Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

mookka03012526 Download

  • Publications :0
  • Followers :0

ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ2_clone

ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ2

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

View Text Version Likes : 0 Category : All Report

  • Follow
  • Upload
  • 0
  • Embed
  • Share

ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ2_clone

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

ปี 2014 เหลือเพียงอีกแค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น ตอนนี้หลายๆคนก็คงจะมองล่วงหน้าไปยังปี 2015 เรียบร้อยแล้ว (เผลอๆก็ข้ามไปถึงปี 2016 เลย) ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นปีที่ตารางหนังทำเงินจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยภาพยนตร์ขายฟอร์มหลากหลายเรื่องที่พร้อมจะเข้าฉายกันแบบไม่มีใครยอมใคร โดยมี Avengers : Age of Ultron, Star Wars : The Force Awakens, Spectre และ The Hunger Games : Mockingjay Part I รอท่าเป็นจ่าฝูง ซึ่งตำแหน่งหนังทำเงินสูงสุดของปีก็คงไม่มีหนี 4 เรื่องนี้ไปไหน (สองเรื่องแรกนอนมาแบบพร้อมจะฟัดกันแบบสุดๆ)

แต่นอกเหนือไปจากนี้แล้วปี 2015 ก็ยังเป็นปีที่มีผลงานดีๆน่าดูอีกหลายเรื่องรอฉายให้แฟนๆได้เสียเงินกัน หน้าหนังในปีนี้มาพร้อมอะไรที่หลากหลายขึ้น แต่ก็ยังไม่เว้นจากงานแนวฮีโร่ฟอร์มยักษ์ ภาคต่อหวังฟันรายรับและหนังที่สร้างจากนิยายอะไรต่อมิอะไรทั้งหลาย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่น่าจับตามองมากๆ ว่าจะสามารถทำรายรับรวมตลอดทั้งปีให้กลายเป็นสถิติใหม่ได้หรือไม่

ส่วนจะมีเรื่องอะไรเข้าฉาย(ในอเมริกา) บ้างนั้น กระทู้นี้ขอรวบรวมมาให้คุณได้อ่านกันแบบจุใจ เป็นคู่มือย่อมๆในการดูหนังตลอดทั้งปี 2015 ของคอหนังทั้งหลาย ซึ่งเจ้าของกระทู้เองก็คัดเอาข้อมูล เรื่องย่อ และสิ่งที่น่าสนใจ มาแปลฝากกัน หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ยังไงก็ขอให้ปี 2015 เป็นปีที่มีคอหนังทั้งหลายมีความสุขกันถ้วนหน้า ชมภาพยนตร์เรื่องไหนก็ขอให้สนุกถูกใจไปซะทุกเรื่อง ขอส่งกระทู้ให้เป็นของขวัญปีใหม่ของชาวพันทิปทั้งหลายด้วยเลยก็แล้วกันครับ

HAPPY NEW YEAR 2015 AND ENJOY YOUR MOVIE !!!!

ปล. หนังที่ทราบวันฉายแล้ว จะเรียงตามลำดับวันเข้าฉายนะครับ ส่วนที่เหลือแรนดอมเอาครับผม

ติดตามข่าวสารและพูดคุยกันต่อได้ที่ http://facebook.com/filmzlapsocial

แก้มขาวๆนิ่มๆของจูนง ถูกใจ, Mint Royale หลงรัก, แมวหูป้าน ถูกใจ, chandara ถูกใจ, ขนมรสหวาน ถูกใจ, หมาบิ๊ก ถูกใจ, Ganja ถูกใจ, Akatosh ถูกใจ, เหมียวฝึกหัด ถูกใจ, Salatino ถูกใจรวมถึงอีก 4 คน ร่วมแสดงความรู้สึก

ข่าวเด่นเมื่อเดือนที่ผ่านมาทำให้ผู้คนไปขุดหาคลิปเก่าๆ ของไลฟ์โคชคนดัง ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นคลิปปี 2018 ที่เขาเคยให้สัมภาษณ์กับพิธีกรชื่อดังที่ถามเขาว่า “มันมีโรคหนึ่งที่น่าสนใจมาก ที่คุณเป็น และคนไทยไม่ค่อยรู้ว่ามีโรคนี้ คือโรคที่ไม่สามารถรู้การแสดงออกทางสีหน้าของตัวเราเองและคนอื่นได้” แล้วไลฟ์โค้ชคนนั้นก็ตอบว่า “มันเรียกว่าแอสเพอร์เกอร์ (Asperger) มันจะคล้ายๆ ออทิสซึม แต่ไม่ขนาดนั้น”

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
เกรียตา ทุนแบร์ย

ต้นปี2019 โลกได้รู้จักเกรียตา ทุนแบร์ย ในฐานะบุคคลแห่งปีที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ ที่พาดปกถึงเธอว่า ‘พลังของเยาวชน’ เธอเป็นเด็กหญิงชาวสวีเดนวัยเพียง 16 ปี นักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมฝีปากกล้า สู้ไม่ถอย ที่ออกมายอมรับอย่างภูมิใจว่าเป็นแอสเพอร์เกอร์

“มันทำให้ฉันแตกต่างไป ฉันว่าการไม่เหมือนใครคือของขวัญ มันทำให้ฉันเห็นสิ่งต่างๆ จากนอกกรอบ…ทำให้ฉันไม่เชื่อคำโกหกง่ายๆ และสามารถมองสิ่งต่างๆ ได้ทะลุปรุโปร่ง ถ้าฉันเป็นเหมือนคนอื่น ฉันคงไม่ออกมาทำกิจกรรมหยุดเรียนประท้วงแบบนี้…การเป็นคนแตกต่างเหมือนมีซูเปอร์พาวเวอร์”

ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 ณ รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐฯ เมื่ออดัม แลนซา ชายหนุ่มอายุ 20 ปี ยิงสังหารแม่ตัวเองคาคฤหาสน์หรู ก่อนจะแบกปืนอีกสามกระบอกขับรถออกไปกราดยิงครูและนักเรียนในโรงเรียนประถมแซนดี ฮุก จนมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 27 ศพ (นักเรียน 20, ครู 6 และแม่เขาเอง) ก่อนเขาจะดับชีพตนเองด้วยปืน และต่อมาทางการก็ระบุว่า เขามีความผิดปกติแบบหนึ่งในสเปกตรัมออทิสติก (Autistic spectrum disorder) ที่เรียกว่า กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s syndrome) อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมเทคโนโลยีให้ข่าวเกี่ยวกับเขาว่า “เขาเป็นเด็กขี้กลัวและประหม่า แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางคนที่ไว้ใจได้ เขาก็จะไม่พูดคุยปฏิสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น” เพื่อนบ้านรายหนึ่งเสริมว่า “เขาเป็นเด็กเก่ง เรียนรู้เร็ว แต่ความฉลาดทำให้เขาไม่อยากคุยกับใคร” เพื่อนร่วมชั้นให้ความเห็นว่า “เพราะพ่อแม่เขาหย่ากันเลยทำให้เขาแย่ลงไปอีก จากที่เป็นคนแปลกแยกอยู่แล้ว”

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
อดัม แลนซา

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านออทิสซึมให้ความเห็นว่า “ไม่ยุติธรรมที่จะบอกว่าเด็กแอสเพอร์เกอร์เป็นพวกอันตราย กลายเป็นฆาตกรสังหารหมู่ได้ ความอันตรายเกิดจากการไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธีต่างหาก โดยเฉพาะเมื่ออยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย เช่น ถูกรังแก มีปัญหาครอบครัว หรือรู้สึกโดดเดี่ยว”

[ออทิสติกสเปกตรัม (ASD) แบ่งเป็น 5 ประเภท 1. ออทิสติก 2. แอสเพอร์เกอร์ 3. เร็ตต์ (Rett’s Disorder) 4. CDD (Childhood Disintegrative Disorder) 5. PDD-NOS (Pervasive Developmental Disorder, Not Otherwise Specified)]

แอสเพอร์เกอร์ โรคอัจฉริยะ

หลายเว็บระบุว่า แอสเพอร์เกอร์เป็นโรคอัจฉริยะ พร้อมยกขบวนรายชื่อคนดังต่างๆ ขึ้นมา เราพบว่า ฮีเทอร์ บารบอร์ ไวแอตต์ ครูและคอลัมน์นิสต์ ได้สรุปข้อมูลต่างๆ ไว้ใน เว็บ Ongig โดยแยกข้อเท็จจริงออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
(จากซ้าย) ไอแซก อาซิมอฟ, จอห์น เดนเวอร์, แอนโทนี ฮอปกินส์, ซาโตชิ ทาจิริ และซูซาน บอยล์

ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็น

ไอแซค อาซิมอฟ (นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์), จอห์น เดนเวอร์ (นักร้อง-นักแต่งเพลง), เซอร์ แอนโธนี ฮอปกินส์ (นักแสดงออสการ์), ซาโตชิ ทาจิริ (ผู้ออกแบบเกมโปเกมอน), ซูซาน บอยล์ (นักร้อง) ฯลฯ

ถูกสันนิษฐานว่าเป็น หรือไม่เคยตรวจมาก่อน หรืออาจไม่เป็นเลยก็ได้

นักร้อง-นักแสดง: ไมเคิล แจ็กสัน, ชาร์ลี แชปปลิน ผู้กำกับหนัง: จอร์จ ลูคัส, วูดดี อัลเลน, ทิม เบอร์ตัน, อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ไอทีและนวัตกรรม: บิลล์ เกตส์, สตีฟ จ็อบส์, อีลอน มัสก์, นิโคลา เทสลา, มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ศิลปิน: แอนดี วอร์ฮอล ฯลฯ

วิเคราะห์จากชีวประวัติ ซึ่งอาจไม่เป็นก็ได้

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เซอร์ ไอแซก นิวตัน (งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซฟอร์ดยืนยันตรงกันว่าเป็น), โมซาร์ต, วินเซนต์ ฟาน ก๊อก, ไมเคิล แองเจโล, ชาลส์ ดาร์วิน, ทอมัส เอดิสัน, แอลัน ทัวริง, ฟรานซ์ คาฟคา, ชาลส์ ดิกสัน, เอช.พี. เลิฟคราฟต์, เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ฯลฯ

ตกลงแล้วแอสเพอร์เกอร์คืออะไร เป็นอัจฉริยะหรือเป็นฆาตกร เป็นพรสวรรค์ระดับซูเปอร์พาวเวอร์ หรือเป็นคำสาปที่กลายให้คนเป็นปีศาจ

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
กรุนญา ซูคาเรวา

[กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ เป็นความบกพร่องทางพัฒนาการที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น บกพร่องด้านทักษะทางสังคม บกพร่องด้านทักษะการใช้ภาษาหรือการสื่อสารและการแสดงออก ชอบทำอะไรซ้ำๆ มักหมกมุ่นกับสิ่งที่ชอบเป็นเวลานาน แต่ไม่ใช่กลุ่มบกพร่องทางสติปัญญา หลายรายจะฉลาดเป็นพิเศษในสิ่งที่ตนหมกมุ่น งานวิจัยในปี 2015 พบว่าทั่วโลกมีชาวแอสเพอร์เกอร์อยู่ราว 37.2 ล้านคน และเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง แอสเพอร์เกอร์มีมานานแล้ว แต่ด้วยความรู้สมัยก่อน ด้วยความซุกซนของเด็กกลุ่มนี้ จึงมักถูกวินิจฉัยเหมารวมไปกับกลุ่มไฮเปอร์แอกทีฟ หรือเด็กสมาธิสั้น และหมอมักให้ยากดประสาทเพื่อลดพฤติกรรมให้ช้าลง ซึ่งการแพทย์ปัจจุบันพบว่าเป็นแนวทางรักษาที่ผิดวิธี

กลุ่มอาการนี้ถูกค้นพบในปี 1926 โดย กรุนญา ซูคาเรวา นักประสาทวิทยาชาวรัสเซีย ได้เขียนบทวิจัยเกี่ยวกับ ‘บุคลิกภาพทางจิตเภทในวัยเด็ก’ ที่ศึกษาพฤติกรรมเด็ก 6 คน ซึ่งในเวลานั้นยังนิยามไม่ได้และถูกสันนิษฐานว่าเป็นจิตเภท ผลงานนี้ไม่แพร่หลายและไม่ถูกสานต่อ จนกระทั่งในปี 1944 ฮันส์ แอสเพอร์เกอร์ กุมารแพทย์ชาวออสเตรีย ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในเด็กกลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กชายอายุ 6-11 ปี ทำให้พบว่าเด็กหลายคนมีความยุ่งยากในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีลักษณะเฉพาะ แปลกต่างจากคนทั่วไป โดยเริ่มแรก ฮันส์เรียกอาการนี้ว่า ‘Autistic Psychopathy’ แต่บทความปี 1944 นี้เพิ่งได้รับความสนใจในปี 1981 หรือ 6 เดือนให้หลังจากฮันส์เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อลอร์นา วิง จิตแพทย์หญิงชาวอังกฤษนำผลงานของเขากลับมาตีพิมพ์ซ้ำ และตั้งชื่อโรคนี้ตามชื่อของเขา

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
ฮันส์ แอสเพอร์เกอร์

ปัจจุบันผู้ป่วยหลายรายไม่สบายใจที่ถูกเรียกว่า “แอสเพอร์เกอร์” เนื่องจากพบข้อมูลล่าสุดในปี 2018 ว่าในยุคนาซี ฮันส์เคยส่งเด็กพิการอย่างน้อย 2 คนไปยัง อัม ชปีเกลกรุนด์ คลินิก (Am Spiegelgrund clinic) ในเวียนนา ที่รู้กันว่าเป็นห้องทดลองอันโหดเหี้ยมในโครงการกำจัดเด็กพิการ ที่มีเด็กถูกนำมาทดลองและสังหารโหด 789 ราย อันเป็นหนึ่งในโครงการสังหารหมู่การุณยฆาตที่เรียกว่า Aktion T4 เพื่อให้ได้ชาวนาซีสายพันธุ์สมบูรณ์แบบ โครงการนี้มีเหยื่อทั้งสิ้น 70,273 ราย ปัจจุบันชาวแอสเพอร์เกอร์ส่วนหนึ่งจึงยินดีจะถูกเรียกว่าเป็น “ออทิสซึม” หรือ “ออทิสติก” มากกว่าจะเป็น “แอสเพอร์เกอร์” อย่างไรก็ตามในบทความนี้เราขอใช้คำว่า “แอสเพอร์เกอร์” เพื่อกันความสับสนกับผู้ป่วยออทิสติกอื่น]

Atypical (2017-ปัจจุบัน)

ซีรีส์เล่าชีวิตของแซม (เคียร์ กิลคริสต์) เด็กแอสเพอร์เกอร์ไฮสคูล ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อยากรู้อยากลอง ไม่ว่าจะเรื่องความรัก หรือเรื่องทางเพศ ฯลฯ เขาอยู่กับพ่อแม่น้องสาวและเต่าที่รัก (สิ่งมีชีวิตเดียวที่เขาอนุญาตให้อยู่ร่วมห้องได้) แซมต้องรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ทุกสัปดาห์ บางทีก็ปรึกษาเพื่อนซี้เพียงคนเดียวที่คอยสอนเรื่องทะลึ่งตึงตังแบบที่คนอื่นไม่เคยสอน นอกจากซีรีส์จะพาคนดูเข้าไปฟังเสียงในหัวแซมแล้ว ยังพาไปสังเกตพฤติกรรมน่าเอ็นดูและน่าละเหี่ยใจแบบเด็กแอสเพอร์เกอร์ของแซมด้วย พร้อมกับเล่าพฤติกรรมคนรอบข้างที่พร้อมบ้างไม่พร้อมบ้างต่อการรับมือกับแซม รวมถึงคนแปลกหน้าที่แวะเวียนผ่านเข้ามาที่มีทั้งเข้าใจและไม่เข้าใจแซม แล้วผู้คนเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อเด็กแอสเพอร์เกอร์แบบแซม

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

ไวต่อเสียง ไวต่อแสง และไวต่อกลิ่น

แซม: “ผมอยู่ในที่ไม่คุ้นและเสียงดังไม่ได้ มันทำให้ผมคิดไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่อง ผมจะนิ่งแหง่กไปเฉยๆ เลย”

งานวิจัยระบุว่าไม่ใช่เด็กแอสเพอร์เกอร์ทุกคนจะมีเซนส์แรงเกี่ยวกับแสง เสียง กลิ่น แต่เด็กแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน แต่มีเหมือนกันที่ไม่ตอบสนองต่อเสียงใดใดเลย ในเรื่องนี้ปัญหาหลักในการเข้าสังคม หรือไปทำกิจกรรมนอกบ้านของแซมคือ เขาจะไวต่อเสียง แสง และกลิ่นเป็นอย่างมาก อุปกรณ์จำเป็นของเขาคือเฮดโฟนเพื่อซับเสียงอันดังเกินไปจากโลกภายนอก

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

เมินเฉย เชิดใส่ ไม่ชอบให้คนสัมผัสตัว โดยเฉพาะคนแปลกหน้า แต่ถ้าอยากกอดเขา คุณต้องกอดแน่นๆ

น้องสาว: (หลังจากตวาดใส่แซมไป แซมเริ่มยืนนิ่ง และจิกทึ้งผมตัวเองถี่ๆ) เฮ้ ไม่เป็นไรนะ (ก่อนที่เธอจะอ้อมไปกอดแซมจากด้านหลัง) ไม่เป็นไรนะ ไม่เห็นต้องรู้สึกแย่เลย โอเคนะ (แซมยังคงทึ้งผมตัวเองแต่ความถี่ต่ำลง) กอดแน่นกว่านี้หรือให้คลายลง แซม: แน่นขึ้น น้องสาว: (กอดแซมแน่นกว่าเดิม) โอเค (แซมถอนหายใจเฮือกใหญ่) ดีขึ้นไหม (แซมพยักหน้า)

พฤติกรรมกวนบาทาวอนเท้าลำดับต้นๆ ในสายตาคนอื่นคือ เด็กแอสเพอร์เกอร์ไม่สบตาคนอื่น ถ้าพูดด้วย เขาก็อาจจะมองเมิน เชิดใส่แล้วผละจากไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งซีรีส์นี้แสดงให้เห็นทุกครั้งจนกลายเป็นมุขตลกประจำตัวแซมไปแล้ว แรกๆ ผู้ชมอาจจะเหวอหรือหงุดหงิดแซม แต่เมื่อทำความเข้าใจได้แล้ว จะรู้ว่าเขาเกิดมาเป็นแบบนี้เอง หรือถ้าคุณอยากแสดงความเห็นอกเห็นใจเขาด้วยการกอด เขาก็อาจระเบิดความหงุดหงิดใส่คุณ แม้แต่คนในบ้าน แซมยังไม่ชอบให้โดนเนื้อตัวเลย นับประสาอะไรกับคนแปลกหน้า แต่ถ้าอยากจะกอดเขา จงคุยกับเขาว่าเขาต้องการหรือไม่และอย่างไร เพราะเด็กแอสเพอร์เกอร์ที่ถูกฝึกมาแล้ว จะเข้าใจความรู้สึกของการกอดที่แน่นมากพอ

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

เผลอใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว

แซม: “จูเลีย (จิตแพทย์) บอกว่าผมต้องหัดซื้อของเองบ้างแล้ว ถ้าวันหนึ่งผมต้องออกไปอยู่คนเดียว” แม่: “แต่ครั้งล่าสุดที่เราไปห้างกัน ทุกอย่างมันเละเทะไปหมด ทั้งเสียง ทั้งแสงพวกนั้นอีก ไหนจะน้ำพุแย่ๆ นั่น ไอ้ที่มันพุ่งหันไปหันมาได้น่ะ” แซม: “ผมเกลียดน้ำพุนั่น” แม่: “ใช่ไหมล่ะ แล้วลูกก็เดือดหัวฟัดหัวเหวี่ยง จำได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น” แซม: (พยักหน้า) “ผมตบผู้ชายใจดีที่ร้านแพนด้าเอ็กซ์เพรสคนนั้น แล้วเราก็ถูกแบนห้ามเข้าที่นั่นตลอดกาล”

หลายคนมักประเมินชาวแอสเพอร์เกอร์ว่าเป็นพวกหัวรุนแรง ถ้าฉาบฉวยตัดสินจากการแสดงออกของพวกเขา ก็คงจะใช่ แต่ถ้ามองลึกลงไป ในซีรีส์แสดงให้เห็นในหลายๆ ตอนว่า ทุกครั้งของพฤติกรรมรุนแรงของแซมล้วนมีสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ เช่น ที่นั่นเปิดแสงวูบวาบวิบวับมากไป น้ำพุหันไปหันมาทำให้มึนงง เสียงพูดคุยเอะอะ คำบางคำที่กระทบจิตใจ หรือแม้แต่การสัมผัสจากคนแปลกหน้า แซมจะทำตัวไม่ถูกว่าควรตอบสนองอย่างไร ที่เขาตะโกน หงุดหงิด หัวฟัดหัวเหวี่ยง หรือปัดตบออกแรงๆ เพราะแซมแค่ควบคุมสถานการณ์หรือคนรอบข้างไม่ได้ เขาแค่ต้องการจะให้สิ่งนั้น หรือสถานการณ์นั้นหยุดลงชั่วครู่เท่านั้น ให้โอกาสเขาสักนิด ฟังเขาสักหน่อย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจ บางเหตุการณ์ลามเลยไปถึงบูลลีใส่แซมแรงๆ ก็มี

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

หมกมุ่นในบางสิ่งอย่างจริงจัง

แซม: “ผมอยากไปขั้วโลกใต้ ที่นั่นเงียบดี ยกเว้นตรงที่เพนกวินผสมพันธุ์กันอ่ะนะ ตรงนั้นคงไม่เงียบแหงๆ… ขั้วโลกใต้เป็นทวีปที่ห่างไกลที่สุดในโลก แม้จะมีน้ำแข็ง 90% ของทั้งโลก แต่ถือว่าที่นั่นแห้งแล้ง เพราะปริมาณน้ำฝนประจำปีวัดได้แค่แปดนิ้ว แต่เวลาคุณเห็นภาพขั้วโลกใต้ คุณจะนึกไม่ถึงว่ามันแห้งแล้ง ผมถึงชอบมัน… มันไม่เหมือนอย่างรูปลักษณ์ที่เห็นภายนอก”

ทุกตอนสิ่งที่แซมจะพล่ามพูดใส่ทุกคนรอบข้าง คือเรื่องราวต่างๆ ในแอนตาร์กติกา เขาจะหมกมุ่น ใส่ใจ จดจำรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้ มีมุมมองแปลกใหม่ ช่างคิดเกี่ยวกับขั้วโลกใต้ ที่ตัวซีรีส์นอกจากจะใช้แสดงให้เห็นพฤติกรรมประหลาดของแซมแล้ว บ่อยครั้งมันยังสื่อถึงโลกที่แซมใฝ่ฝัน เนื้อแท้ตัวตนของเขาที่อยากให้คนอื่นเข้าใจ รวมถึงบางครั้งก็เป็นที่คุ้มภัยกระโจนเข้าหลบลี้ในยามวิตกหรือหวาดกลัว เขาจะเพ้อพล่ามพูดซ้ำๆ เกี่ยวกับนกเพนกวิน ซึ่งน่าสนใจมากเมื่อซีรีส์ได้แสดงให้คนดูเห็นอีกด้านหนึ่งด้วยว่า การที่แซมหมกมุ่นในสิ่งที่คนอื่นไม่แยแส สุดท้ายแล้วความหมกมุ่นนี้ก็ส่งผลให้เขามีผลงานสอบเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะ และผลงานของเขาคือสารพัดสิ่งเกี่ยวกับขั้วโลกใต้ที่เขารู้จักดี

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

เถรตรง และมักพูดความจริงที่ไม่สมควรพูด

แม่: วันนี้ไปคุยกับจิตแพทย์มาเป็นไงบ้าง แซม: เธออยากให้ผมบริจาคสมอง แต่ไม่ต้องห่วง ตอนผมตายน่ะ พ่อ: (พยายามหาวิธีคุยกับแซมแต่มักถูกเชิดใส่) เพื่อเอาไปวิจัยหรือ เจ๋งดีนี่ แม่: ไม่มีทาง (มองหน้าแซมแล้วพูดช้าๆ ชัดๆ) ไปบอกเธอว่าขอบคุณ แต่ไม่ล่ะ แซม: โอเค ผมไม่สนหรอกว่าจะเกิดอะไรกับสมองที่ตายแล้วของผม ถ้าไม่ให้หมอไปก็ปล่อยให้หนอนแทะไป ใครจะไปสน ตอนนั้นผมม่องเท่งไปแล้ว แม่: หยุดพูดเรื่องตายได้ไหม ลูกจะไม่จากไปที่ไหนทั้งนั้นแหละ แซม: หมอเสนอว่าผมน่าจะมีแฟน และหาใครสักคนมาร่วมเพศด้วย เธอไม่ได้พูดเรื่องร่วมเพศหรอกนะ ผมเติมเอง

เพราะในหัวของแซมคิดตามลำดับอย่างซับซ้อนว่า ถ้ามีแฟนก็ต้องตามมาด้วยการร่วมเพศ แม้ว่าจิตแพทย์ของเขาจะไม่ได้คุยถึงเรื่องร่วมเพศ แต่ในสมองของแซม สองเรื่องนี้เกี่ยวโยงกัน และนี่เป็นตัวอย่างเบาะๆ ที่แซมมักจะเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาผูกโยงกัน บ่อยครั้งคนอื่นจึงตีความว่าแซมล้มเหลวในการตีความ แต่อย่างที่เราบอกไปว่าเพราะแซมหมกมุ่นกับขั้วโลกใต้ และเพนกวิน แฟนตาซีเรื่องความรักในหัวของแซม จึงเกี่ยวพันกับความจริงของเพนกวินที่แซมเข้าใจว่า รักคือทำรัก (อันหมายถึงการผสมพันธุ์) แต่การพูดความจริงเถรตรงเกินไป ไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่พึงพอใจ และหลายครั้งแซมก็เจอปัญหาจากคำพูดตรงไปตรงมา

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
โรเบีย ราชิด (How I Met Your Mother, 2005-2014)

โรเบีย ราชิด สาวลูกครึ่งอเมริกันปากีสถาน โชว์รันเนอร์ผู้ครีเอตโปรเจกต์ซีรีส์นี้ขึ้นมาด้วยไอเดียว่า “หลังจากทำงานให้ช่องทีวีมาหลายปี ฉันอยากทำอะไรแบบที่อยากทำจริงๆ สักที แล้วก็พบว่าเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ถูกประเมินว่ามีความเนิร์ดเฮี้ยนมีอาการมากน้อยบนสเปกตรัมออทิสติกแตกต่างกันไป และพวกเขาอยากเป็นตัวของตัวเอง ไม่พึ่งพาใคร มันน่าจะเจ๋งดีที่จะเล่าเรื่องนัดเดตของเด็กยุคนี้ วัยรุ่นที่อยากปลดแอกจากพวกผู้ใหญ่ ไขว่คว้าความรัก แต่ไม่เคยมีเรื่องไหนที่มีมุมมองเฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่มเด็กแอสเพอร์เกอร์แบบนี้เป็นแน่ แต่มันเป็นงานที่หนักมาก ฉันต้องทำรีเสิร์ชเยอะมาก จุดพลิกผันอยู่ตรงฉันอยากให้แซมเป็นคนเล่าเรื่องจากเสียงในหัวของเขาเอง แต่นอกจากจะทำให้เรื่องราบรื่นขึ้นแล้ว มันยังทำให้เรื่องเล่ายากขึ้นด้วย เพราะแซมไม่สามารถสื่อสารได้อย่างคนทั่วไป เนื่องจากพฤติกรรมของแซมไม่สามารถเล่าได้ด้วยคำพูดเท่านั้น คือคุณต้องเห็นภาพด้วยถึงจะเก็ต เหมือนฉันต้องโดดเข้าไปในสมองของแซม พูดในสิ่งที่แซมหมกมุ่นในแบบที่แซมเป็น กลายเป็นว่าตอนนี้ฉันเป็นพวกเนิร์ดเกี่ยวกับขั้วโลกใต้ไปแล้ว (หัวเราะ)”

“ฉันรีเสิร์ชคนกลุ่มออทิสติกหลายคน ใช่ แต่ฉันต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของพวกเขาด้วย เพราะชาวออทิสติกหวงแหนพื้นที่ส่วนตัวอย่างมาก เรื่องของแซมแตกต่างจากชีวิตจริงของกลุ่มคนที่ฉันทำรีเสิร์ช ซึ่งช่วยฉันได้เยอะในการหยิบสิ่งที่พวกเขาคิดขึ้นมาเขียน เอามาคิดต่อไปถึงผลกระทบต่อตัวละครแวดล้อม ว่าพวกเขาจะตอบสนองอย่างไรกับคำพูดแบบนั้นหรือพฤติกรรมแบบนี้ของแซม ทุกเม็ดของการเขียนบท ฉันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าจะไม่ไปทำร้ายจิตใจใครเข้า ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เรามีมุกตลกมากมายในเรื่อง แต่ต้องคิดถี่ถ้วนว่ามุกนั้นมันจะกระเทือนจิตใจคนกลุ่มนี้หรือใครไหม ซึ่งกลายเป็นว่าความระมัดระวังตรงนี้ส่งผลให้บทแหลมคมขึ้น สะเทือนใจมากขึ้นด้วย”

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
เคียร์ กิลคริสต์ (It’s Kind of a Funny Story-2010, It’s Follows-2014)

นักแสดงหนุ่มวัย 27 ที่ต้องมารับบทแซม เด็กแอสเพอร์เกอร์วัยมัธยม ที่มีวิธีสื่อสารเฉพาะตัว กิลคริสต์เล่าว่า “ผมขอยกความดีความชอบให้โรเบียเลยแล้วกัน เพราะเธอเขียนสคริปต์ เราคุยกันเยอะมากจากนั้นผมก็ทำรีเสิร์ช ดูหนังกับอ่านหนังสือหลายเรื่องมาก แล้วเราก็มีที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านออทิสติก คือถ้าตรงไหนไม่แน่ใจ ก็จะปรึกษาพวกเขาว่าควรจะแสดงออกมาอย่างไร แต่แซมไม่ใช่ตัวแทนถึงชาวแอสเพอร์เกอร์ทุกคน เขาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในกลุ่มคนนี้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก เป็นบทที่ต้องใช้พลังอย่างมาก เพราะวิธีคิดของแซมปรู๊ดปร๊าดมาก ตอนทำงานผมต้องคิดหาวิธีแสดงที่ขัดแย้งต่อสัญชาติญาณของตัวเอง เพราะชาวแอสเพอร์เกอร์มีรูปแบบการแสดงสีหน้าต่างจากคนทั่วไป ขณะเมาท์กันเรื่องหนุกๆ เขาอาจจะทำหน้านิ่งซึมๆ ไม่ใช่พวกเขาหัวเราะไม่เป็น แต่เขาจะหัวเราะให้กับเรื่องสนุกที่คนอื่นอาจไม่สนุกด้วย เช่นเดียวกัน เรื่องที่คนอื่นสนุกมันอาจไม่สนุกสำหรับเขา”

ตัวละครแอสเพอร์เกอร์อื่นๆ

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
ซีรี่ส์:The Victims’ Game (2020) https://youtu.be/EloxqgT-bws

ซีรีส์ไต้หวันที่มีฟางอี้เหริน (โจเซฟ จางเสี่ยวควน) เป็นตำรวจนิติเวชแอสเพอร์เกอร์ ทำให้เขาหมกมุ่นกับการสืบคดี เถรตรงขวานผ่านซากยอมหักไม่ยอมงอ ในอีกด้านเขาเป็นพ่อที่มีลูกสาว แต่หลังหย่าขาดจากภรรยาเขาก็ไม่เคยได้เจอหน้าลูกสาวของตัวเองอีกเลย กระทั่งเกิดคดีฆาตกรรมต่อเนื่องอันแปลกประหลาด ที่อาจพัวพันกับลูกสาวของเขา พฤติกรรมแอสเพอร์เกอร์ในเรื่องนี้เขียนขึ้นจากการตีความว่า หากพวกเขาเติบโตขึ้นมีลูก ความสัมพันธ์ของคนแอสเพอร์เกอร์จะส่งผลกระทบต่อลูกเมียอย่างไร เมื่อมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกร้องความรัก แต่ฟางอี้เหรินไม่รู้จักวิธีแสดงออกทางอารมณ์เลย

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
ซีรีส์: Hannibal (2013-2015)https://youtu.be/Es3B24z8fdA

ย้อนไปเหตุการณ์สังหารหมู่แซนดี ฮุก เมื่อปี 2012 ทำให้ไบรอัน ฟุลเลอร์ ผู้สร้างซีรีส์ Hannibal ได้ไอเดียให้ตัวละครวิลล์ แกรห์ม (ฮิวจ์ แดนซี) เป็นแอสเพอร์เกอร์ ในเรื่องนี้ฟูฟุลเลอร์จงใจสร้างความสับสนให้คนดู เมื่อแกรห์มอยู่บนหนทางอันหมิ่นเหม่ อันพฤติกรรมแอสเพอร์เกอร์ของเขามีความใกล้เคียงกับฆาตกรโรคจิต (Sociopath/Psychopath) โครงเรื่องดัดแปลงจากนิยายชุดดังของทอมัส แฮร์ริส (Red Dragon, The Silence of the Lambs) โดยหยิบตัวละคร ดร.ฮันนิบัล เลกเตอร์ ฆาตกรต่อเนื่องรสนิยมวิไล มาตีความใหม่ และวิลล์ แกรห์ม เป็นดั่งศัตรู ลูกศิษย์ และคนรัก ที่ฮันนิบัลอยากจะส่งต่อเชื้อไขความชั่วร้ายอันงดงามให้ ดังตอนหนึ่งที่ฮันนิบัลตัดพ้อว่า “ผมปล่อยให้คุณรู้จักผม เห็นผม (เข้าใจผม) ผมมอบของขวัญ (พรสวรรค์) อันหาได้ยากยยิ่ง แต่คุณกลับไม่ต้องการมัน”

[Sociopath / Psychopath พวกต่อต้านสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นยาก เลือดเย็น ไร้ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีความสามารถพิเศษในการหาเหตุผลมารองรับพฤติกรรมโหดเหี้ยมของตนเอง สองคำนี้มักถูกหมายรวมเหมือนกัน แต่บ้างก็ว่า Psychopath แม้จะไม่เข้าสังคม แต่เขาสามารถปลอมตนอยู่ในสังคมได้อย่างแนบเนียน และจะมีการวางแผนฆาตกรรมล่วงหน้าเป็นขั้นตอน ขณะที่ Sociopath จะก่อความรุนแรงเมื่ออารมณ์ปะทุอย่างฉับพลันมากกว่าจะวางแผนไว้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตามในชีวิตจริง ทั้งสองจำพวกนี้ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการฆ่าผู้อื่นเสมอไป และส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมรุนแรงด้วยซ้ำไป]

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
หนัง: The Night Clerk (2020) https://youtu.be/8j6wDoyiyd4

หนุ่มแอสเพอร์เกอร์ บาร์ท บรอมเลย์ (ไท เชอริแดน) พนักงานโรงแรมกะดึก ผู้หมกมุ่นกับการซ่อนกล้องไว้ตามห้องโรงแรมเพื่อใช้สำหรับการเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เพราะเขาไม่รู้วิธีแสดงออกในการสื่อสารอย่างคนทั่วไป แต่แล้วเขาก็เจอดีจนได้เมื่อเกิดเหตุฆาตกรรมในห้องที่เขาซ่อนกล้องไว้ จนเลยเถิดกลายเป็นว่าเขาเป็นผู้ต้องสงสัยหลักในคดีนี้

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
สารคดี: Asperger’s Are Us (2016) https://youtu.be/bnbjwmLMuJY

เรื่องอื่นๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นนักแสดงมาสวมบทแอสเพอร์เกอร์ทั้งสิ้น แต่นี่คือสารคดีเกี่ยวกับคณะตลกชาวแอสเพอร์เกอร์ตัวจริงเสียงจริง ที่ผู้ชมจะได้เห็นเสียทีว่าชาวแอสเพอร์เกอร์แท้ๆ เป็นอย่างไร และน่าสนใจมากว่าพวกเขาดูปกติมากกว่าตัวละครผิดปกติในเรื่องอื่นๆ เสียอีก ชื่อสารคดีเรื่องนี้เป็นชื่อเดียวกับคณะตลกของพวกเขา อันประกอบไปด้วย โนอาห์, อีทาน, แจ็ก และนิว ไมเคิล ซึ่งบันทึกช่วงการแสดงสุดท้ายก่อนจะปิดตัวแยกย้ายไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัย หรือใช้ชีวิตแบบที่พวกเขาต้องการ

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม
แอนเดอร์ส เบห์ริง ไบรวิค ตัวจริง ขณะทำสัญลักษณ์ชาตินิยมกลางศาล หนังจากเรื่องจริง: 22 July (2018) https://youtu.be/ZVpUZGmHJB8

หนังอิงจากเหตุการณ์จริงในนอร์เวย์เมื่อปี2011 เมื่อแอนเดอร์ส เบห์ริง ไบรวิค (แอนเดอร์ส แดเนียลเซน ไล) คนขาวฝ่ายขวาชาวคริสต์ผู้อ้างตัวเป็นผู้นำเครือข่ายคริสเตียนรักชาติ คลั่งชาติแบกอาวุธหนักลุยเดี่ยวไปกราดยิงเยาวชนในค่ายฤดูร้อนของพรรคการเมืองฝั่งเสรีนิยม ยังผลให้มีเด็กวัยรุ่นเสียชีวิตทั้งหมด 77 คน ในสัปดาห์แรกเขาถูกประเมินว่าเป็นโรคจิต ในหนังอธิบายว่าวิตกจริต (Paranoid Schizophrenia — ในหนังสื่อถึงการเกลียดกลัวมุสลิม เหยียดเชื้อชาติ และต่อต้านเฟมินิสต์) แต่ในความเป็นจริงนอกจากอาการดังกล่าวแล้ว เขายังเป็นแอสเพอร์เกอร์ ที่มีอาการร่วมกับทูเรตต์ (Tourette Syndrome — ระบบประสาทผิดปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุกบ่อย) และโรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder — ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ขาดความเห็นใจต่อผู้อื่น หมกมุ่นกับการโอ้อวดตน ต้องการเป็นจุดสนใจ) อีกด้วย

ซ้ำมีรายงานถึงประวัติวัยเด็กของเขาด้วยว่า หลังจากพ่อผู้เป็นเจ้าหน้าที่ทูตและแม่ผู้เป็นนางพยาบาลหย่าร้างกัน จิตแพทย์เคยบันทึกผลไว้ว่า ‘ความเครียดจากการหย่าสามี บวกอาการซุกซนไฮเปอร์แบบเด็กแอสเพอร์เกอร์ของลูก ส่งผลให้แม่คุ้มดีคุ้มร้าย ภาวะอารมณ์ไม่คงที่ (Borderline Personality Disorder) ทั้งรักทั้งเกลียดลูกชายทำให้นอกจากเธอจะทุบตีทำร้ายไล่ให้ไบรวิคไปตายอยู่บ่อยๆ แล้ว เธอยังมีความปรารถนาทางเพศกับเขาอีกด้วย’

[สอดคล้องกับงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรงหรืออาชญากรรม ในปี 2003 ของ ดร.แคเทอรีน ดี. ซาตซานิส โดยวิทยาลัยแพทย์ฮาร์เวิร์ดร่วมกับศูนย์การศึกษาเด็กแห่งเยล พบหลักฐานชี้ชัดว่า ‘ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์เป็นเหยื่อมากกว่าผู้กระทำผิด’ และมีการทบทวนงานวิจัยนี้ในปี 2008 พบว่าอาชญากรรมรุนแรงที่ก่อโดยผู้เป็นแอสเพอร์เกอร์ ยังผลมาจากความผิดปกติทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย]

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

จริงหรือไม่ เด็กแอสเพอร์เกอร์ทำงานนอกบ้านไม่ได้

แอสเพอร์เกอร์ทำงานหาเลี้ยงชีพได้ไหม เป็นคำถามที่พ่อแม่ทุกคนกังวล ในซีรีส์ Atypical แซมมีงานพาร์ทไทม์ในร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเขาจำรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกรุ่นได้อย่างแม่นยำ คุณอาจคิดว่านี่เป็นแค่เรื่องแต่ง เราขอยกตัวอย่างเรื่องจริงจากในเพจ Thai Asperger Club ที่แอดมินเป็นสาวไทยมีสามีเป็นแอสเพอร์เกอร์ชาวออสเตรเลียเล่าว่า ‘คุณต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า แอสเพอร์เกอร์ คือ อาการที่พัฒนาได้ช้ากว่าคนทั่วไป และให้คิดเสมอว่า เขาไม่เหมือนคนอื่น ไม่ใช่ว่าเขาเป็นโรคจิต ให้คิดถึงสิ่งที่พิเศษก็คือว่า พวกเขามีความสามารถสุดยอด เก่งที่หาใครเทียบยากมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเขาสนใจคอมพิวเตอร์ เขาจะรู้จริงและรู้ลึกกว่าคนทั่วไป ถ้าคุณเอาคอมพิวเตอร์ที่ร้านไอทีไม่รับซ่อมไปให้เขา เขาจะไม่เลิกซ่อมจนกว่าเขาจะพบปัญหาและแก้ไขคอมพิวเตอร์ให้คุณจนได้… แอสเพอร์เกอร์มักสนใจในตัวเลข วงจรที่สลับซับซ้อน’

จริงๆ แล้วในต่างประเทศ หลายงานระบุเจาะจงด้วยซ้ำว่าต้องการคนเป็นแอสเพอร์เกอร์ โดยเฉพาะงานด้านไอทีเน็ตเวิร์ก แต่ชาวแอสเพอร์เกอร์มีสองจำพวก คือ พวกขาดจินตนาการ ที่จะอึดทนต่อการทำงานจับจดซ้ำซากได้เป็นอย่างดี กับพวกจินตนาการล้นเหลือ เหมาะกับงานไอเดียบรรเจิดต้องการความครีเอตสร้างสรรค์ มุมมองแปลกต่าง อย่างไรก็ตามแอดมินเพจนี้ก็เล่าด้วยว่า ‘สามีฉันมีเรื่องทะเลาะกับเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานบ่อยๆ ในหนึ่งปีเขาเปลี่ยนงานสามที่ สร้างความกลุ้มใจให้ฉันมากๆ’ แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ก็น่าสนใจว่าในต่างประเทศ หลายชาติยอมรับประสิทธิภาพในการทำงานของคนแอสเพอร์เกออร์ ขณะที่ในบ้านเรายังไม่มีความเข้าใจมากพอเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

พรสวรรค์หรือคำสาป

แอดมินเพจเดิมเล่าว่า ‘หลังจากที่เราแต่งงานกันได้ 4 เดือน ฉันก็รู้ว่าแดเรน สามีของฉันเป็นแอสเพอร์เกอร์ เพราะแดเรนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนคนอื่น พูดตรงเกินไป และมักพูดความจริงที่ไม่สมควรพูดเสมอๆ เช่น แดเรนบอกพี่สาวของฉันว่า ฉันไม่อยากคุยกับเธอเพราะเธอพูดไม่เพราะ (ซึ่งฉันพูดให้แดเรนฟังในลักษณะปรับทุกข์) และนั่นทำให้พี่สาวของฉันโกรธฉันมาก จนเราทะเลาะกัน

นอกจากนี้ แดเรนยังพูดหลายๆ เรื่องที่ทำให้ฉันต้องทะเลาะกับเพื่อนๆ และมันทำให้ฉันเครียดมากกับการอยู่ร่วมกับสามีที่ไม่เหมือนคนอื่น หนักๆ เข้าฉันแก้ปัญหาโดยการกินยาระงับประสาทตัวเองทั้งเช้าเย็น เพื่อจะได้นอนหลับและไม่คิดถึงอะไร แต่ว่าในที่สุดมันไม่ใช่การแก้ปัญหา ในที่สุดฉันตัดสินใจใช้เวลาศึกษาคนที่มีอาการแบบนี้อยู่เกือบสองปีก็พบว่า แท้จริงแล้วแอสเพอร์เกอร์สซินโดรมเป็นพรสวรรค์มากพอๆ กับเป็นคำสาป แต่เราต้องช่วยเขาและต้องอาศัยความอดทนแบบสุดยอดที่ต้องพาเขาผ่านสถานการณ์ให้ได้’

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

ศจ. ดร.สแตนเลย์ กรีนสแปน จิตแพทย์เด็ก มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ได้เสนอแนวคิดการมองเด็กออทิสติกอย่างเข้าใจ โดยเปรียบเทียบกับต้นไม้ คือ ราก — ระบบประสาทของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน, ลำต้น — พัฒนาการพื้นฐานด้านอารมณ์ สังคม, คนดูแลต้นไม้ – สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่กับเด็ก และ ใบไม้ — การฝึกพัฒนาการทักษะด้านอื่นๆ สิ่งที่ควรเน้นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก คือ เน้นฝึกพื้นฐานระบบประสาท (ราก) และเน้นส่งเสริมพัฒนาการอารมณ์ สังคม (ลำต้น) พร้อมกับการดูแล ให้เวลา ให้ความรัก ความอบอุ่น (คนดูแลต้นไม้) ส่วนการฝึกทักษะต่างๆ (ใบไม้) เช่น ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ หรือทักษะทางวิชาการ เป็นสิ่งที่เด็กควรเลือกทำเอง โดยสอดแทรกผ่านการใช้ชีวิตประวัน หรือส่งเสริมด้านวิชาการเมื่อเด็กมีพัฒนาการหลักด้านอารมณ์ สังคมที่พร้อมในระดับหนึ่งแล้ว

เพราะบ่อยครั้งที่พ่อแม่หมกมุ่นกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเล็กๆ น้อยๆ (ใบไม้) เช่น พยายามฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำเอง ฝึกให้ขีดเขียน อ่านบัตรคำ ทำการบ้าน จนไม่เหลือเวลาส่งเสริมรากฐาน พัฒนาการหลักที่สำคัญ (รากและลำต้น) เมื่อเวลาผ่านไป เด็กมีอายุมากขึ้น แต่พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม พื้นฐานระบบประสาท ไม่พัฒนาขึ้น ทำให้เด็กหลายคนจะพบว่ามีโรคจิตเวชแทรกซ้อนเมื่อโตขึ้น เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล การรักษาในช่วงโตขึ้นจึงยากและซับซ้อน

Game of silence แคลร ฟาน เดอร บ ม

ชาวแอสเพอร์เกอร์จะเติบโตมาเป็นเทพหรือปีศาจ ถ้ายึดเอาคำพูดของเกรียตา ทุนแบร์ย ที่ว่า “แอสเพอร์เกอร์เหมือนซูเปอร์พาวเวอร์” ก็น่าจะคล้ายๆ กับพลังฟอร์ซในหนัง Star Wars (ของจอร์จ ลูคัส หนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นแอสเพอร์เกอร์) ที่คนมีพลังฟอร์ซจะเติบโตมาเป็นอัศวินเจได หรือดาร์กลอร์ดแห่งด้านมืด อยู่ที่พ่อแม่ผู้ดูแลเขาที่มีส่วนอย่างมากในการผลักดันเขาไปสู่หนทางข้างหน้า ที่เขาจะตัดสินใจเลือกด้วยตนเองว่าจะใช้พลังฟอร์ซในด้านมืดหรือด้านสว่าง

แต่การจะเติบโตมาเป็นแบบมืดหรือสว่าง ไม่ใช่จะเป็นกันเฉพาะในหมู่แอสเพอร์เกอร์เท่านั้น ที่ชอบมากๆ อย่างหนึ่งใน Atypical คือ นอกจากจะพาคนดูไปเห็นความผิดปกติของแซมแล้ว ซีรีส์ยังพาไปเห็นความผิดปกติของคนรอบข้างแซมด้วย ความเฮี้ยนต่างๆ ที่แซมเป็น เมินเฉย เชิดใส่ ใช้ความรุนแรง หมกมุ่น พูดความจริงที่ทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย ไม่ใช่จะมีแต่แซมในเรื่องนี้เท่านั้นที่ทำ แต่ทุกคนทำ และคนดูอย่างเราๆ หรือใครๆ ก็ทำกัน คือถ้ามองในมุมนี้ แอสเพอร์เกอร์จะไม่ใช่ความผิดปกติอย่างชื่อซีรีส์เลย เพราะมนุษย์ทำเรื่องผิดปกติเป็นปกติกันอยู่แล้วในชีวิตจริง อย่างที่ตัวละครแฟนหนุ่มของน้องสาวแซมให้กำลังใจแซมตั้งแต่ตอนท้าย ep.1 ซีซั่นแรกแล้วด้วยซ้ำว่า