น้ํา มัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

น้ำมันปลา (Fish Oil) นิยามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 422 พ.ศ. 2564 คือกลีเซอไรด์ของกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่ได้จากปลาหรือสัตว์น้ำประเภทมีเปลือกที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร แบ่งเป็นประเภทต่างๆ พร้อมคุณภาพและมาตรฐานที่เป็นไปตามประกาศ โดยน้ำมันปลาเข้มข้น (Concentrated Fish Oil) ต้องมีกรดไขมันรวมของ C20:5 (n-3) Eicosapentaenoic Acid (EPA) และ C22:6 (n-3) Docosahexaenoic Acid (DHA) ในปริมาณร้อยละ 35 - 50 โดยน้ำหนักของกรดไขมันทั้งหมด อีกทั้งกรดไขมันชนิด EPA และ DHA ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต้องอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์และ/หรือฟอสโฟลิพิด หากเป็นกรณีความเข้มข้นสูง (Highly Concentrated Fish Oil) กรดไขมันรวมของ EPA และ DHA ต้องมีมากกว่าร้อยละ 501

น้ํา มัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

ประโยชน์ต่อสุขภาพของน้ำมันปลาที่กล่าวถึงมากที่สุดคือ ด้านการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งคณะกรรมการด้านโภชนาการของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน (American Heart Association หรือ AHA) ระบุว่าน้ำมันปลาช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วยหลายกลไก ได้แก่ ลดการเต้นผิดปกติของหัวใจ ลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดหลอดเลือดแดงแข็ง ลดความดันโลหิต เสริมการทำงานของไนตริกอ็อกไซด์ต่อการพักของหลอดเลือด ลดภาวะอักเสบ2 กรณีผลต่อการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กรดไขมันโอเมกา 3 ส่งผลต่อยีนบางตัวที่สร้างโปรตีน SREBP และ HNF-4A เร่งการสลายกรดไขมันในปฏิกิริยาเบต้าอ็อกซิเดชัน ลดการสร้างอะโปโปรตีน B100 ลดการสร้างไลโปโปรตีนชนิด VLDL ในตับ ทั้งสองประการทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง3

น้ํา มัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

นอกจากกลไกที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว กรดไขมันโอเมกา 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด DHA ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ปกติของสมองและดวงตา4 โดย DHA เป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์สมองในสัดส่วน 40% ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในสมอง ช่วยให้เซลล์ประสาททำงานอย่างปกติ ทั้งนี้เซลล์สมองสะสม DHA ตั้งแต่ในครรภ์จนถึงสองขวบ จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับ DHA ครบถ้วน นอกจากนี้ยังพบว่าการเสริม DHA ช่วยให้ความจำดีขึ้น ระดับ DHA ในสมองเพิ่มขึ้นชะลอการเกิดอัลไซเมอร์และโรคทางประสาท ในส่วนของสุขภาพของดวงตา DHA พบมากในเซลล์จอประสาทตา (Retina) คิดเป็นสัดส่วน 60% ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงทั้งหมด ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตาเป็นปกติ DHA จำเป็นต่อการซ่อมแซมจอประสาทตาที่เสื่อมสภาพ ระดับ DHA ต่ำจึงส่งผลต่อการมองเห็นของดวงตาได้

น้ํา มัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

ทั้งนี้ EPA ในน้ำมันปลาสามารถเปลี่ยนเป็น DHA ได้ในสัดส่วนหนึ่งในสี่ ขณะที่กรดไขมันโอเมกา 3 จากพืช ได้แก่ C18:3 (n-3) Alpha Linolenic Acid (ALA) เปลี่ยนไปเป็น EPA และ DHA ได้ต่ำ และจะต่ำยิ่งขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะบางประการ ได้แก่ พันธุกรรม เพศ การบริโภคไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลปริมาณมาก การขาดวิตามินบางชนิด สัดส่วนของโอเมกา 6 และโอเมกา 3 ได้รับวิตามิน A และ Cu มากไป ขาดความสดชื่น เครียด การได้รับยาบางชนิด การดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับไวรัสและการเจ็บป่วย ท้องผูก การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร5

ประโยชน์อีกด้านหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากคือ กรดไขมันโอเมกา 3 ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการบริโภคฟรักโทสสูง โดยทราบกันดีว่าฟรักโทสจากน้ำตาลทรายและไซรัปฟรักโทสเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอ้วน ปัญหาเริ่มจากฟรักโทสเข้าไปก่อกวนการทำงานของสมอง กระทั่งเกิดการเบี่ยงเบนเมแทบอลิซึม นอกจากนี้ยังทำลายความจำ มีรายงานวิจัยพบว่า ปัญหาจากการบริโภคฟรักโทสสูงสามารถแก้ไขได้ด้วยการเสริมกรดไขมันโอเมกา 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่มี DHA สูง6

น้ํา มัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

ขนาดของการรับประทานน้ำมันปลาต่อวัน ที่มีงานวิจัยรองรับถึงคุณประโยชน์และความปลอดภัย

ข้อแนะนำการบริโภคน้ำมันปลา สมาคมโรคหัวใจอเมริกันระบุว่า หากไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรบริโภคปลาทะเล 2 มื้อต่อสัปดาห์ หรือเสริมกรดไขมันโอเมกา 3 ไม่น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ คณะทำงานด้านกรดไขมันจำเป็นของสมาคมโรคหัวใจอเมริกันแนะนำให้บริโภคกรดไขมันโอเมกา 3 650 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแนะนำให้ได้รับกรดไขมันโอเมกา 3 ต่อกรดไขมันโอเมกา 6 (n-3/n-6) ในสัดส่วน 1 ต่อ 47 ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาหรือ US FDA แนะนำว่า ในกรณีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ไม่ควรได้รับกรดไขมันโอเมกาจากปลาทะเลในรูป EPA และ DHA โดยรวมในปริมาณสูงในระดับ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน8 อย่างไรก็ตาม ในประเด็นหลังนี้ควรตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของ Atrial Fibrillation (ซึ่งไม่แนะนำให้เสริมกรดไขมันโอเมกา 3 เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน)

น้ํา มัน ปลา แอ ม เว ย์ ดี อย่างไร

ประเด็นที่ว่าการรับประทานน้ำมันปลาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด Atrial Fibrillation

Atrial fibrillation (AF) หรือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีความหมายตามที่สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อธิบายไว้ว่าเป็น Supraventricular Tachyarrhythmia ที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ซึ่งเป็นผลให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป โดยมีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีรูปร่างของ P wave หลายรูปแบบ มีความถี่เกินกว่า 350 ครั้งต่อนาที และไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วย AF อาจไม่มีอาการหรือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้ ใจสั่น เหนื่อยง่าย เป็นๆ หายๆ เหนื่อยขณะออกกำลัง ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ เช่น ในกรณีที่มีความผิดปกติของ Sinus Node ร่วมด้วย หรือมีภาวะ AF ร่วมกับ Preexcitation Syndrome หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของภาวะแทรกซ้อนของ AF เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดสมองอุดตัน9

ในกรณี Atrial Fibrillation (AF) หรือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว นับเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งในระยะหลังมีรายงานวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการบางชิ้นให้ข้อมูลว่า ผู้ที่บริโภคน้ำมันปลาปริมาณสูงอาจเสี่ยงต่อปัญหา AF หรือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากขึ้น10, 11 ข้อมูลดังกล่าวสร้างความกังวลแก่ผู้บริโภคน้ำมันปลาอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วย AF และโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวนไม่น้อยนิยมบริโภคน้ำมันปลาและกรดไขมันโอเมกา 3 ซึ่งให้ประโยชน์ต่อการทำงานของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระวิทยา ด้านคลื่นไฟฟ้า รวมถึงลดภาวะอักเสบ แพทย์จำนวนไม่น้อยแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือแม้แต่ผู้ป่วย AF เสริมกรดไขมันโอเมกา 312 อย่างไรก็ตาม ภายหลังเมื่อมีข้อมูลออกมาว่าการเสริมกรดไขมันโอเมกา 3 ปริมาณสูงในผู้ป่วย AF อาจเป็นประโยชน์หรือโทษ13-15 เมื่อข้อมูลไม่สอดคล้องกันเช่นนี้ แพทย์ซึ่งเห็นว่ากรดไขมันโอเมกา 3 ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงแนะนำให้ผู้ป่วย AF บริโภคกรดไขมันโอเมกา 3 ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป16-17 และไม่แนะนำให้เสริมกรดไขมันโอเมกา 3 ในปริมาณสูงเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน จนกว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจน18

น้ํามันปลา แอมเวย์ช่วยเรื่องอะไร

❤️ ลดโอกาสการเกิดภาวะการอุดตันของเส้นเลือดเฉียบพลัน และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้ ⏰ ดีเอชเอ (DHA) และ อีพีเอ (EPA) ในกรดไขมันโอเมก้า-3. จากปลา มีผลต่อกลไกการยืดอายุขัยและชะลอความชรา

น้ำมันตับปลา ไม่ควรกินคู่กับ อะไร

สิ่งที่ไม่ควรกินร่วมกับน้ำมันปลาน้ำมันตับปลา การกินร่วมกันอาจทำให้ได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 มากเกินไป จนเกิดผลข้างเคียง ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือโคลพิโดเกล เมื่อกินพร้อมกันอาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า เสี่ยงต่อการเลือดออกแล้วหยุดช้า

Fish Oil 1000 mg ช่วยอะไร

ประโยชน์ของน้ำมันปลา น้ำมันปลายังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านบำรุงสายตา บำรุงผิวหนัง บำรุงกระดูก ลดการสะสมไขมันในตับ บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าและโรคสมาธิสั้นในเด็ก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์

Fish oil ยี่ห้อไหนดีที่สุด

น้ำมันปลา ยี่ห้อไหนดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย.

1. น้ำมันปลา MEGA We care. ... .

2. น้ำมันปลา VISTRA Salmon Fish Oil 1000 mg Plus Vitamin E. ... .

3. น้ำมันปลา Blackmores Fish Oil. ... .

4. น้ำมันปลา Hi-Balanz Fish oil Plus Vitamin E. ... .

5. น้ำมันปลา Dr.PONG Daily Omega-3 Odourless Fish Oil plus Vitamin E. ... .

6. น้ำมันปลา Giffarine Fish Oil..