ว ธ ลง black hawk down ภาคเสร ม

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2554 19:21 โดย: MGR Online

เพชรบุรี - กองกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร และ ตชด.ชุดเก็บกู้ศพ “ฮ.ฮิวอี้” และ “แบล็กฮอว์ก” 117 นายเดินทางกลับถึงค่ายค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจานแล้ว ในสภาพที่ทุกคนมีท่าทางอ่อนล้า เจ็บป่วย ที่ส่วนใหญ่มีอาการเจ็บเท้าและร่องรอยจากการถูกทากกัด เผย จนท.ทุกนายต้องผจญภัยทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืนมองอะไรแทบไม่เห็น ทหารบางนายรองเท้ากัด เจ็บปวดทรมาน แต่ก็ต้องอดทน หยุดไม่ได้ นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาตัวแมลงบินหลายชนิดที่กัดเจ็บ

วันนี้ (26 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เพชรบุรี ว่า เจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังทัพพระยาเสือ พล.ร.9 ค่ายสุรสีห์ และเจ้าหน้าที่ ตชด.144 อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน ที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจเดินเท้าเข้าไปกู้ศพทหารและนักข่าวที่ประสบอุบัติเหตุเครื่องเฮลิคอปเตอร์ ฮิวอี้ และ แบล็กฮอว์ก ตกที่บริเวณใกล้เนิน 1,100 ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา รวมกำลังพลทั้งสิ้น 117 นาย ได้เดินเท้ามาถึงยังเขาพะเนินทุ่ง พร้อมขึ้นรถทหาร ยีเอ็มซี จำนวน 7 คัน มาถึงค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจานแล้วเมื่อเวลา 17.00 น.

โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนต่างมีท่าทางอ่อนล้า เจ็บป่วยที่ส่วนใหญ่มีอาการเจ็บเท้าและร่องรอยจากการถูกทากกัด โดยเมื่อเดินทางมาถึงต่างรวมพลบริเวณหน้ากองบังคับการหน่วยฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน โดยมี พล.ต.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รองแม่ทัพภาคที่ 1 ให้โอวาท โดยมี พ.อ.ดนัย บุญตัน รอง ผบ.ชุดเฉพาะกิจ ค่ายทัพพระยาเสือ ร่วมต้อนรับและให้กำลังใจด้วย สรุปได้ว่า ในนามตัวแทนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และกองทัพภาคที่ 1 ตลอดจนครอบครัวผู้เสียชีวิต รู้สึกขอบคุณทหาร และ ตชด.ทุกนายที่สละแรงกาย-แรงใจร่วมปฏิบัติภารกิจครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วง แม้ภารกิจนี้จะยากลำบากเนื่องจากอากาศและภูมิประเทศไม่อำนวย แต่ทุกนายที่ร่วมภารกิจมีความอดทนและยอมเสี่ยงภยันตรายเพื่อนำศพนายและเพื่อนกลับบ้าน

สังคมได้รับรู้ว่าทหารไม่ทอดทิ้งกัน ช่วงปฏิบัติภารกิจได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชนทั่วประเทศ มีน้ำใจจากทุกสารทิศ นำอาหาร เครื่องดื่มมามอบให้แก่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก

ร.อ.เอก พวงประทุม ผู้บังคับกองร้อยที่ 29 พล.ร.9 ค่ายสุรสีห์ เปิดเผยว่า กำลังทหาร ตชด.และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้เวลาเดินเท้าจากพะเนินทุ่ง ไปยังจุดเกิดเหตุที่ใกล้เนิน 1,100 เป็นเวลา 3 วัน และเดินกลับอีก 3 วัน มีฝนตกหนักและหมอกลงจัดทุกวัน ป่าชื้นแฉะ ทางลาดและสูงชันทุกย่างก้าวจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืนมองอะไรแทบไม่เห็น ทหารบางนายรองเท้ากัด เจ็บปวดทรมานแต่ก็ต้องอดทน หยุดไม่ได้ นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาตัวแมลงบินหลายชนิดที่กัดเจ็บ เช่น ตัวเรือด ริ้น รวมถึงตัวทาก ปลิงดูดเลือด ที่ชอนไชเข้าไปที่รองเท้า-เสื้อผ้า ต้องคอยแกะเกาตลอดเวลา ซึ่งปัญหานี้ทหารที่เดินป่าเจอเป็นประจำอยู่แล้วก็ใช้ยาที่พกติดตัวไปรักษาตามอัตภาพ

พร้อมกันนี้ มีเจ้าหน้าที่หน่วยปฐมพยาบาลจากโรงพยาบาลค่ายรามราชนิเวศน์ ในสังกัดมณฑลทหารบกที่ 15 จ.เพชรบุรี ที่ได้จัดแพทย์เคลื่อนที่เข้ามาช่วยรักษาและปฐมพยาบาลให้กับทหารที่มีอาการเจ็บป่วยที่ส่วนใหญ่มีอาการเจ็บเท้า เนื่องจากความอับชื้นและแผลจากการถูกกิ่งไม้ขีดข่วนและทากดูดเลือดกัด

พ.ต.เฉลิมลักษณ์ มหิพันธ์ ผอ.รพ.ค่ายรามราชนิเวศน์ เปิดเผยว่า อาการบาดเจ็บส่วนใหญ่มีอาการเท้าเปื่อยเกิดจากความอับชื้น เพราะทหารทุกคนต้องเดินลุยน้ำลุยโคลน รวมถึงแผลจากการโดนหินบาด กิ่งไม้ขีดข่วนและทากกัด แต่อาการส่วนใหญ่ไม่น่าเป็นห่วง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พยาบาลให้ทำความสะอาดบาดแผลและให้ยาแก้อักเสบไปรับประทาน

ด้าน จ่าสิบตรี เฉลิมลาภ สุกใส ผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก ร.19 พัน 1 ค่ายสุรสีห์ เปิดใจในการปฏิบัติภาระกิจในครั้งนี้ ว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าไปช่วยเหลือในภาระกิจอันสำคัญ ถึงแม้สภาพภูมิประเทศจะลำบากในการเดินทางอีกทั้งสถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นเหวลึก และลำบากในการที่จะปฏิบัติภารกิจ แต่ในฐานะที่เป็นทหารและผู้ที่ประสบเหตุเป็นผู้บังคับบัญชาและเพื่อนทหารด้วยกันจึงไม่คิอย่อท้อคิดเพียงว่าต้องนำเพื่อนร่วมชาติกลับไปให้ได้

การรบที่โมกาดิชู หรือที่ชาวโซมาเลียเรียกว่า Ma-alinti Rangers (แปลว่าวันแห่งพวกเรนเจอร์) คือการรบภายใต้ปฏิบัติการโกธิคเซอร์เพนท์ (Operation Gothic Serpent) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการจับกุมขุนศึกแห่งพันธมิตรแห่งชาติโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด 2 คน คือ Omar Salad Elmi และ Mohamed Hassan Awale การสู้รบเริ่มขึ้นในวันที่ 3 และวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (1993) นำโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกา สนับสนุนด้วยกองกำลังปฏิบัติการณ์สหประชาชาติในโซมาเลียชุดที่ 2 (UNOSOM II) ต่อสู้กับทหารบ้านชาวโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด การรบในกรุงโมกาดิชูครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 (2006)

กองกำลังร่วมเรนเจอร์ของสหรัฐฯ ถูกจัดตั้งขึ้นเฉพาะยุทธการครั้งนี้ ประกอบด้วย กองกำลังเดลตา (Delta Force) มีหน้าที่บุกไปจับ เป้าหมายทั้ง 2คน, หน่วยรบเนวีซีลสหรัฐ ทีม 6​ (Navy SEAL Team Six) และกองพันจู่โจมที่ 3 สังกัดกรมทหารจู่โจมที่ 75 (3rd Ranger Battalion, 75th Ranger Regiment) ของกองทัพบกสหรัฐ มีหน้าที่คุ้มกัน 4 มุมตึกของเป้าหมาย โดยการจู่โจมลงมาจาก เฮลิคอปเตอร์ที่ลอยอยู่เหนือพื้นดิน โดยใช้การลงสู่พื้นแบบ ฟาสต์ โรป Fast Ropeส่วนการสนับสนุนทางอากาศนั้น กรมบินปฏิบัติการพิเศษที่ 160 ("นักสะกดรอยยามราตรี") เป็นผู้รับผิดชอบ และสมาชิกของพลร่มกู้ภัยและทหารควบคุมการบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการขนส่งกองกำลังจากที่มั่นไปยังชานเมืองโมกาดิชู เพื่อทำการจับกุมบรรดาผู้นำของทหารบ้านที่ภักดีต่อไอดิด กองกำลังจู่โจมประกอบด้วยอากาศยาน 19 ลำ, ยานพาหนะ 20 คัน และทหาร 160 นาย โดยระหว่างปฏิบัติการณ์นั้น เฮลิคอปเตอร์ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ ถูกยิงตก 2 ลำ รหัสเรียกขาน super 61และ super 64โดยเครื่องยิงจรวด RPG-7 ของทหารบ้าน ในขณะที่อีก 3 ลำ ได้รับความเสียหาย และ ขบวนรถที่จะใช้เพื่อขนเป้าหมายที่จับกุมได้กลับนั้น เกิดความผิดพลาดในการเดินทาง เพราะถูกฝูงชนเข้าปะทะโดยใช้ จรวดRPG-7 และ การซุมยิงจากตึก และ บ้านเรือนสองฟากถนน ทำให้ทั้งสองฝ่ายคลาดกัน ทหารที่ติดอยู่ที่จุดตกบางส่วนสามารถอพยพกลับมายังจุดนัดพบและใช้เป็นฐานที่มั่นชั่วคราวได้ ในขณะที่คนอื่นๆ ติดอยู่ตรงจุดตก ฮ. และขาดการติดต่อกับกองกำลังส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดการปะทะระหว่างทหารสหรัฐฯ กับทหารบ้านของไอดิดตลอดทั้งคืนวันที่ 3 จนกระทั่งตอนเช้าวันที่ 4 เมื่อกองกำลังนานาชาติถูกส่งเข้าไปช่วยทหารที่ติดอยู่ออกมา โดยกองกำลังนานาชาติประกอบด้วยทหารจากปากีสถานและมาเลเซีย รวมทั้งกองพลภูเขาที่ 10 (10th Mountain Division) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถรวบรวมยานพาหนะได้ 100 กว่าคัน รวมไปถึงรถถัง M48 ของปากีสถานและยานเกราะขนส่งบุคคลคอนดอร์ของมาเลเซียหลายคัน สนับสนุนทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์ A/MH-6 ลิตเติลเบิร์ดและ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ กองกำลังนานาชาติสามารถเข้าไปถึงจุดตก ฮ. จุดแรกและพาทหารที่ติดอยู่ออกมาได้ ในขณะที่จุดตกที่สองถูกยึดครองโดยทหารบ้านโซมาเลีย และนักบินเฮลิคอปเตอร์ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ ที่ถูกยิงตกรหัสเรียกขาน super 64ไมค์ ดูแรนท์ ผู้รอดชีวิตคนเดียวในจุดตก และถูกจับตัวเป็นเชลย แต่ได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา

ความสูญเสียทางฝ่ายโซมาเลียนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยฝ่ายอเมริกันคาดว่าประชาชนพลเรือนและทหารบ้านชาวโซมาเลียประมาณ 1,000-1,500 คนที่เสียชีวิตจากศึกครั้งนี้ และมีผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 3,000-4,000 คน ส่วนฝ่ายอเมริกานั้นเสียทหารไป 18 นายและมีทหารได้รับบาดเจ็บอีก 73 นาย (ไม่รวมถึงจ่าสิบตรีแมท เรียร์สันที่เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยปืน ค. สองวันหลังจากการรบ) ในขณะที่กองกำลังสหประชาชาติ มีทหารมาเลเซียเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บอีก 7 นาย รวมถึงทหารปากีสถานที่บาดเจ็บอีก 2 นาย

หนังสือ และภาพยนตร์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2542 เหตุการณ์ในการรบที่โมกาดิชูถูกถ่ายทอดเป็นหนังสือชื่อ Black Hawk Down: A Story of Modern War และถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ ชื่อเรื่อง Black Hawk Down