ก เง น นอกระบบ ไม ม สล ปเง นเด อน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ธนาคารติดต่อกลับตามเบอร์โทรข้างต้น โดยข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ ท่านสามารถตรวจสอบประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และหนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารออมสินภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Privacy Notice) ได้ที่ https://www.gsb.or.th/other/privacy-notice/

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเห็นโฆษณาจูงใจตามใบปลิวหรือนามบัตรที่ติดอยู่ตามเสาไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ห้องน้ำ หรือแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ในทำนองว่า "ได้เงินทันใช้ กู้สะดวก ไม่ตรวจบูโร รีบโทร. หาเราที่ 09-XXXX-XXXX" ที่ช่างดึงดูดให้คนร้อนเงินหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อติดต่อไปขอกู้แทบจะในทันที

สารพัดสาเหตุที่ทำให้คนหลงเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้นอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นมีเรื่องให้ต้องใช้เงินฉุกเฉิน เงินไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต้องลงทุนค้าขาย หมุนเงินไปจ่ายหนี้เดิม หรือกู้เงินในระบบไม่ได้เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ธนาคารกำหนดหรือมีหนี้ในระบบมากมายจนกู้เพิ่มไม่ได้ สุดท้ายแล้วหลายคนก็พบว่า หนี้นอกระบบไม่ได้เป็นตัวช่วยอย่างที่คิดแต่กลับถูกดอกเบี้ยสร้างภาระอันหนักอึ้งให้แทน ยิ่งถ้าเป็นประเภทดอกลอยยิ่งทวีคูณความโหดขึ้นไปอีก เพราะเป็นเงินกู้ที่ลูกหนี้จ่ายแต่ดอกเบี้ยทุกวันไปเรื่อย ๆ ไม่เคยตัดเงินต้น จนกว่าจะมีเงินก้อนมาจ่ายเงินต้นทั้งหมดจึงหมดหนี้ จากเงินกู้ไม่กี่พันบาทอาจกลายเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อใช้หนี้ไปเป็นหลักหมื่นหรือหลักแสน สุดท้ายไม่สามารถหลุดออกจากวงจรหนี้ได้

ส่วนดอกเบี้ยหนี้นอกระบบที่บอกเราว่าน้อย ๆ แบบรายวัน แต่ถ้าคิดออกมาเป็นรายปีแล้วมักเจอความจริงที่แสนรันทดใจว่ามันสูงจนน่าสะพรึงกลัว มาดูกันสัก 1 ตัวอย่างว่าเจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยสูงสักแค่ไหน

สมมติกู้เงิน 10,000 บาท จ่ายคืนวันละ 150 บาท เป็นเวลา 3 เดือน จริง ๆ แล้วเค้าคิดดอกเบี้ยเราเท่าไหร่ คำนวณคร่าว ๆ ได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นแรกต้องคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมดก่อน

เงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมด = จำนวนเงินจ่ายคืนรายวัน x จำนวนวันใน 1 เดือน x จำนวนเดือน

\= 150 × 30 x 3 = 13,500 บาท

2. เมื่อได้เงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมดแล้ว ให้นำไปลบจำนวนเงินที่กู้เพื่อหาจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด = เงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมด – จำนวนเงินกู้

\= 13,500 – 10,000 = 3,500 บาท

3. นำดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดมาคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยจ่ายตามระยะเวลาที่กู้เงิน (3 เดือน)

4. ขั้นสุดท้ายให้นำไปหาอัตราดอกเบี้ยจ่ายต่อปี เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับสินเชื่ออื่น ๆ ได้

จะเห็นได้ว่าเงินกู้ตามตัวอย่างข้างต้นที่จ่ายคืนเป็นรายวันในจำนวนไม่มากนักนั้น เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 140% ต่อปีเลยทีเดียว

เมื่อติดกับดักหนี้นอกระบบ หลายคนมักเลือกหาทางออกด้วยการหนีหนี้ แต่การเผชิญหน้าและแก้ปัญหาน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า จึงขอเสนอ 3 วิธีดังต่อไปนี้

หาเงินมาปิดหนี้

1

หาเงินมาปิดหนี้

เริ่มต้นด้วยการลดรายจ่ายไม่จำเป็นลง เช่น ค่าชอปปิง ค่าอาหารมื้อพิเศษ ค่ากาแฟ ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่าหวย หารายได้เพิ่มเติมจากความถนัดหรืองานอดิเรกของตัวเอง และลองรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินที่มีอยู่ว่ามีอะไรที่น่าจะมีคนสนใจซื้อและขายออกไปได้บ้าง เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ ซึ่งการตัดใจขายทรัพย์สิน คนส่วนใหญ่คงบอกว่าทำใจลำบาก แต่เมื่อผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ค่อยทยอยเก็บเงินซื้อทรัพย์สินใหม่ก็ยังไม่สายเกินไป

2

หาแหล่งเงินกู้ในระบบ

สอบถามธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจมีโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบออกมาเป็นระยะ หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน (เช่น บ้านหรือทะเบียนรถ) นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และสินเชื่อพิโกพลัส ซึ่งดอกเบี้ยของสินเชื่อเหล่านี้น้อยกว่าดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบ มีสัญญาชัดเจน และมีหน่วยงานทางการกำกับดูแลอีกด้วย

หาคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ยประนอมหนี้

ติดต่อสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด สายด่วน 1157 โดยคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดจะช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย (ที่มา : https://bit.ly/3aojiur) สำหรับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้น้อย จะมีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบในทุกจังหวัดช่วยฝึกอบรมอาชีพ ฝีมือแรงงาน และให้ความรู้ทางการเงิน

นอกจากนี้ ลูกหนี้นอกระบบสามารถขอคำปรึกษาและร้องเรียนปัญหาหนี้นอกระบบได้ที่หน่วยงานราชการดังต่อไปนี้

หน่วยงานเบอร์โทรศัพท์

ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

โทร. 1359ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ กระทรวงมหาดไทยโทร. 1567ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม โทร. 0 2575 3344

ก เง น นอกระบบ ไม ม สล ปเง นเด อน

" ไม่ว่าอดีตที่ผ่านมาจะจำเป็น หลวมตัว หรือจำใจจนต้องเป็นหนี้นอกระบบ ถึงเวลาสะสางหนี้ให้หมดไป พร้อมกับเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม ด้วยการได้เงินมาแล้วให้เก็บออมทันทีก่อนใช้ ถ้ายังไม่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน ให้รีบตั้งเป้าหมายและลงมือออมเงินเพื่อเป้าหมายนี้เป็นอย่างแรกเพื่อปิดทางสู่อบายภูมิทางการเงินเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝันที่ต้องใช้เงินแก้ปัญหา ใช้เงินน้อยกว่าที่หาได้ และไม่ก่อหนี้เกินตัว จะได้ไม่ต้องกลับไปสู่วังวนของหนี้นอกระบบอีก "

กู้เงินนอกระบบใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารประกอบการขอกู้.

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้ และผู้ค้ำประกัน.

เอกสารแสดงรายได้ในการประกอบอาชีพ สมุดบัญชีเงินฝาก สลิปเงินเดือน (ถ้ามี).

เอกสารรายรับ/รายจ่าย (ถ้ามี).

รูปถ่ายสถานที่ประกอบอาชีพ.

กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน นำสำเนาหลักทรัพย์ที่จะค้ำประกันไปด้วย.

กู้เงินนอกระบบคิดดอกเบี้ยยังไง

วิธีการคำนวณดอกเบี้ยคือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี) หรือจากตัวอย่างคือ 50,000 x (30% x 12) x 1 = 180,000. ดังนั้นวินัยต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน 180,000 บาทต่อปี (คิดเป็น 3.6 เท่า ของเงินต้น)

กู้เงินนอกระบบ น่า กลัว ไหม

ปัญหาหนี้นอกระบบถือเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจหนึ่งที่ส่งผลกระทบในระดับประเทศ ด้วยปัญหาทางการเงินรุมเร้าทำให้หลายคนเลือกแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินนอกระบบ จนเกิดผลเสียตามมาอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงภัยคุกคามถูกเจ้าหนี้ตามตัวถึงบ้านหรือที่ทำงาน

กู้เงินนอกระบบได้เงินจริงไหม

ข้อควรระวัง เจ้าหนี้นอกระบบออนไลน์จะมีทั้งแบบที่ปล่อยกู้จริงๆ กับมิจฉาชีพที่มาหลอกให้เชื่อว่าเป็นนายทุนเงินกู้ ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ เช่น ต้องการกู้ 100,000 บาท มิจฉาชีพจะหลอกให้คนกู้ต้องโอนเงินเพื่อไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการกู้เงินก่อน เช่น ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน (เงินปากถุง) ถึงจะกู้ได้ และเมื่อโอนไปแล้ว มักจะใช้ ...