ฝร งเศสเด อด ม อบประท วง ปธน.เอ มมาน เอล มาครง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ฝร งเศสเด อด ม อบประท วง ปธน.เอ มมาน เอล มาครง

เอ็มมานูเอล มาครง จะเป็น ปธน.ฝรั่งเศสที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์หรือไม่ 7 พ.ค.นี้รู้กัน!

ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ หลังปิดหีบเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันอาทิตย์ ของ3 สำนักจัดทำโพลล์ ระบุตรงกัน นายเอมมานูเอล มาครง ได้คะแนนเสียงสูงสุด เข้าไปชิงการเลือกตั้งรอบ 2 วันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. ที่จะถึงนี้ กับนางมารีน เลอแปน จากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ที่ได้คะแนนตามมาเป็นอันดับ 2 การเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีผู้สมัครลงแข่งขัน 11 คนด้วยกัน แต่ต้องสรรหาผู้ได้คะแนนสูงสุด 2 คนแรกเท่านั้น เพื่อเข้าสู่การเลือกตั้งรอบสองตามกำหนดในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค.ที่จะถึง ผลลงคะแนนเสียงรอบแรกออกมาแบบนี้ ทำให้นายมาครง อดีตนายธนาคารวัย 39 ปีก้าวขึ้นมาเป็นตัวเต็งว่าจะชนะการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ค.นี้และได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และหากนายมาครงได้รับเลือกตั้งจริง ก็จะกลายเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ที่ชูนโยบายนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ หลังจากประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายกับการเมืองฝรั่งเศสแบบเดิมๆ นายมาครง มาจากเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส เป็นนักเปียโนฝีมือดี แต่งงานตั้งแต่อายุ 17 ปี กับ บริจิตต์ โทรนเญอซ์ ครูสอนการแสดงโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแม่ม่ายลูกติด 3 ที่มีอายุห่างกับมาครงถึง 24 ปี แม้มาครง จะถูกมองว่าเป็นคนนอกวงการการเมือง แต่เขาก็ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของฝรั่งเศส ที่ถูกมองว่าเป็นโรงเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับข้าราชการระดับสูงและผู้นำประเทศในอนาคตอย่างอีเอ็นเอ ช่วงปี 2554-2555 มาครง เข้าสู่วงการการเงินการธนาคาร สามารถสร้างฐานะได้ในอาชีพวาณิชธนกิจที่ธนาคารรอธส์ไชลด์ และในปี 2555 ก็ก้าวขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับฟรองซัวส์ ออลลองด์ ก่อนที่จะกลายเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจในอีก 2 ปีต่อมา ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นบทพิสูจน์สำคัญของมาครอง มาลุ้นกันว่าชาวปารีเซียงพร้อมจะสนับสนุนแนวคิดของเขาที่สนับสนุนสหภาพยุโรป สนับสนุนเสรีนิยมโลกาภิวัฒน์ในเวลาที่แนวคิดชาตินิยมขวาจัด กำลังคว้าชัยในการเลือกตั้งในหลายประเทศทั่วโลกหรือไม่

ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศสถูกชายผู้หนึ่งตบหน้าขณะทักทายประชาชนระหว่างการเยือนฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

วิดีโอที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นถึงภาพของมาครงที่อยู่ระหว่างการเดินทางไปชุมชนตะ ลามิตาช (Tain-l'Hermitage) นอกเมืองวาล็องส์ (Valence) เขาถูกชายคนที่เขาจับมือตบหน้า และมีเสียงตะโกนว่า "ระบอบมาครงจงล่มสลาย" ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะกันตัวประธานาธิบดีออกไป

สื่อฝรั่งเศสรายงานว่า มีชาย 2 คนถูกเจ้าหน้าที่คุมตัวไปหลังเหตุการณ์ หลังเหตุการณ์สงบ นายมาครงเดินกลับไปทักทายประชาชนอีกครั้ง

  • เอ็มมานูเอล มาครง ว่าที่ ปธน.ฝรั่งเศสอายุน้อยที่สุด
  • เหตุผล 5 ข้อที่ มาครง ชนะเลือกตั้ง ปธน.ฝรั่งเศส

ฝร งเศสเด อด ม อบประท วง ปธน.เอ มมาน เอล มาครง

ปฏิกริยานักการเมือง

นักการเมืองทั้งจากฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างออกมาประณามเหตุการณ์นี้

นายฌอง คาสเตกซ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อรัฐสภาว่า ประชาธิปไตยย่อมต้องมีการถกเถียง และความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทว่า ความเห็นที่ไม่ตรงกันไม่ควรนำไปสู่ "ความรุนแรง การใช้ถ้อยคำแรง ๆ ต่อกัน หรือ การใช้กำลัง"

นายฌอง ลุค เมลองชอง ผู้นำฝ่ายซ้าย ทวีตข้อความแสดงความ "เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประธานาธิบดี" ส่วนนางมารีน เลอ เปน ผู้นำฝ่ายขวาโพสต์ข้อความประณามว่า "การถกเถียงทางประชาธิปไตยอาจขมขื่นในบางครั้ง แต่ไม่ควรนำมาซึ่งความรุนแรงต่อร่างกาย"

วันนี้ (25 เมษายน) เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันจากพรรคอองมาร์ช (LREM) คว้าชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบ 2 มีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียง 71.99% เท่านั้น น้อยกว่าการเลือกตั้งรอบแรกที่มีผู้ใช้สิทธิ 73.69% จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 48.7 ล้านราย นับเป็นการเลือกตั้งที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิต่ำกว่า 72% เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1969 หรือกว่าครึ่งศตวรรษ

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Président de la République française) เป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายอำนาจบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ จอมทัพ ผู้รับรองรัฐธรรมนูญและผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา

ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 (สมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2) ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักในปาแลเดอเลลีเซมาแล้ว

รัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ แอมานุแอล มาครง ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

อำนาจประธานาธิบดี[แก้]

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 นั้นเป็นการปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเองก็มีอำนาจมากพอสมควรซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าโดยส่วนมากการควบคุมดูแลและบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่ประธานาธิบดีก็มีอิทธิพลด้วย

อำนาจสูงสุดของประธานาธิบดีนั้นคือการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตามรัฐสภาฝรั่งเศสก็มีอำนาจที่จะปลดคณะรัฐมนตรีได้ ทำให้ประธานาธิบดีเหมือนกับถูกบังคับให้เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภาให้การสนับสนุน

เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภามีความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับประธานาธิบดี ซึ่งจะทำให้เกิดการบริหารร่วมกัน เมื่อนั้นอำนาจประธานาธิบดีจะลดน้อยลง เนื่องจากอำนาจส่วนมากจะไปขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาแทน และอาจจะไม่สนับสนุนการแต่งตั้งของประธานาธิบดีอีกด้วย

เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภาสนับสนุนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีก็จะมีบทบาทมากขึ้นและมีอิทธิพลต่อนโยบายการบริหารของรัฐบาล บทบาทของนายกรัฐมนตรีจึงลดลงและอาจถูกปลดออกจากตำแหน่งหรือเปลี่ยนคณะผู้บริหารถ้าไม่เป็นที่นิยม

ตั้งแต่พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐสภามีวาระ 5 ปีและการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งจะใกล้กัน ทำให้ความเป็นไปได้ของการบริหารร่วมกันนั้นมีความน้อยลง

อำนาจของประธานาธิบดีมีดังนี้:

  • ประธานาธิบดีประกาศกฎหมาย
    • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการยับยั้งชั่วคราว: เมื่อจะเสนอร่างกฎหมาย ประธานาธิบดีมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐสภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แต่สามารถกระทำได้ครั้งเดียวต่อกฎหมายฉบับหนึ่ง
    • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการชี้แนะให้มีการพิจารณาร่างกฎหมายต่อสภารัฐธรรมนูญก่อนการประกาศใช้
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการยุบสภาฯ
  • ประธานาธิบดีสามารถชี้แนะให้มีการลงประชามติกฎหมายบางประเภทหรือสนธิสัญญาภายในเงื่อนไขบางประการซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาต้องเห็นด้วย
  • ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด (จอมทัพ)
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการออกคำสั่งให้มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สามารถปลดนายกรัฐมนตรีออกได้
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งหรือปลดรัฐมนตรีได้ โดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการเสนอชื่อข้าราชการ (ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี)
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการเสนอชื่อสมาชิกสภารัฐธรรมนูญ
  • ประธานาธิบดีต้อนรับคณะทูตจากต่างประเทศ
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจในการอภัยโทษ (ไม่ใช่นิรโทษกรรม) แก่นักโทษที่ตัดสินว่ามีความผิด และสามารถลดหรือระงับคำพิพากษาได้ และนี่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะประเทศฝรั่งเศสยังมีการประหารชีวิตอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการตัดสินประหารชีวิต ประธานาธิบดีก็มักจะอภัยโทษให้โดยอัตโนมัติ โดยทำให้โทษลดลงเหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต

การตัดสินใจของประธานาธิบดีนั้น จะต้องมีการลงนามร่วมโดยนายกรัฐมนตรี ยกเว้นกรณีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

การนิรโทษกรรมของประธานาธิบดี[แก้]

ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประเพณีที่เรียกว่า การนิรโทษกรรมของประธานาธิบดี หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาที่มาจากพรรคเดียวกันนั้น รัฐสภาจะมีการลงคะแนนเสียงในการประกาศกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษที่กระทำผิดเล็กๆ น้อยๆ การกระทำนี้เป็นที่วิพากย์วิจารณ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นการส่งเสริมให้มีการทำผิดกฎหมายก่อนหน้าการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ อาจจะเป็นการให้อำนาจประธานาธิบดีในการนิรโทษกรรมนักโทษบางคนถ้าตรงตามเงื่อนไข บางคนก็พูดกันว่า การนิรโทษกรรมนี้เป็นการลดประชากรนักโทษในคุกอีกด้วย

การเลือกตั้ง[แก้]

ตั้งแต่การลงประชามติในปี พ.ศ. 2543 ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะได้รับการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระ 5 ปี (ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมีวาระ 7 ปี ภายหลังมาลดลงเหลือ 5 ปี ซึ่งเริ่มวาระ 5 ปี ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 สมัยประธานาธิบดีฌัก ชีรัก) ฌัก ชีรักได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2545 ซึ่งไม่มีข้อกำหนด ทำให้ชีรักสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้ แต่เขาเลือกที่จะไม่ดำรงตำแหน่งต่อไป ประธานาธิบดีคนถัดมาคือ นีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ฟร็องซัว มีแตร็องและฌัก ชีรัก เป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ (14 ปี และ 12 ปี)

ผู้สมัครแต่ละคนต้องยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนอย่างน้อย 500 คน ให้สภารัฐธรรมนูญตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนจะประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และเปิดการรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นทางการ ผู้สนับสนุนนั้น ส่วนมากจะเป็นนายกเทศมนตรี ซึ่งจะต้องมาจาก 30 จังหวัด (département) เป็นอย่างน้อยหรือประชาชนอาศัยในต่างประเทศ และร้อยละ 10 จะต้องไม่มาจากอำเภอหรือประชาชนกลุ่มเดียวกัน และผู้สนับสนุนที่ว่านั้น สามารถเสนอได้ชื่อผู้สมัครได้เพียงคนเดียวต่อหนึ่งคน

ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งแล้วกว่า 45,000 คน ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีประมาณ 36,000 คน

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด[แก้]

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 23 เมษายน และ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2017

ผู้แทนพรรค พรรค การเลือกตั้งรอบที่ 1 การเลือกตั้งรอบที่ 2 ผลการเลือกตั้ง % ผลการเลือกตั้ง % แอมานุแอล มาครง อ็องมาร์ช ! 8,656,346 24.01% 20,703,694 66.06% มารีน เลอ แปน แนวร่วมแห่งชาติ 7,678,491 21.30% 10,637,120 33.94% ฟร็องซัว ฟียง ริพับลิกัน 7,212,995 20.01% ฌ็อง-ลุก เมล็องชง ลาฟร็องแซ็งซูมิส 7,059,951 19.58% เบอนัว อามง พรรคสังคมนิยม 2,291,288 6.36% อื่น ๆ 3,155,323 8.75% รวม 36,054,394 100% 31,340,814 100% คะแนนสมบูรณ์ 36,054,394 97.43% 31,340,814 88.51% ไม่ประสงค์ลงคะแนน 949,334 2.57% 4,066,801 11.49% รวมผู้ใช้สิทธิลงคะแนน 37,003,728 77.77% 35,407,615 74.62% งดออกเสียง 10,578,455 22.23% 12,041,278 25.38% รวมผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 47,582,183 47,448,893 แหล่งข้อมูล: Constitutional Council, Ministry of the Interior

การสืบตำแหน่ง[แก้]

เมื่อประธานาธิบดีเสียชีวิตลงหรือลาออกจากตำแหน่ง ประธานสมาชิกวุฒิสภาจะทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว อาแล็ง ปอแอร์เป็นคนเดียวที่ได้รับตำแหน่งชั่วคราวนี้ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 เมื่อชาร์ล เดอ โกล ลาออกจากตำแหน่ง และครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2517 เมื่อฌอร์ฌ ปงปีดูเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ในสถานการณ์อย่างนี้เป็นที่สำคัญว่า ประธานสมาชิกวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว มิใช่ประธานาธิบดีคนใหม่ จึงทำให้ไม่ต้องออกจากตำแหน่งประธานสมาชิกวุฒิสภา อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสก็ได้ยกอาแล็ง ปอแอร์ เป็นอดีตประธานาธิบดีคนหนึ่งและยังได้ถูกจัดไว้ในทำเนียบประธานาธิบดีในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เก็บถาวร 2008-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอีกด้วย

การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกนั้นจะต้องจัดให้เรียบร้อยภายใน 20-35 วัน หลังตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลง เพราะว่า 15 วันนั้น สามารถแยกการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ 1 และ 2 ได้ นั่นหมายความว่าประธานสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวได้มากที่สุดเพียง 15 วันเท่านั้น ในระหว่างที่ทำหน้าที่ประธานาธิบดีชั่วคราวนั้น จะไม่สามารถยุบสภา ชี้แนะการลงประชามติ หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้

ถ้าไม่มีประธานวุฒิสภารักษาราชการแทน อำนาจของประธานาธิบดีนั้นจะตกอยู่กับคณะรัฐมนตรี ซึ่งก็จะตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีนั่นเอง แต่ถ้านายกรัฐมนตรีไม่สามารถรักษาราชการแทนได้แล้วไซร้ รัฐมนตรีจะทำการแทนโดยยึดตามลำดับรายชื่อในคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาจะมีสิทธิเป็นไปได้ยากเพราะถ้าไม่มีประธานสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจะเสนอชื่อประธานสมาชิกวุฒิสภาคนใหม่เพื่อที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวแทน

ฝร งเศสเด อด ม อบประท วง ปธน.เอ มมาน เอล มาครง
ปาแลเดอเลลีเซ (Palais de l'Élysée) ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส

สถานที่อาศัยอย่างเป็นทางการ[แก้]

สถานที่อาศัยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฝรั่งเศสนั้นคือ Palais de l'Élysée ในกรุงปารีส ส่วนสถานที่อาศัยของประธานาธิบดีที่อื่น ๆ ได้แก่:

  • Fort de Bregançon ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นสถานที่ที่ประธานาธิบดีอาศัยพักผ่อนในวันหยุด
  • Hôtel de Marigny ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับ Palais de l'Élysée เป็นสถานที่ที่ให้ข้าราชการชาวต่างประเทศพักอาศัย
  • Château de Rambouillet ปกติเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมยกเว้นเมื่อมีการประชุมอย่างเป็นทางการ (น้อยครั้ง)
  • Domaine National de Marly ปกติเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมยกเว้นเมื่อมีการประชุมอย่างเป็นทางการ (น้อยครั้ง)
  • Domaine de Souzy-la-Briche เป็นสถานที่อาศัยแบบส่วนตัว (มิใช่ทางประวัติศาสตร์)

อดีตประธานาธิบดี[แก้]

ในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสมีอดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ 2 ท่านได้แก่

  • นีกอลา ซาร์กอซี (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555)
  • ฟร็องซัว ออล็องด์ (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2560)

ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพในฐานะเท่ากับที่ปรึกษากิตติมศักดิ์แห่งรัฐ (French: conseiller d'État) และได้รับหนังสือเดินทางทูต และตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 56 อดีตประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย

ฝรั่งเศสใครเป็นประมุข

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส.

องค์ใดมีอำนาจเสนอแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส.

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมีกี่คน

รายชื่อประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส.

ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบอะไร

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 1958 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจให้ประธานาธิบดี