Company limited ช มพรอ ตสาหกรรมน ำม นปาล ม

ลำดับ ชื่อบริษัท ภาษาอังกฤษ Website Link 1 บริษัท เอส.พี.โอ อะโกรอินดัสตรี้ส์ จำกัด S.P.O AGRO INDUSTRY COMPANY LIMITED 2 บริษัท วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ จำกัด (มหาชน) VICHITBHAN PALMOIL PUBLIC COMPANY LIMITED //www.vcbpalmoil.com/ 3 บริษัท ตรังน้ำมันปาล์ม จำกัด Trang Palm Oil COMPANY LIMITED //www.trangpalmoil.com/ 4 บริษัท ป.พานิชรุ่งเรือง ปาล์มออยล์ จำกัด P.PANITRUNGRUENG PALMOIL COMPANY LIMITED 5 บริษัท อีสเทิร์น ปาล์ม ออยล์ จำกัด EASTERN PLAM OIL COMPANY LIMITED www.thaieasterngroup.com 6 บริษัท ศรีเจริญ ปาล์ม ออยล์ จำกัด SRIJAROEN PALM OIL COMPANY LIMITED 7 บริษัท ธนาปาล์มโปรดักส์ จำกัด THANA PALM PRODUCTS COMPANY LIMITED //www.thana-pp.com/ 8 บริษัท ทองมงคลอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด THONGMONGKOL PALM OIL INDUSTRY COMPANY LIMITED //tmkpalmoil.com/ 9 บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันปาล์ม จำกัด SUKSOMBOON PALM COMPANY LIMITED //www.suksomboon.com/ 10 บริษัท บางสวรรค์น้ำมันปาล์ม จำกัด BANG SAWAN PALMOIL COMPANY LIMITED 11 บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) UNIVANICH PALM OIL PUBLIC COMPANY LIMITED //www.univanich.com/ 12 บริษัท ภัทร ปาล์มออยล์ จำกัด PHATRA PALM OIL COMPANY LIMITED 13 บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด SMOTHONG GROUP COMPANY LIMITED //www.smothonggroup.com/ 14 บริษัท เอเจปาล์มออยล์ จำกัด AJ PALM OIL COMPANY LIMITED 15 บริษัท กาญจนดิษฐ์น้ำมันปาล์ม จำกัด KANJANADIT PALM OIL COMPANY LIMITED 16 บริษัท นิวไบโอดีเซล จำกัด NEW BIODIESEL COMPANY LIMITED www.pce-th.com 17 บริษัท กลุ่มปาล์มธรรมชาติ จำกัด THANA PALM PRODUCTS COMPANY LIMITED //naturalpalm.com/ 18 ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด KRABI PALMOIL COMMUNITY COOPERATIVE LIMITED 19 บริษัท ท่าฉางสวนปาล์มน้ำมันอุตสาหกรรม จำกัด THACHANG OIL PALM INDUSTRIES COMPANY LIMITED //www.thachanggroup.com/ 20 บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัด THE SOUTHERN PALM (2521) 21 บริษัท ทักษิณอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (1993) จำกัด SOUTHERN PALM OIL INDUSTRY (1993) COMPANY LIMITED 22 บริษัท ท่าชนะน้ำมันปาล์ม จำกัด THACHANAPALMOIL COMPANY LIMITED //www.thachanapalmoil.co.th/ 23 บริษัท ไทยทาโลว์แอนด์ออยล์ จำกัด THAI TALLOW AND OIL COMPANY LIMITED //www.tto.co.th/ 24 บริษัท ไทยอินโด ปาล์มออยล์ แฟคทอรี่ จำกัด THAIINDO PLAM OIL FACTORY COMPANY LIMITED 25 บริษัท นามหงส์น้ำมันปาล์ม จำกัด NAMHONG PALM OIL COMPANY LIMITED 26 บริษัท ปาล์มทองคำ จำกัด PALMTONGKUM COMPANY LIMITED 27 บริษัท ปาล์มไทยพัฒนา จำกัด THAI PALM DEVELOPMENT COMPANY LIMITED 28 บริษัท ปาล์มน้ำมันธรรมชาติ จำกัด THE NATURAL PALM OIL COMPANY LIMITED //naturalpalm.com/ 29 บริษัท พิทักษ์ปาล์มออยล์ จำกัด PITAK PALM OIL COMPANY LIMITED www.pto.co.th 30 บริษัท มิตรเจริญปาล์มออยล์ จำกัด MITCHAROEN PALMOIL COMPANY LIMITED 31 บริษัท ยูนิปาล์ม อินดัสทรี จำกัด UNIPALM INDUSTRY COMPANY LIMITED 32 บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) Lam Soon (Thailand) Public Company Limited //www.lamsoongroup.com/ 33 บริษัท วิจิตรภัณฑ์สวนปาล์ม จำกัด VICHITBHAN PLANTATION COMPANY LIMITED 34 บริษัท สยามโมเดิร์นปาล์ม จำกัด SIAM MODERN PALM COMPANY LIMITED 35 บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) UNITED PALM OIL INDUSTRY PUBLIC COMPANY LIMITED //www.upoic.co.th/ 36 บริษัท แสงศิริอุตสาหกรรม จำกัด SEANG SIRI AGRO INDUSTRIES COMPANY LIMITED 37 บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) CHUMPORN PALM OIL INDUSTRY PUBLIC COMPANY LIMITED //www.cpi-th.com/ 38 บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ASIAN PALM OIL PUBLIC COMPANY LIMITED //asianpalmoil.web.app/ 39 สหกรณ์ นิคมท่าแซะ จำกัด THASAE LAND SETTLEMENT COOPERATIVE LIMITED //nikomthasaecoop.com/ 40 บริษัท พี.ซี.ปาล์ม 2550 จำกัด P.C.PALM (2550) COMPANY LIMITED //www.pcsiamgroup.com 41 บริษัท ปาล์มทองไทย จำกัด PALM THONG THAI COMPANY LIMITED 42 บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัด (มหาชน) PPP Green Complex Public Company Limited //www.pppgc.co.th/ 43 บริษัท ปาล์มดีศรีนคร จำกัด PALM D SRINAKHON COMPANY LIMITED //palmdsrinakorn.co.th/ 44 บริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด PALM PUNLAN COMPANY LIMITED Www.Palmpanlan.co.th 45 บริษัท ลาภภักดีปาล์ม จำกัด LARP PAKDEE PALM COMPANY LIMITED 46 บริษัท เสถียรปาล์ม จำกัด SATHINA PALM COMPANY LIMITED. 47 บริษัท ชุมพร เอส.พี.ปาล์มออยล์ จำกัด CHUMPHON S.P.PALM OIL COMPANY LIMITED 48 บริษัท แอ๊บโซลูท โปรดักส์ จำกัด ABSOLUTE PRODUCTS CO., LTD. 49 บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม บ่อไร่ จำกัด SUKSOMBOON PALM OIL BO RAI COMPANY LIMITED

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น กล่าวคือ มีฝนตกชุก มีแสงแดดมาก ไม่มีสภาพอากาศหนาว ซึ่งสภาวะอากาศดังกล่าว ได้แก่ บริเวณเส้นศูนย์สูตร พบว่าปาล์มน้ำมันมีการกระจายอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ ถึง เส้นรุ้งที่ 15 องศาใต้ โดย 90% ของประเทศที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันจะอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 องศาเหนือและใต้

สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน มี 4 ปัจจัย คือ

ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน :

ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากน้ำมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร โดยปกติปาล์มน้ำมันที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีการคายน้ำ 5-6 มม./วัน หากมีการขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตอีก 19-22 เดือนข้างหน้าลดลง ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน ควรจะอยู่ระหว่าง 2,000-3,000 มม./ปี และมีการกระจายของฝนดีในแต่ละเดือน โดยจะต้องมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม./เดือน การกระจายของน้ำฝนจะมีความสำคัญมากโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งดินดังกล่าวจะมีการเก็บความชื้นได้น้อยจึงทำให้มีโอกาสขาดน้ำได้ง่าย ดังนั้นการใช้วัชพืชคลุมดิน ก็จะเป็นอีกวิธีที่จะช่วยรักษาความชื้นไว้ในดินได้

พื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,200 มม./ปี ปริมาณน้ำฝนจะไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์ม ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวจะให้ผลผลิตลดลง ในการรักษาระดับของผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนน้อย อาจทำได้โดยการติดตั้งระบบน้ำซึ่งจะช่วยรักษาระดับการให้ผลผลิตของปาล์มในช่วงฤดูแล้งได้ แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกมากเกินไป (มากกว่า 3,000 มม./ปี) ก็ไม่เหมาะกับปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะได้รับแสงแดดน้อยลง มีการท่วมขังของน้ำในที่ลุ่ม นอกจากนั้นจะมีการระบาดของโรคได้ง่ายกว่าปกติ จากการศึกษาการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝน/ปี แตกต่างกัน พบว่าปริมาณฝนที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง

พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันไม่ควรมีเดือนที่ขาดน้ำ (เดือนที่ขาดน้ำ ได้แก่ เดือนที่มีน้ำฝนน้อยกว่า 100 มม./เดือน) หากมีการขาดน้ำมากกว่า 4 เดือน (มีช่วงฤดูแล้งที่ยาวนาน) พื้นที่ดังกล่าวจะไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน แต่สามารถแก้ไขได้โดยมีการตั้งระบบน้ำให้กับปาล์มน้ำมัน หากมีสภาพการขาดน้ำในรอบปีมาก จะทำให้จำนวนทะลาย น้ำหนักทะลาย และเปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง

ปริมาณแสงแดด :

ปริมาณแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญรองจากปริมาณน้ำฝน โดยปกติปาล์มน้ำมันจะต้องได้รับแสงแดดมากกว่า 5 ชั่วโมง/วัน (ได้รับพลังงานแสงไม่น้อยกว่า 17 MJ/ตารางเมตร/วัน) เนื่องจากแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืชทุกชนิด หากปาล์มน้ำมันได้รับปริมาณแสงน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง การสร้างดอกตัวเมียน้อยลงซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง นอกจากนั้นยังทำให้สัดส่วนของผลต่อทะลายลดลงซึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณน้ำมันลดลงอีกด้วย

สำหรับประเทศไทยปริมาณของแสงเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน ปัจจัยของแสงจะมีปัญหากับปาล์มน้ำมันเมื่อปลูกปาล์มไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกในระยะที่ชิดจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้นทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับระยะปลูกและการตัดแต่งทางใบ เพื่อให้ปาล์มมีจำนวนใบและมีพื้นที่ใบที่จะรับแสงได้เหมาะสมตลอดอายุของการเจริญเติบโตของปาล์ม พบว่าช่วงแรกของการเจริญเติบโต การตัดแต่งทางใบไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก แต่เมื่อปาล์มน้ำมันโตมากขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งทางใบมากขึ้น เพื่อทำให้มีพื้นที่ใบรับแสงแดดได้อย่างเพียงพอ ในสภาพที่ปาล์มน้ำมันถูกบังแสง จะทำให้สร้างอาหารได้น้อยลง และทำให้มีการสร้างดอกตัวเมียน้อยลง มีการศึกษาพบว่าช่วงเดือนที่มีกลางวันสั้น จะมีผลทำให้สัดส่วนเพศของปาล์มน้ำมันลดลง

อุณหภูมิ :

อุณหภูมิ มีผลต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันควรอยู่ช่วง 22-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิปกติของเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบกับปาล์มน้ำมันน้อยกว่าอุณหภูมิที่ต่ำ ในสภาพอุณหภูมิที่สูงจะมีผลกับการคายน้ำของปาล์มน้ำมันซึ่งจะทำให้ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ แต่ในสภาพอุณหภูมิต่ำปาล์มน้ำมันจะมีพัฒนาของใบช้าลง มีการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของกล้าปาล์มน้ำมันจะจำกัดอย่างมากเมื่ออุณหภูมิต่ำว่า 15 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 20 องศาเซลเซียส กล้าปาล์มจะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 25 องศาเซลเซียส

ความสูงจากระดับน้ำทะเล :

มีผลกับอุณหภูมิเช่นเดียวกัน (อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส เมื่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตร) มีรายงานว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในบริเวณพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 500 เมตร จะให้ผลผลิตช้ากว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ต่ำถึง 1 ปี

ลม :

ลำต้นของปาล์มน้ำมันไม่แข็งแรง (ซึ่งแตกต่างกับมะพร้าว) จึงไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีลมแรง หรือ แนวพายุ ความเร็วลมที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 0-10 เมตร/วินาที และการที่มีลมพัดช้าๆ จะช่วยลดอุณหภูมิในช่วงเที่ยงวันได้ด้วย รากของปาล์มน้ำมันเป็นรากฝอย ทำให้ไม่ทนทานต่อกระแสลมที่พัดแรง ประกอบกับปาล์มน้ำมันมีทรงพุ่มใหญ่ทำให้ล้มได้ง่าย โดยเฉพาะการปลูกในพื้นที่พรุ นอกจากนั้นในพื้นที่ซึ่งมีลมแรงจะทำให้ใบปาล์มน้ำมันฉีกขาดหรือทางใบหัก เป็นผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง ในสภาพพื้นที่ซึ่งมีลมพัดโชยอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีแดดจัดจะช่วยเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีการหายใจได้ดีขึ้น และเป็นการช่วยระบายความร้อนแก่ใบปาล์มด้วย

ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันจัดอยู่ในพืชตระกูลปาล์ม ตระกูลย่อยเดียวกับมะพร้าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ผสมข้าม (ใช้เกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นตัวเอง) ปาล์มน้ำมันเป็นพืชสมบูรณ์เพศ คือ มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียบนต้นเดียวกัน (แยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน) การผสมเปิดจะได้ต้นปาล์มน้ำมันรุ่นลูกที่แตกต่างจากต้นแม่เดิม จึงไม่แนะนำให้เก็บเมล็ดจากใต้ต้นไปขยายพันธุ์ ถ้าปลูกปาล์มน้ำมันจากเมล็ดที่หล่นใต้ต้นหรือนำมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ จะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง

ต้นปาล์มน้ำมันจะไม่มีปาล์มต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ ต้นตัวผู้ที่เกษตรกรเข้าใจ คือ ต้นที่ผิดปกติซึ่งจะออกดอกตัวผู้มากกว่าปกติ (แต่ยังมีดอกตัวเมีย) ดังนั้นจึงเป็นต้นตัวผู้ไม่ได้

การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม

cr. photo:Figure 11.3. The Shell gene is responsible for the oil palm’s three known shell forms: dura (thick); pisifera (shell-less); and tenera (thin), a hybrid of dura and pisifera palms [56]. Tenera palms contain one mutant and one normal version, or allele, of Shell, an optimum combination that results in 30% more oil per land area than dura palms [57].

ดูรา (DURA) :

กะลาหนา 2-8 มม. ไม่มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกบาง ประมาณ 35-60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล มียีนส์ควบคุมเป็นลักษณะเด่น ปาล์มชนิดนี้ใช้เป็นแม่พันธุ์

ฟิสิเฟอร่า (PISIFERA) :

ยีนส์ควบคุมลักษณะผลแบบนี้เป็นลักษณะด้อย ลักษณะผลไม่มีกะลาหรือมีกะลาบาง ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ทำให้ผลฝ่อลีบ ทะลายเล็กเนื่องจากผลไม่พัฒนา ผลผลิตทะลายต่ำมาก ไม่ใช้ปลูกเป็นการค้าแต่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตลูกผสม เนื่องจากมีจำนวนดอกตัวเมียมาก

เทเนอร่า (TENERA) :

มีกะลาบาง ตั้งแต่ 0.5-4 มม. มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกมาก 60-90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ลักษณะเทเนอร่าเป็นพันธุ์ทาง เกิดจากการผสมข้ามระหว่างต้นแม่ดูราและต้นต่อฟิสิเฟอร่า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ