มหาล ยส รนาร โคราช ม ว ศะอะไรบ าง

High Quality Imitation Watches Bell Ross Men brand since of very good at creating some ultra-modern style style watches, and thus seriously like lots of men and women, https://www.replicaswatches.online/ and these watch mates usually possess a certain degree of brand loyalty, replica rolex but to manage significantly less, right after all, regardless of whether it is style or size , Along with the mainstream watch features a significant distinction.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปทางตำบลจอหอ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา พื้นที่หลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 174 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา และมีศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร อีก 100 ไร่ อยู่ที่ ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ติดกับสวนสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประมาณ 15 กิโลเมตร

มีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยว่า

แหล่งวิชาการ สร้างสรรค์คนดี มีคุณธรรม นำสังคม

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2457

การฝึกหัดครูได้เริ่มในมณฑลนครราชสีมา เมื่อกระทรวงธรรมการให้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) ในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าศึกษาหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู

พ.ศ. 2466

กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ที่ข้างวัดโพธิ์ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) และประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดนครราชสีมา ” เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)

พ.ศ. 2481

ย้ายไปอยู่แทนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2485 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลโนนสูง” เปิดสอน 3 หลักสูตรได้แก่ ประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) และประโยคครูมูล (ม.)

พ.ศ. 2490

ย้ายเข้ามาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา ” ในปี พ.ศ. 2495 ได้ยุบเลิกหลักสูตรเดิม 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)

พ.ศ. 2502

ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูนครราชสีมา” และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) ต่อจากระดับ ป.กศ.

พ.ศ. 2507

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรับฟังคำกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าของการฝึกหัดครูไทยและทอดพระเนตรกิจการวิทยาลัยครูนครราชสีมาและนิทรรศการด้านวิชาการของนักศึกษา

พ.ศ. 2518

ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 จึงขยายการผลิตครูถึงระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

พ.ศ. 2520

เริ่มโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) แล้วพัฒนามาเป็นโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2527

เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาในระดับอนุปริญญาและขยายถึงระดับปริญญาตรีในระยะต่อมา ปัจจุบันมี 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชานิติศาสตร์

พ.ศ. 2537

เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏนครราชสีมา” สามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี

พ.ศ. 2541

เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา และปีต่อ ๆ มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2545 ได้เปิดสอนสาขาอื่นเพิ่มอีก 6 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และสาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน

พ.ศ. 2547

ได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”

พ.ศ. 2548

เปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต

พ.ศ. 2549

เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา และเปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา ได้แก่ สาขา เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

มหาล ยส รนาร โคราช ม ว ศะอะไรบ าง
ตราประจำมหาวิทยาลัย

รูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือเลข "๙" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด รอบนอกของตราด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ด้านล่างมีตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า “NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY”

ความหมายสีทั้ง 5 สีในตราสัญลักษณ์

  • สีน้ำเงิน ( ███ ) แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
  • สีเขียว ( ███ ) แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีทอง ( ███ ) แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • สีส้ม ( ███ ) แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 มหาวิทยาลัยฯ
  • สีขาว ( ███ ) แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

มหาล ยส รนาร โคราช ม ว ศะอะไรบ าง
ต้นราชพฤกษ์

  • ต้นราชพฤกษ์ (Cassia fistula) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

คณะและหน่วยงานในสังกัด[แก้]

คณะ[แก้]

  • คณะครุศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (โครงการจัดตั้ง)
  • บัณฑิตวิทยาลัย

สำนัก[แก้]

  • สำนักงานอธิการบดี เก็บถาวร 2018-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เก็บถาวร 2008-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เก็บถาวร 2008-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สำนักคอมพิวเตอร์
  • สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน

ศูนย์[แก้]

  • ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เก็บถาวร 2008-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศูนย์ภาษา เก็บถาวร 2007-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศูนย์สุขภาพชุมชน เก็บถาวร 2012-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา

หน่วยงานอื่นๆ[แก้]

  • สำนักตรวจสอบภายใน
  • โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เก็บถาวร 2012-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • โครงการสหกิจศึกษา เก็บถาวร 2011-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • คลินิกเทคโนโลยี เก็บถาวร 2008-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • องค์การนักศึกษา เก็บถาวร 2009-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อาคารสถานที่[แก้]

อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) ประกอบด้วยพื้นที่โล่งสำหรับทำกิจกรรม ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องประชุม ห้องบรรยาย และห้องเรียนรวม มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อให้เป็นอาคารเรียนรวมสำหรับนักศึกษา รองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการเปิดหลักสูตรเพิ่มหลายสาขาวิชา เริ่มจากการเชิญชวนผู้บริหาร คณาจารย์ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ดำเนินการออกแบบและขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง และงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม โดยเมื่อรับมอบอาคารเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขอพระราชทานชื่ออาคารจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่ออาคารเรียนรวมของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ว่า “อาคารยุพราชเบญจมงคล” มีความหมายว่าเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอย่างยิ่ง

มหาล ยส รนาร โคราช ม ว ศะอะไรบ าง
ห้องสมัยอยุธยาส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา (อาคาร 10) เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่มีการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ควรค่าที่คนโคราชจะได้รับรู้และภาคภูมิใจ โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้เยาวชนชื่นชอบและสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในประวัติศาสตร์ ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมาที่นักท่องเที่ยวจะได้รับข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณจังหวัดนครราชสีมาก่อนที่จะไปชมยังสถานที่จริง

มหาล ยส รนาร โคราช ม ว ศะอะไรบ าง
ศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์

ศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์ เป็นเทวสถานประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายในประดิษฐานประติมากรรมปูนปั้นขุนศักรินทร์ สิ่งศักสิทธิ์ที่ชาวราชภัฏนครราชสีมาเชื่อว่าท่านคอยปกป้องคุ้มครองให้ทุกคนมีความแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งมีพิธีบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่อลังการต่อเนื่องทุกปี