ภ ม ประเทศประเทศ ส ว ต เซอร แลนด

เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงานโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ในไตรมาส 4 ปี 2565 อยู่ในภาวะซบเซา โดยสำนักงานเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ (State Secretariat for Economic Affairs: SECO) ประเมินว่าภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจปี 2565 ทั้งปีอยู่ที่ 2.1% ขณะที่ประมาณการเติบโตในปี 2566 จะยังเติบโตในอัตราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 1%

ในปี 2565 สวิสเซอร์แลนด์มีภาวะเงินเฟ้อ 2.8% (เดือน ส.ค. 2565 อยู่ที่ 3.5% สูงสุดในรอบ 30 ปี) ซึ่งแม้ว่าจะต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ แต่ก็เป็นผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในปีเดียวกันสูงขึ้นเป็น 2.8% ซึ่งสูงที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 2536 ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.7% โดยรัฐบาลและธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ต่างพยายามรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยที่ผ่านมาธนาคารกลางได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 3 ครั้งเพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อ แต่จะยังไม่แทรกแซงการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ด้านตลาดแรงงานในปี 2565 ที่ผ่านมามีอัตราว่างงานต่ำสุดในรอบ 20 ปี แต่กลับประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะสูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น

SECO คาดการณ์ปี 2566 ของสวิตเซอร์แลนด์จะเติบโตต่ำที่ 1% บนสมมติฐานว่าประเทศจะไม่ขาดแคลนพลังงานในช่วงฤดูหนาวปี 2565/66 หรือ 2566/67 โดยภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยหลักที่กดดันการเติบโตที่กระทบค่าครองชีพ การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว

ข้อมูลเพิ่มเติมในบางอุตสาหกรรม 1. การท่องเที่ยว คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเท่ากับ 95% ของระดับก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 และคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวเต็มที่ได้ในช่วงปี 2568-69

2. อุตสาหกรรมหนัก จักรกร ไฟฟ้า โลหะ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังเยอรมนีซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของการส่งออกทั้งหมด ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์พลังงานเงินฟรังก์สวิสแข็งค่า

3. อุตสาหกรรมนาฬิกา จะเติบโตต่อเนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมาตามแนวโน้มตลาดโลก โดยนาฬิกามูลค่าสูงได้กลายเป็นสินค้าเพื่อการลงทุน

4. เภสัชภัณฑ์และ biotech ซึ่งเป็นสาขาที่สวิสเซอร์แลนด์เชี่ยวชาญ ยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ ราคาเภสัชภัณฑ์ที่ปรับสูง การเจรจาความตกลง Institutional Framework Agreement (InstA) กับ EU ซึ่งหยุดชะงักไปในปี 2564 จากประเด็นติดขัดเรื่องการเคลื่อนย้ายคนโดยเสรีบุคลากรวิทยาศาสตร์และนักวิจัย

5. ธุรกิจระหว่างประเทศ ได้รับแรงผลักดันให้ต้องปรับตัวเรื่องการทำธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิภบาล (ESG) โดยปี 2566 จะเป็นครั้งแรกที่บริษัทขนาดใหญ่ต้องรายงานผลการดำเนินงานตามแนวทางทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายใหม่ของสวิสเซอร์แลนด์

สำหรับปี 2567 SECO คาดการณ์การเติบโตจะอยู่ที่ 1.6% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.5% และอัตราการว่างงานเฉลี่ยจะปรับเพิ่มไปอยู่ที่ 2.4% มีการแข่งขันสูงในตลาดแรงงานทักษะสูงสาขาสาธารณสุขและ IT ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากเท่ากับประเทศยุโรปอื่น ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่

ฝ่ายแรงงาน คณะผู้แทนถาวรฯ ณ นครเจนีวา ไม่พบว่ามีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยตรง คนไทยที่ทำงานอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่เกิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือมีบิดามารดาและคู่สมรส หรือญาติที่มีภูมิลำเนาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนักศึกษาที่ทำงานบางเวลา ทั้งนี้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่มีนโยบายนำเข้าแรงงานจากต่างชาติ และการอนุญาตให้แรงงานในสหภาพยุโรปสามารถเข้ามาทำงานได้ค่อนข้าง เป็นอิสระ จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นๆ ประกอบกับข้อบังคับด้านแรงงานและสวัสดิการ ที่เข้มงวดทำให้การส่งคนงานเข้าไปทำงานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง สวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ: Switzerland, เยอรมัน: die Schweiz, ฝรั่งเศส: la Suisse, อิตาลี: Svizzera, โรมานช์: Svizra) หรือชื่อทางการคือ สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation) เป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปกครองแบบสหพันธ์ และตั้งอยู่ในใจกลางทวีปยุโรปบนเทือกเขาแอลป์ โดยมีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง Confoederatio Helvetica เป็นชื่อทางการของประเทศในภาษาละติน และหลีกเลี่ยงการใช้หนึ่งใน 4 ภาษาทางการ ซึ่งคำย่อ คือ CH ใช้เป็น โดเมนระดับบนสุดสำหรับอินเทอร์เน็ต (top level domain) เป็นต้น

ภ ม ประเทศประเทศ ส ว ต เซอร แลนด

เมืองหลวง : กรุงเบิร์น (Bern) เมืองมรดกโลก

ภ ม ประเทศประเทศ ส ว ต เซอร แลนด

ภาษา/ประชากร : จำนวนประชากร 6.9 ล้านคน

ภาษา เยอรมัน - ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝรั่งเศส - ภาคตะวันตก

อิตาเลียน - ภาคใต้

โรมันช์ (Rhaeto-Romanic - ภาษาละตินโบราณ) ใช้พูดกันในชนกลุ่มน้อยของมณฑล กริซองส์ (Grisons)

อังกฤษ - พูดกันได้ทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

ภาษาทางการในประเทศสวิตเซอแลนด์: เยอรมัน (62.7%; 72.5%) ฝรั่งเศส (20.4%; 21.0%) อิตาลี (6.5%; 4.3%) โรมานซ์ (0.5%; 0,6% )

ประชากร 7.5 ล้านคน (ปี 2549) เป็นชาวสวิส เยอรมันร้อยละ 65 สวิสฝรั่งเศสร้อยละ 18 สวิสอิตาเลียน ร้อยละ 10 โรมานช์ ร้อยละ 1 อื่น ๆ ร้อยละ 6

วัฒนธรรม

ประชาชนร้อยละ 48 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 44 นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 8 นับถือศาสนาอื่นๆหรือมิได้นับถือศาสนา

ภูมิอากาศ : ภูมิอากาศของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่ และมีลักษณะภูมิอากาศตั้งแต่ แบบแอลป์ ไปจนถึง แบบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับฤดูใบไม้ผลิ สภาพอากาศที่นั่นกำลังเย็นสบายเลยค่ะ ถ้าอยู่ในเมือง อากาศจะอยู่ที่ประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส แต่ถ้าขึ้นไปบนภูเขาสูงมีหิมะปกคลุม อุณหภูมิจะติดลบ เมื่อถึงฤดูหนาว ในประเทศจะเต็มไปด้วยหิมะ และอาจมีฝนด้วยในบางครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่อุณหภูมิจะติดลบนะคะ ส่วนฤดูร้อน อากาศจะอบอุ่นและเย็นชื้น โดยอาจมีฝนตกบ้าง อุณหภูมิในช่วงฤดูนี้อาจสูงถึง 30 องศาเซลเซียสได้

Daylight Savings time ตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคม จนถึงสิ้นเดือนตุลาคม เวลาในสวิตเซอร์แลนด์จะเปลี่ยนจาก GMT+1 เป็น GMT+2 (ช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมง ตามลำดับ) โดยเริ่มตั้งแต่คืนวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม เวลา 02.00 น. ใช้เวลา GMT+2 และตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ สุดท้ายของเดือนตุลาคม เวลา 03.00 น. ใช้เวลา GMT+1

เงินตราและตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงิน สวิตเซอร์แลนด์

ชื่อ สวิสฟรังก์ (Swiss Francs) ธนบัตร ใบละ 10, 20, 50, 100, 200, 500 และ 1,000 เหรียญ หน่วยเป็นซองตีมส์ (Centimes) 5, 10, 20, 50 หน่วยเป็นฟรังซ์ 1, 2, 5