ดร.ส ร นทร อ บด ลฮาล ม พ ศส สวรรณ

กลุ่มงานวิจัย

สำนักงานประธานสถาบัน

นักวิชาการเกียรติคุณ

นโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม

นโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง

นโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์

นโยบายเกษตรสมัยใหม่

นโยบายด้านสาธารณสุขและการเกษตร

นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและการลดก๊าซเรือนกระจก

นโยบายด้านภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว

การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน

นโยบายพลังงาน

นโยบายพลังงานเพื่อความยั่งยืน

นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์

นโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นโยบายทรัพยากรมนุษย์

วิเคราะห์ตลาดแรงงาน

Big Data

นโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา

นโยบายด้านหลักประกันทางสังคม

นโยบายเพื่อการพัฒนาสังคม

นโยบายการกำกับดูแลที่ดี

กฎหมายเพื่อการพัฒนา

การปฏิรูปกฎหมาย

กฎหมายดิจิทัลและการกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐาน

นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา

Geopolitics

Economic Intelligence Service

กลุ่มสนับสนุนงานวิจัย

ฝ่ายอำนวยการ

ฝ่ายการเงิน

ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

งานจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ

งานเอกสารและเผยแพร่

งานห้องสมุด

“การที่หมอสุภัทร ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบทไม่สามารถวิจารณ์สิ่งใดได้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขไทยไม่พัฒนา เรื่องนี้ภาคประชาชนจึงไม่อยากให้ปล่อยผ่านไป เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขในอนาคต”​ โดยนายอนุทิน บอกว่า ประเทศไทยมีพืชสมุนไพรที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขอให้นำประโยชน์จากสมุนไพรไทยมาใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพประชาชนและสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ ด้วยการสนับสนุนเกษตรกรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตามนโยบาย Health for Wealth สำหรับพืชกัญชายังถือเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ควรรักษาไว้ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอกัญชาไทยขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย และจะมีการเสนอต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายในปีนี้

Show

มอบทุน ป.เอกเปิดโอกาสร่วมวิจัย "เซิร์น"

เผยแพร่: 11 มิ.ย. 2558 16:52 โดย: MGR Online

3 หน่วยงานกระทรวงวิทย์จับมือ สกว.ร่วมมอบทุน ป.เอก ผลิตนักวิจัยตอบโจทย์ภาครัฐ เปิดโอกาสนักศึกษาเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงาน พร้อมโอกาสร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศ รวมถึง "เซิร์น"

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แถลงข่าวการร่วมทุนพัฒนาบุคลากรระดับปริญญาเอกภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) กับ 3 หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.58 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา

ศ.ดร.ประมวล ตั้งบริบูรรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก กล่าวว่า คปก.ได้ให้ทุนวิจัยเพื่อสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอกมา 17 ปี โดยมีข้อกำหนดว่านักศึกษาในโครงการต้องทำงานวิจัยในไทย มีที่ปรึกษาไทยและมีโจทย์วิจัยของไทย และไปทำวิจัยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ที่ต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ที่ผ่านมาได้ให้ทุนแล้วกว่า 4,000 ทุน และมีผู้จบการศึกษาทำงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

"ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัย อย่าง สซ., สดร. และ สวทช. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะทำให้นักศึกษาได้โจทย์วิจัยจาก 3 หน่วยงานที่สอดคล้องกับความต้องการ จ้อดีคือจะได้รับความรู้และความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานและมีโอหาสเข้าทำงานในหน่วยงานนั้นๆ ตรงนี้เป็นเพียงโครงการนำร่อง อนาคตเราจะร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงาน" ศ.ดร.ประมวลกล่าว

ขณะที่ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว.ระบุว่าความร่วมมือครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2558-2562 โดย สกว.ให้ทุนสนับสนุน 203 ล้านบาท ส่วนอีก 3 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ให้ทุนสนับสนุนรวมกัน 91 ล้านบาท รวมจำนวนทุน 113 ทุน

"การร่วมมือระหว่าง สกว.กับหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ จะทำให้ผลิตบัณฑิตปริญญาเอกได้มาตรฐานระดับโลกและเข้าทำงานในระดับอาเซียนได้ด้วย โดย สกว.จะเน้นงานวิจัยที่ตอบโจทย์จากหน่วยงานและภาคสังคมมากขึ้น" ศ.นพ.สุทธิพันธ์ระบุ

ด้าน ศ.นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการ สซ. กล่าวว่า ในปีแรกจะสนับสนุน 6 ทุนก่อน เนื่องจากไม่แน่ใจว่าจะมีนักวิจัยที่สนใจนำแสงซินโครตรอนไปทำวิจัยมากแค่ไหน แต่ในปีที่ 5 จะสนับสนุนเพิ่มเป็น 12 ทุนและเชื่อว่าจะมีความร่วมมือระยะต่อไป

"ประโยชน์ของซินโครตรอนใช้วิเคราะห์วัสดุได้ถึงระดับอะตอม และประยุกต์ใช้ได้ตั้งแต่วัสดุ อาหารและยา นักวิจัยที่ขอทุน คปก. หากอยากร่วมทำวิจัยกับหน่วยงานซินโครตรอนประเทศอื่นๆ หรือเซิร์นที่ทางสถาบันซินโครตรอนมีความร่วมอยู่ เราจะช่วยประสานให้" ศ.นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิกล่าว

สอดคล้องกับ รศ.บุญรักษา สถนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร.ซึ่งกล่าวว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะไปเดินทางไปประชุมวิชาการร่วมกับสถาบันซินโครตรอนเยอรมันหรือเดซี (DESY) ซึ่งมีความร่วมมือกับ สซ.และจะเป็นช่องทางให้นักศึกษา คปก.ภายใต้การสนับสนุนของ สดร.ไปร่วมวิจัยกับเดซีในด้านอนุภาคฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ได้

ในส่วน ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.กล่าวว่า สวทช.มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการสร้างและบ่อมเพาะบุคลากรปริญญาเอก และคาดว่าจะมีประโยชน์ต่อการทำงานของนักศึกษา ซึ่งหากมีผลงานดีก็มีโอกาสเข้าทำงานที่ สวทช.หรืออาจร่วมงานกะบบริษัทเอกชนที่เข้าไปร่วมวิจัยกับ สวทช.กว่า 60 บริษัท

ด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าไทยยังมีข้อจำกัดและต้องการบัณฑิตปริญญาเอกอีกมาก และจำเป็นต้องมีความร่วมมือกับต่างประเทศด้วย ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากแต่ละหน่วยงานมีสิทธิเลือกบุคลากรเก่งๆ เข้าทำงานแล้ว ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรอย่างไม่สะเปะสะปะ และโอกาสในการร่วมงานกับภาคเอกชนยังเป็นเรื่องดี

"กระทรวงมีแนวคิดพัฒนา "เขตนวัตกรรมพิเศษ" เพื่อเป็นแหล่งงานแก่นักเรียนและนักเรียนทุนในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีบุคลากรปริญญาเอกทำงานในภาครัฐ 83% และในภาคเอกชน 17% ซึ่งเราต้องกลับทิศให้มีสัดส่วนในภาคเอกชนมาขึ้น เพื่อเลื่อนอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ" ดร.พิเชฐกล่าว