บริการกิจกรรมบาบัด บริการกายภาพบาบัด เป็นต้น 7) ความชว่ ยเหลืออน่ื ใดทางการศึกษา หมายถึง โรงเรียนต้องมีมาตรการอ่ืนท่ีนอกเหนือจาก สิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษได้รับ การศึกษาอย่างมคี ณุ ภาพในชัน้ เรยี นรวมภายใต้สภาพแวดล้อมทีม่ ขี ้อจากดั นอ้ ยที่สุด มาตรฐานการเรียนรวมเพอ่ื การประกนั คุณภาพภายในของสถานศึกษา การจัดการศึกษาในระยะท่ีผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีมาตรการให้สถานศึกษาในสังกัด จัดการเรียนรวม โดยกาหนดให้มีมาตรฐานการเรียนรวมเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2560 เป็นข้อกาหนดคุณภาพการศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ท่ีต้องการให้เกิดข้ึนในสถานศึกษาที่มีเด็ก พิการเรียนรวมทุกแห่งโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาข้ันพ้ืนฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐาน 4 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการของผ้บู ริหารสถานศกึ ษา มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนท่ี เน้นผู้เรยี นเปน็ สาคญั และมาตรฐานท่ี 4 ระบบประกนั คณุ ภาพภายในทมี่ ปี ระสทิ ธิผล โดยมรี ายละเอียด ดงั น้ี มาตรฐานท่ี 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน ในการจดั การศึกษาเรียนรวม โรงเรียนต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ที่แสดงออกถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ตามหลักสูตรสถานศกึ ษา และมีพฒั นาการในดา้ นการอา่ น คิดวิเคราะห์และเขียน สมรรถนะทีส่ าคัญ และคุณลักษณะท่พี งึ ประสงค์ มาตรฐานท่ี 2 กระบวนการบรหิ ารและการจดั การของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและจดั การของผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง การดาเนินการ ของสถานศกึ ษาทค่ี รอบคลมุ ด้านวชิ าการ ครูและบคุ ลากรทางการศึกษา ขอ้ มูลสารสนเทศ และสภาพแวดล้อม ในสถานศกึ ษา โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนมสี ่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มคี ุณภาพ

18 มาตรฐานท่ี 3 กระบวนการจัดการเรยี นการสอนโดยเน้นผเู้ รียนเปน็ สาคญั มาตรฐานด้านกระบวนการจดั การเรียนการสอนโดยเนน้ ผู้เรียนเป็นสาคัญกาหนดให้สถานศึกษา จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่นตาม ความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียนโดยใช้วิธีการท่ีหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างเต็มศักยภาพรายบุคคล โดยให้ผู้เรียนแต่ละคนมีส่วนร่วม นอกจากน้ีมีการวัดและประเมินผลผู้เรียนตาม สภาพจรงิ อย่างมปี ระสิทธภิ าพ มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกนั คุณภาพภายในท่มี ีประสิทธผิ ล มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลกาหนดให้โรงเรียนต้องมีการวางแผน การพฒั นาคุณภาพผู้เรียนโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้อง และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา ทมี่ คี ุณภาพ เพือ่ เพมิ่ ความมนั่ ใจในการจัดบริการการศึกษาทม่ี คี ุณภาพสารับนักเรยี นทกุ คน ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการเรียนรวมสามารถศึกษาเพ่ิมเติมได้จาก แ น ว ท า ง ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล ข อ ง ส ถ า น ศึ ก ษ า ต า ม ม า ต ร ฐ า น ก า ร เ รี ย น ร ว ม เ พื่ อ ก า ร ป ร ะ กั น คุ ณ ภ า พ ภ า ย ใ น ของสถานศึกษา พ.ศ. 2560 ของสานกั บริหารงานการศึกษาพเิ ศษ สรุปได้ว่า ในการบริหารจัดการศึกษาเรียนรวมให้มีประสิทธิภาพและประสบความสาเร็จ ประกอบดว้ ยองค์ประกอบหลายประการ ได้แก่ เครือข่ายท้ังภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งมีคณะกรรมการ ท่ีสถานศึกษาแต่งต้ังข้ึนเพ่ือดูแลการจัดการเรียนรวม เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการบริหาร จัดการเรยี นรวม คณะกรรมการจัดทาหลักสูตร คณะกรรมการจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล และเครือข่าย ท่ีเกิดจากองค์กรภายนอก บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน องค์ประกอบด้าน กระบวนการ องค์ประกอบด้านผลผลิต ได้แก่ คุณภาพผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการ และการ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบเงื่อนไขความสาเร็จ ท้ังเง่ือนไขภายในและภายนอก ได้แก่ วิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนรวมของผู้บริหาร ความรู้ความเข้าใจของครู และผู้ปกครอง ซ่ึงในการบริหารจัด การศึกษาเรียนรวมอาจนากรอบแนวคิดท่ีสาคัญมาใช้ในการจัดการ เช่น กรอบแนวคิด SEAT Framework และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งต้องบรรลุมาตรฐานการเรียนรวมเพื่อการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พ.ศ. 2560 เพื่อการบริหารจัด การศึกษาเรียนรว่ มทม่ี ีประสิทธภิ าพและประสบความสาเร็จ ปัจจยั ส่งเสริมความสาเรจ็ ในการจัดการศกึ ษาแบบเรยี นรวม ความสาเรจ็ ของการจดั การศึกษาใหแ้ ก่นักเรยี นท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษในช้ันเรียนรวมคือ การทน่ี ักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้เรียนรวมกับเพ่ือนในวัยเดียวกันและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับนักเรียนทั่วไป กล่าวคือ นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษต้องได้รับการศึกษาท่ีมีคุณภาพ ไม่ถูกแบ่งแยก ร่วมเป็นสมาชิกในชั้นเรียนโดยสมบูรณ์ มีโอกาสในการร่วมกิจกรรมในช้ันเรียนทุกอย่างได้มาก ที่สุด ถึงแม้กิจกรรมต่างๆ อาจต้องมีการปรับปรุงหรือดัดแปลงให้เหมาะสมบ้าง เป้าหมายสาคัญอย่างหน่ึงของ การเรียนรวม คือ โรงเรียนไม่เพียงยอมรับนโยบายการศึกษาแบบเรียนรวมแล้วปฏิบัติตามเท่านั้น แต่โรงเรียน

19 ต้องยินดีต้อนรับนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษเข้าเรียนในฐานะสมาชิกที่มีคุณค่าคนหน่ึงในโรงเรียน (UNESCO, 2005; Loreman, 2007) ซึง่ ไม่เพยี งการเปลีย่ นแปลงระบบการทางานหรือโครงสร้าง แต่รวมไปถึง ทศั นคติ ความเชื่อ และการใหค้ ณุ คา่ ของสมาชิกทุกคนในโรงเรยี น การจัดให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษได้เรียนรวมในช้ันเรียนท่ัวไปจะประสบ ความสาเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ มีงานวิจัยจานวนมากได้ศึกษาวิธีการส่งเสริมการจัด การศึกษาแบบเรียนรวมให้ประสบความสาเร็จ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลยุทธ์และแนวปฏิบัติสาหรับครูผู้สอนและ บุคลากรที่เก่ียวข้องในการจัดการเรียนการสอนและการดาเนินการตามกระบวนการการศึกษาแบบเรียนรวม ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในหน่วยก่อนหน้า ในหน่วยนี้จึงจะนาเสนอให้เห็นถึงปัจจัยเง่ือนไขพ้ืนฐานที่ส่งเสริม ความสาเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมท่ีมีประสิทธิภาพ ที่เป็นพื้นฐานในการสนับสนุนกลยุทธ์และแนว ปฏิบัติต่างๆ ให้ประสบความสาเร็จอย่างเข้มแข็งและย่ังยืน โดยประกอบด้วยปัจจัยสาคัญพื้นฐาน 7 ประการ ไดแ้ ก่ 1) การพฒั นาทศั นคตทิ างบวก 2) นโยบายและภาวะผู้นาท่ีสนบั สนนุ 3) การจัดการในโรงเรียนและช้ันเรยี นทมี่ ีการศึกษาวจิ ยั รองรบั 4) หลักสูตรและการสอนท่ียืดหยนุ่ 5) การมีสว่ นร่วมของชุมชน 6) การสะทอ้ นคิดที่มคี วามหมาย 7) การฝกึ อบรมและแหลง่ ทรัพยากรท่ีจาเป็น (Loreman, 2007) 1. การพัฒนาทศั นคตทิ างบวก การพัฒนาทัศนคติทางบวกของผู้บริหาร ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องถือว่าเป็นปัจจัย สาคัญท่ีจะส่งผลสาเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ทัศนคติทางบวกหรือลบมีผลต่อการปฏิบัติของ ผบู้ รหิ ารครู และบุคลากรท่เี กีย่ วขอ้ งตอ่ นักเรียนท่ีมีความตอ้ งการจาเป็นพิเศษ ตัวอยา่ งเช่น ผู้บริหารท่ีมีทัศนคติ ทางบวกมักออกนโยบาย ยุทธศาสตร์ และวางแผนการจัดการท่ีส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนสาหรับ นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษในช้ันเรียนรวม (Alquraini & Gut, 2012) ในทานองเดียวกันทัศนคติ ทางบวกของครู มผี ลอย่างยิง่ ต่อการตดั สนิ ใจเลือกกลยุทธการสอนและกจิ กรรมทใี่ ห้นักเรียนมีส่วนร่วม เมื่อครูมี ทัศนคติที่ดี ครูจะพยายามออกแบบการสอนและกิจกรรมให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมและแสดงศักยภาพให้ ได้มากที่สุด ในทางกลับกัน ครูท่ีมีทัศนคติทางลบมักมีความคาดหวังต่อนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ ค่อนข้างต่า มีแนวโน้มท่ีจะละเลยการออกแบบการสอนและกิจกรรมโดยคานึงถึงความแตกต่างและข้อจากัด ของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพสูงสุด รวมถึงการสื่อสารและพฤติกรรมท่ี แสดงออกของครูท่ีมีทัศนคติในทางลบกลุ่มน้ีมักไม่ส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Loreman, 2007; Alquraini & Gut, 2012)

20 2. นโยบายและภาวะผูน้ าท่สี นบั สนนุ นโยบายของโรงเรียนและภาวะผู้นาของผู้บริหารและครูเป็นอีกปัจจัยหน่ึงที่ส่งผลต่อการ เรียนรวมที่ประสบความสาเร็จ เม่ือกล่าวถึงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมระดับโลก มีข้อต กลง ระหว่างประเทศและอนุสญั ญาต่างๆ ท่สี ่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษาสาหรับผู้มีความต้องการจาเป็นพิเศษและการเข้าถึงคุณภาพการศึกษา ในปี พ.ศ. 2534 ที่ซาลามันกา ประเทศสเปน ซ่ึงข้อตกลงร่วมเหล่าน้ีมีผลอย่างยิ่งต่อการออกนโยบายด้านการ จัดการศึกษาแบบเรียนรวมและการนานโยบายสู่การปฏิบัติในระดับประเทศและท้องถ่ิน ซึ่งต้องสอดคล้องไป ในทิศทางเดียวกับข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่หากนโยบายระหว่างประเทศ ระดับประเทศ และท้องถ่ิน สอดคล้องในทศิ ทางเดียวกนั แต่การศึกษาแบบเรียนรวมยงั ไม่ประสบความสาเรจ็ อาจสนั นิษฐานได้ว่า อาจเป็น อุปสรรคจากการเช่ือมโยงนโยบายสู่การปฏิบัติซึ่งหมายถึงภาวะผู้นาของผู้บริหาร ภาวะผู้นาของผู้บริหาร มีความสาคัญตอ่ การนานโยบายการจัดการศกึ ษาแบบเรียนรวมมาปฏิบัติในโรงเรียน รวมถึงมีส่วนสาคัญในการ เสริมสร้างการยอมรับและความตระหนักเก่ียวกับการเรียนรวมให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนเป็นอย่างมาก (Loreman, 2007; Alquraini & Gut, 2012) หากผู้บริหารมีภาวะผู้นาที่ดีจะสามารถบริหารจัดการให้สมาชิก ทุกคนในโรงเรยี นมคี วามเช่อื วา่ การจดั การศึกษาแบบเรยี นรวมเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ประสบความสาเร็จ ผู้บริหารอาจปฏิบัติตามข้อแนะนาบางประการ ตอ่ ไปนี้ 1) สร้างชุมชนแหง่ การเรยี นรใู้ นโรงเรียนและใหค้ รูและบุคลากรแบง่ ปันองค์ความรู้ซึง่ กนั และกัน 2) สง่ เสริมการสร้างเครอื ข่ายและการทางานรว่ มกนั ระหว่างสว่ นงานในโรงเรยี นและ หน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง 3) สง่ เสริมเปา้ หมายการจัดการศกึ ษาแบบเรียนรวมอย่างเปน็ รูปธรรม 4) สรา้ งความเข้มแขง็ แก่ครแู ละบคุ ลากรโดยให้อิสระในการคิดและปฏิบัตงิ านในระดบั หน่งึ และสง่ เสริมความสาเรจ็ 5) สร้างวัฒนธรรมแหง่ การใส่ใจ เอื้อเฟ้ือ และเคารพซึ่งกนั และกันในโรงเรียน 6) ส่งเสริมการทางานเป็นทีม 7) ส่งเสรมิ ภาวะผนู้ าให้กับครูและบคุ ลากรในลกั ษณะการแบ่งปันความเปน็ ผนู้ าร่วมกัน (Loreman, 2007) 3. การจดั การในโรงเรียนและชั้นเรียนทมี่ กี ารศึกษาวจิ ัยรองรับ เพ่ือให้การเรียนรวมประสบความสาเร็จอย่างแท้จริง ทุกคนในโรงเรียนต้องมีความมุ่งม่ัน ในภารกจิ การสรา้ งสงั คมแห่งการเรยี นร้ทู ที่ ุกคนมสี ว่ นร่วม ตอ้ งมกี ารพจิ ารณาสภาพแวดล้อม การจัดการ ระบบ การใหบ้ ริการ การจัดการเรยี นการสอนท่สี นับสนุนนโยบายการเรียนรวมของโรงเรียนอย่างสม่าเสมอ ซึ่งทุกคน ต้องตระหนักถึงหน้าท่ีในการปรับเปลี่ยนและดัดแปลงการจัดการในโรงเรียนและช้ันเรียนให้ตอบสนองความ

21 ต้องการด้านการเรียนรู้ อารมณ์ สังคมและความต้องการอ่ืนของนักเรียนแต่ละบุคคล โดยต้องเลือก กระบวนการและวธิ กี ารท่ไี ดพ้ สิ ูจน์แล้ววา่ มปี ระสทิ ธิภาพในการจดั การทั้งในระดับโรงเรยี นและชัน้ เรียน ในระดับโรงเรียน มีปัจจัยด้านองค์กรที่ควรพิจารณาเพอื่ การจัดการการเรียนรวมให้ประสบ ความสาเร็จหลายประการ เชน่ 1) การจัดตารางเวลาและส่ิงอานวยความสะดวกในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะช้ันเรียนที่สอน เป็นรายวชิ าและมเี วลาจากัด เพราะนักเรียนอาจไม่สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาท่ีจากัดเพียงคาบละ 50 นาที ต้อง ย้ายจากห้องเรยี นหน่ึงไปยังอกี ห้องเรยี นหนง่ึ หรอื การเรยี นกบั ครหู ลายคน ซ่งึ อาจเป็นอุปสรรคในการเรียนรวม โรงเรียนอาจต้องคิดการจัดตารางเรียนหรือรูปแบบการเรียนแบบใหม่ เช่น จัดการเรียนแบบบูรณาการหน่วย การเรยี นรู้ทีค่ รทู กุ คนวางแผนการเรียนการสอนร่วมกนั แทนการเรียนเป็นรายวิชา โดยมีครูการศึกษาพิเศษและ บุคลากรอื่นท่ีเก่ียวข้องสนับสนุนการเรียนรูปแบบดังกล่าว เพ่ือให้การเรียนการสอนไม่ถูกจากัดด้วยเวลา สามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรไู้ ด้มีประสทิ ธิภาพมากข้ึน และเสริมสรา้ งความร่วมมอื ในการทางานของครู 2) การจัดกลุ่มนักเรียนคละกัน หรือแม้กระทั่งจัดกลุ่มนักเรียนคละอายุและความสามารถ กัน ซึ่งการจัดกลุ่มเช่นนี้มีข้อดีหลายประการทั้งต่อนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษและนักเรียนท่ัวไป เช่น การให้คาปรึกษา การให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ การเห็นอกเห็นใจกัน การเรียนรู้ทักษะทางสังคม เปน็ ตน้ โดยส่งเสรมิ ให้นกั เรยี นแต่ละคนแสดงจุดแข็งของตนในการชว่ ยเหลอื สนบั สนุนสมาชิกในชน้ั เรียนของตน 3) การจดั บคุ ลากรและทรพั ยากรในชั้นเรียน โรงเรยี นควรสนับสนุนการทางานเป็นทีมของ ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในช้ันเรียนหนึ่งๆ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียนตามบทบาทหน้าท่ีของ ตนไม่ปล่อยให้เป็นภาระของครูเพียงลาพัง ในระดับช้ันเรียน สิ่งแรกท่ีต้องพิจารณาคือการเข้าถึงทางกายภาพ และความปลอดภัย การจัดชั้นเรียนต้องคานึงถึงการเข้าถึง แสงสว่าง และเทคโนโลยีส่ิงอานวยความสะดวก ท่ีสมเหตสุ มผลและเพียงพอ เพอื่ ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียนได้สะดวก รวมถึงต้องส่งเสริมให้นักเรียน ช่วยเหลือและเคารพซึ่งกันและกัน ตลอดจนสร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีของนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทั้งน้ีโดยไมค่ านึงถงึ สถานะและความสามารถหรือความแตกตา่ งใดๆ (Loreman, 2007) 4. หลกั สตู รและการสอนที่ยืดหยนุ่ การใชห้ ลักสตู รของโรงเรียนกบั การจดั การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นความท้าทายที่ครูหลาย คนตอ้ งเผชญิ หลกั สตู รของโรงเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นแบบรวมศูนย์ ไม่ยืดหยุ่น แยกจากบริบท มีความเฉพาะเจาะจง และไม่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายส่วนน้อย ซึ่งนาไปสู่การสอนแบบเน้น ครเู ป็นศูนย์กลาง ครูต้องพยายามอย่างมากในการหาวิธีที่จะทาให้นักเรียนบรรลุผลลัพธ์ท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตร ในขณะที่การเรียนรวมเน้นการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และการเรียนรู้กลุ่มย่อยท่ีตอบสนอง ข้อจากัดของแต่ละบุคคล ดังน้ันการเรียนรวมจึงต้องใช้การออกแบบหรือปรับหลักสูตรให้เป็นสากลเหมาะกับ การเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน โดยใช้หลักการสาคัญได้แก่ การนาเสนอข้อมูลด้วยวิธีท่ีหลากหลาย การให้ โอกาสเลือกการสื่อสารแสดงออกตามความถนัดและความสามารถ และการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ (Loreman, 2007; Alquraini & Gut, 2012)

22 ในการปรับหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียนในช้ันเรียนรวม ครูต้องกาหนด เป้าหมายการเรียนรู้ของนกั เรียนเป็นรายบุคคลและเน้นการเรียนรู้ให้เกิดทักษะมากกว่าการวัดระดับสติปัญญา ซึ่งในข้ันต้นอาจพิจารณาการปรับใช้สื่อ เทคโนโลยี หรือผู้ช่วยท่ีทาให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ เข้าถึงการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้ เพ่ือให้นักเรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพสูงสุด ส่วนการใช้วิธีดัดแปลงหลักสูตร โดยการปรับลดระดับเนื้อหาหรือทักษะควรพิจารณาเป็นวิธีสุดท้าย เพราะอาจเป็นการปิดก้ันโอกาสในการ เรียนรขู้ องนกั เรยี นเหลา่ นนั้ นอกจากนี้ การเรียนการสอนมีความสาคัญย่ิงต่อการเรียนรู้ การเลือกทฤษฎีและวิธีการเรียน การสอนจึงมคี วามสาคญั เป็นอยา่ งมาก เม่ือหลกั สตู รคือส่งิ ที่ตอ้ งสอน การเรียนการสอนจะหมายถึงวิธีเรียนรู้สิ่ง ที่หลักสูตรกาหนด ครูต้องหาวิธีให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษเรียนรู้สิ่งเหล่าน้ันได้ เช่น การสอน กลุ่มย่อย ซ่ึงในการจัดกลุ่มต้องจัดแบบคละกัน เล่ียงการจัดกลุ่มตามความสามารถ เพราะจะแบ่งแยกกลุ่มเก่ง กลุ่มด้อยชดั เจน และจะสง่ ผลกระทบทางลบตอ่ กล่มุ นักเรียนทม่ี ขี ้อจากดั ตา่ งๆ และงานวิจัยยังช้ีว่าการแบ่งกลุ่ม แบบคละกันทาให้นักเรียนเกิดทักษะทางสังคมและวิชาการได้มากกว่า (Andrews & Lupart, 2000; Loreman et al. 2005; Alquraini & Gut, 2012) และครยู งั สามารถจัดเวลาในการเรียนการสอนยืดหยุ่นตาม ความสนใจของนักเรียน เช่น หากการเรียนการสอนวชิ าสงั คมศึกษายังมีประเด็นท่ีนักเรียนสนใจอยู่ ครูสามารถ ยืดเวลาใหน้ ักเรยี นไดเ้ รียนรตู้ อบขอ้ สงสัยไดเ้ ตม็ ที่ โดยอาจเลอื่ นวชิ าคณิตศาสตร์ออกไป การเรียนการสอนท่ียืดหยุ่นยังรวมถึงการเลือกใช้วิธีการนาเสนอที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการ สอนแบบบรรยายซึ่งไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ (ศึกษาการปรับหลักสูตร และกลยทุ ธ์ในการจดั การเรียนการสอนโดยละเอยี ดในหน่วยที่ 3) 5. การมสี ่วนรว่ มของชุมชน เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นองค์ประกอบสาคัญของ ความสาเร็จของการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งหมายถงึ ทัง้ ชุมชนในโรงเรยี น ในท้องถ่ิน และชุมชนในระดับใหญ่ข้ึน เช่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานประกอบการ องค์กรการกุศล องค์กรคนพิการ ชมรม และบุคคล ในสาขาอาชพี ต่างๆ โรงเรียนควรมีการเช่ือมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนในทุกระดับ นอกจาก โรงเรียนควรเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนแล้ว การเชิญให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมถือว่ามี ความสาคัญยิ่ง ชุมชนไม่เป็นเพียงแหล่งเรียนรู้ท่ีสาคัญของนักเรียน แต่ยังมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเรียน รวมของโรงเรียนได้ เช่น การร่วมมือในการฝึกอาชีพ การระดมทุน การให้คาปรึกษา เป็นต้น กลุ่มคนในชุมชน ท่ีสาคัญที่สุดคือผู้ปกครองนักเรียน ซ่ึงถือได้ว่าเป็นสมาชิกหลักในชุมชนของโรงเรียน หากปราศจากความ ร่วมมือและการช่วยเหลือของผู้ปกครองแล้ว การเรียนรวมจะไม่สามารถประสบความสาเร็จได้ (Turnbull, Turnbull, Erwin, & Soodak, 2005; Alquraini & Gut, 2012) ผูป้ กครองมีบทบาทสาคญั 3 ประการ ไดแ้ ก่ 1) ผู้ปกครองในฐานะผู้ตัดสินใจ ผู้ปกครองทาหน้าที่ตัดสินใจในฐานะตัวแทนบุตรหลาน ช่วยบุคลากรอืน่ ตดั สนิ ใจโดยใหข้ ้อมลู ทีจ่ าเป็นและประสบการณ์เชงิ ลึกทม่ี รี ่วมกบั นกั เรยี น

23 2) ผู้ปกครองในฐานะครู ผู้ปกครองเป็นครูคนสาคัญของบุตรหลานใน ระยะ 4-5 ขวบปี แรกของชีวิต เป็นครูท่ีเข้าใจความชอบและความต้องการการเรียนรู้ของบุตรหลานมากท่ีสุด ผู้ปกครองเป็นครู ทั้งท่ีบ้าน ในชุมชน และมีสว่ นร่วมในชนั้ เรียน 3) ผู้ปกครองในฐานะผู้แทนทางกฎหมาย ผู้ปกครองทุกคนต้องการให้บุตรหลานของตน ได้รับสิ่งที่ดีท่ีสุด จึงทาหน้าท่ีในการรักษาสิทธิ์อันพึงมีของบุตรหลานท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษให้มากท่ีสุด ครูและบุคลากรอื่นท่ีเกี่ยวข้องจึงต้องพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองเพ่ือร่วมมือในการจัดการศึกษาท่ีมี คณุ ภาพใหน้ กั เรยี นทมี่ คี วามต้องการจาเปน็ พิเศษ (Turnbull, Turnbull, Erwin, & Soodak, 2005) นอกจากนี้ ภาษาและการส่ือสารที่ครูและบุคลากรที่เก่ียวข้องใช้กับผู้ปกครองเป็นอีกปัจจัย หน่ึงที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (Palawat & May, 2012) ผู้ปกครองแต่ละคนมีความแตกต่าง ทั้งด้านระดับการศึกษา สงั คม และวฒั นธรรม ครูและบุคลากรท่ีเก่ียวข้องต้องคานึงถึงการเลือกใช้ภาษาสื่อสาร ท่ีเหมาะสมกับผู้ปกครอง ภาษาท่ีเป็นทางการหรือคาศัพท์ทางวิชาการบางอย่างต้องมีการส่ือสารในรูปแบบ ที่เข้าใจง่าย เพื่อหลีกเล่ียงการเข้าใจผิด ซึ่งอาจทาให้เกิดการตัดสินใจในการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนท่ีมี ความต้องการจาเป็นพเิ ศษคลาดเคล่อื นไป (Palawat & May, 2012) เครือข่ายในชุมชนที่สาคัญต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอีกกลุ่มหนึ่งคือองค์กรคนพิการ องคก์ รคนพิการมีสว่ นช่วยส่งเสรมิ การจัดการศกึ ษาแบบเรียนรวมสาหรับนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษ ในฐานะเปน็ กลมุ่ เรยี กรอ้ งสทิ ธแิ ละสนับสนุนครอบครวั ของนกั เรยี นที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ ซ่ึงเป็นกลุ่มที่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนมักหงุดหงิดกับการเรียกร้องของกลุ่มองค์กรคนพิการเหล่าน้ี แต่ต้องยอมรับว่ากลุ่ม องค์กรเหลา่ นี้มีส่วนสาคัญอย่างมากในการผลักดนั ให้การจัดการศกึ ษาแบบเรียนรวมมีความก้าวหน้า กระตุ้นให้ พิจารณาทบทวนการตัดสินใจ ความคิดเห็น รวมทั้งวิธีการทางานของโรงเรียน สนับสนุนแหล่งข้อมูลและ คาแนะนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรวมเป็นอย่างมาก (Andrews & Lupart, 2000; Loreman et al. 2005). 6. การสะท้อนความคิดเห็นทีม่ ีความหมาย การสะท้อนความคิดเห็นถือว่าเป็นองค์ประกอบสาคัญต่อการพัฒนาการเรียนการสอน อย่างตอ่ เนือ่ งของครู การสอนของครูและการให้บริการของบุคลากรท่ีเก่ียวข้องควรมีความคิดเห็นสะท้อนกลับ และศึกษาวจิ ัยอยา่ งเปน็ ระบบเพ่อื ใหเ้ กิดความน่าเชอื่ ถือ ซ่ึงการสะท้อนความคิดเห็นต้องเกิดจากการเก็บข้อมูล จากการสงั เกตอยา่ งเป็นระบบในลกั ษณะของการวิจยั เชิงปฏิบตั ิการ เคร่ืองมอื ทใ่ี ชอ้ าจเปน็ 1) สมุดบันทึกประจาวัน ซ่ึงเป็นการจดบันทึกความคิดเห็นของครูต่อการเรียนการสอน และความก้าวหน้าในการเรยี นรู้ 2) แบบสารวจความคิดเหน็ 3) บนั ทึกการสงั เกต 4) แผนนิเทศจากเพื่อนร่วมงาน ซ่ึงผู้ร่วมงานเป็นผู้ประเมินและให้ความเห็นเก่ียวกับการ สอน การจดั ชนั้ เรยี น การประเมนิ เป็นต้น วธิ นี มี้ ปี ระโยชน์อย่างมาก แตก่ ารดาเนนิ การตอ้ งอาศัยความไว้วางใจ

24 และการเคารพซ่ึงกันและกันเป็นอย่างมากเช่นกัน หรืออาจใช้การบันทึกวิดีโอการสอนและนามาทบทวนด้วย ตนเองก็ได้ 5) เย่ียมชั้นเรียนของครูท่านอ่ืน เป็นวิธีท่ีมีประสิทธิภาพในการพัฒนาครูโดยครูมีส่วนร่วม การให้ครูได้มีโอกาสสังเกตการจัดการเรียนการสอนของเพื่อนร่วมงานทาให้ได้ความคิดใหม่ๆ คาแนะนา หรือ เคลด็ ลับในการจัดการเรยี นการสอน มโี อกาสได้หารอื แลกเปล่ยี นสงิ่ ท่ีควรทา ไมค่ วรทา นอกจากครูเจ้าของห้อง จะได้แสดงให้เห็นแนวปฏิบัติท่ีดี ยังมีโอกาสได้รับฟังความเห็นสะท้อนกลับจากผู้เย่ียมชมด้วย (Loreman, 2007) 7. การฝกึ อบรมและแหล่งทรัพยากรที่จาเป็น เหตุผลหน่ึงของการปฏิเสธการรับนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษเข้าเรียนรวมใน โรงเรยี นท่ัวไปคือ ครูและบคุ ลากรในโรงเรียนขาดความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอนสาหรับนักเรียน ทม่ี คี วามต้องการจาเป็นพิเศษ การศึกษาวิจัยจานวนมากช้ีให้เห็นว่า ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็น ไปในทานองเดียวกันคือต้องการการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มี ความต้องการจาเป็นพิเศษ และภายหลังได้รับการฝึกอบรมแล้ว ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความม่ันใจและ จัดการชัน้ เรียนรวมทมี่ ีนกั เรยี นทมี่ ีความต้องการจาเป็นพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความผ่อนคลายมาก ย่ิงข้ึน(Loreman & Deppeler, 2002) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ครูและบุคลากรท่ีได้รับการฝึกอบรมด้าน การจัดการเรยี นการสอนสาหรับนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษในช้ันเรียนยังเป็นผู้นาด้านน้ีในโรงเรียน เป็นที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานคนอ่ืนๆ ในการจัดการเรียนการสอนในช้ันเรียนรวมอีกด้วย รูปแบบการฝึกอบรมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการฝึกอบรมที่ประสบความสาเร็จอย่างหนึ่งคือ การฝึกอบรม ด้วยการปฏิบัติงานจริงหลังจากได้รับความรู้ภาคทฤษฎีแล้ว โดยครูและบุคลากรที่เข้ารับการอบรมสามารถนา ความรู้ที่ได้จากการอบรมภาคทฤษฎีมาใช้ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง มีการแก้ปัญหาและได้รับคาแนะนาใน การแกไ้ ขจากผู้เชยี่ วชาญในทันที นอกจากน้ี การศึกษาวิจัยของ Hodgkinson (2006) ยังรายงานว่า สิ่งท่ีจะช่วยให้การจัด การศึกษาแบบเรียนรวมประสบความสาเร็จคือโรงเรียนต้องมีแหล่งเรียนรู้และทรัพยากรที่เพียงพอ ในการจัด การศกึ ษาท่นี ักเรียนทม่ี คี วามต้องการจาเปน็ พเิ ศษเรียนรวมในชั้นเรียนอาจต้องใช้ทรัพยากรท้ังที่เป็นบุคคลและ สื่อสนับสนุนต่างๆ มากกว่าท่ัวไป โรงเรียนต้องจัดหาทรัพยากรบุคคลและสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ให้เพียงพอต่อการ จัดการเรียนการสอนท่ีมีคุณภาพ นอกจากการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ท่ีรัฐสนับสนุนให้ตามกฎหมายแล้ว โรงเรียนยังสามารถร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในชุมชนที่สนับสนุนการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนท่ีมี ความต้องการจาเป็นพิเศษเรียนรวมในการจัดหาทรัพยากรมนุษย์และวัสดุ สื่อ อุปกรณ์ที่จาเป็นได้เพ่ิมเติมอีก ดว้ ย สงิ่ ทีส่ าคัญอีกประการหนึ่งคือ การบริหารจัดการทรัพยากรท่ีมีในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โรงเรียนต้อง ใช้แนวคิดการออกแบบท่ีเป็นสากล ในการออกแบบทรัพยากรสื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้ได้กับนักเรียน ทุกคนในโรงเรยี น โดยสรุปคือ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้ประสบความสาเร็จนั้น โรงเรียนต้องพิจารณา การพัฒนาองค์ประกอบพ้ืนฐานท่ีสาคัญ 7 ประการ ได้แก่ การพัฒนาทัศนคติทางบวก นโยบายและภาวะผู้นา

25 ท่ีสนบั สนุนการจัดการในโรงเรียนและชั้นเรยี นทม่ี ีการศึกษาวจิ ัย หลกั สตู รและการสอนทยี่ ดื หยุ่น การมีส่วนร่วม ของชุมชน การสะท้อนคิดท่ีมีความหมาย ตลอดจนการฝึกอบรมและแหล่งทรัพยากรท่ีจาเป็น ซ่ึงในทางปฏิบัติ แลว้ ความสาเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอาจ มีองค์ประกอบอื่นท่ีนอกเหนือจากองค์ประกอบพ้ืนฐาน ที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่อย่างน้อยท่ีสุด องค์ประกอบทั้งหมดถือว่าเป็นปัจจัยเง่ือนไขที่โรงเรียน โดยผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และชุมชน ควรพิจารณาเพ่ือการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่มี คุณภาพและประสทิ ธภิ าพใหแ้ กน่ กั เรียนทกุ คนโดยไม่เลอื กปฏิบตั ิ

26 หน่วยที่ 3 รปู แบบและกระบวนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม รูปแบบการจดั การศกึ ษาแบบเรยี นรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมมีหลายรูปแบบ แต่ละลักษณะมีความเหมาะสมกับนักเรียน แต่ละคนและสถานการณ์ ท่ีแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหน่ึงที่ดีท่ีสุด แต่ละรูปแบบ เป็นทางเลือกท่ีจัดให้ตามความต้องการจาเป็นท่ีเหมาะสมสาหรับนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษแต่ละคน ตามการพิจารณาของคณะกรรมการจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ซึ่งการเรียนรวมมีทั้งแบบเต็มเวลา และบางเวลา Daeck (2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมไว้ 8 รูปแบบ แบ่งเป็น การเรียนรวมแบบเต็ม เวลา 3 รูปแบบใหญ่ และ 6 รปู แบบยอ่ ย ดงั น้ี 1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบน้ีครูการศึกษาพิเศษจะได้รับ มอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ เน่ืองจากครูท่ีสอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้าอีก จนกระท่ังเด็กเกิดทักษะน้ัน สาหรับ รปู แบบนค้ี รูการศกึ ษาพิเศษจะรบั ผิดชอบเด็กจานวนหนึ่ง เปน็ จานวนจากัด ครใู นชนั้ เรยี นรวมและครูการศึกษา พิเศษต้องมีการพบปะเพ่ือประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของนักเรียน และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้ เหมาะกบั โรงเรียนขนาดเลก็ ทม่ี ีจานวนเด็กทม่ี คี วามตอ้ งการจาเป็นพิเศษไม่มากนัก 2. รปู แบบการรว่ มทมี (Teaming Model) ในรูปแบบน้ีครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูท่ีสอนช้ันเรียนรวม เช่น ในสาย ป.2 (ครูที่สอนชั้น ป.2/1 และ ป.2/2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าท่ีให้ข้อมูลแก่ครูในชั้นเรียนรวมเก่ียวกับเด็กท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษในช้ันเรียน รวม ให้คาแนะนาเกี่ยวกับการปรับวิธีสอน การมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ และการจัดการ ด้านพฤติกรรม เป็นต้น โดยมีการวางแผนร่วมกันอย่างสม่าเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง ครูท่ีเกี่ยวข้อง จะตอ้ งทางานวางแผนร่วมกนั เป็นทมี ในการใหค้ วามช่วยเหลอื เดก็ ท่มี ีความต้องการจาเป็นพเิ ศษ 3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative/Co Teaching Model) ใน รูปแบบนท้ี ง้ั ครูการศึกษาพิเศษและครูผู้สอนในชั้นเรียนรวมร่วมมือกันในหลายลักษณะเพ่ือสอนนักเรียนทุกคน ทัง้ นักเรียนทีม่ คี วามตอ้ งการจาเปน็ พเิ ศษและนกั เรยี นทัว่ ไปในชนั้ เรียนรวม ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของนักเรียน นักเรียนจะได้รับ บริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนท่ีจาเป็น ตลอดจนการปรับ การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน ในรูปแบบน้ีครูทุกคนต้องประชุมกันเพื่อวางแผนการเรียน เพ่ือใหก้ ารเรียนการสอนดาเนินไปด้วยดี อาจจาแนกออกเปน็ รูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รปู แบบ คือ 3.1 คนหน่ึงสอนคนหน่ึงช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนท่ีเช่ียวชาญในเน้ือหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคน

27 หนึ่งทเ่ี ชีย่ วชาญในเน้ือหาน้ัน ๆ น้อยกว่าเป็นผคู้ อยให้ความช่วยเหลอื นกั เรียน นกั เรียนอาจถามครูคนใดคนหน่ึง ก็ได้ เมื่อนักเรยี นมคี าถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดยี วกัน 3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งนักเรียนในชั้นเรียนออกเป็น กล่มุ ๆ หลังจากการสอนด้วยการบรรยายหรืออธบิ ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูอาจมอบงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ทาไปพรอ้ มกนั การสอนแบบน้เี หมาะสาหรบั หอ้ งเรยี นทม่ี จี านวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะมีโอกาสดูแลนักเรียน ได้อย่างทวั่ ถึง สามารถตอบคาถามนักเรยี นได้แทบทุกคน และสาหรับนักเรียนบางคนท่ีไม่เข้าใจเน้ือหาบางตอน ครอู าจอธิบายซ้าหรือสอนซ้าได้ 3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางคร้ังอาจเรียกว่า ศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบน้ีครูจะแบ่งเน้ือหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเน้ือหาได้ตามสถานีต่าง ๆ (Stations) ภายในชน้ั เรียน ใหน้ ักเรียนศึกษาตามสถานีต่าง ๆ ตามเวลาท่ีกาหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกสถานีจึงจะ ได้เน้ือหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกาหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่นักเรียนอื่นกาลังเรียนรู้ ด้วยตนเองสอนนกั เรยี นที่มีความต้องการจาเปน็ พิเศษเป็นรายบุคคล ทาใหน้ ักเรียนเขา้ ใจส่งิ ทเ่ี รยี นมากขน้ึ 3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครู อย่างน้อย 2 คน ใน 1ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาให้แก่นักเรียนท้ังชั้น หลังจากน้ันจึงแบ่งกลุ่มเพ่ือ ทากจิ กรรม ครูคนหนึ่งจะสอนนกั เรยี นกลุ่มทเ่ี ก่งกวา่ เพื่อให้ไดเ้ นื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ครูอีกคนหน่ึง สอนนักเรยี นกลุ่มทอ่ี อ่ นกวา่ เพื่อใหน้ ักเรียนได้เลือกทากิจกรรมตามท่ีตนมีความสามารถข้อดีของการสอนแบบ น้ีคือ นักเรียนท่ีมีศักยภาพสูงกว่าได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่นักเรียนที่มีศักยภาพน้อยกว่าได้เลือกเรียน ตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนทักษะเดิมซ้าสาหรับนักเรียนท่ียังไม่เกิดทักษะที่ต้องการ เหมาะสาหรับ ชั้นเรยี นวชิ าคณิตศาสตร์ หรือวชิ าอ่ืนทมี่ ีเนือ้ หายากงา่ ยตา่ งกนั 3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบท่ีครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอน ห้องเรยี นเดียวกนั ในเนื้อหาเดียวกนั เป็นการสอนทงั้ ห้องเรียนแต่ไม่จาเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกัน โดยครูอาจ แบง่ กันสอนนกั เรยี นเป็นรายบคุ คลโดยเฉพาะอย่างย่ิงนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษที่มีข้อจากัดในการ เรียนเนื้อหาวิชา นอกจากนี้ Gartner & Lipsky (1997) อ้างใน สมพร หวานเสร็จ (2543) ได้เสนอรูปแบบ การเรยี นรวมไวห้ ลายรูปแบบ บางรูปแบบคลา้ ยกับทีค่ ารท์ เสนอไว้ แตท่ ต่ี า่ งออกไปมี 2 รูปแบบ คอื 1. รปู แบบหอ้ งเสริมวชิ าการ (Resource Room Model) เป็นการนานักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษนามาสอนในห้องท่ีจัดไว้ต่างหาก เป็นการนานักเรียนออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) เน่ืองจากห้องเสริมวิชาการเปน็ ห้องทมี่ ี อปุ กรณก์ ารเรยี นการสอน แบบเรยี น แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียน สาหรบั กลมุ่ เฉพาะ ใช้ฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา น่ันคือ บางเวลาเรยี นรวมชั้นเดียวกันกับเดก็ ท่ัวไป บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทกั ษะเฉพาะบางประการ 2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สาหรับ 1 ห้องเรียน ผู้ช่วยครู จะอยู่ในห้องเรียนขณะที่ครูท่ัวไปกาลังทาการสอน ผู้ช่วยครูจะนั่งอยู่กับนักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษท่ีผู้ช่วยครูได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ หน้าท่ีของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพ่ิมเติมตามท่ีครูสอน

28 ช่วยดึงให้นักเรียนสนใจบทเรียน หากนักเรียนเร่ิมไม่มีสมาธิ ตลอดจนตอบคาถามของนักเรียนในเนื้อหาวิชา ท่ีเรยี น ผ้ชู ่วยครจู ะต้องไดร้ ับการอบรมเก่ียวกบั ภารกิจที่ต้องปฏิบตั ใิ นห้องเรยี น อย่างไรก็ตาม การเลือกรูปแบบการเรียนรวมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการจัดทา แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยต้องพิจารณาจากศักยภาพ ความสามารถ และข้อจากัดของนักเรียนแต่ละ บุคคล โดยต้องคานึงถึงหลักการของสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดน้อยที่สุดและให้นักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษไดเ้ รียนรวมในช้นั เรียนรวมไดม้ ากท่สี ดุ กระบวนการให้บริการทางการศกึ ษาพิเศษรปู แบบเรยี นรวม การจัดการเรียนการสอนในช้นั เรยี นรวม ครูผู้สอนจาเป็นต้องสารวจนักเรียนในช้ันของตนเพ่ือ ทราบว่า มีนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษหรือไม่ โดยการสังเกตและประเมินอย่างไม่เป็นทางการ ทั้ง ทางกายภาพ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม และความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็น พิเศษบางประเภทสามารถระบุได้ชัดเจนจากความบกพร่องที่ปรากฏเห็นเด่นชัดและข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้ง นักเรียนบางคนอาจได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการตามกฎหมาย ซึ่งกรณี เหล่านี้ ครูผู้สอนสามารถจัดบริการทางการศึกษาตามความต้องการจาเป็นของนักเรียนได้ตามกระบวนการ จัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP) แต่นักเรียนท่ีมีความ ตอ้ งการจาเป็นพิเศษบางประเภทไมส่ ามารถระบุความต้องการบริการการศึกษาพิเศษได้ทันที เน่ืองจากมีความ พิการหรือความต้องการจาเป็นพิเศษท่ีไม่สามารถตัดสินได้ด้วยการสังเกตหรือข้อมูลเบื้องต้นเพียงเท่าน้ัน ครูผู้สอนจึงจาเป็นต้องดาเนินการประเมินเพื่อทราบความต้องการจาเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน และ จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้อย่างเหมาะสม ซ่ึงกระบวนการเหล่านี้ประกอบด้วย การคัดกรอง screening การประเมิน (Assessment) การจัดโปรแกรมการให้บริการ (Placement) การวัดและประเมินผล ความก้าวหน้า (Evaluation and Progress monitoring) และการประเมินซ้า (Reevaluation) (Hardin, Roach-Scott, & Peisner-Feinberg, 2007) 1. การคดั กรอง (Screening การคัดกรองเปน็ ขั้นตอนแรกท่ีครูผู้สอนในชั้นเรียนรวมต้องดาเนินการเพ่ือจาแนกนักเรียน ท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษประเภทต่างๆ ในขั้นตอนน้ีครูผู้สอนอาจใช้แบบคัดกรองคนพิการทางการศึกษา ของสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นเครื่องมือคัดกรองในเบื้องต้น เพื่อวางแผนการให้ความช่วยเหลือ ในลาดับต่อไป เมอ่ื พบนกั เรยี นที่อาจสงสยั ว่ามีความบกพร่องบางประเภท เช่น ทางการเห็น ทางการได้ยิน หรือทางร่างกาย ครูผสู้ อนต้องดาเนนิ การส่งตอ่ เพือ่ ให้แพทย์หรอื ผู้เชยี่ วชาญประเมินเพ่ือวินิจฉัยเพิ่มเติม ก่อนท่ี จะดาเนินการวางแผนการให้บริการทางการศึกษาพิเศษต่อไป ในกรณีนักเรียนบางคนอาจมีความบกพร่องอื่น ใดที่สงสัยว่าอาจต้องการบริการพิเศษทางวิชาการหรือพฤติกรรม คุณครูต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือก่อน ระบุว่านักเรียนมีความต้องการจาเป็นพิเศษ ซ่ึงการให้ความช่วยเหลืออาจทาได้หลายวิธี เช่น การใช้การ แก้ปัญหา (Problem-solving) การประเมินการทางานจริง (Functional Assessment) การใช้ข้อกาหนด มาตรฐาน (standard protocol) หรือการตอบสนองต่อความช่วยเหลือ (Response to Intervention) ในท่ีน้ี

29 จะได้ยกตัวอย่างรูปแบบการตอบสนองต่อความช่วยเหลือ (Response to Intervention) หรือ RTI ที่คุณครู สามารถนาไปใชเ้ พอ่ื ช่วยเหลอื นักเรยี นกอ่ นการประเมินนักเรียนเพื่อวินิจฉัย ซ่ึง RTI แบ่งการให้ความช่วยเหลือ เป็นระดับ ดังนี้ ระดับท่ี 1 จัดการเรียนการสอนท่ีมีคุณภาพในช้ันเรียนให้แก่นักเรียนท่ีเสี่ยงต่อความ ลม้ เหลวทางการศึกษา ต้องการการชว่ ยเหลือเปน็ พิเศษ โดยอาจปรบั วิธหี รือใชเ้ ทคนิคการเรียนการสอน เพ่ือให้ ม่ันใจว่าความยากลาบากในการเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการได้รับการเรียนการสอนที่ไม่เพียงพอและเหมาะสม การช่วยเหลือในระดับนี้ใช้เวลาไม่เกิน 8 สัปดาห์ ซ่ึงระหว่างน้ีต้องมีการติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด หาก นกั เรียนมีพัฒนาการท่ีกา้ วหน้าเพียงพอจะกลบั ไปรับบรกิ ารในฐานะนักเรียนทั่วไป แต่หากนักเรียนมีพัฒนาการ ไม่ดขี ้นึ ครผู ู้สอนตอ้ งจัดใหก้ ารชว่ ยเหลอื ในขน้ั ตอ่ ไป ระดับท่ี 2 เป็นการให้ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มสาหรับนักเรียนที่ไม่สามารถพัฒนาโดย การช่วยเหลือในระดับที่ 1 โดยจัดการเรียนการสอนท่ีเข้มข้นขึ้นให้นักเรียนกลุ่มเล็ก ๆ ในชั้นเรียนรวม โดยทั่วไป ในนกั เรยี นระดับอนุบาลถึงช้ันประถมศึกษาปีที่ 3 มักเป็นการเรียนการสอนด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ และ การช่วยเหลือในระดับน้ีไม่ควรเกิน 1 ปีการศึกษา หากนักเรียนไม่มีความก้าวหน้าจากการช่วยเหลือในระดับนี้ ตอ้ งใหก้ ารช่วยเหลือในระดบั ท่ี 3 ระดับที่ 3 เปน็ การให้ความช่วยเหลืออย่างเข้มข้นรายบุคคล โดยการจัดการเรียนการสอน ให้ตรงตามทักษะต่างๆ ที่นักเรียนขาดไป หากการช่วยเหลือในระดับนี้ไม่ได้ผล นักเรียนยังไม่สามารถแสดงผล การพัฒนาท่ีก้าวหน้าตามระดับอายุของนักเรียน จาเป็นต้องมีการประเมินเพ่ือพิจารณาบริการทางการศึกษา พิเศษให้แก่นักเรียน โดยใช้ข้อมูลจากการช่วยเหลือในระดับท่ี 1 2 และ 3 ประกอบการพิจารณา (Newton, 2014) 2. การประเมนิ เพ่ือวินฉิ ัย (Assessment) เม่ือคัดกรองและให้การช่วยเหลือนักเรียนที่เสี่ยงต่อความล้มเหลวทางการศึกษาแล้ว นกั เรยี นยังไม่สามารถพัฒนาตนเองใหม้ ีความก้าวหน้าตามระดับความสามารถของนักเรียนทั่วไปได้ จาเป็นต้อง ดาเนินการประเมินเพ่ือวินิจฉัยว่านักเรียนมีคุณสมบัติที่จะได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษหรือไม่ ซ่ึงในการ ประเมินเพื่อวินิจฉัยต้องดาเนินการในรูปของคณะกรรมการ ที่ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง คุณครูประจาช้ัน นักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษ เป็นต้น โดยทาการประเมินทุกด้านท่ีสงสัยว่านักเรียนจะมี ความบกพร่อง เพ่ือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่แท้จริงของนักเรียนอย่างละเอียด นอกจากนี้ ข้อมูลท่ีได้รับยังเป็นประโยชน์และสามารถนาไปใช้ประกอบกับการวางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล สาหรบั นักเรยี นอีกดว้ ย เมื่อคณะกรรมการลงความเห็นว่านกั เรยี นมีคณุ สมบัตสิ มควรได้รับบริการทางการศึกษา พิเศษและบริการอ่นื ๆ คณะกรรมการตอ้ งดาเนินการตัดสินใจจัดโปรแกรมและวางแผนการศึกษาให้แก่นักเรียน ในลาดับตอ่ ไป 3. การจัดโปรแกรมการศกึ ษา (Placement) หลงั จากคณะกรรมการประเมินเพื่อวินิจฉยั ใหค้ วามเห็นว่านักเรียนจาเป็นต้องได้รับบริการ การศึกษาพิเศษแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพิจารณาจัดโปรแกรมการศึกษาให้แก่นักเรียน ว่านักเรียนควรได้รับ

30 การศึกษาและบริการอะไรบ้าง มีแผนการจัดการศึกษาอย่างไร ในขั้นตอนนี้ ต้องจัดทาแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล หรือ IEP ซึ่งเป็นแผนที่ใช้ในการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ รายบุคคล โดยกาหนดเป้าหมายและบริการทางการศึกษาท่ีสอดคล้องต่อความต้องการจาเป็นของนักเรียน แผน IEP จัดทาข้ึนโดยคณะกรรมการจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ซ่ึงประกอบด้วย ผู้บริหาร สถานศกึ ษา ผปู้ กครองคณุ ครปู ระจาช้นั คณุ ครปู ระจาวชิ า คณุ ครกู ารศกึ ษาพิเศษ นกั จิตวิทยา และสหวิชาชีพที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวนักเรียนเองหากเหมาะสม (รายละเอียดเก่ียวกับการจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคลสามารถอ่านเพ่ิมเติมได้ในคู่มือประกอบการฝึกอบรมครูผู้สอนนักเรียนพิการ เล่มที่ 4 เร่ือง แผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล) ในการจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล คณะกรรมการต้องพิจารณาโปรแกรม การศึกษาท่ีเหมาะสมสาหรับนักเรียน เป้าหมายระยะยาวและสั้น รวมถึงส่ือ ส่ิงอานวยความสะดวก ความ ช่วยเหลือท่ีสมเหตุสมผล และบริการต่างๆ ท่ีสนับสนุนให้นักเรียนได้รับการศึกษาท่ีมีคุณภาพและเท่าเทียมใน ชั้นเรยี นรวมในระยะ 1 ปกี ารศกึ ษา กอ่ นนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลนไ้ี ปใช้ประกอบการจัดการศึกษา ให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษในช้ันเรียนรวมภายหลังแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลได้จัดทา แล้วเสร็จโดยเร็วท่สี ุด นอกจากแผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบคุ คลแลว้ ยังมกี ารจดั ทาแผนเปลี่ยนผ่านรายบุคคล (Individualized Transition Plan: ITP) เพ่ือวางแผนการเตรียมพร้อมเปล่ียนผ่านนักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเปน็ พิเศษไปสู่ชีวิตภายหลังสาเร็จการศึกษา ซ่ึงโดยท่ัวไป แผนการเปลี่ยนผ่านรายบุคคลจะจัดทาในระยะ 3 ปีการศึกษาก่อนนักเรียนสาเร็จการศึกษา (รายละเอียดการจัดทาแผนการเปลี่ยนผ่านรายบุคคลศึกษาเพิ่มเติม ได้ท่ี คูม่ ือการจดั ทาแผนการเปล่ียนผา่ น ของสานักบริหารงานการศกึ ษาพเิ ศษ) 4. การวัดและประเมินผลความก้าวหน้า (Evaluation and Progress monitoring) เม่ือจัดทาแผน IEP เรียบร้อยแล้ว คุณครูและผู้ให้บริการท่ีเก่ียวข้องที่ระบุไว้ในแผน ต้องรับทราบและดาเนินการตามหน้าที่รับผิดชอบที่ระบุไว้ในแผน IEP โดยต้องมีการประเมินแผน IEP อย่างน้อย ภาคเรยี นละ 1 คร้งั เพอื่ ทบทวนและปรับแก้ไขแผนตามความเหมาะสม ระหว่างจัดบริการการศึกษาให้นักเรียน ที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษตามแผน IEP คุณครูผู้สอนต้องทาการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนเป็น ระยะตามที่ระบไุ ว้ในแผน IEP และรายงานความกา้ วหน้าให้ผู้ปกครองรับทราบอย่างสม่าเสมอ 5. การประเมินซ้า (Reevaluation) หลังจากที่นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษได้รับบริการการศึกษาพิเศษแล้ว ต้องจัด ให้มีการประเมินซ้าอย่างน้อยทุก 3 ปี หรือตามท่ีคุณครูหรือผู้ปกครองร้องขอ เพ่ือทบทวนว่านักเรียนยังคงมี คุณสมบัติได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษหรือไม่ หากพบว่านักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเน่ืองจน ใกลเ้ คยี งกับเดก็ ทั่วไปกค็ วรได้รับการสง่ ตอ่ ให้เขา้ เรียนในระบบการศึกษาท่วั ไปตอ่ ไป สรุปได้ว่า กระบวนการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ แบบเรียนรวม มีการดาเนินงานเป็นขั้นตอนได้แก่ การคัดกรอง การประเมินเพื่อวินิจฉัย การจัดโปรแกรม การศึกษา การวัดและประเมินผลความก้าวหน้า และการประเมินซ้า ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะนาไปสู่การ จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพให้แก่นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษในชั้นเรียนรวมได้บรรลุเป้าหมาย และประสบผลสาเรจ็

31 หนว่ ยที่ 4 แนวทางการจัดการเรยี นการสอนในชั้นเรยี นรวม ในการจัดการเรียนการสอนในช้ันเรียนรวม ครูผู้สอนต้องจัดให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยท่ีสุด โดยคานึงถึงความแตกต่างของแต่ละคน เพอ่ื ใหน้ ักเรยี นไดร้ ับการพัฒนาเต็มศักยภาพ เพอ่ื บรรลเุ ป้าหมายดังกล่าว ครูผู้สอนในช้ันเรียนรวมต้องมีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน การปรับหลักสูตร การใช้ทรัพยากรสนับสนุน ต่างๆ ประยุกต์ความรู้และทักษะเหล่านี้ในการส่งเสริมการเรียนการสอนในช้ันเรียนของตน (Weswood, 2003; Eskay & Oboegbulem, 2013; Kaplan & Lewis, 2013; McManis, 2017) แนวทางการปฏิบตั ิตนของครผู สู้ อนในชัน้ เรียนรวม เพ่อื ส่งเสรมิ บรรยากาศการเรียนการสอนในชน้ั เรียนรวมท่ีประกอบดว้ ยนกั เรียนทหี่ ลากหลาย ครผู สู้ อนควรปฏิบัตติ น ดังน้ี (Weswood, 2003; Eskay & Oboegbulem, 2013) 1. แสดงออกให้เห็นว่านักเรียนทุกคนต่างมีคุณค่า เป็นสมาชิกในชั้นเรียน มีสิทธ์ิได้รับ การศึกษาเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษหรือนักเรียนทั่วไป เช่น การให้ นักเรยี นทุกคนทากิจกรรมรว่ มกนั ไมแ่ บง่ แยก ให้โอกาสแสดงความสามารถ เปน็ ต้น 2. ให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อนักเรียนทุกคนอย่างสม่าเสมอและท่ัวถึง เช่น เมื่อครูถาม คาถามหรือให้ทากิจกรรม ครูให้โอกาสนักเรียนทุกคนได้ตอบ ไม่เลือกเฉพาะเด็กที่เรียนเก่ง และให้กาลังใจกับ ทุกคาตอบ เป็นต้น 3. กระตือรือร้นในการสอน ให้ความสนใจในการดูแลนักเรียน สร้างบรรยากาศแห่งการ ช่วยเหลือเก้ือกูล ร่วมมือร่วมใจในการทากิจกรรม โดยไม่ตาหนิให้นักเรียนรู้สึกเสียกาลังใจ เช่น ครูฝึกให้ นักเรียนท่ัวไปช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษด้วยความเต็มใจ โดยให้การเสริมแรงให้แก่ นักเรียนทรี่ ว่ มมือในการทากิจกรรม หรือแสดงพฤตกิ รรมท่พี งึ ประสงค์ เป็นต้น 4. จัดการเรยี นการสอนโดยเนน้ ผูเ้ รยี นเป็นสาคญั เน้นที่ความสาเร็จ ความงอกงามของนักเรียน เชน่ การออกแบบแผนการสอนใหม้ รี ะดบั ความยากง่ายเหมาะสมกับความสามารถของนักเรยี น เปน็ ต้น 5. ไม่ควรคาดหวังให้นักเรียนทุกคนเก่งเท่ากัน แต่ให้เช่ือว่านักเรียนแต่ละคนมีความสามารถ ตา่ งกนั พยายามคน้ หาและส่งเสริมความสามารถของนกั เรยี นแตล่ ะคน 6. ทาความเข้าใจสภาพครอบครัวและพื้นฐานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของนักเรียน เพื่อจะได้ เข้าใจที่มาของพฤตกิ รรม การปรบั หลักสูตรสาหรับนกั เรยี นในช้นั เรียนรวม หลักสูตรเป็นกระบวนการจัดระบบและจัดลาดับประสบการณ์การเรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียนบรรลุ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนด เป็นแนวทางที่ใช้ชี้แนะสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ สะท้อนความเช่ือมโยงระหว่าง ความรู้ สังคมและผู้เรียนดังน้ัน ครูผู้สอนในช้ันเรียนรวมต้องจัดระบบการเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตรให้แก่ ผู้เรียนที่มีความหลากหลาย ต้องคานึงถึงการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติด้วย

32 (Weswood, 2003; Eskay & Oboegbulem, 2013; Kaplan & Lewis, 2013; Adewumi, Rembe, Shumba, & Akinyemi, 2017) การปรับหลักสูตรเป็นกลยุทธ์ท่ีครูผู้สอนใช้ในการช่วยเหลือสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความ แตกต่างกันในช้ันเรียนรวมได้เรียนรู้สิ่งท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตรในสภาพแวดล้อมเดียวกับเพื่อนคนอ่ืน ๆ การ ปรับหลักสูตรสามารถทาได้หลายวิธี ครูผู้สอนปรับและดัดแปลงหลักสูตรในรูปแบบและความเข้มข้นที่ต่างกัน ตามความต้องการและเป้าหมายท่ีระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียนท่ีมี ความต้องการ จาเปน็ พเิ ศษ Hall, Vue, Koga & Silva (2004) อธิบายการปรับหลักสูตรไว้ 2 ลักษณะ ได้แก่ การพัฒนา หลักสตู ร (Curriculum Enhancement) และการดัดแปลงหลกั สตู ร (Curriculum Adaptation) การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Enhancement) หมายถึง การปรับวิธีการสอนและสื่อ การเรียนรู้ รวมถึงรูปแบบการแสดงผลการเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียน ภายใต้การใช้หลักสูตรทั่วไปในการจัดการเรียนการสอนในช้ันเรียนรวม รวมถงึ การใช้วิธีการสอนที่จาแนกตามความแตกต่าง ใช้ส่ือเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และบรู ณาการเพือ่ ตอบสนองทางภาษาและเน้ือหาทแี่ ตกตา่ งกนั สว่ นการดดั แปลงหลักสูตร (Curriculum Adaptation) หมายถึง การปรับหลักสูตรท่ัวไปท่ีใช้ ในชน้ั เรียนรวมในระดบั ความเข้มข้นที่สูงขึ้น ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นการปรับความเข้มข้นและความลึกของเน้ือหาให้มี ความยากง่ายตามความสามารถของนักเรียน เช่น นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ไม่สามารถอ่าน ในอัตราหรือเนอื้ หาเดยี วกับเพือ่ นในวยั เดียวกัน ตอ้ งการเวลาในการอ่านท่ีมากกว่า ปริมาณการอ่านที่น้อยกว่า หรือสื่อการอ่านที่มีเน้ือหาเดียวกันแต่มีระดับภาษาง่ายกว่า แต่หากนักเรียนมีความบกพร่องทางสติปัญญา ในระดับรุนแรง ครูผู้สอนอาจปรับหลักสูตรของนักเรียนโดยการปรับเปลี่ยนสื่อการเรียนรู้ให้อยู่ในระดับ ความคดิ รวบยอดของนักเรียน ซึ่งคล้ายกับการปรับเน้ือหาการอ่านให้ง่ายข้ึน แต่จะเพิ่มการปรับเปลี่ยนเนื้อหา ด้านความคิดรวบยอดตามระดับความสามารถทางสติปัญญาและเป้าหมายระยะยาวในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคลของนักเรียนเข้าไปด้วย การปรับหลักสูตรสามารถทาได้หลายวิธี ครูผู้สอนปรับและดัดแปลง หลักสตู รในรูปแบบและความเข้มข้นท่ีต่างกันตามความต้องการและเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล ในการปรบั หลกั สูตร ครูผู้สอนจาเป็นต้องคานึงถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการมีส่วนร่วม ของนักเรียนเปน็ สาคญั โดยเบอ้ื งตน้ อาจม่งุ เน้นใหน้ ักเรียนทีม่ ีความต้องการจาเป็นพิเศษมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ต่าง ๆ ในชั้นและโรงเรียน โดยการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนตามความต้องการ เช่น แผนภูมิ รูปภาพนูน หรือเพื่อนนักเรียนเพื่อช่วยให้นักเรียนคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ในการปรับ หลกั สูตรเพ่อื ให้นักเรยี นทมี่ ีความต้องการจาเป็นพิเศษไดเ้ รียนรสู้ อดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายเฉพาะ บุคคล อาจทาไดท้ ้ังการวางแผนเพอื่ ออกแบบการเรียนรู้ลว่ งหน้าและการปรับเปลยี่ นในขณะทาการสอน โดยใน การวางแผนเพ่ือออกแบบการเรียนรู้ล่วงหน้านั้น ครูผู้สอนและบุคลากรท่ีเกี่ยวข้องต้องหารือเก่ียวกับองค์ ความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์ที่คาดหวังให้เกิดจากกิจกรรมหรืองานตามหลักสูตร แต่บางครั้งครูผู้สอนอาจ

33 ไมส่ ามารถวางแผนล่วงหน้าได้ เนื่องจากบางกิจกรรมเกิดข้ึนเฉพาะหน้า หรือมีความแตกต่างกันไปในแต่ละวัน ทาให้การวางแผนทาได้ยาก ครูผู้สอนจึงอาจต้องปรับหลักสูตรในขณะทากิจกรรม โดยการปรับหลักสูตร สามารถแบ่งได้ 5 รูปแบบ คอื การชว่ ยเหลือสนบั สนุน การดัดแปลง การใช้หลักสูตรคู่ขนาน การใช้จุดร่วมของ หลักสูตร และการใช้หลักสูตรทดแทน (Hall, Vue, Kog & Silva, 2004; Johnston & Collins,2004; Eskay & Oboegbulem, 2013; Kaplan & Lewis, 2013; Adewumi, Rembe, Shumba, & Akinyemi, 2017) โดยแต่ละหลักสตู รสามารถใช้ตามลาพงั หรอื ใช้ร่วมกันได้ เพ่ือให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษสามารถ มีสว่ นร่วมในบทเรยี นเดียวกับเพื่อนในชัน้ เรียนได้มากที่สุด ลาดับต่อไปจะอธิบายลักษณะของการปรับหลักสูตร แตล่ ะรปู แบบ โดยยกตวั อยา่ งการปรับหลักสูตรแตล่ ะรูปแบบประกอบ ดังน้ี การชว่ ยเหลอื สนับสนนุ (Accommodation) การช่วยเหลือสนับสนุนเป็นการปรับหลักสูตรในลักษณะการปรับวิธีการสอนหรือวิธีการ ถ่ายทอดความรู้ไปยังนักเรียน รวมถึงปรับวิธีการสื่อสารการแสดงออกของนักเรียน โดยไม่มีการปรับเปลี่ยน ความยากของเน้ือหาและความคิดรวบยอดในหลักสูตร เพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตร ตัวอย่างเช่น การใช้เทคนิคและอุปกรณ์การสอนทางเลือกแทนการใช้เอกสารตัวพิมพ์ในการนาเสนอ การ ปรับเปลีย่ นปริมาณข้อมูลที่นาเสนอ ระยะเวลาในการเรียนรู้ และระดับการให้ความช่วยเหลือตามความต้องการ ของนักเรียนแต่ละคน การปรับหลักสูตรโดยให้การช่วยเหลือสนับสนุนหมายความรวมถึงการใช้เทคโนโลยี อานวยความสะดวก (Assesstive Technology) เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ส่ิงท่ีไม่สามารถเข้าถึงได้ อันเนอ่ื งมาจากความแตกตา่ งเฉพาะบุคคล เช่น การให้นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางร่างกายใช้คีย์บอร์ดขนาด ใหญเ่ พ่ือความสะดวกในการพิมพง์ านเขียน ซ่ึงในทนี่ ี้ระดับความยากและเน้ือหางานเขียนยังคงเดิม หรือสาหรับ นักเรยี นท่มี ีความบกพร่องทางการเหน็ เขียนเปน็ อักษรเบรลล์หรือพิมพ์ในคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมอ่านจอภาพ แทน หรือแมก้ ระทัง่ การใช้ผชู้ ว่ ยเหลือการอ่านในกิจกรรมการอ่านจับใจความสาหรับนักเรียนท่ีมีความบกพร่อง ทางการเรียนรูห้ รอื สอ่ื สง่ิ พิมพ์ จะเห็นได้ว่า การปรับหลักสูตรโดยใช้การช่วยเหลือสนับสนุนเป็นการปรับวิธีการ รบั และตอบสนองตอ่ ขอ้ มูลให้เหมาะสมกบั นกั เรียนแตล่ ะคนนน่ั เอง ตัวอยา่ งการปรบั หลักสูตรโดยใช้การช่วยเหลอื สนับสนนุ 1) อนุญาตให้มผี ูช้ ว่ ยจดบันทึกหรือผู้อ่านงาน 2) ใช้การปม๊ั แทนการเขียนชอ่ื นามสกุล 3) ใช้ดินสอหรอื ดินสอสที ี่มีขนาดด้ามใหญ่เพื่อใหจ้ บั ถนดั มือ 4) ใช้เครอ่ื งคิดเลขในการบวกลบแทนการทดดว้ ยกระดาษและดินสอ 5) ใชส้ ีหรอื ภาพเปน็ สญั ลกั ษณใ์ นการแยกสระ พยญั ชนะ หรือคาที่ต้องการ 6) ใช้คีมยึดจับบล็อกไมท้ ่ีตอ้ งการขัดเมื่อทากิจกรรมไมจ้ าลอง 7) ใช้พอยเตอรช์ ี้คาทส่ี ะกดถูกต้องในการทดสอบสะกดคา 8) ใชเ้ ครอ่ื งคดิ เลขในการคานวณทางคณติ ศาสตร์ 9) ใช้เครอ่ื งพมิ พด์ ดี หรือคอมพิวเตอรแ์ ทนการเขยี นด้วยดนิ สอหรือปากกา

34 10) เขียนตัวอักษรตัวแรกของชอ่ื รฐั หรือติดสติ๊กเกอร์บนแผนท่ีเพ่ือแสดงความเข้าใจท่ีตง้ั ของจังหวดั ในวิชาภูมศิ าสตร์ 11) มีผู้ชว่ ยในการเคลื่อนยา้ ยเม่ือเปล่ยี นกจิ กรรมหรือห้องเรยี น การดดั แปลง (modification) การดัดแปลงเป็นการปรับหลักสูตรโดยการปรับวิธีการสอนและเป้าหมายการแสดงออกของ นกั เรยี น โดยไม่มีการเปล่ียนแปลงเนื้อหาแต่เปลี่ยนระดับความยากของความคิดรวบยอดในหลักสูตร การปรับ หลักสูตรรูปแบบน้ีครูต้องใช้ความพยายามและเวลาในการออกแบบการเรียนการสอนมากกว่าการเปลี่ยน วิธีการสอนหรือการเข้าถึงโดยการช่วยเหลือสนับสนุนเท่าน้ัน ในการออกแบบการสอนโดยการดัดแปลง หลักสูตร ครูผู้สอนต้องทราบเป้าหมายรายบุคคลของนักเรียนก่อน แล้วจึงดัดแปลงโดยออกแบบกิจกรรม การบ้าน และการประเมินผลเฉพาะบุคคล และใช้สื่อการสอนและกิจกรรมที่แตกต่างไปสาหรับนักเรียนเป็น รายบุคคล ซ่ึงมักเกิดข้ึนเมื่อครูใช้เทคนิคการสอนตามความสามารถแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น ในการออกแบบ บทเรยี นเกี่ยวกบั ทักษะการเขียน ครูผู้สอนอาจมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละคนทางานเขียนที่มีการดัดแปลง ให้แตกต่างกันตามระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน นักเรียนบางคนอาจเขียนงานท่ีประกอบด้วย คาศัพท์ใหม่ 5 คาจากบทเรียนตามลาพัง ในขณะท่ีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจเขียนงานโดย เลอื กคาศัพทใ์ หม่ 3 คา จาก 5 คากับกลุ่มย่อยโดยมีผู้ช่วยครูดูแล หรือรวมท้ังการมอบหมายงานท่ีมีปริมาณ น้อยกว่าให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ ซ่ึงต่างไปจากการให้งานปริมาณน้อยกว่าในการปรับ หลักสตู รรปู แบบที่ 1 ที่อาจให้งานปรมิ าณนอ้ ยกวา่ แตง่ านนัน้ มีระดับความยากคงเดมิ และไม่มกี ารเปลี่ยนแปลง ความคดิ รวบยอด เช่น การให้นักเรียนทาโจทย์คณติ ศาสตร์ท่ีมีความยากระดับเดียวกัน 5 ข้อจากที่เพ่ือนทา 10 ข้อ แต่สาหรบั การให้งานปริมาณท่ีน้อยกวา่ ในการปรับหลักสตู รรูปแบบท่ี 2 น้ี นอกจากจะให้งานปริมาณท่ีน้อย กว่าแลว้ ยังมีการปรบั ความยากของเน้อื หาอกี ด้วย ตวั อยา่ งการปรบั หลักสตู รโดยใชก้ ารดดั แปลง 1) ใช้ภาพจากนิตยสารประกอบการเขียนหรือเลา่ เรื่องแทนการวาดภาพประกอบ 2) ใชก้ ารระบุตวั เลขทนี่ าฬิกาหรืออา่ นตวั เลขบนนาฬิกาดิจิตอลในการเรียนเรื่องเวลา 3) คดั ลอกประโยคตามแบบแทนการเขียนดว้ ยตนเอง 4) สะกดคาจากรายการคาศัพทท์ ีก่ าหนดใหแ้ ทนการสะกดคาจากรายการคาศัพท์ท้ังหมด ของช้ันเรยี น 5) ใหส้ ะกดคา 5 คาจากท่ีเพื่อนในชั้นตอ้ งสะกด 20 คา 6) ทารายงานคร่งึ หนา้ กระดาษแทนการทารายงาน 5 หน้า 7) ใช้การชี้ภาพแทนการตอบด้วยคาพูด 8) ใชก้ ารตอบว่า “ใช่” หรอื “ไมใ่ ช่” แทนการอธบิ าย 9) เขยี นประโยค 5 ประโยคท่ปี ระกอบดว้ ย ประโยคนา ประโยคสนับสนุน และประโยคปิด รวมถึงการใช้เครื่องหมายและการสะกดที่ถูกต้อง แทนการเขียนเรียงความ 1 หนา้ กระดาษ 10) เลอื กและตัดรปู ภาพตดิ บนกระดาษเพ่ืออธบิ ายเร่ืองใดเรื่องหนึง่ แทนการเขียนรายงาน

35 11) ใช้เครื่องคดิ เลขชว่ ยในการคานวณทางคณิตศาสตร์ การใช้เปา้ หมายหลกั สูตรค่ขู นานหรอื การสอนคู่ขนาน (Parallel curriculum outcomes/Parallel Instruction) การใช้เป้าหมายหลักสูตรคู่ขนานเป็นการปรับหลักสูตรโดยการปรับท้ังวิธีการเรียนการสอน และเป้าหมายท่ีคาดหวังโดยคานึงถึงความสามารถของนักเรียน การใช้เป้าหมายหลั กสูตรคู่ขนานจะไม่ เปล่ยี นแปลงเนื้อหาความรู้และเป้าหมายด้านการศกึ ษาของนกั เรยี นแต่ละคนเช่นเดียวกับการดัดแปลงหลักสูตร แต่สิ่งท่ีแตกต่างกันคือการใช้เป้าหมายหลักสูตรคู่ขนานสามารถปรับความยากง่ายของความคิดรวบยอดได้ ในระดับที่สูงขึ้น แต่ยังข้ึนอยู่กับบริบททางการศึกษาและความต้องการของนักเรียนแต่ละบุคคล การใช้ เป้าหมายหลักสูตรคู่ขนาน จะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อนักเรียนท่ีมีความสามารถและลักษณะการเรียนรู้ ท่ีหลากหลาย เช่น นักเรียนท่ีมีความสามารถพิเศษต้องการกรอบความคิดที่ยากและท้าทายในการเรียน การสอนและการประยกุ ตใ์ ช้มากกวา่ หรือกรณีนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษรุนแรงที่ไม่สามารถบรรลุ เปา้ หมายหลกั สตู รทัว่ ไปได้ จึงต้องกาหนดเป้าหมายในระดับความคิดรวบยอดท่ีง่ายกว่า แต่ยังอยู่ในบริบทการ เรยี นการสอนเดยี วกัน ตวั อยา่ งเชน่ ในการทาโครงการวทิ ยาศาสตร์ท่ีประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ สาเหตุและผลลัพธ์ ครูผู้สอนสามารถจัดให้นักเรียนพิการซ้อนเรียนบทเรียนเดียวกันกับเพ่ือนในช้ัน แต่ให้มุ่ง เฉพาะการทดลองข้ันตอนหนึ่งเท่านั้น หรือในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนปรับให้นักเรียนท่ีมีความ ต้องการจาเป็นพิเศษหาตาแหน่งของคาหรือตัวอักษรที่กาหนดให้ในขณะที่เพื่อนในชั้นเรียนอ่านเพื่อสรุป ใจความสาคัญของเร่ืองหรือในวิชาคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนให้นักเรียนท่ัวไปในชั้นเรียนรวมทาแบบฝึกหัดเรื่อง เศษส่วน และให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษทาแบบฝึกหัดเร่ืองการนับจานวน 1-10 หรือในวิชา สถานการณ์ปัจจุบัน ครูผู้สอนอนุญาตให้นักเรียนบางคนรายงานประเด็นท่ีได้จากการฟังเพ่ือนอ่านข่าว หนังสือพิมพ์ 3 ประเด็นด้วยปากเปล่า ในขณะท่ีเพ่ือนคนอื่นๆ อ่านข่าวและตอบชุดคาถามท่ีครูผู้สอนกาหนด นั่นคือการใช้เป้าหมายหลักสูตรคู่ขนานจึงไม่มีการเปล่ียนแปลงเนื้อหาความรู้ท่ีได้จากบทเรียน แต่มีการ ปรับเปล่ียนระดับความยากของความคิดรวบยอดในเนื้อหาน้ันๆ ซ่ึงกล่าวอีกนัยหน่ึงคือ เป็นการมีส่วนร่วม บางส่วน (Partial Participation) โดยได้ความคดิ รวบยอดเดยี วกันแตอ่ าจมีระดับนอ้ ยกวา่ ตัวอยา่ งการใชเ้ ปา้ หมายหลกั สูตรค่ขู นาน 1) ใหบ้ วกเลขสองหลกั แทนการคูณเศษสว่ น 2) การใช้หลักสูตทับซ้อน คือการปรับหลักสูตรท่ีสร้างเป้าหมายท่ัวไปหรือจุดทับซ้อนผลการ เรียนรขู้ องนกั เรียนท่ีมีความแตกต่าง หลักสตู รทบั ซ้อนไมใ่ ชก่ ารปรบั หลกั สตู รทวั่ ไปโดยตรง แต่เป็นการรวมเข้า ด้วยกันของเป้าหมายเฉพาะบุคคลบางอย่าง และความคาดหวังสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการต่างกัน ครูผู้สอนสามารถใช้หลักสูตรทับซ้อน เมื่อมีการกาหนดความสาเร็จของเป้าหมายเฉพาะท่ีคาดหวังในช้ันเรียน ทั่วไป หลักสูตรทับซ้อนช่วยให้นักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษมีส่วนร่วมในกิจกรรมและส่งเสริมการมี ส่วนร่วมบางส่วน การใช้หลักสูตรทับซ้อนทาได้หลายวิธี ซ่ึงทุกวิธี องค์ประกอบของหลักสูตร เช่น ภูมิหลัง ความรู้ ความยากของความคิดรวบยอด และวิธีการสอนสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษจะมีการ

36 ออกแบบต่างไปจากนักเรียนทั่วไป ในการใช้หลักสูตรทับซ้อน ครูผู้สอนจาเป็นต้องออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และใช้กจิ กรรมการเรียนรู้ร่วมกัน เชน่ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Cooperative Learning) หรือ เทคนิคเพื่อน ช่วยเพื่อน กิจกรรมการเรียนรู้ร่วม เป้าหมายและความคาดหวังสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ จะทับซอ้ นกบั เป้าหมายและความคาดหวังของนกั เรยี นท่ัวไป ตัวอย่างเช่น เม่ือเป้าหมายที่คาดหวังของนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ คือ การ พฒั นาทักษะทางสงั คม ครูผู้สอนสามารถจดั ใหน้ ักเรยี นเรียนบทเรยี นเดยี วกนั กับนักเรยี นทัว่ ไป โดยต้ังเป้าหมาย ทก่ี ารพฒั นาทักษะทางสังคมของนักเรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแทนเป้าหมายท่ีนักเรียนทั่วไป ต้องได้รับการปรับเป้าหมายที่คาดหวัง เช่น เน้ือหาความรู้ และความยากของความคิดรวบยอด รวมถึงวิธีการ สอน จะแตกต่างไปจากที่ออกแบบในหลักสตู รทั่วไป เช่น ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางอารมณ์กาหนดให้พัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่มย่อย ถึงแม้ว่านักเรียนคนน้ี จะไม่ได้เรียนเน้ือหาวิชาสังคมระดับเดียวกับเพ่ือนคนอ่ืนหรือไม่ได้พัฒนาความรู้ในรายวิชา ครูผู้สอนสามารถ ใหง้ านทเ่ี หมาะสมใหป้ ฏบิ ัติในกลุ่มย่อยเพ่ือให้โอกาสในการพฒั นาทักษะการมปี ฏิสมั พันธก์ บั ผู้อ่ืนได้ นอกจากน้ี เมื่อเป้าหมายหน่งึ ของวชิ าสังคมศึกษาในหลักสูตรท่ัวไปเน้นท่ีการมีปฏิสัมพันธ์ของ นักเรียนจะมีการทับซ้อนระหว่างเป้าหมายที่คาดหวังของนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษและนักเรียน ทั่วไป การปรบั หลักสตู รลักษณะนจ้ี ะอนญุ าตให้นักเรยี นทมี่ ีความต้องการจาเป็นพเิ ศษมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ หลักสูตรทว่ั ไปโดยบรรลุเป้าหมายหลกั สตู รท่ตี า่ งกนั ตัวอยา่ งการใชห้ ลักสูตรทับซอ้ น 1) เรยี งเรอ่ื งราวตามลาดับโดยดจู ากตัวเลขทค่ี รูเขียนไว้ให้ และเล่าเรอ่ื งโดยใชป้ ระโยคหรอื วลงี า่ ยๆ 2) ให้พลิกหน้ากระดาษเพื่อฝกึ ทักษะการใช้กลา้ มเนือ้ ในกิจกรรมอ่านในใจ 3) ใช้โอกาสในการเปลย่ี นกันโยนลกู เตา๋ เพื่อบรรลุวัตถปุ ระสงคท์ ักษะทางสงั คม และการหยิบ การเขย่า และการโยนลูกเต๋าเพื่อบรรลวุ ัตถุประสงค์ของการฝกึ ทกั ษะกล้ามเน้ือ เม่อื ทากจิ กรรมเลน่ เกมบอร์ด คณิตศาสตร์ 4) ฝึกเขียนตวั อกั ษรและตดั ภาพที่ข้นึ ต้นด้วยอักษรตัวนั้นเพื่อฝกึ คาศัพท์ทป่ี รากฏในบทความ ในกิจกรรมการเขียนบทความ 5) ฝกึ การเขียนและอ่านช่ือและหมายเลขโทรศัพทข์ องตนเองในกิจกรรมการอ่านจบั ใจความ 6) ฝึกทกั ษะการนบั โดยการส่งอุปกรณต์ ามจานวนที่กาหนดใหเ้ พ่ือนในกลมุ่ เม่ือเรยี นวิชา วทิ ยาศาสตร์ 7) แสดงความรบั ผิดชอบและปฏิบัตติ ามคาส่ังในชัน้ เรยี นโดยการส่งงาน แต่คะแนนทไ่ี ด้คิด จากการมีสว่ นรว่ มแทนเนือ้ หาและความถูกต้องของงาน 8) กาหนดเปา้ หมายทีท่ ักษะการฟงั การน่ังอยู่กับที่ และการเอาใจใสส่ ิง่ ที่ครูกาลงั สอนแทน เน้อื หาของแตล่ ะวชิ า 9) พิมพ์ประโยคง่ายๆ ทเี่ ลือกจากบทความซง่ึ เพ่ือนกาลงั เรียน เพือ่ วตั ถปุ ระสงค์ในการฝึก ทกั ษะการพิมพ์

37 ตารางเปรยี บเทยี บการปรับหลักสตู รรปู แบบตา่ งๆ ตอ่ ไปนีเ้ ป็นตารางเปรยี บเทียบการปรบั หลกั สตู รในรูปแบบตา่ งๆ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ของหลักสตู ร ไดแ้ ก่ เนื้อหาความรู้ ความยากของความคิดรวบยอด เป้าหมายการเรียนรู้ และวธิ ีการเรียนการสอน รปู แบบการปรับ เนื้อหาความรู้ ความยากของ เป้าหมาย วิธกี าร หลกั สูตร ความคิดรวบยอด การช่วยเหลือ เหมอื นหลักสูตร เหมอื นหลกั สูตร เหมือนหลกั สตู ร ปรับเปลีย่ น สนบั สนนุ ท่ัวไป ทวั่ ไป ท่ัวไปหรือปรบั เล็กน้อย การดดั แปลง เหมอื นหลักสูตร ปรับเลก็ นอ้ ย ปรบั เปล่ียน ปรับเปลย่ี น ทวั่ ไป คู่ขนาน เหมือนหลกั สูตร ปรบั เปลย่ี นมาก ปรบั เปลยี่ น ปรับเปลีย่ น ทวั่ ไป ทบั ซอ้ น แตกตา่ งจาก แตกตา่ งจาก ปรบั เปล่ยี น แตกต่างจาก หลักสตู รทว่ั ไป หลกั สตู รทั่วไป หลกั สูตรท่ัวไป การเลือกวิธีปรับหลักสูตรท้ัง 4 รูปแบบข้ึนอยู่กับบริบททางการศึกษารายวิชา สถานการณ์ และตวั นักเรยี น ซ่งึ ครูผ้สู อนตอ้ งมีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนและเขา้ ใจภาพรวมของหลกั สูตร นอกจากน้ี John (2004) ยังได้เสนอการปรับหลักสูตรอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การใช้หลักสูตร ทดแทน โดยการปรับหลักสูตรรูปแบบน้ี ครูผู้สอนจะออกแบบกิจกรรมทางเลือกที่ช่วยให้นักเรียนที่มีความ ต้องการจาเป็นพิเศษบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนการสอนเบื้องต้น เม่ือครูผู้สอนเห็นว่าหลักสูตรทั่วไปไม่ เหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งกิจกรรมทางเลือกนี้อาจทาในช้ันเรียน โรงเรียน หรือในชุมชน และอาจทาร่วมกับ เพือ่ นในชัน้ เรยี นรวมดว้ ยก็ได้ ดงั ตัวอย่างตอ่ ไปนี้ 1) ฝึกทกั ษะการออกเสยี งในกล่มุ ยอ่ ย ระหวา่ งกิจกรรมการอภิปราย 20 นาที ในวิชาสังคมศึกษา 2.) ทางานในสมุดคาศัพทเ์ พื่อสง่ ในวชิ าบทความระหวา่ งทเี่ พื่อนในช้ันมีการทดสอบพเิ ศษ 3) ฝกึ การใช้อุปกรณ์ในการส่ือสารเสริมกบั ผ้ชู ว่ ยครขู ณะท่เี พ่อื นทดสอบวิชาภูมศิ าสตร์ 4) อ่านหนงั สือกับผูช้ ่วยครูขณะที่ในชัน้ เรยี นอภิปรายเรอื่ งวรรณคดี 5) ฝกึ ทกั ษะการอา่ นคาในคอมพิวเตอร์ในขณะที่เพ่ือนทดสอบพเิ ศษ 6) ฝึกทักษะการข้ามถนนและการซ้ือของตามท่ีระบุไวใ้ นแผน IEP ระหวา่ งกิจกรรมการเขียน 7) ฝึกการปฏิบตั ิตามคาส่งั โดยช่วยบรรณารักษเ์ กบ็ หนังสือเขา้ ชัน้ ขณะเพื่อนในชน้ั เรียนทา แบบฝึกหดั เรื่องเศษส่วน ในการปรบั หลักสูตรทั้ง 5 รูปแบบ ครูผู้สอนอาจปฏิบตั ิตามคาแนะนาตอ่ ไปน้รี ่วมดว้ ย 1. ปรับเน้ือหาในหลกั สูตรให้เช่อื มโยงกับทักษะชวี ิตและนาไปใช้จรงิ ได้ 2. ขยายเวลาในการทากจิ กรรมของนักเรยี นที่มีความต้องการจาเป็นพเิ ศษเพิ่มข้นึ

38 3. ใหง้ านหรือกจิ กรรมในปรมิ าณนอ้ ยๆ ในการทางานแต่ละครัง้ 4. ให้การฝึกฝนซา้ ๆ เพื่อเกิดการเรยี นรู้ 5. หากนกั เรียนไม่สามารถคดั ลอกงานจากกระดาน ให้สาเนางานให้แกน่ ักเรยี นแทน 6. อนญุ าตให้นกั เรยี นใช้อุปกรณ์บนั ทึกเสยี ง บนั ทกึ คาบรรยาย ตอบแบบทดสอบ หรือส่งงาน การเขยี นเรื่องแทนการจดบนั ทกึ เปน็ ตัวอักษร 7. ใชว้ ธิ ีการเรยี นรู้ทห่ี ลากหลาย เช่น การใชภ้ าพ สือ่ เสียง และสอื่ สมั ผัส เปน็ ตน้ 8. นาเสนอเน้ือหาต่าง ๆ ด้วยคาพูด และอนุญาตให้นักเรยี นตอบแบบทดสอบด้วยคาพดู ได้ 9. ใหน้ กั เรยี นเลือกรปู แบบการเรยี นรู้ที่ตอ้ งการ 10. ใชส้ ่ือการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเมื่อต้องการนาเสนอความคิดรวบยอดใหม่ ๆ 11. ใช้คาสัง่ ท่ีสน้ั กระชับ เจาะจง และเข้าใจง่าย หลกี เลีย่ งคาสงั่ หลายขัน้ ตอน 12. ใหแ้ รงเสรมิ ในสิ่งทน่ี ักเรยี นทาได้ แทนการใส่ใจส่งิ ทีน่ กั เรยี นทาไม่ได้ และหลกี เลย่ี งการตดั คะแนนหรือการใชค้ าพูดท่ีทาใหเ้ สยี กาลังใจ 13. ให้ผลสะท้อนต่องานทน่ี กั เรียนทาในทันทีทีเ่ ปน็ ไปได้ 14. ปรับเปล่ียนการประเมินให้สอดคล้องกับข้อจากดั ของนักเรียน เช่น อนุญาตให้นักเรียนทา แบบทดสอบดว้ ยปากเปลา่ ขยายเวลาให้มากขึน้ หลีกเลย่ี งการทดสอบที่ไมบ่ อกล่วงหน้า 15. ทากฎระเบยี บหรือข้อตกลงในช้นั เรยี นให้ชดั เจน โดยการชแี้ จงและติดประกาศในรปู แบบ ทน่ี กั เรียนที่มีความต้องการจาเปน็ พเิ ศษเขา้ ถงึ ได้ 16. เร่มิ บทเรียนเม่ือนกั เรียนทุกคนให้ความสนใจ ปัจจัยท่ีมอี ิทธิพลต่อการปรับหลักสูตรให้มปี ระสิทธิภาพ การปรบั หลักสูตรใหม้ ีประสิทธภิ าพมีปัจจัยสาคญั 4 ประการ ได้แก่ 1. ความต้องการเฉพาะบคุ คล การปรับหลักสตู รเกิดขึน้ จากความตอ้ งการเฉพาะบุคคล ก่อนทาการปรับหลักสูตร ครูผู้สอนจึงต้อง วิเคราะห์และประเมินบริบทการเรียนรู้และตรวจสอบวิธีปรับหลักสูตรตามความต้องการเฉพาะบุคคลของ นักเรียน ถึงแม้การปรับหลักสูตรจะมีตั้งแต่การช่วยเหลือสนับสนุนจนถึงการใช้หลักสูตรทดแทน ไม่ได้ หมายความว่าการปรับหลักสูตรรูปแบบใดจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน นักเรียนบางคนอาจได้ประโยชน์จาก การปรบั หลักสตู รเพียงเลก็ น้อย มากกว่าการปรบั เปลีย่ นมากแต่ไมค่ านงึ ถึงความตอ้ งการเฉพาะบุคคลและความ บกพร่องที่นักเรียนมี และการปรับหลักสูตรเพื่อใช้สาหรับนักเรียนทุกคนอาจทาให้นักเรียนบางคนเสียโอกาส ในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ดังน้ันการวิเคราะห์และประเมินความต้องการรายบุคคลท้ังแบบเป็นทางการ และไมเ่ ป็นทางการจึงมีความจาเปน็ อยา่ งยง่ิ ในการปรบั หลักสูตร 2. ความต้องการเฉพาะของแต่ละรายวชิ า ความคาดหวังของแต่ละรายวิชาเป็นปัจจัยสาคัญท่ีต้องคานึงถึงเมื่อพิจารณาปรับเป้าหมายสาหรับ นักเรียน ตัวอย่างเช่น ในการปรับหลักสูตรสาหรับวิชาคณิตศาสตร์ท่ีมีเป้าหมายการเรียนรู้ท่ีเป็นประโยชน์

39 สาหรบั นักเรยี นทีม่ คี วามต้องการจาเปน็ พเิ ศษการปรบั จงึ ไม่เปน็ เพียงการปรบั ลดปริมาณข้อมูลหรือการนาเสนอ เทา่ น้ัน แต่ต้องปรบั กระบวนการการเรียนรู้ใหม่โดยคานึงถึงความคิดรวบยอดและการเช่ือมโยงหลักสูตร ความ เขา้ ใจและความเป็นเหตุเปน็ ผลทางคณิตศาสตร์ กับความสามารถในการประยกุ ต์ใชใ้ นสถานการณ์จรงิ 3. บทบาทของครูผู้สอนและการสนบั สนนุ ของโรงเรยี น ครูผู้สอนเป็นผู้ท่ีมีบทบาทสาคัญในการปรับหลักสูตร ต้องเป็นส่วนหน่ึงในการตัดสินใจในการ ออกแบบหลักสูตรและการสอน โดยต้องไม่ถูกกดดันจากแบบทดสอบระดับชาติ ในการส่งเสริมให้ครูปรับ หลกั สูตรไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพนั้น โรงเรยี นต้องสนับสนุนให้ครูได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะใน การปรับหลกั สูตร การศกึ ษาวิจัยจานวนมากพบว่า ครูผู้สอนขาดความรู้ในการปรับหลักสูตร มีการดาเนินการ ไม่เปน็ ระบบและไม่ตอ่ เนอื่ ง 4. การใชเ้ ทคโนโลยี การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการปรับหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพย่ิงขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้อาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกม ระบบอินเตอร์เน็ต สื่อรูปแบบต่าง ๆ ครูผู้สอนเลือกใช้ เทคโนโลยเี หล่านตี้ ามความต้องการของนักเรยี นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การทดลอง การมีปฏิสัมพันธ์และความ เป็นอิสระของแต่ละบุคคล เมื่อปรับหลักสูตรโดยใช้เทคโนโลยี ครูผู้สอนต้องพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคนด้วย เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความสามารถและ ประสบการณท์ างเทคโนโลยตี ่างกัน โดยรวมแล้ว ปัจจัยต่าง ๆ ท่ีได้กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าครูผู้สอนจะใช้ความรู้เก่ียวกับนักเรียนแต่ละ บุคคล บริบททางการศึกษา และการเลือกใช้ทรัพยากรท่ีมีให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของนักเรียน เพอ่ื ให้นักเรียนบรรลุประโยชนส์ งู สดุ จากการศึกษาแบบเรียนรวม กลยทุ ธแ์ ละเทคนิคการจดั การเรียนการสอนในช้ันเรียนรวม ในการสอนนักเรยี นในชัน้ เรียนรวม ครูผู้สอนต้องพบกับนักเรียนท่ีมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งเป็นความท้าทายของครูที่จะจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทุกคนได้รับความรู้ เกิดทักษะ และมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ และบรรลุจุดมุ่งหมายท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตรและแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล ซงึ่ ครผู ้สู อนตอ้ งนากลยุทธแ์ ละเทคนคิ วธิ ีการจดั การเรียนการสอนที่มีมากมายมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับความตอ้ งการในชัน้ เรียนของตน อย่างไรก็ตาม บุคลิกลักษณะของครูผู้สอนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งท่ีมีความสาคัญต่อความสามารถ และประสิทธภิ าพในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวมเช่นกัน โดย Westwood (2003) ได้อธิบายลักษณะ ของครผู สู้ อนในช้นั เรียนรวมที่สง่ เสรมิ ให้เกดิ การเรยี นรู้สาหรับนกั เรียนทกุ คน อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ดังนี้ 1) เปิดโอกาสใหน้ กั เรียนทุกคนได้เรยี นรูส้ ูงสดุ 2) ตัง้ ความคาดหวังระดับสงู กับสง่ิ ทน่ี กั เรยี นสามารถทาได้ 3) มคี วามยืดหยนุ่ 4) มีความกระตือรือรน้ ในการสอน

40 5) ใช้กลยทุ ธ์หลากหลายเพือ่ ดึงให้นักเรียนสนใจร่วมกจิ กรรม 6) มีแรงจงู ใจในการทางาน 7) มคี วามคดิ สรา้ งสรรค์ 8) ทางานโดยมุ่งผลสาเร็จ 9) ใช้คาพูดและภาษาเชงิ บวกเสมอ 10) ออกแบบและเลอื กใชส้ อื่ อปุ กรณ์และนวตั กรรมใหม่ในการเรียนการสอนเสมอ 11) แนะนาสือ่ การเรียนการสอนใหม่ๆ ทลี ะขน้ั ตอนอยา่ งชัดเจน 12) มีทักษะการสอนและการอธบิ ายทช่ี ัดเจน 13) วางแผนการสอนลว่ งหน้าเสมอ โดยทบทวนความต้องการจาเปน็ ของนักเรียนแต่ละคน 14) ติดตามการปฏิบตั ิกิจกรรมของนักเรยี นอยา่ งใกล้ชดิ 15) ปรบั การสอนให้สอดคลอ้ งกบั ความต้องการของนักเรยี นแต่ละคน 16) ใหค้ วามเห็นตอ่ การปฏิบัตงิ านของนักเรยี นในทนั ทที ุกคร้ัง 17) มีทกั ษะในการจัดการชน้ั เรยี น 18) ใหค้ วามสาคญั กับจดุ แข็งของนักเรยี นแตล่ ะคน 19) มที กั ษะในการจัดการพฤตกิ รรมและการเสรมิ แรงทางบวก นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องเลือกใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนท่ีส่งเสริมการเรียนรู้และมี ส่วนร่วมของนักเรียนที่มีความตอ้ งการจาเปน็ พิเศษในชั้นเรยี นรวม ซึ่งมีการศึกษาวิจัยจานวนมากท่ีสรุปกลยุทธ์ ในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน เพ่ือบรรลุจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกาหนด (Weswood, 2003; Johnston & Collins,2004; Eskay & Oboegbulem, 2013; Kaplan & Lewis, 2013; Adewumi, Rembe, Shumba, & Akinyemi, 2017; McManis, 2017) 1. ใชห้ ลักการออกแบบการเรยี นรู้ทีเ่ ป็นสากล (Universal Design for Learning: UDL) เพ่อื สร้างช้นั เรยี นรวมท่ีทกุ คนเขา้ ถงึ ได้ การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากลมาจากความปรารถนาท่ีจะให้โอกาสในการเรียนรู้ ทเี่ ท่าเทียมแก่นกั เรียนทุกคนบนแนวคดิ ท่ีวา่ ทกุ คนมรี ูปแบบการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกันและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน โดยหลักการของการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากลน้ันครูผู้สอนต้องคานึงถึงสิ่งที่เรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และ สาเหตุท่ีต้องเรียนรู้เพื่อนามาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เอ้ือต่อการเรียนรู้และตอบสนอง ความตอ้ งการของทกุ คนซง่ึ ประกอบดว้ ย การนาเสนอ การแสดงออกดว้ ยการส่ือสาร และการมีส่วนรว่ ม 1) การนาเสนอ ควรใช้การนาเสนอท่ีหลากหลายรูปแบบ ท้ังภาพ เสียงและที่สัมผัสได้ ใช้ภาษาและสัญลกั ษณ์ทีท่ ุกคนเขา้ ถงึ ได้และใหโ้ อกาสในการทบทวนข้อมลู 2) การแสดงออกด้วยการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ใช้วิธีส่ือสารหลายช่องทาง ทั้งทางร่างกาย คาพดู และการใชค้ วามคิดสร้างสรรค์ 3) การมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจในการทางาน ให้โอกาสในการเลือก เสริมสร้างความ พยายามในการทางาน และการควบคมุ ตวั เอง

41 2. ใชร้ ูปแบบการสอนท่หี ลากหลาย การใช้การนาเสนอสิ่งที่เรียนรู้ด้วยวิธีท่ีหลากหลายเป็นหลักการหน่ึงของการออกแบบ การเรยี นรทู้ ่เี ป็นสากล นกั เรียนบางคนเรียนร้ไู ด้ดดี ้วยการใชส้ ายตา บางคนรับข้อมูลได้ดีด้วยการอ่าน ในขณะท่ี บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง บางคนต้องใช้หลายวิธีท่ีกล่าวมา ครูผู้สอนจึงต้องเลือกวิธีการสอนหลากหลาย รูปแบบให้เหมาะสมกับความชอบและความถนัด ของนักเรียน โดยต้องคานึงถึงการเรียนการสอนตามความ แตกต่างแตล่ ะบคุ คล พร้อมกับการสอนนกั เรียนท้ังชั้น 3. ศึกษาและทาความเขา้ ใจแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรอื IEPเพื่อการวาง แผนการเรียนร้รู ว่ มกับหลกั สูตรทั่วไป ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกันในช้ันเรียนรวม ครูผู้สอน ต้องศึกษาและทาความเข้าใจแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพ่ือทราบความต้องการ เป้าหมาย และความ ชว่ ยเหลอื สนับสนนุ ทีร่ ะบุไว้ในแผน IEP เพือ่ มาปรับใช้เม่อื จัดการเรยี นการสอนในชั้นเรียน นอกจากน้ียังช่วยให้ เข้าใจการทาความรว่ มมอื กบั สหวิชาชีพและผ้ใู หบ้ รกิ ารอน่ื ๆ ท่ีเก่ียวขอ้ ง 4. ส่งเสริมให้นกั เรียนแสดงความชน่ื ชมยกย่องกนั และกัน เน่ืองจากในช้ันเรียนรวม มีนักเรียนท่ีมีความสามารถหลากหลาย ครูผู้สอนควรส่งเสริมให้ นักเรียนแบ่งปันและช่ืนชมความสามารถที่แต่ละคนมีแตกต่างกัน เช่น หากนักเรียนคนหนึ่งมีข้อจากัดในการ เรียนรู้ทางวิชาการแต่มีความสามารถในทางดนตรีและการแต่งเพลง ครูผู้สอนอาจให้นักเรียนแต่งเพลง ที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเพื่อช่วยในการเรียนรู้รายวิชานั้นๆ ให้แก่เพ่ือนในชั้นเรียน หรือให้นักเรียนพิการซ้อน ท่ีชอบวาดรูประบายสีทาโปสเตอร์สาหรับโครงการท่ีเพื่อนในช้ันจะจัดระดมทุน และนักเรียนต้องเรียนรู้ว่าทุก คนสามารถเรยี นรซู้ ึ่งกนั และกัน 5. เลอื กใชส้ ื่อและคาถามท่ีมีความยากง่ายคละกนั ไป การเลือกใชส้ อ่ื หรือคาถามท่ีมีความยากง่ายคละกันในการสอนเร่ืองใดเรื่องหนึ่ง จะช่วยดึง ความสนใจของนักเรียนตามระดับความเข้าใจ นักเรียนที่เข้าใจระดับพื้นฐานจะสามารถตอบคาถามที่ง่ายกว่า ในขณะท่ีนักเรียนท่ีมีความเข้าใจระดับสูงกว่า จะสามารถตอบคาถามท่ีมีความซับซ้อนมากข้ึน ซ่ึงจะช่วยให้ นกั เรียนทุกคนไดม้ ีสว่ นร่วมในการเรียนการสอน ในการสอนเรอ่ื งใดเร่ืองหนงึ่ ครผู ู้สอนควรใชส้ ่ือทีห่ ลากหลาย 6. จัดศนู ยก์ ารเรยี นกลมุ่ ย่อยในชัน้ เรยี น ครผู สู้ อนในช้ันเรียนรวมหลายคนประสบปญั หาการจดั การเรยี นการสอนท่ีตอบสนองความ ต้องการของนักเรียนทุกคนในคราวเดียวกัน การใช้ศูนย์การเรียนกลุ่มย่อยสามารถจัดให้นักเรียนปฏิบัติงาน ท่ีต่างกันตามระดับความสามารถของตนในเวลาเดียวกันได้ เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนมีเวลาสอนรายบุคคลหรือ กลุ่มย่อยตามความต้องการได้ และในขณะท่ีไม่ต้องการการสอนรายบุคคล ครูผู้สอนและผู้ช่วยครูยังสามารถ ให้คาปรึกษาแก่นกั เรยี นในแตล่ ะศนู ย์การเรยี นกลมุ่ ย่อยได้อยา่ งเตม็ ที่ 7. ตง้ั เปา้ หมายให้ชัดเจนก่อนการสอนทกุ ครงั้ นกั เรยี นท่มี ีความตอ้ งการจาเปน็ พเิ ศษในชน้ั เรยี นรวมมีเป้าหมายการศึกษาที่ระบุไว้ในแผน IEP ครูผู้สอนจึงต้องวางแผนการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวมให้บรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผน IEP แทนการ

42 ดึงนักเรียนออกมาสอนในช้ันเรียนพิเศษ เช่น หากในแผน IEP ของเด็กคนหน่ึงระบุให้นักเรียนต้องมีทักษะการ สื่อสารกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ครูผู้สอนต้องจัดให้นักเรียนได้ฝึกทักษะน้ีกับเพื่อนโดยใช้กิจกรรมในกลุ่มย่อย หรือจัดให้นักเรียนที่กาลังเรียนรู้เร่ืองการบอกสีปฏิบัติกิจกรรมกับครูการศึกษาพิเศษในศูนย์การเรียนกลุ่มย่อย เร่ืองแผนที่หรอื งานศิลปะ 8. ใชเ้ ทคนคิ เพ่ือนสอนเพอ่ื น เพ่ือนสอนเพื่อนเป็นการสอนตัวต่อตัวให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษโดย เพ่ือนในชั้นเรียน ท่ีทาหน้าท่ีเป็นผู้สอน ซึ่งวิธีเพ่ือนสอนเพ่ือนน้ีเกิดประโยชน์แก่ท้ังนักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษท่ีจะได้เรยี นรู้จากการสื่อสารจากเพ่อื นในวยั เดยี วกัน ภาษาที่ใชเ้ ขา้ ใจงา่ ย และนักเรียนที่เป็นผู้สอน ไดท้ บทวนความรู้และฝึกทักษะการถา่ ยทอดความรู้ ในการใช้วธิ ีเพื่อนสอนเพ่ือน ครูผูส้ อนสามารถดาเนินการ ดงั นี้ 1) ประเมินความสามารถของนักเรยี นในชั้น 2) เตรียมข้อมูลของนักเรยี นท่ีมีความต้องการจาเป็นพเิ ศษ โดยระบคุ วามสามารถท่ี ตอ้ งการพัฒนาแต่ละดา้ น 3) พจิ ารณาจุดแข็งของนกั เรยี นและคดั เลือกนักเรียนเพื่อเป็นเพื่อนผู้สอน 4) จับคู่เพ่ือนผู้สอนกบั เพอ่ื นผู้เรยี น โดยเพ่ือนผู้สอนต้องเก่งในวิชาน้นั ๆ และเขา้ ใจการ ส่อื สารและถา่ ยทอดความรูใ้ ห้กบั เพื่อนผู้เรียน 5) จดั เตรียมส่อื การสอนใหแ้ ก่เพ่ือนผู้สอน เชน่ กระดานส่ือสารสาหรบั นกั เรียนพิการสมอง ท่มี ีปญั หาด้านการส่อื สาร 6) จัดการอบรมให้แก่เพ่อื นผู้สอนเพ่ือการสอนทีม่ ีประสิทธิภาพ 7) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถและความคาดหวังให้แก่เพ่อื นผ้สู อนทราบ 8) ใหค้ าแนะนาเพื่อนผ้สู อนและเพ่ือนผเู้ รียนพร้อมกันเกี่ยวกบั กิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน 9) จดั สภาพแวดลอ้ มสาหรับกิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน เชน่ นักเรยี นท่ีนงั่ เก้าอล้ี ้อเขน็ ต้องการพ้นื ที่ในการเคล่อื นย้ายมาก 10) คานึงถงึ ความสะดวกของทัง้ สองฝา่ ย 11) ใหแ้ รงเสริมแก่นักเรียนผ้สู อนด้านการสอนทีด่ แี ละความกา้ วหน้าของเพื่อนผูเ้ รยี น 12) สร้างความสัมพนั ธท์ ่ีดรี ะหวา่ งนักเรยี นทง้ั สองฝ่าย โดยให้กาลังใจการปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ีของ แตล่ ะคน 13) ติดตามสังเกตการสอนอย่างต่อเนื่อง 14) เปลี่ยนนักเรียนผู้สอนในแตล่ ะวชิ า แตล่ ะการทดสอบ หรอื แตล่ ะการทบทวนตาม ความจาเป็น 9. ใช้เทคนคิ การเรียนร้แู บบมสี ว่ นร่วม (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กับนักเรียนเป็นกลุ่มเพ่ือให้บรรลุเป้าหมายการ เรียนรู้โดยความร่วมมือและสนับสนุนซ่ึงกันและกัน ซึ่งเหมาะกับชั้นเรียนที่ประกอบด้วยนักเรียนท่ีมีความ ต้องการจาเป็นพิเศษและนักเรียนท่ัวไปเรียนรวมกัน โดยนักเรียนทุกคนต้องได้รับการเตรียมความพร้อมก่อน

43 การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เช่น นักเรียนทั่วไปจะได้ทาความเข้าใจถึงอุปสรรคที่เพื่อนที่มีความต้องการ จาเป็นพิเศษได้รับในการเรียนรู้และพวกเขาจะช่วยเหลือและสนับสนุนได้อย่างไร นักเรียนท่ีมีความต้องการ จาเป็นพิเศษจะได้รับคาแนะนาวิธีเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนทั่วไป นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ในการแก้ปัญหาและ ทางานที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จร่วมกัน แทนการต่างคนต่างแข่งขันกันเรียนในระบบการเรียนท่ัวไป ซ่ึง นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษไม่สามารถเรียนรู้ทันเพื่อนในชั้นเรียนได้ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมยัง ช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษได้ฝึกทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน เช่น มีโอกาสทางาน ถาม คาถาม ขอความช่วยเหลือ ตอบคาถาม เสนอความคิดเห็น เรียนรู้การมีมารยาทที่ดี ในขณะท่ีนักเรียนทั่วไปมี โอกาสพัฒนาทักษะการเป็นผู้นา ทักษะการแก้ปัญหา ได้เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของเพื่อนที่มีความ ต้องการจาเปน็ พเิ ศษดว้ ย ในการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ครูผู้สอนมีหน้าที่ 1) วางแผนการเรียนรู้ 2) อานวยความสะดวก 3) กากับติดตาม และ 4) ประเมินผล โดยครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่ม ครูผู้สอนต้องดูแลให้นักเรียนทุกคนได้แสดงบทบาทตาม ความรบั ผดิ ชอบของตนเอง ในการประเมนิ ครูผสู้ อนต้องพิจารณาระดับความสาเร็จของงานที่มอบหมายในเชิงคุณภาพ และปรมิ าณ ความสมบรู ณข์ องงาน การมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม ความร่วมมือ และความพึงพอใจในงานของกลุ่ม การศึกษาวิจัยจานวนมากพบว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมผลสัมฤทธ์ิทางวิชาการ พัฒนาทักษะ การแก้ปัญหา ทักษะการเป็นผู้นา ทักษะทางสังคม เพ่ิมแรงจูงใจในการเรียนและถ่ายโอนการเรียนรู้ใน สถานการณ์ท่หี ลากหลาย 10. ใชก้ ารเรยี นรภู้ าษา (Language Learning) วิธีการเรียนรู้ภาษาเป็นการผสมผสานการพัฒนาทักษะการอ่านกับการพัฒนาการฟัง การพูด และการเขียนไปพร้อมกัน โดยครูผู้สอนต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดได้แก่ 1) สิ่งท่ีนักเรียนคิด นักเรยี นสามารถพูดหรอื สือ่ สารออกมาได้ 2) สิ่งที่นักเรียนพูดหรอื สื่อสารนักเรียนสามารถเขียน (หรือมีคนเขียน แทน) ได้ และ 3) ส่ิงท่ีนักเรียนเขียน (หรือมีคนเขียนแทน) นักเรียนสามารถอ่านได้ ซึ่งนักเรียนท่ีมีความ ต้องการจาเป็นพิเศษส่วนใหญ่มักมีความยากลาบากในการคิด การพูด และการสื่อสาร ครูผู้สอนต้องใช้ ความพยายามทาความเข้าใจประสบการณ์ของนักเรียนเหล่านั้น หรืออาจใช้วิธีให้ประสบการก่อนกิจกรรม ในชัน้ เรียน แล้วพฒั นาการเรยี นรภู้ าษาไปพร้อมๆ กัน 11. ใชเ้ ทคนิคเรยี นรู้โดยประสาทการรบั ร้หู ลายด้าน นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษเรียนรู้ผ่านวิธีและลีลาการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกันไป และจะเรยี นรู้ได้ดีผา่ นประสาทการรับรู้หลายดา้ น ท้งั การเรียนรูโ้ ดยใช้สายตา การเรียนรู้โดยการได้ยิน และการ เรียนรู้จากสัมผัสทางกาย การเรียนรู้ของนักเรียนจะเกิดขึ้นได้ดีเม่ือนาเสนอเน้ือหาต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ให้นกั เรียนไดใ้ ชป้ ระสาทการรับรู้ได้มากท่ีสุด ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสมมากสาหรับนักเรียนพิการซ้อนท่ีต้องการเรียนรู้ ซา้ ๆ ผ่านส่อื ต่าง ๆ

44 12. ใช้กลยุทธพ์ ัฒนาสู่การอ่านออกเขยี นได้ (Breakthrough to Literacy Programmed) ก า ร พั ฒ น า สู่ ก า ร อ่ า น อ อ ก เ ขี ย น ไ ด้ เ ป็ น ก ล ยุ ท ธ ก า ร ส อ น ท่ี ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ นั ก เ รี ย น ที่ มี ความต้องการจาเป็นพิเศษโดยเฉพาะนกั เรยี นท่ีมขี อ้ จากัดด้านการอ่าน ไมส่ ามารถจาสิ่งที่อ่านได้ เกิดการเรียนรู้ การอ่านจากการมสี ว่ นร่วมในประสบการณ์จรงิ ซง่ึ สามารถทาได้ ดังนี้ 1) ให้นกั เรยี นเล่าประสบการณ์ของตนเอง 2) ครผู สู้ อนเตรยี มบัตรคาที่ประกอบด้วยประโยคงา่ ยๆ ทนี่ ักเรยี นเล่า 3) ครผู สู้ อนเรียงประโยคตามเร่ืองทีน่ ักเรยี นเล่าและอา่ นออกเสียงดัง 4) นักเรยี นอา่ นประโยคเหลา่ นน้ั ตามและฝึกจนสามารถอา่ นได้ดว้ ยตนเอง 13. การวเิ คราะห์งาน (Task Analysis) การวิเคราะห์งานเป็นการแบ่งงานท่ีนักเรียนต้องเรียนรู้ออกเป็นข้ันตอนท่ีสอนได้ย่อยๆ ให้นักเรียนเรียนรู้งานเป็นลาดับขั้น โดยงานในขั้นต่อไปจะสอนได้ต่อเม่ือนักเรียนสามารถทางานข้ันก่อนหน้า ผา่ นแลว้ ซึ่งการวเิ คราะหง์ านใช้ไดท้ ง้ั กับการสอนกิจวัตรประจาวนั และเนื้อหาวิชาการ เทคนิคการสอนท่ีกล่าวมาข้างต้น ครูผู้สอนสามารถนามาใช้ได้กับนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน รวมท่ีมีนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษประเภทต่างๆ เรียนรวมอยู่ด้วย กลยุทธการสอนเหล่าน้ีช่วยให้ นักเรยี นสามารถเข้าใจเน้ือหาหลักสูตรได้ดีขึ้นสอดคล้องกับระดับความสามารถของพวกเขา โดยครูผู้สอนต้อง เลอื กวธิ ีการสอนทีเ่ หมาะสมกบั นกั เรียนที่มีความตอ้ งการจาเป็นพิเศษ รวมถึงนักเรียนอื่นๆ ในช้ันเรียนรวมด้วย นอกจากการเลือกวิธกี ารเรียนการสอนทส่ี ง่ เสรมิ การเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว ส่ิงหน่ึงที่ครูผู้สอนต้องคานึงถึงเมื่อ จัดการเรียนรู้ใหน้ ักเรยี นในชั้นเรียนรวมคอื การวดั และประเมนิ ผล ซง่ึ จะได้กลา่ วในลาดับตอ่ ไป การวัดและประเมินผลนกั เรยี นท่ีมีความตอ้ งการจาเปน็ พเิ ศษในชั้นเรยี นรวม การวัดและประเมินผลเป็นกระบวนการตรวจสอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และ การพัฒนาความก้าวหน้าของนักเรียน ซึ่งในช้ันเรียนรวมท่ีมีนักเรียนท่ีหลากหลาย ครูผู้สอนไม่สามารถใช้การ ประเมินผลวิธีใดวิธีหนึ่งวัดและประเมินความสามารถของนักเรียนทุกคนในเวลาเดียวกันได้ การวัดและ ประเมินผลนักเรียนท่ีมีความต้องการจาเป็นพิเศษในช้ันเรียนรวมจึงต้องยืดหยุ่นและปรับให้สอดคล้องกับ ความสามารถของนักเรียนเช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนนักเรียนทั่วไป ระบบการวัดและประเมินผล ต้องมีความยุติธรรมและสะท้อนความสามารถและศักยภาพของนักเรียนได้อย่างแท้จริง (Christensen, Carver, Andesine & Lazarus, 2011; Kaplan & Lewis, 2013) การประเมินผลประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการวัดผลการเรียนรู้คือ การประเมินผลรวบยอด (Summative Assessment) ซึ่งเป็นการประเมินที่มักให้ความสาคัญกับผลลัพธ์ คะแนน และการจัดอันดับ เม่ือสิ้นสุดการเรียนการสอน ซ่ึงสะท้อนภาพการเรียนรู้จริงได้เพียงบางส่วน รวมทั้งอาจไม่เอ้ือต่อนักเรียนที่มี ความต้องการจาเป็นพิเศษที่มีข้อจากัดในการทาแบบทดสอบเหล่าน้ัน ทาให้ไม่สามารถประเมินการเรียนรู้ของ นักเรียนกลมุ่ น้ไี ด้จรงิ ดังนน้ั การใช้การประเมินรวบยอดเพียงอย่างเดียวจึงไม่สนับสนุนการเรียนรู้และไม่เอ้ือต่อ การจดั การศึกษาแบบเรยี นรวม(Kaplan & Lewis, 2013)

45 อยา่ งไรก็ตามในการวัดและประเมินผลสาหรับนักเรียนในชั้นเรียนรวม ครูผู้สอนต้องพิจารณา ใช้การวัดและประเมินผลทมี่ ีแนวทางการดาเนนิ งานอยา่ งต่อเน่ือง เพ่ือติดตามผลและตรวจสอบความก้าวหน้า ของนักเรียนเป็นระยะตลอดกระบวนการเรยี นรู้ ให้ความสาคญั กับข้อมูลการเรยี นรูเ้ ชิงประจักษ์ในรูปแบบต่างๆ โดยการประเมินอย่างตอ่ เนือ่ งจะชว่ ยให้ครผู สู้ อนนาผลการประเมินมาใชใ้ นการปรับปรงุ วิธกี ารเรียนรู้ในระหว่าง จัดการเรียนการสอน ทาให้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขรูปแบบและวิธีการเรียนรู้เพื่อสนองตอบความต้องการ จาเป็นทางการเรียนรู้ของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น (Christensen, Carver, Andesine & Lazarus, 2011; Kaplan & Lewis, 2013) นอกจากน้ี ครูผู้สอนยังต้องพิจารณาการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ซึ่งสามารถใช้ ตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนระหว่างการเรียนรู้ในช้ันเรียนรวม เนื่องจากการประเมิน ตามสภาพจริงเป็นการประเมินความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆ โดยผ่านกระบวนการสังเกต การบันทึก การรวบรวมข้อมูลจากผลงาน และการปฏิบัติงานจริงของนักเรียน เป็นการประเมินท่ีให้โอกาสนักเรียน มีส่วนร่วมในการประเมินและรับรู้ความสามารถของตนเอง จึงสอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียนการสอน แบบเรียนรวม (Christensen, Carver, Andesine & Lazarus, 2011; Kaplan & Lewis, 2013) การวัดและประเมินผลการศึกษาแบบเรียนรวมจึงควรเป็นการประเมินผลตามสภาพจริงที่มี การดาเนินการอย่างต่อเน่ือง ซ่ึงอาจใช้ร่วมกับการประเมินรวบยอดโดยใช้ แบบทดสอบในบางกรณี การประเมินผลการศึกษาแบบเรียนรวม โดยใช้ตัวช้ีวัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และใช้มาตรฐานแสดง พัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการประเมิน หลากหลายรูปแบบ เช่น การสังเกต แฟ้มสะสมผลงาน การทดสอบย่อย การประเมินตนเอง บันทึก และการ เขียนสะท้อนคิด เป็นต้น โดยยืดหยุ่นตามความสามารถและความต้องการจาเป็นของนักเรียนแต่ละคน (Kaplan & Lewis, 2013) นอกจากครูผู้สอนจะใช้หลักการประเมินผลตามสภาพจริงที่มีการดาเนินการอย่างต่อเนื่อง อาจพจิ ารณาวธิ ีการประเมนิ ตอ่ ไปนรี้ ่วมดว้ ย (Kaplan & Lewis, 2013) 1) ปรบั นา้ หนักการใหค้ ะแนน ในการคานวณคะแนนเพ่ือรายงานผลการประเมินที่ได้จากเครื่องมือต่างๆ เช่น การทดสอบ ย่อย แฟ้มสะสมผลงาน หรือการสังเกต ครูผู้สอนอาจพิจารณากาหนดน้าหนักของคะแนนแต่ละกิจกรรม การประเมินมากน้อยตา่ งกนั โดยให้เหมาะสมและสอดคล้องกบั ระดับความสามารถของนักเรียนแตล่ ะคน 2) ใชก้ ารสังเกตอย่างไมเ่ ป็นทางการ การสังเกตนักเรียนตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียนจะช่วยให้ได้ข้อมูลความก้าวหน้าและ ความตอ้ งการในการเรยี นรู้ของนกั เรยี นได้ การเก็บขอ้ มูลโดยใช้การบันทึก การตรวจสอบรายการ หรือวิธีอ่ืน ๆ ช่วยให้ครูผู้สอนติดตามจุดแข็งจุดอ่อนของนักเรียน โดยเฉพาะข้อมูลความก้าวหน้าท่ีไม่สามารถเห็นจากการ ทดสอบทั่วไปได้