การอ านเพ อจ บใจความส าค ญ ม ล กษณะอย างไร

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ค ว า ม รู้ ทั่ ว ไ ป

เ กี่ ย ว กั บ ก า ร อ่ า น

จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

ETH0406 การอ่านคิด

พัฒนาชีวิต

คำนำ

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อนำไปใช้ ในการเรียนรู้ ส่วนผู้อ่านจะได้ทราบวิธีการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการอ่านจับใจความ สำคัญ การจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อ ศึกษา ความรู้ความเข้าใจเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ การอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดองค์ ความรู้ และทักษะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใต้ใน การจัดการเรียนการสอนต่อไป

จัดทำโดย คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

01 ความหมายการอ่านจับใจความสำคัญ 02 ประเภทของการอ่านจับใจความสำคัญ 03 ขั้นตอนของการอ่านจับใจความสำคัญ 04 เทคนิคการอ่านจับใจความสำคัญ 05 ทฤษฎีที่เน้นการวิเคราะห์ข้อความ

ในการอ่านจับใจความสำคัญ

06 ตัวอย่างบทความการอ่านจับใจความ สำคัญ

07 บรรณานุกรม

1

การอ่านจับใจ ความสำคัญ

E-BOOK

ความหมายการอ่าน 2 จับใจความสำคัญ

จิตต์นิภา ศรีไสย์ (2549: 30) กล่าวว่า การอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึง เมื่อผู้อ่านได้อ่านเรื่องนั้น ๆ แล้วสามารถจับประเด็นสำคัญ ของข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ และโดยสรุปอย่างย่อ ๆ โดยรู้จักแยกแยะประเด็นสำคัญว่าอะไรเป็นประเด็นหลัก อะไรเป็น ประเด็นรองลงมาได้ถูกต้อง แล้วสามารถมีความคิดที่เป็นระบบ โดยนำข้อความมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันได้โดยใช้ภาษาของผู้จับใจ ความสำคัญเอง

ความหมายการอ่าน 3 จับใจความสำคัญ

ผกาศรี เย็นบุตร (2542: 137) ให้ความหมายว่าการ อ่านจับใจความหมายถึง การอ่านเพื่อเก็บสาระสำคัญของเรื่อง ที่อ่าน เช่น เก็บจุดมุ่งหมายสำคัญของเรื่อง เก็บเนื้อเรื่อง เก็บ แนวคิดหรือทัศนคติของผู้เขียน เก็บข้อเท็จจริงหรือความรู้สึก อารมณ์ของผู้เขียน สาระสำคัญต่าง ๆ นี้บางครั้งผู้อ่านก็ สามารถจะเห็นได้ชัดเจนเพราะผู้เขียนบอกออกมาตรง ๆ แต่ บางครั้งผู้อ่านจะต้องใช้ความสามารถเชิงตีความ หรือการใช้ วิจารณญาณ ตลอดจนประสบการณ์ช่วยจึงจะค้นพบ

ความหมายการอ่าน 4 จับใจความสำคัญ

พนิตนันท์ บุญพามี (2542: 77) กล่าวว่าการอ่านจับใจความ คือ การอ่านเพื่อจับประเด็นสำคัญ ๆ หรือเก็บสาระสำคัญในแต่ละ ย่อหน้า ความคิดสำคัญของเนื้อหามักจะปรากฏอยู่ที่ประโยคแรก ๆ ของแต่ละย่อหน้า เพราะโดยปกติการขึ้นย่อหน้าใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนเรื่องพูด การอ่านจับใจความเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนด้วย การอ่านอย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้อ่านได้รวดเร็ว และจับใจความได้ ถูกต้อง

ความหมายการอ่าน 5 จับใจความสำคัญ

สมบัติ จำปาเงิน และสำเนียง มณีกาญจน์ (2548: 93 - 94) แสดงทัศนะว่าการอ่าน จับใจความเป็นการอ่านที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้สามารถจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า หรือหลาย ๆ ย่อหน้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งใจความสำคัญ ได้แก่ ข้อความที่ทำหน้าที่ครอบคลุมใจความของข้อความอื่น ๆ ในตอน นั้น ๆ ไว้ทั้งหมด ข้อความที่เหลือเป็นเพียงรายละเอียด หรือส่วน ขยาย ใจความสำคัญเท่านั้น

ความหมายการอ่าน 6 จับใจความสำคัญ

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2540 : 88) ให้ความหมายของการอ่าน จับใจความสำคัญว่า การอ่านจับใจความสำคัญ 4 ลำดับขั้น คือ

  1. การแปลความของสัญลักษณ์ที่ปรากฏในสาร
  2. การทำความเข้าใจ ความหมายของคำ ประโยคและข้อความ
  3. การจับใจความสำคัญและแนวคิดของผู้เขียน
  4. กระบวนการคิดที่เกิดขึ้นขณะที่ทำความเข้าใจสัญลักษณ์

ความหมายการอ่าน 7 จับใจความสำคัญ

สรุปได้ว่าการอ่านจับใจความสำคัญ คือ การอ่านจับประเด็นหรือ สาระสำคัญของสารที่อ่าน ซึ่งวิธีการอ่านก็จะแตกต่างตามความยากของสาร อาทิ

  1. ใจความสำคัญปรากฏชัดในย่อหน้า
  2. ใจความสำคัญไม่ปรากฏชัดในย่อหน้าผู้อ่านต้องใช้การสรุป ความด้วยภาษาของตนเอง
  3. สารที่ต้องตีความเพราะผู้เขียนไม่กล่าวตรง ๆ ต้องใช้ความ สามารถในการตีความจึงจะเข้าใจสาระที่แท้จริง

8

ประเภทของ การอ่านจับใจ

ความสำคัญ

E-BOOK

9

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

วนิดา พรมเขต (2559) การอ่านจับใจความสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า 2. การจับใจความสำคัญด้วยการสรุปความซึ่งผู้เขียนจะได้ อธิบายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 1. การจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า

1.1 ส่วนประกอบของย่อหน้า จิตต์นิภา ศรีไสย์ (2549: 30) กล่าวว่าในแต่ละย่อหน้าจะมี ส่วนประกอบดังนี้

1.1.1 ใจความสำคัญหรือประเด็นหลักหมายถึงข้อความ สำคัญที่สุดในแต่ละย่อหน้าจะตัดข้อความสำคัญนั้นออกไม่ได้ เพราะจะไม่ได้ความหมายขาดส่วนสำคัญไป

1.1.2 ใจความรองประเด็นรองหรือพลความหมายถึง ข้อความสำคัญรอง ๆ ลงไปสามารถตัดทิ้งได้ไม่ทำให้ข้อความใน ย่อหน้านั้นเปลี่ยนความหมายในส่วนของใจความรองผู้เขียนใช้เป็น ส่วนขยายประโยคใจความสำคัญเป็นส่วนการสนับสนุนด้วยการยก ตัวอย่างเปรียบเทียบให้ข้อมูลตัวเลขสถิติ ฯลฯ ซึ่งช่วยให้เข้าใจเนื้อ เรื่อง

10

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

1.2 ตำแหน่งของใจความสำคัญ แววมยุรา เหมือนนิล (2541: 26-32) กล่าวถึงตำแหน่ง

ของใจความสำคัญ มี 3 ตำแหน่งดังนี้ 1. ประโยคตอนต้นย่อหน้าเป็นจุดที่พบใจความสำคัญ

ของเรื่องในแต่ละย่อหน้ามากที่สุด เพราะผู้เขียนมักบอกประเด็น สำคัญไว้ก่อนแล้วขยายรายละเอียดเพื่อให้ชัดเจนในภายหลัง

2. ประโยคตอนท้ายย่อหน้าเป็นจุดที่พบใจความสำคัญ มากรองลงมาจากประโยคตอนต้นย่อหน้าโดยผู้เขียนจะบอกราย ละเอียดหรือประเด็นย่อยมาก่อนแล้วสรุปด้วยประโยคที่เก็บ ประเด็นสำคัญไว้ภายหลัง

3. ประโยคตอนกลางย่อหน้าเป็นจุดที่ค้นพบใจความ สำคัญได้ยากขึ้น เพราะผู้อ่านต้องพิจารณาเปรียบเทียบให้ได้ว่า สาระสำคัญที่สุดอยู่ที่ประโยคใด

11

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า

1. การอ่านจับใจความสำคัญประโยคตอนต้นย่อหน้า

“อะไรที่ยากไม่ใช่เพราะมันยากแต่เพราะว่าเรายังไม่สามารถ พิชิตมันได้เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถพิชิตได้มันจะง่ายไปเสียทั้งหมด ฉะนั้นอะไรที่เห็นว่ายากเพราะว่าเรายังให้เวลากับเขาน้อยไปเรียนรู้ เขาน้อยไปเราต้องพัฒนาต้องฝึกฝนไปเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดมันก็จะ ง่ายสำหรับเรา”

ใจความสำคัญคือ : อะไรที่ยากไม่ใช่เพราะมันยากแต่เพราะว่า เรายังไม่สามารถพิชิตมันได้

ว.วชิรเมธี (2555, 9)

12

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า

2. การอ่านจับใจความสำคัญประโยคตอนท้ายย่อหน้า

“ขนมส่วนมากจะมีรสชาติเหมือนกันทั้งโลกไอศกรีมฝอย ทอง ช็อกโกแลตปักกิ่งกูลิโกะ ท่านที่เลิกกินไปนานกลับตัวกลับใจมากิน ใหม่เดี๋ยวนี้เชื่อผมเราต้องการความหวานจากขนมหลังจากที่คุณเจอ ความขมจากความเครียด”

ใจความสำคัญคือ : เราต้องการความหวานจากขนมหลังจากที่ คุณเจอความขมจากความเครียด

อุดม แต้พานิช (2556, 70)

13

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า

3. การอ่านจับใจความสำคัญประโยคตอนกลางย่อหน้า

“สำหรับ “ขนมจีน” นั้นแม้นักวิชาการจะสันนิษฐานว่าอาหารเส้น ทั้งหลายในโลกนี้จะมี ต้นกำเนิดจากเมืองจีนแต่คำว่าขนมจีนในภาษา ไทยนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพันธุ์มังกรแต่อย่างใดเนื่องจากคำนี้ เพี้ยนมาจากภาษามอญว่า “คะนอมเจอญ” หรือ “คนอมจิน”หมาย ถึงแป้งที่ถูกทำให้สุกและไม่ได้มีรับประทานกันแต่เพียงชาวมอญกับ ชาวไทยแต่ในกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาทิ กัมพูชาก็ลิ้มรสอันโอชาของขนมจีนกันมาแสนนานโดยเรียกว่าคนอม จินเช่นเดียวกับมอญ”

ใจความสำคัญคือ : คำว่าขนมจีนในภาษาไทยนั้นไม่ได้เกี่ยวข้อง กับชนเผ่าพันธุ์มังกรแต่อย่างใดเนื่องจากคำนี้เพี้ยนมาจากภาษามอญ ว่า “คะนอมเจอญ” หรือ “คนอมจิน

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2556, 83)

14

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า

4. การอ่านจับใจความสำคัญประโยคตอนต้นและ ประโยคตอนท้ายย่อหน้า

“คนที่ไม่มีความสุขเพราะต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์และยังขาด กัลยาณมิตรเขาจะจมอยู่กับความทุกข์และบางทีถูกความทุกข์ประดัง ประเดถาโถมเข้ามาเล่นงานจนกระทั่งแตกดับไปกับความทุกข์แต่ถ้า เขามีกัลยาณมิตรคนที่คอยชี้ทิศนำทางให้เห็นคุณค่าของความสุขเขาก็ พ้นทุกข์ได้ฉะนั้น ความทุกข์นั้นจะประเสริฐก็ต่อเมื่อเรามีกัลยาณมิตร “กัลยาณมิตร”คือคนที่คอยชี้ทิศนำทางให้เราเห็นว่าในทุกข์มีสุข เสมอ”

ใจความสำคัญตอนต้นคือ : คนที่ไม่มีความสุข เพราะต้องเผชิญ หน้ากับความทุกข์และยังขาดกัลยาณมิตรเขาจะจมอยู่กับความทุกข์ และตอนท้ายคือความทุกข์นั้นจะประเสริฐก็ต่อเมื่อเรามีกัลยาณมิตร “กัลยาณมิตร”คือคนที่คอยชี้ทิศนำทางให้เราเห็นว่าในทุกข์มีสุขเสมอ

แววมยุรา เหมือนนิล (2541, 26-32)

15

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏในย่อหน้า

4. การอ่านจับใจความสำคัญประโยคตอนต้นและ ประโยคตอนท้ายย่อหน้า

“คนที่ไม่มีความสุขเพราะต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์และยังขาด กัลยาณมิตรเขาจะจมอยู่กับความทุกข์และบางทีถูกความทุกข์ประดัง ประเดถาโถมเข้ามาเล่นงานจนกระทั่งแตกดับไปกับความทุกข์แต่ถ้า เขามีกัลยาณมิตรคนที่คอยชี้ทิศนำทางให้เห็นคุณค่าของความสุขเขาก็ พ้นทุกข์ได้ฉะนั้น ความทุกข์นั้นจะประเสริฐก็ต่อเมื่อเรามีกัลยาณมิตร “กัลยาณมิตร”คือคนที่คอยชี้ทิศนำทางให้เราเห็นว่าในทุกข์มีสุข เสมอ”

ใจความสำคัญตอนต้นคือ : คนที่ไม่มีความสุข เพราะต้องเผชิญ หน้ากับความทุกข์และยังขาดกัลยาณมิตรเขาจะจมอยู่กับความทุกข์ และตอนท้ายคือความทุกข์นั้นจะประเสริฐก็ต่อเมื่อเรามีกัลยาณมิตร “กัลยาณมิตร”คือคนที่คอยชี้ทิศนำทางให้เราเห็นว่าในทุกข์มีสุขเสมอ

แววมยุรา เหมือนนิล (2541, 26-32)

16

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

2. การจับใจความสำคัญด้วยการสรุปความ 2.1 ลักษณะการอ่านสรุปใจความ การจับใจความสำคัญด้วยการสรุปความซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า

“การอ่านสรุปใจความสำคัญ” มักพบในสารที่ไม่ปรากฏประโยคใด อย่างชัดเจนอาจอยู่ในหลายประโยคหรืออยู่รวม ๆ ในย่อหน้าซึ่งผู้อ่าน จะต้องสรุปออกมาเองนับเป็นใจความสำคัญที่ยากกว่าอย่างอื่นอาจจะ ใช้วิธีการตั้งคำถามแล้วตอบตัวเองให้ได้ว่า ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ อย่างไรทำไมซึ่งจะทำให้มองเห็นส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญและส่วนที่ เป็นประเด็นเสริมหรือการขยายความง่ายขึ้น

17

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านสรุปใจความสำคัญ

“เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเจ้าชายอัลวาลีดบินทาลาลแห่ง ซาอุดิอาระเบียทรงออกมาโต้เถียงกับนิตยสารฟอร์บส์เรื่องที่พระองค์ ทรงเห็นว่ามูลค่าทรัพย์สินของพระองค์ในการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลก นั้นไม่เป็นความจริงถูกประเมินต่ำไป โดยอยู่ที่แค่ประมาณ 6 แสนล้าน บาททั้งที่จริงแล้วพระองค์มีประมาณ 9 แสนล้านบาทนิตยสารฟอร์บส์ ประเมินผิดพลาดไปถึง 3 แสนล้านบาทเลยทีเดียว”

ภาวนา คนตรง และสุจิตรา สมแสง (2556, 106)

18

ประเภทของการอ่าน

จับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการอ่านสรุปใจความสำคัญ

ตอบคำถาม ใคร : เจ้าชายอัลวาลีดบินทาลาลแห่งซาอุดิอาระเบีย ทำอะไร : ทรงออกมาโต้เถียงกับนิตยสารฟอร์บส์ ทำไม : เพราะประเมินทรัพย์สินของพระองค์ต่ำกว่าความเป็นจริงถึง 3 แสนล้านบาท สรุปใจความสำคัญ : เจ้าชายอัลวาลีดบินทาลาลแห่งซาอุดิอาระเบีย ทรงออกมาโต้เถียงกับนิตยสารฟอร์บเรื่องการประเมินทรัพย์สินของ พระองค์ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงถึง 3 แสนล้านบาท

19

ขั้นตอน การอ่านจับใจความ

20

ขั้ น ต อ น ข อ ง ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

1.พิจารณาคำ หรือประโยค เพื่ อให้เข้าใจความหมาย

ของคำ หรือประโยคได้ถูกต้องตามที่ ผู้เขียนต้องการสื่ อ 2.พิจารณาจุดมุ่งหมายของงานเขียน ว่างานเขียนนั้นมี

จุดมุ่งหมายอย่างไรผู้เขียนต้องการ โน้มน้าวใจผู้อ่าน

ห รื อ เ ป็ น ก า ร แ ส ด ง เ ห ตุ ผ ล ใ ห้ ผู้ อ่ า น คิ ด 3.พิจารณาน้ำเสียงของผู้เขียน ซึ่งจะแฝงอยู่ในงานเขียน

นั้นว่าจะเป็นไปในทำนองใด เช่น เป็นการเขียนตรงไป

ตรงมา ประชดประชัน แข็งกร้าว หรือเขียนด้วยอารมณ์

ขั น ใ น ทำ น อ ง ยั่ ว ล้ อ 4.พิจารณาเนื้ อหาสาระของงานเขียน ซึ่งผู้อ่านจะต้อง

อ่านข้อความอย่างละเอียด และตีความใน แต่ละ

ประโยคให้ถ่องแท้ และพยายามจับประเด็นสำคัญใน

งานเขียน

21

ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ส า ม า ร ถ ดำ เ นิ น ก า ร ต า ม ขั้ น ต อ น ไ ด้ ดั ง นี้

1.อ่านผ่าน ๆ โดยตลอด เพื่ อให้รู้ว่าเรื่ องที่อ่านว่าด้วย

เรื่ องอะไร จุดใดเป็นจุดสำคัญของเรื่ อง 2.อ่านอย่างละเอียด เพื่ อทำความเข้าใจอย่างชัดเจน

ไม่ควรหยุดอ่านระหว่างเรื่ องเพราะจะทำ ให้ความ

เ ข้ า ใ จ ไ ม่ ติ ด ต่ อ กั น 3.อ่านซ้ำในตอนที่ไม่เข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจ

บ า ง ต อ น ใ ห้ แ น่ น อ น ถู ก ต้ อ ง 4. เรียบเรียงใจความสำคัญของเรื่ องด้วยตนเอง

22

เ ท ค นิ ค ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

23

เทคนิคการอ่านจับใจความสำคัญ

1. ผู้อ่านควรเริ่มต้นอ่านเพื่อจับใจความส่วนรวมก่อน โดย

สำรวจส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าว ๆ ด้วยการพลิกดูและ

กวาดสายตาผ่านหัวข้อต่างๆ ทั้งใหญ่และย่อยในเวลาอันรวดเร็ว

2. ผู้อ่านควรตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน 3. ผู้อ่านจะเป็นต้องมีความสามารถทางภาษา โดยเฉพาะการ

มีทักษะในการแปล ความหมายของคำ ประโยค และข้อความต่าง ๆ 4. ผู้อ่านที่มีประสบการณ์หรือภูมิหลังของเรื่องที่อ่านจะ

สามารถทำความเข้าใจ และจับใจความเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น 5. ความเข้าใจลักษณะของหนังสือ หนังสือแต่ละประเภทมี รูปแบบการแต่งและเป้าหมายของเรื่องที่แตกต่างกัน 6. ใจความสำคัญมีเพียงหนึ่งถึงสองประโยคในแต่ละย่อหน้า

ถ้าเรื่องหนึ่งมีหลายย่อหน้าย่อมแสดงว่ามีใจความสำคัญหลาย

ประเด็น เมื่อนำประเด็นสำคัญในแต่ละย่อหน้ามาพิจารณาร่วมกัน

แล้วจะทำให้สามารถจับแก่นของเรื่อง หรือแนวคิดสำคัญที่สุดของ

เรื่องได้ 7. ใจความสำคัญมักพบที่ประโยคตอนต้นย่อหน้า ซึ่งเป็น จุดที่พบได้มากที่สุดเพราะผู้เขียนจะบอกประเด็นสำคัญก่อนแล้ว

ขยายรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้นในภายหลัง บางครั้งก็พบใจความ

สำคัญที่ประโยคตอนท้ายย่อหน้า บางครั้งอยู่ตอนกลางของย่อหน้า

แต่บางย่อหน้าผู้อ่านต้องสรุปเอง โดยใช้วิธีตั้งคำถามแล้วตอบตัวเอง

ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และทำไม

24

เทคนิคการอ่านจับใจความสำคัญ

8. ผู้อ่านสามารถจับใจความสำคัญด้วยการตัดประโยคหรือ

ข้อความที่เป็นพลความหรือส่วนขยายออกจากย่อหน้า ส่วนที่ตัดออก

ได้แก่ ส่วนขยายหรือรายละเอียด ข้อความเปรียบเทียบ

9. ผู้อ่านควรใช้สายตากวาดจับเพื่อการสรุปความ โดยกวาง

สายตาไล่ตามบรรทัดไม่ควรย้อนกลับวนไปมา

10. เก็บใจความสำคัญด้วยการขีดเส้นใต้ หรือตีเส้นรอบกรอบ

ข้อความสำคัญ

11. หลังจากอ่านจับใจความแล้ว ผู้อ่านควรสรุปความด้วย

สำนวนภาษาของตนเอง

อย่างไรก็ตามความเข้าใจในรูปแบบของงานเขียน ความเข้าใจ

ในองค์ประกอบของหนังสือ ความสามารถในการอ่านเร็ว และการ

บันทึก สาระสำคัญด้วยภาษาของตนเอง ก็จัดเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ผู้

อ่านสามารถจับใจความสำคัญได้ดี

พนิตนันท์ บุญพามี (2542, 78-87)

25

ท ฤ ษ ฎี ที่ เ น้ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ ค ว า ม ใ น ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ

ค ว า ม สำ คั ญ

ท ฤ ษ ฎี ที่ เ น้ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ ค ว า ม 26 ใ น ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

สุนันทา มันเศรษฐวิทย์ (2545) ได้กล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกบ

การอ ั า่ นจับใจความทฤษฎีที่เน้นการวิเคราะห์ข้อความว่าเป็นการให้

ความสำคัญขององค์ประกอบย่อยของประโยค นอกจากนั้นต้องรู้จัก

คำชนิดต่าง ๆ การเข้าใจหน้าที่และความหมายที่แท้จริงจะช่วยให้

เข้าใจความหมายของข้อความหรือเรื่องที่อ่าน การศึกษาในทฤษฎีนี้

ได้แก่ Dawes และ Frederiken ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ทฤษฎีของ Dawes กล่าวว่า ข้อความหรือเรื่องราวที่ได้รับ

การแก้ไขปรับปรุง ประโยคให้มีความเกี่ยวข้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จนให้ ผู้อ่านเข้าใจ แม้บางครั้งประโยคแต่ละประโยคไม่ได้เกี่ยวข้อง

หรือสัมพันธ์กันหากผู้อ่านพยายามดึงความหมายให้มาเกี่ยวข้อง ก็

สามารถสร้างความสัมพันธ์ของประโยคได้ ข้อความในประโยคแต่ละ

ประโยคมีความเชื่อมโยงเป็นลำดับ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เมื่อ

นักเรียนได้อ่านแล้วจะมีการแปลความหมายของแต่ละประโยคและนำ

หลาย ๆ ประโยคมาเชื่อมโยงกันจนเข้าใจเรื่องที่อ่าน

2. ทฤษฎีของ Frederiken ทฤษฎีนี้ได้นำโครงสร้างทางหลัก

ภาษา เป็นแกนสำหรับ สร้างความเข้าใจในการอ่าน คือ ผู้อ่านจำเป็น

ต้องทำความเข้าใจความหมายของถ้อยคำในประโยค เข้าใจหน้าที่

ของคำ การนำถ้อยคำมาเชื่อมโยงโดยอาศัยวิธีการตามหลักภาษา ถ้า

ผู้อ่านเข้าใจโครงสร้างทางหลักภาษาก็จะเข้าใจความหมายของ

ประโยค

ท ฤ ษ ฎี ที่ เ น้ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ ค ว า ม 27 ใ น ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

นอกจากนั้น Frederiken ยังได้กล่าว ต่อไปว่าการอ่านเป็นกระ บวนการที่คล้ายกับโปรแกรมของเครื่องคิดเลข เมื่อใส่สารเข้าไปใน โปรแกรมแล้ว จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์จากผู้อ่านว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้โดยใช้ประสบการณ์เดิม ของผู้อ่านมาเปรียบเทียบหรือตัดสิน เมื่อ ได้รับการพิสูจน์แล้วจึงทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยการเก็บส่วนที่ เป็นความรู้ไว้ในสมอง ส่วนที่ไม่จำเป็นก็จะทิ้งไป ความรู้เก็บไว้นั้นจะ ได้รับการนำมาใช้เมื่อถึงเวลา

สรุปได้ว่า ทฤษฎีที่เน้นการวิเคราะห์ข้อความ เน้นความสำคัญ ของส่วนประกอบ ภายใน ประโยค ตลอดจนหน้าที่ของคำและประเภท ของคำโดยเมื่อผู้อ่านอ่านสาระแล้ว ผู้อ่านจะพิสูจน์สาระกบ ประสบการณ์เดิม สาระที่ไม่จำเป็นจะถูกตัดทิ้งและนำสาระที่ถูกต้อง ออกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ

ท ฤ ษ ฎี ที่ เ น้ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ ค ว า ม 28 ใ น ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

ตัวอย่างการนำทฤษฎีของ Frederiken มาใช้ใน การอ่านจับใจความสำคัญจากบทความ "ที่เรียกว่า.....น้ำ"

น้ำที่อยู่บนผิวโลกตามแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ หนอง บีง ทะเล

มหาสมุทร เมื่อ ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ จะระเหยกลายเป็นไอรวม

กันมากขึ้นจนกลายเป็นฝน เมื่อตกสู่พื้นดินจะ ผ่านป่าไม้ ทุ่งหญ้า และ

ชั้นของดินซึมลงสู่เบื้องล่างไหลไปตามชั้นของดิน บางส่วนซึมอยู่ไม่ลึก

นัก ขุดลงไปจะพบเรียกว่า "น้ำบ่อ" ส่วนน้ำที่ไหลไปตามชั้นหินทราย

ซึ่งมีชั้นหินทราย ซึ่งมีชั้น หินดินดานรองรับเมื่อขุดเจาะขึ้นมาใช้เรียก

ว่า "น้ำบาดาล" บางส่วนของน้ำจะไหลกลับไปสู่แม่น้ำ ลำคลอง หนอง

บึง ทะเลสาบ ฯลฯ และถูกความร้อนเผาให้ระเหยกลายเป็นไอเช่น

เดียวกับดินที่ ชื้นแฉะ การคายน้ำของพืช การหุงต้ม และการทำงาน

ของโรงงานอุตสาหกรรมในที่สุดก็เกิดเมฆ ฝนและน้ำฝนตกลงมาสู่พื้น

ผิวโลกอีก วนเวียนเช่นนี้ตลอดไป

("anything...สิ่งสารพัน." สกุลไทยรายสัปดาห์, 2553 : 56)

ท ฤ ษ ฎี ที่ เ น้ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ ค ว า ม 29 ใ น ก า ร อ่ า น จั บ ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ

การนำทฤษฎีของ Frederiken มาใช้ในการอ่านจับใจความ โดยการอ่านทำความเข้าใจในความหมายของคำในแต่ละ

ประโยค ตัดประโยคหรือคำที่ไม่จำเป็นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญทิ้ง นำ ถ้อยคำที่เป็นประเด็นสำคัญมาเชื่อมเข้าด้วยกันให้เป็นประโยค ดังนี้

จับใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าได้ดังนี้ น้ำที่อยู่บนผิวโลก เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ จะระเหยกลาย

เป็นไอรวมกันมาก ขึ้นจนกลายเป็นฝน เมื่อตกสู่พื้นดินจะผ่านชั้นของ ดินซึมลงสู่เบื้องล่างไหลไปตามชั้นของดิน บางส่วนของน้ำจะไหลกลับ ไปสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ และถูกความร้อนเผาให้ระเหยกลายเป็นไอ ในที่สุดก็เกิดเมฆฝนและน้ำฝนตกลงมาสู่พื้นผิวโลกอีกวนเวียนเช่นนี้ ตลอดไป

จากนั้นสรุปใจความสำคัญจากประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

สรุปใจความสำคัญที่ได้จากการอ่าน น้ำที่อยู่ตามแหล่งต่าง ๆได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์

จะระเหยกลาย เป็นไอ แล้วรวมตัวเป็นเมฆฝน ตกลงมาสู่พื้นโลก แล้ว ถูกความร้อนเผาอีกก็จะ ระเหยกลายเป็นไอ ขึ้นไปรวมกันเป็นเมฆ กลายเป็นน้ำฝนกลับคืนสู่พื้นโลกวนเวียนอยู่ อย่างนั้น

30

ตัวอย่างบทความ

การอ่านจับใจความสำคัญ

Date

Location Meeting Called by Call-in Details Notetaker Please Read Attendees Please Bring

AGENDA New Business

Old Business

Action Items Next Steps

MINUTES & NOTES

31

ตัวอย่างบทความ

การอ่านจับใจความสำคัญ

Date

Location Meeting Called by Call-in Details Please Read Notetaker Please Bring Attendees

AGENDA New Business

Old Business

Action Items Next Steps

MINUTES & NOTES

32

ตัวอย่างบทความ

การอ่านจับใจความสำคัญ

Date

Location Meeting Called by Call-in Details Notetaker Please Read Attendees Please Bring

AGENDA New Business

Old Business

Action Items Next Steps

MINUTES & NOTES

33

ตัวอย่างบทความ การอ่านจับใจความสำคัญ

เรื่องสั้น จรรยาช่าง 34

แม้ว่าเขาจะเป็นเพียงช่างตัดผมในร้านเล็กๆแต่เขาก็มีหัว

ใจเท่าๆ คนทั่วไป เขามีความรัก มีความเกลียด มีความเหนื่อย

มีการพักผ่อนเหมือนคนอื่นๆในตรอกข้างๆร้านตัดผมนั้นมี

หอพัก มีนักศึกษาและข้าราชการหนุ่มๆ อยู่หลายคน เกือบทุก

และเขาก็ได้ตัดเกือบจะครบทุกคนตัดผมที่ร้านนี้คน นอกจาก

นักศึกษาหนุ่มรูปหล่อคนหนึ่ง ด้วยสายตาของช่างตัดผม เขา

ชอบทรงผมและเรือนผมของนักศึกษาหนุ่มนั้นมากกว่าใครๆ

ที่เขาเคยพบมา หนุ่มผู้นั้นตัดผมร้านอื่น เขาจึงนึกปรารถนา

จะได้เป็นผู้ตัดผมให้ชายหนุ่มผู้นั้นบ้าง เขาจะแสดงให้เห็น

ฝีมือให้ชายหนุ่มผู้นั้นต้องเลือกเขาเป็นช่างตัดผมประจำ และ

จะไม่ไปตัดที่ร้านใดอีกเลยในตรอกนั้นมีเด็กสาวหน้าตาดีคน

หนึ่ง ซึ่งช่างตัดผมของเราแอบรักอยู่ในใจ แต่เขาไม่เคยได้พูด

กับหล่อนสักคำเดียว ในวันหนึ่งเขาเห็นเด็กสาวคนนั้นกับ

นักศึกษาหนุ่มเดินคลอกันออกมาจากตรอกเสร็จ...เขาระทด

ท้อใจ หญิงงามกับชายงามคู่ควรกันยิ่งกว่าหญิงนั้นจะมา

เหลียวแลช่างตัดผมร้านเล็ก ๆ อย่างเขาความหึงข้างเดียว

ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่ภาพอันบาดตาบาดใจนั้น

อาจินด์ ปัญจพรรค์

ใจความสำคัญของเรื่องนี้คือ 35

การรับผิดชอบต่อวิชาชีพตัวเองให้ดีที่สุด มีความสำคัญ

เหนือสิ่งใด โดยมีแนวทางสังเกตได้จากส่วนประกอบของเรื่อง

บางประการดังนี้

2.1 ชื่อเรื่องคือ "จรรยาช่าง" ชี้แนะแก่นเรื่องหรือใจความ

สำคัญไว้อย่างชัดเจน

2.2 จากสถานการณ์ "ข้อขัดแย้ง" ที่ผู้แต่งปูพื้นไว้ในเบื้องต้น

ให้ช่างตัดผมคิดแค้นนักศึกษาหนุ่มที่เป็นคู่แข่ง และรอเวลาว่า

"ถ้าไอ้หนุ่มคนนั้นเข้ามาตัดผมในร้านเขา และมานั่ง เก้าอี้ที่

เขาประจำละก็เขาจะกร้อนผมมันให้แหลกไปเลย" แต่เมื่อ

นักศึกษาหนุ่มมาตัดผมกับเขาจริงๆ และช่างตัดผมได้มองไป

เห็นประกาศนียบัตรวิชาช่างตัดผมของเขา "จุดสุดยอด" ของ

"ข้อขัดแย้ง"จึงสิ้นสุดลงที่ "เขาจึงขยับกรรไกรด้วยความ

ประณีตเช่นเดียวกับช่างตัดผมที่ดีกำลังจะทำงาน" นั่นคือช่าง

ตัดผมพ่ายแพ้ต่อคุณธรรม และความรับผิดชอบในวิชาชีพ

ตนเองจนต้องตัดผมนักศึกษาหนุ่มด้วยความประณีต ตาม "จรรยาช่าง" ทั้งหลาย

36

บรรณานุกรม

จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2549). ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ). (2547). การใช้ภาษาไทย. พี.เพรส.

ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2542). เทคนิคการอ่าน. ศิลปาบรรณาคาร. ชุลี อินมั่น. (2533). การอ่านเพื่อพัฒนาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต.

กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ณัฐา วิพลชัย และคณะ. (2556). ตำรารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ดวงใจ ไทยอุบุญ และคณะ. (2540). ภาษาไทย 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3).

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นรีภพ สวัสดิรักษ์. (บรรณาธิการ.). (2557). ดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยธรรมะ

บำบัด. สกุลไทย, 60(3130), 47. นพดล จันทร์เพ็ญ. (2342). การใช้ภาษาไทย. เลิฟแอนด์ลิพเพรส. บันลือ พฤกษะวัน. (2533). อุปเทศการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา

แนวบูรณาการทางการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช. ผกาศรี เย็นบุตร. (2542). การอ่าน. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก.

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ผะอบ โปษกฤษณะ. (2541). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย (การเขียน

การอ่านการพูด การพัง). รวมสาส์น. พนิตนันท์ บุญพามี. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้น. สถาบันราชภัฏ

นครราชสีมา. พจมาน ศิริรังสี. (2556). Editor’s Talk. FOOD of life, 5(60), 6. ไพพรรณ อินทนิล. (2546). การส่งเสริมการอ่าน.

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

37

บรรณานุกรม

จิภาณุมาศ ธนาทองกุล. (2556). การลาออกครั้งสุดท้าย (พิมพ์ครั้งที่ 25). อะบุ๊ก.

ภาวนา คนตรง และสุจิตรา สมแสง. (2556). พระราชวังลอยฟ้า 15,000 ล้านบาท ของเจ้าชายอัลวาลีด บิน ทาลาล. คู่สร้าง คู่สม, 34(793), 106.

มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2537). ไขปัญหาการ์ตูนฟีเวอร์ : แนวทาง การปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2557). เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่านภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รอนดา เบิร์น. (2554). เดอะ พาวเวอร์. อมรินทร์. วาสนา บุญสม. (2541). การใช้ภาษาไทย 1. (พิมพ์ครั้งที่ 4).

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ว.วชิรเมธี. (2555). 9 เรื่องเพื่อความก้าวหน้า. ปราณ. วิกรม กรมดิษฐ์. (2551). มองซีอีโอโลก. โพสต์ทูเดย์. วิเชียร อันประเสริฐ. (2552). แม่น้ำแห่งชีวิต. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แววมยุรา เหมือนนิล. (2541). การอ่านจับใจความ. สุวีรยาสาส์น. ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. นวสาส์นการพิมพ์. ศรีสุดา จริยากุล และคณะ. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 5 : การอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2556). ข้าวตังเมี่ยงลาว VS ขนมจีนน้ำพริก. FOOD of life, 5(60), 83. สุชาติ พงษ์พานิช. (2550). การอ่านเพื่อพัฒนาตน. คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

38

บรรณานุกรม

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2540). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2535). กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ จำปาเงิน และสำเนียง มณีกาญจน์. (2548). กลเม็ดการอ่านให้เก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สถาพรบุ๊คส์.

สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์. (2534). การอ่านทั่วไป. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2548). เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อวยพร พานิช และคณะ. (2550). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. (ม.ป.ป.). 30 ปราชญ์อุดร. (มปท.).

39

สมาชิกในกลุ่ม

นางสาวศิริรัตน์ ร่มเย็น รหัสนักศึกษา 6301105001036

นางสาวกัญญารัตน์ พรหมเพชร รหัสนักศึกษา 6301105001054

นางสาวเกวลิน หมั่นหมาย รหัสนักศึกษา 6301105001063

40

สมาชิกในกลุ่ม

นายธีระศักดิ์ หนูเสน รหัสนักศึกษา 6301105001064

นางสาวมนพร พรหมแก้ว รหัสนักศึกษา 6301105001067

นางสาวธิดารัตน์ เขียวทัพ รหัสนักศึกษา 6301107001053