การใช หญ าดอกขาวในการต านอน ม ลอ สระ ว จ ย

กรมแพทย์แผนไทยฯ แนะคนอยากเลิกบุหรี่ ใช้ “ชาหญ้าดอกขาว” หรือเคี้ยวมะนาว ช่วยลดอยากบุหรี่ มีงานวิจัยรองรับชัด

วันนี้ (31 พ.ค.) นพ.สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 31 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก คำขวัญประจำปี 2563 คือ ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง เลิกสูบลดเสี่ยง ทั้งนี้ ควันบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต และหากติดเชื้อไวรัสโควิค-19 เข้าไปอีก จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบอย่างรุนแรงได้

นพ.สรรพงศ์ กล่าวว่า สำหรับสมุนไพรที่อยากแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ คือ ชาชงหญ้าดอกขาว เป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น หญ้าหมอน้อย หญ้าละออง หรือถั่วแฮะดิน หญ้าดอกขาวมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง อีกทั้งมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เทอร์พีน สเตอรอล และสารกลุ่มไกลโคไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดหรือชา ช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ จากการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวกับยาหลอกในรูปแบบชาชง พบว่า กลุ่มผู้ที่ใช้ชาชงหญ้าดอกขาวสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอก และหลังจากดื่มชาชงหญ้าดอกขาวแล้วไปสูบบุหรี่ พบว่า รสชาติบุหรี่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้ไม่รู้สึกอยากสูบบุหรี่

วิธีใช้ชาหญ้าดอกขาว เพื่อลดความอยากบุหรี่ คือ ใช้หญ้าดอกขาวแห้งปริมาณ 2 กรัม ต่อน้ำร้อน 120-200 มิลลิลิตร แช่ไว้ 5-10 นาที ดื่มหลังอาหารทันที วันละ 3-4 ครั้ง ข้อควรระวัง คือ การใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และโรคไต ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากชาหญ้าดอกขาวมีสารโพแตสเซียมปริมาณที่สูง อาจส่งผลให้อาการของโรคกำเริบได้ อาการไม่พึงประสงค์อย่างเช่น ปากแห้ง คอแห้ง เป็นต้น

นอกจากชาชงหญ้าดอกขาวแล้ว ยังมีสมุนไพรใกล้ตัวในครัวเรือนที่ทุกคนรู้จักกันดี ช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ได้ คือ มะนาว วิธีใช้ง่ายๆ เพียงหั่นมะนาวทั้งเปลือก เป็นชิ้นๆ พอคำ นำมารับประทานเมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ สารสำคัญในเปลือกมะนาวมีผลต่อการทำงานของต่อมรับรสขม ทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไป ซึ่งจะช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ได้เช่นเดียวกัน ผู้ที่สนใจอยากจะเลิกบุหรี่ สามารถขอคำแนะนำ หรือรับบริการได้ที่โรงพยาบาลที่มีการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยกว่า 500 แห่ง ทั่วประเทศ

เป็นชื่อเรียกของพืชต้นเล็กแต่มีสรรพคุณมากมาย เพราะประกอบด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสารต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุต่าง ๆ จึงได้รับการกล่าวขานว่ามีคุณสมบัติรักษาโรคหลายชนิด เช่น ไข้หวัด โรคเบาหวาน โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น และอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงช่วยลดความอยากบุหรี่ได้ด้วย

การใช หญ าดอกขาวในการต านอน ม ลอ สระ ว จ ย

ในหญ้าดอกขาว (Vernonia Cinerea Less.) มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารประกอบฟีนอลอย่างกรดแกลลิค (Gallic Acid) รูติน (Lutin) ควอซีทิน (Quercetin) กรดคาเฟอิก (Caffeic) และกรดเฟอรูลิก (Ferulic Acid) โดยสารเหล่านี้จะช่วยปกป้องหรือยับยั้งความเสียหายของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยก่อโรคต่าง ๆ อย่างโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือด นอกจากนั้น หญ้าดอกขาวยังมีแร่ธาตุหลากชนิด เช่น ธาตุเหล็ก แมงกานีส โคบอลต์ และซีลีเนียม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรรพคุณของหญ้าดอกขาว

ลดความอยากบุหรี่

ภาวะติดบุหรี่เกิดจากการเสพติดสารนิโคตินในบุหรี่ โดยสารนี้จะกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทในสมอง หนึ่งในนั้น คือ สารโดพามีน (Dopamine) ที่มีคุณสมบัติช่วยให้อารมณ์ดีและรู้สึกมีความสุข ความรู้สึกดังกล่าวทำให้ผู้สูบไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ หากพยายามเลิกสูบก็อาจเกิดอาการขาดยา เช่น รู้สึกอยากสูบบุหรี่อย่างมาก วิตกกังวล หงุดหงิด กระสับกระส่าย เป็นต้น

มีงานวิจัยหนึ่งทำการแยกสารประกอบภายในหญ้าดอกขาว พบว่าสารประกอบบางชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบเอนไซม์ที่ย่อยสลายนิโคตินกับโดพามีน ดังนั้น พืชชนิดนี้จึงอาจมีคุณสมบัติช่วยลดความอยากบุหรี่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่เปรียบเทียบอัตราการสูบบุหรี่ของบุคคล 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมหญ้าดอกขาว กลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมหญ้าดอกขาวควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ กลุ่มที่ออกกำลังกาย และกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมหญ้าดอกขาวและไม่ได้ออกกำลังกาย เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือนพบว่ากลุ่มที่รับประทานหญ้าดอกขาวในรูปอาหารเสริมควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำมีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 62.7 รองลงมาเป็นกลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมหญ้าดอกขาวที่มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 59.52 ส่วนกลุ่มที่ออกกำลังกายและกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมหญ้าดอกขาวและไม่ได้ออกกำลังกายมีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 53.57 และ 14.04 ตามลำดับ

เนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของหญ้าดอกขาวในด้านนี้มีค่อนข้างมาก และผลการวิจัยส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก จึงอาจยืนยันได้ว่าการรับประทานหญ้าดอกขาวช่วยลดความอยากบุหรี่ได้จริง โดยปัจจุบันมีการนำหญ้าดอกขาวมาแปรรูปเป็นยาผงที่ใช้ชงกับน้ำร้อนแล้วดื่มหลังอาหารวันละ 3-4 ครั้งเพื่อลดความอยากบุหรี่ ซึ่งยาชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหมวดยาพัฒนาจากสมุนไพรเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน

ลดไข้

โดยปกติอุณหภูมิร่างกายคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติจะถือว่าเป็นไข้ หญ้าดอกขาวจัดเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คนทั่วไปเชื่อว่ามีสรรพคุณช่วยลดไข้ ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งศึกษาคุณสมบัติของหญ้าดอกขาวในด้านนี้ โดยทดลองฉีดสารที่ทำให้หนูมีไข้แล้วให้กินสารสกัดจากหญ้าดอกขาว 250 และ 500 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าอุณหภูมิในร่างกายของหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ยังพบว่าสารสกัดจากหญ้าดอกขาวปริมาณ 500 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมมีฤทธิ์ลดไข้คล้ายกับยาพาราเซตามอลด้วย

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวศึกษาถึงคุณสมบัติของหญ้าดอกขาวด้านการลดไข้ในสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการทดลองกับมนุษย์เพิ่มเติมต่อไป เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยของหญ้าดอกขาวก่อนนำมารักษาอาการในคน

ต้านการอักเสบ

การอักเสบเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันพยายามต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือสารเคมี รวมทั้งร่างกายเกิดการบาดเจ็บและระบบภูมิคุ้มกันอาจทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เป็นต้น ซึ่งหลายคนเชื่อว่าการรับประทานพืชชนิดนี้อาจช่วยต้านอาการอักเสบได้ จึงมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงประสิทธิภาพด้านนี้ของหญ้าดอกขาวอยู่บ้าง

โดยงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองฉีดสารเข้าชั้นผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าเพื่อทำให้หนูเกิดอาการข้ออักเสบ จากนั้นให้หนูกินสารสกัดจากดอกของหญ้าดอกขาว 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดดังกล่าวช่วยลดอาการบวมที่อุ้งเท้าและบรรเทาอาการอักเสบได้ เช่นเดียวกับอีกหนึ่งงานวิจัยที่นำหนูที่มีอาการบวมบริเวณอุ้งเท้ามาศึกษาโดยให้กินสารสกัดจากหญ้าดอกขาว 250 หรือ 500 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าการอักเสบก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย

แม้ผลการทดลองจะเป็นไปในเชิงบวก แต่คุณสมบัติของหญ้าดอกขาวด้านการต้านการอักเสบจำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไป จนกว่าจะสามารถยืนยันประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หากนำไปใช้กับมนุษย์

รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในทางเดินปัสสาวะ คือ ก้อนของแร่ธาตุที่ตกผลึกจากปัสสาวะในระบบทางเดินปัสสาวะ แม้ก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กจะถูกขับออกมากับปัสสาวะและไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อร่างกาย แต่ก้อนนิ่วที่ติดค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะอาจทำให้ปวดท้องหรือปัสสาวะเป็นเลือด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เข้ารับการรักษาก็อาจเกิดการติดเชื้อและมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

มีงานวิจัยหนึ่งศึกษาคุณสมบัติของหญ้าดอกขาวด้านการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ โดยให้หนูที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะกินสารสกัดจากหญ้าดอกขาว 400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีส่วนช่วยขับปัสสาวะ และลดระดับความเข้มข้นของสารที่เป็นส่วนประกอบของนิ่วอย่างแคลเซียม ออกซาเลต และฟอสเฟต

หญ้าดอกขาวอาจมีคุณสมบัติรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะของหนูทดลองได้ แต่ก็เป็นเพียงการทดลองกับสัตว์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าหญ้าดอกขาวปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคดังกล่าวได้จริง

ข้อควรระวังในการบริโภคหญ้าดอกขาว

หากต้องการรับประทานหญ้าดอกขาวเป็นสมุนไพร ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพียงการทดลองระยะสั้น จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าการรับประทานหญ้าดอกขาวติดต่อกันเป็นเวลานานจะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

ส่วนผู้ที่รับประทานหญ้าดอกขาวในรูปแบบยาลดความอยากบุหรี่ ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยยาชนิดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ปากแห้งและคอแห้งได้ นอกจากนั้น สมุนไพรชนิดนี้ยังมีโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือ