อบต.ปะหลาน อ.พย คฆภ ม พ ส ย จ.มหาสารคาม

บ้านปะหลานเป็นพื้นที่แรกเริ่มในการตั้งเมืองพยัคภูมิพิสัย โดยพื้นที่บ้านปะหลานเป็นชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้หรืออยู่ในช่วงยุคโลหะตอนปลาย ลักษณะพื้นที่พบคูน้ำของเมืองโบราณรอบพื้นที่ หลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงถึงร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 4,000 - 1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานที่เด่นชัดคือโคกเนินที่เป็นชุมชนโบราณหลายร้อยแห่ง และมีการขุดคูน้ำคันดินล้อมรอบชุมชน ปรากฏทั้งสิ้น 17 สระประกอบด้วย สระจาน สระยาว สระเพ สระสิม(สระวัด,สระบัว) สระอ่างเกลือ สระปู่ตา สระจันทร์ สระอาทิตย์ สระแก สระจอก สระยาง สระแสง สระหมู สระหว้า สระเกาะ(สระผือ) สระหญ้าคา และ สระกะลก มีกลุ่มคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ คือ กลุ่มคนกุยหรือกลุ่มคนส่วย คนกลุ่มนี้ดำเนินวิถีชีวิตตามธรรมชาติ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยทวารวดี ก่อนการตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัยในพื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะตัวเมืองเป็นเนินสูงมีคูน้ำล้อมรอบและมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเมืองทวารวดี ซึ่งร่องรอยของเมืองทวารวดีนั้นพบกระจายอยู่หลายภูมิภาคในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นแบ่งเป็นลุ่มน้ำใหญ่ๆ ได้แก่ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำโขงแต่ละลุ่มน้ำก็จะสามารถพบอารยธรรมทวารวดีอยู่อย่างหนาแน่น โดยเมืองพยัคฆภูมิพิสัยนั้นอยู่ใกล้บริเวณลุ่มน้ำชี เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองโบราณคันธาระวิชัย เมืองโบราณจัมปาศรี จังหวัดมหาสารคาม โบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดมหาสารคามมีการค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาตลอดจนใบเสมาจำนวนมากในเขตเมืองนครจัมปาศรีครอบคลุมเมืองพยัคฆภูมิพิสัยด้วย อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยมีการพบใบเสมาหินจำนวน 4 ใบ (ปัจจุบันเหลือแค่ 2ใบ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเกาะสวนพุทธ) และลักษณะมีบ้านเมืองที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมแบบทวารวดีคือเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสุวรรณภูมิได้มีเจ้าเมืองปกครองกันมาจนถึงคนที่ 12 คือ พระรัตนวงศา (ท้าวคำสิงห์) ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่เมืองสุวรรณภูมิมีอาณาเขตกว้างขวาง ครอบคลุมไปทั้งพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง ดูแลไม่ทั่วถึง ยากแก่การปกครอง จึงมีความคิดที่จะขยายเมืองออกจากสุวรรณภูมิเพื่อที่จะไปตั้งเมืองใหม่ เพราะจะได้สะดวกต่อการควบคุมดูแลและปกครองจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ขอยกบ้านเมืองเสือ ขึ้นเป็นเมืองโดยท้าวเทศและท้าวเดช ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ และเป็นหลานของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นผู้ถือใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อขอตั้งเมือง ท้าวขัตติยะ (เทศ) ในขณะนั้นทำราชการที่เมืองสุวรรณภูมิ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเจ้าเมืองว่า พระศรีสุวรรณวงศาและพระราชทานนามบ้านเมืองเสือว่า “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” โดยให้ท้าวขัตติยะ (เทศ) เป็นพระศรีสุวรรณวงศา เป็นเจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัยคนแรกโดยมีสารตราตั้ง เวรนายรักดังต่อไปนี้ สารตรา มา ณ วันศุกร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ เอกศก 1240

ปี พ.ศ. 2422 หลังจาก ท้าวเทศ และ ท้าวเดช สองพี่น้องได้รับสารตราตั้งเมืองแล้ว จึงได้เดินทางกลับ ไปสู่ เมืองสุวรรณภูมิ เพื่อกราบทูลขอ ไพร่พล ช้าง ม้าวัว ควายเสบียงอาหาร และยุทธปัจจัย ในการสร้างเมืองใหม่ จากพระรัตนวงศา (คำสิงห์) หลังจากที่ได้ตามที่ขอแล้ว ท้าวเดชและท้าวเทศได้นำกำลังพลเดินทางไปที่จุดก่อสร้างเมืองคือ บ้านเมืองเสือ และก่อนที่จะสร้างเมืองได้สำรวจชัยภูมิที่จะสร้างเมือง พบว่าชัยภูมิที่บ้านเมืองเสือนั้น ไม่สะดวกต่อการตั้งเมือง เนื่องด้วยเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะหลากท่วมพื้นที่ทําการเกษตรและพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำก็จะแห้งขอดทําให้ชาวบ้าน วัว ควาย เดือดร้อน การเกษตรเสียหายเป็นประจํา เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นแล้ว พระศรีสุวรรณวงศา จึงย้ายขบวนไพร่พล ช้าง ม้า วัว ควาย เดินทางออกจากบ้านเมืองเสือ มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ จนมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ถือว่าเป็นที่อันควรแก่การตั้งเมืองใหม่ ณที่ดังกล่าวนั้นก็คือบ้านนาข่า อําเภอวาปีปทุมหลังจากที่สำรวจชัยภูมิบ้านนาข่าแล้ว เห็นว่ามีชัยภูมิดีกว่า จึงตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัยขึ้นที่บ้านนาข่า แต่ไม่ไปตั้งเมืองที่บ้านเมืองเสือตามที่โปรดเกล้าฯ

เรื่องที่พระศรีสุวรรณวงศา เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ตั้งเมืองอยู่ที่บ้านนาข่านั้น ทราบถึงพระพิทักษ์นรากร (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองวาปีปทุม เกิดความไม่พอใจ เพราะโดนบุกรุกเขตแดน ประกอบกับช่วงเวลานั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว โดยประทับที่เมืองอุบลราชธานี เจ้าเมืองวาปีปทุมก็ร้องเรียนไปถึงกรมหลวงพิชิตปรีชากร ว่า เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัยนั้น มาบุกรุกเขตแดนของเขตที่ตนปกครองอยู่ซึ่งก็คือบ้านนาข่าและไม่ไปตั้งเมืองที่บ้านเมืองเสือตามที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้ แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะกรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้รับพระราชโองการให้เสด็จกลับพระนครก่อนต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นสรรพสิทธิ์ประสงค์ได้เสด็จมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ที่หัวเมืองลาวกาวแทนก็ได้รับการร้องเรียนเรื่องเขตแดนอีกครั้ง พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวเดช) ให้ย้ายจากบ้านนาข่าไปตั้งเมืองบ้านเมืองเสือ ตามที่รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ไว้ได้รับสั่งให้ท้าวเดช หรือ พระศรีสุวรรณวงศา ให้ย้ายกลับไปตั้งเมือง ณ จุดที่ได้ กราบทูลขอต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อไม่มีปัญหาที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ของเมืองพยัคฆภูมิพิสัย กับ เมืองวาปีปทุม หลังจากที่ พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวเดช) ได้รับบัญชาจึง ยอมย้ายและได้นำไพร่พล ช้าง ม้า วัว ควาย มาตั้งเมืองใหม่อยู่ในเขตการปกครองของ ตน ณ บริเวณบ้านปะหลาน ตําบลปะหลาน อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน และได้ทําการก่อสร้างเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ได้ย้ายไปที่ใดอีก เมืองพยัคฆภูมิพิสัยภายหลังที่ย้ายมาอยู่ที่ทําการเมือง ณ บ้านปะหลาน ตําบลปะหลาน อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย

พระศรีสุวรรณวงศา(ท้าวเดช)จึงตัดสินใจสร้างเมืองโดยได้สร้างจวนเจ้าเมืองที่เกาะบ้านปะหลาน บริเวณต้นค้างคาว ด้วยเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีชัยภูมิที่ดีเหมาะแก่การสร้างบ้านแปลงเมือง และบริเวณแห่งนี้มีทำเลที่ดี มีสระน้ำล้อมรอบ และยังอยู่ไม่ห่างไกลจากบ้านเมืองเสืออีกด้วย แต่พื้นที่บริเวณนี้ได้มีชาวเขมรอาศัยอยู่ก่อนแล้วพระศรีสุวรรณวงศา(ท้าวเดช)จึงได้เจรจาให้ชาวเขมรย้ายไปอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านปะหลาน(ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านโนนสูง) ด้วยอำนาจของเจ้าเมืองและจำนวนผู้คนที่มากกว่า จึงทำให้ชาวเขมรนั้นต้องยอมย้ายไปอย่างขัดไม่ได้

ปีพ.ศ. 2452 พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวเดช) จึงได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอ ในวัย 62 ปี โดยอ้างว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพ แต่ด้วยที่ท้าวเดชเป็นคนคุณธรรมและมีคุณงามความดีพอลาออกจากตำแหน่งก็ยังได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งให้เป็น “กรมการเมืองพิเศษ”หลังจากที่ลาออกจากราชการแล้ว ท้าวเดชก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับลูกและภรรยา(ญาแม่สุวรรณา) ที่พยัคฆภูมิพิสัยตามเดิม ในปี พ.ศ.2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ท้าวเดชได้มีใบบอกขอพระราชทานนามสกุล ไปยังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว โดยอ้างนามบิดา คือ พระรัตนวงษามหาขันติราชเจ้า (ท้าวคำสิงห์) ขอพระราชทานนามสกุลว่า “รัตนะวงศะวัต” (เป็นต้นตระกูลแรกของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย)ต่อมาในปีพ.ศ.2476 ท้าวเดชก็ได้ถึงแก่กรรม รวมอายุได้ 86 ปี และในช่วงปีพ.ศ.2452เดียวกันนี้ก็มีนายอำเภอคนที่2 คือ ร.อ.ท.หลวงไสยบัณฑิตย์ (ลิ วงกาไสย)ขึ้นเป็นนายอำเภอ และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปยังบริเวณต้นโพธิ์ (ปัจจุบันคือ ศาลหลักเมืองอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย)

นายฮวด แซ่ตั้ง เป็นคนจีนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย โดยอพยพมาจากเมืองพล มีแค่เสือผืนหมอนใบ มาเป็นลูกจ้างล้างขวดเหล้า ที่บริษัทสุราไทยเรื่องในเมืองมหาสารคาม ในอัตราค่าบริการรับจ้าง 3 ขวดต่อ 1สตางค์ ต่อมานายฮวดได้แต่งงานกับนางเภา พืชนอก และได้ย้ายมาทำมาหากินที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย โดยประกอบอาชีพ ขายของป่า มี นุ่น ปอ ครั่ง และได้สร้างครอบครัวเป็นปึกแผ่น มีคนจีนที่เป็นญาติตามมาอยู่ด้วย คือ นายชุน นายคิมฮอ นายเก็ย นายแหย่ และนายเซ่งงวน นายฮวดกับนางเภา มีบุตรด้วยกัน 6 คน แต่คนที่มีความสำสำคัญต่อการขยายตัวทางเศษฐกิจของอำเภพยัคฆภูมิพิสัยคือ นางทองใบ (แซ่ตัง) เฮงสวัสดิ์ และ นายสมบัติ (แซ่ตัง) ทองไกรรัตน์

พื้นที่ตั้งของตลาดนั้นจะตั้งอยู่ตรงบริเวณต้นโพธิ์ และร้านค้าก็จะตั้งเรียงรายอยู่ตามสองข้างทางของถนนสุวรรณวงศ์ลงมาถึงบริเวณที่ว่าการอำเภอ แต่ก่อนมีร้านค้าประมาณ 10 ร้าน เป็นร้านค้าเล็กๆ เป็นบ้านหลังคาไม้ บ้านไม้เตี้ยๆชั้นเดียว ร้านแรกจะเป็นบ้านหลังคาสีแดงสองชั้นสมัยโบราณ ส่วนมากก็จะขายของเบ็ดเตล็ด โดยที่ร้านค้านั้นเป็นของคนจีน ในช่วงนี้ก็มีแต่คนจีนที่รู้จักทำการค้าขาย คนจีนบางกลุ่มก็ทำการค้าขายแบบหาบเร่ จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นคงถาวร ชาวบ้านบางคนที่ไม่มีเงิน ก็จะนำของกินมาแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่ชาวจีนนำมาขาย บางครั้งชาวบ้านก็จะนำผักที่ปลูกไว้ไปขายให้กับคนจีน เพราะความเป็นอยู่ของชาวบ้านยังไม่มีการค้าขายอย่างจริงจัง เป็นเพียงแต่การแลกเปลี่ยนสิ่งของกันเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้หลังจากที่ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งในที่ใหม่แล้ว บริเวณพื้นที่โดยรอบนั้นยังเป็นทุ่งนากว้างขวาง ไม่มีชาวบ้านมาสร้างที่อยู่อาศัยมากนัก จึงทำให้เริ่มเกิดการขยายตัวของชุมชน มาตามที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ โดยมีบ้านเรือนและร้านค้าของผู้คนเกิดขึ้นตามสองฝั่งของถนนสุวรรณวงศ์ลงมาทางทิศใต้จนถึงที่ว่าการอำเภอ มีการสร้างโรงเรียนประจำอำเภอขึ้นเป็นแห่งแรกที่วัดทองนพคุณ ในช่วงนี้ก็เริ่มมีคนจีนเข้ามาทำการค้าขาย แต่ก็ยังเป็นการค้าขายแบบแลกเปลี่ยน ไม่ใช่การค้าขายแบบจริงจังเหมือนกับในสมัยนี้ การค้าของคนจีนในสมัยนั้นจะเป็นการค้าขายในรูปแบบของการหาบเร่จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นได้ และได้สร้างร้านค้าขึ้นเป็นหลักเป็นแหล่งอย่างมั่นคงถาวร ชาวบ้านก็เริ่มรู้จักการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เช่น ชาวบ้านที่ไม่มีเงินก็จะนำผักที่ตนเองปลูกไว้ มาแลกกับสินค้าที่คนจีนนำมาขาย นั่นก็แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้คนในสมัยนั้นเริ่มจะรู้จักการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เริ่มสร้างความสัมพันธ์กับชาวจีน แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านก็ยังทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าว ไว้กินเหมือนเดิม คนในสมัยนั้นจะไม่นิยมขายข้าว เพราะเชื่อกันว่าบ้านหลังไหนหรือครอบครัวไหนมีข้าวเก็บไว้ในยุ้งฉางนานถึงสามปีก็จะถือว่าเป็นคนมั่งคั่งมาก

ดังนั้นในยุคนี้จึงมีการขยายตัวของชุมชนมาตามที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่และยังเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคม คือ เริ่มรู้จักในเรื่องของเศรษฐกิจ เพราะคนจีนเข้ามาทำการค้าขาย วิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้นก็เปลี่ยนไปตามสภาพของสังคมในช่วงนั้นแต่ก็ไม่แตกต่างจากเดิมมากนักเหมือนกับว่าอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยหรือพื้นที่ชุมชนบ้านปะหลานกำลังจะเจริญเติบโตในด้านของเศรษฐกิจและรอรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต“คนในท้องถิ่นอยู่กันอย่างเรียบง่าย ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา หาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง มีการแลกเปลี่ยนอาหารและสิ่งของกัน ยังไม่มีการทำการค้าขายที่จริงจังเหมือนในปัจจุบัน”

ต.ปะหลาน มีกี่หมู่บ้าน

รายงานข้อมูลตำบลปะหลาน.

ต.นาสีนวล มีกี่หมู่บ้าน

นาสีนวล (Na Si Nuan) 14 หมู่บ้าน

พยัคฆภูมิพิสัย แปลว่าอะไร

คำว่า “พยัคฆภูมิพิสัย” เป็นนามพระราชทาน มาจากคำ 3 คำ - พยัคฆ หรือบาลีว่า พฺยคฺฆ แปลว่า... เสือโคร่ง - ภูมิ แปลว่า แผ่นดิน, ที่ดิน, ฟื้นความรู้, ปัญญา, สง่า, ผึ่งผาย, องอาจ