ว ธ ต ดต งเกจว ดคาวมร อนแบบเข ม

การออกกำลังกายไม่ได้ช่วยลดความอ้วนหรือทำให้มีกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีที่ทำให้สุขภาพปอดแข็งแรงได้ เวลาที่ออกกำลังกาย หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น และปอดก็จะทำงานหนักขึ้น ร่างกายจึงต้องการออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงมากขึ้นเช่นกัน ปอดจึงนำออกซิเจนไปตามส่วนต่างๆ แล้วกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และนั่นก็คือการบริหารการทำงานของปอดนั่นเอง

3.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายปอด

ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ห่างไกลจากปัจจัยที่ทำลายปอด หรือส่งผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานโดยตรง โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพปอดเรื้อรังมากกว่าคนที่ไม่สูบ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคปอดบวม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ฯลฯ รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อในปอด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้กลไกป้องกันการติดเชื้อของปอดลดลง รวมไปถึงควรหลีกเลี่ยงการสูดดมกลิ่นควันรถยนต์และมลภาวะ ซึ่งเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย หากสูดดมเป็นระยะเวลานาน อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอดได้ 4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปี ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้อวัยวะสำคัญได้ทำงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนอนหลับเกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คนที่อดนอนหรือนอนดึกติดต่อกันเป็นเวลานาน มักมีปัญหาด้านสุขภาพและสภาพจิตใจ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคลดลง เจ็บป่วยได้ง่าย รู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน และอาจเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจได้อีกด้วย 5.ดื่มน้ำให้ปอดชุ่มชื้น

การดื่มน้ำเปล่าสะอาดถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เราจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือประมาณวันละ 6-8 แก้ว เนื่องจากน้ำจะช่วยบำรุงปอดให้ชุ่มชื้น ทำให้ปอดไม่แห้ง เพราะหากปอดแห้งจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในปอด เมื่อปอดขาดน้ำและมีอุณหภูมิสูง ก็มักทำให้ปอดติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้ภูมิต้านทานตก มีอาการหิวน้ำ ไอแห้ง ๆ มีไข้ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจในเวลาต่อมาได้เช่นกัน 6.รักษาปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ

หากอยู่ในสถานที่มีอากาศหนาวเย็น ควรสวมเสื้อผ้าหนา ๆ หรือห่มผ้าให้มิดชิด เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ปอดอยู่เสมอ เนื่องจากเมื่ออากาศแห้งและเย็นจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ปอดของเราระคายเคือง อาจส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจหอบ เหนื่อยง่าย บางครั้งอาจมีเสียงหวีดขณะหายใจ หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเป็นปวดบวม ปอดชื้น และปอดติดเชื้อ จนมีอาการทางระบบหายใจที่รุนแรงมากขึ้น การทำให้ปอดอบอุ่นอยู่เสมอจึงถือเป็นวิธีดูแลปอดให้แข็งแรงที่ไม่ควรมองข้าม

7.หายใจเข้า-ออกแบบลึก ๆ

กระบวนการหายใจจำเป็นต้องพึ่งพาปอดเป็นหลัก เนื่องจากเมื่อหายใจเข้า จะนำออกซิเจนเข้าไปในปอดและเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อหายใจออก ปอดก็จะเป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์ขับออกจากร่างกาย โดยสามารถช่วยดูแลปอดให้แข็งแรงได้ในทุกวัน ผ่านการฝึกหายใจเข้า-ออกแบบลึก ๆ อย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง เพื่อบริหารปอด กระบังลม และกล้ามเนื้อทรวงอก เนื่องจากการสูดลมหายใจเข้า-ออกลึก ๆ จะทำให้ปอดได้ขยายตัวอย่างเต็มที่ ส่งผลให้หายใจได้สะดวกขึ้นนั่นเอง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานประเภทที่ 1 แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อมีอาการ ควรรีบรับประทานอาหารหวาน ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงการ จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคืออะไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิโมลต่อลิตรในผู้ป่วยเบาหวาน หรือต่ำกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 3.1 มิลลิโมลต่อลิตรในคนทั่วไป เมื่อมีอาการ ควรรีบรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหวาน ๆ ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

สัญญาณและอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่

  • หน้าซีด ปากซีด
  • ตัวสั่น กระสับกระส่าย
  • เหงื่อออก
  • คลื่นไส้ หิว
  • เวียนศีรษะ ปวดหัว
  • ไม่มีสมาธิ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ปาก ลิ้น แก้มชา

หากอาการแย่ลง การทำงานของร่างกายอาจไม่ประสานกัน สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน มองเห็นหรือพูดไม่ชัด เวลากลางคืนอาจนอนหลับไม่สนิท ฝันร้าย เหงื่อออกมาก ตื่นขึ้นมาไม่สดชื่นหรือมึนงง

สาเหตุที่น้ำตาลในเลือดต่ำ

น้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน

เหตุการณ์เหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

  • การฉีดอินซูลินมากเกินไป การใช้อินซูลินผิดประเภท การฉีดอินซูลินเข้ากล้ามเนื้อแทนไขมัน
  • การรับประทานยาสำหรับเบาหวานมากเกินไป
  • ออกกำลังกายมากเกินไป
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตอนท้องว่าง
  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาหรืองดรับประทานอาหารบางมื้อ
  • รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่

น้ำตาลในเลือดต่ำในคนทั่วไป

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกเป็นได้ 2 ประเภท นั่นคือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังรับประทานอาหารและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการอดอาหาร

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังรับประทานอาหาร มักเกิดขึ้น 2-4 ชั่วโมงหลังรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยว (Simple carbohydrate) ซึ่งสามารถแตกตัวและดูดซึมเป็นน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้าวขาว มันฝรั่ง เค้ก และขนมเบเกอรี่ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการผ่าตัดแบบบายพาสที่ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้เร็ว จนทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากเกินไปและเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลาต่อมา
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการอดอาหาร โดยปกติร่างกายของคนเรามีน้ำตาลสะสมไว้อยู่แล้ว การอดอาหารจึงไม่ได้สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำลงโดยตรง แต่การอดอาหารร่วมกับสถานการณ์บางอย่างอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการอดอาหารได้
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แอลกอฮอล์จะไปรบกวนกระบวนการสร้างกลูโคสในร่างกาย การดื่มแอลกอฮอล์มากและเป็นเวลานานร่วมกับการรับประทานอาหารไม่เพียงพออาจะให้ร่างกายใช้น้ำตาลที่สะสมไว้จนหมดและขัดขวางระบบที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • อาการเจ็บป่วยรุนแรง การเจ็บป่วยรุนแรง เช่น โรคตับระยะสุดท้าย ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวายจะทำให้ร่างกายใช้กลูโคสที่สะสมไว้หมดเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะผลิตใหม่ได้ทัน
  • โรคต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง ต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากเนื้องอก Non-islet cell (NICTH) น้ำตาลในเลือดต่ำจากเนื้องอก ซึ่งเนื้องอกจะผลิตฮอร์โมน IGF-2 ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • เนื้องอกของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน เนื้องอกของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน เป็นเนื้องอกในตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินออกมามากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงเช้าตรู่
  • การใช้ยาบางอย่าง การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาเบตาบล็อกเกอร์ ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ควรพบแพทย์เมื่อไร

ควรพบแพทย์ทันทีในกรณีดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ป่วยเบาหวานและมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  • เป็นผู้ป่วยเบาหวานและการรักษา เช่น การดื่มน้ำผลไม้ น้ำอัดลมแบบมีน้ำตาล การทานลูกอมหรือยาเม็ดกลูโคส ไม่ช่วยให้อาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำดีขึ้น
  • เป็นผู้ป่วยเบาหวานหรือเคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงหรือหมดสติ โดยกรณีนี้ถือเป็นกรรณีฉุกเฉิน

ภาวะแทรกซ้อนเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อวัยวะล้มเหลว สมองถูกทำลายถาวร โคม่า และแม้กระทั่งเสียชีวิต

การตรวจวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถใช้เครื่องตรวจน้ำตาล เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว โดยสามารถตั้งให้เครื่องตรวจน้ำตาลช่วยเตือนเวลาที่น้ำตาลอาจจะตกได้ เช่น เวลานอนหรือขับรถ

การตรวจวินิจฉัยสำหรับคนทั่วไป แพทย์จะทำการตรวจน้ำตาลในเลือดทุก 2-3 ชั่วโมง และอาจทำการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายเพิ่มเติมเพื่อดูว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีสาเหตุมาจากเนื้องอกหรือไม่ สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังรับประทานอาหาร แพทย์จะทำการตรวจ Mixed-Meal Tolerance Test (MMTT) โดยให้ผู้เข้ารับการรักษาดื่มเครื่องดื่มชนิดพิเศษเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและให้ร่างกายผลิตอินซูลิน จากนั้นจะทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกหลายครั้งในอีก 5 ชั่วโมงต่อมา

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระยะไม่รุนแรงหรือปานกลาง

สำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระยะไม่รุนแรงหรือปานกลาง สามารถทำการรักษาตามกฎ “15-15 rule” ซึ่งแนะนำโดยองค์กรโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (the American Diabetes Association)

  • รับประทานอาหารหวานหรือคาร์โบไฮเดรตที่ออกฤทธิ์เร็ว
  • รอ 15 นาทีแล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • หากระดับน้ำตาลในเลือดยังต่ำกว่า 70 มก./ดล. ให้รับประทานอาหารหวาน ๆ เพิ่ม
  • ทำตามขั้นตอนนี้ซ้ำจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะเทียบเท่าหรือสูงกว่า 70 มก./ดล.

ตัวอย่างอาหารคาร์โบไฮเดรตออกฤทธ์เร็วในปริมาณ 15 กรัม

  • กล้วยครึ่งผล
  • น้ำผลไม้หรือน้ำอัดลมแบบมีน้ำตาลครึ่งแก้ว
  • น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะ
  • เจลกลูโคส 1 หลอด (ดูเอกสารการใช้ยา)
  • ยาเม็ดกลูโคส 3 - 4 เม็ด (ดูเอกสารการใช้ยา)

หากไม่มีเครื่องตรวจระดับน้ำตาล ให้ปฏิบัติตามกฎ 15-15 จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง

หากพบผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และหมดสติ หรือมึนงง ไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารใด ๆ เพราะอาจทำให้สำลักได้ แล้วฉีดฮอร์โมนกลูคากอน ซึ่งมีทั้งในรูปแบบยาพ่นเข้าโพรงจมูกและยาฉีด เพื่อกระตุ้นให้ตับปล่อยกลูโคสที่กักเก็บไว้ โดยควรอ่านเอกสารกำกับยาก่อนใช้ หลังให้ยา 5 - 15 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและอาจรู้สึกคลื่นไส้ หากผู้ป่วยนอนราบอยู่ให้จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก

การป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดต่ำ

  • รับประทานยา อาหาร และออกกำลังกายตามแพทย์สั่ง
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องตรวจระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงก่อนและหลังมื้ออาหาร ก่อนและหลังออกกำลังกาย และก่อนนอน
  • พกขนมติดตัวไว้ตลอด
  • จดบันทึกช่วงเวลาเกิดภาวะระดับน้ำตาลต่ำ รวมถึงเวลาที่เกิดอาการ อาการที่มี อาหารที่เพิ่งรับประทาน การออกกำลังกาย และระดับน้ำตาลในเลือดในขณะนั้น เพื่อที่แพทย์จะได้สามารถปรับแผนการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวในอนาคต
  • ให้ความรู้คนรอบตัวเรื่องภาวะระดับน้ำตาลต่ำ และวิธีการใช้กลูคากอนในเวลาฉุกเฉิน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักเกิดขึ้นบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การรู้จักสังเกตุอาการและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสามารถช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงได้