คำถวายส ตย ของนายกร ฐมนตร ม ว าอย างไร

วันนี้ (2 ก.ย.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ครม. เศรษฐา 1 บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทย ในช่วงเช้าที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ยังเงียบ มีเพียงสื่อมวลชนมารอทำข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรีในช่วงบ่าย แต่ช่วงเที่ยงนี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ จะเข้าพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีภารกิจช่วงบ่าย

อ่านข่าว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"

ทั้งนี้ นายเศรษฐา พร้อมด้วย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม และ นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม จะพบปะผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในกรุงเทพฯ เพื่อพูดคุยประเด็นปัญหาการให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และการเข้าถึงการใช้บริการของประชาชน ผ่านแอปพลิเคชัน และราคาค่าน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีนายเฉลิม ช่างทองมะดัน นายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ประมาณ 100 คน เข้าพบ

อ่านข่าว ส่องอายุ ครม. "วัยเก๋า" เศรษฐา 1 เหล้าใหม่ ในขวดเดิม

สำหรับขั้นตอนหลังการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งแล้ว นายกฯ จะนำ ครม.เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน มีรายงานว่า นัดวันอังคารที่ 5 ก.ย.นี้ นัดรัฐมนตรีพบกันที่ตึกสันติไมตรีเวลา 15.00 น. และนัดถ่ายรูปรวม ครม.

ส่วนวันที่ 6 ก.ย.จะมีการประชุม ครม.นัดพิเศษ เพื่อที่จะนัดพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 11 พรรค เพื่อสรุปและเตรียมความพร้อมในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะมีในวันที่ 8 - 9 ก.ย. หรือวันที่ 11 - 12 ก.ย.นี้ โดยอยู่ในขั้นตอนระหว่างประสานกับรัฐสภา จากนั้นเมื่อแถลงนโยบายเรียบร้อยจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนัดแรก

อ่านข่าว ส่องอายุ ครม. "วัยเก๋า" เศรษฐา 1 เหล้าใหม่ ในขวดเดิม

หลังแถลงนโยบาย ประมาณกลางเดือน ก.ย. นายกฯ และ รมว.การต่างประเทศ รวมถึงรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จะเข้าร่วมประชุมยูเอ็นที่นิวยอร์กด้วย เริ่มสานสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับนานาประเทศ เริ่มภารกิจเร่งด่วนฟื้นความเชื่อมั่น-ฟื้นเศรษฐกิจประเทศ

นายกฯ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล ก่อนนำ ครม. เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนรับหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อ 16 ก.ค. ไม่ครบถ้วน เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนหรือไม่

ที่ประชุมผู้ตรวจฯ มีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ระบุไว้ว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ แม้มีคำชี้แจงจากนายกฯ ว่าได้ถวายสัตย์ปฏิญาณตามกระบวนการขั้นตอนแล้ว แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายกฯ กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณด้วยถ้อยคำที่ไม่ครบถ้วน "จึงเป็นการกล่าวถ้อยคำที่ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า 'รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้' อันจะส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่การบริหารราชการแผ่นดินมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามไปด้วย รวมทั้งปัญหาเรื่องการคุ้มครองสิทธิ"

ผู้ตรวจฯ จึงเห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และมีมติให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนในฐานะประชาชนคนหนึ่ง

มติที่ออกมาเป็นผลจากการประชุมของผู้ตรวจฯ ทั้ง 3 คน ช่วงเช้าวันนี้ (27 ส.ค.) โดยมี พล.อ. วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาคำร้องของนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ยื่นต่อผู้ตรวจฯ เมื่อ 20 ส.ค. ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนอาจขัดรัฐธรรมนูญ และมีผลทำให้การกระทำในเวลาต่อมาของรัฐบาล เช่น การตั้งคณะรัฐมนตรี การแถลงนโยบาย การโยกย้ายข้าราชการเป็นโมฆะไปด้วย

  • ร. 10 พระราชทานพระราชดำรัส วันถวายสัตย์ แก่ ครม. ประยุทธ์ 2
  • ประยุทธ์ ทำอะไรบ้างในรอบสัปดาห์หลังประกาศ "ขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
  • ส่องคลังสมบัติ 21 รมต. "ประยุทธ์ 2" ล็อตแรก

ก่อนหน้านี้เมื่อ 22 ส.ค. พล.อ. ประยุทธ์ ได้ส่งหนังสือชี้แจงถึงประธานผู้ตรวจฯ แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดต่อสาธารณะแต่อย่างใด

แต่วันนี้ นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เปิดเผยรายละเอียดคำชี้แจงของนายกฯ ซึ่งระบุว่า เรื่องการถวายสัตย์ของ ครม. เป็นเรื่องของการกระทำตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะแตกต่างจากการกล่าวคำปฏิญาณของ ส.ส. ซึ่งต้องชัดเจนทุกถ้อยคำ

"แต่เรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องระหว่าง ครม. กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็ได้มีการขอพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อนำ ครม. ถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อ 16 ก.ค. 2562 ครม. ได้กล่าวคำถวายสัตย์ หลังกล่าวคำปฏิญาณจบลง ก็ทรงมีพระราชดำรัสตอบตรงนั้น นายกฯ จึงเห็นว่าตนเองได้กระทำครบถ้วนตามขั้นตอนทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย" นายรักษเกชากล่าวอ้างถึงเนื้อหาในหนังสือคำชี้แจงของนายกฯ

คำถวายส ตย ของนายกร ฐมนตร ม ว าอย างไร

ที่มาของภาพ, สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

คำบรรยายภาพ,

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม นำ ครม. เข้ารับพระราชดำรัส พร้อมลายพระราชหัตถ์ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ช่วงเช้าวันที่ 27 ส.ค.

มติของผู้ตรวจฯ ออกมาในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง หลังจาก พล.อ. ประยุทธ์ นำ ครม. ทั้ง 36 คน ร่วมพิธีรับพระราชทานพระราชดำรัส พร้อมลายพระราชหัตถ์ในโอกาสที่ ครม. เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2562 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งพิธีนี้จัดขึ้นเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สำหรับถ้อยคำที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 คือ "ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"

ทว่าในคลิปภาพและเสียงที่ปรากฏในข่าวพระราชสำนัก พล.อ. ประยุทธ์ ไม่ได้กล่าวถ้อยคำที่ว่า "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ" อีกทั้งยังเติมคำว่า "ตลอดไป" เข้าไปในช่วงท้าย

คำถวายส ตย ของนายกร ฐมนตร ม ว าอย างไร

ที่มาของภาพ, สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ในการพิจารณาของผู้ตรวจฯ ได้รวม 3 คำร้องมาพิจารณาในคราวเดียวกัน ประกอบด้วย

  • 5 ส.ค. นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ว่าการกระทำของนายกฯ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
  • 5 ส.ค. นายอัยย์ เพชรทอง เลขาธิการองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ (อปพส.) ขอให้ตรวจสอบการกระทำของนายกฯ รวมทั้ง ครม. กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน ส่งผลให้การเข้ารับตำแหน่ง ไม่สมบูรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่
  • 20 ส.ค. นายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน อาจขัดรัฐธรรมนูญ และมีผลทำให้การกระทำในเวลาต่อมาของรัฐบาล เช่น การตั้งคณะรัฐมนตรี การแถลงนโยบาย การโยกย้ายข้าราชการเป็นโมฆะไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจฯ ได้มีมติให้ยุติการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตามที่นายศรีสุวรรณ และนายอัยย์ ยื่นคำร้องมา ทั้งนี้นายรักษเกชาให้เหตุผลว่า "การถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นเรื่องของการกระทำ ไม่ใช่เรื่องบทบัญญัติของกฎหมาย จึงไม่เป็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" ส่วนการส่งเรื่องไปศาลปกครอง ผู้ตรวจฯ เห็นว่า "การถวายสัตย์เป็นเรื่องการกระทำตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การกระทำตามปกครอง จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ในการส่งเรื่องไปยังศาลปกครอง"

ขณะที่นักการเมืองและนักกิจกรรมการเมืองต่างพากันตั้งคำถามว่ารัฐธรรมนูญยังเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ และผลกระทบที่อาจตามมาหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ประจำประเทศไทย

พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ ที่ระบุว่า การที่นายกฯ และ ครม. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสูงสุดของประเทศ ถือเป็นแบบอย่างการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย "จะเกิดสภาพการณ์ผู้คนในสังคมไม่เคารพกฏหมาย บ้านเมืองจะไร้ระเบียบตามมา จนนำไปสู่วิกฤติการณ์ความแตกแยกที่ยากต่อการแก้ไขต่อไป"