Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย

การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูลคืออะไร?

การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูลเป็นนวัตกรรมล่าสุด ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหาร ด้วยการกลืนแคปซูลติดกล้องบันทึกภาพขนาดจิ๋ว เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็กในจุดที่การส่องกล้อง โดยทั่วไปเข้าไม่ถึงได้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการตรวจหาความผิดปกติ เช่น มีอาการปวดท้องอยู่บ่อยๆ หรือปวดแบบบิดๆ ตรวจหาสาเหตุของโรคเท่าไหร่ก็ตรวจไม่พบเสียทีว่ามีความผิดปกติที่ใด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป โดยเฉพาะลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุดยากต่อการตรวจหาโรค

แคปซูล หรือ แคปซูลเอ็นโดสโคป คืออะไร?

แคปซูล หรือ “แคปซูลเอ็นโดสโคป” เป็นวัสดุขนาดเล็กและเบา ซึ่งมีลักษณะปลายมนโค้งเป็นพลาสติกใส มีเลนส์ และตัวให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ พร้อมด้วยตัวบันทึกภาพ โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลืนแคปซูลพร้อมน้ำ ได้อย่างสบาย ไม่ต้องเคี้ยว หลังจากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารโดยเริ่มจากปากไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejunum)ลำไส้เล็กตอนปลาย (IIeum) ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ (IIeo –cecal Valve) กระพุ้งแรกของลำไส้ใหญ่ (Cecum) และลำไส้ใหญ่ (Colon) ซึ่งจะบันทึกภาพระบบภายในและส่งสัญญาณต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ใน เครื่องบันทึกภาพ ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างสะดวกแม่นยำ โดยในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงระหว่างกลืนแคปซูลลงไปในท้องนั้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถที่จะเคลื่อนไหว หรือทำงานได้ตามปกติ และไม่มีความเจ็บปวด ก่อนที่แคปซูลจะถูกถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (Rapid Workstation) เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

  • ภาวะซีดหรือโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือสงสัยว่าอาจจะเกิดจากลำไส้เล็กอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุสงสัยว่าจะมีเนื้องอกในลำไส้เล็ก

ขั้นตอนการตรวจ

  • ผู้เข้ารับการตรวจจะกลืนแคปซูลขนาด 24×11 มิลลิเมตร ที่มีกล้องขนาดจิ๋วติดอยู่พร้อมน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยว
  • จากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร โดยอาศัยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ พร้อมกับถ่ายภาพและส่งเป็นสัญญาณวิทยุมายังชุดรับสัญญาณที่ติดอยู่บริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยการใช้กล้องแคปซูลจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 8 ชั่วโมง หลังการกลืนแคปซูลประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานของเหลว หรือขนมขบเคี้ยวได้บ้าง
  • ระหว่างการตรวจผู้เข้ารับการตรวจสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  • ก่อนการตรวจด้วยกล้องแคปซูล ผู้เข้ารับการตรวจต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ การแพ้ยา และโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ให้แพทย์ทราบ รวมถึงหากเคยผ่าตัด เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดหน้าท้อง เคยมีการอักเสบของลำไส้ ใส่ pacemaker
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดน้ำและอาหารก่อนกลืนแคปซูล 12 ชั่วโมง
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องรับประทานยาระบายก่อนการตรวจเพื่อเตรียมลำไส้ให้ว่าง

ข้อดีของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล

  • ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องบอกซ้ำหรือเจ็บตัวจากการตรวจด้วยวิธีแบบเดิมๆ เช่น การกลืนแป้งเอกซเรย์
  • กล้องแคปซูลสามารถหารอยโรคภายในลำไส้เล็ก ในช่วงที่มีความยาวมาก และในจุดที่ลึกมากได้
  • ไม่ต้องใช้ยาสลบ
  • สามารถเห็นภาพสีสามมิติของลำไส้เล็กได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
  • แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้

ข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล

ภาวะลำไส้อุดตันจากการตีบแคบของลำไส้ ซึ่งเกิดได้จากการอักเสบของลำไส้ เคยผ่าตัดช่องท้องหรือก้อนเนื้องอก ซึ่งจะทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และ/หรืออาเจียนขณะกลืนแคปซูล หากมีอาการดังกล่าวควรรีบแจ้งแพทย์ทันที

เมื่อ :

วันจันทร์, 26 กุมภาพันธ์ 2561

พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่มีสมาร์ทโฟนเป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิต ทำให้ธุรกิจการค้าต้องปรับกลยุทธ์เชิงรุกในรูปแบบออนไลน์ ตามช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยพัฒนาสื่อมัลติมีเดียดึงดูดความน่าสนใจ หลายคนคงจำเกมยอดฮิตอย่างโปเกมอนโก ที่นำเทคโนโลยี AR มาสร้าง จนทำให้คนติดเกมอย่างหนักกันพักใหญ่ทีเดียว เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) ได้ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมประจําวัน มีการนําไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านศิลปะ การแพทย์ การศึกษา และการพาณิชย์

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย

ภาพ เทคโนโลยี AR ที่มา https://pixabay.com/th/

คำว่า Augmented แปลว่าเพิ่มหรือเติม ส่วน Reality แปลว่าความจริง นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยกไม่ออก

ความเป็นมาของ AR

เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่าง ๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่าย ๆ ไปแล้ว โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่น ๆ ก็ตาม แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล ทั้ง VR และ AR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา

Augmented Reality

AR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุ (Object) แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง มีการแสดงผลที่แสดงวัตถุมีการเคลื่อนไหว ดูมีมิติมีความตื่นเต้นเร้าใจ โดยสามารถนำรูปแบบใหม่ของการนำเสนอสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ในโลกสังคมออนไลน์หรือการตลาดออนไลน์อีกทางหนึ่ง ว่ากันว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ พอๆ กับเมื่อครั้งเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลกก็ว่าได้ หากเปรียบสื่อต่าง ๆ เสมือน “กล่อง” แล้ว AR คือการเด้งออกมาสู่โลกใหม่ภายนอกกล่องที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ในรูปแบบ Interactive Media โดยแท้จริง

เทคโนโลยีเสมือนจริงนี้ มีหลักการทำงานโดยสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทํางาน (Marker based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR) หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย

  1. Marker (หรือที่เรียกว่า Markup)
  2. กล้องวิดีโอ เว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ
  3. ส่วนการแสดงผลภาพ เช่นจอภาพจากอุปกรณ์แสดงผล
  4. ซอฟต์แวร์ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบสามมิติ object 3D

พื้นฐานหลักของ AR

ใช้หลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การตรวจจับการเต้นหรือการเคาะ (Beat Detection) การจดจําเสียง (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทํางาน

ทั้งนี้การสั่งการด้วยเสียงจัดว่าเป็น AR และในส่วนของการประมวลผลภาพนั้น เป็นส่วนเสริม เพราะเน้นไปที่การทํางานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI) ในการสื่ออารมณ์กับผู้ใช้บริการผ่านสีและรูปภาพ

เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง หากในอนาคตเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือความก้าวหน้าของมนุษย์ก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย หากเรามีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้ใช้ แต่มนุษย์ไม่ได้เจริญตามเทคโนโลยีด้วย การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็จะไม่เป็นปกติสุขได้เลย

แหล่งที่มา

Virtual Reality Society.Augmented Reality – What is it? . สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560. จาก https://www.vrs.org.uk/augmented-reality/

The Franklin Institute. What Is Augmented Reality? . สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560. จาก https://www.fi.edu/what-is-augmented-reality

ไทยรัฐออนไลน์. (2016,January 5). รู้จักเทคโนโลยี AR ‘ความจริงเสริม’ โลกเสมือนมาเจอชีวิตจริง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560. จาก https://www.thairath.co.th/content/828113

หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน. (2017,ธันวาคม 9). ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AR เกมสุดล้ำบนโลกเสมือน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560. จาก https://suemuanchonnews.com/2016/11/19/ความก้าวหน้าของเทคโนโล

บริษัท ควิกเซิร์ฟ โปรไวเดอร์ จำกัด. เทคโนโลยี MR, VR, และ AR จะ​ช่วยให้มนุษย์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560. จาก https://quickserv.co.th/knowledge-base/it/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันศุกร์, 29 ธันวาคม 2560

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เทคโนโลยี

กลุ่มเป้าหมาย

ครู นักเรียน บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย

Hits

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย
(21867)

ทุกต้นปีจะมีการพูดถึงเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญใน ค.ศ.นั้น ๆ Blockchain (บล็อกเชน) ถูกจัดไปอยู่ในรายชื่อส ...

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย

Hits

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย
(13227)

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งนั้นช่วยทำให้ใช้ชีวิตความ ...

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย

Hits

Image processing ตรวจสอบอ ณหภ ม ร างกายมน ษย
(9118)

โลกของเราเดินไปข้างหน้าพร้อมกับเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการพัฒนา เทคโนโลยีมีทั้งที่เกิดขึ้น ...