ฉ นไม ม อพไรจะพ ดแล ว ภาษาอ งกฤษ

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย

หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้

เนื้อหา: -

ก[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ก็ ก้อ กงเกวียนกำเกวียน กงกำกงเกวียน กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน กงสุล กงศุล - "กรมการกงสุล" เรียกสั้น ๆ เป็น "กงสุล" - ซึ่งคำว่า "กงสุล" นั้นมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "consul" กฎ กฏ กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก ส่วน กรกฎ/กรกฏ สะกดได้ทั้งสองแบบ กบฏ กบฎ, กบถ - "กบฏ" ใช้ ฏ ปฏัก - ในสมัยโบราณ เคยสะกดด้วย ฎ ชฎา (ดู พจนานุกรมกฎหมาย ของ ขุนสมาหารหิตะคดี) - ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ" กบาล, กระบาล กะบาล, -บาน ใช้เรียกศีรษะ แต่เป็นคำไม่สุภาพ กรรมกร กรรมกรณ์ - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน - "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ กรรมกรณ์ กรรมกร - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน - "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ กระเชอ กระเฌอ, กะเชอ, กะเฌอ ระวังสับสนกับ เฌอ กระเพาะ กะเพาะ, กะเพราะ, กระเพราะ ระวังสับสนกับ กะเพรา กริยา กิริยา "กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา กรีฑา กรีธา, กรีทา กีฬาประเภทหนึ่ง กรีธา กรีฑา เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ กลยุทธ์ กลยุทธ, กลยุทธิ, กลยุทธิ์ กลางคัน กลางครัน กลิ่นอาย กลิ่นไอ อาย แปลว่า กลิ่น ดังนั้นจึงเป็นการใช้คำที่มีความหมายซ้ำกัน เช่น คำว่า ภูเขา (ภู แปลว่า เขา) กสิณ กสิน กเฬวราก กเลวราก กอปร กอป, กอปร์ อ่านว่า "กอบ" กอล์ฟ กลอฟ, กอลฟ์, ก็อลฟ์, ก็อล์ฟ, ก๊อลฟ์, ก๊อล์ฟ กะทันหัน กระทันหัน กะเทย กระเทย กะเทาะ กระเทาะ กะบังลม กระบังลม กะปิ กระปิ กะพง กระพง กะพริบ กระพริบ กะพรุน กระพรุน กะเพรา กะเพา, กระเพา, กระเพรา ระวังสับสนกับ กระเพาะ กะล่อน กระล่อน กะละมัง กาละมัง กะลาสี กลาสี กะละแม กาละแม, กาลาแม, กาละแมร์ กะหรี่ กระหรี่ กะเหรี่ยง กระเหรี่ยง กะหล่ำ กระหล่ำ กะโหลก กระโหลก จำไว้ว่า กะโหลก กะลา กังวาน กังวาล กาลเทศะ กาละเทศะ กาลเวลา กาฬเวลา กาล หมายถึง เวลา แต่ กาฬ หมายถึง รอยดำหรือแดง กำเหน็จ กำเหน็ด กิตติมศักดิ์ กิติมศักดิ์, เกียรติมศักดิ์ กินรี กินนรี แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร' กิริยา กริยา "กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา กุฎี, กุฏิ กุฎ, กุฎิ "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุ-ติ" หรือ "กุด-ติ" , ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้) เกม เกมส์ ในภาษาไทยสำหรับกรณีทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสื่อความหมายถึงเอกพจน์หรือพหูพจน์ เว้นแต่เป็นการทับศัพท์วิสามานยนาม เช่น "SEA Games" ว่า ซีเกมส์ เกล็ดเลือด เกร็ดเลือด เกษียณ เกษียน, เกษียร เกษียณ = สิ้นไป เช่นเกษียณอายุ; เกษียน = เขียน; เกษียร = น้ำนม เกสร เกษร ส่วนในของดอกไม้ เกาต์ เก๊าท์ เกียรติ เกียรติ์ อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์ แก๊ง แก๊งค์, แก๊งก์ "แก๊ง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "gang" ในภาษาไทยเป็นภาษาปาก หมายความว่า "กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล" แกร็น แกน, แกรน ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช), เช่น แคระแกร็น

ข[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ขบถ ขบฏ ดู กบฏ ขโมย โขมย ขวาน ขวาญ ขะมักเขม้น ขมักเขม้น ขาดดุล ขาดดุลย์ ดู "ดุล", "สมดุล" ข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวมูล มูน = เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน ขี้เกียจ ขี้เกลียด, ขี้เกียด ไข่มุก ไข่มุกด์, ไข่มุข

ฃ[แก้ไข]

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฃ" โดยหันไปใช้ "ข" แทน เช่น "ฃวด" ก็ใช้เป็น "ขวด" เป็นต้น

ค[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ คทา คฑา, คธา คน ฅน ฅ ไม่เคยใช้เขียนคำว่า ฅน ครรไล ครรลัย ครองราชย์ ครองราช คำว่า "ราชย์" หมายถึง ความเป็นราชา, "ครองราชย์" จึงหมายถึง ครองความเป็นราชา ทั้งนี้ คำว่า "ครองราชสมบัติ" หมายความว่า ครองสมบัติของพระราชา ก็คือ ครองความเป็นราชา (มิใช่ "ครองราชยสมบัติ" อันแปลว่า ครองสมบัติแห่งความเป็นพระราชา) คริสตกาล คริสต์กาล ใช้ตามโบราณ คริสตจักร คริสต์จักร ใช้ตามโบราณ คริสต์ทศวรรษ คริสตทศวรรษ ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา คริสต์ศตวรรษ คริสตศตวรรษ ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา คริสต์ศักราช คริสตศักราช คริสต์ศาสนา คริสตศาสนา ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา คริสต์ศาสนิกชน คริสตศาสนิกชน คริสต์มาส คริสตมาส ครุฑ ครุท ครุภัณฑ์ คุรุภัณฑ์ ครุศาสตร์ คุรุศาสตร์ คฤหาสน์ คฤหาสถ์ คฤห + อาสน คลิก คลิ้ก, คลิ๊ก คลินิก คลีนิก, คลินิค ค้อน ฆ้อน คะ ค๊ะ คะนอง คนอง คาร์ป คาร์ฟ, คราฟ, คาร์พ, คราพ ชื่อปลา ทับศัพท์มาจาก carp คารวะ เคารวะ, คาราวะ, คราวะ คำนวณ คำนวน คำสดุดี คำดุษฎี คุกกี้ คุ้กกี้, คุ๊กกี้ ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ คุรุศึกษา ครุศึกษา เค้ก เค็ก, เค๊ก เครื่องราง เครื่องลาง แค็ตตาล็อก แคตตาล็อก, แคตาล็อก แคระแกร็น แคะแกน, แคะแกรน, แคระแกน, แคระแกรน ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช) โค่ง โข่ง โข่ง = เปิ่น ไม่เข้าท่า / โค่ง = โตกว่าเพื่อน โคตร โครต, โคต, โคด โครงการ โครงการณ์ การ คือ งาน โควตา โควต้า ออกเสียง คว ควบกล้ำ และออกเสียง ต้า โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ คอลัมน์ คอลัมม์

ฅ[แก้ไข]

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฅ" โดยหันไปใช้ "ค" แทน เช่น "ฅอ" ก็ใช้เป็น "คอ" เป็นต้น

ฆ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ฆราวาส ฆรวาส, ฆารวาส, -วาท ฆาตกร ฆาตรกร ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี ฆาตกรรม ฆาตรกรรม ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี เฆี่ยน เคี่ยน - "เฆี่ยน" = ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ เป็นต้น - "เคี่ยน" ไม่มีความหมาย

ง[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ งบดุล งบดุลย์ ไม่ใช่ ดุลย์ งูสวัด งูสวัส, งูสวัสดิ์

จ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ จงกรม จงกลม การฝึกสมาธิ จระเข้ จรเข้ เครื่องดนตรีไทย เรียก "จะเข้" จลนศาสตร์ จลศาสตร์ จลาจล จราจล มาจากคำ จล + อจล จะงอย จงอย จะจะ จะ ๆ คำมูลสองพยางค์ จะละเม็ด จาละเม็ด, จาระเม็ด, จรเม็ด, จระเม็ด จักจั่น จั๊กจั่น จักร จักร์ จักรพรรดิ จักรพรรดิ์ อ่านว่า "จัก-กฺระ-พัด" จักรวรรดิ จักรวรรดิ์ อ่านว่า "จัก-กฺระ-หวัด" จักสาน จักรสาน เครื่องใช้ที่ทำด้วยมือ จาระไน จารไน จาระบี จารบี จำนง จำนงค์ แผลงจาก "จง" จินตนาการ จินตะนาการ, จินตรนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปัจจุบันใช้แบบมีทัณฑฆาต เจตจำนง เจตจำนงค์ แผลงจาก "จง" เจียระไน เจียรไน โจทก์ โจทย์ โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้องร้องในศาลกล่าวหาจำเลย โจทย์ หมายถึง ปัญหา เช่น โจทย์เลข ใจ จัย

ฉ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ฉบับ ฉะบับ ฉบาบ ฉะนั้น ฉนั้น ฉะนี้ ฉนี้ ฉัน ฉันท์ เสมือน เช่น ฉันญาติ ฉันมิตร; รับประทาน ใช้กับพระสงฆ์ ฉันท์ ฉัน ความพอใจ หรือร้อยกรองประเภทหนึ่งมีบังคับครุลหุ เฉพาะ ฉะเพาะ, ฉเพาะ ไฉน ฉไน

ช[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ชมพู ชมภู หมายถึง สีจากธรรมชาติสี นึ่งซึ่งคิดว่าเป็นสีแห่งความรักเหมือนกับสีแดง ชมพู่ ชมภู่ ผลไม้ที่เป็นสีแดง และสี ชมพู ชลมารค ชลมาค, ชลมาคร, ชลมาร์ค หมายถึง ทางนํ้า เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารค ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต ช๊อกโกแลต, ช็อกโกแล็ต, ชอคโกแลต, ช๊อคโกแลต, ช็อคโกแลต ฯลฯ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ชอุ่ม ชะอุ่ม ชะนี ชนี สัตว์ประเภทหนึ่ง ชะมด ชมด เหมือนการที่ต่อแย่ ผู่อื่น ชะลอ ชลอ ชัชวาล ชัชวาลย์ ชีพิตักษัย ชีพตักษัย ชีวประวัติ ชีวะประวัติ สมาสแล้วลบวิสรรชนีย์

ซ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ซวดเซ ทรวดเซ ซ่องเสพ ส้องเสพ ซอฟต์แวร์ ซอฟท์แวร์ ทับศัพท์มาจาก software ซาบซ่าน ทราบซ่าน, -ส้าน ซาบซึ้ง ทราบซึ้ง ซาลาเปา ซาละเปา, ซะละเปา ซาวเสียง ซาวด์เสียง, ซาวน์เสียง, ซาวนด์เสียง หยั่งเสียงเพื่อฟังความคิดเห็น ซีเมนต์ ซีเม็นต์, ซีเมนท์, ซีเม็นท์, ซีเม็น ซุบหน่อไม้, ซุบเห็ด ซุปหน่อไม้, ซุปเห็ด อาหารอีสานมีลักษณะเป็นยำ ซุ่ม สุ่ม, สุ้ม ซุ่ม = ซ่อน, แอบซ่อนคอยทีอยู่ / สุ่ม = เครื่องมือจับปลา, เครื่องสานครอบขังไก่, ไม่เฉพาะเจาะจง ซุ้ม สุ้ม สิ่งที่เป็นพุ่มมีทางลอดได้, ส่วนบนของประตูหน้าต่าง เซ็นชื่อ เซ็นต์ชื่อ จากคำอังกฤษ sign, ไม่มี ต การันต์ เซนติเมตร เซ็นติเมตร แซ่บ แซบ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554; ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเพื่อบ่งว่าเป็นเสียงวรรณยุกต์โทและออกเสียงสั้น (อย่างคำว่า แน่บ) แซว แซ็ว ราชบัณฑิตฯ ออกมาแจงว่าพิมพ์พจนานุกรมผิด ให้ใช้ "แซว" ตามเดิม ไซ้ขน ไซร้ขน โซม โทรม โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง ฯลฯ

ฌ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ฌาน ฌาณ ฌาปนกิจ ฌาปณกิจ เฌอ กะเฌอ, กระเฌอ ระวังสับสนกับ กระเชอ

ญ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ญวน ญวณ ญัตติ ญัติ ญาณ ญาน ญาติ ญาต

ฎ[แก้ไข]

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ ฎีกา ฏีกา ใช้ ฎ ชฎา ตัวอักษรที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสน

ฏ[แก้ไข]

ปัจจุบันไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วย "ฬ" คำโบราณที่ขึ้นต้นด้วย "ฬ" หันไปใช้ "ล" แทน เช่น "ฬา" ก็ใช้เป็น "ลา", "ฬ่อ" ก็ใช้เป็น "ล่อ" เป็นต้น