ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

แล้วมาเตรียมวางแผนภาษีปี 63 พร้อมอัพเดทเงื่อนไขลดหย่อนภาษีแบบใหม่ทั้ง กองทุน SSF และ SSF แบบพิเศษไม่ต้องเสียเวลาคำนวณเอง เลือกเข้าใช้งานได้ฟรี

ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

ใครต้องยื่นภาษี?

บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีทั้งแบบภาษี ภ.ง.ด.90 กับ ภ.ง.ด.91

แล้ว ภ.ง.ด.90 กับ ภ.ง.ด.91 มันต่างกันอย่างไร ?

– ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ

– ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้ทางอื่น

แม้มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้งนะครับ

สำหรับปีนี้ มาตรการภาษีเยียวยาโควิด ขยายเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2562 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

คำนวณภาษีต้องทำยังไง?

โดยทั่วไปใช้สูตรคำนวณภาษีคือ รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = จำนวนภาษีที่ต้องเสีย

การหารายได้สุทธิ คิดได้จาก " รายได้ – ค่าใช้จ่าย –ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ " จากนั้นนำรายได้สุทธิ มาเทียบอัตราภาษีแล้วคำนวณหาจำนวนภาษีที่ต้องเสียในแต่ละปี ไปดูขั้นตอนการคำนวนภาษีกันดีกว่าครับ

ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

ขั้นตอนที่ 1 หารายได้สุทธิ นำรายได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย โดยแยกตามประเภทของรายได้ และหักลดหย่อนตามรายการต่าง ๆ

ตัวอย่าง : นาย ณภัทร มีรายได้จากเงินเดือน รวม 800,000 บาท ต่อปี จะต้องหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้น (ตามกฎหมายกำหนดให้ หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท) ดังนั้น หักค่าใช้จ่ายไป 100,000 บาท

เหลือรายได้สุทธิเป็น 800,000 – 100,000 = 700,000 บาท

ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

ขั้นตอนที่ 2 นำรายได้ที่เหลือจาก ขั้นตอน ที่ 1 มาหักค่าลดหย่อน ลองสำรวจดูว่าเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง แล้วนำค่าลดหย่อนนั้นมาลบออกจากรายได้สุทธิ 700,000 บาท ที่ได้จากขั้นตอนที่ 1

รายการลดหย่อนภาษีของณภัทร ปี 62

– ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

– ค่าประกันสังคม 9,000 บาท

– ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา 2 คน คนละ 30,000 บาท รวม 60,000 บาท

– ซื้อกองทุน LTF 50,000 บาท

– ซื้อกองทุน RMF 50,000 บาท

รวมลดหย่อนภาษีไป 229,000 บาท

ดังนั้น เหลือรายได้สุทธิเท่ากับ 700,000 – 229,000 = 471,000 บาท

ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

ขั้นตอนที่ 3 นำรายได้สุทธิที่ได้ มาเทียบอัตราภาษี

(อ้างอิงโครงสร้างภาษีเหมือนที่ปรับใหม่ในปี 2560)

อัตราภาษีแบบขั้นบันได

– รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี

– รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (เสียภาษีสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)

– รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (เสียภาษีสูงสุดในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)

– รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (เสียภาษีสูงสุดในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)

– รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (เสียภาษีสูงสุดในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)

– รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (เสียภาษีสูงสุดในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)

– รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (เสียภาษีสูงสุดในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)

– รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

ม รายได อ นต องย น ภงด.90 หร อ 91

กรณีของนาย ณภัทร มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 471,000 บาท เท่ากับต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 10% ซึ่งคำนวณอัตราภาษีแต่ละขั้นได้ดังนี้