ม.อ บล พ ฒนานว ตกรรม เคร องส บมะละกออ ตโนม ต

เผยแพร่: 17 ก.พ. 2553 13:46 โดย: MGR Online

"กรีนพีซ" เรียกร้องรัฐบาล เร่งตรวจสอบกรณีไบโอไทยพบพืชจีเอ็มโอปนเปื้อนในแปลงเปิด 5 ชนิด ในหลายจังหวัด มีมะละกอรวมอยู่ด้วย คาดเป็นพันธุ์เดียวกับที่เคยพบเมื่อปี 47 เตรียมยื่นเรื่องถึงศาลปกครอง จี้ภาครัฐพิสูจน์อีกครั้ง หากพบให้รีบทำลายทิ้งทันที พร้อมเรียกร้องรัฐบาลทบทวนนโยบายหนุนปลูกพืชจีเอ็มโอใหม่ ออกกฏหมายให้เข้มแข็งเพื่อควบคุมจีเอ็มโอทุกชนิด และหวังให้ยุติการทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรมในไทยทุกระดับ

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้ออกมาเปิดเผยรายงาน "เบื้องลึกจีเอ็มโอ ต้นทุนที่ไม่จำเป็น" เมื่อวันที่ 12 ก.พ.53 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานกรีนพีซ อาคารทอง สุทธิสาร พร้อมกับเรียกร้องรัฐบาลเร่งตรวจสอบกรณีมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ตรวจพบพื้นจีเอ็มโอปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มเติม และยังพบว่าเป็นพืชจีเอ็มโอชนิดใหม่ที่พบการปนเปื้อนครั้งแรกในประเทศไทยด้วยอีก 2 ชนิด

น.ส.ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการปลูกพืชจีเอ็มโอได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศมาแล้วจากการพบสินค้าเกษตรปนเปื้อนจีเอ็มโอ และความล้มเหลวในพื้นที่เพาะปลูก และปัจจุบันพบว่าพื้นที่เพาะปลูกพืชจีเอ็มโอในยุโรปลดลงประมาณ 7% เพราะสหภาพยุโรปมีมาตรการเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอเข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศยุติการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอแล้ว

"ล่าสุดรัฐบาลอินเดียก็ไม่อนุมัติการปลูกมะเขือดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมมากเพียงพอ และเกรงว่าจะกระทบต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะเขือในอินเดีย และตลาดส่งออกมะเขือ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอินเดียวเทียบได้กับข้าวของไทย" น.ส.ณัฐวิภา กล่าว

ส่วนในประเทศไทยนั้น ล่าสุดทางมูลนิธิชีววิถีได้แถลงรายงานการตรวจพบพืชดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 5 ชนิด ในหลายจังหวัด เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 53 ที่อาคารเคยูโฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมูลนิธิชีววิถีร่วมกับห้องปฏิบัติการทรานส์เจนิคเทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเซอร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุ่มตรวจสอบการปนเปื้อนทางพันธุกรรมของพืชจีเอ็มโอ ระหว่าง เดือน พ.ย. 51- ก.ค. 52 จำนวน 768 ตัวอย่าง จากพืช 9 ชนิด ในพื้นที่เกษตรกรรม 40 จังหวัด ครอบคลุม 120 อำเภอ ทั่วประเทศ

ในรายงานระบุว่าผลการตรวจสอบพบพืชจีเอ็มโอปนเปื้อนในพื้นที่ของเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 5 ชนิด จำนวน 17 ตัวอย่าง ได้แก่ ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วเหลือง มะละกอ และพริก ซึ่งในจำนวนนี้ ถั่วเหลือง และพริก เป็นพืชจีเอ็มโอชนิดใหม่ที่พบหลักฐานการปนเปื้อนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยถั่วเหลืองจีเอ็มโอพบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่ และนครสวรรค์ ส่วนพริกจีเอ็มโอพบในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น

ส่วนมะละกอจีเอ็มโอนั้นพบการปนเปื้อนในจังหวัดนครสรรค์และกาญจนบุรี โดยตรวจพบโครงสร้างชิ้นส่วนดีเอ็นเอ 35S promoter ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นมะละกอดัดแปลงพันธุกรรมที่เคยพบปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรกรรมเมื่อปี 2547 และหลงเหลือจากการทำลายในครั้งนั้น รวมทั้งฝ้ายจีเอ็มโอที่พบใหม่ คาดว่าเป็นฝ้านต้าทานหนอนเจาะสมอฝ้ายสายพันธุ์เดียวกับที่เคยพบการปนเปื้อนเมื่อหลายปีก่อน

"หลังจากที่ไบโอไทยเปิดเผยการพบพืชจีเอ็มโอปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรครั้งนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ มะละกอจีเอ็มโอก็พบว่ายังมีปนเปื้อนอยู่อีก ทั้งที่ภาครัฐบอกว่าได้ทำลายไปหมดแล้ว และรายงานการพบพืชจีเอ็มโอปนเปื้อนในไทยทุกครั้งมาจากภาคประชาชน แสดงให้เป็นถึงความหละหลวมและไม่เอาจริงเอาจังของหน่วยงานภาครัฐในเรื่องนี้ ทั้งที่มีหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังเรื่องนี้โดยตรง" น.ส.ณัฐวิภา กล่าวแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชนอีกหลายสำนัก

น.ส.ณัฐวิภา กล่าวต่อว่า กรีนพีซจะติดต่อขอข้อมูลการพบมะละกอจีเอ็มโอปนเปื้อนจากทางมูลนิธิชีววิถี และทำหนังสือถึงศาลปกครอง เพื่อประกอบการพิจารณาคดีกรีนพีซฟ้องกรมวิชาการเกษตร ว่าได้ละเลยต่อหน้าที่และปล่อยให้มีการแพร่กระจายของมะละกอจีเอ็มโอสู่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างอุทธรณ์

"เราจะรวบรวมข้อมูลและยื่นต่อศาลปกครองให้เร็วที่สุด และหวังว่าศาลจะตัดสินใหม่ให้กรมวิชาการเกษตรเร่งตรวจสอบการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอในพื้นที่เกษตรกรรมใหม่ทั้งหมด และหากพบว่ายังมีอยู่จริงให้รีบทำลายทิ้งให้หมดทันที" น.ส.ณัฐวิภา กล่าว และส่วนกรณีการตรวจพบการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอชนิดใหม่ รัฐบาลควรตั้งคณะกรรมการเพื่อเร่งตรวจสอบและสืบหาสาเหตุการปนเปื้อนโดยเร็วที่สุดด้วย

นอกจากนั้น กรีนพีซยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนเพื่อจีเอ็มโอเสียใหม่ ควรยุติการทดลองพืชจีเอ็มโอในประเทศไทยทุกชนิดในทุกระดับการทดลอง เพราะแม้ทดลองในห้องปฏิบัติการก็มีโอกาสหลุดออกมาปนเปื้อนในธรรมชาติได้ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและควบคุม อย่างความล้มเหลวที่ผ่านมาในกรณีของฝ้ายและมะละกอจีเอ็มโอ

มะละกอมีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมต่ำ เป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร ธาตุโพแทสเซียม วิตามินเอ ซี และโฟเลต แต่ร้อยละ 92 ของพลังงานจากมะละกอสุกมาจากคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ควบคุมอาหารแป้งและน้ำตาลจึงไม่ควรกินมะละกอมากเกินไป

สีแดงอมส้มที่พบในมะละกอสุกแสดงว่า มะละกอสุกมีสารไลโคพีนซึ่งเป็นสารช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

มะละกอสุกอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ แคโรทีน วิตามินซี สารฟลาโวนอยด์ สารโฟเลต กรดแพนโทเทนิก ธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร สารอาหารเหล่านี้บำรุงสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด และป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อีก ด้วย นอกจากนี้มะละกอมีเอนไซม์ปาเปน สามารถนำมาใช้ด้านการแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บทางการกีฬา

นอกจากนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินสบรุ๊ค ประเทศออสเตรีย พบว่ามะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระ สูงสุดเมื่อสุกงอม เนื่องจากคลอโรฟิลล์สีเขียวเปลี่ยนเป็นสารไม่มีสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างเยี่ยมยอดอีกชนิดหนึ่ง เรียก NCCs (nonfluorescing chlorophyll catabolytes) สะสมบริเวณเปลือกผลและใต้ผิวเปลือก เวลาปอกมะละกอสุกจึงไม่ควรกรีดริ้วบริเวณใต้เปลือกเพราะจะสูญเสียคุณค่าอาหารนี้ไป

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มะละกออาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัวและโรคหัวใจที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ดี มะละกอมีวิตามินซี วิตามินอีและวิตามินเอ (ในรูปของสารแคโรทีนอยด์) ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล เชื่อว่าวิตามินซีและอีช่วยการทำงานของเอนไซม์พาราออกโซเนสซึ่งหยุดการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล

เส้นใยอาหารในมะละกอช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนกรดโฟลิกใช้เปลี่ยนกรดอะมิโฮโมซิสเทอีนเป็นกรดอะมิโนซิสเทอีนที่ไม่มีพิษภัยอะไร ถ้ามีโฮโมซิสเทอีนอยู่มากกรดอะมิโนนี้จะทำลายผนังหลอดเลือด เกิดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้

ช่วยระบบทางเดินอาหาร สารอาหารในมะละกอช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหารจากมะละกอสามารถจับกับสารพิษก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่และพาส่งออกทำให้เกิดการสัมผัสกับเซลล์ลำไส้ใหญ่น้อยที่สุด และสารโฟเลต บีตาแคโรทีน วิตามินซีและอี ที่พบในมะละกอ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยลดการถูกทำลายของสารพันธุกรรมในเซลล์ดังกล่าวด้วยอนุมูลอิสระ

ฤทธิ์ต้านอักเสบ มะละกอมีเอนไซม์ปาเปนและไคโมปาเปนช่วยย่อยโปรตีน เอนไซม์เหล่านี้สามารถช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นการสมานแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ งานวิจัยจากประเทศมาเลเซียพบว่า สารสกัดจากเปลือกผลมะละกอดิบเร่งอัตราเร็วของการสมานแผลในหนูทดลองได้เร็วกว่าการใช้ยาทา Solcoseryl ถึง 1 สัปดาห์

บีตาแคโรทีน วิตามินซีและอีในมะละกอก็มีฤทธิ์ลดการอักเสบเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์จะได้ประโยชน์จากการกินมะละกอเพื่อลดอาการของโรคดังกล่าว ปัจจุบันมีการใช้เอนไซม์จากมะละกอดังกล่าวผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม การอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัดแล้ว

ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยนบีตาแคโรทีนที่ได้จากมะละกอสุกเป็นวิตามินเอและซีได้ เนื่องจากร่างกายต้องการวิตามินทั้งสองเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ให้ทำหน้าที่ได้ราบรื่น จึงพบว่าการกินมะละกอ เป็นประจำอาจลดความถี่การเกิดไข้หวัดและการติดเชื้อในช่องหูได้

การป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อม งานวิจัยตีพิมพ์ในต่างประเทศกล่าวว่าการกินผลไม้ 3 ครั้งต่อวันอาจลดความเสี่ยงของอาการภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ อันเป็นสาเหตุของการเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ เนื่องจากคนไทยกินมะละกอ ทั้งดิบหรือสุกอยู่เป็นปกติ ดังนั้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวลดลงในยามชรา

ป้องกันโรคถุงลมปอดโป่งพองและมะเร็งปอด งานวิจัยของมหาวิทยาลัยรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกาพบว่า สารก่อมะเร็งจากบุหรี่ (benzo(a)pyrene) ทำให้เกิดการขาดวิตามินเอในสัตว์ทดลองที่ได้รับอาหารปกติ และเกิดอาการถุงลมปอดโป่งพอง แต่สัตว์ที่ได้รับวิตามินเอปริมาณมากแต่ได้รับสารดังกล่าวไม่พบว่ามีอาการถุงลมปอดโป่งพอง

ผู้วิจัยจึงเชื่อว่าผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นนิตย์ควรป้องกันตนเองโดยการกินอาหารที่มีวิตามินเอสูงเป็นประจำ และมะละกอสุกก็เป็นหนึ่งในอาหารดังกล่าว

เมล็ดมะละกอใช้รักษามะเร็ง ที่ประเทศอินเดียกล่าวสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ว่าเมล็ดมะละกอใช้รักษาโรคมะเร็งได้ งานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นรายงานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 นี้ว่า เมล็ดมะละกอมีเอนไซม์ไมโรซิเนส และสารเบนซิลกลูโคซิโนเลตในปริมาณมาก

สารเบนซิลกลูซิโนเลตนี้ส่วนใหญ่พบในพืชวงศ์คะน้า มีฤทธิ์ขับไล่สัตว์กินพืชในธรรมชาติ แต่มนุษย์ย่อยสารนี้โดยใช้เอนไซม์ไมโรซิเนส ได้สารต้านมะเร็ง งานวิจัยยังพบว่าสารสกัดเฮกเซนของเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารซูเปอร์ออกไซด์ และมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งแบบอะป๊อปโทซิส จะเห็นว่าเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้จริงตามภูมิปัญญาการแพทย์อินเดีย แต่ต้องใช้เวลาอีกมากกว่าจะมีการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันได้ต่อไป

จากมะละกอมาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มะละกอ นอกจากกินเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือชามะละกอได้ น้ำมะละกอ สุกช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยการทำงานของลำไส้ ทำความสะอาดไต และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย ส่วนชามะละกอดิบช่วยล้างระบบดูดซึมสารอาหาร คือ ล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ซึ่งเกาะตัวที่ผนังลำไส้ ที่ขัดขวางการดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดด้วย

ปัจจุบันมีน้ำมะละกอหมักจำหน่ายแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ที่ทำเป็นผงบดแห้งก็มี แต่ประเทศไทยปลูกมะละกอได้ผลตลอดปีเรามาทำน้ำมะละกอสดดื่มกันเองดีกว่า

น้ำมะละกอสุก เลือกมะละกอที่สุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง หรือเละจนเกินไป เนื้อเนียน รสหวาน นำมะละกอสุกหั่นเอาแต่เนื้อครึ่งถ้วย น้ำเย็นจัด 1 ถ้วย ผง อบเชย 1/8 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำมะนาว 2 ช้อนชา ปั่นมะละกอกับน้ำเย็นจัด เกลือ น้ำมะนาวเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว โรยด้วยผงอบเชย ดื่มเย็นๆ ทันที

ชามะละกอจากผลมะละกอดิบ ใช้มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไปครึ่งผล ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพิ่มดอกเก๊กฮวย ใบเตย หรือรากเตยไปด้วยถ้ามี

ดอกเก๊กฮวยและใบเตยมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ส่วนรากเตยช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้มีกำลัง ปอกเปลือกมะละกอล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นแบบชิ้นฟัก นำชิ้นมะละกอใส่หม้อ เติมน้ำ 3-4 ลิตร ตั้งไฟ (ใส่ดอกเก๊กฮวย หรือใบเตย หรือรากเตยตามชอบ) เมื่อน้ำเดือดสักพักหนึ่งยกหม้อลง ตักมะละกอ และดอกเก๊กฮวยออก ให้เหลือแต่น้ำ นำน้ำดังกล่าวไปชงชา ใส่ใบชาประมาณครึ่งกำมือ หลัง 5 นาทีกรองเอากากชาออก ทิ้งไว้ให้เย็นดื่มได้ทันที หรือบรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 3 วัน

สูตรโบราณจากประเทศอินเดียที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันให้เคี้ยวเมล็ดจากผลสุกสิบเมล็ดพร้อมกลืน ช่วยกระตุ้นระบบน้ำดี ย่อยไขมัน ล้างระบบทางเดินอาหาร และช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ