การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

เป็นคณะชั้นนำของประเทศที่ผลิตบัณฑิต งานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

พันธกิจหลัก

  • ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีสมรรถนะสากล มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความสุข
  • ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนอง ความต้องการของชุมชน
  • บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
  • ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ค่านิยม มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติตามพันธกิจ มุ่งเน้นผู้เรียน และเป็นที่พึ่งของสังคม สมรรถนะหลักขององค์กร เป็นสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อภาคการเกษตรธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชน วัฒนธรรมองค์กร SCIT : Society Cooperation Innovation Targets มุ่งสร้างสรรค์ผลงาน ทำงานเป็นทีม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

สาขาวิชาของคณะ

วิทยาศาสตรบัณฑิต Bachelor of Science Program

การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมวัสดุ

Material Technology and Industrial Management

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมวัสดุ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมยางหรืออุตสาหกรรมไม้ และแก้ปัญหาได้จริงในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อสามารถจัดการและพัฒนา สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พร้อมนำมาใช้ปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการจัดการของอุตสาหกรรมยางหรืออุตสาหกรรมไม้ มีคุณธรรม จริยธรรม คงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม และมีจิตสาธารณะแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอก คือ

1. วิชาเอกเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมยาง 2. วิชาเอกเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมไม้

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและอุตสาหกรรมไม้
  2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย
  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมยางและภาคอุตสาหกรรมไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายควบคุมคุณภาพในการผลิต ฝ่ายผลิตสินค้า ฝ่ายจัดการวัสดุ ฝ่ายตรวจสอบและประกันคุณภาพ และฝ่ายฝึกอบรม

การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม

Chemistry for Industry

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทางเคมีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมทั่วไป และมีองค์ความรู้เฉพาะด้านที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ พื้นภาคและประเทศ เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะเชิงสากล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งเอกชนและภาครัฐ งานที่สามารถทำได้ คือ

  1. นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมทางหลวง การไฟฟ้า กองพิสูจน์หลักฐาน มหาวิทยาลัย เป็นต้น
  2. นักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาคเอกชน เช่น - อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม - อุตสาหกรรมไขมันและน้ำมัน - อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ เช่น ยารักษาโรค เครื่องสำอาง สารเคมี - อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก เส้นใย - อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. นักวิจัยและพัฒนา (R&D) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
  4. ผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการและผู้ควบคุมการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  5. ประกอบธุรกิจส่วนตัว

การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology

หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ประยุกต์หลักวิทยาการข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะ ประยุกต์ความรู้ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตอบสนองความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน โดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริง และตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง จัดการเรียนการสอนโดยเน้นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาการข้อมูล และธุรกิจดิจิทัล โดยจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนและมีการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงา มีการเรียนการสอนในรูปแบบชุดวิชาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน - ชุดวิชาการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเกษตรอัจฉริยะ - ชุดวิชาการพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจอัจฉริยะ - ชุดวิชาสมาร์ทดีไวซ์แอปพลิเคชัน - ชุดวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประมวลผลแบบคลาวด์ - ชุดวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อช่วยตัดสินใจ - ชุดวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ - ชุดวิชาระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักเขียนโปรแกรม หรือ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
  2. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  3. นักวิทยาการข้อมูล
  4. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
  5. ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  7. นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. นักพัฒนาเว็บไซต์
  9. นักออกแบบเว็บไซต์
  10. ผู้ดูแลจัดการฐานข้อมูล
  11. ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
  12. นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

Environment for Sustainability

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน เป็นหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยง ของศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการที่เป็นพหุวิทยาการ เน้นการสร้างบัณฑิต ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการทำงานจริงและทักษะของพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการสื่อสาร และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไข ป้องกัน และจัดการปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสามารถศึกษาทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อกำหนด ทางวิชาชีพ สามารถประกอบวิชาชีพในด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมและป้องกันมลพิษ ทั้งในสถานประกอบการ ชุมชน เมือง ทั้งรัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมมีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถเข้าสู่ตลาดงานสากลและสร้างงานเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญ ต่อการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อรองรับความหลากหลายและเข้าสู่สากล และการวิจัยเพื่อพัฒนา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. งานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการดําเนินงาน
  2. งานควบคุมมลพิษ ด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ ออกแบบระบบ เดินระบบ บํารุงรักษาระบบ การจัดการ อํานวยการ และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
  3. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆในกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ฯลฯ และองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น เช่น นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
  4. หน่วยงานเอกชนและภาคอุตสาหกรรม เช่น เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  5. องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
  6. หน่วยงานบริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
  7. สถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
  1. การทำธุรกิจส่วนตัวและอาชีพอิสระ

การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Occupational Health and Safety

ผลิตบัณฑิตในสายงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีความรู้พื้นฐาน ความสามารถและทักษะ ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมายและวิศวกรรม มีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการบูรณาการการศึกษา กับการทำงาน (Work-integrated Learning : WIL) มีประสบการณ์สหกิจศึกษาจากการปฏิบัติงานจริง ประยุกต์ใช้ความรู้พัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้มาตรฐานสากลและยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ หลักสูตรนี้สามารถตอบสนองความต้องการบุคลากรในสายงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎกระทรวง ฯ กำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 สามารถเข้าสู่การทำงานทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และอาชีพอิสระ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้ประกอบการด้านการตรวจวัด ตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง ฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  4. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนได้แก่ ผู้ตรวจแรงงาน นักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในโรงงาน

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต Bachelor of Engineering Program

การ ใช โทรศ พท ม อ ถ อ ใน โรงงาน

สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม

Engineering Management

มุ่งผลิตวิศวกรการจัดการให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะ รวมถึงมีศักยภาพเพียงพอในการบริหารจัดการงานวิศวกรรมและเทคโนโลยี โดยสามารถออกแบบ วางแผน และบริหารจัดการหน่วยงานหรือส่วนงานต่างๆ ขององค์กรอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศและก้าวสู่ความเป็นสากล ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านคุณธรรม และจริยธรรม