Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

มหากาพย์ภาพยนตร์แห่งยุคกลาง (Medieval Period) ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ป่าเถื่อน เหี้ยมโหดร้าย นำเสนอการเผชิญหน้าระหว่างชาวคริสเตียน (Christianity) vs. ลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism), การปกครองส่วนกลาง (Central Authority) vs. ระบบเครือญาติวงศ์ตระกูล (Clan), รวมถึงเรื่องราวความรัก (Love) vs. รังเกียจชัง (Hate), หญิงสาว Marketa Lazarová ช่างบริสุทธิ์ไร้เดียงสายิ่งนัก!

Marketa Lazarová (1967) ได้รับการโหวตจากหลายๆสำนักในประเทศ Czech Republic ยกย่องให้เป็น “Best Czech Film of All-Time” และเคยติดอันดับ 154 ชาร์ท Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 (อันดับสูงกว่า Daisies (1966)) น่าเสียดายหลุดโผลไปในปี ค.ศ. 2022

เมื่อตอนผมเขียนถึง Witchhammer (1969) ในช่วง Halloween ปีก่อน ได้พบเห็นภาพยนตร์ฟากฝั่ง Eastern Bloc หลายๆเรื่องที่มีความน่าสนใจ ตระหนักว่าประเทศแถบนี้ (Poland, Hungary, Czechoslovak ฯ) เลื่องชื่อในภาพยนตร์แนว Horror เพราะประสบการณ์ถูกเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยังคงหลอกหลอน ติดตาฝังใจ แถมการมาถึงของสหภาพโซเวียต รัฐบาล(หุ่นเชิด)คอมมิวนิสต์ก็แทบไม่ได้มีอะไรปรับเปลี่ยนแปลงไป เลวร้ายลงกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ

แม้ว่า Marketa Lazarová (1967) จะเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ (Historical) แต่บรรยากาศของหนังบอกเลยว่าโคตรหลอกหลอน (ยิ่งกว่าแนว Horror บางเรื่องเสียอีก) นั่นเพราะยุโรปยุคกลาง (Middle Age หรือ Medieval Period) ยังเป็นดินแดนบ้านป่าเมืองเถื่อน เต็มไปด้วยความรุนแรง เข่นฆ่าแกง ไร้ซึ่งมนุษยธรรม (ศาสนายังเผยแพร่ไปไม่ถึง) และโดยเฉพาะวิธีการนำเสนอของผกก. František Vláčil จักทำให้ผู้ชมอกสั่นขวัญแขวน รู้สึกหวาดระแวง อะไรๆล้วนบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

งานสร้างของหนังถือว่าบ้าระห่ำมากๆ ใช้เวลาโปรดักชั่นนาน 7 ปี! เฉพาะระยะเวลาถ่ายทำนานถึง 548 วัน ระหว่าง ค.ศ. 1964-66 ขอให้ทีมงาน/นักแสดง ปักหลักอาศัยอยู่ในป่า ยังสถานที่ที่ใช้ถ่ายทำ มีความทุรกันดารห่างไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก แถมในช่วงฤดูหนาวเหน็บ (เพราะหิมะตกหนัก การเดินทางขนส่งจึงเต็มไปด้วยความยุ่งยากลำบาก) เพื่อให้เกิดความมักคุ้นชินกับวิถีชีวิตผู้คนยุคกลาง เสริมสร้างบรรยากาศ และเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น


ก่อนอื่นของกล่าวถึง Vladislav Vančura (1891-1942) นักเขียนสัญชาติ Czech เกิดที่ Háj ve Slezsku, Austrian Silesia (ปัจจุบันคือ Czech Republic) สืบวงศ์ตระกูลมาจาก Vančura ผู้ครองเมือง Řehnice, บิดาเป็นผู้จัดการโรงงานผลิตน้ำตาล ฐานะค่อนข้างดี จึงมีโอกาสส่งบุตรไปร่ำเรียนหนังสือ แต่เขากลับไม่ชอบความเข้มงวดกวดขันของโรงเรียน เลยถูกขับไล่ออกหลายครั้ง ครอบครัวเลยส่งไปเป็นเด็กฝึกงานร้านขายหนังสือที่ Čermák แล้วค้นพบความสนใจด้านการวาดภาพ ถ่ายรูป โตขึ้นจำใจร่ำเรียนกฎหมาย Charles University ก่อนเปลี่ยนไปคณะแพทยศาสตร์ ระหว่างนั้นเข้าร่วมกลุ่มศิลปิน Tvrdošíjní (แปลว่า Stubborns) เลยมีโอกาสเขียนบทความ เรื่องสั้น วิจารณ์งานศิลปะ ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก Amazonský proud (1923) แปลว่า Amazonian Current

ทศวรรษ 20s-30s เป็นช่วงเวลาที่ปัญญาชนในกรุง Prague ตั้งประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ศิลปินควรสรรค์สร้างผลงานที่ไม่เชื่อมโยงการเมืองได้หรือไม่? หลายๆผลงานเขียนของ Vančura มองผิวเผินอาจดูไม่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นการเมือง แต่ถ้ามองลึกลงไปย่อมสามารถพบเห็น ซุกซ่อนเร้น ทัศนคติทางการเมืองอย่างชัดเจน!

สำหรับ Markéta Lazarová (1931) ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง (คาดว่าคงได้ยินเรื่องเล่าบรรพบุรุษ หรือไม่ก็ค้นพบจากสมุดบันทึกเก่าๆของวงศ์ตระกูล) ในยุคสมัย Medieval Period เคยเกิดสงครามขนาดย่อมๆ (มีคำเรียกว่า Private War) การเผชิญหน้าระหว่างเครือญาติวงศ์ตระกูล Vančura vs. ขุนนางผู้ปกครองเมือง Mladá Boleslav

สไตล์การเขียนของ Vančura มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชื่นชอบการใช้สุภาษิตในการเปรียบเปรยสิ่งต่างๆ ทั้งยังเต็มไปด้วยคำบรรยายรายละเอียด มีความงดงาม สร้างสุนทรียะในการอ่านอย่างมากๆ แต่นั่นทำให้การแปลภาษาอื่นยุ่งยากลำบากเกินไป (เลยมักไม่มีการแปลเป็นภาษาอื่น) เมื่อวางแผงจัดจำหน่าย กลายเป็นนวนิยายขายดี (Best-Selling) และยังคว้ารางวัล Czechoslovak State Award for Literature เมื่อปี ค.ศ. 1931

In a certain sense the novel is a milestone in Vančura’s evolution. Just as scattered rays converge in a single golden strand in the lens of a magnifying glass, in Marketa Lazarová Vančura’s creative endeavors converge in a single, undivided stream. นักเขียน/นักวิจารณ์วรรณกรรม Milan Kundera

ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Vančura แสดงจุดยืน anti-Hitler เขียนหนังสือ Obrazy z dějin národa českého (1939) แปลว่า Pictures of the History of the Bohemian Nation ขายดีถล่มทลาย กลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มต่อต้าน! ช่วงระหว่าง German ยึดครอง Czechoslovakia จำต้องหลบซ่อนตัว เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (Communist Party of Czechoslovakia) ก่อนถูกกวาดล้าง จับกุม ประหารยิงเป้าเมื่อปี ค.ศ. 1942 สิริอายุ 50 ปี


František Vláčil (1924-1999) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Czech เกิดที่ Český Těšín, Czechoslovakia (ปัจจุบันคือ Czech Republic) โตขึ้นเข้าเรียน Academy of Arts, Architecture and Design in Prague ก่อนเปลี่ยนคณะศิลปศาสตร์ Masaryk University จบออกมาทำงานเป็นผู้ช่วยนักเขียน Brno Cartoon, แล้วย้ายมาถ่ายทำสารคดี Studio of Popular Scientific and Educational Films, ช่วงระหว่างอาสาสมัครทหาร ฝึกงานสตูดิโอ Czechoslovak Army Film Studio สนิทสนมตากล้องขาประจำ Jan Čuřík, ถ่ายทำหนังสั้น Clouds of Glass (1958)**คว้ารางวัล Special Diploma in category of Experimental and Avantgarde Films จากเทศกาลหนัง Venice International Documentary and Short Film Festival

หลังเสร็จสิ้นภารกิจรับใช้ชาติ เข้าร่วมสตูดิโอ Barrandov Studios เริ่มสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว The White Dove (1960)**คว้ารางวัล Medal of the Biennial – Out of Competition จากเทศกาลหนังเมือง Venice, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Devil’s Trap (1960), Marketa Lazarova (1967), Valley of the Bees (1968), Shadows of a Hot Summer (1978) ฯ

Vláčil ร่วมงานกับ František Pavlíček ใช้เวลาดัดแปลงหนังสือ Marketa Lazarová (1931) ยาวนานถึงสามปี! นั่นเพราะความสำบัดสำนวนในการใช้ภาษา แม้เต็มไปด้วยสุนทรียะในการอ่าน แต่ต้องพยายามจับใจความ เนื้อเรื่องราวที่ไม่ค่อยจะมีสักเท่าไหร่ … แม้สื่อภาพยนตร์จะไม่สามารถถ่ายทอดคำบรรยายรายละเอียดเหล่านั้นออกมา แต่ผกก. Vláčil ก็พยายามเน้นสร้างบรรยากาศด้วยเทคนิค ภาษาภาพยนตร์ ให้ออกมามีความใกล้เคียงกันมากที่สุด

เกร็ด: มีซีเควนซ์ที่ Vláčil วางแผนไว้แต่ไม่มีโอกาสถ่ายทำ (เพราะงบประมาณบานปลายเกินไป) ตั้งชื่อว่า “Royal Pictures” ประกอบด้วย

  • Saxon Count เดินทางมายังพระราชวัง (Royal Court) เพื่ออ้อนวอนร้องของ Wenceslaus I of Bohemia (1205-53, ครองราชย์ 1230-53) ให้ส่งกำลังทหารมาช่วยเหลือบุตรชาย Kristián ที่ถูกลักพาตัว
  • พระโอรสของ King Wenceslaus I ต้องการจะโค่นล้มบังลังก์ ยึดอำนาจจากพระบิดา แต่ทำไม่สำเร็จ เลยถูกจับคุมขัง
  • ช่วงท้ายของหนัง Saxon Count นำพา Alexandra มายังพระราชวังเพื่อให้ King Wenceslaus I ตัดสินโทษทัณฑ์ (เพราะเธอเป็นผู้เข่นฆ่า Kristián) แต่เนื่องจากเธอกำลังตั้งครรภ์เลยได้รับการอภัยโทษ
  • ขณะเดียวกัน King Wenceslaus I ก็มิอาจตัดสินโทษแก่พระโอรสที่พยายามโค่นล้นบังลังก์ เลยยินยอมอภัยโทษให้เช่นเดียวกัน

เรื่องราวเริ่มต้นที่ Mikoláš และ Adam (ที่มีแขนข้างเดียว) ทั้งสองต่างเป็นบุตรของมหาโจร Kozlík กำลังดักปล้นกลุ่มนักเดินทาง จับกุมตัวประกัน Kristián บุตรของ Saxon Count เอาไว้ต่อรองกับ King Wenceslaus I, แต่ขณะเดียวกันนั้น Lazar ผู้นำตระกูลคู่อริของ Kozlík ทำตัวเหมือนอีแร้งกา แอบเข้ามาแก่งแย่งทรัพย์สินที่ Mikoláš และ Adam ดักปล้นกันมา ทีแรกตั้งใจจะฆ่าปิดปาก แต่พออีกฝ่ายอธิษฐานถึงพระเป็นเจ้า และกล่าวถึงบุตรสาวสวย Marketa Lazarová เลยตัดสินใจไว้ชีวิต

หลังรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าว Kozlík แสดงความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง! King Wenceslaus I ส่งสาสน์เรียกตัวไปยัง Boleslav (เพื่อตลบหลังจับคุมขัง) โชคยังดีสามารถหลบหนีเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด เลยมอบหมายให้บุตรชาย Mikoláš เดินทางไปยังปราสาทของ Lazar เพื่อขอความร่วมมือเผชิญหน้ากองทัพศัตรู แต่กลับได้รับคำตอบปฏิเสธ พร้อมรุมกระทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส

Kozlík ส่งลูกน้อง 7 คนไปชำระล้างแค้น ตั้งใจจะฆ่าปิดปาก Lazar บังเอิญว่ากองทัพของ King Wenceslaus I เดินทางมาถึงพอดิบดี เลยจำต้องหลบซ่อนตัวในป่า เฝ้ารอคอยเมื่อกองหนุนกรีธาทัพจากไป Mikoláš จึงบุกเข้าไปลักพาตัว Marketa กลับมาข่มขืนยังฐานที่มั่นกลางป่า สร้างความไม่พึงพอใจแก่บิดา เลยจับทุกคนล่ามโซ่ตรวนติดกัน ไม่ให้หลบหนีไปไหน

ต่อมากองทัพของ King Wenceslaus I สามารถล้อมจับกุม Adam แล้วบังคับให้อีกฝ่ายนำทางมายังฐานที่มั่นกลางป่า ทำให้เกิดการต่อสู้ รบราฆ่าฟัน สงครามขนาดย่อมๆ ก่อนที่ Kozlík จะถูกจับกุมตัว ขณะที่ Mikoláš สามารถหลบหนีร่วมกับ Marketa จากนั้นปลดปล่อยเธอให้เป็นอิสระ (แต่หญิงสาวก็ตกหลุมรักเขาไปแล้ว) เพื่อว่าตนเองจะได้รวบรวมสมัครพรรคพวก บุกเข้าไปช่วยเหลือบิดาในเรือนจำที่ Boleslav

ส่วนเรื่องราวของ Kristián ระหว่างที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ตกหลุมรัก มีเพศสัมพันธ์กับ Alexandra บุตรสาวของ Kozlík ก่อนหน้านี้เคยถูกจับได้ว่าแอบสานสัมพันธ์ ‘incest’ กับ Adam (เลยถูกลงโทษตัดแขนข้างหนึ่ง) ซึ่งระหว่างการสงคราม Kristián พบเห็น Alexandra ถูกไล่ล่าจากทหารของบิดา จึงพยายามออกปกป้องกัน วิ่งติดตาม เกิดความรู้สึกขัดแย้งภายใน (เลือกไม่ได้ระหว่างบิดา vs. หญิงสาวคนรัก) หลังจากหลบหนีได้สำเร็จ Alexandra ตัดสินใจระบายความเคียดแค้น ด้วยการใช้ก้อนหินทุบศีรษะเขาจนเสียชีวิต ทั้งๆตนเองกำลังตั้งครรภ์บุตรของ Kristián อยู่แท้ๆ


Josef Kemr (1922-95) นักแสดงสัญชาติ Czech เกิดที่ Prague, Czechoslovakia (ปัจจุบันคือ Czech Republic) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบเล่นดนตรี เคยขึ้นทำการแสดงกับพี่ชายยัง Teatru na Vinohradach, ได้รับการค้นพบโดย Přemysl Pražský ชักชวนมาให้เสียงละครวิทยุ เริ่มมีผลงานละครเวทีตั้งแต่อายุ 18 จากนั้นสลับไปมาระหว่างภาพยนตร์ ซีรีย์โทรทัศน์ ผลงานเด่นๆ อาทิ Marketa Lazarová (1967), Witchhammer (1970), The Fortress (1994) ฯ

รับบทมหาโจร Kozlík ผู้มีความเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย เต็มไปด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด ใครทำอะไรไม่พึงพอใจก็ขึ้นเสียงด่าทอ ใช้ความรุนแรงโต้ตอบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ไร้ซึ่งมนุษยธรรม พบเห็นบุตรชายถูกกระทำร้ายร่างกายก็สั่งชำระล้างแค้นตระกูล Lazar รวมถึงเตรียมความพร้อมทำสงครามกับ King Wenceslaus I ไม่หวาดกลัวเกรงความตาย แต่สุดท้ายกลับยินยอมรับความพ่ายแพ้หลังสูญเสียทุกสิ่งอย่าง

บทบาทของ Kemr อาจดูเหมือนตาแก่เสียสติ หัวหน้าครอบครัวผู้บ้าอำนาจ แสดงอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่งออกมาบ่อยครั้ง แต่นั่นเพราะอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง มีความแร้นแค้น ทุกข์ยากลำบาก ทำให้เขาต้องแสดงความเข้มแข็งแกร่ง ไม่สามารถปกครองลูกๆหลานๆด้วยความสุภาพอ่อนน้อม เพื่อความอยู่รอดของวงศ์ตระกูล จึงต้องพร้อมเสียสละ ทำทุกสิ่งอย่าง ไม่สนมนุษยธรรมใดๆ

ต้องชมในพลังการแสดงของ Kemr ไม่ใช่แค่สามารถระเบิดอารมณ์อันทรงพลัง แต่ภาพลักษณ์ที่น่าเกรงขาม มากประสบการณ์ พานผ่านโลกมามาก แม้ร่างกายเริ่มแก่ชราภาพ หลายครั้งดูเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ก็ยังพร้อมต่อสู้เผชิญหน้า ไม่หวาดกลัวเกรงอะไรทั้งนั้น


František Velecký หรือ Fero Velecký (1934-2003) นักแสดงสัญชาติ Slovak เกิดที่ Zvolen, Czechoslovakia (ปัจจุบันคือ Slovakia) โตขึ้นร่ำเรียนวิศวกรโยธา ทำงานออกแบบอยู่หลายปี แต่ด้วยความชื่นชอบสื่อภาพยนตร์ จึงพยายามยื่นใบสมัครออดิชั่น จนได้รับโอกาสบทสมทบ Každý týždeň sedem dní (1964), Nylonový mesiac (1965), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Marketa Lazarová (1966), ผลงานเด่นๆ อาทิ Red Psalm (1972), Electra, My Love (1974), Želary (2003), The Brothers Grimm (2005) ฯ

รับบท Mikoláš บุตรชายคนที่สองของ Kozlík แต่มีบุคลิกภาพแตกต่างตรงกันข้ามจากบิดา เป็นคนอ่อนไหว จิตใจโลเล ไม่ชอบใช้ความรุนแรง เลี่ยงได้ก็ไม่อยากเข่นฆ่าแกงใคร แต่การไว้ชีวิต Lazar จับกุมตัวประกัน Kozlík นำพาให้เกิดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ บานปลายจนกลายเป็นสงคราม จึงจำต้องละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ช่วยเหลือบิดาออกจากเรือนจำที่ Boleslav

ในตระกูลของ Kozlík มีเพียง Mikoláš มีความเป็นมนุษย์มากที่สุด รู้จักการยกโทษให้อภัย สติยับยั้งชั่งใจ ไม่เข่นฆ่าใครโดยไร้สาเหตุ ขณะที่การข่มขืน Marketa สังเกตไม่ยากว่าเต็มไปด้วยความขัดแย้ง โล้เล้ลังเลใจ ไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่ แต่ทำไปเพื่อไม่ให้บิดาเข่นฆ่าล้างวงศ์ตระกูล Lazar (ใช้เธอเป็นตัวประกันเพื่อไม่ให้ Lazar โต้ตอบขัดขืน)

ผมรู้สึกว่าใบหน้าของ František Velecký ดูไม่ต่างจากจอมโจร แต่แววตามีความอ่อนโยน ซึ่งสามารถสร้างมิติให้กับตัวละคร ดูซับซ้อน ขัดย้อนแย้งในตนเอง ต้องการเป็นคนดี มีคุณธรรม แต่สภาพแวดล้อม/บุคคลรอบข้าง ล้วนไม่เอื้ออำนวยให้เขาแสดงออก สุดท้ายแล้วเลยต้องตัดสินใจเสียสละตนเอง เพื่อยุติข้อขัดแย้ง ปลดปล่อยทุกคนให้เป็นอิสระ … แต่มันก็เป็นโศกนาฎกรรมของหนัง เพราะคน(เหมือนจะ)ดีกลับไม่มีที่ยืนในสังคม


Magdaléna Vášáryová หรือ Magda Vášáryová (เกิดปี 1948) นักแสดง/นักการทูต สัญชาติ Slovak เกิดที่ Banská Štiavnica, Czechoslovakia (ปัจจุบันคือ Slovakia), สำเร็จการศึกษาจาก Comenius University in Bratislava แล้วได้ทำงานละครเวที Slovak National Theatre ซีรีย์โทรทัศน์ แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Marketa Lazarová (1967), Birds, Orphans and Fools (1969), Rusalka (1977), Cutting It Short (1981), Eugene Onegin (1988) ฯ

รับบท Marketa Lazarová บุตรสาวคนเล็กของ Lazar มีความสวยสาว ละอ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาต่อโลก รับไม่ได้กับความรุนแรง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของบิดา ตั้งใจว่าจะบวชเป็นแม่ชี ละทิ้งทางโลก แต่หลังจากถูก Mikoláš ลักพาตัว ข่มขืนกระทำชำเรา ทุกสิ่งอย่างก็พลิกกลับตารปัตร ยินยอมพร้อมทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้ได้แต่งงานครองคู่อยู่กับเขา

แม้ตัวละครจะเป็นถึงชื่อหนัง แต่บทบาทของเธอก็มีไม่ได้โดดเด่นมากนัก มองผิวเผินดูราวกับ ‘object of desire’ หญิงสาวถูกหมายปองโดยบุรุษทั้งหลาย จากเคยมีร่างกาย-จิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ เอ่อล้นด้วยศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า แต่กลับโดนฉุดคร่า ข่มขืนกระทำชำเรา แสดงให้เห็นถึงความเหี้ยมโหดร้ายของสังคม ผู้คน บ้านป่าเมืองเถื่อน ไร้ศาสนา/อารยธรรม ย่อมทำลายสิ่งสวยๆงามๆ ดอกฟ้ากลายมาเป็นขยะไร้มูลค่า

Vášáryová เพิ่งอายุ 14-15 ตอนเริ่มต้นถ่ายทำ หน้าตายังเหมือนเด็กน้อย สายตาอยากรู้อยากเห็น เต็มไปด้วยความสวยใส ไร้เดียงสา เมื่อการถ่ายทำดำเนินผ่านมา 2-3 ปี ทั้งร่างกาย-จิตใจก็ค่อยๆเติบโตขึ้นตามลำดับ มันอาจไม่ได้เด่นชัดเจนมากนัก แต่ผมรับรู้สึกว่าช่วงท้ายของหนัง เธอเติบโตขึ้นเป็นสาวน้อยเต็มวัย สายตามุ่งมั่น เอ่อล้นด้วย ‘passion’ เหมือนคนกำลังตกหลุมรัก ไม่ต้องการสูญเสียเขาไป

เกร็ด: ด้วยความที่ Magdaléna Vášáryová ยังเป็นสาวแรกรุ่น เธอจึงไม่ได้พักอาศัยอยู่ร่วมกับทีมงาน/นักแสดง แยกออกมาอยู่กับติวเตอร์ส่วนตัว ซึ่งคอยสอนหนังสือเวลาว่างไม่ให้เสียการเรียน (เพราะการถ่ายทำยาวนานถึง 3 ปี!)


ถ่ายภาพโดย Bedřich Baťka (1922-94) ตากล้องสัญชาติ Czech เกิดที่ Prague, Czechoslovakia (now Czech Republic) หลังโด่งดังกับ Marketa Lazarová (1966) ได้กลายเป็นครูสอนการถ่ายภาพยัง Tisch School of the Arts

หนังปักหลักถ่ายทำอยู่ภูมิภาค Jihočeský kraj หรือ South Bohemia (ปัจจุบันคือทางตอนใต้ของ Czech Republic) ยุคสมัยนั้นยังมีความทุรกันดารห่างไกล ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง แถมพื้นหลังเรื่องราวเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาว ซึ่งเมื่อหิมะตก ไม่ใช่แค่อากาศเย็นยะเยือก แต่การจะเดินทางเข้า-ออก ขนส่งสิ่งข้าวของ มีความยุ่งยาก เสี่ยงอันตราย … นั่นคือเหตุผลที่โปรดักชั่นหนังยาวนานถึงสามปี! เพราะถ่ายทำได้แค่ช่วงฤดูหนาว หิมะขาวโพลน (ถ่ายทำจริงๆคือ 18 เดือน จากระยะเวลา 3 ปี หยุดพักช่วงหน้าร้อนและฤดูฝน) และทีมงานก็ต้องปักหลักอาศัยอยู่ยังสถานที่ถ่ายทำนั้นๆ ไม่สามารถเดินทางเข้า-ออกไปไหน

งานภาพหนังถือว่ามีความน่าอัศจรรย์ใจอย่างมากๆ โดดเด่นกับการสร้างบรรยากาศหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก (แม้ถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ บางครั้งก็ยังสั่นสยิวกาย) สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยภยันตราย รู้สึกไม่ปลอดภัย ดินแดนบ้านป่าเมืองเถื่อน ซึ่งสามารถสะท้อนจิตใจต่ำทรามผู้คน ยุโรปยุคกลาง (Medieval Period) หลายๆสถานที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ไร้ซึ่งอารยธรรม มนุษยธรรม ลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism)

การเคลื่อนเลื่อนกล้องไปเรื่อยๆ (บางครั้งนำเสนอผ่านมุมมองบุคคลที่หนึ่งของ Marketa) เหมือนพยายามจับจ้องมองหา บางสิ่งอย่างหลบซุกซ่อนเร้น ลางบอกเหตุร้ายคืบคลานเข้ามา นี่เป็นเทคนิคที่ช่วยสร้างสัมผัสร้อนรน กระวนกระวาย รู้สึกไม่ปลอดภัย จิตใจไม่สงบนิ่ง … บางครั้งอาจไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่มักเป็นเหตุการณ์คาดไม่ถึง สร้างความตื่นตกอกตกใจ สั่นสะท้านทรวงในโดยทันที!

เกร็ด: ผมไม่เคยอ่านนวนิยาย แต่เหมือนว่าผู้แต่ง Vladislav Vančura ไม่ได้สนใจนำเสนอรายละเอียดต่างๆให้ตรงต่อประวัติศาสตร์มากนัก ผิดกับผู้กำกับ František Vláčil พยายามค้นคว้าหาข้อมูล เสื้อผ้าหน้าผม ให้ใกล้เคียงศตวรรษที่ 13 มากที่สุด!


เหยี่ยว หมาป่า ต่างคือผู้ล่าหลบซ่อนอยู่ในพงไพร จับจ้องมอง รอคอยจังหวะพุ่งทะยานตะครุบเหยื่อ เฉกเช่นเดียวกับ Adam (ชายแขนข้างเดียว)และ Mikoláš คนหนึ่งล่อหลอก อีกคนหลบซ่อน ตลอดทั้งซีนนี้นำเสนอ ‘มุมมองบุคคลที่หนึ่ง’ ของ Mikoláš ขณะกำลังซุ่มอยู่ในพุ่มไม้ พบเห็นคณะคาราวาน ตระเตรียมการบุกโจมตี เข้าปล้นสะดม ช่างมีความเหี้ยมโหดร้ายยิ่งนัก

การที่หนังเลือกถ่ายผ่านพุ่มไม้ อาจทำให้หลายคนหงุดหงิดรำคาญใจ ทำไมไม่เลือกมุมกล้องให้เห็นการกระทำชัดๆ แต่นั่นคือลีลานำเสนอของผกก. Vláčil ไม่ได้ต้องการเปิดเผยความรุนแรงอย่างประเจิดประเจ้อ การไม่ค่อยพบเห็นอะไรต่างหาก จะช่วยสร้างจินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล … นำเสนอภาพเหตุการณ์วับๆแวมๆ สามารถสร้างบรรยากาศตึงเครียด ดูรุนแรงยิ่งกว่าฟันกันเลือดสาดเสียอีกนะ!

ระหว่างที่ Mikoláš จัดการกับคณะคาราวาน ดันมีฝูงแรงกา หมาป่าไฮยีน่า แอบลักขโมยสิ่งของโจร สามารถจับกุม Lazar ทีแรกตั้งใจจะเข่นฆ่าชำระแค้น แต่ระหว่างที่อีกฝ่ายกำลังอธิษฐานขอพรพระเป็นเจ้า จู่ๆแสงอาทิตย์พลันส่องสว่างจร้า บังเกิดภาพนิมิตจินตนาการอารามชี และหญิงสาว Marketa กำลังวิ่งตรงเข้าหาพร้อมมอบนกสีขาว (สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์) … Mikoláš เลยตัดสินใจไว้ชีวิต Lazar

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

นี่น่าจะคือพิธีกรรมของลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism) จากปรัมปรา Slavic Folklore เริ่มต้นจาก Alexandra เดินเปลือยกายเข้าหาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Grove) ที่เต็มไปด้วยเครื่องลางของขลัง เชือดไก่ ฆ่างู ร่วมเพศสัมพันธ์ เพื่ออุทิศให้เทพเทวดา ผีสางนางไม้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

เริ่มต้นจาก Kozlík วิ่งหนีหมาป่าหัวซุกหัวซุน กลับมาถึงป้อมปราการได้ทันหวุดหวิด! หลังจากนั่งพักดื่มน้ำดื่มท่า จึงเริ่มครุ่นคิดถึงเหตุการณ์บังเกิดขึ้น แทรกภาพย้อนอดีตที่มีแสงสว่างเจิดจรัสจร้า หิมะขาวโพลน เข้าผ่านประตูเมือง Boleslav พบเจอกับ Captain Pivo รับฟังพระราชโองการจาก King Wenceslaus I ที่ต้องการจับกุมคุมขังอีกฝ่าย เลยตัดสินใจต่อสู้ หลบหนีออกมาได้ทันท่วงที … เปรียบเปรยหมาป่าที่วิ่งไล่ Kozlík = กองทัพทหารของ King Wenceslaus I

Mikoláš เดินทางมาขอความร่วมมือจาก Lazar ให้ช่วยต่อสู้กับทหารของ King Wenceslaus I แต่แค่ถูกปฏิเสธยังไม่ว่า กลับลงไม้ลงมือ กระทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส … ทั้งซีเควนซ์นี้นำเสนอผ่านสายตา/มุมมองบุคคลที่หนึ่งของ Marketa แม้ไม่ค่อยพบเห็นอะไรเท่าไหร่ แต่ได้ยินเสียง รับรู้ความวุ่นวาย ซึ่งสามารถทำให้จินตนาการของเธอ(และผู้ชม) เตลิดเปิดเปิงไปไกล ยินยอมรับไม่ได้ต่อสิ่งที่บิดาแสดงออกมา

การเลือกนำเสนอผ่านมุมมองของ Marketa ผมมองว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ชม เหมือนกับตัวละครที่ยังไม่ประสีประสาอะไรกับหนัง แต่เริ่มสัมผัสถึงอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย อันตรายอยู่ใกล้ตัว … ยุโรปยุคกลางคือดินแดนบ้านป่าเมืองเถื่อน!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผมเชื่อว่านี่น่าจะเป็นซีเควนซ์ที่หลายคนเข้าใจผิดๆ (ถ้าไม่ได้รับชมรอบสองเป็นต้นไป) เพราะเริ่มต้นพบเห็น Captain Pivo กำลังกรีธาทัพผ่านเส้นทางหิมะหนาวเหน็บ ย่อมครุ่นคิดว่ากำลังเดินทางมายังปราสาทของ Lazar แต่แท้จริงนี่คือระหว่างทางขากลับ ใครช่างสังเกตจะพบเห็นเกวียนลากศพ ชุดเกราะเปล่าๆบนหลังม้า นั่นคือของรองผู้บัญชาการ Sovička

โดยหนังได้ทำการตัดสลับภาพระหว่างการกรีธาทัพกลับ คู่ขนานเรื่องราวของรองผู้บัญชาการ Sovička เริ่มต้นเข้ามาในห้องครัว พยายามพูดเกี้ยวพาราสี Marketa ด้วยน้ำเสียงเย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดอ้างตนเอง จากนั้นบุกเดี่ยวเข้าไปเผชิญหน้าศัตรูทั้งเจ็ดของ Kozlík น่าจะต้องการพิสูจน์ความสามารถให้กับหญิงสาว ผลลัพท์ความตายอย่างโง่เขลาเบาปัญญาอ่อน

The king demands law and order, not heroism. Captain Pivo

ซีเควนซ์ที่สร้างความคาดไม่ถึงอย่างรุนแรงที่สุด เริ่มต้นด้วยบิดา Lazar พาบุตรสาว Marketa มาเยี่ยมเยียนอารามชี ให้คำมั่นสัญญาหลังสิ้นสุดฤดูหนาวจะอนุญาตให้เธอบวชเป็นแม่ชี ระหว่างทางกลับคือช่วงเวลาแห่งความสุขเล็กๆ ก่อนเมื่อมาถึงปราสาท พบเห็นว่าถูกยึดครองโดย Mikoláš เตรียมตัวมาชำระแค้น เรียกร้องขอสิ่งชดใช้แลกเปลี่ยน

เริ่มต้นซีเควนซ์จากสรวงสวรรค์ (อารามชี) ก่อนจบลงด้วยการเดินทางมุ่งสู่ขุมนรก (ไม่แน่ใจว่าทำการเพิ่มความเข้มสีผืนป่า/ท้องฟ้าด้านหลังหรือเปล่านะ แต่เพื่อให้ตัดกับกับพื้นหิมะขาวโพลน ขาว-ดำ) เช่นเดียวกับ Marketa ถูกลักพาขึ้นรถลาก จากแสงสว่างค่อยๆปกคลุมด้วยความมืดมิด

ปากอ้างว่านับถือพระเจ้า วิงวอนเรียกร้องขอมนุษยธรรม แต่พฤติกรรมของ Lazar มีความกลับกลอก ปอกลอก เต็มไปด้วยถ้อยคำโกหกหลอกลวง พฤติกรรมไม่ต่างจากอีแร้งกา ไฮยีน่า นั่นทำให้เขาสูญเสียบุตรสาว ถูกตอกมือสองข้างกับประตูบ้าน ลักษณะคล้ายๆการตรึงกางเขนพระเยซู ถือเป็นการลงโทษทัณฑ์ ชดใช้ความผิดเคยกระทำ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังจากเดินทางมาถึงฐานที่มั่นกลางป่า ผู้ชมจะได้ยินใครคนหนึ่งกำลังเล่าเรื่องเจ้าชายหมาป่า Straba ซึ่งมีความคู่ขนาน/ละม้ายคล้ายกับ Mikoláš ซึ่งหลังจากนั่งสงบสติอารมณ์ ขบครุ่นคิดอยู่สักพัก จึงตัดสินใจเข้าไปข่มขืน Marketa เลือกมาเป็นภรรยาของตนเอง

  • Alexandra จงใจปลดปล่อยพันธนาการ Kristián เพื่อให้อีกฝ่ายถาโถม โอบกอด ร่วมเพศสัมพันธ์ (ในท่ายืน)
  • Mikoláš ตรงเข้าหา Marketa ทิ้งตัวลงนอน ข่มขืนกระทำชำเราอีกฝ่าย (ในท่านอน)

ภาพแรกขณะที่ Marketa ถูกลักพาตัวมาถึงฐานที่มั่น ด้านหลังท้องฟ้ามืดครึ้ม ต้นไม้มีเพียงกิ่งก้านไร้ใบ เต็มไปด้วยแร้งกา สถานที่แห่งนี้ช่างดูอันตราย ชั่วร้าย ไม่ปลอดภัยเลยสักนิด!

ภาพหลังคือสภาพของ Marketa ภายหลังถูกข่มขืนโดย Mikoláš ทรุดนั่งลงคุกเข่ากับพื้น ท่าทางเหมือนวิงวอนร้องขอพระเป็นเจ้าให้มาช่วยเหลือ กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลัง หิมะพลันตกลงมา อากาศหนาวเหน็บ จากนั้นค่อยๆ Fade-To-White หลงเหลือเพียงความเวิ้งว่างเปล่า

บาทหลวง Bernard (และเจ้าแกะน้อย) ปรากฎตัวครั้งแรกระหว่าง Lazar กำลังพา Marketa เดินทางกลับบ้าน ซึ่งพอเข้าสู่ครึ่งหลังของหนัง (Part II: The Lamp of God) ก็จะดำเนินเรื่องต่อจากจุดนั้น ก้าวออกเดินทาง โชคชะตานำพามาถึงปราสาทของ Lazar ภายหลังการโดนปล้น บุตรสาวถูกลักพาตัว (Lazar ได้รับการช่วยเหลือลงมาจากประตู แต่ก็นั่งทอดอาลัยอย่างหดหู่สิ้นหวัง)

แกะ (Sheep) ในศาสนาคริสต์ แม้คือสัตว์อ่อนแอ แต่ถือว่ามีความบริสุทธิ์ อ่อนโยน ไร้เดียงสา ถือเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของ Jesus Christ ที่มักถูกเข่นฆ่า หรือคือการเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น/มนุษยชาติ … ตรงกันข้ามกับปัจฉิมบทที่บาทหลวงเปลี่ยนมาต้อนแพะ (Goat) สัญลักษณ์สิ่งชั่วร้าย ตัวแทนของซาตาน (Church of Satan)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ต้องเรียกว่า ‘กรรมใดใครก่อ’ ย้อนรอยอารัมบทของครึ่งแรกที่ Mikoláš และ Adam ซุ่มดักปล้นคณะคาราวาน มาคราวนี้กรรมนั้นคืนสนอง เมื่อ Adam ถูกห้อมล้อมจับโดยกองทัพของ Captain Pivo คาดว่าคงหลังกลับจากส่งคืนร่างรองผู้บัญชาการ Sovička เตรียมความพร้อมจะเผชิญหน้า ชำระแค้นกับ Kozlík

ลูกเล่นของซีเควนซ์นี้ก็ล้อกับอารัมบทเช่นกัน เริ่มต้นด้วยการดักซุ่มในพุ่มไม้ เต็มไปด้วยกิ่งก้านใบเต็มเฟรม มองไม่เห็นรายละเอียดสักเท่าไหร่ แต่ระหว่างกำลังหลบหนี วิ่งออกมายังท้องทุ่ง ไร้สถานที่กำบัง เลยถูกห้อมล้อมจับกุม … ผมไม่แน่ใจว่าหนังถ่ายทำยังสถานที่เดียวกันไหม แต่ทิศทางมุมมองดูกลับตารปัตรตรงข้าม เฉกเช่นเดียวกับสภาพอากาศ จากเคยเต็มไปด้วยหิมะปกคลุม มาตอนนี้เหมือนอากาศอบอุ่น หิมะลาย พื้นดินปกคลุมด้วยต้นหญ้า

หนู (Rats) ในศาสนาคริสต์คือสัญลักษณ์ความชั่วร้าย สกปรก น่ารังเกียจชัง แต่สำหรับลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism) แทนการปรับตัว ครอบครัว ภาวะเจริญพันธุ์ (หรือก็คือตั้งครรภ์) อาจจะสื่อถึงเด็กในท้องของ Alexandra และ Marketa กระมังนะ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผมแอบแปลกใจเล็กๆที่ลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism) ไม่น่าจะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับการ ‘incest’ แต่อาจเพราะ Kozlík เป็นจอมเผด็จการ จึงยินยอมรับไม่ได้ที่บุตรชาย Adam จะสมสู่กับน้องสาว(ที่ดูเหมือนสติไม่ค่อยสมประกอบสักเท่าไหร่) Alexandra เลยถูกสั่งให้ตัดแขนข้างหนึ่ง … ก็ไม่รู้ขาดจริงหรือทำอะไรยังไงก็ไม่รู้ แนบเนียนสุดๆ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

มันช่างเป็นความย้อนแย้งสุดพิลึกพิลั่น บาทหลวง Bernard เมื่อตอนไปถึงยังปราสาทของ Lazar ที่มีความเชื่อศรัทธาศาสนาคริสต์ แต่กลับถูกทุบทำร้าย สูญเสียเจ้าแกะน้อย ไม่ได้มีเป็นมิตรสักเท่าไหร่ ตรงกันข้ามกับเมื่อตอนมาถึงฐานที่มั่นกลางป่าของ Kozlík ทั้งๆเป็นพวกลักธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism) กลับได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่อ รับประทานอาหารอิ่มท้อง ดื่มสุรามึนเมามาย … แต่ความจริงนั้นอาหารค่ำมื้อนี้คือเจ้าแกะน้อยตัวนั้นเอง!

นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าบุคคลมีอัธยาศัยดีงาม ไม่ได้แปลว่าจิตใจต้องเป็นคนดีเสมอไป มันอาจมีบางสิ่งอย่างชั่วร้ายซุกซ่อนเร้นไว้ … ธาตุแท้ของคนไม่ได้อยู่ที่เปลือกภายนอก!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลายคนอาจคาดหวังฉากสงครามไว้มาก แต่หนังเพียงนำเสนอผ่านมุมมองบาทหลวง Bernard หลังจากถูกขับไล่ออกจากฐานที่มั่นของ Kozlík หลบซ่อนตัวบนต้นไม้ พบเห็นการเผชิญหน้า ต่อสู้กันบนเนินเขา เต็มไปด้วยความสับสน โกลาหล แค่พอหอมปากหอมคอ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครแพ้ใครชนะ ก่อนจะย่องหลบหนี หายตัวไปจากสนามรบ

ผมมองว่านี่เป็นวิธีการอันชาญฉลาด แบบเดียวกันที่เคยอธิบายไปตอนต้นเรื่องว่า หนังไม่ได้ต้องการนำเสนอภาพความรุนแรงสุดโต่งเกินไป เพียงวับๆแวมๆ (จริงๆมันก็เห็นเยอะอยู่นะ) แต่สามารถทำให้จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผลลัพท์ของสงครามเป็นยังไงไม่รู้ละ แต่หนังเปลี่ยนมานำเสนอมุมมองของ Kristián เริ่มต้นกำลังก้าวผ่านหนองน้ำ ภาพช็อตนี้มีความน่าอัศจรรย์ใจอย่างมากๆ พบเห็นสายรุ้งบนท้องฟ้าพาดผ่าน ก่อนแทรกภาพย้อนอดีต เล่าเหตุการณ์บังเกิดขึ้นในสนามรบ Alexandra กำลังถูกทหารไล่ล่า เข่นฆ่า นั่นสร้างความขัดย้อนแย้งภายในจิตใจ ไม่รู้จะตัดสินใจเลือกข้างหนึ่งไหน หวนกลับหาบิดา หรือเธอคนนั้นที่กำลังตั้งครรภ์บุตรของเขา … สายรุ้งนี้แบ่งภาพออกเป็นซ้าย-ขวา สามารถแทนความรู้สึกความสองจิตสองใจของ Kristián ไม่รู้จะเลือกตัดสินใจเลือกฟากฝั่งไหน

แซว: การดำเนินเรื่องขณะนี้ ถือว่าล้อกับซีเควนซ์ตอนต้นเรื่องที่ Kozlík วิ่งหลบหนีหมาป่า (รวมถึงเอาตัวรอดจาก Captain Pivo)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Kristián ก้าวเดินไปเรื่อยๆจนถึงบ้านปรักหักหลังหนึ่ง (เป็นสถานที่ที่สะท้อนสภาพจิตใจตัวละคร ไร้ที่พึ่งพัก ไร้ที่ซุกหัวนอน) พบเจอบาทหลวง Bernard กำลังปิ้งย่างขาแกะ (มั้งนะ) ทั้งสองต่างมีสภาพเหน็ดเหนื่อยทั้งร่างกาย-จิตใจ พอต่างทิ้งตัวลงนั่ง-นอน หิมะก็พลันตกหนัก ได้ยินเสียงเห่าหอนฝูงหมาป่า แต่แปลกที่พวกมันไม่สนใจ Kristián (ก้าวเดินต่อเพื่อติดตามหา Alexandra) พยายามตีวงล้อม ต้องการบุกเข้ามา … น่าจะเพราะกลิ่นเนื้อย่างของ Bernard

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Mikoláš เป็นอีกคนที่สามารถหลบหนีเอาตัวรอดจากสงคราม พบเห็นบิดา Kozlík น่าจะได้รับบาดเจ็บสาหัส ถูกกองทัพหลวง (Royal Army) หามตัวออกมาจากฐานที่มั่น นั่นแสดงถึงความพ่ายแพ้การต่อสู้ เขาจึงติดตามหา Marketa พบเจออาศัยอยู่กับชาวประมงหาปลาตามหนองน้ำ หยิบเจ้าตัวนี้ขึ้นมา อ้าปากหวอ สื่อถึงความพยายามของมนุษย์ในการต่อสู้ดิ้นรน แหวกว่ายเวียนวน เพื่อให้ตนเองยังมีชีวิต เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นไปตามวัฎฎะสังสาร

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Mikoláš แสดงเจตจำนงค์ต้องการปลดปล่อย Marketa ให้เป็นอิสระ (เพื่อตนเองจะได้ทำภารกิจเสี่ยงตาย บุกเข้าไปช่วยเหลือบิดายัง Boleslav) แต่เธอกลับพยายามฉุดรั้ง เหนี่ยวนำ ไม่ต้องการให้เขาจากไป ค่ำคืนนี้หลังจากร่วมรักหลับนอน พบเห็นกวางฝูงใหญ่ พร้อมกับเรื่องราวที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา (แม่กวางตัวเมีย เลือกตัวผู้ที่มีความแข็งแกร่งที่สุด = Marketa ตกหลุมรัก Mikoláš)

เช้าวันถัดมา Marketa หลังถูกทอดทิ้งจาก Mikoláš เดินทางกลับมายังปราสาท Lazar ก็ยังถูกบิดาขับไล่ ไม่ต้องการพบเจอ ตัดขาดความสัมพันธ์ (ช็อตนี้ระหว่างพูดขับไล่ บิดายืนเบลอๆอยู่ด้านหลัง ตำแหน่งซ้อนทับกันพอดิบดี) เธอพยายามคุกเข่า อ้อนวอนร้องขอ แต่ถูกบาทหลวง Bernard หักห้ามปราม จึงตัดสินใจออกเดินทางไปยังอารามชี สถานที่พึ่งแห่งสุดท้าย

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Alexandra เข่นฆ่าชายคนรัก Kristián เพราะอะไรกัน? อารมณ์ชั่ววูบ? อาการวิกลจริตของหญิงสาว? เคียดแค้นที่ถูกทหาร(ของบิดาของ Kristián)ไล่ล่า ทำร้ายร่างกาย? แต่ผมว่ามันอาจย้อนรอยความสัมพันธ์ของเธอกับ Adam ทำให้ฝ่ายชายถูกบิดาตัดแขนข้างหนึ่ง ซึ่งในขณะนี้บิดาของ Kristián แสดงออกว่าไม่ให้การยินยอมรับตัวเธอ หวาดกลัวจะไม่ใช่แค่สูญเสียแขนข้างหนึ่ง ก็เลยใช้ก้อนหินทุบศีรษะชายคนรักให้ตกตาย … นี่ไม่ใช่ความผิดปกติ/วิกลจริตของหญิงสาว แต่คือสันชาตญาณเอาตัวรอด “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เคยได้รับการปฏิบัติมาเช่นไร ตนเองก็แสดงออกตามนั้น

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

แม่อธิการและ Marketa ต่างสวดอธิษฐาน วิงวอนร้องขอพระเป็นเจ้าให้ช่วยปกป้องรักษาชายคนรัก ขณะเดียวกันตัดสลับคู่ขนาน Mikoláš รวบรวมสมัครพรรคพวก บุกเข้าไปยัง Boleslav เพื่อช่วยเหลือบิดา Boleslav แต่กลับประสบความล้มเหลว … ทั้งสองต่างทิ้งตัวลงนอนบนพื้นคล้ายๆกัน คนหนึ่งใกล้สิ้นชีวิต ส่วนหญิงสาวกำลังหมดสูญศรัทธา

การนำเสนอคู่ขนานของสองเหตุการณ์นี้ เปรียบเทียบความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า (Christianity) vs. วิถีของลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา (Paganism) บ้านป่าเมืองเถื่อน ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

ครึ่งแรก Maketa มีความตั้งใจอยากบวชชี อุทิศตนเองให้ศาสนา หรือจะมองว่าคือการแต่งงานกับพระเจ้า (ก็ได้กระมัง), ส่วนครึ่งหลังตั้งแต่ถูก Mikoláš ลักพาตัว ข่มขืนกระทำชำเรา จิตใจเริ่มผันแปรเปลี่ยน ต้องการอุทิศตนเองให้ชายคนรัก ท้ายที่สุดยินยอมตอบตกลงแต่งงาน ก่อนที่อีกฝ่ายจะหมดสิ้นลมหายใจ

นอกจากนี้การแต่งงานยังสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล Kozlík และ Lazar เริ่มต้นด้วยจากขัดแย้ง สู้รบสงคราม มาถึงจุดนี้ต่างประสบหายนะ สูญเสียหายย่อยยับเยิน ทั้งสองฝ่ายเลยทำได้เพียงทอดถอนหายใจ ยินยอมรับการแต่งงาน ต่อจากนี้ละเลิกเคียดแค้น ยกโทษให้อภัย จับมือปรองดองกันและกัน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ดูราวกับภาพวาด Abstract ทิวทัศน์ท้องทุ่ง(หรือเนินเขาก็ไม่รู้นะ) เต็มไปด้วยหย่อมหญ้า โครงกระดูก มองออกไปสุดลูกหูลูกตา สามารถสื่อถึง ‘ยุโรปยุคกลาง = Czechoslovakia ยุคสมัยนั้น’ มีสภาพไม่แตกต่างจากนรกบนดิน บ้านป่าเมืองเถื่อน เต็มไปอันตราย ความตาย

ด้วยความละลานตาของช็อตนี้อาจทำให้หลายคนไม่ทันสังเกตเห็น บริเวณกึ่งกลางเฟรมค่อนไปทางด้านบน เจ้าแพะดำ(ซาตาน)เข้าไปปลุกตื่น Marketa ราวกับต้องการขับไล่ ไม่ต้องการให้พักอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้ ต่อมาบาทหลวง Bernard พยายามเข้ามาโน้มน้าวชักชวน ร่วมออกเดินไปทิศทางเดียวกัน แต่กลับถูกเจ้าแพะดำฉุดกระชากลาก เป็นเหตุให้ต้องแยกย้ายคนละทิศละทาง (Marketa เดินทางกลับสู่สรวงสวรรค์, บาทหลวง Bernard ถูกชักนำพาไปลงนรก)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลายคนอาจไม่ทันสังเกตความมหัศจรรย์ของช็อตสุดท้ายในหนัง บาทหลวง Bernard ถูกเจ้าแพะดำลากพาตัวไปคนละทิศทางกับ Marketa จากทิวทัศน์ส่องสว่าง จู่ๆเหมือนมีเมฆเคลื่อนเข้ามาบดบังแสงอาทิตย์ ทำให้ดูมืดครื้มขึ้นมานิดหน่อย (สอดคล้องเข้ากับทิศทางมุ่งสู่ขุมนรก) … ผมขี้เกียจทำภาพเคลื่อนไหว ให้ลองเปรียบเทียบความคมเข้มของสองช็อตนี้ดูเองนะครับ

แซว: ผมแอบนึกถึง Red River (1948) ของผกก. Howard Hawks มีอยู่ช็อตหนึ่งที่บังเอิญจับภาพเงาเมฆเคลื่อนพานผ่าน แล้วนำไปคุยโวโอ้อวดกับ John Ford ที่เลื่องลือชาในการถ่ายภาพทิวทัศน์ท้องฟ้าสวยๆ “Hey, I’ve got one almost as good as you can do–you better go and see it.”

ตัดต่อโดย Miroslav Hájek, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้การแบ่งออกเป็นตอนๆ ปรากฎข้อความอธิบายเหตุการณ์กำลังบังเกิดขึ้น ซึ่งแต่ละซีเควนซ์จะมีลีลาการนำเสนอแตกต่างออกไป, สำหรับครึ่งแรก (Part I: Straba) นำเสนอเรื่องราวของ Mikoláš ความขัดแย้งกับ Lazar นำสู่การลักพาตัว Marketa

  • Mikoláš และ Adam ดักปล้นกลุ่มนักเดินทาง จับกุมตัวประกัน Kristián และไว้ชีวิตศัตรูคู่อริ Lazar
    • นำเสนอผ่านมุมมอง Mikoláš ซุ่มอยู่ในพงไม้ เมื่อสบโอกาสก็ออกมาโจมตี
  • Mikoláš และ Adam เดินทางกลับมาถึงปราสาท พูดคุยต่อรองบิดา Kozlík ไว้ชีวิต Kristián แอบสานสัมพันธ์ Alexandra
  • Kozlík ถูกเรียกตัวให้เดินทางไปยัง Boleslav แต่สามารถเอาตัวรอด หลบหนีกลับมาได้หวุดหวิด มอบหมายให้ Mikoláš ไปขอความร่วมมือกับ Lazar
    • นำเสนอผ่านมุมมอง Kozlík เริ่มต้นหลบหนีฝูงหมาป่ากลับป้อมปราการได้สำเร็จ จากนั้นแทรกภาพย้อนอดีต หวนระลึกเหตุการณ์ที่เพิ่งบังเกิดขึ้น
  • Marketa พบเห็นการเดินทางมาถึงของ Mikoláš ขอความร่วมมือกับบิดา Lazar ในการต่อต้านกองทัพกษัตริย์ King Wenceslaus I แต่ไม่เพียงบอกปัดปฏิเสธ กลับยังทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายปางตาย
    • นำเสนอผ่านมุมมอง Marketa แม้ไม่ได้พบเห็นอะไรมาก แต่ได้ยินเสียง รับรู้ความรุนแรงบังเกิดขึ้น
  • Mikoláš ลากสังขารกลับมายัง Roháček หลังจากพบโดยบิดา Kozlík สั่งลูกน้องให้จัดการชำระล้างแค้น
  • รองผู้บัญชาการ Sovička พยายามเกี้ยวพาราสี Marketa แสดงความหาญกล้าบ้าบิ่น บุกเดี่ยวเข้าไปจะโจมตีกองกำลังเล็กๆของ Kozlík เป็นเหตุให้ถูกเข่นฆ่า Captain Pivo จึงต้องนำพาร่างลูกน้องหวนกลับ Boleslav
    • นำเสนอคู่ขนานระหว่างรองผู้บัญชาการ Sovička พยายามเกี้ยวพาราสี Marketa ตัดสลับกับ Captain Pivo นำร่างไร้ลมหายใจของ Sovička หวนกลับยกทัพกลับสู่ Boleslav
  • Lazar นำพาบุตรสาว Marketa มายังอารามชี ให้คำมั่นสัญญากับมารดาอธิการ เมื่อฤดูหนาวพานผ่านจะอนุญาตให้บวชชี แต่พอเดินทางกลับถึงถึงบ้านพบเจอ Mikoláš ทำการชำระล้างแค้น และลักพาตัวตัว Marketa จากไป
    • นำเสนอผ่านมุมมอง Marketa (และ Lazar) กลับจากอารามชี พบเจอเหตุการณ์ไม่คาดฟัน
  • เมื่อเดินทางมาถึงฐานที่มั่นกลางป่า Mikoláš ตัดสินใจข่มขืน Lazar สร้างความเกรี้ยวกราดให้บิดา Kozlík จับพวกเขา(รวมถึง Kristián และ Alexandra)พันธนาการโซ่ตรวน
    • ได้ยินเสียงเล่าเรื่องของหญิงคนหนึ่ง (น่าจะเป็นภรรยาของ Kozlík) เกี่ยวกับเจ้าชายหมาป่า Straba คู่ขนานกับเรื่องราว/ภาพเหตุการณ์บังเกิดขึ้น

ส่วนครึ่งหลัง (Part II: The Lamp of God) เกือบทั้งหมดนำเสนอผ่านมุมมองบาทหลวงผู้โชคร้าย Bernard จับพลัดจับพลูเดินทางมาถึงปราสาทของ Lazar ถูกปล้น(แกะ) ถูกทำร้ายร่างกาย แต่พอมาถึงฐานที่มั่นของ Kozlík กลับได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่ออย่างดี ดื่มสุรามึนเมามาย ก่อนพบเห็นการต่อสู้สงครามขนาดย่อมๆระหว่าง Kozlík vs. ทหารของ King Wenceslaus I

  • บาทหลวง Bernard พร้อมเจ้าแกะน้อย เดินทางมาถึงปราสาทของ Lazar ถูกคณะคาราวานทุบศีรษะ ลักขโมยเจ้าแกะน้อย
  • โซซัดโซเซมาจนพบเห็นคาราวาน(ที่ปล้นเจ้าแกะ) กรรมตามสนองโดนดักปล้นโดย Adam และพวกพ้อง ก่อนถูกล้อมจับโดยกองทัพของ Captain Pivo
    • นำเสนอผ่านมุมมอง Adam ตั้งแต่หลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ แล้วถูกล้อมรอบ ต้อนจนมุม โดยจับกุมโดย Captain Pivo
  • บาทหลวง Bernard เดินทางมาถึงฐานที่มั่นของ Kozlík ได้รับการต้อนรับขับสู้ ค่ำคืนนี้ดื่มสุรามึนเมามาย
  • เช้าตื่นขึ้นมา Mikoláš อ้างว่ามีบางสิ่งอย่างผิดปกติ ไม่นานกองทัพของ Captain Pivo ก็เดินทางมาถึง เกิดการเผชิญหน้าต่อสู้
    • นำเสนอผ่านมุมมองบาทหลวง Bernard ระหว่างหลบซ่อนตัวบนต้นไม้
  • Kristián พบเห็นทหารของบิดาพยายามไล่ล่าหญิงสาวคนรัก Alexandra จึงออกติดตามเธอไปจนพบเจอบาทหลวง Bernard กำลังรับประทานอาหารเอร็ดอร่อย
    • นำเสนอผ่านมุมมอง Kristián เริ่มต้นจากกำลังก้าวผ่านหนองน้ำ จากนั้นแทรกภาพย้อนอดีต เหตุการณ์บังเกิดขึ้นก่อนหน้า เมื่อหญิงคนรักถูกไล่ล่าโดยทหารของบิดา
  • Mikoláš หลังเอาตัวรอดจากสงคราม ติดตามมาจนพบเจอ Marketa (และ Alexandra) แสดงเจตจำนงค์ปลดปล่อยเธอให้เป็นอิสระ แต่หญิงสาวกลับบอกปัดปฏิเสธ พยายามโน้มน้าวร่วมเพศสัมพันธ์, ระหว่างนั้น Alexandra เมื่อได้พบเจอกับ Kristián ตัดสินใจปลิดชีวิตอีกฝ่าย
  • เช้าวันถัดมา Maketa ตัดสินใจกลับไปปราสาทของบิดา Lazar กลับถูกขับไล่ออกมา จึงเดินทางต่อไปยังอารามชี
    • ช่วงแรกนำเสนอผ่านมุมมองของ Maketa จนกระทั่งมาถึงอารามชี เมื่อเริ่มสวดอธิษฐานขอพรพระเป็นเจ้า ตัดสลับคู่ขนานกับ Mikoláš รวบรวมสมัครพรรคพวก บุกเข้าไปยัง Boleslav เพื่อให้การช่วยเหลือบิดา
  • Kristián เดินทางมายัง Boleslav พบเห็นสภาพใกล้ตายของ Mikoláš แสดงเจตจำนงค์ต้องการแต่งงานกับเขา หลังเข้าพิธีสมรสง่ายๆ ก่อนร่างสิ้นลมหายใจของชายคนรักจะถูกแบกหามออกไป
  • บาทหลวง Bernard พยายามชักชวน Kristián ออกเดินทางร่วมด้วยกัน แต่โชคชะตานำพาให้พวกเขาดำเนินไปคนละทิศละทาง

แม้ทิศทางดำเนินเรื่องของหนังจะเป็นเส้นตรง (Linear Narrative) แต่เพราะมีการสลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละครไปมาบ่อยครั้ง เพิ่มความยุ่งยากในการทำความใจเรื่องราวทั้งหมด แต่ถ้าสามารถดูจบไปรอบหนึ่ง ครั้งที่สอง-สามก็น่าจะสามารถทำความเข้าใจรายละเอียดโดยรวมได้ง่ายขึ้น

ปล. ผมรู้สึกว่า Marketa Lazarová (1967) มีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นบทเรียนสอนภาพยนตร์มากๆ เพราะแต่ละตอนมีลูกล่น ลีลาการนำเสนอ มุมมองตัวละครที่แตกต่างออกไป แทบไม่ซ้ำแบบเดิม จักทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคดำเนินเรื่องที่หลากหลาย


เพลงประกอบโดย Zdeněk Liška (1922-83) สัญชาติ Czech เกิดที่ Smečno, Bohemia ทั้งปูและบิดาต่างเป็นนักดนตรีสมัครเล่น ทำให้วัยเด็กมีโอกาสฝึกฝนไวโอลิน แอคคอร์เดียน แต่งเพลงแรกสมัยเรียนมัธยม จากนั้นเข้าศึกษาต่อ Prague Conservatory ทำงานเป็นวาทยากร ครูสอนดนตรี ก่อนเข้าร่วม Zlín Film Studios กลายเป็นขาประจำผู้กำกับอนิเมชั่น Jan Švankmajer, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Fabulous Baron Munchausen (1962), The Shop on Main Street (1965), Marketa Lazarová (1967), The Valley of the Bees (1968), The Cremator (1969), Fruit of Paradise (1970), Shadows of a Hot Summer (1977) ฯ

ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่า งานเพลงของหนังมีกลิ่นอายยุโรปยุคกลาง (Medieval Period) มากน้อยเพียงไหน? แต่ต้องยกย่องสรรเสริญนักแต่งเพลง Liška ทำออกมาได้โคตรๆทรงพลัง สมราคาภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ โดยเฉพาะเสียงร้องคอรัสบีบเค้นคั้น นั่งฟัง Soundtrack ยังรู้สึกขนลุกขนพอง สั่นสะท้านทรวงใน สัมผัสถึงบรรยากาศตึงเครียด ภยัตรายรายล้อมรอบ สภาพแวดล้อมแห่งความตาย … ยิ่งใหญ่ไม่ด้อยไปกว่า Song for the Unification of Europe จากภาพยนตร์ Three Colours: Blue (1993)

มีเฉพาะฉากสำคัญๆที่จะได้ยินการขับร้องประสานเสียง (Chorus) มักเป็นเหตุการณ์ความรุนแรง ปล้น-ฆ่า สู้รบสงคราม ไร้ซึ่งมนุษยธรรม ราวกับ(เสียงของเทพเทวดา)ต้องการย้ำเตือนสติผู้ชม ว่านั่นคือพฤติกรรมไม่ถูกต้องเหมาะสม (ถ้าคุณสามารถฟังคำร้องออก ผมว่าน่าจะเกิดสุนทรียะในการรับชมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว)

แต่ไม่ใช่ว่าบทเพลงที่ไม่การขับร้องประสานเสียงจะไม่โดดเด่นอะไรนะครับ ระหว่างที่ผมรับฟังจาก Playlist ระหว่างเขียนบทความนี้ รู้สึกหงุดหงิดๆ กระวนกระวาย จิตใจระส่ำระสาย ก่อนตระหนักได้ว่าหลายๆบทเพลงที่แทบไม่มีท่วงทำนองโดดเด่น กลับสามารถคลอประกอบพื้นหลัง สร้างบรรยากาศที่ไม่น่าอภิรมณ์ให้กับผู้ฟัง … ก็นึกว่าทำไมระหว่างรับชมหนัง ถึงเต็มไปด้วยสัมผัสอันตราย สิ่งชั่วร้ายคืบคลานเข้ามา ก็เพราะเพลงประกอบลักษณะนี้ช่วยเสริมบรรยากาศหนังนั่นเอง!

Marketa Lazarová จากเด็กสาวละอ่อนเยาว์วัย จิตใจบริสุทธิ์ ไร้เดียงสาต่อโลก รับไม่ได้ต่อพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของบิดา ตั้งใจว่าจะบวชชีอุทิศตนเองให้กับศาสนา แต่หลังจากถูก Mikoláš ลักพาตัว ข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่รู้ตัวผันเปลี่ยนเป็นความชื่นชอบ ตกหลุมรัก ยินยอมพร้อมทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้ได้แต่งงานครองคู่กับเขา

ความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นกับ Marketa เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งหนังต้องการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง …

  • ตระกูล Lazar บิดาพอมีศรัทธาศาสนา พร้อมเสียสละบุตรสาวให้กับพระเป็นเจ้า รวมถึงให้การสนับสนุน King Wenceslaus I (ตัวแทนฟากฝั่ง Christianity และการปกครองส่วนกลาง Central Authority)
  • แต่เมื่อถูกลักพาตัวเข้าสู่ตระกูล Kozlík ผู้มีความเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ใช้ชีวิตด้วยสันชาติญาณ ไม่นับถืออะไรใคร (ตัวแทนลัทธินอกรีต/กลุ่มคนนอกศาสนา Paganism และปกครองด้วยวิถีเครือญาติ Clan)

ยุโรปยุคกลางตอนปลาย (Middle Ages หรือ Medieval Period) ถือเป็นช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก ความอดอยาก โรคระบาด (กาฬโรคช่วง ค.ศ. 1347-50 คร่าชีวิตชาวยุโรปไปสามในสี่) สงครามศาสนา/ครูเสด (Crusades) ฯลฯ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในผู้ปกครอง นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างวงศ์ตระกูล การต่อสู้ระหว่างรัฐ สงครามกลางเมือง และการลุกฮือของชาวนาภายในอาณาจักร

แม้นวนิยาย Markéta Lazarová ของ Vladislav Vančura จะเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1931 แต่สามารถพาดพิงถึงการกำลังขึ้นมาเรืองอำนาจของพลพรรค Nazi Germany ซึ่งส่งอิทธิพลโดยตรงต่อ Czechoslovakia เพราะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน มีพรมแดนใกล้ชิดติดกัน ซึ่งความขัดแย้งระหว่างตระกูล Lazar vs. Kozlík ยังพยากรณ์การสู้รบที่กำลังจะเกิดขึ้นในในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (Czechoslovakia เป็นประเทศแรกๆที่ถูกยึดครองโดย Nazi Germany ถัดจาก Austria)

สำหรับผกก. František Vláčil แม้เคยมีชีวิตพานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง แต่จุดประสงค์การสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อสะท้อนสถานการณ์ทางการเมือง Czechoslovakia ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (Post-War) การเผชิญหน้าระหว่างประชาชน vs. รัฐบาลคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Soviet Union … พอมองเห็นความสัมพันธ์ดังกล่าวไหมเอ่ย ตระกูล Kozlík vs. Lazar ที่ได้รับการสนับสนุนจาก King Wenceslaus I

เช่นเดียวกับนวนิยายที่โดยไม่รู้ตัวพยากรณ์การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง, ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้คาดการณ์การแทรกแซงของ Soviet Union ภายหลังเหตุการณ์ Pargue Spring (5 มกราคม – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1968) สหภาพโซเวียตได้ส่งกองกำลังทหารกว่า 250,000+ นาย เข้ามาควบคุมสงบในประเทศพันธสัญญา Warsaw Pact (ประกอบด้วย Poland, Bulgaria, Hungary และ Czechoslovakia) ส่งผลให้การต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์สิ้นสุด กลุ่มผู้ต่อต้านถูกกวาดล้างด้วยความรุนแรง “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”

สิ่งที่ทั้งนักเขียน Vančura และผกก. Vláčil เห็นพ้องต้องกัน (แม้ไม่เคยพบเจอพูดคุยกัน) เรื่องราวของ Marketa Lazarová สามารถสะท้อนสภาพ Czechoslovakia ยุคสมัยนั้นๆ (ก่อน-หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ยังคงเป็นประเทศบ้านป่าเมืองเถื่อน ดินแดนไร้อารยธรรม ชนชั้นผู้นำมีความคอรัปชั่น ใช้ความรุนแรงปกครองอาณาประชาราษฏร์ เรียกได้ว่าประวัติศาสตร์ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ยุคกลางโน่นเลย!

ภาพยนตร์ Marketa Lazarová (1967) ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของผกก. Vláčil เพราะใช้เวลาชีวิตหมดไปถึง 7 ปี! แต่เขาถือว่านี่คือผลงานชำระล้างบาป (Purgatory) ทำให้จิตวิญญาณบริสุทธิ์ผุดผ่อง … ทั้งๆที่เรื่องราวมีทิศทางกลับตารปัตรตรงกันข้าม!

For the terrible many months, but what should I say, years, I feel that the film about Marketa Lazarová has become a kind of unique job for me. I feel relieved that work on him is over. Before, you see, before Marketa, I divide my life into “before” and “after”, I made films with joy, Marketa was a purgatory for me. You struggle with things that go hard, they don’t give up. I had before me the beloved Vančura, a perfect literary form. A prose poem, yes it’s a prose poem, I can pretty much memorize it, and try learning a novel! So a poem in prose and, in my opinion, the best humorous novel, with all the tragedy in the plot. A typically Czech matter, with exactly the degree of ridiculousness and absurdity that I feel in every Czech tragedy. František Vláčil

จากทุนสร้างที่ตระเตรียมไว้ 7 ล้าน Czech Koruna (CZK) เบิกบานปลายไปถึง 13 ล้าน! กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์แพงสุดตลอดกาล(ขณะนั้น)ของ Czechoslovak จนโปรดิวเซอร์ต้องร้องขอให้ผกก. Vláčil สรรค์สร้างผลงานเรื่องถัดไปด้วยการรีไซเคิลทุกสิ่งอย่างจาก Marketa Lazarová (1967) กลายมาเป็น The Valley of the Bees (1968)

หนังเข้าฉายช่วงปลายปี ค.ศ. 1967 เฉพาะในประเทศ Czechoslovak มีจำนวนผู้ชมสูงถึง 1.3 ล้านคน! ก่อนถูกแบนห้ามฉายภายหลังเหตุการณ์ Pargue Spring, จากนั้นก็ตระเวรไปตามเทศกาลหนังต่างๆ San Francisco Film Festival, Chicago International Film Festival, รวมถึง Cannes: Directors’ Fortnight ได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลาม

This is one of the most artistic and convincing medieval epics ever made, plunging us into the past with a relentless assault upon the visual senses with both dazzling and horrifying effects.

แต่การเข้าฉายสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1974 กลับถูกโปรดิวเซอร์นำไปปู้ยี้ปู้ยำ ตัดต่อให้จนเหลือความยาวเพียง 100 นาที แน่นอนว่าถูกนักวิจารณ์สับเละ เลยถูกเก็บเข้ากรุ ไม่เคยถูกพูดถึงอีกหลายทศวรรษ

ภายหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย (Czechoslovakia แตกออกเป็น Czech Republic และ Slovakia) หนังถึงได้รับโอกาสหวนกลับมาฉายใหม่อีกครั้ง ซึ่งครานี้ได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลาม ผู้ชม/นักวิจารณ์หลายสำนักยกให้เป็นอันดับหนึ่ง “Best Czech Film of All-Time”

นั่นทำให้กระทรวงวัฒนธรรม (Czech Ministry of Culture) และ Karlovy Vary International Film Festival ร่วมงานกับ Universal Production Partners และ Soundsquare Studios ทำการฟื้นฟูบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K ใช้งบประมาณสูงถึง 2 ล้าน (CZE) เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2011 จัดจำหน่าย DVD/Bluray โดย Criterion Collection

เรื่องราวของ Marketa Lazarová (1967) อาจไม่ได้มีความซับซ้อน แต่วิธีการนำเสนอของผกก. Vláčil ทำให้หนังดูยากพอสมควร อีกทั้งบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ป่าเถื่อน เหี้ยมโหดร้าย จึงไม่ค่อยเหมาะสำหรับผู้ชมทั่วๆไป แต่ถ้าคุณสามารถสังเกตรายละเอียด วิธีการนำเสนอ จะค้นพบความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร จดจำฝังใจไม่รู้ลืมเลือน สมควรค่าแก่การยกย่องมาสเตอร์พีซ

บรรยากาศตึงๆของหนังชวนให้ผมนึกถึง The Witch (2015) รวมถึงหลายๆผลงานของผกก. Robert Eggers พี่แกน่าจะชื่นชอบกลิ่นอายดิบเถื่อนของยุโรปยุคกลางอยู่ไม่น้อยเลยนะ

มีภาพยนตร์อีกเรื่องที่ผมครุ่นคิดถึงก็คือ Sátántangó (1994) ของผู้กำกับ Béla Tarr แม้เรื่องราวอยู่ในยุคปัจจุบัน แต่บรรยากาศอึมครึม เปียกปอน เต็มไปด้วยความรุนแรง ป่าเถื่อน เหี้ยมโหดร้าย รวมถึงแต่ละองก์มีการนำเสนอด้วยมุมมอง/วิธีเล่าเรื่องแตกต่างออกไป อาจจะได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจาก Marketa Lazarová (1967) ก็เป็นได้!

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศยุคสมัย Medieval Period ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ป่าเถื่อน เหี้ยมโหดร้าย

คำโปรย | Marketa Lazarová มหากาพย์ภาพยนตร์แห่งยุคกลาง (Medieval Period) ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ป่าเถื่อน เหี้ยมโหดร้าย

คุณภาพ | มาสเตอร์พีซ ส่วนตัว | ป่าเถื่อน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Wavelength (1967) : Michael Snow ♥♥♥♥

ได้รับยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ทั้งๆมีเพียงการถ่ายภาพภายในห้องพัก 45 นาทีค่อยๆซูมเข้าไปยังรูปภาพ’คลื่น’ทะเลบนฝาผนัง แต่กลับเต็มไปด้วยรายละเอียดชวนให้ขบครุ่นคิด โดยเฉพาะการใช้เสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ทุกสิ่งอย่างพบเห็นล้วนคือภาพลวงตา ‘Strawberry Fields Forever’

Let me take you down ‘Cause I’m going to strawberry fields Nothing is real And nothing to get hung about Strawberry fields forever

ระหว่างการรับชมจะมีขณะหนึ่งได้ยินบทเพลง Strawberry Fields Forever (1967) ของวง The Beatles แต่งโดย John Lennon ใครเคยรับชม Music Video หรือตั้งใจฟังเนื้อคำร้อง ย่อมตระหนักถึงทุ่งสตอเบอรี่ สถานที่แห่งความทรงจำของ Lennon (แท้จริงคือสถานสงเคราะห์เด็ก The Salvation Army) ด้วยท่วงทำนอง Psychedelic Pop/Rock มอบสัมผัสหวนระลึกความทรงจำ (Nostalgia) ล่องลอยเหมือนฝัน (Dream-like) … สื่อถึงทุกสิ่งอย่างในโคตรหนังทดลองเรื่องนี้ ล้วนคือภาพลวงหลอกตา

บทเพลง Strawberry Fields Forever ถือเป็นคำใบ้หนึ่งของโคตรๆหนังทดลองเรื่องนี้ เพื่อบ่งบอกสิ่งที่ผู้ชมพบเห็น-ได้ยิน อาจเป็นเพียงภาพ-เสียงลวงหลอก (Sight & Sound Illusion) มีนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นว่า นั่นคือการทำให้ห้องแห่งนี้คือพระเอกตัวจริง (Protagonist)

If a room could speak about itself, this would be the way it would go. นักวิจารณ์ Manny Farber

การที่กล้องเริ่มถ่ายจากภาพระยะไกล พบเห็นสภาพโดยรวมของห้องพัก หน้าต่างสี่บาน ได้ยินเสียงรถรา พูดคุยสนทนา จากนั้นค่อยๆซูมเข้าหารูปภาพ’คลื่น’บนฝาผนัง เสียงได้ยินความถี่สูงขึ้นเรื่อยๆจนเงียบงัน (เกินกว่าระดับเสียงที่มนุษย์จะได้ยิน) เราสามารถตีความถึงการเปลี่ยนแปรสภาพ จากมหภาคสู่จุลภาค รูปธรรมสู่นามธรรม ภายนอกสู่ภายใน ร่างกายสู่จิตวิญญาณ ฯลฯ

หลายสิ่งอย่างในโคตรหนังสั้นเรื่องนี้เหมือนจะเข้าสูตรสี่ เริ่มจากหน้าต่างสี่บาน (ชวนให้นึกถึงงานศิลปะ Tetraptych หรือ Quadriptych) ตัวละครมนุษย์ปรากฎตัวทั้งหมดสี่ครั้ง และเหตุการณ์เกิดขึ้นสามารถแบ่งแยกแยะออกเป็น ตามองเห็น-ภาพลวงตา-เสียงลวงหู-และทุกสิ่งอย่างแปรสภาพสู่นามธรรม

The space starts at the camera’s (spectator’s) eye, is in the air, then is on the screen, then is within the screen (the mind). Michael Snow

ผมเคยรับชม Wavelength (1967) เมื่อหลายปีก่อนแล้วก็เกาหัว นอกจากดูไม่รู้เรื่อง ยังครุ่นคิดไม่ออกว่าจะเขียนบทความออกมายังไง จนกระทั่งหลายวันก่อนเมื่อได้รับชม Chelsea Girls (1966) ติดตามด้วยทดลองเขียน Empire (1965) เลยเกิดความหาญกล้าหยิบภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา … เดี๋ยวจะติดตามด้วย ‘experimental film’ อีกหลายเรื่องเลยนะครับ

การจะรับชมภาพยนตร์แนวทดลอง เราต้องไม่นำเอาทัศนคติของ ‘narrative film’ ตัดสินด้วยอารมณ์/ความรู้สึกส่วนบุคคล แต่ต้องสังเกตรายละเอียด โครงสร้าง วิธีการนำเสนอ ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์/เป้าหมาย แม้ผลลัพท์อาจดูไม่สนุก ไร้สาระบันเทิง ทั้งหมดทั้งมวลคือการท้าทายศักยภาพ ขีดจำกัดสื่อภาพยนตร์ เปิดมุมมองโลกทัศน์ผู้ชม มุ่งสู่อิสรภาพเป็นไปได้ไม่รู้จบ


Michael James Aleck Snow (1928-2023) ศิลปิน/ผู้กำกับภาพยนตร์ Avant-Garde สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นวิศวกรโยธา ประสบอุบัติเหตุทำให้ตาบอดตอนบุตรชายอายุเพียง 5 ขวบ นั่นทำให้เขามีความสนใจเรื่องเสียง เล่นดนตรี Jazz โตขึ้นยังค้นพบความชื่นชอบวาดรูป แกะสลัก เลยเข้าศึกษาศิลปะ Upper Canada College ตามด้วย Ontario College of Art (ปัจจุบันคือ Ontario College of Art & Design University), จบออกมาทำงานบริษัทออกแบบ ‘graphic design’ แต่พบว่านั่นไม่สิ่งที่อยากทำสักเท่าไหร่ จนกระทั่งมีโอกาสออกท่องเที่ยวยุโรป คลั่งไคล้ผลงานของ Paul Klee กลับมาได้งานบริษัทอนิเมชั่น Graphic Associates กำกับหนังสั้นทดลองเรื่องแรก A to Z (1956)

My paintings are done by a filmmaker, sculpture by a musician, films by a painter, music by a filmmaker, paintings by a sculptor, sculpture by a filmmaker, films by a musician, music by a sculptor … sometimes they all work together. Also, many of my paintings have been done by a painter, sculpture by a sculptor, films by a filmmaker, music by a musician. There is a tendency towards purity in all of these media as separate endeavours. Michael Snow

นอกจากศิลปิน จิตรกร แกะสลัก และนักดนตรี Snow ยังต้องการสำรวจความเป็นไปได้ของสื่อภาพยนตร์ ไม่ใช่ในแง่ของการเล่าเรื่อง (Storytelling) แต่คือการผสมผสานระหว่างภาพและเสียง เพื่อให้เกิดปรากฎการณ์บางอย่าง ท้าทายขอบเขตจำกัด ค้นพบรูปแบบใหม่ของสิ่งที่ต้องการนำเสนอออกมา

I’m interested in film as a medium, and in pushing the medium as far as it can go. I’m not interested in telling stories or in creating characters or plotlines. I’m interested in exploring the formal qualities of the medium – the way that light and sound can create meaning and emotion in the absence of narrative. For me, experimental film is a way of exploring the boundaries of cinema and discovering new forms of expression. I wanted to create something that would make the viewer think about their own perceptions and the nature of the medium itself.

สำหรับแนวคิดของ Wavelength (1967) เริ่มต้นจากความต้องการใช้เทคนิคซูม (Zooming) เข้าไปในพื้นที่ว่าง เพื่อค้นพบบางสิ่งอย่างที่ในตอนแรกมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ค่อยๆชัดเจนขึ้นเรื่อยๆทั้งในเชิงรูปธรรม-นามธรรม ลักษณะคล้ายๆกล้องจุลทรรศน์ & กล้องโทรทรรศน์

The idea was to use a zoom to discover what was in the space, but then to discover something that was not apparent. It was a metaphor for the idea that the world around us is more than it seems. The zoom is like a microscope or telescope, bringing into focus things that are not normally visible. And the idea of the sine wave was to create a visual rhythm that would be both hypnotic and challenging.

สิ่งที่พบเห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น ไม่ได้มีพล็อตเรื่องราว (Narrative) เพียงกล้องเริ่มถ่ายจากภาพมุมกว้างในห้องพักสี่หน้าต่าง จากนั้นค่อยๆซูมเข้าหารูปภาพคลื่นทะเลบนฝาผนัง ซึ่งระหว่างนั้นจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับมนุษย์เกิดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง ประกอบด้วย

  • เริ่มต้นหญิงสาว ออกคำสั่งให้พนักงานชายสองคนขนตู้มาวางในห้อง จากนั้นก็แยกย้ายจากไป
  • หญิงสาวและเพื่อนสาวอีกคนเดินเข้ามาในห้อง คนหนึ่งนำยกซดเครื่องดื่ม อีกคนเปิดวิทยุฟังเพลง Strawberry Fields Forever สักพักพวกเธอก็แยกย้ายจากไป
  • ได้ยินเสียงทุบกระจกแตก จากนั้นชายคนหนึ่งตรงเข้ามาในห้อง (เหมือนจะเป็นโจร) แล้วจู่ๆทรุดล้มลง คาดว่าน่าจะหัวใจล้มเหลวเสียชีวิต
  • หญิงสาวกลับมาถึงห้อง พบเห็นศพชายแปลกหน้า จึงโทรศัพท์แจ้งตำรวจ (ช่วงใกล้ๆตอนจบของหนัง เหมือนได้ยินเสียงไซเรนรถตำรวจ)

ทั้งสี่เหตุการณ์ตามคำบอกเล่าของผกก. Snow ต้องการให้เป็นตัวแทนของสี่ช่วงเวลาสำคัญๆของมนุษย์ ถือกำเนิด (เริ่มต้นขนย้ายตู้เข้ามาในห้อง), ความรัก (ระหว่างสองบุคคล), ความรุนแรง (เสียงกระจกแตก ล้มลงหัวใจวาย) และความตาย (หญิงสาวพบเห็นชายแปลกหน้าเสียชีวิต)

I wanted to suggest, in a minimal and allusive way, four major human events: birth, death, love, and violence. The film is not a narrative in any traditional sense, but rather an exploration of the formal properties of cinema and the ways in which images and sounds can create meaning and emotion in the absence of a linear story.

หนังถ่ายทำยังสตูดิโอที่ Toronto ขนาดความกว้าง 25 ฟุต (7.62 เมตร) ยาว 80 ฟุต (24.38 เมตร) ด้วยกล้องฟีล์ม 16mm หยิบยืมจากเพื่อนผู้กำกับ Ken Jacobs นำมาตั้งบนขาตั้ง (Tripod) วางไว้บริเวณปลายสุดของห้อง ใช้เลนส์ซูมของ Angeniux ค่อยๆปรับไล่ระดับทีละเล็กในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อบันทึกเช้า-สาย-บ่าย-ค่ำ บางครั้งก็ใช้ Color Gels (ฟิลเลอร์สี) เพื่อสร้างสัมผัสอุณหภูมิของห้อง(ในช่วงเวลาต่างๆ)

เทคนิคภาพอื่นๆที่พบเห็นก็อย่างการซ้อนภาพ (Double Explosure), Invert Color (Negative Photography), หน้าจอขาว (White Screen), รวมถึงภาพถ่ายจากภายนอก (พบเห็นรถราวิ่งบนท้องถนน) ฯ เหล่านี้เพื่อสร้างความบิดเบือน (Distortion) ราวกับโลกอีกใบ (Otherworldliness) ที่ซุกซ่อน ซ้อนทับ บางสิ่งอย่างมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

The use of the zoom was an attempt to isolate an individual in a larger context. And the rest of the distortions were attempts to create various sorts of tension or balance, or to work against the illusionary elements in the film. I think the visual devices I used in ‘Wavelength’ were trying to produce a sense of texture, a sense of visual interaction, a sense of things coming together and falling apart.

เกร็ด: ทีแรกผมนึกว่าหนังคงถ่ายทำไปตามลำดับเหตุการณ์ (Chronological Order) แต่เพราะนักแสดงชาย Hollis Frampton (ที่ล้มลงเสียชีวิต) ไม่ว่างตามคิวนัดเลยต้องเริ่มถ่ายทำก่อนใคร นี่แสดงให้เห็นว่ารายละเอียด ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะการซูม มีการคำนวณไว้อย่างเสร็จสรรพตั้งแต่ก่อนเริ่มถ่ายทำ


นักวิจารณ์บางคนตีความ Wavelength (1967) คือหนัง Feminist จากฉากแรกหญิงสาวออกคำสั่งสองชายขนย้ายตู้หนังสือ รวมถึงฉากความสัมพันธ์หญิง-หญิง และบุรุษจู่ๆทรุดล้มตกตายไป เหล่านี้แสดงให้เห็นถึง ‘สตรีเป็นใหญ่’ โลกยุคสมัยใหม่กำลังกลับตารปัตรตรงข้ามจากเคยเป็นมา … ผมว่ามันก็พอจะตีความแง่มุมนี้ได้กระมัง เพราะใจความหนังพยายามสื่อถึงสองสิ่งขั้วตรงข้าม ที่มีความเหลื่อมล้ำ ซ้อนทับ แต่ก็เป็นอันหนึ่งเดียวกัน

บางคนมองว่านี่คือลักษณะการ ‘Establishing Shot’ ของผกก. Snow สื่อถึงการ(ขนย้ายตู้หนังสือ)นำสู่เข้าเรื่องราว แต่เพราะกล้องไม่ได้ให้ความสนใจ โฟกัส ติดตาม ด้วยลักษณะของ ‘mechanical eye’ เพียงค่อยๆซูมเข้า ดำเนินไปเรื่อยๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามนุษย์หาใช่พระเอกของหนัง (Protagonist) ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรใดๆ (นักวิจารณ์บางคนเรียกว่าเป็นการ ‘de-humanized’)

ห้องแห่งนี้จากเคย(เกือบ)ว่างเปล่า การขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของ ตู้หนังสือ สามารถมองว่าคือจุดกำเนิด เริ่มต้น(ชีวิต)ใหม่ บางสิ่งอย่างรุกล้ำเข้ามาในร่างกาย (ทารก?) จิตวิญญาณ ให้เกิดความครุ่นคิด หมกมุ่นยึดติด (จะมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนิยม/บริโภคนิยมก็ได้เช่นกัน) และกลายเป็นองค์ประกอบ/ส่วนหนึ่งเดียวกับห้องแห่งนี้

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หญิงสาวปิดวิทยุพอดิบพอดีกับคำร้อง “I’m going to Strawberry Fields”. จากนั้นไม่นานพบเห็นการกลับสีภาพ Invert Color (หรือ Negative Photography) ให้ตรงกันข้ามกับสีที่เป็นอยู่ ตามด้วยเสียงรถราภายนอก กลายมาเป็นเสียงสูง (High-Pitched Sound) ที่จะค่อยๆไต่ไล่ระดับขึ้นเรื่อยๆ … นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของหนัง เริ่มแสดงให้เห็นถึงการบิดเบือน เลือนลาง ซ้อนทับระหว่างความจริง-ภาพลวง พบเห็นสิ่งผิดแปลกแตกต่างจากสิ่งปกติทั่วไป

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ภายหลังจากที่ชายแปลกหน้าทรุดล้มลง (น่าจะเสียชีวิต) ไม่นานนักจะเริ่มพบเห็นภาพซ้อน สามารถสื่อถึงความบิดเบือน (Distortion) ราวกับโลกอีกใบ (Otherworldliness) ที่ซุกซ่อน ซ้อนทับ บางสิ่งอย่างมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า … วิญญาณ(ผู้ตาย)ล่องลอยออกจากร่าง

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

มีขณะหนึ่งที่อาจสร้างความฉงนสงสัย/หลอกหลอนให้หลายๆคน คือเหตุการณ์เมื่อหญิงสาวเข้ามาพบศพชายในห้องพัก ยกโทรศัพท์ติดต่อตำรวจ แต่หลังจากวางหูแล้วเดินจากไป มันเหมือนมีภาพซ้อน เลือนลาง (Superimposition) พบเห็นเธอกำลังยกหูคุยโทรศัพท์อีกครั้ง?

มีนักวิจารณ์ตีความการใช้เทคนิคซ้อนทับ ‘Superimposition’ สะท้อนความสับสน กังวล ไม่รู้จะทำอะไรยังไงเมื่อพบเห็นคนตายในห้องพักของตนเอง, แต่ผมครุ่นคิดว่าซีเควนซ์นี้ ต้องการจะซ้อนทับภาพความจริง (Fact) และลวงตา (Illusion) ซึ่งพอดิบพอดีกับการพบเจอคนตาย วิญญาณล่องลอยออกจากร่าง สามารถสื่อถึงโลกหลังความตาย รูปธรรมแปรสภาพสู่นามธรรม

การเลือกใช้ภาพคลื่นทะเล ผกก. Snow ได้แรงบันดาลใจจาก Jean-Baptiste Joseph Fourier (1768-1830) นักฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ สัญชาติฝรั่งเศส ผู้ค้นพบสมการของคลื่นไซน์ (Sine Wave) อันนำไปสู่อนุกรมฟูรีเย (Fourier series) สำหรับอธิบายการเคลื่อนไหวของคลื่น

แซว: แต่คนส่วนใหญ่มักจดจำ Joseph Fourier จากการค้นพบปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เสียมากกว่า

The photograph of the wave that’s in Wavelength comes from Fourier’s wave theory, where you break down any sound into a series of pure tones, and any picture into a series of pure wave forms. The picture of the wave was put in as a way of stating one of the formal intentions of the film, which was to break down the action into its smallest possible components and then to put them back together again. The photograph of the wave is a way of visualizing this idea of breaking something down to its component parts. Michael Snow อธิบายเหตุผลของการเลือกใช้ภาพคลื่นทะเล

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ในส่วนตัดต่อและบันทึกเสียง เปลี่ยนมาทำที่ New York City หลายคนน่าจะตระหนักว่าหนังไม่ใช่การ ‘Slow Zoom-in’ ค่อยๆขยับเคลื่อนเข้าไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ‘Long Take’ ระยะเวลา 45 นาที แต่เต็มไปด้วยการแทรกภาพ จอขาว สลับเปลี่ยนเฉดสีสัน ฯ เพื่อให้ผู้สัมผัสถึงกาลเวลา ‘Time-lapse’ ที่ผันแปรเปลี่ยน (ในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์) และถ้าใครช่างสังเกตจะพบการวนซ้ำ ‘Repeatition’ ก่อนที่การซูมจะไปถึงรูปภาพคลื่นทะเลบนฝาผนัง

ส่วนของการออกแบบเสียง (Sound Design) ก็ยังเป็นงานของผกก. Snow (สรุปคือเหมารวมโปรดิวเซอร์, กำกับ, เขียนบท, ถ่ายภาพ, ตัดต่อ, ออกแบบเสียง) ช่วงแรกๆยังได้ยินเสียงพูดคุยสนทนา และรถราจากภายนอกห้องพัก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งๆสรรพเสียงทั้งหมดกลับกลายเป็น ‘Sound Effect’ ใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ ‘Doppler effect’ ด้วยการเปิดเครื่องเล่นเสียงสูง (High-Pitched Sound) ตั้งแต่ความถี่ต่ำสุด 30 Hz จนสูงสุด(เท่าที่เครื่องเล่นจะสามารถส่งเสียงออกมา) 1,200 Hz จากนั้นขยับไมโครโฟนเข้าใกล้-ออกห่าง เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนเสียงกำลังเคลื่อนที่พานผ่านบางสิ่งอย่าง

(ทีแรกผมนึกว่าหนังใช้เทคนิค ‘Shepard tone’ ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียงแบบเดียวกับ Dunkirk (2017) แต่เพิ่งมาค้นพบว่าเสียงลวงหูดังกล่าวเพิ่งถูกพัฒนาช่วงทศวรรษ 80s)

I was trying to create some interesting sound effects and I discovered I could get an interesting Doppler effect if I had a track that had nothing but hiss on it and then switched on a noise gate every time a sound appeared. The result was that you would hear the sound followed by the hiss going through the noise gate, and the frequency of the hiss would rise and fall in a way that suggested motion. The sound on Wavelength is a sine wave which goes from its lowest (30 Hz) to its highest (1,200 Hz) in 40 minutes. I used a 30-cycle wave as the basic sound, which then was continuously changing pitch. And the change of pitch was effected by moving the microphone in a certain way, which gave the Doppler effect. The moving of the microphone also gave the sense of space – it wasn’t a sound that was coming from a particular point, it was moving around the room.

ลักษณะของเสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ที่มีความติดต่อเนื่อง รู้สึกเหมือนไล่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เพื่อให้สอดคล้องเทคนิคการค่อยๆซูมเข้าหา ‘Slow Zoom-in’ มอบสัมผัสนามธรรม จับต้องไม่ได้ เหมือนถูกสะกดจิต ใจจดใจจ่อ ราวกับจะนำพาผู้ชมพุ่งเข้าสู่โลกต่างมิติ ซึ่งเมื่อกล้องซูมมาถึงรูปภาพคลื่นทะเล ทุกสิ่งอย่างก็พลันเงียบสงัด แต่สามารถสื่อถึงระดับเสียงที่สูงเกินกว่าประสาทสัมผัสทางหูจะได้ยิน

I wanted the sound to be almost abstract. I wanted to make a sound that was continuous and sustained so that there would be no distractions. It has a kind of hypnotic quality, and you listen to it and it takes you into another dimension.

คำว่า Wavelength แปลตรงตัวว่า ความยาวคลื่น ระยะทางระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ถัดกัน เฟสตรงกัน ส่วนซ้ำกันของคลื่น ครบรอบ เวียนมาบรรจบ ใช้สัญลักษณ์อักษรกรีกแลมบ์ดา (λ) หน่วยเมตร (meter) มีค่าเท่ากับความเร็ว (เมตร/วินาที) หารด้วยความถี่ (Hertz) … λ = v/f

I wanted to make a summation of my nervous system, religious inklings, and aesthetic ideas. I was thinking of, planning for a time monument in which the beauty and sadness of equivalence would be celebrated, thinking of trying to make a definitive statement of pure Film space and time, a balancing of “illusion” and “fact,” all about seeing. Michael Snow ให้คำอธิบายถึง Wavelength (1967)

นอกจากคลื่นทะเล(รูปภาพติดอยู่บนฝาผนัง)ที่ล้อกับชื่อหนัง Wavelength รายละเอียดอื่นๆอย่างคลื่นแสง คลื่นเสียง สิ่งต่างๆที่มนุษย์มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ล้วนสามารถสื่อถึงคลื่นความถี่ ที่มีความติดต่อเนื่อง เชื่อมโยงใย ดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด รวมถึงวัฏจักรชีวิต เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ในหนังใช้เป็น เกิด-ตาย (ทางกายภาพ), ความรัก-ความรุนแรง (ทางจิตภาพ) ก็ได้กระมัง

I had the feeling that the length of the film would affect people. That they would get impatient, they would get tired, they would get bored, and then things would start happening again.

I thought of it as a metaphor. You know, light waves, sound waves, the wavelength of a person, the wavelength of an activity. It’s a term that can be applied to many different things, and it seemed appropriate for a film that deals with perception and communication.

I like the fact that the word ‘wavelength’ suggests something that’s continuous and unbroken. It’s a nice counterpoint to the fragmented nature of the film, which is made up of all these separate shots and sounds.

ผมมองว่า Wavelength (1967) คือความพยายามเปิดมุมมองโลกทัศน์ผู้ชม (หน้าต่างเคยเปิดออก, ความตายชายแปลกหน้า(วิญญาณล่องลอยออกจากร่าง), กล้องค่อยๆซูมเข้าหาภาพมหาสมุทร ฯ) ไม่ใช่แค่การทดลองรูปแบบใหม่กับสื่อภาพยนตร์ ยังให้เกิดความตระหนักถึงสิ่งอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอยู่จริง ขึ้นกับตัวเราจักสามารถขบครุ่นคิดวิเคราะห์ มองลึกลงไปถึงระดับคลื่นความถี่ จากมหภาคสู่จุลภาค รูปธรรมสู่นามธรรม ภายนอกสู่ภายใน ร่างกายสู่จิตจิตวิญญาณ ฯลฯ พบเห็นความเชื่อมโยงถึงกันของทุกสรรพสิ่งอย่างในสากลจักรวาล

นักวิจารณ์มีคำเรียกภาพยนตร์แบบ Wavelength (1967) ให้ชื่อว่า ‘structural film’ แถมยกย่องผกก. Snow เป็นครูใหญ่ “The Dean of Structural Filmmakers”. ซึ่งลักษณะหนังโครงสร้าง(ทดลอง)มักประกอบด้วย

  • ตั้งกล้องเพียงตำแหน่งเดียว ไม่มีการขยับเคลื่อนไหว (Fixed Camera Position)
    • ในกรณีของ Wavelength (1967) แม้จะมีการซูมมิ่ง ทำให้ภาพเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ถือว่าตั้งกล้องตำแหน่งเดิมไม่ได้ขยับเคลื่อนย้ายใดๆ
  • การจัดวางองค์ประกอบภาพเดียว (Fixed Framing)
  • ฉายภาพ-เสียงวนซ้ำไปซ้ำมา (Repetition)
  • ระยะเวลามักมีความยาวนาน บางครั้งถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ ไม่ค่อยเน้นการตัดต่อ (Minimal Editing)

วัตถุประสงค์ของ ‘structural film’ คือการสำรวจความเป็นไปได้ ท้าทายขีดจำกัดสื่อภาพยนตร์ ด้วยเทคนิค วิธีการแตกต่างจากเรื่องเล่าปกติทั่วไป เพราะผู้ชมสามารถตระหนักถึง’โครงสร้าง’ได้ตั้งแต่ฉากแรกๆ การรับชมจึงใช้ต้องประสาทสัมผัส ความช่างสังเกต แล้วนำมาขบครุ่นคิดวิเคราะห์ เพื่อเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร “cinema of the mind rather than the eye”.


เมื่อตอนหนังออกฉาย ได้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์อย่างดีล้นหลาม (แต่ผู้ชมส่วนใหญ่คงดูไม่รู้เรื่อง) ถึงขนาดมีคำเรียก “a landmark event in cinema”. ถูกนำมาเปรียบเทียบโคตรผลงาน Avant-Garde อย่าง Ballet Mecanique (1924), Un Chien Andalou (1929), Meshes of the Afternoon (1943), Mothlight (1963) และ Scorpio Rising (1964)

Michael Snow’s Wavelength is a landmark film. For the first time since I don’t know when, a film has been made which uses the possibilities of the medium in a radical, new way, without in any way violating the integrity of the medium. นักวิจารณ์/ผู้สร้างภาพยนตร์ Jonas Mekas เขียนลงนิตยสาร The Village Voice
The film’s 45-minute zoom shot, which gradually reveals the contents of an empty loft, is a tour-de-force of formal innovation and conceptual complexity. It challenges us to rethink our assumptions about cinema and the ways in which we experience the world around us. Wavelength is a landmark work of art that opened up new possibilities for cinema as a medium of personal and social transformation.

It is the first post-Warhol, post-Minimal movie; one of the few films to engage those higher conceptual orders which occupy modern painting and sculpture. It has rightly been described as a triumph of contemplative cinema.

นักวิจารณ์ Gene Youngblood ในหนังสือ Expanded Cinema (1970)

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการโหวตติดอันดับ “The Greatest Films of All Time” จากนิตยสาร Sight & Sound มาแล้วถึงสองครั้งด้วยกัน

  • Sight & Sound: Critics’s Poll 2012 อันดับ 102 (ร่วม)
  • Sight & Sound: Critics’s Poll 2022 อันดับ 196 (ร่วม)

น่าเสียดายที่คุณภาพหนังใน Youtube หรือเว็บ Archive.org ไม่ค่อยดีเลิศสักเท่าไหร่ พบเห็นเพียง DVD ยังไม่มีข่าวคราวการบูรณะ แต่เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสอยู่บ้างละ

ขณะที่หนังทดลองของ Andy Warhol เน้นความเรียบง่าย บันทึกภาพกิจวัตรประจำวันทั่วๆไป ให้อิสรภาพผู้ชมในการขบครุ่นคิดตีความ, ผลงานของผกก. Snow มองผิวเผินเหมือนไม่มีอะไร แต่กลับโคตรๆลึกล้ำ สลับซับซ้อน ซ่อนรายละเอียด ท้าทายศักยภาพครุ่นคิดวิเคราะห์ มองหาวัตถุประสงค์/เป้าหมายแท้จริง สมควรอย่างยิ่งต่อการยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ต้องปีนป่ายบันไดสูงมากๆถึงพบเห็นสรวงสวรรค์ ศิลปะขั้นสูง (High Art)

ระยะเวลา 45 นาที มันอาจเยิ่นยาวนานเกินไปสำหรับคนรุ่นใหม่ ผกก. Snow เลยประชดประชันด้วยการตัดต่อใหม่ WVLNT: Wavelength For Those Who Don’t Have The Time (2003) เหลือความยาว 15 นาที แต่แนะนำว่าอย่าเสียเวลาหาดูเลยนะครับ มันคงสูญอรรถรสในการรับชมอย่างมากๆ

จัดเรต 13+ กับภาพและเสียงที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้า ผู้ชมทั่วไปคงดูไม่รู้เรื่อง

คำโปรย | Wavelength โคตรหนังทดลองของ Robert Snow หลายคนอาจดูไม่รู้เรื่อง แต่รู้สึกเหมือนถูกดึงดูดเข้าไป ทั้งภาพ เสียง และจิตวิญญาณ

คุณภาพ | มาสเตอร์พีซ ส่วนตัว | ถูกดึงดูด

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Dont Look Back (1967) : D. A. Pennebaker ♥♥♥♡

Bob Dylan กลายเป็นตำนานเพราะอะไร? บทเพลงไพเราะ? เนื้อคำร้องแฝงข้อคิด? หรืออุปนิสัยหัวขบถ ดื้อรั้น สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความต้องการส่วนตน? รับชมสารคดีเรื่องนี้อาจทำให้คุณตระหนักถึงตัวตนแท้จริง ที่ไม่ได้น่ายกย่องสรรเสริญสักเท่าไหร่

มนุษย์ศตวรรษนี้มักทำการ ‘Idolize’ เซเลบริตี้ ผู้มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง หน้าตาหล่อเหลา ภาพลักษณ์ภายนอกดูดี ยกย่องสรรเสริญใครก็ตามที่สามารถสรรค์สร้างผลงาน/กระทำสิ่งตอบสนองความสำราญของคนหมู่มาก … หมดสิ้นการเชิดชูคนดีมีศีลธรรม เพราะยุคสมัยนี้ใครอ้างว่าฉันเป็นคนดี แม้งปากว่าตาขยิบกันทั้งนั้น!

รับชมสารคดี Dont Look Back (1967) อาจทำให้ใครหลายคนเกิดความตระหนักถึง Bob Dylan ที่แม้ทำเพลงเพราะๆมากมาย Like a Rolling Stone, Blowin’ in the Wind, The Times They Are a-Changin’ ฯ แต่อุปนิสัยใจคอ พฤติกรรมแสดงออก (เมื่อสมัยยังละอ่อนวัย) ไม่ต่างจากไอ้เด็กเมื่อวานซืน เต็มไปด้วยความดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น ทุกสิ่งอย่างต้องหมุนรอบตนเอง

the mischief—antic press conferences (“My real message? Keep a good head and always carry a lightbulb”), hip pranks (“Donovan, our target. He’s our target for tomorrow”), witless officialdom (“Who is in charge of this room?”), surreal concert escapes (“Will you get that girl off our car, please?”), Magoo-ish hacks (“Your name, please?” “Joan Baez.” “I didn’t recognize you, I’m sorry . . . It’s nice to see you. I’ve been looking for you all day”), giggly schoolkids (“Do you have any brothers or sisters?”) etc. นักวิจารณ์ Robert Polito กล่าวถึงพฤติกรรมทรามๆของ Bob Dylan ที่พบเห็นใน Dont Look Back (1967)

เปรียบเทียบวงการภาพยนตร์ คงคล้ายๆผู้กำกับดังอย่าง Jean-Luc Godard, Bernardo Bertolucci, Lars Von Trier, Roman Polanski, Woody Allen ฯ (รวมถึงโปรดิวเซอร์ Harvey Weinstein) แม้ผลงานของพวกเขาจะได้รับการยกย่องสรรเสริญระดับนานาชาติ แต่ในแง่ความเป็นมนุษย์ ลับหลังเต็มไปด้วยความฉ้อฉล สัปดล เมื่อข้อเท็จจริงเหล่านั้นได้ถูกเปิดโปง เรายังสามารถ”มองย้อนกลับ”ไปชื่นชมผลงานเหล่านั้นได้อยู่หรือเปล่า?

แม้การรับชม Dont Look Back (1967) จะทำให้ผมรู้สึกสูญสิ้นความสนใจในตัว Bob Dylan แต่ลีลาการนำเสนอสารคดีเรื่องนี้ของผู้กำกับ D. A. Pennebaker มีคำเรียก “direct cinema” ต้องบอกเลยว่าน่าอึ่งทึ่ง สร้างความประทับใจอย่างมากๆ ทั้งๆมีแค่การบันทึกภาพกิจวัตร พูดคุยสนทนา ขับร้อง-เล่นดนตรี แต่สามารถร้อยเรียง ปะติดปะต่อ ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงธาตุแท้ตัวตน สิ่งที่ผู้สร้างค้นพบเห็นในตัวศิลปิน … ติดอันดับ 9 ชาร์ท Sight & Sound: Greatest Documentaries of All Time เมื่อปี ค.ศ. 2014 อาจจะดูสูงไปนิด แต่สะท้อนอิทธิพลสารคดีเรื่องนี้ต่อผู้ชมในวงกว้างไม่น้อยทีเดียว


Donn Alan Pennebaker (1925-2019) ผู้กำกับสารคดี สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Evanston, Illinois โตขึ้นอาสาสมัครทหารเรือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, จากนั้นเข้าศึกษาคณะวิศวกรรม Yale University จบออกมาร่วมเปิดบริษัท Electronic Engineering แต่ไม่นานก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ได้แรงบันดาลใจจาก Francis Thompson ตัดสินใจลาออกมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เริ่มต้นทำหนังสั้น มีชื่อเสียงจากถ่ายทำสารคดี Primary (1960) และ Crisis (1963) ให้ปธน. John F. Kennedy

ช่วงต้นปี ค.ศ. 1965 ผกก. Panebaker ได้รับการติดต่อจาก Albert Grossman ผู้จัดการของ Bob Dylan ชักชวนให้ร่วมออกทัวร์ประเทศอังกฤษ บันทึกสารคดีคอนเสิร์ตระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 แต่หลังจากมีโอกาสพบเจอ พูดคุย รับรู้จัก Dylan (ขณะนั้นเพิ่งเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง) เลยปรับเปลี่ยนมาเป็นการบันทึกภาพกิจวัตร ช่วงเวลาว่างๆ ระหว่างสัมภาษณ์ เรื่องวุ่นๆก่อน-หลังทำการแสดง

I was interested in real people and why they did things, or how they did things. And the only way to find that out was to follow them. I didn’t know him [Dylan] that well, I didn’t know who he was really. But the idea of going with a musician on a tour and being able to photograph him – both when he performed and when he didn’t perform – that seemed to me an interesting idea.

Dylan is an interesting person to watch because he is constantly creating himself, and then standing back and trying to witness it. I was intrigued by his Byronic quality. I decided I wasn’t going to make a music film at all. I was going to make a film about this person. I thought, years from now, people will want to know what he was like.

  1. A. Pennebaker

วิธัการทำงานของ Pennebaker ถือกล้อง 16mm พร้อมไมค์ ไม่จำเป็นต้องใช้ทีมงาน ไม่มีการจัดแสง ถือฉาก ตอกสเลท ทำทุกสิ่งอย่าง ‘one-man-cinema’ ด้วยตัวคนเดียวทั้งหมด!

If you’re only one person and you’re shooting with a camera that you built yourself, it’s not so expensive. You didn’t need a crew. You didn’t need lights because the film was pretty fast. You didn’t need any extra things. You didn’t have to have big studios and expensive makeup and all the things that Hollywood had put on to the films, because they weren’t necessary. And that’s what I did, and that’s what we still do.

เกร็ด: แนวคิด “direct cinema” หรือ “observational cinema” คือการบันทึกภาพในลักษณะผู้สังเกตการณ์ มุมมองบุคคลที่สาม ไม่มีการจัดแสง จัดฉาก จัดทิศทางมุมกล้อง หรือสัมภาษณ์ถามโดยใครก็ไม่รู้ (แบบที่สารคดีแนวพูดคุยสัมภาษณ์นิยมทำกัน) ปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินไปตามสภาพความเป็นจริง


จากนี้เป็นการประมวลผลเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งลำดับเรื่องราวจะไม่ได้ไล่เรียงตามเวลา (Non-Chronological order) มักมีการกระโดดไปกระโดดมา แถมหลายต่อหลายครั้งแทรกภาพการแสดงคอนเสิร์ต ณ Royal Albert Hall ตามแต่อารมณ์ของผู้กำกับ Pennebaker (เป็นผู้ตัดต่อด้วยตนเอง)

  • อารัมบท, Bob Dylan ยืนเปิดข้อความที่เขียนลงบนกระดาษ โดยนำจากแต่ละท่อนของบทเพลง Subterranean Homesick Blues และบุคคลยืนสนทนาเบื้องหลังคือ Allen Ginsberg และ Bob Neuwirth
    • ซีเควนซ์นี้ถือเป็น ‘Iconic’ ได้รับการพูดกล่าวถึงมากสุดๆของหนัง และเห็นว่า Dylan คือคนเสนอแนะนำให้ผกก. Pennebaker เห็นดีเห็นชอบด้วย แต่กว่าจะได้ถ่ายทำก็เมื่อก่อนเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา
    • เทคแรกถ่ายทำหน้าโรงแรมที่พวกเขาพักอาศัย แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขับไล่, ส่วนเทคสามถ่ายทำบนดาดฟ้า(ไม่รู้แห่งหนไหน) แล้วกระดาษทั้งหมดก็ปลิดปลิวสูญหายไปกับสายลม
  • Bob Dylan และคณะ เดินทางมาถึงประเทศอังกฤษ ได้รับการต้อนรับจากแฟนๆตั้งแต่สนามบิน จากนั้นให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ตอบคำถามด้วยความยียวนกวนบาทา
    • เมื่อมีนักข่าวสอบถาม “How did it all begin for you, Bob?”
      • (Flashback) จะมีการแทรกภาพฟุตเทจสามปีก่อนหน้า วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 ที่งาน Voters’ Registration Rally ณ Greenwood, Mississippi พบเห็น Dylan กำลังขับร้องเพลง Only a Pawn in Their Game (ถ่ายทำโดย Ed Emshwiller)
      • (Flashforward) หลังจบเพลงจะมีการตัดไปภาพการแสดงคอนเสิร์ตที่ Royal Albert Hall ขับร้องบทเพลง The Times They Are A-Changin’
  • กิจวัตรวุ่นๆของ Dylan พูดคุยกับแฟนๆ, ผู้จัดการต่อล้อต่อเถียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ, ทำการแสดงที่ Merseyside ไมค์ไม่ดังระหว่างขับร้องบทเพลง The Times They Are A-Changin’
  • บทเพลงที่ Joan Baez ขับร้องประกอบด้วย Sally Go Round the Roses, Percy’s Song, Love Is Just a Four-Letter Word และเมื่อเธอพูดคุยกับ Dylan บอกว่า “If you finish it I’ll sing it on a record บทเพลงนั้นคือ Any Day Now บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1968
    • Marianne Faithfull นั่งอยู่ข้างๆ Dylan ขณะกำลังใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์บทความ lternatives To College ให้กับนิตยสาร Esquire magazine แต่สุดท้ายไม่ได้รับการตีพิมพ์จนกระทั่งสองทศวรรษให้หลัง
    • สำหรับคนอยากอ่านบทความดังกล่าว: https://www.angelfire.com/ky/tsalagi/alternatives.html
  • ผู้จัดการ Albert Grossman ต่อรองเรื่องค่าตัวกับนายหน้า Tito Burns เรียกร้องอยากได้ $2,000 เหรียญ แต่จนแล้วจนรอด $1,500 ยังไม่รู้จะถึงหรือเปล่า
  • ช่วงเวลาแห่งการพบปะผู้คนมากมาย
    • Dylan ต่อร้องต่อเถียง ‘บูลลี่’ นักศึกษาวิทยาศาสตร์ชื่อ Terry Ellis (ภายหลังกลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลง Chrysalis Records)
    • พบเจอหญิงสาวผู้ดีอังกฤษที่ใช้ชื่อว่า High Sheriff’s Lady
    • พบเจอ Alan Price (อดีตสมาชิกวง The Animals) เล่นเปียโนบทเพลง Little Things, แล้วคั่นด้วยคอนเสิร์ต Dylan ขับร้องบทเพลง Don’t Think Twice, It’s All Right
    • พบเจอ Donovan มีการขับร้องบทเพลง It’s All Over Now, Baby Blue ตามด้วย To Sing for You
  • Dylan เดินทางไปยัง Royal Albert Hall เพื่อเตรียมตัวก่อนทำการแสดง
  • ต่อล้อต่อเถียงกับนักข่าว Horace Freeland Judson จากนิตยสาร TIME
  • ทำการแสดงบทเพลง The Times They Are A-Changin’, Talkin’ World War III Blues, It’s Alright, Ma (I’m Only Bleeding), Gates Of Eden, Love Minus Zero/No Limit
  • หลังเสร็จสิ้นการแสดง Dylan ต้องรีบหาทางเผ่นหนีแฟนๆ ขึ้นรถกลับโรงแรม และได้รับการค้นพบว่าถูกนักข่าวตีตรา ‘Anarchrist Singer’

Bob Dylan ชื่อจริง Robert Dylan ชื่อเกิด Robert Allen Zimmerman (เกิดปี 1941) นักร้อง/นักแต่งเพลง เจ้าของฉายา ‘ราชาแห่งโฟล์ก’ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Duluth, Minnesota ตั้งแต่เด็กชื่นชอบฟังเพลงจากวิทยุ หลงใหลใน Blue, Country, Rock and Roll, ช่วงเรียนมัธยมร่วมก่อตั้งวงดนตรีกับเพื่อนๆ สามารถสอบเข้า University of Minnesota แต่แค่ไม่ถึงปีก็ลาออก เพื่อไปแสดงดนตรีตามคลับ ผับบาร์ จนกระทั่งมีโอกาสร่วมบันทึกเสียงกับ Sonny Terry อัลบัม Midnight Special (1962) นั่นคือจุดเริ่มต้นให้ได้เซ็นสัญญา Columbia Records และออกอัลบัมแรก Bob Dylan (1962)

ผลงานเพลงในยุคแรกๆของ Dylan มักมีลักษณะต่อต้านกระแสนิยม ทั้งในแง่สไตล์การเล่นดนตรี พลิกฟื้น American Folk Song (ยุคสมัยนั้นดนตรี Pop กำลังได้รับความนิยม) รวมถึงเนื้อคำร้องมีการแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาตรงๆ วิพากย์วิจารณ์การทำงานรัฐบาล สภาพสังคม สิทธิมนุษยชน ต่อต้านสงคราม ฯ นั่นเองทำให้ผลงานของ Dylan ค่อยๆได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงกว้าง

บทเพลงของ Bob Dylan เนื้อคำร้องมักมีความสอดคล้องจอง เหมือนสัมผัสนอก-ในบทกวี รวมถึงวิธีออกเสียง บางครั้งอ้อยอิ่ง บางครั้งเร่งรีบ ดัง-ค่อย สูง-ต่ำ ลักษณะคล้ายทำนองเสนาะ(ของภาษาอังกฤษ) นั่นคือลีลาที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ฟังแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เบาสบาย ลื่นหู แม้อาจไม่รู้พร่ำพูดอะไร แค่จับใจความได้บางคำ (แบบเดียวกับอารัมบท เลือกเขียนเฉพาะคำสำคัญๆในแต่ละท่อน) ก็เพียงพอแล้วที่จะ’ฟิน’ไปกับบทเพลง

ผมรู้สึกว่า Dylan ไม่ได้ทำเพลงเพื่อใครนอกจากตัวตนเอง ต้องการระบายความอึดอัดอั้นต่อทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง สังคม สงคราม การเมือง ซึ่งสะท้อนสภาพยุคสมัยนั้นที่มีความฟ่อนเฟะ เน่าเละ บิดเบี้ยวคอรัปชั่น ผู้ฟังย่อมบังเกิดอารมณ์ร่วม ราวกับได้พบเจอบุคคลพานผ่านอะไรมาเหมือนกัน เป็นตัวตายตัวแทน สถานที่พึ่งพักพิง สำหรับหลบหลีกหนี (Escapist) จากวิถีเลวร้ายของโลกใบนี้

มีนักข่าวสอบถามผกก. Pennebaker ว่าการได้รับรู้จัก Bob Dylan ถือเป็นศิลปินประเภท “Once-in-a-Lifetime” หรือไม่? แน่นอนว่าในตอนนั้นย่อมไม่มีใครตอบได้ เขามองว่าคือวัยรุ่นสร้างตัว อยู่ในช่วงกำลังมองหาเป้าหมาย ทิศทางชีวิต นั่นคือเหตุผลในการทำ Dont Look Back (1967) ด้วยจุดประสงค์บันทึกภาพ Dylan ไม่ใช่สารคดีการแสดงคอนเสิร์ต

I never thought such thoughts. What I thought was, this person is trying to generate himself. He’s trying to figure out who he is and what he wants to do. So I filmed him talking to people and listening to people. When the concerts came, I would only shoot little parts of them. I didn’t want it to be a music film. I wanted it to be a film about a person who was finding out who he was.
  1. A. Pennebaker

ตัวตนของ Dylan ที่ปรากฎพบเห็นใน Dont Look Back (1967) ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะสร้างอคติให้ผู้ชม แม้แต่ผกก. Pennebaker ก็ตระหนักถึงจุดนี้ แต่พวกเขา(และ Dylan)ไม่ยี่หร่าอะไรกับเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ (ก็อย่างคำพูดที่ Dylan กล่าวถึงบทสัมภาษณ์/วิจารณ์เหล่านั้น มันเขียนเพื่อขายข่าว เต็มไปด้วยคำโป้ปดหลอกลวง ไม่มีความน่าเชื่อถือเลยสักนิด!) สำหรับบุคคลที่ไม่เคยพบเจอ พูดคุย รับรู้จัก แล้วจู่ๆไปวิพากย์วิจารณ์เสียๆหายๆเช่นนั้น มันใช่เรื่องเสียทีไหน เอามาใส่ใจทำไม

Some people thought he looked like a total shit, you know. I mean, people make up their own mind about what he is like from watching the film and that’s OK. I can’t change that.

ผม(ในฐานะนักวิจารณ์)มองว่าการวิพากย์วิจารณ์ ไม่ใช่คำด่าทอ ตำหนิต่อว่า หรือพยายามสร้างอคติให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ แต่คือมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย เหมาะสม-ไม่เหมาะสม คำแนะนำผู้อ่านให้เกิดวิจารณญาณในการรับชม/รับฟัง อย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ที่นำเสนอตัวตนของ Dylan พบเห็นชายหนุ่มหัวขบถ นิสัยดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ บลา บลา บลา มันมีความชัดเจน ตรงไปตรงมาอย่างสุดแล้วนะ!

สิ่งน่าขบขันที่สุดก็คือ Dylan บอกว่าไม่สนใจเสียงเห่าหอนของหมู่หมากาไก่ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับนำเอาคำวิพากย์วิจารณ์นั้นมาหมกมุ่นครุ่นคิดมาก จริงจังเสียจนเกิดความเครียด เก็บกดดัน เมื่อถึงจุดๆหนึ่งในชีวิตจึงปฏิเสธให้สัมภาษณ์ ออกสื่อ ปิดกั้นตัวเอง สร้างกำแพงขึ้นมาห้อมล้อมรอบ แต่งเพลงทศวรรษต่อๆมาโดยไม่ยี่หร่าสิ่งต่างๆรอบข้างอีกต่อไป … ทิศทางชีวิตของ Dylan จะว่าไปแทบไม่แตกต่างผกก. Jean-Luc Godard

ชื่อหนัง Dont Look Back (ไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว ‘ (apostrophe) ตรงคำว่า Don’t) ถ้าตามสารคดีจะสื่อถึงลักษณะอุปนิสัยของศิลปิน Bob Dylan ที่ไม่ค่อยสนใจในสิ่งต่างๆรอบข้าง บทสัมภาษณ์ รวมถึงเรื่องราวเกิดขึ้นในอดีต มีความเป็นตัวของตนเอง กระทำสิ่งตอบสนองความสนใจ และมองไปยังอนาคต วันข้างหน้า

แต่ผมตีความชื่อหนัง Dont Look Back เป็นคำกล่าวกับผู้ชม บางครั้งเราไม่ควรมองย้อนกลับไปขุดคุ้ยเรื่องราวจากอดีต เพราะข้อเท็จจริงบางอย่างอาจทำลายทุกสิ่งที่เคยครุ่นคิดจินตนาการ อย่างการรับรู้จักธาตุแท้ตัวตนของ Bob Dylan ถ้าไม่หลงใหลคลั่งไคล้ นายคนนี้ก็แค่ไอ้เด็กเมื่อวานซืน


Dont Look Back is really about fame and how it menaces art, about the press and how it categorizes, bowdlerizes, sterilizes, universalizes or conventionalizes an original like Dylan into something it can dimly understand. นักวิจารณ์จากนิตยสาร Newsweek

ใครกันจะอยากรับชมภาพยนตร์นำเสนอศิลปินนิสัยหัวขบถ ดื้อรั้น แถมยังไม่ค่อยมีชื่อเสียงสักเท่าไหร่ นั่นเลยทำให้ไม่มีผู้จัดจำหน่ายแห่งหนไหนให้ความสนใจ จนกระทั่งวันหนึ่งผกก. Pennebaker ได้รับการติดต่อจากชายแปลกหน้า ซึ่งเป็นเจ้าของ ‘porn houses’ ชื่อว่า Presidio Theatre ณ San Francisco

one day, a guy came to me and said, ‘I understand you have a film I should look at.’ I was willing to show it to anyone at that point. So he came up and looked at it, and after, he said, ‘It’s just what I’m looking for—it looks like a porn film, but it’s not.’ He had a whole big string of porn houses all over the West, and I think he was trying to get out of the business, because of his wife or something. He gave it the largest theater he had, the Presidio in San Francisco. I might never have gotten it distributed if it hadn’t been for that guy.
  1. A. Pennebaker

การมีโอกาสฉายยัง San Francisco ทำให้หนังได้รับการพูดถึง ค่อยๆเป็นรู้จักในวงกว้าง ด้วยทุนสร้างกระจิดริด (เรียกว่าแทบไม่มี) กอปรกับความนิยมในตัว Bob Dylan เพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี ไม่นานนักพวกเขาก็สามารถกอบโกยกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

นั่นเองทำให้ Dylan เกิดความอิจฉาริษยาสารคดีเรื่องนี้ (เพราะเขาไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์สักแดงจาก Dont Look Back (1967)) เลยติดต่อผกก. Pennebaker ให้มาเป็นตากล้องถ่ายทำ Eat the Document (1966) ด้วยทิศทางกำกับของ(Dylan)ตนเอง แต่เพราะความอ่อนด้อยประสบการณ์ ไม่ได้มีองค์ความรู้ในสื่อภาพยนตร์ ผลลัพท์คงไม่น่าพึงพอใจเลยเก็บดองไว้ในโถหมัก จนกระทั่ง Martin Scorsese มีโอกาสสรรค์สร้าง No Direction Home (2005) ได้รับอนุญาตเข้าถึงฟุตเทจสารคดีเรื่องดังกล่าว

ปล. ผมยังไม่เคยรับชม No Direction Home (2005) ของผกก. Martin Scorsese แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นสารคดีเกี่ยวกับ Bob Dylan ยอดเยี่ยมที่สุดอย่างไร้ข้อกังขา และแนวโน้มอาจดีกว่า Dont Look Back (1967) ด้วยซ้ำนะ!

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะทั้งภาพและเสียง คุณภาพ 4K ผ่านการการตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ Pennebaker เห็นว่าต้นฉบับคุณภาพย่ำแย่มากๆ ใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะฟื้นฟูจนออกมาดูดี สามารถหาซื้อ Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel

This new digital transfer was created in 4K resolution on a Lasergraphics Director film scanner from the 16mm A/B original negative. Thousands of instances of dirt, debris, scratches, splices, and warps were manually removed using MTI’s DRS, while Digital Vision’s Phoenix was used for small dirt, grain, noise management, jitter, and flicker. The original monaural soundtrack was remastered at 24-bit from the original quarter-inch magnetic masters. Clicks, thumps, thumps, hiss, hum, and crackle were manually removed using Pro Tools HD, AudioCube’s integrated workstation, and iZotope RX4.

Transfer supervisors: D.A. Pennebaker/Chris Hegedus, Lee Kline, Frazer Pennebaker. Colorist: Jason Crump/Metropolis Post, New York.

คำโปรยบน Booklet ของแถม Blu-Ray ของค่าย Criterion Collection

เมื่อตอนรับชม I’m Not There (2007) ผมยังมองแค่ว่า Bob Dylan เป็นบุคคลที่มีความน่าสนใจ ไม่ต่างจากกิ้งก่าเปลี่ยนสี (แบบเดียวกับ Pablo Picasso ที่ก็ปรับเปลี่ยนสไตล์การวาดรูปไปตามยุคสมัย) แต่หลังจากรับชม Dont Look Back (1967) เพราะความโคตรๆสมจริง “direct cinema” ของผกก. Pennebaker เปิดเผยสันดาน ธาตุแท้ตัวตน เกิดความฉงนว่าบุคคลเช่นนี้นะหรือสมควรได้รับยกย่องระดับตำนาน … แต่เราอย่าไปตัดสิน Dylan จากแค่สารคดีเรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เพราะมันแค่บันทึกภาพเหตุการณ์ชีวิต ออกทัวร์คอนเสิร์ต แค่ไม่กี่สัปดาห์ เสี้ยวหนึ่งของชีวิตเท่านั้นเอง

ผมไม่ได้มีอคติใดๆต่อสารคดีเรื่องนี้นะครับ ตรงกันข้ามรู้สึกอึ้งทึ่งในอัจฉริยภาพของผกก. Pennebaker ใช้ประโยชน์จากข้อจำกัด รังสรรค์ผลงานที่ต้องถือว่าปฏิวัติวงการภาพยนตร์ นำเสนอแนวคิด วิธีการใหม่ๆ Rockumentaries ไม่ซ้ำแบบใคร

Dont Look Back (1967) เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับคนสองจำพวก หนึ่งคือแฟนเพลง/สาวกของ Bob Dylan และคนทำงานสายสารคดี ศึกษาแนวคิด วิธีการนำเสนอ โดยไม่รู้ตัวอาจได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆสำหรับการสรรค์สร้างผลงานศิลปะ

จัดเรต 15+ กับพฤติกรรมหัวขบถ โลกต้องหมุนรอบตัว Bob Dylan

คำโปรย | Dont Look Back สารคดีบุกเบิกอนาคตของ “direct cinema” ที่ทำให้ผู้ชมตระหนักว่า Bob Dylan ไม่ต่างจากไอ้เด็กเมื่อวานซืน

คุณภาพ | อัจฉริยะ ส่วนตัว | เป็นสารคดีที่เจ๋ง–แต่เห็นแต่ไอ้เด็กเมื่อวานซืน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Accident (1967) : Joseph Losey ♥♥♥♡

อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกทรยศหักหลัง เจ้าหญิงในอุดมคติกลับมีพฤติกรรมสำส่อน นั่นจักตราฝังความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes

ในการร่วมงานระหว่างผู้กำกับ Joseph Losey และนักเขียน Harold Pinter ภาพยนตร์ Accident (1967) เป็นเรื่องที่มักถูกมองข้าม (คะแนน IMDB แค่ 6.8) อาจเพราะความเชื่องช้าน่าหลับ ลำดับเรื่องราวที่กระโดดไป-มา (นำเสนอด้วยวิธีย้อนอดีต Flashback) และเนื้อหาเกี่ยวกับการทรยศหักหลัง คบชู้นอกใจ มักมากในกามคุณ ไม่เห็นมันจะมีสาระอะไร

แต่ถ้าใครเคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆเดียวกัน -ผมเองก็คนหนึ่งละ- หญิงสาวเคยชื่นชอบหลงใหล พยายามขายขนมจีบ เพ้อใฝ่ฝันอยากครอบครองรัก แต่เบื้องหลังเธอกลับ xxx กับเพื่อนที่เรารู้จัก วันหนึ่งเมื่อรับทราบความจริง จิตใจแตกสลาย ร่างกายหมดสิ้นเรี่ยวแรง

การถูกทรยศหักหลังจากเพื่อนฝูง เป็นสิ่งที่ผกก. Losey หมกมุ่นคลุ้มคลั่งมาตั้งแต่สมัยยังอยู่สหรัฐอเมริกา เมื่อครั้นถูกองค์กร House Un-American Activities Committee (HCUA) สั่งแบน Hollywood Blacklist ไม่มีเงิน ไม่มีงาน ต้องอพยพหัวซุกหัวซุนสู่ประเทศอังกฤษ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมันไม่ใช่ ‘Accident’ เรื่องราวในหนังก็เปิดกว้างในการตีความ(อุบัติเหตุครั้งนี้)เช่นกัน


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Nicholas Mosley, 3rd Baron Ravensdale, 7th Baronet (1923-2017) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ เกิดที่ London เป็นบุตรของนักการเมือง Sir Oswald Mosley ผู้ก่อตั้ง British Union of Fascists ซึ่งสนับสนุนท่านผู้นำ Benito Mussolini ส่งบุตรชายเข้าศึกษายัง Eton College ตามด้วย Balliol College, Oxford จบสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ด้วยความเห็นต่างทางการเมืองกับบิดา จึงเข้าร่วมพรรคแรงงาน British Labour Party, เขียนนวนิยายเล่มแรก Spaces of the Dark (1951)

งานเขียนของ Mosley มักทำการสำรวจทางศีลธรรม (Morality) แฝงจิตวิทยา ผสมเข้ากับปรัชญา มักนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิต รวมถึงการเผชิญหน้าความตาย มักมีโครงสร้างการดำเนินเรื่องซับซ้อน ชอบการเล่าย้อนอดีต (เพราะมันสามารถสะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละครได้เป็นอย่างดี)

สำหรับนวนิยาย Accident (1965) อาจไม่ใช่ผลงานประสบความสำเร็จนักของ Mosley แต่คือเรื่องสำคัญที่ทำให้เป็นรู้จักในวงกว้าง (เพราะได้รับการดัดแปลงภาพยนตร์), เรื่องราวของอาจารย์สอนปรัชญา Stephen แอบคบหาลูกศิษย์สาว Anna นำเสนอในลักษณะย้อนอดีต (Flashback) เพื่อค้นหาเหตุผลว่าทำไมเขาถึงกระทำการเช่นนั้น โดยเล่าถึงความสัมพันธ์อันเหินห่างกับภรรยา Rosalind

เกร็ด: ในนวนิยายจะไม่มีการประสบอุบัติเหตุทางกาย รถชน หรือเสียชีวิต แต่ต้องการสื่อถึง ‘อุบัติเหตุทางความสัมพันธ์’ ที่ทำให้ตัวละครได้รับบาดเจ็บ(สาหัส)ทางจิตใจ

Although ‘Accident’ is not an autobiographical novel, it does draw on many of my own experiences and observations. It is an attempt to explore the psychological and emotional dynamics that drive human behavior, particularly in the context of power imbalances and complex desires. I hope that readers will find in the novel a deep and nuanced exploration of these themes, and a richly drawn cast of characters who grapple with the complexities of the human heart.

Writing ‘Accident’ was an intense and challenging experience. I wanted to create a story that would engage readers on multiple levels, both intellectually and emotionally. At the same time, I wanted to explore some of the most profound and difficult questions that we face as human beings: questions about power, desire, and the nature of the self. I believe that the novel is a powerful and insightful exploration of these themes, and one that has resonated with readers for decades.

Nicholas Mosley

Joseph Walton Losey III (1909-84) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ La Crosse, Wisconsin เป็นเพื่อนร่วมชั้นมัธยม Nicholas Ray, เข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ Dartmount College ก่อนเปลี่ยนมาสาขาการละคอน จากนั้นเขียนบท/กำกับละครเวทีที่ New York City ตามด้วย Broadway เคยเดินทางสู่สหภาพโซเวียตช่วงปี ค.ศ. 1935 มีโอกาสร่ำเรียนภาพยนตร์จาก Sergei Eisenstein รวมถึงได้พบเจอ Bertolt Brecht และ Hanns Eisler, อาสาสมัครทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, และกำกับหนังเรื่องแรก The Boy with Green Hair (1947)

ด้วยความสนิทสนมกับผู้คนฝั่งซ้าย เคยสมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงสนิทสนม Bertolt Brecht และ Hanns Eisler ช่วงต้นทศวรรษ 50s จึงถูกแบน Blacklist จาก House Un-American Activities Committee (HUAC) ไม่มีเงิน ไม่งาน เลยต้องอพยพย้ายสู่กรุง London เมื่อปี ค.ศ. 1953 กำกับหนังอังกฤษเรื่องแรก The Sleeping Tiger (1954), สำหรับผลงานที่ทำให้กลายเป็นตำนานประกอบด้วย The Servant (1963), King and Country (1964), Accident (1967), The Go-Between (1971) และ Monsieur Klein (1976)

ช่วงระหว่างสรรค์สร้าง Modesty Blaise (1966) ผกก. Losey ขอความช่วยเหลือจาก Harold Pinter ในการปรับแก้ไขบทภาพยนตร์ (ไม่ได้รับเครดิต) ระหว่างนั้นมีโอกาสพูดคุยถึงนวนิยายที่เพิ่งจัดจำหน่าย Accident (1965) ต่างแสดงความชื่นชอบหลงใหล เลยเกิดความสนใจร่วมงานกันอีกครั้ง

[Accident] one of the most remarkable books I have ever read. Harold Pinter

Harold Pinter (1930-2008) นักเขียนบทละคร/ภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เจ้าของรางวัล Nobel Prize สาขาวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 2005, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Servant (1963), Accident (1967), The Go-Between (1971), The French Lieutenant’s Woman (1981), The Trial (1993), Sleuth (2007)

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการดัดแปลงนวนิยายที่มีโครงสร้างซับซ้อน แต่ก็คงวิธีการเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) แบบเดิมไว้ ที่สำคัญคือต้องปรับแก้ไขเนื้อหาให้มีความคลุมเคลือ ไม่ประเจิดประเจ้อ เพื่อได้รับการอนุมัติผ่านกองเซนเซอร์

  • ความสัมพันธ์ระหว่าง Stephen และ Anna จะมีความคลุมเคลือ ไคลน์แม็กซ์ของหนังก็ยังดูก้ำๆกึ่งๆว่าพวกเขามีเพศสัมพันธ์กันหรือไม่ ผิดกับในนวนิยายจะมีความชัดเจนว่าพวกเขาเกินเลยเถิดกันมานานแล้วด้วย
  • ตัวละคร Charley ที่เป็นแค่เพื่อนเก่าในนวนิยาย กลายมามีบทบาทสำคัญในภาพยนตร์ บุคคลในอุดมคติที่ Stephen ครุ่นคิดอยากเป็น แต่จิตสามัญสำนึกค้ำคอตนเองเอาไว้
  • สำหรับ William ในนวนิยายคือเพื่อนร่วมงานของ Stephen แต่ฉบับภาพยนตร์กลายมาเป็นลูกศิษย์ แฟนหนุ่มของ Anna รวมถึงประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต (ในนวนิยายไม่มีเหตุการณ์อุบัติเหตุใดๆ)
  • เพิ่มเติมตัวละครถ่านไฟเก่า Francesca ของ Stephen ไม่ได้พบเจอกันมากว่าสิบปี
    It’s not an easy book to adapt because there’s a lot of introspection. You have to convey a lot through the visual, which means you have to invent scenes that are not there, and you have to invent scenes that are there in a different form in the book. It’s very much a visual poem, I think.

เกร็ด: ระหว่างกำลังมองหาเงินทุน โปรดิวเซอร์ Sam Spiegel แสดงความสนใจในโปรเจคดังกล่าว แต่ผู้กำกับ Losey เกิดความระแวดระวัง เพราะก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกัน รับรู้ว่าอีกฝ่ายต้องผลักดันให้กลายเป็นภาพยนตร์ทุนสูง รวมดารา ซึ่งจะทำให้ตนเองสูญเสียอิสรภาพในการสร้างสรรค์ … ซึ่งระหว่างคุยงานบนเรือยอร์ชก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ (คาดหวังให้ Richard Burton รับบทแสดงนำ) ด้วยเหตุนี้ผกก. Losey เลยหาวิธีบอกปัดอย่างแสบกระสันต์ โดยปกติเป็นคนไม่สูบบุหรี่ แต่เมื่อ Spiegel ยืนซิการ์ราคา £12 ปอนด์ (เทียบค่าเงินปี ค.ศ. 2021 อาจสูงถึง £175-200 ปอนด์) หยิบขึ้นมาดูดสองปุ้น ทำสีหน้าขยะแขยง แล้วเขวี้ยงขว้างลงทะเล สร้างความไม่พึงพอใจจนอีกฝ่ายถอนตัวออกไป


เรื่องราวของ Stephen (รับบทโดย Dirk Bogarde) อาจารย์สอนปรัชญาแห่ง Oxford University แอบชื่นชอบลูกศิษย์สาว Anna von Graz (รับบทโดย Jacqueline Sassard) แต่พยายามหักห้ามใจตนเอง เพราะแต่งงานมีบุตรแล้วสอง ภรรยาตั้งครรภ์(คนที่สาม)กำลังใกล้คลอด เลยถูกกระแนะกระแหนโดยลูกศิษย์อีกคน William (รับบทโดย Michael York) ถ้าอาจารย์ไม่สนตนจะขอจีบเอง

วันหนึ่ง Stephen ตัดสินใจชักชวน Anna และ William มาร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่บ้าน ปรากฎว่าเพื่อนร่วมงาน Charley (รับบทโดย Stanley Baker) จับพลัดจับพลูเดินทางมาร่วมด้วย ในตอนแรกๆก็ไม่รู้สึกผิดสังเกตอะไร แต่ระหว่างมึนเมาก็พูดพร่ำเรื่อยเปื่อย ก่อนหลายวันถัดมาถึงค้นพบความจริงบางอย่างที่สร้างความตกตะลึง คาดไม่ถึง

Anna ตัดสินใจหมั้นหมายจะแต่งงานกับ William แล้วจู่ๆอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้คร่าชีวิตอีกฝ่าย ไม่ห่างจากบ้านของ Stephen ซึ่งได้เข้าช่วยเหลือหญิงสาว พามายังห้องนอน เมื่ออยู่สองต่อสอง จากนั้น …


Sir Dirk Bogarde ชื่อจริง Derek Jules Gaspard Ulric Niven van den Bogaerde (1912-99) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ West Hampstead, London บิดามาเชื้อสาย Flemish ส่วนมารดาคือนักแสดงเชื้อสาย Scottish ส่งบุตรชายไปอาศัยอยู่ Glasgow ก่อนได้ทุนเข้าเรียนการแสดง Royal College of Arts แต่จบมาทำงานเป็นเด็กเสริฟชา ส่งของ สแตนอิน จนกระทั่งได้เป็นตัวประกอบสตูดิโอ Associated Talking Pictures, ช่วงหลังสงครามได้เซ็นสัญญา Rank Organisation โด่งดังกับ The Blue Lamp (1950), Doctor in the House (1954), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Joseph Losey ตั้งแต่ The Sleeping Tiger (1954), The Servant (1963), Modesty Blaise (1966), King and Country (1964), Accident (1967), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Song Without End (1960), Victim (1961), Darling (1965), The Damned (1969), Death in Venice (1971), A Bridge Too Far (1977) ฯลฯ

รับบท Prof. Stephen สอนวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัย Oxford University อายุย่างเข้าสี่สิบ แต่งงานมีครอบครัว บุตรชาย-สาว พร้อมน้องคนเล็กในครรภ์ แต่นั่นทำให้ชีวิตจืดชืดน่าเบื่อหน่าย โหยหาบางสิ่งอย่างตื่นเต้นเร้าใจ ตกหลุมรักลูกศิษย์สาว Anna ทีแรกก็กลัวๆกล้าๆ จนกระทั่งพบเห็นการกระทำของเพื่อนสนิท Charley จึงมิอาจอดกลั้นฝืนทนได้อีกต่อไป

Bogarde ถือเป็นตัวเลือกแรก ตัวเลือกเดียวของผกก. Losey ไม่ต้องการใครอื่น (อย่าง Richard Burton) เพราะเคยร่วมงานกันมาหลายครั้ง เข้าใจศักยภาพที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกภายในผ่านภาษากาย ด้วยการขยับเคลื่อนไหวเพียงน้อยนิด และเอ่ยปากชื่นชมด้วยว่าอาจเป็นบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุด

Bogarde understood the part thoroughly, he was very exact and imaginative. He can express a great deal with very little movement. He knew what he was doing and the result is one of the finest performances I have ever seen on film. Joseph Losey

จริงอยู่ที่บทบาท Stephen เล่นน้อยได้มาก (น่าจะเป็นตัวละครพูดน้อยที่สุดของ Bogarde แล้วกระมัง) เน้นถ่ายทอดความรู้สึกผ่านทางสีหน้า พยายามสร้างภาพภายนอกให้ดูดี ปกปิดบังตัวตนธาตุแท้จริง แต่จิตใจโหยหาเสรีภาพ ตกหลุมรัก Anna เต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา Charley จนเกิดความขัดย้อนแย้งภายใน

ผิดกับภาพยนตร์ The Servant (1963) ที่เต็มไปด้วยความคลุมเคลือ ลึกลับซับซ้อน ท้าทายผู้ชมค้นหาตัวตนแท้จริง ผมรู้สึกว่า Stephen คาดเดาความต้องการไม่ยากเท่าไหร่ (คือสนแต่จะร่วมเพศสัมพันธ์ Anna) และที่น่าผิดหวังคือการเป็นอาจารย์สอนปรัชญา กลับฉกฉวยโอกาสกับ Anna จริงอยู่เราสามารถมองในแง่ของการปลดปล่อย เสรีภาพทางเพศ หรือนัยยะการล้างแค้นเอาคืน แต่มันก็ทำให้ผู้ชมรู้สึกขมขื่น หมดสูญสิ้นศรัทธา (ต่อทั้งบทสรุปและตัวละคร)

Mr. Bogarde does a powerful job of revealing the strong and not too scrupulous feelings of a man who has grown old and sour in a profession he no longer likes, and who has become bitter about the shift of intellectual and social currents that he can’t change. With that acid tongue of his, that look of melancholy in his eyes and that cynical shrug of his shoulders, Mr. Bogarde makes his professor a man of profound disillusion and sadness. นักวิจารณ์ Bosley Crowther จากนิตยสาร The New York Times

Sir William Stanley Baker (1928-76) นักแสดงสัญชาติ Welsh เกิดที่ Ferndale, Glamorgan วัยเด็กมีความสนใจเพียงฟุตบอลกับต่อยมวย แต่เป็นอาจารย์ที่ค้นพบความสามารถด้านการแสดง เมื่อตอนอายุ 14 ระหว่างงานโรงเรียน ไปเข้าตาแมวมองจาก Ealing Studios ชักชวนมาแสดงภาพยนตร์ Undercover (1943) นั่นเองทำให้ตัดสินใจหันมาเอาดีด้านการแสดง เริ่มจากเป็นตัวประกอบละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ แจ้งเกิดกับ The Cruel Sea (1953), Knights of the Round Table (1953), Helen of Troy (1955), รับบทนำครั้งแรก Hell Drivers (1957), ร่วมงานขาประจำผกก. Joseph Losey อาทิ Blind Date (1959), The Criminal (1960), Eva (1962), Accident (1967)

รับบทอาจารย์สอนโบราณคดี Charley เพื่อนสนิทของ Stephen เป็นคนมีชื่อเสียง เคยออกรายการโทรทัศน์ แต่งงานกับภรรยา Laura มีบุตรร่วมกันสามคน แต่หลังจากพบเจอตกหลุมรัก Anna ก็ตัดสินใจทอดทิ้งครอบครัว ร่วมรักหลับนอน พักอาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัย โดยไม่สนความถูกต้องเหมาะสม หรือศีลธรรมทางสังคม

ผกก. Losey เคยร่วมงานกับ Baker มาแล้วหลายครั้ง จึงรับรู้ศักยภาพด้านการแสดงของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี มีความคลุมเคลือ ชอบพูดคำแฝงนัยยะซ่อนเร้น เต็มไปด้วยความน่าฉงนสงสัย แต่ผมรู้สึกว่าภาพลักษณ์พี่แกดูแก่เกินแกงไปนิด ไม่ค่อยเหมือนเสือผู้หญิงสักเท่าไหร่ (ตรงกันข้ามคือดูเหมือน Family Man เสียมากกว่า)

อาจเพราะว่าผกก. Losey ต้องการให้ผู้ชมคาดไม่ถึงกับตัวละครนี้ ชายที่มีภาพลักษณ์เหมือนมนุษย์ครอบครัว ประสบความสำเร็จ ชื่อเสียงโด่งดัง แต่กลับไม่สามารถควบคุมความต้องการ(ทางเพศ) หมกมุ่นมักมากในกามคุณ ซึ่งยังทำให้ฝ่ายหญิงดูต่ำตม ร่วมเพศสัมพันธ์กับคนพรรค์นี้เนี่ยนะ!


Jacqueline Sassard (1940-2021) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Nice, เข้าสู่วงการตอนอายุ 17 จากแสดงนำภาพยนตร์สัญชาติอิตาเลี่ยน Guendalina (1957), ติดตามด้วย March’s Child (1958), Three Murderesses (1959, The Magistrate (1959), Violent Summer (1959), แต่ผลงานได้รับการจดจำสูงสุดคือ Accident (1967), Les Biches (1968) หลังแต่งงานกับนักธุรกิจ ก็ถอนตัวออกจากวงการ

รับบท Anna von Graz und Leoben นักศึกษาสาวจาก Austria กลายเป็นที่หมายปองของบุรุษ เธอตกหลุมรัก William แต่กลับแอบร่วมเพศสัมพันธ์กับ Charley เมื่อความทราบถึง Stephen จึงถูกตีตราผู้หญิงสำส่อน ถึงอย่างนั้นเขากลับฉกฉวยโอกาส กระทำสิ่งอัปลักษณ์พิศดารอย่างที่สุด

I saw this young Italian girl, whom I thought was very good, and I thought she would be very good for the part of Anna. Jacqueline was perfect for the role of Anna. She’s beautiful, but in a rather unconventional way. She has a face that is both sensitive and mysterious, which is exactly what I wanted for the part. Josep Losey

การแสดงของ Sassard อาจไม่ได้โดดเด่นนัก แต่ความงามของเธอมีเสน่ห์ที่ลึกลับ น่าหลงใหล เต็มไปด้วยลับลมคมใน ซึ่งเหมาะกับตัวละคร Anna ที่กำลังจะแต่งงาน William ลับหลังร่วมเพศสัมพันธ์กับ Charley … หนังไม่ได้พยายามอธิบายเหตุผลว่าทำไมตัวละครถึงกระทำการดังกล่าว ซึ่งนั่นทำให้ผู้ชมมักเหมารวมว่าคือพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ ไม่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักศีลธรรมทางสังคม

แน่นอนว่าพฤติกรรมดังกล่าว ไม่ใช่สิ่งที่สังคม(ยุคสมัยไหน)ให้การยินยอมรับ แต่มันก็ชวนให้ตั้งคำถามว่าผิดอะไร? ค่านิยมยุคสมัยใหม่มีคำเรียกว่า ‘เสรีภาพทางเพศ’ เพศสัมพันธ์คือการค้นหาเป้าหมายชีวิต ความต้องการของตนเอง … หรือจะมองว่าเธอคือตัวแทนวัยรุ่น Swinging London ก็ได้เช่นกัน

Jacqueline Sassard, as Anna, has a certain clear, simple beauty and a manner of quiet sincerity that is effective enough. But one misses a depth of feeling that ought to come from a girl who is described as having suffered something terrible. นักวิจารณ์ Bosley Crowther จากหนังสือพิมพ์ The New York Times

ถ่ายภาพโดย Gerry Fisher (1926-2014) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เกิดที่กรุง London โตขึ้นได้เป็นพนักงานบริษัท Kodak, หลังอาสาสมัครทหารเรือช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าทำงานยัง Alliance Riverside Studios เริ่มจากเป็นเด็กตอกสเลท, ผู้ช่วยตากล้องที่ Wessex Films, ก่อนย้ายมา Shepperton Studios ควบคุมกล้อง Bridge on the River Kwai (1957), และได้รับโอกาสจากผู้กำกับ Joseph Losey ถ่ายทำภาพยนตร์ Accident (1967), The Go-Between (1971), Monsieur Klein (1976), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Aces High (1976), Highlander (1986), The Exorcist III (1990) ฯ

แม้หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มสี (Eastmancolor) แต่ให้ความรู้สึกไม่ต่างจากหนังนัวร์ บรรยากาศอึมครึม (ประมาณ 1/4 ถ่ายทำตอนกลางคืน) ฉากกลางวันก็มักถ่ายในเงามืด อีกทั้งยังมีการปรับโทนสีให้มีความเข้มๆ และใช้เฉดน้ำเงินสร้างสัมผัสหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน เพราะเรื่องราวสะท้อนสภาวะทางจิตใจ ด้านมืดของตัวละคร (พบเห็น Stephen ตั้งแต่ฉากแรกจนสุดท้าย)

นอกจากบรรยากาศหนังนัวร์ หลายๆฉากในหนังยังมีกลิ่นอาย Impressionist อย่างฉากล่องเรือ วันอาทิตย์วุ่นๆ งานเลี้ยงที่บ้านของ Stephen (และ William) รวมกลุ่มดื่มเหล้า เตร็ดเตร่ เล่นกีฬา สนทนาฮาเฮ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ชวนให้ผมระลึกถึงโคตรหนังสั้น A Day in the Country (1946) ของผู้กำกับ Jean Renoir อยู่ไม่น้อยเลยละ

สถานที่ถ่ายทำหลักๆของหนัง ประกอบด้วย

  • St. John’s College, Oxford
  • Magdalen College, Oxford
  • บ้านของ Stephen ตั้งอยู่ยัง Norwood Farm Hall สุดถนน Elveden Road ในย่าน Cobham, Surrey
  • คฤหาสถ์ครอบครัวของ William ตั้งอยู่ยัง Syon House ณ Syon Park ในย่าน Brentford, Middlesex

LINK: https://www.bfi.org.uk/features/accident-locations-joseph-losey-dirk-bogarde


หนึ่งในลายเซ็นต์ของผกก. Losey คือช็อตแรกระหว่าง Opening Credit มักถ่ายทำแบบ Long-Take ซึ่งสำหรับ Accident (1967) เหมือนจะเล่นง่ายด้วยการตั้งกล้องแช่ภาพ แล้วค่อยๆขยับเคลื่อนเข้าใกล้บ้านของ Stephen ที่ Norwood Farm Hall แต่ไฮไลท์นั้นคือ ‘Sound Effect’ เสียงอุบัติเหตุรถชน แม้ไม่พบเห็นภาพเหตุการณ์ กลับสามารถจินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล

นี่เป็นการอารัมบทภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ว่ากันตามตรงไม่ใครพบเห็น Accident แต่เราสามารถครุ่นคิดจินตนาการทั้งเหตุการณ์ รวมถึงความสัมพันธ์เปรียบได้ดั่งรถไฟชนกัน ความรักสาม-สี่เส้าที่โคตรจะมักม่วน สร้างความปั่นป่วนทรวงใน ท้าทายหลักศีลธรรมประจำใจ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังจาก Stephen ให้ความช่วยเหลือ Anna ลากพาตัวออกมาจากรถ สีหน้าท่าทาง ปฏิกิริยาแสดงออกของเธอดูล่องลอย (ชุดที่สวมใส่ก็เต็มไปด้วยขนนกฟูฟ่อง) ไม่รับรู้ตนเอง ลักษณะคล้ายๆอาการ Post-traumatic stress disorder (PTSD) นั่นเพราะเพิ่งพานผ่านเหตุการณ์อันเลวร้าย อุบัติเหตุ ประสบการณ์เฉียดตาย จึงยังไม่สามารถควบคุมสติให้หวนกลับมาเป็นปกติ

แต่สังเกตจากการไม่บอกเล่าเรื่องราวของเธอกับตำรวจ รวมถึงมุมกล้องจับจ้องเรียวขา มันช่างเต็มไปด้วยความน่าพิศวง ลับลมคมใน เหมือนมีบางสิ่งอย่างที่เขาซุกซ่อนเร้นไว้

ผลงานของผกก. Losey มักเต็มไปด้วย ‘Mise-en-scène’ โดยเฉพาะการจัดวางตำแหน่ง ทิศทางมุมกล้อง ระยะใกล้-ไกล ขยับเคลื่อนไหวเข้า-ออก แสงสว่าง-ความมืดมิด อย่างฉากให้การกับตำรวจทั้งสอง

  • นายตำรวจคนหนึ่งเดินเข้ามาระยะประชิดหน้ากล้อง Stephen นั่งลงตำแหน่งห่างออกไป ซึ่งหนึ่งในประโยคสนทนา “Yours is the only house from some distance”. สื่อถึงระยะห่างนี้กระมัง?
  • ระหว่างที่สลับมุมกล้องมาฟากฝั่ง Stephen มันจะพอดิบดีที่ตำรวจไม่มีคำถามอะไร
  • นายตำรวจคนที่ยืนอยู่ ย้ายตำแหน่งไปตรงประตู ลักษณะเหมือนปิดกั้นทางออก ต้องการต้อนให้จนมุม ด้วยคำถามว่าผู้เสียชีวิตมีเป้าหมายอะไรถึงเดินทางมายังบ้านหลังนี้?
  • คำตอบตะกุกตะกัก ลิ้นพันกันของ Stephen นี่ไม่ใช่อาการเศร้าโศกเสียใจ แต่แอบบอกใบ้ถึงลับลมคมใน รับรู้อยู่แก่ใจว่า William เดินทางมาหาเพราะอะไร แต่ปฏิเสธให้การแก่ตำรวจ เพราะต้องการปกปิดบางสิ่งอย่างเอาไว้
    • นี่เป็นช็อตเดียวของทั้งฉากที่ถ่ายติดเฉพาะ Stephen เพื่อให้ผู้ชมสังเกตปฏิกิริยาท่าทางอย่างใกล้ชิด เกิดความตระหนักถึงลับลมคมในของคำตอบดังกล่าว

ลีลาการนำเสนอภาพเหตุการณ์ย้อนอดีต (Flashback) จะมีการไล่เรียงชุดภาพดังต่อไปนี้ …

  • เริ่มจาก Stephen ยืนจ้องมองเรียวขาของ Anna ขณะเดียวกันมือข้างหนึ่งจับตรงลิ้นชัก สัญลักษณ์ของการปกปิด ซุกซ่อนเร้น บางสิ่งอย่างภายในนั้นกำลังจะถูกเปิดเผยออกมา
  • ตัดไปภาพเรียวขาของ Anna ชักกระตุก ปัดรองเท้าขาว
  • ก่อนหน้านี้ที่ Stephen ให้ความช่วยเหลือ Anna รองเท้าของเธอเคยย่ำเหยียบใบหน้า William
  • และจากใบหน้าเปื้อนเลือด William ราวกับสามารถฟื้นคืนชีพ มีรอยยิ้มอีกครั้ง (ในความทรงจำของ Stephen)

ภาพแรกของ Anna von Graz เดินผ่านลานกว้าง แวะเล่นกับแกะ ผมไม่แน่ใจว่าคือสัตว์สัญลักษณ์ราชวงศ์ ชนชั้นสูงหรือเปล่า เท่าที่ค้นพบข้อมูลคือตัวแทนอิสรภาพ ความสดใสร่าเริง ไร้กังวล (Carefree and Happy) บริสุทธิ์ผุดผ่อง สามารถเข้ากับคนอื่นโดยง่าย

ขณะที่บางเทพนิยาย Goat คือสัตว์เลี้ยงของซาตาน มักเกี่ยวกับตัณหา ราคะ ความต้องการทางเพศ (Sexual Desire) ซึ่งทั้งสามตัวละคร (Anna, William และ Stephen) ต่างหมกมุ่นมักม่วนในสิ่งๆเดียวกัน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผมไม่คิดว่าใบหน้าของพวกเธอมีความละม้ายคล้ายกันหรอกนะ แต่การที่หนังสลับเปลี่ยนฉากด้วยการตัดภาพภรรยา Rosalind มายังลูกศิษย์สาว Anna นี่ก็ชัดเจนถึงความประทับใจของ Stephen พบเห็นทั้งสองคือบุคคลที่อยู่ในความสนใจ (Point-of-Interest) ต้องการอยากได้ ครอบครองเป็นเจ้าของ

ในห้องนั่งเล่น/อ่านหนังสือของคณะครูในมหาวิทยาลัย หนังจงใจนำเสนอให้มีความสงบ เงียบงัน บรรยากาศคร่ำครึ ช่างเต็มไปด้วยความน่าเบื่อหน่าย จนกระทั่ง Charley อ่านข้อความที่สร้างความตื่นเต้น ระริกระรี้ แต่กลับไม่มีใครกล้าแสดงความสนใจออกมาสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นสังเกตจากสีหน้าคณาจารย์ แทบทุกคนเหมือนพยายามปกปิดซุกซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างไว้ภายใน

A statistical analysis of sexual intercourse amoung students … Charley

ซีเควนซ์การล่องเรือในลำธาร มันช่างมีความโรแมนติก/อีโรติก กระตุ้นราคะยิ่งนัก! เริ่มจากร้อยเรียงชุดภาพผ่านมุมมองสายตา Stephen พบเห็น William กำลังผลักดันเรือ จากนั้นจับจ้องเรือนร่าง Anna เลื่อนจากเรียวขามาถือหน้าท้อง คลอประกอบด้วยเสียงแซ็กโซโฟน … อยากยิ่งจะอดกลั้นฝืนทน เลยต้องแสร้งว่ากระโดดลงน้ำ!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

นี่เป็นสองช็อตที่นำเสนอความแตกต่างระหว่างชาย-หญิง ตามบริบททางสังคมยุคสมัยนั้น

  • ขณะที่ลูกศิษย์ชาย William ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมจาก Stephen แถมยังดื่มไวน์ ชวนกินเหล้า
  • ตรงกันข้ามกับลูกศิษย์สาว Anna นั่งลงกับพื้น ส่วนอาจารย์ Stephen ยืนค้ำหัวโด่เด่ แสดงถึงอิทธิพล รวมถึงความต้องการควบคุม ครอบครอง เป็นเจ้าของอีกฝั่งฝ่าย … จะมองว่าเธอเป็นวัตถุทางเพศ ‘object of desire’ ก็ได้เช่นกัน

แวบแรกผมแอบนึกถึง Citizen Kane (1942) แต่ครุ่นคิดไปมาห้องครัว-สวนหลังบ้าน สามารถสื่อถึงภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ สิ่งที่แสดงออก-ความจริงถูกปกปิดซ่อนเร้น แค่การละเล่นโยนลูกบอลเข้า-ออก ผ่านหน้าต่าง ก็สามารถตีความได้ไกลโขทีเดียว

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ระหว่างที่ทุกคนกำลังยืน-นั่ง-นอน ดื่ม-กิน พูดคุยเล่นอยู่สวนหลังบ้าน Charley ก็พร่ำเรื่องเล่าที่มีความล่อแหลม ลับลมคมใน ฟังดูไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทั้งหมดล้วนคือเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริงกับทั้ง Stephen และตัวของเขาเองอย่างตรงไปตรงมา

  • ขณะที่ William และ Rosalind (ภรรยาของ Stephan) ไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงใดๆจากเรื่องเล่าดังกล่าว
  • Stephan จะเกิดความหวาดระแวง วิตกจริต เพราะมันสะท้อนความเพ้อฝันที่อยากกระทำ (ยังไม่ได้ตระหนักความสัมพันธ์ Charley กับ Anna
  • และ Charley กับ Anna ต่างรับรู้ว่าเบื้องหลังความจริง!

นั่นรวมถึงการพูดถึงแมลงวัน แต่ทั้งๆ William ยืนกรานไม่พบเห็นสักตัว แต่มันคือสัญลักษณ์ของบุคคลที่เป็นส่วนเกิน สร้างความหงุดหงิดน่ารำคาญ นั่นเพราะบุรุษทั้งสามต่างครุ่นคิดอยากอยู่สองต่อสองกับ Anna (ใครอื่นเลยเปรียบดั่งแมลงวัน)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

การถ่ายภาพถ่ายลอดใต้หว่างขา โดยปกติแล้วมักสื่อสัญลักษณ์ทางเพศ ในบริบทนี้ไม่ได้หมายความว่า Charley ใคร่สนใจอะไรกับ William (ที่ยืนอยู่ใต้หว่างขา) แต่เป็นการแสดงอำนาจ(ทางเพศ)ที่เหนือกว่า (เสียงเครื่องดนตรีฮาร์ป ก็ช่วยสร้างสัมผัสแห่งสรวงสวรรค์ ราวกับฉันคือเทพเจ้า ยิ่งใหญ่เหนือใครใต้หล้า)

นั่นเพราะ Charley เล่นอยู่ฟากฝั่งเดียวกับ Anna และภายหลังเปิดเผยว่าพวกเขายังเคยร่วมเพศสัมพันธ์ (การตีลูกเทนนิสใส่ฝ่ายหญิง สามารถตีความถึงการโจมตีทางเพศ(สัมพันธ์)ได้เช่นกัน) ขณะที่คู่แข่งทั้งสอง William กับ Stephen ทำได้เพียงหยอกล้อ เกี้ยวพา และตีโต้กลับมาเท่านั้น

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

มีช็อตมหัศจรรย์ที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกตเห็น Stephen ชักชวน Anna ไปเดินเล่น ระหว่างเดินผ่านท้องทุ้ง จากแสงแดดที่เคยสว่างจร้า ค่อยๆปกคลุมด้วยเงามืด(จากก้อนเมฆ) ตอนถ่ายทำน่าจะโคตรๆบังเอิญ โชคดีอย่างสุดๆ แต่เราก็สามารถตีความนัยยะภาพนี้ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเธอที่เริ่มต้นสวยหรู กลับกำลังมุ่งสู่หายนะตอนจบ

ระหว่างอยู่ในป่าดงพงไพร Stephen ตัดสินใจเดินหลบใยแมงมุม ตรงกันข้ามกับ Anna ตรงเข้าหาแล้วทำลายมัน โดยไม่ใคร่สนอะไรทั้งนั้น นี่สามารถสะท้อนถึง …

  • Stephen เป็นคนปฏิบัติตามขนบกฎกรอบ ไม่ชอบทำอะไรนอกคอก มักหลีกเลี่ยงปัญหา ปฏิเสธการเผชิญหน้า
  • Anna ถือเป็นคนหัวขบถ ไม่ชอบอยู่ในกฎกรอบ พร้อมเผชิญหน้า กล้าท้าทาย กระทำทุกสิ่งอย่างตอบสนองความสนใจ ไม่ยินยอมการถูกควบคุมครอบงำโดยใคร
    Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

รั้วแห่งนี้ และมือที่ไม่สามารถเอื้อมสัมผัส คือสุดขอบเขตที่ Stephen ไม่สามารถก้าวข้ามผ่าน ออกสู่ทิวทัศน์ธรรมชาติ เสรีภาพของชีวิต เพราะมันคือกฎกรอบ สามัญสำนึกทางศีลธรรมที่ห้อมล้อมรอบ ฉุดเหนี่ยวรั้งความต้องการของเขาไว้ พยายามหักห้ามใจไม่ให้เกินเลยเถิดไปไกลกว่านี้

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตลอดทั้งซีเควนซ์ระหว่าง Stephen กับ Francesca แทบไม่พบเห็นพวกเขาขยับปากพูดคุยสนทนา (ได้ยินเหมือนเพียงเสียงบรรยายของทั่งคู่) ดนตรีแจ๊ส เสียงแซ็กโซโฟน สร้างสัมผัสโรแมนติก แต่ทุกสิ่งอย่างดูล่องลอยเหมือนฝัน อย่างฉากร้านอาหารล้วนถ่ายทำจากภายนอกหน้าต่าง (ไม่มีเข้าไปถ่ายภายในร้าน) เพื่อจะสื่อว่านี่เป็นเพียงช่วงเวลาหวนระลึกความหลัง ถ่านไฟเก่าคุกรุ่น แต่พวกเขาไม่มีทางกลับมาครองรักกันได้อีก

  • อพาร์ทเม้นท์ของ Francesca ตั้งอยู่ยัง 40 Bedford Square, Bloomsbury ซึ่งอยู่ติดๆกับบ้านของผู้เขียนนวนิยาย Sir Anthony Hope Hawkins (1863-1933) เจ้าของผลงานดัง The Prisoner of Zenda (1894)
  • ส่วนร้านอาหาร (Pub & Restaurant) ชื่อว่า The Admiral Codrington ตั้งอยู่ยัง 17 Mossop Street, London ปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการ แต่มีการปรับปรุงร้านจนไม่หลงเหลือสภาพเดิมอีกต่อไป

เกร็ด: นักแสดงที่รับบท Francesca คือ Delphine Seyrig (1932-90) สัญชาติ Lebanese-French โด่งดังจากภาพยนตร์ Last Year at Marienbad (1961) ซึ่งคือหนึ่งในเรื่องโปรดของผกก. Losey ความงามของเธอประดุจรูปปั้น เทพธิดา ดูราวกับเธอคือผู้หญิงในอุดมคติของ Stephen (และผกก. Losey)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังดื่มด่ำกับการหวนระลึกความหลัง เมื่อกลับมาบ้าน Stephen ก็ได้พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ เริ่มจากใครก็ไม่รู้เดินกำลังลงบันได เงามืดปกคลุมใบหน้าของเอาไว้ แต่ไม่นานก็เฉลยว่าคือ Charley นี่เขายังไม่กลับบ้านอีกหรือ?? จากนั้นพบเห็นอีกคน เรือนร่างเหมือนหญิงสาว ใช้เงาปกปิดใบหน้าเช่นกัน

ผมรู้สึกว่าการใช้เงาขณะนี้ดูไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่ แต่ผกก. Losey อาจต้องการสร้างความลึกลับ คลุมเคลือ (เพราะคงมีคนดูไม่ออก ตระหนักไม่ได้แน่ๆว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น) จากนั้นถึงค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็ก แล้วปล่อยจินตนาการผู้ชมให้เตลิดเปิดเปิงไปไกล

ปฏิกิริยาของ Stephen เมื่อรับรู้ความจริงที่บังเกิดขึ้น คือเข้าห้องครัวไปทอดไข่ ซึ่งสามารถตีความได้หลากหลาย

  • ตอกไข่/ไข่แตก คือบางสิ่งอย่างภายในจิตใจได้แตกสลาย พังทลาย, เมื่อลงกระทะเดือดปุดๆ เหมือนอารมณ์พลุกพร่าน เต็มไปด้วยความอัดอั้น ติดอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์ระหว่าง Charley และ Anna ยังไม่รู้จะหาหนทางออกเช่นไร
  • ผมมองไข่ คือสัญลักษณ์แทนเพศหญิง Anna เพราะหลังจากเทใส่จาน Charley กลับแย่งมารับประทานก่อน (คือได้ร่วมเพศสัมพันธ์ก่อน) จากนั้นถึงค่อยมาถึง Stephen กินได้แค่คำสองคำก็ทอดถอนหายใจ ไม่ใคร่อยากทานของเหลือผู้ใด (สื่อถึงอคติต่อผู้หญิงสำส่อน มองเป็นยัยตัวร้าย หมดสิ้นศรัทธา/ความรักต่อ Anna)
    Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

การสนทนาระหว่าง Stephen และภรรยา Rosalind สังเกตว่าพวกเขานั่งหันคนละฟากฝั่ง ทิศทางตรงกันข้าม บางครั้งก็ตัดสลับมุมมอง (ฝั่งบ้านพัก-ริมทะเลสาป) นั่นแสดงให้เห็นถึงความครุ่นคิดเห็นที่แตกต่าง ขณะกำลังซุบซิบนินทาความสัมพันธ์ Charley กับชู้รัก Anna

ความคิดเห็นของ Rosalind เต็มไปด้วยอคติ คำด่าทอ อารมณ์เกรี้ยวกราด ทั้งๆไม่ใช่เรื่องของตนเอง ไม่ได้รับรู้ตื้นลึกหนาบาง กลับตัดสินใจคนอื่นเพียงเปลือกภายนอก ไม่เคยเอาใจเขามาใส่ใจเรา! ขณะเดียวกันคำพูดของเธอล้วนจี้แทงใจดำ Stephen เพราะตัวเขาก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่า Charley และเช่นกันกับ Rosalind เหมือนด่าตัวเอง ไม่เคยรับรู้ว่าสามีก็มีพฤติกรรมเฉกเช่นเดียวกัน!

เกร็ด: Vivien Merchant (1929-82) นักแสดงที่รับบท Rosalind คือภรรยาของนักเขียนบท Harold Pinter

ระหว่างการสนทนากับภรรยา Rosalind จะมีการแทรกภาพอดีตซ้อนอดีต (Flashback within Flashback) เมื่อครั้น Stephen แวะเวียนไปเยี่ยมเยียน Laura (ภรรยาของ Charley) ขณะนั้นฝนตกพรำ พบเห็นเธอกำลังจัดสวน ภาพถ่ายผ่านม่านน้ำพุ และดอกไม้บาน … ราวกับว่าเธออาศัยอยู่ในโลกแฟนตาซีของตนเอง ไม่ได้ใคร่สนใจพฤติกรรม(คบชู้สู่สาว)ของสามี

William ชักชวน Stephen มาที่คฤหาสถ์ของครอบครัวที่ Syon House ร่วมละเล่นสองเกมที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าชื่อเกมกีฬาอะไร แต่มีลักษณะคล้ายๆ Eton wall game (เกมประจำวิทยาลัย Eton College) เปลี่ยนมาทำการละเล่นภายใน (Indoor) สองฝ่ายต้องใช้กำลังพุ่งชนเพื่อแก่งแย่งลูกบอลที่ดูเหมือนหมอนข้าง และมี Stephen เป็นผู้รักษาประตู ปราการด่านสุดท้ายไม่ให้ลูกบอลมาถึงเส้นชัย
    • ผมมองนัยยะฉากนี้คือการต่อสู้ภายในจิตใจ โดย Stephen คือตัวแทนศีลธรรม (SuperEgo) ที่คอยปกป้องไม่ให้สันชาติญาณ(Id, ลูกบอล)ก้าวข้ามผ่านเส้นประตู ได้รับชัยชนะในการแข่งขัน
  • กีฬาภายนอก (Outdoor) ชื่อว่า Cricket จะไม่มีการปะทะใดๆ ฝ่ายหนึ่งโยนบอล อีกฝ่ายหนึ่งตีลูก ซึ่งเกมนี้ Stephen ไม่ได้ลงเล่น มีเพียง Charley เหมือนจะเป็นคนตีลูก
    • นี่ย่อมสะท้อนถึงการแข่งขันเกี่ยวกับความรัก Charley แม้อายุมาก/แต่งงานแล้ว แต่ก็ยังพร้อมเป็นผู้เล่น ขณะที่ Stephen เพียงนั่งเหม่อมองอยู่ข้างสนาม

หลังจาก Stephen (นั่งอยู่บนเก้าอี้) รับรู้การหมั้นหมายระหว่าง William กับ Anna (นั่งอยู่บนพื้นหญ้า นี่ไม่ได้แสดงถึงวิทยฐานะหรือความต่ำต้อยด้อยค่า ผมมองว่าคือการยกย่อง ให้เกียรติ แทนการขอบคุณที่ทำให้ทั้งสองได้หมั้นหมาย) หนุ่ม-สาวจึงออกวิ่งไปจ้ำจี้ ส่วนเขาทำได้เพียงติดตามมาถึงบริเวณเส้นขอบสนาม ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปไกลกว่านี้ Charley ที่นั่งด้านหลังเก้าอี้ก็เช่นเดียวกัน … หนุ่มใหญ่ทั้งสองไม่สามารถก้าวข้ามความสัมพันธ์กับ Anna ไปมากกว่าชู้รัก

หลังจากพยายามใช้กำลังกับ Anna แต่เธอกลับดิ้นรนขัดขืน เขาจึงเดินออกจากห้องอย่างขมขื่น กล้องถ่ายผ่านราวบันได แสดงถึงสภาพจิตใจที่ถูกควบคุมขัง ยังไม่สามารถฝืนเอาชนะข้ออ้างศีลธรรมที่ค้ำคอตนเองไว้

แต่ไม่ทันไรเขาก็เดินมาตรงราวบันได กล้องเลื่อนขึ้นถ่ายภาพมุมเงยเห็นเพดาน นี่คือช่วงเวลาที่เขาสามารถตัดสินใจก้าวข้ามผ่าน ดิ้นออกมาจากกรงขัง ไม่มีอะไรสามารถพันธนาการเหนี่ยงรั้ง ช่างหัวแม้ง! แล้วตัดสินใจเดินกลับเข้าห้องนอน เพื่อไป … ซึ่งคราวนี้อีกฝ่ายเหมือนจะยินยอมพร้อมใจ

การปีนป่ายข้ามกำแพง(กลับเข้ามหาวิทยาลัย)ครั้งนี้ของ Anna ไม่ได้สื่อถึงการก้าวข้ามอะไรใดๆ แต่เป็นการหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น หลังจากนี้เธอตัดสินใจเก็บข้าวของ แพ็กกระเป๋า เตรียมตัวออกเดินทาง ขึ้นเครื่องบินกลับบ้าน Austria ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับผู้ชายเหล่านี้อีกต่อไป

ซึ่งหลังจาก Anna เดินลับหายไป ตัดภาพมาทารกน้อยที่เพิ่งคลอดของ Rosalind สามารถสื่อถึงการถือกำเนิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ (ทั้ง Anna และ Stephen ต่างตัดสินใจยุติความสัมพันธ์ ถึงเวลาแยกย้ายทางใครทางมัน)

เช่นกันกับเริ่มต้น-สิ้นสุดหนัง สลับสับเปลี่ยนกลางคืน-กลางวัน ภาพถ่ายบ้านพักของ Stephen ยัง Norwood Farm Hall และยังได้ยินเสียง ‘Sound Effect’ อุบัติเหตุ(รถชน)สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าในเชิงรูปธรรม-นามธรรม กายภาพ-จิตภาพ และจักคงตราฝังอยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน

แซว: หลายคนอาจจะตีความอุบัติเหตุคราวนี้ อาจเกิดจากเจ้าสุนัขที่เพิ่งวิ่งออกนอกเฟรมไป (นี่อาจคือสาเหตุเดียวกับตอนต้นเรื่อง ก็ได้กระมัง)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตัดต่อโดย Reginald Beck (1902-92) สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ St. Petersburg, Russian Empire พออายุ 13 ครอบครัวถึงเดินทางกลับอังกฤษ, เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ เริ่มมีชื่อเสียงจากการตัดต่อ In Which We Serve (1942), Henry V (1944), Hamlet (1948), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Joseph Losey ตั้งแต่ The Gypsy and the Gentleman (1958), Eva (1962), Modesty Blaise (1966), Accident (1967), The Go-Between (1971) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมอง/ความทรงจำของ Stephen ส่วนใหญ่คือการเล่าย้อนอดีต (Flashback) สำหรับทบทวนอดีต อธิบายเหตุผลของสิ่งที่เขากำลังจะกระทำในปัจจุบัน ตั้งแต่ได้ยินเสียงอุบัติเหตุ ให้ความช่วยเหลือ Anna พาเธอขึ้นห้อง ก่อนที่จะตัดสินใจฉกฉวยโอกาส … และเรื่องราวหลังจากนั้น

  • อารัมบท,
    • ค่ำคืนดึกดื่น Stephen ตื่นขึ้นมาหลังได้ยินเสียงอุบัติเหตุ ให้ความช่วยเหลือ Anna แล้วโทรศัพท์ติดต่อตำรวจ จากนั้นเริ่มหวนระลึกความทรงจำ
  • แนะนำตัวละคร กิจวัตรประจำวัน
    • กิจวัตรประจำวันของ Stephen กลางวันสอนหนังสือ ตกเย็นกลับบ้าน ยามว่างสนทนาเพื่อนร่วมงาน
    • William ชักชวน Stephen ล่องเรือร่วมกับ Anna
    • Stephen ชักชวน Willian และ Anna มารับประทานอาหารกลางวันที่บ้านวันอาทิตย์
  • วันอาทิตย์ยุ่งๆ ณ บ้านของ Stephen
    • ไม่เพียง William กับ Anna แต่ยังแขกไม่ได้รับเชิญ Charley ทำตัวเหมือนมีลับลมคมในบางอย่าง
    • ดื่มเหล้า เตร็ดเตร่ เล่นกีฬา สนทนาฮาเฮ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
  • สิ่งที่ถูกปกปิด ซุกซ่อนเร้น ได้รับการเปิดเผยออกมา
    • Stephen เดินทางไป London ทีแรกเพื่อติดต่อธุระ แต่สุดท้ายกลับแวะเวียนไปหาคนรักเก่า Francesca
    • เมื่อกลับมาบ้านพบเจอ William กับ Anna คาดเดาไม่ยากว่าเกิดอะไรขึ้น
    • Stephen เดินทางไปร่วมงานเลี้ยงที่บ้านของ William รับทราบข่าวการหมั้นหมายกับ Anna
  • ปัจฉิมบท,
    • ตัดกลับมาปัจจุบัน Stephen อยู่ในห้องนอนสองต่อสองกับ Anna ก่อนตัดสินใจฉกฉวยโอกาส
    • วันถัดมา Anna ตัดสินใจเก็บข้าวของ เตรียมตัวเดินทางกลับ Austria
      I use the flashback technique very deliberately because I think it gives a great deal of freedom. It allows you to go right inside the character’s mind and see what he’s thinking about. It also enables you to tell a story non-chronologically, which is very interesting. I’ve always felt that life is like a spiral and you’re always coming back to the same things over and over again. So the flashback technique is a way of showing that.
Joseph Loset

ปล. รับชมหนังในปัจจุบัน โครงสร้างการดำเนินเรื่องอาจไม่ได้มีความสลับสับซ้อนนัก ผู้ชมยุคสมัยนั้นเห็นว่าบ่นขรม เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สามารถทำความเข้าใจการเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) ทำไมต้องทำให้ออกมาดูยุ่งยากวุ่นวายเพียงนี้


เพลงประกอบโดย Sir John Phillip William Dankworth (1927-2010) นักดนตรีแซ็กโซโฟน คาริเน็ต แต่งเพลงแจ๊ส และประกอบภาพยนตร์ เกิดที่ Woodford, Essex ในครอบครัวนักดนตรี ร่ำเรียนเปียโน ไวโอลินตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งอายุ 16 มีโอกาสรับฟังผลงานของ Benny Goodman, Charlie Parker เลยเกิดความสนใจแซ็กโซโฟนและดนตรีแจ๊ส เข้าศึกษายัง Royal Academy of Music, ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอาสาสมัคร Royal Air Force เข้าร่วม RAF Music Services, หลังจากนั้นร่วมกับผองเพื่อนก่อตั้งวงดนตรี Johnny Dankworth and His Orchestra, ส่วนเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Saturday Night and Sunday Morning (1960), The Servant (1963), Darling (1965), Accident (1967) ฯ

แบบเดียวกับ The Servant (1963) งานเพลงของ Dankworth คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย (Slow) Jazz มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า เพื่อให้สอดคล้องการดำเนินเรื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ความที่เครื่องดนตรีฮาร์ป (Harp) มีเสียงนุ่มลึก เบาบาง กลมกลืนไปกับพื้นหลัง น้อยคนคงทันสังเกตฟัง เกิดความเข้าใจผิดว่ามีแต่ Sound Effect หรือเพียง ‘diegetic music’ ซึ่งสร้างบรรยากาศตึงเครียดได้เข้มข้นกว่า

สำหรับเสียงแซ็กโซโฟน สามารถเทียบแทนจิตวิญญาณของ Stephen เสียงลมหายใจลากยาวคืออาการโหยหา ใคร่อยากได้เธอมาครอบครอง แต่แล้วกลับประสบพบเจอเหตุการณ์พิลึกพิลั่น นำมาซึ่งความขัดแย้งภายใน ก่อนตัดสินใจกระทำการบางอย่าง โดยไม่สนห่าเหวอะไรอีกต่อไป

Accident (1967) พยายามนำเสนอข้ออ้าง เหตุผล คำอธิบายของ Prof. Stephen (ด้วยวิธีการเล่าเรื่องย้อนอดีต Flashback) ทำไมถึงตัดสินใจฉกฉวยโอกาสกับลูกศิษย์สาว Anna von Graz หลังเธอประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กระทำสิ่ง’ดูเหมือน’ขัดต่อหลักศีลธรรม ความถูกต้องเหมาะสมทางสังคม

Stephen ชายวัยกลางคนที่ถือว่ามีชีวิตสมบูรณ์แบบ แต่วันๆกลับรู้สึกเหน็ดเหนื่อยหน่าย โหยหาสิ่งสร้างความตื่นเต้นท้าทาย ในตอนแรกเพียงแอบชื่นชอบลูกศิษย์สาว ไม่เคยคิดก้าวล่วงเลยเถิด เพราะถูกศีลธรรมทางสังคมค้ำคอ แต่เมื่อถูกกระตุ้น หยอกเย้า พบเห็น Charley เป็นต้นแบบอย่าง รวมถึงรับรู้พฤติกรรมสำส่อนทางเพศของ Anna นั่นคือจุดแตกหักที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมความต้องการ(ทางเพศ)ของตนเองได้อีก! … หนังใช้การเล่าเรื่องย้อนอดีต Flashback เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้ตัวละครกระทำการเช่นนั้น

ผู้ชมที่อยู่ฟากฝั่งอนุรักษ์นิยม ย่อมแสดงความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของ Anna รวมถึง Charley และ Stephen ว่ามีความขัดแย้งต่อหลักศีลธรรม อ้างว่าขัดต่อกฎหมาย (เรื่องการคบชู้นอกใจ) โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์-อาจารย์ โคแก่กินหญ้าอ่อน คือสิ่งไม่ถูกต้องเหมาะสม

แต่สำหรับฟากฝั่งเสรีชนมันมีความก้ำๆกึ่งๆ เยอะแยะถมไปที่เราจะตกหลุมรักคนมีเจ้าของ ครุ่นคิดอยากครอบครอง Anna ก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะ เธออาจมีปัญหาทางบ้าน โหยหาบุคคลพึ่งพักพิง(เสี่ยเลี้ยง)อย่าง Charley ขณะเดียวกันตกหลุมรัก William เลยหมั้นหมายแต่งงาน (ความรักกับเพศสัมพันธ์ถือเป็นคนละสิ่งอย่างกัน) … เหล่านี้คือสามารถเรียกว่า ‘เสรีภาพทางเพศ’ สิทธิในร่างกาย ฉันอยากร่วมเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้ และถือเป็นตัวแทนยุคสมัย Swinging London

ลองมองย้อนกลับทางฟากฝั่ง Stephen ปากอ้างว่ารักภรรยา แต่เมื่อมีโอกาสเดินทางไป London นัดพบเจออดีตคนรักที่ถ่านไฟเก่ายังคุกรุ่น พฤติกรรมดังกล่าวก็เลวร้ายพอๆกับความสัมพันธ์ Charley และ Anna แต่เมื่อมองในมุมมองบุรุษเพศ ข้ออ้างทางศีลธรรมเหล่านั้นกลับดูไม่ใช่สิ่งเลวร้ายสักเท่าไหร่ (นี่วิเคราะห์ในบริบทสมัยก่อนที่บุรุษยังถือเป็นช้างเท้าหน้า แอบซุกเมียยังไม่เลวร้ายเท่าภรรยาหลายใจ)

ชื่อหนัง Accident นอกจากจะสื่อถึงอุบัติเหตุทางรถยนต์ ยังคืออุบัติเหตุของความสัมพันธ์สาม-สี่เส้า ถ้าเรียกแบบไทยๆคือ(อุบัติเหตุจาก)รถไฟชนกัน สามบุรุษตกหลุมรักหนึ่งหญิงสาว

  • William ได้ความรัก แต่ต้องตกตาย
  • Charley ร่วมเพศสัมพันธ์ แต่มิได้ครอบครองจิตใจ
  • ส่วน Stephen ไม่ได้รับโอกาสอะไร แถมยังพยายามข่มขืนใจเธออีก ถึงอย่างนั้นกลับสามารถเติมเต็มความต้องการของตนเอง

การร่วมงานระหว่าง ผกก. Losey กับนักเขียน Pinter มักนำเสนอเรื่องราวที่สร้างปม Trauma ให้ตัวละคร ซึ่งสะท้อนประสบการณ์ตรง เมื่อครั้นถูกผองเพื่อนทรยศหักหลัง องค์กร House Un-American Activities Committee (HCUA) สั่งแบน Hollywood Blacklist ไม่มีเงิน ไม่มีงาน ต้องอพยพหัวซุกหัวซุนสู่ประเทศอังกฤษเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

ชัดเจนมากๆกับตัวละคร Charley (คล้ายๆ Hugo Barrett เรื่อง The Servant (1963)) เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด เคยสนิทสนมชิดเชื้อ แล้ววันหนึ่งค้นพบว่าเป็นคนทรยศพวกพ้อง … ลัทธิล่าแม่มดของ HCUA มักใช้วิธีการบีบบังคับให้ชี้ตัวเพื่อนร่วมขบวนการ เพื่อตนเองจักได้รอดพ้นการถูก Blacklist ซึ่งผกก. Losey ก็โดนเพื่อน(เคย)สนิทชี้ตัว แต่เขาปฏิเสธให้การซักทอดต่อใคร

ตัวละคร Anna von Graz ผมรู้สึกว่าไม่แตกต่างจาก Charley เธอคือบุคคลที่ทรยศความรู้สึกของ Stephen ซึ่งการฉกฉวยโอกาสของเขา แง่มุมหนึ่งดูเหมือนการล้างแค้นเอาคืน … หรือก็คือผกก. Losey ครุ่นคิดอยากโต้ตอบกลับ HCUA แต่ก็ทำได้แค่ปู้ยี้ปู้ยำในสื่อภาพยนตร์เท่านั้นแล


ด้วยทุนสร้างประมาณ £300,000 ปอนด์ แม้จะสามารถคว้ารางวัล Grand Prize of the Jury (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes แต่กลับไม่ได้รับความนิยมจากผู้ชมสักเท่าไหร่ ในอังกฤษทำเงินเพียง £40,010 ปอนด์ เรียกได้ว่าขาดทุนอย่างย่อยยับ

  • Cannes Film Festival (Palme d’Or ปีนั้นตกเป็นของ Blow-Up (1966)
    • คว้ารางวัล Grand Prize of the Jury เคียงคู่กับ I Even Met Happy Gypsies (1967)
  • Golden Globe Award
    • Best English-Language Foreign Film พ่ายให้กับ The Fox (1967) จากแคนาดา
  • BAFTA Award
    • Best British Film พ่ายให้กับ A Man for All Seasons (1966)
    • Best British Actor (Dirk Bogarde)
    • Best British Screenplay
    • Best British Art Direction, Colour

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะคุณภาพ High-Definition โดย BFI National Archive ร่วมกับ StudioCanal และ Optimum Releasing เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2013 สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของค่าย StudioCanal และ Kino Lorber

ระหว่างรับชมผมไม่ได้ชื่นชอบหนังสักเท่าไหร่นะ รู้สึกว่ามันเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า แต่พอความจริงบางอย่างเปิดเผยออกมา มันก็ปลุกตื่น เจ็บแปลบทรวงใน คุ้นๆว่าตนเองเคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆเดียวกัน เลยเกิดความหลงใหล ประทับใจขึ้นมาเล็กๆ

เรื่องราวของหนังมองผิวเผินเหมือนไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไร แต่ก็ชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิดถึงความถูกต้องเหมาะสม ตั้งคำถามจิตสามัญสำนึกทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครู-ลูกศิษย์ โคแก่กินหญ้าอ่อน เสรีภาพทางเพศของอิสตรี ทำไมเรามักอิจฉาริษยาคนพรรค์นี้?

จัดเรต 15+ (ในเครดิตหนังขึ้นเรตติ้ง 16+) กับเรื่องรักๆใคร่ๆ คบชู้นอกใจ ความสัมพันธ์ขัดแย้งต่อศีลธรรม

คำโปรย | Accident อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางจิตใจฝังลึกทรวงในไม่รู้ลืม

คุณภาพ | อุบัติเหตุ ส่วนตัว | เจ็บทรวงใน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

The Collector (1967) : Éric Rohmer ♥♥♥♥

La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ภาพยนตร์ลำดับที่สี่ของ ‘Six Moral Tales’ แต่ออกฉายเป็นเรื่องที่สาม เพราะว่า Jean-Louis Trintignant ติดพันโปรเจคอื่น ไม่มีคิวว่างถ่ายทำ My Night at Maud’s (1969) ผกก. Rohmer เลยตัดใจเลื่อนตารางงานออกไป

แต่จะให้อยู่ว่างๆเฉยๆก็สูญเสียเวลาเปล่า เลยครุ่นคิดพัฒนาโปรเจค La Collectionneuse (1967) ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับวันพักผ่อนว่างๆ แล้วถูกรุกรานโดยหญิงสาวคนหนึ่ง เข้ามาทำลายความสงบสุข พบเจอแต่เหตุการณ์วุ่นๆวายๆ เพราะเธอนำพาผู้ชายมาค้างคืนไม่ซ้ำหน้า

ระหว่างรับชมผมไม่ชอบหนังเท่าไหร่เลยนะ ไอ้พระเอกนี่ตัวเxยเลยละ ชอบพูดเสียดสีถากถาง มองด้วยสายตาดูถูกเหยียดยาม เห็นฝ่ายหญิงดั่งวัตถุทางเพศ (object of desire) ตีตราให้เธอเป็น ‘La Collectionneuse’ ยกยอปอปั้นตนเองว่ามีคุณธรรมสูงส่งค้ำฟ้า

กระทั่งพอดูหนังจบ ก็ทำให้ผมตระหนักได้ว่านี่คือ ‘Moral Tales’ เต็มไปด้วยข้อคิด คติสอนใจ พบเห็นตัวละครแบบนี้ย่อมสร้างจิตสามัญสำนึกถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดีให้กับผู้ชม อีกทั้งความงดงามระดับวิจิตรศิลป์ของ La Collectionneuse (1967) แทบทุกช็อตฉากราวกับคอลเลคชั่นภาพวาดงานศิลปะ (Art Collection) เลยต้องจัดเข้าพวก “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”


Éric Rohmer ชื่อเกิด Jean Marie Maurice Schérer หรือ Maurice Henri Joseph Schérer (1920-2010) นักเขียน นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Nancy (บ้างก็ว่า Tulle), Meurthe-et-Moselle ในครอบครัวคาทอลิก (แต่เจ้าตัวบอกว่าเป็นอเทวนิยม) โตขึ้นร่ำเรียนประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ปรัชญา และศาสนศาสตร์

ปล. Éric Rohmer เป็นคนไม่ชอบเปิดเผยเรื่องส่วนตัว อย่างชื่อจริงและสถานที่เกิด จงใจบอกกับนักข่าวถูกๆผิดๆ ขณะที่ชื่อในวงการเป็นส่วนผสมระหว่างผกก. Erich von Stroheim และนักเขียน Sax Rohmer (ผู้แต่ง Fu Manchu)

หลังเรียนจบ Rohmer ทำงานครูสอนหนังสือที่ Clermont-Ferrand พอสิ้นสุดสงครามโลกตัดสินใจย้ายสู่กรุง Paris กลายเป็นนักข่าวฟรีแลนซ์ ตีพิมพ์นวนิยาย Les Vacances (1946) ระหว่างนั้นเองเรียนรู้จักภาพยนตร์จาก Cinémathèque Française สนิทสนม Jean-Luc Godard, François Truffaut, Claude Chabrol, Jacques Rivette, จากนั้นเข้าร่วมนิตยสาร Cahiers du Cinéma, โด่งดังจากบทความ Le Celluloïd et le marbre (1955) แปลว่า Celluloid and Marble ทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์กับศิลปะแขนงอื่น, นอกจากนี้ยังร่วมกับ Chabrol เขียนหนังสือ Hitchcock (1957) เกี่ยวกับศาสตร์ภาพยนตร์เล่มแรกๆที่ทำให้ผู้อ่านตระหนักว่า สื่อชนิดนี้ไม่ได้แค่ความบันเทิงเท่านั้น

Rohmer เริ่มสรรค์สร้างหนังสั้น Journal d’un scélérat (1950), จากนั้นเขียนบท/ร่วมทำหนังสั้นกับ Jean-Luc Godard อยู่หลายเรื่อง, จนกระทั่งมีโอกาสกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Le Signe du lion (1959) แม้ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในผลงานยุคแรกๆของ French New Wave

สำหรับ Contes Moraux หรือ (Six) Moral Tales ได้แรงบันดาลใจจากโคตรหนังเงียบ Sunrise: A Song of Two Humans (1927) ของปรมาจารย์ผู้กำกับ F. W. Murnau ที่มีเรื่องราวชายหนุ่มแต่งงานครองรักภรรยา แต่แล้วถูกเกี้ยวพาราสีจากหญิงสาวอีกคนจนหลงผิด พอถูกจับได้ก็พยายามงอนง้อขอคืนดี ก่อนจบลงอย่างสุขี Happy Ending

[these stories’ characters] like to bring their motives, the reasons for their actions, into the open, they try to analyze, they are not people who act without thinking about what they are doing. What matters is what they think about their behavior, rather than their behavior itself. Éric Rohmer

เกร็ด: คำว่า moraliste ในภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีความหมายแบบเดียวกับ moralist (ที่แปลว่าคุณธรรม ศีลธรรม) แต่คือลักษณะความเชื่อมั่นทางความคิดของบุคคล อาจจะอ้างอิงหรือไม่อ้างอิงศีลธรรมจรรยาของสังคมก็ได้ทั้งนั้น หรือเรียกว่าอุดมคติส่วนตน/ความเชื่อส่วนบุคคล

a moraliste is someone who is interested in the description of what goes on inside man. He’s concerned with states of mind and feelings. I was determined to be inflexible and intractable, because if you persist in an idea it seems to me that in the end you do secure a following.

เนื่องจาก My Night at Maud’s (1969) มีเรื่องราวคาบเกี่ยวเทศกาลคริสต์มาสถึงวันขึ้นปีใหม่ ปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน สภาพอากาศหนาวเหน็บ, La Collectionneuse (1967) ผกก. Rohmer เลยต้องการปรับเปลี่ยนบรรยากาศมาถ่ายทำช่วงวันหยุดฤดูร้อน (Summer) ยังบ้านพักตากอากาศริมทะเล French Riviera

เกร็ด: ความสนใจเกี่ยวกับสภาพอากาศ ทำให้อีกสองทศวรรษถัดมาผกก. Rohmer สรรค์สร้างภาพยนตร์ 4 เรื่องเกี่ยวกับ ‘Tales of the Four Seasons’ ประกอบด้วย A Tale of Springtime (1990), A Winter’s Tale (1992), A Tale of Summer (1996) และ A Tale of Autumn (1998) ไว้เมื่อมีโอกาสอาจจะเขียนถึงนะครับ

ปัญหาใหญ่ของหนังคือการสรรหางบประมาณ ขณะที่ My Night at Maud’s (1969) ได้รับความอุปถัมภ์จาก François Truffaut แต่สำหรับ La Collectionneuse (1967) กลับไม่มีใครอยากสนับสนุนทุนสร้าง ด้วยเหตุนี้ผกก. Rohmer จึงจำยอมขายลิขสิทธิ์หนังสั้น The Bakery Girl of Monceau (1963) และ Suzanne’s Career (1963) ให้สถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง ได้เงินมา $60,000 เหรียญ เพียงพอแค่ค่าฟีล์ม อุปกรณ์ถ่ายทำ เช่าบ้านพัก และแม่ครัวทำซุปผักสไตล์อิตาเลี่ยน (Minestrone)

The only expenses that summer were for film stock and rent for the house in Saint-Tropez, which was the set and which also housed cast and crew. There was also a small budget line for the salary of the cook, who, the stories go, cooked nothing but minestrone during the entire shooting schedule. James Monaco จากหนังสือ The New Wave: Truffaut, Godard, Chabrol, Rohmer, Rivette (1974)

เมื่อได้สถานที่ถ่ายทำแถวๆ Saint-Tropez จึงรวบรวมทีมงาน นักแสดงสมัครเล่น (ที่เคยร่วมงานตั้งแต่ทำหนังสั้น และสามารถไม่รับค่าตัว –“) ใช้ข้ออ้างมาท่องเที่ยวพักผ่อน แต่เป้าหมายคือสุมหัว ระดมความคิด ช่วยกันครุ่นคิดพัฒนาบทหนัง จากนั้นทำการซักซ้อมจนพักพร้อม เพื่อเวลาเดินกล้องจักได้ถ่ายทำน้อยเทค ไม่เปลืองค่าฟีล์ม … วิธีการทำงานดังกล่าวได้กลายมาเป็นแนวทางของผกก. Rohmer มักให้นักแสดงได้ร่วมครุ่นคิดบทพูดของตนเอง ซักซ้อมจนพักพร้อม และถ่ายทำน้อยเทค

เกร็ด: ในเครดิตบทหนังจะมีขึ้นเครดิต Dialogue By ชื่อของสามนักแสดงนำ Haydée Politoff, Patrick Bauchau และ Daniel Pommereulle


เรื่องราวของ Adrien (รับบทโดย Patrick Bauchau) ชักชวนแฟนสาวให้มาพักผ่อนช่วงวันหยุดฤดูร้อน ยังบ้านเช่าของเพื่อนที่เมือง Saint-Tropez แต่เธอกลับบอกปัดปฏิเสธเพราะต้องบินไปทำงานกรุง London เป็นเหตุให้เขาต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง ร่วมกับเพื่อนสนิท Daniel (รับบทโดย Daniel Pommereulle) วันๆเลยใช้ชีวิตอย่างเรื่อยเปื่อย เอื่อยเฉื่อย เต็มไปด้วยความสงบสันติสุข

จนกระทั่งการมาถึงของหญิงสาวแรกรุ่น Haydée (รับบทโดย Haydée Politoff) ทุกค่ำคืนมักนำพาเพื่อนชายคนใหม่ ส่งเสียงครวญครางจนสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ สองหนุ่มจึงออกคำสั่งห้ามเธอนำพาใครมาหลับนอน หญิงสาวจึงเบนเข็มมาเกี้ยวพาราสี Adrien แต่เขาไม่ต้องการนอกใจแฟนสาวจึงแนะนำให้ไปอ่อยเหยื่อ Daniel ช่วงแรกๆก็เหมือนเข้ากันได้ดี แล้วจู่ๆฝ่ายชายเกิดความไม่พอใจอะไรบางอย่าง พ่นคำด่าทอเสียๆหายๆ ก่อนตัดสินใจหนีออกจากบ้านเช่า

Adrien จึงจำต้องครุ่นคิดแผนการใหม่ ด้วยการชักชวนนักสะสมชาวอเมริกันชื่อ Sam (รับบทโดย Seymour Hertzberg) แรกพบเจอก็มีความลุ่มหลงใหล Haydée หลังจากปล่อยให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันสองวัน จู่ๆเธอดันทำแจกันราคาแพงตกแตก สองหนุ่มเลยต้องเร่งรีบหลบหนีหัวซุกหัวซน และระหว่างทางกลับพบเจอเพื่อนอีกกลุ่มของของหญิงสาว พบเห็นเป็นโอกาสที่จะปล่อยทอดทิ้ง ขับรถกลับบ้านเช่าเพียงลำพัง เพื่อว่าต่อจากนี้ฉันจะได้พักผ่อนวันหยุดฤดูร้อนอย่างสงบสันติสุขเสียที!


Patrick Nicolas Jean Sixte Ghislain Bauchau (เกิดปี 1938) นักแสดงสัญชาติ Belgian เกิดที่ Brussels, ครอบครัวอพยพสู่ประเทศอังกฤษในช่วงสงครามโลก โตขึ้นสอบได้ทุนเรียน Oxford University คณะภาษาสมัยใหม่ (Modern Languages), ช่วงต้นทศวรรษ 60s ค้นพบความสนใจด้านการแสดง ออกเดินทางสู่ฝรั่งเศสแล้วมีโอกาสร่วมงานผกก. Éric Rohmer ตั้งแต่หนังสั้น Suzanne’s Career (1963) [ไม่มีเครดิต], La Collectionneuse (1967), ผลงานเด่นๆ อาทิ Der Stand der Dinge (1982), A View to a Kill (1985), Panic Room (2002) ฯลฯ

รับบท Adrien เทพบุตรผมยาว นักสะสมวัตถุโบราณ อ้างความจงรักแฟนสาว สร้างกำแพงศีลธรรมอันสูงส่งขึ้นมากีดขวางกั้น Haydée ปฏิเสธที่จะสานสัมพันธ์ พยายามออกคำสั่งโน่นนี่นั่น แถมยังตีตราว่าร้ายให้เธอเป็น ‘La Collectionneuse’ พูดตำหนิต่อว่า เสียดสีถากถาง แถมยังครุ่นคิดแผนการผลักไสให้ออกห่าง เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าตนเองถูกต้องทุกสิ่งอย่าง

การแสดงของ Bauchau เต็มไปด้วยภาษากายมากมายนับไม่ถ้วน นั่ง-ยืน-เดิน แหวกว่ายน้ำในท้องทะเล มองด้วยสายตาไม่ยี่หร่าอะไร บ่อยครั้งใช้มือลูบไล้ รุกล้ำเรือนร่างกายหญิงสาว (นี่คือลักษณะของ ‘sexual harassment’) ไฮไลท์ต้องยกให้การใช้น้ำเสียง บรรยายด้วยความเนิบนาบ แต่เต็มไปด้วยอคติ รังเกียจเดียดชัง Haydée ไม่รู้เธอไปทำอะไรให้เขาโกรธเกลียดเคียดแค้นขนาดนั้น

พฤติกรรมสารพัดจะร้ายของ Adrien ไม่ใช่เรื่องง่ายในการอดรนทน เชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่ย่อมเต็มไปด้วยอคติ ไม่เข้าใจว่าหนังต้องการจะสื่ออะไร แต่สำหรับคนเคยรับชม ‘Six Moral Tales’ น่าจะเกิดข้อฉงนสงสัย เพราะตัวละครนี้ไม่มีความเห็นอกเห็นใจตามสไตล์ผกก. Rohmer เช่นนั้นแล้วมันย่อมต้องมีอะไรบางอย่างเคลือบแอบแฝง เมื่อสามารถขบไขปริศนา ย่อมตระหนักถึงบทเรียนอันทรงคุณค่า


Haydée Politoff (เกิดปี 1946) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Saint-Denis, บิดาเป็นชาวรัสเซีย ตั้งชื่อบุตรสาวจากนางเอกวรรณกรรม The Count of Monte Cristo (1844), เธอไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ เลยตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน ระหว่างทำงานร้านกาแฟ Café de Flore บังเอิญพบเจอผกก. Éric Rohmer ชักชวนมาแสดงภาพยนตร์ La Collectionneuse (1966) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที! ต่อมาประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามที่อิตาลี Bora Bora (1968), หลังจากนั้นพอมีผลงานการแสดงประปราย จนได้แต่งงาน แล้วปักหลักใช้ชีวิตอยู่สหรัฐอเมริกา

รับบท Haydée วัยรุ่นสาวที่ไม่ได้สวยเลิศเลอ (ถ้าตามมาตรฐาน ‘beauty standard’ สมัยนั้นถือว่าผอมกระหร่อง) แต่เป็นที่หมายปองของหนุ่มๆ อีกทั้งอุปนิสัยใจง่าย ไม่ได้รักนวลสงวนตัว บรรดาบุรุษทั้งหลายจึงมองเธอดั่งวัตถุทางเพศ (object of desire) เพียงต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ และร่วมรักหลับนอน

รูปร่างหน้าตาของ Politoff ไม่ได้สวยสะเด็ด ยั่วเย้ายวนอย่าง Brigitte Bardot แต่ดูเหมือนหญิงสาวใจง่าย พร้อมไปกับชายทุกคน พูดตรงๆก็คือกระหรี่ โสเภณี หญิงโสมม ‘slut’ สำหรับคนที่มีกำแพงคุณธรรมสูงส่ง พบเห็นแล้วย่อมบังเกิดอคติ รังเกียจเดียดชัง ไม่ต้องการอยู่เคียงชิดใกล้ พยายามตีตนออกให้ห่างไกล

แต่ตัวตนแท้จริงของ Haydée หาใช่ผู้หญิงเก็บแต้มอย่างที่ถูกตีตราว่าไว้! ผมรู้สึกว่าใบหน้าของเธอดูเศร้าๆ เหงาๆ บอกว่ายังไม่เคยมีคนรัก กำลังพยายามค้นหาใครสักคนสามารถเป็นที่พึ่งพักพิง ถึงอย่างนั้นชายใดๆที่พานผ่านเข้ามา ล้วนสนเพียงเรื่องอย่างว่า ไร้บุคคลซื่อสัตย์ มั่นคง จริงใจ ใกล้เคียงที่สุดอาจคือ Adrien แต่หมอนี่กลับพยายามขับไล่ ผลักไส แสดงพฤติกรรมเลวร้ายยิ่งว่าผู้อื่นใด

อาจมีบางคนรู้สึกสาสมน้ำหน้ากับตัวละคร เพราะทำตัวเองเปลี่ยนผู้ชายไม่เลือกหน้า เลยสมควรถูกตีตราว่าร้าย ‘La Collectionneuse’ แต่นั่นเพราะหนังนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองของ Andrien ทุกคำพูด เสียงบรรยาย ล้วนสะท้อนความครุ่นคิดที่เป็นอคติ โดยไม่ได้พยายามเรียนรู้จัก ทำความเข้าใจหัวอกหญิงสาว นั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องสักเท่าไหร่ แถมยังมีการบุกรุกล้ำเรือนร่างกาย (sexual harassment) เราควรรู้สึกสงสารเห็นใจ Haydée มากกว่านะครับ


ถ่ายภาพโดย Néstor Almendros Cuyás (1930-92) ตากล้องสัญชาติ Spanish เกิดที่ Barcelona แล้วหลบลี้หนีภัย (จากจอมพล Francisco Franco) มาอาศัยอยู่ประเทศ Cuba จากนั้นไปร่ำเรียนการถ่ายภาพยังกรุงโรม Centro Sperimentale di Cinematografia, หวนกลับมาถ่ายทำสารคดี Cuba Revolution (1959) พอถูกแบนห้ามฉายก็มุ่งสู่ Paris กลายเป็นขาประจำผู้กำกับรุ่น French New Wave ร่วมงานขาประจำ Éric Rohmer และ François Truffaut ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Days of Heaven (1978) ** คว้า Oscar: Best Cinematography, Kramer vs. Kramer (1979), The Blue Lagoon (1980), Sophie’s Choice (1982) ฯ

ตั้งแต่ที่ Almendros อพยพย้ายสู่ฝรั่งเศส ก็มีโอกาสร่วมถ่ายทำสารคดีฉายโทรทัศน์ของผกก. Rohmer เลยชักชวนมาเป็นผู้ควบคุมกล้อง ‘camera operator’ ให้กับ La Collectionneuse (1967) แต่เพราะโปรเจคนี้ต้องทำฟรีไม่มีค่าจ้าง รวมถึงความขัดแย้งด้านวิสัยทัศน์ระหว่างผู้กำกับและตากล้องคนก่อน Almendros จู่ๆได้รับโอกาสขึ้นมาลองถ่ายภาพ ตาสีตาสา ใช้ทุกสิ่งอย่างที่เพียงมี ทดลองถ่ายทำจนออกมาดูเป็นธรรมชาติ สร้างความโคตรๆประทับใจ กลายเป็นขาประจำร่วมงานกันอีกหลายครั้ง

The film had to have a ‘natural’ look, whether we wanted it to or not, because we had only five photoflood lamps.

His criterion (Rohmer) is that if the image portrays the characters simply, and as close to real life as possible, they will be interesting.

Néstor Almendros

สไตล์อันจะกลายเป็นจุดขายของ Almendros คือลีลาการใช้แสงธรรมชาติ ใครช่างสังเกตจะสามารถแยกแยะได้ว่า

  • เมื่อตอนมีแดดจะพยายามขับเน้นโทนสีส้ม น้ำตาลอ่อนๆ มอบสัมผัสนุ่มนวล อบอุ่น ละมุนไม มักเป็นช่วงเวลาแห่งความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย กระทำสิ่งสร้างความสุขเกษมสำราญ
  • พอแดดหาย หรือหลบซ่อนตัวใต้ร่มเงา มักเป็นช่วงเวลาเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย ขี้เกียจคร้าน ไร้ความสดชื่นชีวิตชา
  • ยามค่ำคืน ส่วนใหญ่ถ่ายตอนเย็นๆไร้แดด ใช้แสงจากหลอดไฟให้น้อยที่สุด (เพราะมันไม่มีให้ใช้) โทนสีน้ำเงินสร้างความรู้สึกหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา

หนังปักหลักถ่ายทำอยู่ยัง Mas de Chastelas บ้านพักหรูสไตล์ Provencal ในย่าน Gassin, Saint-Tropez ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 18 (ในอดีตย่านนี้คือสถานที่ทำฟาร์มไหม, Silkworm) อยู่ห่างจากชายหาด San Tropez Beach เพียง 4 กิโลเมตร และย่านเมือง Saint-Tropez ระยะทาง 6 กิโลเมตร … ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 ได้เปลี่ยนมาเปิดกิจการโรงแรม 5 ดาว (ในมิชลินไกด์ให้ 3 ดาว) มีห้องพัก 14 ห้องนอน 9 ห้องสูท เพิ่มเติมสระว่ายน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีเว็บไซด์ทางการ สามารถจองผ่านเว็บท่องเที่ยว Agoda, Booking ฯลฯ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

La Collectionneuse (1967) คือภาพยนตร์เรื่องแรกของผกก. Rohmer ถ่ายทำด้วยฟีล์มสี Eastmancolor ด้วยเหตุนี้เลยทดลองละเลงสีสันกับตัวอักษรชื่อหนัง แต่จะว่าไปเราสามารถมองว่านี่คือ ‘คอลเลคชั่นสี’ ได้ด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกันหนังก็ใช้อัตราส่วนภาพ Academy Ration (1.37:1) ที่นิยมในโปรดักชั่นฝั่งโทรทัศน์ (คือขนาดของจอตู้โทรทัศน์สมัยก่อน) แต่เหตุผลของผกก. Rohmer น่าจะต้องการทำให้มีลักษณะเหมือนเฟรมผ้าใบ สำหรับใช้วาดภาพงานศิลปะ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หนังเริ่มต้นด้วยการขึ้นข้อความอารัมบท (Prologue) แนะนำสามตัวละครหลัก Haydée, Daniel และ Adrien (ตามลำดับ)

สำหรับ Haydée เริ่มต้นด้วยการเดินแฟชั่นชุดว่ายน้ำริมชายหาด (สีชุดช่างกลมกลืนไปกับผืนน้ำทะเล) กล้องพยายามเก็บรายละเอียดทางกายภาพของเธอ ขณะก้าวเดิน ยืนเหมือนเทพี (แลดูคล้ายๆรูปปั้นแกะสลัก) และถ่ายระยะใกล้แทบเห็นรูขุมขน ในลักษณะของ ‘male gaze’ เพื่อสื่อถึงการจับจ้องมองหญิงสาว (คอลเลคชั่นชุดว่ายน้ำ) แลดูราวกับวัตถุทางเพศ (object of desire)

อารัมบทของ Daniel มีสองสิ่งที่น่าสนใจ

  • สรรค์สร้างงานศิลปะด้วยการติดใบมีดโกนโดยรอบกระป๋อง ในหนังมีการอธิบายถึงคำพูดเฉียบแหลมคม แต่ผมมองว่ามันคือพิษสงรอบตัว พร้อมทำให้ใครก็ตามที่สัมผัสถูกกรีดเลือดไหล ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ (ไม่ได้ตั้งใจให้ชายคนนี้ถูกบาดแต่ก็โดนจนได้)
    • สามารถสะท้อนถึงพูดของตัวละครที่ราวกับอสรพิษพ่นพิษใส่ Haydée สรรพสรรหาถ้อยคำเพื่อสร้างความเจ็บปวด บาดลึกทรวงใน
  • ระหว่างการสนทนา สังเกตว่า Daniel ถอดเสื้อไหมพรมสีเหลือง มาเป็นเชิ้ตแขนยาวสีน้ำเงิน ซึ่งถือว่ามีลักษณะแตกต่างตรงกันข้าม! สะท้อนตัวตนของเขาที่จากเคยพูดน้อย สงบนิ่งเงียบ แต่หลังจากสานสัมพันธ์กับ Haydée ก็เปลี่ยนแปลงราวกับคนละคน

อารัมบทของ Adrien เริ่มต้นด้วยการสนทนานิยามความรัก เปิดประเด็นคำถาม คนเราชื่นชอบบุคคลที่มองว่าน่ารังเกียจ ‘ugly’ ได้อย่างไร? ฟังไปฟังมาผมก็ตระหนักว่าความครุ่นคิดของหญิงสาวคนนี้ สะท้อนตัวตนของ Adrien (ที่นั่ง-นอนคอเอียงๆ รับฟังอย่างเงียบๆ) ซึ่งตรงกันข้ามกับแฟนสาว (ของ Adrien) บอกว่าความรักคือเรื่องของจิตใจ ไม่เกี่ยงว่าภายนอกจะอัปลักษณ์สักแค่ไหน

นี่ถือเป็นสไตล์ของผู้กำกับ Rohmer ชักชวนให้ตั้งคำถาม โดยมีสองทางเลือกให้ผู้ชมลองครุ่นคิด นิยามความรักขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตา เพศสภาพ เชื้อชาติพันธุ์ ชนชั้นฐานะ สิ่งที่สายตามองเห็น หรืออุปนิสัยใจคอ ความงดงามที่อยู่ภายในจิตใจ ต้องเรียนรู้จักกันไปสักพัก ถึงสามารถพบเห็นตัวตนแท้จริงของอีกฝั่งฝ่าย

รับชมภาพยนตร์ของผกก. Rohmer ต้องสังเกตภาษากาย สามารถบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร! อย่างฉากนี้ Adrien กับแฟนสาว

  • เริ่มต้นก้าวเดินมาถึงตำแหน่งนี้ ต่างฝ่ายต่างโอบกอด หันหน้าสบตา แสดงความรักต่อกันอย่างดูดดื่มด่ำ
  • แต่หลังจากเธอบอกว่าไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วม ต้องเดินทางกลับไปทำงานประเทศอังกฤษ ปฏิกิริยาฝ่ายหญิงต้องการที่จะแยกตัวออกห่าง หันเอียงด้านข้าง แต่เขาโอบเหนี่ยวรั้ง พยายามโน้มน้าวให้เปลี่ยนใจ สุดท้ายเธอยังคงผลักไส ทอดทิ้งเขาไป และเดินกลับตัวคนเดียว
    • ผมรู้สึกว่าเธอไม่ค่อยชอบพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ ชอบควบคุมบงการของ Adrien สักเท่าไหร่ แม้ยังรักมากแต่ก็น่าจะใกล้การเลิกรา

แซว: ใครตั้งใจรับฟังซีนนี้จะได้ยินเสียงเครื่องบินแล่นผ่าน ผมครุ่นคิดว่าน่าจะคือสัญลักษณ์การเดินทางของความสัมพันธ์ สถานที่แห่งนี้ราวกับสรวงสวรรค์ จุดสูงสุดที่พวกเขาพากันมาถึง … ก่อนแยกย้ายจากกันไป

หลังแยกทางกับแฟนสาว Adrien เดินตรงมายังสระว่ายน้ำ ทำท่าเหมือนจะกระโดดแต่กลับแค่จับจ้องมองแล้วเดินจากไป นี่อาจสร้างความฉงน เพื่ออะไร?? แต่ไม่นานหลังจากเข้าพักที่ Saint-Tropez พบเห็นกิจวัตรประจำวันยามเช้า ออกไปว่ายน้ำยังชายหาด San Tropez Beach อธิบายว่าคือกิจกรรมสร้างความผ่อนคลาย เพลิดเพลินไปกับวิถีธรรมชาติ

สาเหตุที่ไม่กระโดดน้ำก็เพราะว่า สระแห่งนี้เป็นบ่อขุด ไม่ใช่สายน้ำธรรมชาติ เลยมิอาจทำให้ความว้าวุ่นวายภายในจิตใจสงบลง และอาจไม่ได้เตรียมชุดมาด้วยกระมัง –“

ระหว่างการแหวกว่ายน้ำอยู่ในทะเล จะมีการร้อยเรียงชุดภาพก้อนหิน ประการัง พื้นผิวน้ำพริวไหว ฯลฯ เพื่อสร้างสัมผัสการเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หรือคือ Adrien ต้องการใช้ชีวิตช่วงวันหยุดอย่างอยู่นิ่งเฉย ไม่ต้องการครุ่นคิดทำอะไร … นี่คือลักษณะของบทกวีภาพยนตร์ ไม่รู้กลายเป็นแรงบันดาลให้ผกก. Andrei Tarkovsky หรือเปล่านะ

แซว: ใครติดตามภาพยนตร์ของผู้กำกับยุค French New Wave น่าจะมักคุ้นลีลาการแนะนำสื่อประเภทอื่น แทรกใส่เข้ามาในหนัง อย่างหนังสือเล่มนี้ Œuvres Complètes (ค.ศ. 1786) แปลว่า Complete Work รวบรวมผลงานของ Jean-Jacques Rousseau (1712-78) นักเขียน/นักปรัชญา นักทฤษฎีการเมืองชาว Geneva

Rousseau โด่งดังจากนวนิยายแนวการเมือง มักสอดแทรกคำสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) ยกย่องคุณค่าของคนว่า “ธรรมชาติของมนุษย์มีดีอยู่แล้ว แต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน” พัฒนาการความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น ซึ่งจะทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน และยังให้ข้อสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และความระแวงสงสัย … การอ้างอิงนวนิยายเล่มนี้ ก็เพื่อสื่อถึงการหันเข้าหาธรรมชาติของ Adrien นั่นเองละครับ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ในภาพยนตร์ของผกก. Rohmer การสัมผัส กอดจูบลูบไล้ ‘Physical Contact’ ระหว่างชาย-หญิง ไม่ได้แปลว่าต้องมีฝั่งฝ่ายไหนบังเกิดอารมณ์ทางเพศ หรือพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบ ‘sexual harassment’ เสมอไปนะครับ! แต่คือสัญลักษณ์หนึ่งของภาษากาย สื่อถึงระยะความสัมพันธ์ สนิทสนมใกล้ชิด

อย่างฉากนี้ Haydée ยินยอมให้ Adrien สัมผัสลูบไล้เรียวขา เพราะคาดหวังว่าจะเป็นการสานความสัมพันธ์กับเขา แต่ฝ่ายชายไม่เพียงไม่มีอารมณ์ร่วมใดๆ ตรงกันข้ามลูบไล้เสร็จก็พูดคำหยามเหยียด พยายามให้อีกฝั่งฝ่ายรู้สึกรังเกียจ จะได้ตีตนออกห่างไกล ไม่อยากอยู่เคียงชิดใกล้

แซว: ไม่รู้ทำไมพบเห็นฉากนี้แล้ว ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Claire’s Knee (1970) ชายวัยกลางคนพยายามครุ่นคิดหาวิธี เพื่อจะได้สัมผัสกับเข่าของวัยรุ่นสาวชื่อ Claire โดยไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการเอารัดเอาเปรียบ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ขณะที่ Haydée นอนอ่านหนังสือบนเตียงผ้าใบอยู่เงียบๆ สองหนุ่มนั่งเอนตัวอยู่บนเนินเขา (ตำแหน่งสูงกว่าราวกับพระราชา) ก็เริ่มครุ่นคิดให้คำนิยาม “She’s a collector!” เพราะพฤติกรรมสำส่อน ร่วมหลับนอนผู้ชายไม่เลือกหน้า ขัดย้อนแย้งต่อศีลธรรมมโนธรรมทางสังคม สิ่งแรกที่ฝ่ายหญิงกระทำคือขาขึ้นมาข้างหนึ่ง (ภาษากายที่สามารถสื่อว่า ส้นตีนเถอะ!) แล้วพูดคำแก้ตัวว่าฉันไม่ใช่คนแบบนั้น เพียงกำลังค้นหาบางสิ่งอย่าง/ใครบางคน

เกร็ด: หนังสือของ Haydée ชื่อว่า Le Romantisme allemand (1966) แปลว่า German Romanticism ซึ่งได้ทำการรวม ‘คอลเลคชั่นเรื่องสั้น’ แนวโรแมนติกของชาวเยอรมัน แปลโดย Albert Béguin (1901-1957) สัญชาติ Swiss ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Cahiers du Sud ตั้งแต่ปี 1949 (รวมเล่มตีพิมพ์หลังการเสียชีวิต)

ผมรู้สึกว่าบรรดาท่านั่ง-ยืน-นอน ที่พบเห็นในหนัง ล้วนมีการโพสท่วงท่าที่ดูแปลกๆ ชวนให้ระลึกถึงรูปแกะสลัก ภาพวาดงานศิลปะยุคสมัย Renaissance หรือผลงานของ Michelangelo ซึ่งก็สามารถเหมารวมถึงการนำเสนอ ‘คอลเลคชั่นงานศิลปะ’ ได้เช่นกัน

ผมเลือกสองช็อตนี้มาอธิบายเคียงคู่กัน เพื่อให้สังเกตถึงตำแหน่งสูง-ต่ำ ในการนั่งนอนของตัวละคร ซึ่งสะท้อนการวางตัว ทัศนคติของชายทั้งสองที่มีต่อหญิงสาว

  • Adrien มักวางตัวหัวสูงส่งกว่า Haydée อยู่เสมอๆ
  • แม้หลังจาก Daniel มีความสัมพันธ์กับ Haydée เขายังคงนั่งครองบัลลังก์บนโซฟาใหญ่ ปล่อยให้เธอนั่งเก้าอี้ตัวเล็ก แถมยังเอาขาวางพาดด้านบน เพื่อให้เห็นว่าหญิงสาวคือบุคคลต่ำต้อยด้อยค่ากว่า

อาชีพนักสะสมวัตถุโบราณของ Adrien สามารถสะท้อนมุมมองทัศนคติ ความเชื่อส่วนบุคคล ยึดถือมั่นในขนบกฎกรอบ ขนบประเพณีทางสังคม เลยไม่แปลกที่จะแสดงพฤติกรรมรังเกียจต่อต้าน Haydée ซึ่งเป็นตัวแทนหญิงสาวรุ่นใหม่ โหยหาเสรีภาพ กระทำสิ่งตอบสนองความต้องการของหัวใจ

แจกันสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279) คือสิ่งที่ Adrien จับจ้องมองหามาแสนนาน สิ่งของรักของหวง ราวกับแฟนสาวในอุดมคติ! ผิดกับ Haydée ถูกเปรียบดั่งแจกันอีกใบที่เป็นเพียงของแถม ของปลอม ให้ไปฟรีๆโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย … ด้วยเหตุนี้ แจกัน จึงคือสิ่งสัญลักษณ์ที่สามารถสะท้อนค่านิยมทางสังคม (ของ Adrien)

  • แจกันสมัยราชวงศ์ซ่ง คือตัวแทนขนบธรรมเนียมทางสังคมที่ยึดถือปฏิบัติมายาวนาน (ข้ออ้างศีลธรรมของ Adrien)
  • แจกันปลอม แทนค่านิยมของคนสมัยใหม่ ไร้มูลค่า ไร้ราคา สามารถผลิตซ้ำได้ทั่วไป

ด้วยเหตุนี้ การทำลายแจกันสมัยราชวงศ์ซ่งของ Haydée สามารถสื่อถึงคนรุ่นใหม่ จักเป็นผู้ทำลายล้างระเบียบทางสังคมที่เคยยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา … นี่เป็นการพยากรณ์อนาคตของ Mai ’68 ได้เลยนะครับ!

ค่ำคืนที่ Daniel อดรนทน Haydée ไม่ไหวอีกต่อไป (เอาจริงๆผมก็ไม่เข้าใจว่าเขามีอคติอะไรกับเธอนะครับ) ยืนย่ำเท้าอยู่หน้ากระจก (เหมือนการนับถอยหลังเวลาที่อยู่บ้านพักแห่งนี้) สร้างความรำคาญ พร่ำพูดเสียดสีถากถาง ขณะที่หญิงสาวสวมชุดสีดำ (มวลรวมแห่งความชั่วร้าย ตรงข้ามกับสีขาวบริสุทธิ์) นอนแผ่ผังพาบอยู่บนโซฟา (ไม่รู้ทำไมทำให้ผมนึกถึงบรรดาภาพนู้ดของ Amedeo Modigliani) และหลังจากนี้จะมีละเล่นกับหลอดสีแดง (เลือด?)

เกร็ด: หนังสือเล่มนี้คือ Dracula (ค.ศ. 1897) ต้นฉบับแต่งโดย Bram Stoker, นี่น่าจะสื่อถึงพฤติกรรม ‘Vamp’ (มาจากคำเต็มๆว่า Vampire) หมายถึง หญิงที่ล่อลวงชายด้วยเสน่ห์, จะว่าไปชุดสีดำที่สวมใส่อาจจะอ้างอิงถึง Les Vampires (1915–16) โคตรหนังซีเรียนคลาสสิกของ Louis Feuillade (ที่ Irma Vep สวมใส่ชุดยางสีดำ ซึ่งยังคือจุดเริ่มต้นของคำเรียก ‘Vamp’ อีกด้วยนะ)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ฉากเล็กๆชวนฉงนของคนถามทาง ขับรถทิศไหนถึงสามารถออกไปยังท้องทะเล? ดูจากภาษากายของ Adrien เหมือนว่าเขาจะไม่รับรู้อะไร แต่กลับพยายามชี้บอกมั่วๆไป แล้วถูกโต้ตอบกลับว่าทะเลมันอยู่ฝั่งตรงข้ามไม่ใช่หรือ … อ้าว ถ้ารู้แล้วจะถามทำไม?

ผมมองนัยยะของฉากนี้ ล้อกับทิศทางการตัดสินใจของ Adrien สิ่งที่เขาครุ่นคิดว่าถูก มันอาจไม่จำเป็นว่าต้องถูกต้องเสมอไป อย่างการตีตราว่าร้าย Haydée ตัวตนแท้จริงของเธออาจไม่ใช่ ‘La Collectionneuse’ ซึ่งก็ไม่น่าใช่จริงๆนะแหละ!

และการเลือกกล้องมุมนี้ให้ถ่ายติดทะเล (นี่มันแม่น้ำมากกว่านะ) เหมือนต้องการสื่อว่าก็พบเห็นปลายทาง/ข้อเท็จริง (เกี่ยวกับ Haydée)อยู่ทนโท่ แต่ก็ยังเลือกบอกทิศทางอย่างผิดๆ/ตีตราหญิงสาวอย่างเสียๆหายๆ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

แม้ว่าตำแหน่งที่นั่งจะหันกันคนละทิศทางสามเส้า แต่การสนทนาส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง Adrien กับ Sam ขณะที่ Haydée ทำได้เพียงรับฟังอย่างสงบเงียบงัน (แสดงถึงความไม่สนใจ ไม่รับรู้ ไม่ประสีประสาอะไรทั้งนั้น)

  • Adrien พยายามจะอธิบายหลักการ อุดมการณ์ความเชื่อ ‘moral’ ของตนเอง
  • ขณะที่ Sam จักค่อยๆตระหนักถึงเบื้องหลังของ Adrien เลยพยายามกระชากหน้ากาก เปิดโปงตัวตนแท้จริง

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกว่า Adrien พูดถึงตัวเองได้น่าสนใจมากๆ

I think sincerely, that I serve mankind better by resting. Adrien

ผมมองถึงสิ่งที่ถือเป็นนัยยะของตัวละคร นั่นคือบุคคลผู้ยึดถือมั่นในกฎกรอบ ขนบประเพณี วิถีทางสังคม อนุรักษ์นิยม ขวาจัด คนประเทศนี้สามารถทำประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติด้วยการพักผ่อน ลงโลง ไปตายซะ! … นี่แอบสะท้อนความหัวก้าวหน้าของผกก. Rohmer ได้อย่างคมคายมากๆ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผมไม่ได้จะอธิบายซ้ำนะครับว่าแจกันสมัยราชวงศ์ซ่งสื่อนัยยะอะไร แต่อยากให้สังเกตชุดของ Haydée ท่อนบนมีโทนสีใกล้เคียงแจกันมากๆ (สามารถสื่อถึงเปลือกภายนอกที่เธอยังต้องแสดงออกตามขนบประเพณีทางสังคม) แต่ท่อนล่างตั้งแต่หน้าอกลงมากลับเป็นอีกสีน้ำเงิน (ธงชาติฝรั่งเศสคือสัญลักษณ์ของ ‘เสรีภาพ’) สะท้อนความต้องการของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะสิทธิ์ในเรือนร่างกายของตนเอง

แซว: เสื้อของ Adrien ก็เขียวล้วนเลยนะครับ (คงไม่ต้องอธิบายกระมังว่าสื่อถึงอะไร)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

I break whatever I wish. Haydée

ผมชอบประโยคนี้นะ ไม่ใช่แค่การทำแจกันตกแตก แต่รวมไปถึงการแหกกฎกรอบ ขนบประเพณี ทุกสิ่งอย่างที่ขัดย้อนแย้งต่อวิถีความเชื่อส่วนบุคคล และภาพสะท้อนในกระจกเงาสองบาน ก็สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจที่แตกร้าว (กระจกสองบาน = สองตัวตนที่อยู่ภายในจิตใจ) เพราะเป็นอีกครั้งที่หญิงสาวสูญเสียชายคนรัก (Sam) ที่คาดหวังจะพึ่งพักพิง

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ล้อกับตอนที่ Daniel ยืนย่ำเท้าส่งเสียงสร้างความรำคาญ ก่อนหลบหนีออกจากบ้านพักวันถัดมา, Adrien ก็เฉกเช่นเดียวกัน มิอาจอดรนทนต่อเสียงบีบแตรไล่รถคันหลัง เลยตัดสินใจปล่อยทอดทิ้ง Haydée ที่กำลังสนทนากับเพื่อนฝูงไว้ข้างหลัง จากนั้นได้ยินเสียงบรรยายทำการยกย่องปอปั้น สรรเสริญหนทางเลือกของตนเอง กล่าวอ้างว่าคือสิ่งถูกต้องเหมาะสม ด้วยภาพใบหน้าเต็มกระจกมองหลัง (สามารถสื่อถึงอีโก้ที่เอ่อล้น จิตใจอันคับแคบ แสดงออกถึงตัวตนไม่ใคร่สนความรู้สึกของ Haydée เลยสักนิด!)

การกระทำดังกล่าวของ Adrien ถือเป็นจุดแตกหัก/ตัดหางปล่อยวัด Haydée ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมของบุคคลที่มีความ ‘สุดโต่ง’ ยึดถือมั่นในอุดมการณ์ความเชื่อของตนเองอย่างแรงกล้า จนไม่สามารถโอนอ่อนผ่อนปรน ให้การยินยอมรับอีกฝั่งฝ่ายขั้วตรงข้าม ในบริบทนี้คืออนุรักษ์นิยม ขวาจัด!

หลังจาก Adrien ตัดสินใจตัดหางปล่อยวัด Haydée เขาก็ได้รับอิสรภาพสนองความต้องการ อาศัยอยู่บ้านพักหลังนี้ตัวคนเดียว สามารถใช้ชีวิตอย่างสงบสุข สันโดดเดี่ยว เคียงข้างธรรมชาติ แต่เพราะมนุษย์มิอาจธำรงอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว เกิดความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว เมื่อตระหนักถึงความจริงข้อนี้ จึงมิอาจอดรนทนแม้เสียววินาทีเดียว! … โทรศัพท์ไปยังสายการบิน ต้องการเดินทางไปหาแฟนสาวที่อังกฤษโดยพลัน!

ความน่าสนใจของช็อตสุดท้ายนี้ก็คือ ภายในห้องพักมีความอึมครึม มืดครื้ม ขณะที่ภายนอกกลับส่องแสงแดดจร้า (มีความตัดกันระหว่างภายนอก-ใน) เพื่อต้องการสื่อว่าตัวคนเดียวมันเปล่าเปลี่ยวหัวใจ โลกภายนอกต่างหากที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น อิ่มเอมหฤทัย

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตัดต่อโดย Jacky Raynal หรือ Jacquie Raynal ขาประจำในผลงานยุคแรกๆของ ผกก. Éric Rohmer ตั้งแต่ The Bakery Girl of Monceau (1963) จนถึง La Collectionneuse (1967)

หลังจากอารัมบท หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาพร้อมเสียงบรรยายของ Adrien ระหว่างอาศัยอยู่บ้านพักตากอากาศย่านเมือง Saint-Tropez ช่วงแรกๆมีเพียงเพื่อนสนิท Daniel กระทั่งการมาถึงของ Haydée นำพาความวุ่นวายเข้ามาในชีวิต จึงครุ่นคิดสารพัดแผนการเพื่อขับไล่ ผลักไส ตีตนออกให้ห่างไกล

ผมแบ่งแยกองค์ประกอบของหนังจาก ‘La Collectionneuse’ ของ Haydée ที่พยายามเกี้ยวพาราสีชายทุกคนที่พบเจอ โดยจะมีอยู่ 3 บุคคลหลักๆประกอบด้วย Andrien (ไม่สำเร็จ), Daniel และ Sam

  • อารัมบท แนะนำตัวละคร
    • ถ่ายแบบชุดว่ายน้ำของ Haydée
    • ตรรกะของ Daniel
    • สนทนาเรื่องความรักของ Adrien แล้วชักชวนแฟนสาวไปพักผ่อนฤดูร้อนร่วมกัน
  • ช่วงเวลาแห่งความสงบสันติสุข
    • กิจวัตรประจำวันของ Adrien และ Daniel ยังบ้านพักตากอากาศ
  • การมาถึงของ Haydée
    • นำพาชายหนุ่มแวะเวียนเข้ามายังบ้านพักตากอากาศไม่ซ้ำหน้า สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Adrien และ Daniel ออกคำสั่งห้ามไม่ให้เธอนำใครมาอีก
  • Haydée เกี้ยวพาราสี Andrien
    • เมื่อถูกบีบบังคับเช่นนั้น Haydée จึงพยายามเกี้ยวพาราสี Adrien ใช้เวลาอยู่ร่วมกันสองต่อสอง แต่เขากลับสร้างกำแพงศีลธรรมขึ้นมาขวางกั้น และชี้แนะนำให้ไปคบหากับ Daniel
  • Haydée เกี้ยวพาราสี Daniel
    • เมื่อสานสัมพันธ์กับ Daniel ช่วงแรกๆก็ดำเนินไปด้วยดี แล้วจู่ๆเขากลับเกิดความไม่พึงพอใจ Haydée และตัดสินใจออกไปจากบ้านพักแห่งนี้
  • Haydée กับพ่อค้าของสะสม Sam
    • พ่อค้าของสะสม Sam เพื่อนของ Andrien เมื่อแรกพบเจอ Haydée ก็เกิดความชื่นชอบหลงใหล แต่หลังจากอาศัยอยู่ร่วมกันเพียงสองวัน เธอพลั้งพลาดทำของสะสมชิ้นหนึ่งตกแตก เลยต้องหลบหนีหัวซุกหัวซุน
  • ปัจฉิมบท การตัดสินใจของ Adrien
    • ระหว่างทางกลับบ้านพัก Haydée พบเจอเพื่อนชายอีกกลุ่มหนึ่ง Adrien เลยตัดสินใจปล่อยทอดทิ้งเธอไว้ตรงนั้น
    • แต่พอกลับมาบ้านพัก หลงเหลือเพียงตัวคนเดียว ก็มิอาจทนความโดดเดี่ยวอ้างว้างได้อีกต่อไป

การที่หนังนำเสนอเรื่องราวผ่าน’มุมมอง’ของ Adrien แต่เพียงผู้เดียว ก็เพื่อสร้างความรู้สึกอึดอัด ด้วยโลกทัศน์อันคับแคบ (อัตราส่วนภาพก็แค่ Academy ratio, 1.37:1) กำแพงศีลธรรมอันสูงส่งห้อมล้อมรอบตนเอง สนเพียงเปลือกภายนอกพบเห็น แล้วทำการวิพากย์วิจารณ์ ใช้ถ้อยคำด่ากราดรุนแรง ไม่พยายามเรียนรู้จัก ทำความเข้าใจตัวตนของอีกฝั่งฝ่าย

ลีลาการตัดต่อหนังขนาดยาว (feature length) ของผกก. Rohmer แตกต่างจากหนังสั้นอย่างมากๆ เมื่อตอน The Bakery Girl of Monceau (1963) มีความรวดเร็ว กระชับ ฉับไว ‘jump cut’ ก็ยังมี! แต่ตั้งแต่ La Collectionneuse (1967) ให้เวลากับบทพูดสนทนา แช่ภาพค้างไว้หลายวินาที บางซีนใช้เพียงช็อตเดียวเท่านั้น! เพื่อผู้ชมสามารถซึมซับบรรยากาศสถานที่ ราวกับได้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนฤดูร้อนยัง French Riviera

หนังถือว่าไม่มีบทเพลงประกอบ นอกเสียจาก ‘diegetic music’ ดังขึ้นจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง และตอน Opening Credit เห็นว่าเรียบเรียงโดย Giorgio Gomelsky จากวงดนตรีสัญชาติอังกฤษ The Blossom Toes ที่ทำเพลงแนว Psychedelic Pop


Adrien คือชายหนุ่มที่มีคู่หมั้นหมายปอง พยายามชักชวนเธอมาอาศัยอยู่ด้วยกันช่วงวันหยุดฤดูร้อน แต่เมื่อถูกบอกปัดปฏิเสธก็เลยต้องการใช้ชีวิตอย่างเงียบๆ เรื่อยเปื่อยไปวันๆ จนกระทั่งการมาถึงของ Haydée สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ (ผสมความอิจฉาริษยาด้วยกระมัง) เลยวางแผนขับไล่ ผลักไส ชี้ชักนำให้ไปเกี้ยวพาราสีชายอื่น ไม่ต้องการสานสัมพันธ์ นอกใจหญิงสาวคนรัก

วิธีการของ Adrien ว่ากันตามตรงก็ไม่แตกต่างจากเรื่องอื่นๆของ ‘Six Moral Tales’ บุรุษมีสตรีคนรักอยู่แล้ว กำลังถูกท้าทายโดยหญิงสาวแปลกหน้า แต่ด้วยความยึดถือมั่นในหลักการ อุดมการณ์ความเชื่อ ข้ออ้างศีลธรรมอันสูงส่ง จึงพยายามกีดกันผลักไส ไม่ต้องการกระทำสิ่งขัดแย้งต่อ ‘moral’ ของตนเอง

แต่บทเรียนของ La Collectionneuse (1967) คือพฤติกรรมแสดงออกของ Adrien อยู่ดีไม่ว่าดี เริ่มจากการตำหนิต่อว่า พูดจาเสียดสีถากถาก มองด้วยสายตาดูถูกเหยียดหยาม ตีตราว่าร้าย Haydée เปรียบดัง ‘La Collectionneuse’ ชื่นชอบสะสมแต้มชาย แถมยังพยายามขับไล่ ผลักไส ปฏิบัติกับเธอราวกับไม่ใช่มนุษย์มนา … นั่นใช่สิ่งที่ ‘สุภาพบุรุษ’ สมควรกระทำเสียที่ไหน

แม้จะมีส่วนจริงที่ Haydée แสดงพฤติกรรมสำส่อน เปลี่ยนผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครควรตำหนิต่อว่า ตีตราให้ร้าย เธออาจมีเหตุผลบางอย่างของตนเอง ต้องการมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย เราควรกล่าวโทษบุรุษทั้งหลายมากกว่า สนเพียงจะครอบครองเป็นเจ้าของ ร่วมรักหลับนอน น้ำแตกแล้วแยกทาง นั่นต่างหากคือสิ่งผิดหลักศีลธรรม มโนธรรม สะท้อนความต่ำตมของสังคมในปัจจุบัน

การแสดงความคิดเห็น วิพากย์วิจารณ์ เอาจริงๆมันไม่ได้ผิดอะไรนะครับ ก็เหมือน raremeat.blog วิจารณ์ภาพยนตร์ คนคอมเมนต์ใน Social Media ฯ แต่สิ่งที่มันไม่เหมาะสมคือการวิพากย์โดยใช้มุมมองของตัวเราเองเพียงด้านเดียวมาตัดสินคนอื่น! Adrien มองเพียงเปลือกภายนอก พฤติกรรมเปลี่ยนผู้ชายไม่ซ้ำหน้าของ Haydée หาได้พยายามครุ่นคิดเข้าใจ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ ที่เธอแสดงออกแบบนี้เพราะอะไร

แซว: ลักษณะของการวิพากย์วิจารณ์ผู้อื่นและตัวตนเอง คือสไตล์ลายเซ็นต์ภาพยนตร์แห่งยุคสมัย French New Wave

ผมมีความโคตรๆประทับใจต่อ Haydée แม้รับฟังคำตำหนิต่อว่า ติเตียนด่าทอ แต่เธอกลับไม่เคยโต้ตอบกลับ แสดงออกทางอารมณ์ หรือฉันต้องพิสูจน์อะไรให้ใครเห็น … Social Media เป็นสื่อสาธารณะแบบเปิด ผมเองก็ชอบเข้าไปอ่านข้อความกล่าวถึง raremeat.blog ทั้งแง่ดีและลบ แต่หลังๆมานี้รู้สึกว่ามันมีความ ‘toxic’ อันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างขึ้นเรื่อยๆ ใจจริงก็ไม่ได้อยากโต้ตอบกลับอะไรเพราะรำลึกถึงคำสอนท่านพุทธทาสไว้เสมอว่า “หมาเห่าอย่าเห่าตอบ เพราะมันจะทำให้มีหมาเพิ่มอีกตัว” แต่บางครั้งความรุนแรงมันก็สามารถแก้ปัญหา

คนที่ติดตาม raremeat.blog มาสักระยะน่าจะรับรู้ว่างานเขียนของผมมีลักษณะ ‘provocative’ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา อารมณ์ร่วม มักแสดงความคิดเห็นในลักษณะนอกกระแส สวนทางสังคม เพื่อให้ผู้อ่านได้เกิด’ปัญญา’สำหรับทำความเข้าใจสิ่งนั้นๆโดยรอบด้าน

“ไม่รู้ว่าน่ายินดีหรือสมเพศเวทนา กับชาร์ทภาพยนตร์ที่เคยได้รับการยกย่องว่าน่าเชื่อถือที่สุดในโลก”

ลองไปหาตามเพจ เว็บไซต์ นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ไม่มีใครกล่าวถึงชาร์ท Sight & Sound: The Greatest Films of All Time 2022 ในทิศทางด้านลบเลยนะครับ มีแต่คนยกยอปอปั้นว่าสามารถสะท้อนบริบททางสังคมยุคสมัยนี้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งๆในมุมมองของคนรักหนังทั่วๆไป ผลลัพท์ของชาร์ทนี้ถือว่าโคตรๆน่าผิดหวัง ยิ่งเมื่อลงรายละเอียดคนโหวตจะสังเกตพบเห็นความผิดปกติมากมาย หลายคนมักเลือกผลงานจากประเทศตนเอง 1-2 เรื่อง, กำกับโดยผู้หญิง 1-2 เรื่อง, LGBT+ คนผิวสี 1-2 เรื่อง, หรืออย่าง Wes Anderson บอกว่าตอนนี้ฉันอยู่ฝรั่งเศสก็เลยเลือกเฉพาะหนังฝรั่งเศส ฯลฯ มันไม่ผิดอะไรที่จะโหวตแบบนี้นะครับ แต่ลองถามใจตัวเองดูว่าชาร์ทที่ใครต่อใครมี ‘mindset’ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามบริบททางสังคม มันยังคงมีความน่าเชื่อถือของ The Greatest Film of All Time อยู่อีกไหม?

บทความลักษณะนี้ถือว่ามีลักษณะของการสวนกระแสสังคม ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่คุณมองเห็นสาระของมันหรือเปล่า? คนบางคนเกิดอารมณ์เพราะไม่เห็นด้วยที่ผมแสดงความคิดเห็นอย่างแรงๆ พยายามชี้ชักนำผู้อ่าน แต่มันต่างอะไรกับหนังของ John Cassavetes, ‎Andrzej Żuławski ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Possession (1981) ที่เต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด รับชมแล้ว/อ่านแล้วทำให้คุณเปิดมุมมองที่อยู่อีกฟากฝั่งขั้วตรงข้าม เออเว้ยเห้ยมันทำแบบนี้ได้ด้วยว่ะ มีคนไม่ชอบชาร์ทนี้ด้วยอ่ะ … เหรียญมีสองด้านเสมอนะครับ!

กลับมาที่ La Collectionneuse (1967) พฤติกรรมของ Andrien จะว่าไปก็ยังสะท้อนค่านิยมของสังคม อดีต vs. ปัจจุบัน ยุคสมัยก่อนที่ชายเป็นใหญ่/ช้างเท้าหน้า จึงมักออกกฎระเบียบ ข้ออ้างทางศีลธรรมมากมาย หญิงสาวต้องรักนวลสงวนตัว ปฏิบัติตามกฎกรอบข้อบังคับ ห้ามแต่งตัวโป๊เปลือย รักษาความบริสุทธิ์ รวมถึงแต่งงานครองรักกับบุรุษเพียงหนึ่งเดียว … เหล่านี้คือข้ออ้างทางศีลธรรม ‘moral’ อันสูงส่งของคนสมัยก่อน

แต่มันก็เพราะบุรุษเองนะแหละที่กระทำสิ่งขัดย้อนแย้งต่อหลักการของตนเอง คบชู้สู่หญิง นอกใจภรรยา เมื่อพบเห็นอะไรไม่น่าพึงพอใจก็ใส่อารมณ์ ใช้กำลังความรุนแรง มาจนถึงปัจจุบันวิถีทางดังกล่าวจึงเสื่อมกระแสนิยม ได้รับการโต้ตอบกลับ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทำไมหญิงสาวต้องรักนวลสงวนตัว มันก็เสรีภาพของฉันจะแต่งตัวโป๊เปลือย มีเพศสัมพันธ์ไม่ซ้ำหน้า แต่งงาน-หย่าร้าง แลกคู่ รวมกลุ่ม ไม่จำกัดเพศสภาพ ฯลฯ

ประสบการณ์จากเคยเป็นครูสอนหนังสือ ทำให้ผกก. Rohmer สามารถสังเกตพฤติกรรมวัยรุ่นหนุ่มสาวยุคสมัยนั้น 60s แม้เจ้าตัวอายุกว่า 40+ (ขณะสร้าง La Collectionneuse อายุ 45-46 ปี) แต่ก็ยังสามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของ French New Wave (แก่สุดในรุ่น) สรรค์สร้างผลงานสะท้อนวิถีทางสังคมที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป … อารัมบทก่อนเข้าสู่เหตุการณ์ Mai ’68


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ในฝรั่งเศสช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967 ก่อนได้รับเลือกเข้าร่วมเทศกาลหนังเมือง Berlin (ช่วงเดือนมิถุนายน) คว้ามาสองรางวัลอย่างไม่มีใครคาดคิดถึง

  • Silver Berlin Bear: Special Prize of the Jury เคียงข้างกับ Next Year, Same Time (1967)
  • Youth Film Award: Best Feature Film Suitable for Young People

แม้หนังได้เสียงตอบรับอย่างยอดเยี่ยมจากผู้ชม/นักวิจารณ์ในยุโรป แต่เมื่อเข้าฉายสหรัฐอเมริกากลับมีเพียงเสียงบ่น ‘boring’ ถึงอย่างนั้นกาลเวลาก็พิสูจน์คุณค่าของภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเฉพาะนักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4 และจัดเป็น Great Movie

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ ร่วมกับ ‘Six Moral Tales’ เรื่องอื่นๆ คุณภาพ 2K สามารถหาซื้อแบบ Boxset หรือรับชมได้ทาง Criterion Channel

อย่างที่บอกไปว่า ผมไม่ค่อยประทับใจเรื่องราวของหนังระหว่างรับชมสักเท่าไหร่ สันดานตัวละครแม้งเxยสุดตรีนจริงๆ แต่หลังจากครุ่นคิดทบทวน หาอ่านบทความวิจารณ์ต่างประเทศ ก็ระลึกได้ว่านี่คือ ‘Moral Tales’ ที่นำเสนอความไม่ถูกต้องของอุดมการณ์/หลักการ ข้ออ้างศีลธรรม โดยไม่รู้ตัวเกิดความขนลุกขนพอง ตระหนักว่าสามารถใช้เป็นบทเรียนสอนจิตสามัญสำนึกได้อย่างทรงคุณค่าโคตรๆ … จะว่าไปนี่อาจเป็น Contes moraux ยอดเยี่ยมที่สุดในทั้งหกเรื่องเลยกระมัง!

‘Six Moral Tales’ เป็นซีรีย์แนะนำกับวัยรุ่น คนหนุ่มสาว รับชมให้เกิดความตระหนักถึงหนทางเลือก การตัดสินใจ ไม่ได้ชี้แนะว่าอะไรถูก-ผิด ขึ้นอยู่กับตัวเราจะขบครุ่นคิด ยึดถือปฏิบัติตาม บทเรียนสอนการดำรงชีวิต

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” นี่เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอข้ออ้างทาง ‘moral’ ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนสอนตัวเราให้รู้จักมีสติ ไม่ลุ่มหลงงมงายความเชื่อแบบผิดๆ จนปฏิเสธครุ่นคิดทำความเข้าใจผู้อื่น บุคคลประเภทนี้สุดท้ายแล้วจะเหลือเพียงตัวตนเอง ใครกันจะอยากอยู่เคียงข้าง

จัดเรต 15+ กับคำพูดเสียดสี ถากถาง รังเกียจผู้หญิง มองเธอดั่งวัตถุทางเพศ

คำโปรย | La Collectionneuse เพลิดเพลินไปกับวันว่างๆ ของสะสมของผู้กำกับ Éric Rohmer งดงามระดับวิจิตรศิลป์ และแฝงข้อคิดที่เป็นคติสอนใจ

คุณภาพ | วิจิตรศิลป์ ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Week-end (1967) : Jean-Luc Godard ♥♥♥♥

สิ้นสุดสัปดาห์ภาพยนตร์ยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำพาผู้ชมออกเดินทาง (Road Movie) จากสังคมเมือง มุ่งสู่ชนบท แล้วลงขุมนรก! นำเสนอความเสื่อมถดถอยของอารยธรรม ผ่านบทพิสูจน์แห่งศรัทธา ดินแดนแฟนตาซี โลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย และท้ายสุดคือการสูญเสียความเป็นมนุษย์

ระหว่างเดินทางไปโปรโมทภาพยนตร์ La Chinoise (1967) ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ผู้กำกับ Godard ให้คำอธิบายภาพยนตร์เรื่องถัดไป ใช้ชื่อทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Weekend แต่เขียนอย่างมีลูกเล่นว่า Week-End

a couple… who go driving on the highways for a weekend. Jean-Luc Godard

ฟังดูผิวเผินคงเป็นภาพยนตร์แนว Road Movie อารมณ์ชิลๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ท่องเที่ยววันหยุดสุดสัปดาห์แบบ It Happened One Night (1934), Il sorpasso (1962) แต่ความเป็นจริงแล้วยิ่งดูยิ่งเครียดพอๆกับ The Wages of Fear (1953) แถมเต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ให้ขบครุ่นคิด นำพาสองสามี-ภรรยาจากจุดสูงสุดอารยธรรม ค่อยๆตกต่ำลงเรื่อยๆจนกลายเป็น ‘Cannibalism’ เรียกว่าสูญสิ้นความเป็นมนุษย์! … แต่ก็แล้วแต่ผู้ชมจะมองว่าเรื่องราวทั้งหมดคือ Tragedy หรือ Comedy

Week-end (1967) ยังคือความตั้งใจของผู้กำกับ Godard อาจเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย “-End” เพราะรายรับที่ล้มเหลว ขาดทุนย่อยยับมาตั้งแต่ Made in U.S.A. (1966) ทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีใครอยากรับชมผลงานของตนเองอีกต่อไป!

วันสุดท้ายในกองถ่าย ผู้กำกับ Godard บอกกับเพื่อนร่วมงานขาประจำ ตากล้อง Raoul Coutard, นักตัดต่อ Agnès Guillemot และ ‘script girl’ Suzanne Schiffman ให้มองหางานทำใหม่ หลังจากนี้จะเลิกสรรค์สร้างภาพยนตร์ไปสักพัก … แต่ไม่นานเขาก็ได้รับโอกาสในการทำหนังฉายโทรทัศน์ (ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีโอกาสร่วมทีมงานขาประจำอีกแล้ว)


Jean-Luc Godard (1930-2022) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ French-Swiss เกิดที่กรุง Paris บิดาเป็นนายแพทย์ชาว Swiss ฐานะร่ำรวย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองหลบลี้ภัยอยู่ Switzerland, เริ่มรู้จักภาพยนตร์จากการอ่านบทความ Outline of a Psychology of Cinema เขียนโดย André Malraux ตามด้วยความสนใจนิตยสาร La Revue du cinéma จากนั้นเริ่มมีโอกาสพบปะผู้คนในวงการ, เมื่อปี 1950 สมัครเข้าศึกษาคณะมานุษยวิทยา University of Paris แต่ไม่เคยเข้าเรียนสักครั้ง เพราะไปหมกตัวอยู่ Ciné-Clubs ตามด้วย Cinémathèque Française รับรู้จักบรรดาพรรคเพื่อนผู้หลงใหลในศาสตร์ภาพยนตร์ François Truffaut, Jacques Rivette, Claude Chabrol, เคยร่วมกับ Éric Rohmer ก่อตั้งวารสาร La Gazette du cinéma แต่อยู่รอดแค่เพียงห้าฉบับ! จากนั้นได้รับคำชักชวนจาก André Bazin กลายเป็นนักวิจารณ์(คนแรกของกลุ่มที่ได้)ตีพิมพ์บทความลงนิตยสาร Cahiers du Cinéma ระหว่างนั้นก็ทดลองทำหนังสั้น และกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Breathless (1960) ** ได้รับการยกย่องว่าคือจุดเริ่มต้นยุคสมัยใหม่ (Modern Cinema)

ตั้งแต่ความล้มเหลวไม่ทำเงินของ Made in U.S.A. (1966) ทำให้ผู้กำกับ Godard เริ่มตระหนักว่ากลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ของตนเองลดน้อยถอยลง ถ้าผลงานถัดๆไปยังขาดทุนย่อยยับเยิน คงไม่มีโปรดิวเซอร์คนไหนยินยอมออกทุนให้อีกแน่

I know that my films don’t do well. Made in USA was a total flop. Two or Three Things isn’t doing well. If nobody goes to see my films, I’ll have to stop. Or to find another way of making them. Or do something else. If only I knew a way to make as much money doing something else, I’d do it. Jean-Luc Godard

โชคดีว่าผู้กำกับ Godard ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโปรดิวเซอร์ Raymond Danon ให้ทำการดัดแปลงเรื่องสั้น La autopista del Sur แปลว่า The Southern Thruway ต้นฉบับแต่งโดย Julio Cortázar (1914-84) นักเขียนชาว Argentine

เกร็ด: อีกผลงานที่ดังๆของ Cortázar คือ Las babas del diablo กลายเป็นภาพยนตร์ Blowup (1966) กำกับโดย Michelangelo Antonioni

ด้วยสไตล์การทำงานของผู้กำกับ Godard จึงนำเพียงแนวคิด เค้าโครงของเรื่องสั้นดังกล่าว (เลยไม่ได้ขึ้นเครดิต) แล้วทำการปรับเปลี่ยนเนื้อหาภายในให้สอดคล้องความสนใจ จนกลายมาเป็น Week-end (1967) และเผื่อใจไว้อย่างมากๆว่าอาจเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย

By following a young managerial couple on the road, I will attempt to show all the perversions which flow from that state of affairs. The journey, begun in apotheoses, will end in tragi-comedy (having left in a new car, our heroes will come home on foot…). Jean-Luc Godard

สองสามีภรรยา Roland (รับบทโดย Jean Yanne) และ Corinne Durand (รับบทโดย Mireille Darc) อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรูกลางกรุง Paris ต่างครุ่นคิดวางแผนทรยศหักหลังกันและกัน แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นพวกเขาต้องออกเดินทางช่วงสุดสัปดาห์ เพื่อไปเยี่ยมเยียนครอบครัวของ Corinne ที่ต่างจังหวัด คาดหวังกองมรดกจากบิดาใกล้หมดสิ้นลมหายใจ

แต่การเดินทางครั้งนี้ พวกเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ขบวนรถติดยาวสุดลูกหูลูกตา อุบัติเหตุเฉียดเป็นเฉียดตาย การท้าทายศรัทธาจากพระเจ้า หลุดเข้าไปในโลกแห่งความเพ้อฝันจินตนาการ ระหว่างกำลังหลบหนี/หาทางกลับกรุง Paris ถูกจับกุมตัวโดยกลุ่มฮิปปี้ อ้างว่าคือสมาชิก FLSO (Front de Libération de la Seine-et-Oise) แท้จริงแล้วกลับเป็นพวกชอบกินเนื้อมนุษย์ โอกาสรอดชีวิตของทั้งสองช่างต่ำยิ่งนัก


Mireille Darc ชื่อจริง Mireille Christiane Gabrielle Aimée Aigroz (1938-2017) นักแสดง/นางแบบ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Toulon, ครอบครัวเปิดกิจการร้านขายของชำเล็กๆ ฐานะยากจน พออายุ 15 เลยตัดสินใจเลิกเรียนหนังสือ หันมาเอาจริงเอาจังด้านการเต้น เข้าเรียนต่อ Conservatoire Toulon Provence Méditerranée พอเดินทางเข้ากรุง Paris เริ่มจากเป็นนักแสดงโทรทัศน์ พอมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ Pouic-Pouic (1963), รับบทนำครั้งแรก Les Barbouzes (1964), ผลงานเด่นๆ อาทิ Week-end (1967), The Tall Blond Man with One Black Shoe (1972) ฯ

รับบท Corinne Durand ภรรยาผู้เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ แอบคบชู้ โหยหาเสรีภาพทางเพศสัมพันธ์ ครุ่นคิดวางแผนฆาตกรรมสามี แต่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เป็น-ตาย ก็พร้อมปรับตัวเพื่อเอาชีพรอด โดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ไร้ซึ่งอุดมการณ์ เป้าหมายชีวิตใดๆทั้งนั้น

ทั้งสองนักแสดงนำ Mireille Darc และ Jean Yanne คือตัวเลือกของโปรดิวเซอร์ที่ผกก. Godard ไม่สามารถตอบปัดปฏิเสธ ต่างเป็นดารามีชื่อเสียงพอสมควรในฝรั่งเศส (คาดหวังใช้เป็นจุดขายของหนัง) เขาเพียงแสดงความคิดเห็นว่า “a very plausible couple”

ถึงอย่างนั้นผกก. Godard กลับเต็มไปด้วยอคติต่อ ‘ภาพจำ’ ของ Darc เมื่อตอนแรกพบเจอก็แทบไม่ยินยอมพูดคุยอะไร มีสีหน้าเหนื่อยหน่ายจนกระทั่งเธอสอบถาม ได้รับคำตอบที่สร้างความกระอักกระอ่วนใจอย่างรุนแรง ‘คือก็ไม่ได้อยากร่วมงานกันหรอกนะ แต่เพราะบทบาทนี้คือหญิงสาวนิสัยแย่ๆ เลยเหมาะสมกับเธอดี’

When I ask him why he is consenting to make this sacrifice, his answer chokes the laughter in my throat: “Because I don’t like you, I don’t like the character you play in your films and who you are in life, and because the character in my film must be unpleasant. Oh, I almost forgot: your hair is too blonde; make it light chestnut. And come without makeup; just a little under the eyes, and even so …” Mireille Darc

มีอยู่ฉากหนึ่ง László Szabó ต้องตบหน้าตัวละครของ Darc ผู้กำกับ Godard เรียกทั้งสองให้มาซักซ้อม ทดสอบหน้ากล้องนับสิบๆครั้ง นั่นมันผิดสังเกตเอามากๆ

I had a scene with her where I was eating a sandwich, she was hungry and asked me for a piece. My mouth was full, I kissed her, then slapped her. “How come you kiss me, then slap me?” “Like the Americans do with the Arabs.” That was my line. He had us rehearse the scene ten times. He was taking his revenge on her. László Szabó

ด้วยเหตุนี้ตลอดทั้งเรื่อง Darc จึงเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด สีหน้าหงุดหงิด อารมณ์บูดบึ้งตึง ไม่พึงพอใจต่อการทำงานครั้งนี้ ราวกับกำลังตกอยู่ในขุมนรก ต้องพยายามอดรนทน อีกไม่นานย่อมสามารถเอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลานี้ได้สำเร็จ … คือมันก็พูดยากนะว่าการสร้างบรรยากาศแย่ๆในกองถ่าย เพื่อให้นักแสดงถ่ายทอดความรู้สึกแย่ๆนั้นออกมา เป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่า แต่ผลลัพท์ถือว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย


Jean Yanne ชื่อจริง Jean Roger Gouyé (1933-2003) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Les Lilas ก่อนหน้าเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ ต่อมากลายเป็นนักเขียน จับพลัดจับพลูมีโอกาสแสดงละครโทรทัศน์ ตามด้วยภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ Week-end (1967), This Man Must Die (1969), We Won’t Grow Old Together (1972) ฯ

รับบท Roland Durand สามีผู้เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ แอบคบชู้ โหยหาเสรีภาพทางเพศสัมพันธ์ ครุ่นคิดวางแผนฆาตกรรมภรรยา แต่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เป็น-ตาย พยายามหาหนทางหลบหนีเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ผลลัพท์เลยถูกเข่นฆาตกรรม กลายเป็นอาหารอันโอชาของพวกกินเนื้อมนุษย์

ผู้กำกับ Godard ไม่ได้มีอคติต่อ Yanne เทียบเท่า Darc จึงไม่ได้รับการปฏิบัติที่ย่ำแย่ขนาดนั้น แต่เขาก็ตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะต้องรักษาระยะห่างจากทั้งสอง เป็นประสบการณ์ทำงานที่สุดแสนทรมาน ยากจะลืมเลือน

บทบาทของ Yanne มีความละม้ายคล้าย Darc ยังกะแกะ! เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด สีหน้าหงุดหงิด อารมณ์บูดบึ้งตึง ไม่พึงพอใจต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ พร้อมใช้ความรุนแรงกับทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่หนทางออกของตัวละครนั้น ปฏิเสธประณีประณอมอ่อนข้อเหมือนภรรยา คงด้วยเกียรติ ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย ฆ่าได้หยามไม่ได้ แค่พอตกตายไป ก็กลายเป็นมื้ออาหารอันโอชา


ถ่ายภาพโดย Raoul Coutard (1924-2016) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของบรรดาผู้กำกับ French New Wave, สมัยเด็กตั้งใจร่ำเรียนเคมี แต่ไม่มีทุนการศึกษาเลยหันมาเป็นช่างภาพ เข้าร่วมสงคราม French Indichina War (1946-54) ในฐานะ ‘war photographer’ อาศัยอยู่เวียดนามถึง 11 ปี กลับมาฝรั่งเศสกลายเป็นฟรีแลนซ์ให้นิตยสาร Paris Match และ Look กระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้กำกับ Pierre Schoendoerffer ทั้งๆไม่เคยมีประสบการถ่ายทำภาพยนตร์ แต่กลับได้เสียงชื่นชม The Devil’s Pass (1958), ติดตามมาด้วยผลงานแจ้งเกิดโด่งดัง Breathless (1960), Shoot the Piano Player (1960), Vivre sa Vie (1962), Jules et Jim (1962), Le Mépris (1963), Bande à part (1964), Pierrot le Fou (1965), Z (1969) ฯลฯ

ครั้งสุดท้ายที่ผกก. Godard ร่วมงานตากล้องขาประจำ Coutard ออกเดินทางจากกรุง Paris มุ่งสู่ชนบท Oinville-Sur-Montcient, Ile de France ไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรหวือหวา เรียบง่ายธรรมดาๆ แพนนิ่ง, แทร็กกิ้ง, วนไป-วนมา ฯลฯ แต่ขยับขยายระยะเวลาถ่ายทำ ‘Long Take’ จนสร้างความผิดสังเกต ฉงนสงสัย ชวนให้ขบครุ่นคิดถึงสาเหตุผล รายละเอียด Mise-en-scène ทุกช็อตฉากล้วนมีนัยยะซุกซ่อนเร้น

การละเลงสีสัน Eastmancolor ของ Week-End (1967) มอบสัมผัสที่แตกต่างจากผลงานเรื่องอื่นๆ โดยปกติแล้วจะมีการขับเน้นความสว่าง (Contempt, Pierrot le Fou) ฉูดฉาด (La Chinoise) หรือไม่ก็เต็มไปด้วยความหลากหลายของป้ายโฆษณา (Made in U.S.A., Two or Three Things I Know About Her) แต่เรื่องนี้กลับใช้โทนสีเข้มๆ สร้างบรรยากาศมืดหมองหม่น เพื่อสะท้อนการเดินทางสู่จุดจบ ขุมนรก แห่งความหมดสิ้นหวัง


หนังเริ่มต้นที่อพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่ง สามารถสื่อถึงจุดสูงสุดอารยธรรม พวกเขาเหม่อมองลงมาพบเห็นเบื้องล่างเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การใช้กำลังรุนแรง สะท้อนถึง(จุดสูงสุดของ)โลกยุคสมัยเสรีทุนนิยม มนุษย์จักเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ‘ปัจเจกบุคคล’ ปฏิเสธการประณีประณอม อ่อนน้อมถ่อมตน สนเพียงกระทำสิ่งสร้างผลประโยชน์ ตอบสนองตัณหาความใคร่

เช่นกันกับสองสามี-ภรรยา Roland และ Corinne Durand ต่างแอบคบชู้นอกใจ คิดคดทรยศหักหลังอีกฝั่งฝ่าย เพียงเฝ้ารอคอยกลับมาจากเยี่ยมญาติครั้งนี้ หวังว่าชีวิตฉันคงจะได้รับอิสรภาพเสียที … สังเกตว่าหนังเปิดเผยความสัมพันธ์ของทั้งในลักษณะตารปัตรตรงกันข้าม

  • Corinne แอบมีชู้กับเพื่อนสนิทระหว่างยืนอยู่ตรงระเบียง
  • Roland กำลังคุยโทรศัพท์กับชู้รัก ภายในห้องนอน

หลายคนน่าจะคาดเดาไม่ยากว่า ผู้กำกับ Godard คงเพิ่งรับชม Persona (1966) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman ที่ตัวละครของ Bibi Andersson พูดเล่าประสบการณ์ Orgy ซึ่งเขาได้คัทลอกคำกล่าวตัวละครของ Mireille Darc จากเรื่องสั้น Histoire de l’œil (1928) แต่งโดย Georges Bataille (1897-1962) ซึ่งทำการพรรณาความสัมพันธ์ทางเพศของวัยรุ่นสองสามคน

ผมไม่ได้มีความสนใจในเรื่องเล่าของ Corinne เพราะเสียงเพลงประกอบดังมากๆ เหมือนพยายามจะกลบเกลื่อน บอกผู้ชมว่าจะรับฟังหรือไม่ฟังก็ได้ ณ จุดสูงสุดของเสรีภาพทางเพศ (ในหนังเล่าเรื่องการสวิงกิ้ง หญิงสอง-ชายหนึ่ง) เป็นสิ่งที่อัปลักษณ์พิศดาร ผิดแผกแปลกประหลาด ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สมควรยินยอมรับ สามารถตีความถึงการทรยศหักหลัง เพื่อตอบสนองตัณหาความใคร่ พึงพอใจส่วนตน

สังเกตว่าระหว่างกำลังเล่าเรื่องนั้น กล้องจะเคลื่อนเข้า-เคลื่อนออก Lont-Take ตลอดทั้งซีเควนซ์ และหลังจากสำเร็จกามกิจรอบแรก Corinne เดินเข้าไปให้ครัวแล้วกลับมานั่งหันอีกด้าน เพื่อเล่าต่ออีกเรื่องที่มีลักษณะกลับตารปัตรตรงกันข้าม จากเคยรู้สึกเหมือนถูกกระทำมาครานี้เป็นผู้กระทำเสียเอง

Roland: Is this true, or a nightmare? Corinne: I don’t know.

นี่เป็นโลกทัศน์เบี้ยวๆของชาวตะวันตก เพราะพวกเขาถูกปลูกฝังมาตั้งแต่โบราณกาล การแต่งงานต้องผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) เมื่อครั้นออกล่าอาณานิคม พบเห็นพฤติกรรมคนต่างสีผิว ทั้งแอฟริกันและคนเหลืองเต็มไปด้วยเมียน้อย นางสนมเยอะๆ เลยตีตราว่าเป็นความป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม ด้วยเหตุนี้ถ้าในอนาคตโลกดำเนินมุ่งสู่ทิศทางนั้น ก็จักเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งโลกาวินาศ

ความยียวนกวนประสาทของเด็กชาย (Christophe Bourseiller) สวมใส่ชุดอินเดียนแดง พยายามจะแบล็กเมล์/รีดไถเงิน Roland และ Corinne สะท้อนถึงคนรุ่นใหม่ที่ได้ถูกปลูกฝัง เรียนรู้จักพฤติกรรมแย่ๆเหล่านั้นตั้งแต่เล็ก (สื่อภาพยนตร์นี่ตัวดีเลยนะ!) แล้วอนาคตเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น โลกจะดำเนินไปเช่นไร (ล้อกับความป่าเถื่อนของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง ที่เป็นผลกระทบจากการเข้ามารุนรานของคนขาวในสหรัฐอเมริกาด้วยนะครับ!)

ซึ่งทั้งสองเมื่อเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ พยายามโต้ตอบกลับอย่างรุนแรง ตาต่อตาฟันต่อฟัน จึงถูกมารดาของเด็กชาย และสามี/เจ้าของอพาร์ทเม้นท์เอาปืนมายิงขับไล่ … ฝ่ายชายคือนักแสดง/ผู้กำกับละครเวที Antoine Bourseiller (1930-2014) สามีคนแรกของ Agnès Varda ขณะนั้นแต่งงานกับ Chantal Darget ต่างมารับเชิญในฉากนี้

แซว: ฉากนี้ถือว่าล้อกับตอนที่ Antoine Bourseiller อนุญาตให้ผกก. Godard หยิบยืมอพาร์ทเม้นท์ในการถ่ายทำ La Chinoise (1967) เดือนกว่าๆกลับมาพบเห็นสภาพ … คงจะอยากเอาปืนมาขับไล่ยิงอย่างแน่แท้!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

9 นาทีกับ 3 Longggg Shot ได้รับการจดจำ พูดกล่าวถึงมากที่สุดในผลงานของ ผกก. Godard ไม่ใช่แค่การล้อเลียน ‘รถติด’ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น

  • ขณะที่ใครต่อใครยินยอมต่อแถว รอคอยให้รถขับเคลื่อนไปอย่างช้าๆ Roland กลับขับรถในเลนสวนทาง แซงหน้าทุกคัน ทำผิดกฎจราจรแบบไม่ยี่หร่าอะไรใคร
    • สะท้อนความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่สนกฎระเบียบข้อบังคับ แตกแถว นอกคอก ปฏิเสธทำตามข้อตกลงการอยู่ร่วมกันทางสังคม
  • แต่ระหว่างที่พวกเขาพานผ่านรถคันต่างๆ ต่างก็เห็นผู้คนเหล่านั้นพยายามใช้ประโยชน์จากช่วงเวลารถติด นั่งปิคนิก รับประทานอาหาร โยนลูกบอล หรือหากิจกรรมเล่นสนุกสนาน
    • สะท้อนถึงการแสวงหาผลประโยชน์ภายใต้กฎกรอบข้อบังคับ พยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน
  • พานผ่านอุบัติเหตุ รถชน คนเสียชีวิต แต่ก็แทบไม่มีใครให้ความสนใจ
    • แสดงถึงความเร่งรีบ เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ทำไมฉันต้องเข้าไปวุ่นวายกับปัญหาของผู้อื่น

นอกจากนี้เสียงบีบแตร, เป่านกหวีด, Sound Effect อื้ออึงของฝูงชน ฯลฯ ร่วมสร้างบรรยากาศตึงเครียดระหว่างรถติดได้เป็นอย่างดี (ใครเคยขับรถ ย่อมสามารถสัมผัสความรู้สึกนั้น!) จนกระทั่งสามารถพานผ่านต้นตอของปัญหา บทเพลงแห่งการปลดปล่อย เสรีภาพ เพื่อสื่อถึงการดิ้นหลุดพ้นจากอารยธรรมของมนุษยชาติ แต่ก็ไม่ได้มีท่วงทำนองหายใจทั่วท้องสักเท่าไหร่

เหตุการณ์รถติดเกิดขึ้นได้ไม่ใช่แค่อุบัติเหตุ หรือความประมาท แต่ยังคือปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ “ปลาหมอตายเพราะปาก” “หมองูตายเพราะงู” ในที่นี้หมายถึงอารยธรรม/ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ เมื่อได้รับการพัฒนามาจนถึงจุดๆหนึ่ง มันก็มักจะหวนกลับมาร้างปัญหา/ทำลายตัวตนเอง … เทคโนโลยีสร้างความสะดวกสบายให้แก่บุคคล แต่นำพาหายนะสู่มวลมนุษย์ รวมถึงโลกของเรา

The traffic jam shows us a civilization that has gotten clogged up in its own artifacts. Roger Ebert

ผู้กำกับ Godard ให้คำอธิบายนัยยะของฉากนี้ ทำไมต้อง Long Take ยาวนานหลายนาที? “Politics is a traveling shot”. การเมืองในบริบทนี้สื่อถึงความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ฝั่งซ้าย(เริ่มต้น)-ฝั่งขวา(สิ้นสุด) ช่างมีความเยิ่นยาวนาน เหินห่างไกลยิ่งนัก ไม่มีทางที่สองขั้วตรงกันข้ามจักสามารถเผชิญหน้า ประณีประณอม หาจุดกึ่งกลางร่วมกัน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

“THE CLASS STRUGGLE” เมื่อรถหรูพุ่งชนรถแทร็คเตอร์ ทำให้คนขับซึ่งพ่อรวยเสียชีวิตคาที หญิงสาวแม้ได้รับบาดเจ็บสาหัส กลับลุกขึ้นมาด่าทอ(คนขับ)รถแทรคเตอร์ ขณะที่ชาวบ้านอื่นๆต่างยืนไทมุง จับจ้องมองอยู่ห่างๆพร้อมป้ายโฆษณาแปะเต็มด้านหลัง (ผมรู้สึกเหมือนผู้บริโภคกำลังรับชมละครดราม่า) ไม่มีใครสนใจเข้ามาให้ช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่ง Roland กับ Corinne จู่ๆถูกลากเข้ามาเกี่ยวข้อง เลยบึ่งรถหนีโดยพลัน

ฉากนี้เหมือนพยายามนำเสนอความขัดแย้ง การล่มสลายของชนชั้นวรรณะ แต่แท้จริงๆแล้วคือความสูญเสียของเฉพาะพวกชนชั้นกลางและสูง เพราะพวกเขาต่างมีความหมกมุ่นยึดติดในวัตถุ สิ่งข้าวของ เงินๆทองๆ มีอะไรมากมายให้ต้องสูญเสีย ผิดกับชนชั้นล่าง/กรรมกรแรงงาน เพราะความยากจนข้นแค้น ชีวิตแทบไม่มีอะไรติดตัว เลยไม่รู้สึกสูญเสียสักเท่าไหร่

นอกจากนี้ยังสะท้อนความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่ไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ อะไรที่ไม่ใช่เรื่องของฉัน ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องเขาไปยุ่งเกี่ยว สร้างภาระให้กับตนเอง จับจ้องมองเหมือนภาพยนตร์ดราม่า แทบจะไม่ละครน้ำเน่าหลังข่าว

เกร็ด: Juliet Berto นอกจากเล่นเป็นหญิงสาวโต้ถกเถียงคนขับรถแทรกเตอร์ เหมือนว่านั่นคือสาเหตุให้เธอเข้าร่วมกลุ่ม FLSO กลายเป็นนักปฏิวัติกินเนื้อมนุษย์ (ชายคนนี้ กระมัง)

Roland และ Corinne ถูกชาย-หญิงปล้นจี้รถ สั่งให้พาไปส่งยังประเทศอังกฤษ ทำเหมือนตนเองเป็นพระเจ้า สามารถเสกกระต่ายออกจากช่องเก็บของ เลยสอบถามทั้งสองอยากได้อะไรตอบแทน

Roland: A big Mercedes sports car? Corinne: An Yves St. Laurent evening dress? Roland: A Miami Beach hotel? Corinne: Make me a blonde, a natural blonde. Roland: A squadron of Mirage IVs, like the yids used to thrash the wogs. Corinne: A weekend with James Bond.

ทุกอย่างที่สามี-ภรรยาคู่นี้พูดร้องขอ ล้วนคือวัตถุ ข้าวของ สิ่งตอบสนองตัณหาส่วนตน ไม่มีอะไรเพื่อผู้อื่น หรือสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ เรียกว่าเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไร้สาระจนพระเจ้าไม่อยากจะให้ เลยถูกแก่งแย่งปืน ขับไล่ลงจากรถ แต่ทันใดนั้นซากปรักหักพังถูกเสกให้กลายเป็นฝูงแกะ … ฤานี่พระเจ้าตัวจริง??

ทั้งซีเควนซ์นี้แสดงถึงความสูญสิ้นศรัทธาศาสนา พระเป็นเจ้า มนุษย์หันมาเชื่อในวิทยาศาสตร์ วัตถุข้าวของ สิ่งสามารถพิสูจน์จับต้อง มองเห็นได้ด้วยตา ละทอดทิ้งจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ หรือการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ

หลังจากหลบหนีจากพระเจ้า Roland ก็กลายเป็นควายหลุดบนท้องถนน วิ่งโฉบเฉี่ยวซ้าย-ขวา ผลักดันจักรยาน รถคันอื่นจนตกข้างถนน กระทั่งถึงคราวของตนเองพลิกคว่ำ ฟีล์มหนังก็เช่นกัน นี่ก็ล้อกับ Persona (1966) ที่มีการทำฟีล์มขาด ถูกเผาไหม้ ฯลฯ สร้างภาษาภาพยนตร์(จากแผ่นฟีล์ม)เพื่อสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในตัวละคร … แต่ Week-end (1967) ไม่ได้เล่นอะไรไปมากกว่าทำให้ภาพหลุดเฟรมช็อตนี้นะครับ

Corinne: My Hermès handbag!

แม้รถจะคว่ำ แต่ Corinne กลับรำพันถึงกระเป๋าถือ Hermès ราคาน่าแพงโคตรๆ สำคัญกว่าชีวิต สามี หรือทรัพย์สินอื่นใด แทบจะขาดใจตายเพราะมิอาจนำออกมาได้ … นี่ก็แสดงถึงความหมกมุ่นยึดติดในวัตถุนิยม มองมุมหนึ่งรู้สึกน่าขัน ขณะเดียวกันมันก็คือโศกนาฎกรรม

แซว: พอแบ่งภาพออกเป็นสามแถบ แอบชวนให้นึงถึงธงไตรรงค์ฝรั่งเศส น้ำเงิน-ขาว-แดง กลายมาเป็น

  • liberté (น้ำเงิน)เสรีภาพในการขับรถ พุ่งชน เข่นฆาตกรรมคนตาย
  • égalité (ขาว) ความเสมอภาคเท่าเทียมไม่มีอยู่จริง (ภาพแถบดำ)
  • fraternité (แดง) ภารดรภาพอยู่บนท้องฟ้า เบื้องบน สรวงสวรรค์ ชนชั้นสูง
    Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Jean-Pierre Léaud รับเชิญเป็นสองตัวละคร ในฉากที่ติดๆกันเลย นี่ย่อมสร้างความสับสนว่าคือตัวละครเดียวกันรึเปล่า? หรือต้องการแฝงนัยยะอะไร? จะว่าไปก็มีนักแสดงรับเชิญบางคนที่เล่นสองบทนะครับ

  • ตัวละครแรกคือ Louis Antoine de Saint-Just (1767-94) นักปฏิวัติ นักปรัชญาการเมือง หนึ่งในบุคคลสำคัญช่วง French Revolution เคยได้รับฉายาว่า Archangel of the Terror
    • Freedom is violence. Like crime. … Freedom will kill herself in the long struggle.
    • ข้อความที่อ่านนำจากหนังสือ L’esprit de la Révolution et de la Constitution de la France (1790) แปลว่า The Spirit of the Revolution and the Constitution of France รวบรวมแนบคิดปรัชญา-การเมืองของ Saint-Just ในช่วงครึ่งปีหลัง ค.ศ. 1790
  • ตัวละครที่สองคือชายในตู้โทรศัพท์ กำลังขับร้องบทเพลง Allo, tu m’Entends? (1964) แปลว่า Hello, can you hear me? โดยไม่ใคร่สนใจการเมือง หรือยินยอมให้ความช่วยสามี-ภรรยาคู่นี้ แถมด้วยรถสป็อตยังมีที่นั่งเดียว (เป็นรถที่มีความเห็นแก่ตัวเอามากๆ)

ข้อความที่ปรากฎก่อนนำเข้าตอนนี้คือ “FROM THE FRENCH REVOLUTION TO GAULLIST WEEKENDS” คงต้องการแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองยุคสมัย อดีตกำลังถูกลืมเลือน ปัจจุบันหลงเหลือเพียงความเห็นแก่ตัว ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากใครอีกต่อไป

Blandine Jeanson รับบทเป็น Emily Brontë (1818-48) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ เจ้าของผลงานอมตะ Wuthering Heights (1847) แต่สวมชุดราวกับ Alice in Wonderland เอาแต่พูดพร่ำบทกวี และตั้งคำถามที่ไม่มีใครให้คำตอบได้

Yves Afonso รับบท Tom Thumb ตัวการ์ตูนในเทพนิยาย The History of Tom Thumb (1962) จริงๆต้องมีขนาดไม่ใหญ่กว่านิ้วหัวแม่โป้ง (เลยได้ชื่อ Thumb) แต่หนังให้ตัวละครขนาดเท่ามนุษย์ปกติ มักได้รับก้อนหิน(ขนาดเท่าหัวแม่โป้ง)จาก Emily Brontë ไม่รู้เหมือนกันเอาไปทำอะไร

ทั้งสองตัวละครมีความเกี่ยวเนื่องกับวรรณกรรม เทพนิยาย ซึ่งสามารถแทนด้วยจินตนาการเพ้อฝัน (ท่ามกลางป่าดงพงไพร) ซึ่งช่วงท้าย Roland ได้ทำการจุดไฟเผา Emily Brontë เป็นสัญลักษณ์ของการทำลายหนังสือ (แบบเดียวกับที่คอมมิวนิสต์จีน ทำในช่วง Cultural Revolution) ปฏิเสธสิ่งสร้างความบันเทิง ทำให้มนุษย์สูญเสียความสามารถในการจินตนาการ

นี่เป็นช็อตเล็กๆที่ผมแอบชื่นชอบ เมื่อครั้น Emily Brontë ก้มหน้าอ่านหนังสือ ราวกับมีแสงสว่างเปร่งประกายบนใบหน้า เพื่อแสดงถึงความเจิดจรัส คุณประโยชน์ของการอ่าน ซึ่งคำถามที่เธออ่านมาจากหนังสือของ Lewis Carroll ซึ่งก็มีปริศนามากมายไม่ใช่ตรรกศาสตร์เท่านั้นนะครับ

One: No kitten that loves fish is unteachable. Two: No kitten without a tail will play with a gorilla. Three: Kittens with whiskers always love fish. Four: No teachable kitten has green eyes. Five: No kittens have tails unless they have whiskers.

การจะหาคำตอบนี้ต้องใช้หลักการทางตรรกศาสตร์ โดยเริ่มต้นกำหนดให้

p: This kitten loves fish. q: This kitten is teachable. r: This kitten has a tail. s: This kitten will play with a gorilla. t: This kitten has whiskers. u: This kitten has green eyes

เมื่อแปลงเป็นสัญลักษณ์จะได้ p → q s → r t → p q → ∼u r → t

ดังนั้น s → r → t → p → q →∼ u หรือ s →∼ u

คำตอบที่ได้จึงคือ If this kitten will play with a gorilla, then it does not have green eyes. หรือ Only a kitten without green eyes will play with a gorilla.

ส่วนอีกคำถามลองไปครุ่นคิดหาคำตอบกันเอาเองนะครับ วิธีการคิดคล้ายๆกัน

One: No shark ever doubts that he is well fitted out.

Two: A fish, that cannot dance a minuet, is contemptible. Three: No fish is quite certain that it is well fitted out, unless it has three rows of teeth. Four: All fishes, except sharks, are kind to children. Five: No heavy fish can dance a minuet. Six: A fish with three rows of teeth is not to be despised.

คำตอบคือ Sharks are not kind to children. หรือ Therefore, heavy fish are kind to children.

นัยยะของคำถามเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียตรรกะในการครุ่นคิด … เมื่อรวมกับการเผาไหม้ Emily Brontë (=สูญเสียความสามารถในการจินตนาการ) ก็เท่ากับการสูญเสียความครุ่นคิด-จินตนาการ รวมถึงแยกแยะระหว่างโลกความจริง-เพ้อฝัน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตั้งกล้องไว้กึ่งกลางหมู่บ้าน จากนั้นแพนนิ่งหมุนรอบ 360 องศา ทวนเข็ม-ตามเข็ม วนไป-วนกลับอยู่สองสามรอบ เพื่อให้เห็นการแสดงเปียโน Mozart ให้ชาวชนบทมาห้อมล้อมรับฟัง พวกเขาส่วนใหญ่คงฉงนสงสัย (ว่ามาทำอะไร?) ไม่สามารถเข้าใจความไพเราะของบทเพลง แต่ถึงอย่างนั้นก็คงรู้สึกเคลิบเคลิ้มผ่อนคลาย จิตใจเบาสบายโดยไม่รับรู้โดย … นั่นถือเป็นความมหัศจรรย์ในบทเพลงของ Mozart โดยแท้!

นัยยะของฉากนี้สื่อถึงการสูญเสียสุนทรียะ ความสามารถในการเข้าใจบทเพลง/งานศิลปะขั้นสูง เพียงสัมผัสถึงความไพเราะเพราะพริ้ง แต่ขาดศักยภาพในการครุ่นคิดวิเคราะห์รายละเอียด องค์ประกอบ สาเหตุผล ที่มาที่ไป … เปรียบเทียบกับวงการภาพยนตร์ ก็เหมือนการรับชมเพียงเพื่อความบันเทิง จะทำให้เรามองข้ามรายละเอียดส่วนอื่นๆ ไม่เข้าใจความงดงามอันลึกซึ้งของศิลปะขั้นสูง

แซว: เห็นฉากนี้ทำให้ผมนึกถึงการทดลองของนักไวโอลินชาวอเมริกัน Joshua Bell เมื่อปี 2007 ปลอมตัวไปเล่นเปิดหมวกยังสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Washington DC. นับพันคนที่เดินผ่านไป 27 คนบริจาคเงิน และมีเพียง 7 คนเท่านั้นที่ยืนรับฟังจนจบเพลง!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผมรู้สึกเหมือนเป็นการล้างแค้นของ Roland ปล่อยให้ภรรยาถูกข่มขืนโดยชายแปลกหน้า เพื่อล้อกับเรื่องเล่าสวิงกิ้งตอนต้นเรื่อง ทั้งๆมันอาจจริง-ไม่จริง แต่ขณะนี้เขาก็ขี้เกียจคร้านเกินกว่าจะให้ความช่วยเหลือ ขับไล่บุคคลผู้นั้น ซึ่งพอแล้วเสร็จกามกิจ ต่างทำเหมือนไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น … ราวกับว่า Corinne เหมือนจะสมยินยอม ได้เติมเต็มพลังงานให้กับตนเอง ยังไงยังงั้น!

รถคันที่ผ่านมา: Would you rather be screwed by Mao or Johnson? Roland: Johnson, of course. รถอีกที่ผ่านมา: Drive on, Jean. He’s a Fascist.

การยินยอมให้ภรรยาร่วมรักชายอื่น นี่อาจคือ ‘เสรีภาพ’ ของการมีเพศสัมพันธ์ ขณะเดียวกันผมมองว่า…

  • ยังเป็นการสูญเสียความเป็น(สุภาพ)บุรุษ/ลูกผู้ชาย ที่ควรปกป้องภรรยา/หญิงสาวที่ตนรัก ไม่ให้ใครอื่นมาเหยียดหยาม ย่ำยี
  • ขณะเดียวกับฝ่ายหญิงก็สูญเสียความเป็น(สุภาพ)สตรี/ลูกผู้หญิง ที่ควรมั่นคงต่อสามี/ชายคนรัก ไม่ใช่เสพสำราญกับบุคคลแปลกหน้า
    Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Omar Diop เป็นชาวแอฟริกัน (เคยมารับเชิญเป็นผู้บรรยายใน La Chinoise (1967)) ขณะที่ László Szabó สัญชาติฮังกาเรียน (พบเห็นบ่อยครั้งในหนังของผกก. Godard) รับบทคนอาหรับ ทั้งสองต่างเป็นนักปฏิวัติ แต่ทำงานอาชีพคนเก็บขยะ ต่างกล่าวสุนทรพจน์ทางการเมืองที่ทำให้ผมลุกไปเข้าห้องน้ำ (ขี้เกียจจะอ่านซับตาม) พยายามสร้างจิตสำนึก ปลูกฝังความคิดอะไรสักสิ่งอย่าง แต่การพร่ำบนข้างรถขยะ มันไม่ได้มีความน่าฟังตรงไหน??

ผมรู้สึกว่ามันไม่มีจำเป็นจริงๆที่จะต้องรับฟังคำกล่าวสุนทรพจน์ของทั้งสองตัวละคร แค่สังเกตการแบ่งปันขนมปังก็เพียงพอแล้วละ และความคิดเห็นของ World 3 (ประเทศโลกที่สาม) ได้รับการเปรียบเทียบไม่ต่างจากกองขยะ! ที่ถูกหมาอำนาจทอดทิ้งๆขว้างๆ

  • ขณะที่ Omar Diop แบ่งปันขนมปังเพียงคำเดียวให้ Roland (ก็ให้ตามคำร้องขอ Just one mouthful.)
    • That piece exactly corresponds to the fraction of the USA Budget given to the Congo.
    • ก้อนขนมปังคำเดียง สื่อถึงงบประมาณอันน้อยนิดที่หมาอำนาจแบ่งปันให้ประเทศโลกที่สาม/ทวีปแอฟริกา นั่นเพราะชาติเหล่านั้นไม่ได้สร้างผลประโยชน์ใดๆตอบแทน ทำไมถึงต้องช่วยเหลือ ให้ความสำคัญ อยากได้เงินก็ต้องเอาผลประโยชน์มาแลก นี่คือวิถีของโลกทุนนิยม
  • ส่วน László Szabó แบ่งครึ่งขนมปัง แลกกับการตบจูบให้กับ Corinne
    • I’m applying the law that the big oil companies apply to Algeria. The law of a kiss and a kick in the ass.
    • การแบ่งขนมปังไม่ต่างจากแบ่งก้อนเค้ก สำหรับประเทศที่มีผลประโยชน์อย่างน้ำมัน พวกหมาอำนาจก็พร้อมยื่นข้อเสนอให้อย่างเท่าเทียม 50-50 แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อเชื้อเพลิงพลังงานหมดเมื่อไหร่ ก็ถึงเวลาถีบไสไล่ส่ง ไม่เห็นหัวเห็นหางอีกต่อไป

ระหว่างสุนทรพจน์ครั้งนี้ (สำหรับคนที่ตั้งใจจะรับฟัง) จะมีการแทรกภาพเหตุการณ์ต่างๆที่ดำเนินผ่านมา (รวมถึงในอนาคตด้วยนะ) เพื่อเป็นคำอธิบายนัยยะเชิงการเมืองที่หนังต้องการเปรียบเทียบถึง … นี่สำหรับคนสนใจวิเคราะห์หนังในทิศทางนั้น แต่ผมไม่เอาด้วยเพราะขี้เกียจคิดตามตรรกะเบี้ยวๆของผกก. Godard เอาแค่ที่เป็นความหมายสากลก็เพียงพอแล้วละ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ไม่รู้กระต่ายตัวเดียวกับที่พระเจ้ามอบให้กับ Roland และ Corinne หรือเปล่านะ? แต่ชวนให้นึกถึงโคตรภาพยนตร์ The Rules of the Game (1939) เพื่อสื่อถึงความตายของบุคคลผู้บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ทั้งมารดา (ของ Corinne) และเจ้ากระต่ายตัวนี้ ล้วนไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ทำไมถึงถูกเข่นฆ่า นำมาเป็นอาหารโอชา ตอบสนองความหิวโหย ต้องการเติมเต็มตัณหาราคะ!

เกร็ด: Game ในบริบทนี้คือคำเรียกเนื้อกระต่าย ยุคสมัยก่อนคือกิจกรรม ‘เกม’ สร้างความบันเทิงสำหรับชนชั้นสูง เป็นสัตว์ที่มักถูกไล่ล่า เข่นฆ่า นำมาทำเป็นอาหาร

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังจากฆาตกรรมมารดา ชาย-หญิงทั้งสองมองหาสิ่งที่จะสามารถกลบเกลื่อนหลักฐาน (Alibi) มาถึงยังบริเวณเครื่องบินพุ่งชนรถยนต์ … เอาว่ามันคือเครื่องบินตกลงพื้นก็แล้วกัน สามารถสื่อถึงจุดสิ้นสุดของอารยธรรม จากเคยโบยบินชูหน้าชูตาอยู่บนท้องฟากฟ้า ขณะนี้ทิ้งดิ่งลงสู่ภาคพื้นพสุธาลง หรือคือ Roland และ Corinne เมื่อกระทำการเข่นฆาตกรรมผู้ให้กำเนิด/มารดา คงต้องถือว่าหมดสูญสิ้นความเป็นมนุษย์เรียบร้อยแล้วละ!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ระหว่างหาหนทางกลับกรุง Paris ทั้งสอง Roland และ Corinne กำลังดักปล้นกลุ่มคนที่มาปิกนิก แต่แล้วจู่ๆมาจากไหนก็ไม่รู้ -กรรมใดใครก่อ- กลุ่มฮิปปี้อ้างว่าคือสมาชิก FLSO (Front de Libération de la Seine-et-Oise) [กากบาทแบบนี้บอกใบ้ว่า แม้งไม่ใช่อย่างแน่นอน!] เข้ามาซ้อนการโจรกรรม ลักพาตัวพวกเขาทั้งหมด ออกเดินทางเข้าป่า สำหรับเป็นเสบียงกรัง หรือยินยอมเข้าร่วมกลุ่มปลดแอกอิสรภาพ

แซว: Front de Libération de la Seine-et-Oise ไม่ใช่องค์กรที่มีอยู่จริงนะครับ! การกากบาทข้อความก็เป็นความพยายามบอกว่าสิ่งที่หนังนำเสนอนี้ก็แค่เรื่องสมมติ อย่าเอาไปเป็นตุเป็นตะเลยนะครับ

หลายครั้งที่มีการอ้างอิงถึงชื่อหนัง ตั้งแต่พระเจ้ากล่าวถึง Modern Times (1936), หรือคราวนี้ที่ FLSO พูดคุยผ่านวิทยุสื่อสาร Battleship Potemkin (1925), The Searchers (1956), ช่วงท้ายยังมีการกล่าวถึง The Saga of Gösta Berling (1924) และ Johnny Guitar (1954)

แซว: สังเกตว่าการสื่อสารระหว่าง FLSO จะกล่าวถึงหนังเงียบขาว-ดำ vs. หนังพูดฟีล์มสี ซึ่งมีความแตกต่างคนละยุคสมัย แต่ทั้งสี่เรื่องล้วนมีความสัมพันธ์บางอย่างเกี่ยวกับการเมือง หรือเป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอความขัดแย้งระหว่างสองฟากฝั่ง

การรับประทานเนื้อมนุษย์ (Cannibalism) สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงพฤติกรรมทรยศหักหลังพวกพ้อง พร้อมที่จะทำร้าย ทำลาย เข่นฆ่าอีกฝั่งฝ่าย รับประทานเนื้อหนังมังสา เพื่อตอบสนองความต้องการ พึงพอใจ กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่สนว่าจะสร้างความเจ็บปวดให้อีกฝั่งฝ่าย (ทั้งร่างกาย-จิตใจ)

ในทัศนะผู้กำกับ Godard การถูกทรยศหักหลัง (จาก Anna Karina) ถือเป็นสิ่งเลวร้าย ชั่วช้าสามานย์ที่สุด! ไม่ใช่แค่ถูกรับประทานเนื้อหนัง แต่ยังกัดกร่อนถึงจิตวิญญาณ เมื่อโลกดำเนินมาถึงจุดที่สามารถเรากินเลือดกินเนื้อกันเองเพื่อเอาชีพรอด ย่อมแสดงถึงความตกต่ำยิ่งกว่าสูญสิ้นความเป็นมนุษย์ (Humanity) กลายสภาพเป็นเดรัจฉาน (Beast)

แซว: หนังได้รับเรตติ้ง NC-18 (ห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) ก็เพราะฉากนี้นะครับ แต่กลับไม่มีข่าวพวกเรียกร้องสิทธิสัตว์ในฝรั่งเศสสักเท่าไหร่ เพราะพวกเขาน่าจะมีสติปัญญาพอเข้าใจว่าภาพยนตร์ต้องการสื่อถึงอะไร ไม่ใช่หลับหูหลับตาเรียกร้องเรียน หิวแสงอยู่นั่น

Greetings, Ancient Ocean! เป็นอีกโคตร Long Take ที่แรกๆอาจทำให้หลายคนส่ายหน้า เกาหัว แต่ฟังไปฟังมาชอบว่ะ! เสียงกลองแม้สร้างความหนวกหู (ผิดกับเสียงเปียโนที่มีความไพเราะเพราะพริ้ง เคลิบเคลิ้มล่องลอย) มีความขัดแย้งต่อวิถีธรรมชาติ แต่โดยไม่รู้ตัวกลับทำให้ศีรษะโยกคลอน หัวใจเต้นตามจังหวะ นั่นแปลว่าอารยธรรมของมนุษย์คือจอมปลอม หลอกลวง ทำลายสมดุลของสากลจักรวาล

การจะหวนกลับสู่สามัญ/จุดเริ่มต้นของชีวิต นั่นคือเราต้องละทอดทิ้ง/สูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง ดำเนินชีวิตตามวิถีธรรมชาติ ต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดโดยสันชาติญาณ … นี่สะท้อนแนวความคิด “Set Zero” ของผู้กำกับ Godard มาตั้งแต่ La Chinoise (1967)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

เกร็ด: วัฏจักรชีวิตของกบ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ

  1. ระยะไข่กบ (Frogspawn)
  2. ระยะลูกอ๊อด (Tadpole)
  3. ระยะลูกกบหรือลูกอ๊อดวัยแก่ (Froglet)
  4. และระยะตัวเต็มวัย (Frog)

การนำเสนอภาพลูกกบ(ในกำมือ) ซึ่งถือเป็นระยะที่สามของการเจริญเติบโตก่อนถึงตัวเต็มวัย สามารถสื่อถึงวิวัฒนาการถดถอยหลังของมนุษย์ชาติ! หรือคือ Corinne ได้สูญเสียสิ้นความเป็นมนุษย์ (Humanity) ปฏิเสธหวนกลับสู่ดินแดนแห่งอารยธรรม และกำลังจะรับประทานเนื้อของสามี เรียกว่าไม่สนห่าเหวอะไรอีกแล้วนอกจากเอาชีวิตรอด

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตัดต่อโดย Agnès Guillemot (1931-2005) หนึ่งในขาประจำผู้กำกับ Jean-Luc Godard ร่วมงานกันตั้งแต่ Le petit soldat (1963) แต่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายคือ A Woman Is a Woman (1961) จนถึงผลงานสิ้นสุดยุคสมัยแรก Week-end (1967)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสามี-ภรรยา Roland และ Corinne Durand เริ่มจากอาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรู ณ กรุง Paris เหม่อมองลงมาจากเบื้องบน จากนั้นออกเดินทางเพื่อไปเยี่ยมญาติ/ครอบครัวของ Corinne ยังชนบท Oinville-Sur-Montcient, Ile de France แต่พวกเขาประสบเหตุการณ์นรกแตกมากมายนับไม่ถ้วน กว่าจะมาถึง และเหตุการณ์หลังจากนั้นที่สุดแสน … WTF

  • อารัมบท ณ จุดสูงสุดของอารยธรรม/ก่อนเริ่มต้นออกเดินทาง
    • A FILM ADRIFT IN THE COSMOS

      A FILM FOUND IN A DUMP

      • Corinne กับชายชู้
      • Roland คุยโทรศัพท์กับหญิงชู้
    • ANALYSIS
      • Corinne เล่าการสวิงกิ้งกับชายชู้ให้สามี Roland
    • SATURDAY 10:00 AM
      • และระหว่างขึ้นรถ กำลังจะออกเดินทางไป ยังมีเรื่องวุ่นๆเฉียดเป็นเฉียดตาย
  • เรื่องวุ่นๆระหว่างการเดินทางไปยัง Oinville-Sur-Montcient
    • SCENE OF PARISIAN LIFE
      • พานผ่านขบวนรถติด เพราะอุบัติเหตุห่างไกลออกไป
    • THE CLASS STRUGGLE
      • ระหว่างแวะพักยังเมืองแห่งหนึ่ง พบเห็นรถแทรกเตอร์ชนรถหรู มีผู้เสียชีวิต
    • THE EXTERMINATING ANGEL
      • ถูกคนแปลกหน้าโบกรถระหว่างทาง อ้างว่าคือพระเจ้า (รับบทโดย Jean Eustache)
      • ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ จนต้องเปลี่ยนมาก้าวออกเดินทาง
    • FROM THE FRENCH REVOLUTION TO GAULLIST WEEKENDS
      • พบเจอ Saint-Just และชายในตู้โทรศัพท์ (ต่างรับบทโดย Jean-Pierre Léaud) ยื้อๆยักๆ ขอความช่วยเหลือ พอไม่ได้รับก็ใช้ความรุนแรง
    • LEWIS CARROLL’S WAY
      • พานผ่านโลกแฟนตาซี ในนวนิยายของ Emily Brontë และ Tom Thumb
    • A TUESDAY IN THE 100 YEARS WAR
    • MUSICAL ACTION
      • โบกขึ้นรถนักเปียโน (รับบทโดย Paul Gégauff) ทำการแสดงยังฟาร์มแห่งหนึ่ง
    • A FRIDAY FAR FROM ROBINSON AND MANTES LA JOLIE
      • Roland ปล่อยให้ Corinne ถูกข่มขืนโดยชายแปลกหน้า
    • WORLD 3 (น่าจะสื่อถึง THIRD WORLD, ประเทศโลกที่สาม)

      THE WEST

      • จากนั้นโบกขึ้นรถขยะ รับฟังคำเทศนาของชาวแอฟริกันและอาหรับ
  • เมื่อไปถึงเป้าหมาย Oinville-Sur-Montcient และเหตุการณ์หลังจากนั้น
    • SCENE OF PROVINCIAL LIFE
      • หลังจากอาบน้ำชำระล้างร่างกาย ตัดสินใจเข่นฆาตกรรมมารดาของ Corinne เพื่อคาดหวังเงินมรดก
      • ระหว่างหาทางกลับกรุง Paris ถูกจับกุมโดยกลุ่มฮิปปี้ อ้างว่าคือสมาชิก FLSO (Front de Libération de la Seine-et-Oise)
    • SEINE-ET-OISE LIBERATION FRONT

      TOTEM AND TABOO

      • พามายังฐานที่มั่นกลางป่า แสดงให้เห็นว่าเป็นพวกชอบกินเนื้อมนุษย์
    • SEPTEMBER MASSACRE
      • Roland พยายามหลบหนีเลยถูกเข่นฆ่า ถลกหนัง กลายเป็นมื้ออาหาร
    • OCTOBER LANGUAGE

      JUMP CUT

      • เพราะความต้องการอยู่รอดของ Corinne เลยยินยอมเป็นภรรยาหัวหน้ากลุ่ม และรับประทานเนื้อหนังของอดีตสามี

ลีลาการตัดต่อยังคงสไตล์ Godardian ซีนไหนที่ไม่ใช่ ‘Long Take’ ก็มักมีการแทรกตัวอักษร ข้อความ สำหรับอธิบายเหตุการณ์ หรือแสดงความครุ่นคิดเห็นของผกก. Godard, แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ค่อยพบเห็นภาพถ่าย ตัวการ์ตูน หรือป้ายโน่นนี่นั่น อาจเพราะเรื่องราวนำเสนอทิศทางการล่มสลายของอารยธรรม สิ่งพรรค์นั้นย่อมค่อยๆสาปสูญหายไปด้วยกระมัง


เพลงประกอบโดย Antoine Duhamel (1925 – 2014) คีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Valmondois, Val-d’Oise เป็นบุตรของนักเขียน Georges Duhamel และนักแสดงหนังเงียบ Blanche Albane, ด้วยความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก โตขึ้นได้เป็นลูกศิษย์ของ René Leibowitz มีเพื่อนร่วมรุ่น Serge Nigg, André Casanova, Jean Prodromidès, จากนั้นทำงานวาทยากร ครูสอนดนตรี มีผลงานเขียนบทเพลง Opera, Symphony, Concerto, มีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์จากทำโคตรหนังสั้น Méditerranée (1963), ร่วมงานผู้กำกับ Jean-Luc Godard เพียงสองครั้ง Pierrot le Fou (1965), Weekend (1967), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Stolen Kisses (1968), Mississippi Mermaid (1969), Bed and Board (1970), Belle Epoque (1992), Safe Conduct (2002) ฯลฯ

ก่อนหน้านี้เมื่อตอน A Woman Is a Woman (1961) ผู้กำกับ Godard ก็เคยปฏิวัติการใช้บทเพลงประกอบภาพยนตร์ ด้วยการทำให้เดี๋ยวดัง เดี๋ยวหยุด สร้างความโคตรรำคาญแก่ผู้ชม เพื่อให้สอดคล้องแนวคิด Episches Theater (Epic theatre) ไม่ให้จิตวิญญาณล่องลอยไปตามอารมณ์เพลง บังเกิดสติ/ความครุ่นคิดในระดับจิตสามัญสำนึก

Week-end (1967) เป็นอีกครั้งที่มีการปฏิวัติ/ทดลองแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับการใช้บทเพลงประกอบ จากโดยปกติระหว่างตัวละครกำลังพูดคุยหรือกล่าวสุนทรพจน์ ก็มักลดระดับเสียงเพื่อให้ผู้ชมได้ยินการสนทนา แต่ผกก. Godard กลับเพิ่มระดับเสียงดังจนแทบฟังไม่ได้สดับ เพื่อบอกว่าคุณไม่จำเป็นต้องสนใจเนื้อหาสาระขณะนั้นก็ได้ เพียงรับรู้อารมณ์ สัมผัสจากบทเพลง ก็เพียงพอแล้วละ!

แต่เทคนิคนี้มันมีปัญหาประการหนึ่งสำหรับผู้ชมที่ฟังภาษาฝรั่งเศสไม่รู้เรื่อง ผมเองก็ใช้การอ่านซับไตเติ้ล เลยสามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ตัวละครกำลังพูดคุยสนทนา (การอ่านซับ ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเนื้อหาสาระขณะนั้นๆ) ซึ่งก็สอดคล้องกับคำอธิบายที่บอกกล่าวไป บทเพลงเสริมบรรยากาศฉากนั้นๆได้เป็นอย่างดี

Lamento (แปลว่า Lament, คร่ำครวญ) ดังขึ้นระหว่าง Corinne กำลังสารภาพความสัมพันธ์กับชู้รัก พูดเล่าเรื่องการสวิ้งกิ้ง หญิงสอง-ชายหนึ่ง ให้กับสามี Roland มีสีหน้าดำคร่ำเครียด … สังเกตว่าบทเพลงดังกว่าเสียงการเล่าเรื่องเสียอีก! สำหรับผู้ชมชาวฝรั่งเศสคงต้องใช้ความตั้งใจเงี่ยหูฟังมากๆ ส่วนต่างชาติอย่างเราก็อ่านซับไตเติ้ล และเพลิดเพลินกับบทเพลงสร้างบรรยากาศอันเจ็บปวด อึดอัดอั้น ระทมทุกข์ทรทานทรวงใน (สะท้อนความรู้สึก/สภาพจิตใจของ Roland ที่ต้องอดรนทนรับฟังเรื่องราวการทรยศหักหลังของภรรยา)

บทเพลงที่ Jean-Pierre Léaud ขับร้องในตู้โทรศัพท์ชื่อว่า Allo, tu m’Entends? (1964) [แปลว่า Hello, can you hear me?] แต่งคำร้อง/ทำนองโดย Guy Béart, ต้นฉบับขับร้องโดย Dalida

แซว: ผมว่า Jean-Pierre Léaud ขับร้องได้ไพเราะกว่า Dalida เสียอีกนะ lol

ต้นฉบับฝรั่งเศสคำแปลอังกฤษJ’appelle dans le vide Je t’appelle au milieu de ma nuit Mes mots roses s’en vont rapides Iront-ils jusqu’à toi aujourd’hui

Allo, Allo tu m’entends? Est-ce qu’il fait beau temps? Là-bas sous ton ciel Ici, même sous la pluie, l’odeur me poursuit D’un peu d’esterelle Je suis dans la cabine, enfermée dans la cage de verre Et toi, je t’imagine dans un bar qui s’ouvre sur la mer

Allo, allo tu m’entends? Comment vont Laurent, Jean-Luc et Joelle? Dis-moi tes amis vont-ils toujours près des îles? Pêcher les girelles Ça nous fait deux unités Chaque mot nous est compté

J’appelle sans relâche Et pour moi dis que s’est-il passé Qu’est-ce que ta voix me cache? Avec qui ce soir vas-tu danser?

Allo, allo tu m’entends? Est-ce que tu m’attends? Ta bouche où est-elle? Allo, tu parles trop bas Seras-tu là-bas si je te rappelle?

Il faut que je te quitte D’autres gens s’impatientent dehors Et je t’ai parlé trop vite Je ne t’ai presque rien dit encore

Allo, allo tu m’entends? Dehors on attend les gens sont pressés Dans cette course de fous Le monde se fout d’un amour cassé

Ça nous fait quatre unités Je ne veux pas te quitter

I’m calling in emptiness I’m calling you in the middle of the night My words go fast Will they reach you today?

Hello, hello can you hear me? Is it sunny Over there, under your sky? Here, even under the rain that smell remains A bit of Esterelle I’m in the phone box, locked in the glass cage And I picture you in a pub opened to the sea

Hello, hello can you hear me? How are Laurent, Jean-Luc and Joëlle? Tell me, do your friends still go near the islands Fishing for rainbow wrasse? It will cost two units Each word counts

I’m calling relentlessly And what about me, tell me, what happened? What is your voice hiding from me? Who will you dance with tonight?

Hello, hello can you hear me? Are you waiting for me? Where is your mouth? Hello, speak louder Will you be there if I call you again?

I have to leave you Other people are waiting outside And I talked to you too fast I’ve said nothing for now

Hello, hello can you hear me? They’re waiting outside, people are in a hurry In this crazy race The world doesn’t care about a broken love

It will cost four units I don’t want to leave you

สำหรับบทเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart ที่ Paul Gégauff ทำการแสดงยังโรงนาคือ Sonata No. 19 in D-major, K. 576 (1789) มีชื่อเล่นว่า The Hunt บ้างก็เรียก The Trumpet Sonata เป็นหนึ่งในหกบทเพลงที่ Mozart ประพันธ์ให้ Princess Frederica Louise of Prussia (1770-1836) … ผมนำภาพวาดของเจ้าหญิงมาช่วยเสริมจินตนาการระหว่างรับฟังบทเพลงนี้ด้วยนะครับ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

บทเพลงนี้มีอยู่ 3 Movement โดยท่อนที่ใช้ในหนังคือ I. Allegro ผมเลือกฉบับบรรเลงโดยขุ่นแม่ Mitsuko Uchida เพราะมีความเร็วที่ส่วนรู้สึกว่าเพียงพอดี (ในหนังผมรู้สึกว่าเชื่องช้าไปนิด ขณะที่หลายๆคลิปใน Youtube ก็เร็วติดจรวดเกิ้น!) และใส่ความหนัก-เบา ดัง-ค่อยได้อย่างลงตัว กลมกล่อม เห็นภาพของเจ้าหญิงก็ยิ่งสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณ … Uchida คือหนึ่งในนักเปียโนตีความบทเพลงของ Mozart ได้ไพเราะเพราะพริ้งมากๆ ทำเอาผมจินตนาการเห็นภาพ Mozart กำลังวิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน

ชาวบ้านนอกคอกนา (หรือผู้ชมทั่วไปที่ไม่ค่อยได้รับฟังเพลงคลาสสิก) แม้อาจไม่เข้าใจความลุ่มลึกล้ำของบทเพลงนี้ แต่ก็ยังมีความไพเราะเพราะพริ้ง จับจิตจับใจ จนใครต่อใครต้องหยุดยืนรับฟัง ดื่มด่ำไปกับความงดงาม เคลิบเคลิ้มจินตนาการ ล่องลอยถึงสรวงสวรรค์

บทเพลงที่ถือเป็นไฮไลท์ของหนัง คือการรัวกลองพร้อมคำร้องที่มีลักษณะเหมือนบทพูด (หรืออาจจะเป็นสุนทรพจน์ยาวๆของผกก. Godard แล้วใส่เสียงรัวกลองเพื่อสร้างบรรยากาศบางอย่าง) มีคนตั้งชื่อให้ว่า Greetings, Ancient Ocean! เพื่อสื่อถึงมหาสมุทร ก้นเบื้องภายในจิตใจมนุษย์ยากหยั่ง สุดท้ายแล้วมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาทำไม? … ใครที่เคยรับชม Contempt (1963) และ Pierrot le Fou (1965) น่าจะตระหนักถึงนัยยะของมหาสมุทร ซึ่งก็ละม้ายคล้าย Week-end (1967) เกี่ยวกับความตายกลายเป็นนิจนิรันดร์

ช่วงแรกๆที่ได้การรัวกลองพร้อมเสียงพูด สร้างความหนวกหู รู้สึกน่ารำคาญโคตรๆ แต่พอฟังไปฟังมาร่างกายกลับขยับโยกศีรษะโดยอัตโนมัติ (ตามอย่างตัวประกอบที่ก็ผงกหัวตาม) นี่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-ธรรมชาติ แม้เสียงที่ได้ยินจะเต็มไปด้วยมลพิษ (สร้างความหนวกหู น่ารำคาญ) แต่นั่นคือจังหวะของชีวิต กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกและจักรวาล

ภาพยนตร์กำลังก้าวสู่จุดสิ้นสุด! นี่คือคำเพ้อรำพันของผู้กำกับ Godard มาตั้งแต่เมื่อครั้ง Contempt (1963) จนพอสรรค์สร้าง Masculin Féminin (1966) ค่อยเริ่มตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจากสหรัฐอเมริกา “Americanization” ที่ค่อยๆเข้ามามีอิทธิพล ควบคุมครอบงำ ชวนเชื่อล้างสมอง ปรับเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สภาพสังคม ภูมิทัศน์กรุง Paris (Two or Three Things I Know About Her (1967)) รวมถึงจิตวิญญาณของเขาเอง จากนั้น La Chinoise (1967) จึงออกอาการปฏิเสธต่อต้าน ต้องการลบล้างอดีต ทุกสิ่งอย่าง

Week-end (1967) คือจุดสิ้นสุดการสรรค์สร้างภาพยนตร์(ยุคสมัยแรก)ของผู้กำกับ Godard นำพาตัวละครจากเคยอาศัยอยู่บนอพาร์ทเม้นท์ ณ สูงสุดของอารยธรรมมนุษย์(ขณะนั้น) ออกเดินจากเพื่อหวนกลับสู่สามัญ แสดงออกสิ่งที่คือสันชาติญาณ สันดานดิบของสิ่งมีชีวิต ไม่แตกต่างจากเดรัจฉาน … หรืออาจเลวร้ายยิ่งกว่า

  • สิ่งแรกที่สูญเสียคือความรัก สามี-ภรรยาต่างครุ่นคิดคดทรยศหักหลังกันและกัน
  • สูญเสียสถานที่อยู่อาศัย ถูกขับไล่จากเจ้าของอพาร์ทเม้นท์
  • สูญเสียความเชื่อมั่นต่อกฎหมาย ข้อกำหนดร่วมกันของสังคม กลายเป็นคนแตกแถว แหกคอก
  • สูญเสียชนชั้นวรรณะทางสังคม และปฏิเสธให้ความช่วยเหลือใครอื่น
  • สูญเสียความเชื่อศรัทธาต่อศาสนา พระเป็นเจ้า มัวเมาอยู่กับวัตถุนิยม
  • สูญเสียอดีต ความทรงจำ ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น (เพราะเคยไม่ยินยอมให้ความช่วยเหลือผู้อื่น มาคราวนี้ก็เลยโดนปฏิเสธเองบ้าง)
  • สูญเสียจินตนาการเพ้อฝัน รวมถึงการครุ่นคิดอย่างมีตรรกะ เป็นเหตุเป็นผล
  • สูญเสียความเพลิดเพลินในสุนทรียะ
  • สูญเสียเรี่ยวแรงพละกำลัง กาย-ใจ วามกระตือรือล้นที่จะครุ่นคิดทำอะไร รวมถึงความเป็นบุรุษและอิสตรี
  • และถูกใครต่อใครทอดทิ้งขว้าง ไม่ต่างจากเศษขยะ/ประเทศโลกที่สาม (ถูกพวกหมาอำนาจเฉดหัวส่ง ถ้าไม่มีผลประโยชน์ใดๆตอบแทน)

เมื่อมนุษย์ดำเนินมาถึงจุดที่พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาชีพรอด ก็จะไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ศีลธรรม-มโนธรรม รวมถึงกฎหมายบ้านเมือง พร้อมก่ออาชญากรรม เข่นฆ่า ลักขโมย ข่มขืนกระทำชำเรา รวมถึงเมื่อไม่มีอะไรกิน เนื้อมนุษย์ด้วยกันเองก็ไม่คงละเว้น

อย่างที่ผมอธิบายไปแล้วว่าการรับประทานเนื้อมนุษย์ สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงพฤติกรรมทรยศหักหลังพวกพ้อง เพื่อตอบสนองความต้องการ พึงพอใจ ผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่สนว่าจะสร้างความเจ็บปวดให้อีกฝั่งฝ่าย (ทั้งร่างกาย-จิตใจ) … นั่นคือสิ่งที่ผู้กำกับโกรธรังเกลียดที่สุด จดจำฝังใจมาตั้งแต่เมื่อครั้นเลิกหย่าร้าง Anna Karina (จากเรื่อง Pierrot le Fou (1965) และ Made in U.S.A. (1966))

และน่าจะเช่นเดียวกัน ผกก. Godard รู้สึกเหมือนกำลังถูกวงการภาพยนตร์/ผู้ชมทรยศหักหลัง เพราะความล้มเหลวขาดทุนย่อยยับเยินตั้งแต่ Made in U.S.A. (1966) ทำให้เกิดความตระหนักว่าผลงานของตนเอง ไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณะอีกต่อไป ถ้าทำหนังเจ๊งๆติดต่อกันหลายๆเรื่อง มันจะมีโปรดิวเซอร์/นายทุนจากแห่งหนไหนมอบความเชื่อมั่นให้อีก

Week-end (1967) เลยกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Godard ร่ำลาตากล้องขาประจำ Raoul Coutard, นักตัดต่อสาว Agnès Guillemot และทีมงานอีกหลายๆคนที่รับรู้จักกันมาตั้งแต่ Breathless (1960) เหมือนดั่งงานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา แต่ชีวิตยังคงต้องดำเนินต่อไป

ไม่นานหลังจากเสร็จสร้าง Week-end (1967) ผู้กำกับ Godard ก็ได้รับการว่าจ้างจากสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง สรรค์สร้างผลงาน Joy of Learning (1969) แต่กลับถูกสั่งห้ามออกฉาย (เลยนำออกฉายโรงภาพยนตร์สองปีให้หลัง) เดินทางไปประเทศอังกฤษ Sympathy for the Devil (1968) เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ … ถือเป็นช่วงตกต่ำเพราะเอาเวลาไปหมกมุ่นอยู่กับการเมือง Revolutionary period (1968–1979) แต่ก็ได้รับการจดจำจากเป็นหนึ่งในผู้ป่วนเทศกาลหนังเมือง Cannes เมื่อปี 1968 (เพราะภายนอกกำลังวุ่นวายต่อเหตุการณ์ Mai ’68)

กว่าที่ผู้กำกับ Godard จะสามารถคัมแบ็ค (Come Back) หวนกลับมาสรรค์สร้างภาพยนตร์ในสไตล์ของตนเองอีกครั้งก็ช่วงทศวรรษ 80s (หลังหย่าร้าง Anne Wiazemsky พร้อมการล่มสลายของ Cultural Revolution) เมื่อได้แต่งงานใหม่กับ Anne-Marie Miéville แต่ยุคสมัยหลังจากนั้นจะมีทิศทางตามชื่อเรียกภาพยนตร์เรื่องแรก Every Man for Himself (1980)

จริงๆยังมีภาพยนตร์อีกเรื่องของผกก. Godard ที่ผมโคตรอยากหามารับชม ติดอันดับ 48 นิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 นั่นคือ Histoire(s) du cinéma (1988-98) แต่ประเด็นคือหาดูยากมากๆ และมันไม่มีซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ เลยจำใจต้องอดทนรอไปก่อน


ด้วยทุนสร้างประมาณ $250,000 เหรียญ แม้เสียงตอบรับจะค่อนข้างดี (ติดอันดับสาม ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีของนิตยสาร Cahiers du Cinéma) แต่มีรายงานยอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสเพียง 263,462 ใบ แน่นอนว่าขาดทุนย่อยยับเยิน

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K ตั้งแต่เมื่อปี 2012 กลายเป็น DVD/Blu-Ray โดย Criterion Collection และ Artificial Eye สามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel

นิตยสาร Premiere เลือกให้ Week-end (1967) คือหนึ่งใน “The 25 Most Dangerous Movies”

ส่วนตัวชื่นชอบความบ้าระห่ำ ท้าทายให้ขบครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา ว่าสิ่งโน่นนี่นั่นแฝงนัยยะความหมายอะไร แม้ผมแอบรำคาญการกล่าวสุนทรพจน์ยาวเหยียด ขี้เกียจอ่าน(ซับไตเติ้ล) ขี้เกียจรับฟัง แต่ก็ต้องปรบมือให้การใช้เสียง Sound Effect ที่ดังจนสร้างความรู้สึกช่างหัวมันก็ได้ เป็นอีกครั้ง(สุดท้าย)ที่ผกก. Godard ได้สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการภาพยนตร์

แนะนำคอหนัง Art House ชื่นชอบการครุ่นคิดวิเคราะห์ กลิ่นอาย Dark Comedy, แนวทดลอง (Experimental) ผจญภัย (Road Movie) พานผ่านเหตุการณ์ Fantasy & Reality นำสู่จุดสิ้นสุดโลกาวินาศ, ช่างภาพ ตากล้อง หลงใหลเกี่ยวกับรถ และชื่นชอบบรรยากาศชนบทฝรั่งเศส ไม่ควรพลาดเลยละ

จัดเรต 18+ กับอุบัติเหตุบนท้องถนน ความรุนแรงอันคลุ้มบ้าคลั่ง โศกนาฎกรรม และ Cannibalism (กินเนื้อมนุษย์)

คำโปรย | Week-end คือจุดจบแห่งมวลมนุษยชาติ และสิ้นสุดภาพยนตร์ยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Jean-Luc Godard

คุณภาพ | สวอนซอง-ยุคสมัยแรก ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

La Chinoise (1967) : Jean-Luc Godard ♥♥♡

นักศึกษาหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่ง มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoist) ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองฝรั่งเศสให้ดำเนินสู่ทิศทางนั้น แต่นั่นคืออุดมคติ (Idealist) เพ้อเจ้อไร้สาระ (Fantasist) ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!

ผ่านไปประมาณสิบนาที ผมก็เลิกสนใจสิ่งที่ตัวละครพูดพร่ำ เสี้ยมสอนสั่ง ยิ่งฟังยิ่งรู้สึกเพ้อเจ้อไร้สาระ เหมือนพยายามชักชวนเชื่อให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อลัทธิเหมา (Maoism) แล้วปิดกั้นความครุ่นคิดเห็นต่างของใครอื่น … เพราะมุมมองทางการเมืองที่แตกต่าง รวมถึงศัพท์แสงเฉพาะทาง น่าจะทำให้หลายๆคนอดรนทนดูหนังไม่จบแน่ๆ

(วิธีการนำเสนอแบบเปิดห้องเรียนสอนวิชาความรู้ลัทธิเหมา สะท้อนความสนใจอย่างเอาจริงๆจังๆของผู้กำกับ Godard น่าจะครุ่นคิดเพ้อฝัน อยากให้การเมืองฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงในทิศทางนั้นแน่ๆ)

แต่ทั้งหมดนี้คือการแสดงให้เห็นถึง ‘อุดมคติ’ ความเชื่อมั่นศรัทธาอันแรงกล้าต่อแนวคิดทางการเมืองที่จับต้องไม่ได้ ไม่สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติ กลุ่มนักศึกษาเหล่านั้นจึงค่อยๆเรียนรู้ว่าความรุนแรงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร นำสู่ช่วงท้ายสามารถปลุกตื่นขึ้นจากความเพ้อฝันร้าย … แอบรู้สึกเหมือน Bande à part (1964) แต่เปลี่ยนจากอาชญากรรมมาสู่แนวการเมือง (Political Film)


เราต้องเข้าใจก่อนว่ายุคสมัยนั้น (ทศวรรษ 60s) ยังไม่มีใครสามารถคาดคิดถึงผลกระทบจาก Great Leap Forward (1958–62) หรือ Cultural Revolution (1966-76) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีชาวตะวันตก(อย่างผกก. Godard)ให้การยกย่องสรรเสริญวิธีการบริหารประเทศอันสุดโต่งของประธานเหมาเจ๋อตุง กล้าคิด กล้าทำ เชื่อมั่นว่านั่นสามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเมืองให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนั้น

แต่ปัจจุบันที่ใครต่อใคร(น่าจะ)ตระหนักถึงสิ่งบังเกิดขึ้นกับประเทศจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ยกตัวอย่างภาพยนตร์ Farewell My Concubine (1993), The Blue Kite (1993), To Live (1994) ฯลฯ การรับชม La Chinoise (1967) จักทำให้ตระหนักถึงแนวคิดที่แม้ฟังดูดี แต่ก็เป็นได้เพียงอุดมคติ ไม่มีทางนำไปใช้งานได้จริง อีกทั้งยังก่อให้เกิดหายนะครั้งยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ!

(ความผิดพลาดจากนโยบายบริหารประเทศของประธานเหมาเจ๋อตุง คาดการณ์ว่าทำให้มีตัวเลขผู้เสียชีวิตมากยิ่งกว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งรวมกันเสียอีก!)


ผมโคตรแปลกใจตนเองที่สามารถอดรนทนดูหนังเรื่องนี้จบ! ก็พบว่าถึงละเลิกสนใจสิ่งที่ตัวละครพยายามพูดพร่ำ เสี้ยมสอนสั่งในชั้นเรียน แต่ลีลาการนำเสนอสไตล์ Godardian เต็มไปด้วยภาษาภาพยนตร์ที่ชวนให้ครุ่นคิดตีความ โดยเฉพาะองค์ประกอบภาพสวยๆของ Raoul Coutard สามารถสร้างสุนทรียะในการรับชม

และไฮไลท์ที่ทำให้ผมไม่สามารถหยุดรับชมหนังนั้นคือ Anne Wiazemsky ว่าที่ภรรยาใหม่ของผู้กำกับ Godard ไม่ใช่รูปลักษณ์ที่ดูยังไงก็อัปลักษณ์ แต่คือความมุ่งมั่น กระตือรือล้น แม้ตัวจริงๆอาจไม่เข้าใจเนื้อหาการเมืองสักสิ่งอย่าง แต่เธอกลับสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวละคร จนกว่าจะตระหนักว่าสิ่งนั้นไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง … ต้องชมเลยว่าเป็นหญิงสาวพราวเสน่ห์ และเข้าใจวิถีการแสดง เอาจริงๆถ้าไม่แต่งงานกับผกก. Godard แล้วทุ่มเทเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ มีแนวโน้มโด่งดังยิ่งกว่า Anna Karina เสียอีกนะ!

La Chinoise (1967) ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับผู้ชมทั่วไป ใครที่ดูหนังไม่รู้เรื่อง หรือไม่สามารถอดรนทนจนจบ แนะนำให้ไปค้นหาผลงานยุคแรกๆของผู้กำกับ Godard มาเรียนรู้ฝึกฝนวิชา ให้กาลเวลาค่อยๆสะสมประสบการณ์ อ่านบทความนี้แล้วค่อยหวนกลับไปรับชมอีกครั้ง ก็อาจพบเห็นความลุ่มลึกล้ำของศิลปะขั้นสูง ‘High Art’


Jean-Luc Godard (1930-2022) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ French-Swiss เกิดที่กรุง Paris บิดาเป็นนายแพทย์ชาว Swiss ฐานะร่ำรวย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองหลบลี้ภัยอยู่ Switzerland, เริ่มรู้จักภาพยนตร์จากการอ่านบทความ Outline of a Psychology of Cinema เขียนโดย André Malraux ตามด้วยความสนใจนิตยสาร La Revue du cinéma จากนั้นเริ่มมีโอกาสพบปะผู้คนในวงการ, เมื่อปี 1950 สมัครเข้าศึกษาคณะมานุษยวิทยา University of Paris แต่ไม่เคยเข้าเรียนสักครั้ง เพราะไปหมกตัวอยู่ Ciné-Clubs ตามด้วย Cinémathèque Française รับรู้จักบรรดาพรรคเพื่อนผู้หลงใหลในศาสตร์ภาพยนตร์ François Truffaut, Jacques Rivette, Claude Chabrol, เคยร่วมกับ Éric Rohmer ก่อตั้งวารสาร La Gazette du cinéma แต่อยู่รอดแค่เพียงห้าฉบับ! จากนั้นได้รับคำชักชวนจาก André Bazin กลายเป็นนักวิจารณ์(คนแรกของกลุ่มที่ได้)ตีพิมพ์บทความลงนิตยสาร Cahiers du Cinéma ระหว่างนั้นก็ทดลองทำหนังสั้น และกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Breathless (1960) ** ได้รับการยกย่องว่าคือจุดเริ่มต้นยุคสมัยใหม่ (Modern Cinema)

มีนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่าถ้า Marina Vlady ตอบตกลงแต่งงานกับผกก. Godard วิถีภาพยนตร์หลังจาก Two or Three Things I Know About Her (1967) คงก้าวเข้าสู่แนวครอบครัว เพราะฝ่ายหญิงมีลูกติดจากสามีคนก่อน ย่อมต้องกลายเป็นภาระรับผิดชอบใหม่ให้กับเขา

แต่เพราะ Vlady ตอบปัดปฏิเสธ เขาจึงต้องมองหาหญิงสาวคนใหม่ ตกหลุมรักแรกพบ Anne Wiazemsky ที่เพิ่งแจ้งเกิดโด่งดังจาก Au Hasard Balthazar (1966) ใช้เวลาช่วงที่เธอเรียนพิเศษกับนักปรัชญา Francis Jeanson เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เกี้ยวพาราสี ไปรับไปส่ง จนเธอตอบตกลงหมั้นหมาย

หลังจาก Wiazemsky สอบเข้ามหาวิทยาลัย Université Paris-Nanterre ทำให้ Godard มีโอกาสรับรู้จักเพื่อนนักศึกษาของเธอที่เป็นนักเคลื่อนไหวฝั่งขวา (left-wing activist) พบเห็นกิจกรรมการเมืองของยุวชนฝรั่งเศส และมีโอกาสคลุกคลีกลุ่มเคลื่อนไหว Maoist ชื่อว่า Union des jeunesses communistes (marxistesléninistes) แปลว่า Communist [Marxist-Leninist] Youth League เลยเกิดความสนใจนำประสบการณ์ดังกล่าวมาสรรค์สร้างเป็นภาพยนตร์

เกร็ด: ผู้กำกับ Godard พยายามชักชวนสมาชิกกลุ่มเคลื่อนไหว Maoist ให้มาร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ทุกคนล้วนบอกปัดปฏิเสธ เหมือนจะคาดเดาผลลัพท์ที่อาจเกิดขึ้นติดตามมาถ้าเปิดเผยใบหน้าตนเองออกสู่สาธารณะ


เรื่องราวของ La Chinoise ดัดแปลงหลวมๆจากนวนิยาย Demons (1871-72) หนึ่งในสี่ผลงานชิ้นเอกของ Fyodor Dostoevsky (1821-81) นักเขียนชาวรัสเซีย ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ 19 อีกสามเรื่องประกอบด้วย Crime and Punishment (1866), The Idiot (1869) และ The Brothers Karamazov (1880)

Demons หรือ The Devils ไม่ใช่เรื่องราวเกี่ยวกับปีศาจ หรืออ้างอิงศรัทธา(คริสต์)ศาสนา, Dostoyevsky ต้องการกล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่เป็นนักปฏิวัติสังคมนิยม ชายห้าคนมีทัศนคติแตกต่างจากทิศทางของชุมชน เลยครุ่นคิดการก่อกบฎ วางแผนเข่นฆาตกรรม แต่สุดท้ายเกิดเหตุผิดพลาดที่ไม่มีใครคาดคิดถึง

สำหรับ La Chinoise ปรับเปลี่ยนพื้นหลังจากชนบทรัสเซีย มาเป็นกรุง Paris ยุคสมัยนั้น (ทศวรรษ 60s) กลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงห้าคน (ชายสาม-หญิงสอง) ยึดถือมั่นในแนวคิดลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoism) เรียกตัวเองว่า Aden Arabie ครุ่นคิดวางแผนลอบสังหารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คาดหวังว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะสามารถจุดชนวนความขัดแย้ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นในประเทศฝรั่งเศส

เกร็ด: ชื่อกลุ่ม Aden Arabie ได้แรงบันดาลใจจากชื่อนวนิยายเล่มแรก Aden Arabie (1931) แต่งโดย Paul-Yves Nizan (1905-40) นักเขียน/นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส โดยข้อความประโยคแรกในนวนิยายเล่มนี้ ได้กลายเป็นสโลแกนของกลุ่มนักศึกษาในช่วงระหว่างการประท้วง Mai ’68

J’avais vingt ans. Je ne laisserai personne dire que c’est le plus bel âge de la vie. แปลว่า I was twenty, I won’t let anyone say those are the best years of your life.

สมาชิกทั้งห้าของ Aden Arabie แม้ต่างยึดถือมั่นในแนวคิดลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoism) แต่ก็มีบุคลิก อุปนิสัย ความสนใจที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง

  • Véronique หญิงสาวมีความมุ่งมั่น สีหน้าจริงจัง เต็มเปี่ยมด้วยอุดมการณ์ เชื่อในแนวคิดลัทธิเหมาอย่างรุนแรงกล้า พร้อมเสียสละตนเองเพื่อแผนการลอบสังหาร พยายามโต้เถียงอาจารย์/นักปรัชญา Francis Jeanson ปฏิเสธยินยอมรับความพ่ายแพ้ จนกว่าจะรับเรียนรู้ความผิดพลาดด้วยตนเอง
    • Anne Wiazemsky (1947 – 2017) นักแสดงหญิงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Berlin บิดาเป็นอดีตเจ้าชายแห่งรัสเซีย อพยพลี้ภัยสู่ฝรั่งเศสในช่วง Russian Revolution แล้วทำงานเป็นนักการทูต ออกเดินทางไปหลายๆประเทศ จนเมือปี 1962 มาปักหลังยังกรุง Paris หลังเรียนจบมัธยมได้รับเลือกจากผู้กำกับ Robert Bresson แสดงนำแจ้งเกิด Au Hasard Balthazar (1966), ทีแรกไม่ได้ตั้งใจจะเอาจริงเอาจังด้านการแสดง แต่เมื่อถูกชักชวน/เกี้ยวพาราสีโดย Jean-Luc Godard พัฒนาความสัมพันธ์จนได้แต่งงาน มีผลงานร่วมกันอาทิ La Chinoise (1967), Week End (1967) ฯลฯ
    • ผกก. Godard จงใจเลือกชื่อตัวละคร Véronique เดียวกับภาพยนตร์ Le petit soldat (1963) ที่เป็นบทบาทการแสดงแรกของ Anna Karina แต่หญิงสาวทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างมากๆ
      • Véronique ของ Wiazemksy ดูมีความเชื่อมั่น เป็นตัวของตนเอง โดดเด่นด้านการแสดงมากกว่า
      • Karina ทำได้เพียงสวยใสไร้เดียงสา เหมือนไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่าฉันกำลังทำอะไรอยู่
    • ความแตกต่างนั้นเองทำให้ Karina ยินยอมศิโรราบ หุบปากและทำตามคำสั่ง ปรับตัวเข้าใจวิธีการของสามี/ผกก. Godard ได้อย่างรวดเร็ว ผิดกับ Wiazemksy เห็นว่าเต็มไปด้วยความกระอักกระอ่วน เพราะแทบทุกสิ่งที่เธอสนทนากับเขาเมื่อค่ำคืน วันถัดมาต้องพูดประโยคนั้นกับใครอื่น (นั่นคือวิธีการที่ผกก. Godard พยายามผสมผสานชีวิตจริง-ภาพยนตร์ จนกลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน)
  • Guillaume Meister ชายหนุ่มผู้หลงใหลด้านการแสดง พยายามสอนให้ทุกคนเห็นความแตกต่างระหว่างชีวิตจริง-เล่นละครตบตา จนดูเพ้อเจ้อไร้สาระ (Fantasist) แต่เมื่อถูกแฟนสาวกลั่นแกล้ง Véronique แสร้งว่าบอกเลิกรา นั่นทำให้เขาสงบนิ่ง เงียบงัน สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองไม่น้อยเลยละ
    • Jean-Pierre Léaud (เกิดปี 1944) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บุตรของนักแสดง Jacqueline Pierreux ที่ไม่มีเวลาให้ลูกเท่าไหร่ เลยส่งไปโรงเรียนประจำยัง Pontigny ขณะนั้นอายุ 14 ขวบ พอได้ยินข่าวมีการคัดเลือกนักแสดงเด็ก ขึ้นรถไฟหนีมาทดสอบหน้ากล้อง โดดเด่นเข้าตา François Truffaut จนได้รับเลือกให้แสดงนำ The 400 Blows (1959) แล้วตัดสินใจเอาดีด้านนี้ ผลงานเด่นๆติดตามมา อาทิ Masculin Féminin (1966), Last Tango in Paris (1972), Day of Night (1973), The Mother and the Whore (1973) ฯ
    • ในบรรดาสมาชิกทั้งห้า Léaud มีภาพลักษณ์เหมือนพวกผู้ดีมีสกุล แตกต่างจากนักศึกษามากอุดมการณ์ ที่พร้อมต่อสู้ อดรนทน พานผ่านความทุกข์ยากลำบาก ด้วยเหตุนี้ผกก. Godard จึงสั่งให้เขาทำตัวเหมือนคนธรรมดาๆ ใช้จ่ายอย่างประหยัด ทานข้าวยังโรงอาหาร ฝึกตนเองให้มีการแสดงออกเหมือนชนชั้นกลาง
    • แต่เอาจริงๆผมไม่รู้สึกถึงความแตกต่างสักเท่าไหร่ Léaud ก็ยังคือ Léaud ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ตนเอง แต่นั่นทำให้ผู้ชมสามารถแบ่งแยกตัวละครนี้ออกจากสมาชิกอื่น ด้วยคำพูดเต็มไปด้วยอารมณ์รุนแรง กระแทกกระทั้น ‘Over-Acting’ จนแลดูเหมือนเสแสร้ง เอาแต่เล่นละครตบตา
  • Yvonne หญิงสาวจากต่างจังหวัด เข้ามาศึกษาร่ำเรียน ใช้ชีวิตอาศัยในกรุง Paris เมื่อเงินไม่เพียงพอใช้ เลยตัดสินใจทำงานขายตัว แต่ดูแล้วเธอเหมือนไม่ได้ใคร่สนใจลัทธิเหมาเจ๋อตุงสักเท่าไหร่ พบเห็นปัดกวาดเช็ดถู ทำความสะอาดอพาร์เม้นท์ และพรอดรักกับแฟนหนุ่ม Henri
    • Juliet Berto ชื่อจริง Annie Jamet (1947-90) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Grenoble, Isère หลังจากมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ 2 or 3 Things I Know About Her (1967) เป็นคนแนะนำผู้กำกับ Jean-Luc Godard ให้รับรู้จักเพื่อนสนิท Anne Wiazemsky จากนั้นกลายเป็นนักแสดงขาประจำ Jacques Rivette ผลงานเด่นๆ อาทิ La Chinoise (1967), Weekend (1967), Out 1 (1971), Celine and Julie Go Boating (1974) ฯลฯ
    • ตัวละครนี้แทบจะคืออวตารของ Juliette Janson (รับบทโดย Marina Vlady) เรื่อง 2 or 3 Things I Know About Her (1967) คงเพื่อสะท้อนความยากลำบากในการใช้ชีวิต ปรับตัวเข้ากับกรุง Paris ยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะสีหน้าอันลอยชายของ Berto ดูไม่ยี่หร่า ไม่สนอะไรใคร นอกจากเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ … แต่ไม่ใช่เพื่อลัทธิเหมาอย่างแน่นอน
  • Henri หนุ่มแว่นหน้าตาดี มีความเฉลียวฉลาด ถึงแม้เอ่อล้นด้วยความเชื่อมั่นต่อแนวคิดลัทธิเหมาเจ๋อตุง แต่เขาเป็นคนรู้จักเผชิญหน้าความจริง ปฏิเสธภารกิจที่ต้องใช้ความรุนแรง ลอบสังหาร รับรู้ว่านั่นย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด เลยถูกใครๆมองว่าเป็นคนทรยศหักหลัง แม้แต่แฟนสาว Yvonne ก็ยังตีตนออกห่าง
    • รับบทโดย Michel Semeniako นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ Université Grenoble Alpes
  • Kirilov จิตรกรหนุ่มผู้เงียบงัน น่าจะเป็นตัวตั้งตัวตีในการก่อตั้ง Aden Arabie และคอยกำหนดทิศทางของกลุ่ม ด้วยความตั้งใจจะอาสาอยากเป็นผู้เสียสละ ต้องการปฏิบัติภารกิจลอบสังหารด้วยตนเอง แต่เมื่อพลาดโอกาสนั้นเลยเขียนจดหมายสารภาพผิด (บอกว่าตนเองเป็นคนกระทำการทั้งหมด) แล้วตัดสินใจกระทำอัตวินิบาต
    • รับบทโดย Lex de Bruijn จิตรกรชาว Dutch
    • เกร็ด: ในบรรดาสมาชิกทั้งห้า มีเพียง Kirilov ที่นำจากต้นฉบับวรรณกรรม Demons (1871–72) ชื่อเต็มๆคือ Alexei Nilych Kirillov และเป็นบุคคลที่ฆ่าตัวตายด้วยเช่นเดียวกัน

สรุปสั้นๆสำหรับสมาชิก Aden Arabie ต่างเป็นตัวแทนของ

  • Véronique เป็นคนมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง กล้าคิดกล้าทำ กล้าได้กล้าเสี่ยง และเรียนรู้จากความผิดพลาด
  • Guillaume หลงใหลในการแสดงจนตกอยู่โลกมายา กำลังเรียนรู้ เติบโต เพื่อออกเดินทางสู่ Socialist Theater
  • Yvonne บ้านนอกเข้ากรุง เพียงต้องการใช้ชีวิตแบบหญิงสาวทั่วๆ ใครว่าอะไรก็คล้อยตาม ไม่ได้สนใจแนวคิดลัทธิเหมาอย่างจริงจังไป หลังยุบกลุ่ม Aden Arabie ก็หวนกลับสู่วิถีเช่นเดิม ราวกับไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น
  • Henri เป็นคนเผชิญหน้าความจริง เมื่อตระหนักถึงความเพ้อเจ้อไร้สาระของกลุ่ม ปฏิเสธลงมติใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เลยโดนขับไล่ ถอนตัวออกมา และถูกตีตราว่าเป็นคนทรยศหักหลังพวกพ้อง
  • Kirilov ไม่พูดมากแต่เน้นการกระทำ ภายในเต็มไปด้วยความคลุ้มคลั่ง เชื่อมั่นว่าการเสียสละ/ความตายของตนเองจะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่าง

ถ่ายภาพโดย Raoul Coutard (1924-2016) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของบรรดาผู้กำกับ French New Wave, สมัยเด็กตั้งใจร่ำเรียนเคมี แต่ไม่มีทุนการศึกษาเลยหันมาเป็นช่างภาพ เข้าร่วมสงคราม French Indichina War (1946-54) ในฐานะ ‘war photographer’ อาศัยอยู่เวียดนามถึง 11 ปี กลับมาฝรั่งเศสกลายเป็นฟรีแลนซ์ให้นิตยสาร Paris Match และ Look กระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้กำกับ Pierre Schoendoerffer ทั้งๆไม่เคยมีประสบการถ่ายทำภาพยนตร์ แต่กลับได้เสียงชื่นชม The Devil’s Pass (1958), ติดตามมาด้วยผลงานแจ้งเกิดโด่งดัง Breathless (1960), Shoot the Piano Player (1960), Vivre sa Vie (1962), Jules et Jim (1962), Le Mépris (1963), Bande à part (1964), Pierrot le Fou (1965), Z (1969) ฯลฯ

งานภาพของหนังมีความบริสุทธิ์ เรียบง่าย ‘Cinéma Pur’ ไม่ได้ต้องใช้ลีลาอะไรมากมาย (ให้ความรู้สึกคล้ายๆ Vivre Sa Vie (1962)) แต่โดดเด่นในรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ เต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ และแทบจะทุกช็อตฉากต้องมีอะไรสักอย่างที่เป็น ‘สีแดง’ ซึ่งเป็นตัวแทนของหนังสือเล็กแดง (Little Red Book) คติพจน์ของประธานเหมาเจ๋อตุง คอยสร้างอิทธิพลให้บรรดาตัวละครที่มีความหลงใหลคลั่งไคล้ลัทธิเหมา

แม้จะเป็นหนังฟีล์มสี (Eastmancolor) กลับเลือกถ่ายทำอัตราส่วน Academy Ratio (1.33:1) ซึ่งเหมาะสำหรับฉายทางโทรทัศน์ ผมครุ่นคิดว่าผกก. Godard ต้องการสร้างกรอบให้เหมือนขอบกระดานดำ จักทำให้ผู้ชมพบเห็นเนื้อหารายละเอียด บทเรียนการเมือง/ลัทธิเหมาได้อย่างชัดเจน … คือถ้าเป็นอัตราส่วน Widescreen (16:9) หรือ Anamorphic (2.35:1) มันทำให้ผู้ชมรู้สึกเพลิดเพลิน ล่องลอยไป ไม่ได้ครุ่นคิดจริงจังกับเนื้อหาสาระอะไร

ส่วนใหญ่ของหนังถ่ายทำยัง 15 Rue de Miromesnil, Paris ซึ่งเป็นอพาร์ทเม้นท์ของนักแสดงตลก/ผู้กำกับละครเวที Antoine Bourseiller (1930-2013) สามีคนแรกของ Agnès Varda แต่ขณะนั้นแต่งงานใหม่กับ Chantal Darget ยินยอมให้ผู้กำกับ Godard (อาศัยอยู่ร่วมกับแฟนสาว Wiazemsky) หยิบยืมสำหรับถ่ายทำ La Chinoise (1967) ช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ค.ศ. 1967


การจับมือระหว่างคนสอง ชาย-หญิง สามารถสื่อถึงขั้วการเมืองซ้าย-ขวา ประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ต่างฝ่ายต่างพยายามจะควบคุมครอบงำ ต้องการมีอิทธิพลเหนือกว่าอีกฝั่งฝ่าย (ด้วยการวางมืออยู่ด้านบน) แต่ก็ไม่มีใครยอมใคร จนกว่าจะสามารถยินยอมรับ ปรับตัวเข้าหา ถึงจะจับมือแล้วเดินเคียงข้างไปข้างหน้า

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

“แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง” เมื่อครอบครัวของ Véronique ไม่อาศัยอยู่บ้านช่วงปิดเทอมฤดูร้อน เธอเลยใช้อพาร์ทเม้นท์หลังนี้เป็นสถานที่ซ่องสุม นัดรวมกลุ่ม Aden Arabie ผู้ฝักใฝ่ลัทธิเหมาเจ๋อตุง สำหรับศึกษาเรียนรู้ และวางแผนก่อการร้าย … เก้าอี้สองตัวที่ว่างอยู่นี้ ผมตีความว่าคือการสูญหายตัวไปของบิดา-มารดา

We should replace vague ideas with clear images.

ถึงข้อความบนกำแพงจะเขียนไว้เช่นนั้น แต่ภาพพบเห็นในหนังล้วนซุกซ่อนเร้นด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ต้องใช้การขบครุ่นคิดวิเคราะห์ หาได้มีความเป็น ‘clear images’ เลยสักนิด! แต่เราคงต้องเข้าใจว่าภาพของผกก. Godard กับความครุ่นคิดของผู้ชม มันคงไม่ใช่สิ่งเดียวกันสินะ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

รูปภาพเล็กๆเหนือโคมไฟคือ Novalis นามปากกาของ Georg Philipp Friedrich Freiherr von Hardenberg (1772-1801) นักเขียน, กวี, รหัสยิก และนักปรัชญาแห่งยุคศิลปะจินตนิยมเยอรมันตอนต้น (Jena Romanticism หรือ Early German Romanticism) โดยแนวคิดที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากคือ ‘เสรีภาพในความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เกิดขึ้นจากความเข้าใจผู้อื่นและโลกใบนี้’ ซึ่งสะท้อนมุมมองของผกก. Godard คิดเห็นว่าลัทธิเหมาเจ๋อตุงคือวิถีธรรมชาติ สอดคล้องเข้ากับอุดมคติของตนเองอย่างชัดเจน (ผมพยายามจะตีความตามที่หนังนำเสนอออกมานะครับ หลายคนอาจรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง แต่เราต้องเข้าใจว่ามันคือทัศนคติเบี้ยวๆส่วนตัวของผกก. Godard เป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว)

We are on a mission: Our calling is the cultivation of the earth. Novalis

ส่วนภาพซ้ายไม่แน่ใจว่ารูปปั้นใคร แต่ภาพช็อตนี้ปรากฎขึ้นพร้อมคำพูด “God, why have you forsaken me?” ก่อนแทนที่ด้วยหนังสือเล็กแดง ถูกนำขึ้นวางบนชั้น … แสดงถึงการละทอดทิ้งความเชื่อต่อพระเจ้า แล้วหันมาเลื่อมใสศรัทธาลัทธิเหมาเจ๋อตุง

การเมืองเป็นเรื่องของคนส่วนมาก ฝั่งฝ่ายไหนได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ก็มีสิทธิ์ที่จะทำโน่นนี่นั่น ตอบสนองความครุ่นคิดเห็นส่วนบุคคล ผลประโยชน์พรรคพวกพ้อง ซึ่งไม่จำเป็นว่าสิ่งนั้นต้องถูกต้องเหมาะสมเสมอไป ด้วยเหตุนี้มันเลยเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง นำพาไปสู่ความรุนแรงเมื่อต่างฝ่ายมิอาจอดรนทน ยินยอมรับความประณีประณอมได้อีก

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ในการสัมภาษณ์ช่วงแรกๆ สังเกตว่ากล้องถ่ายทำระยะประชิด Close-Up Shot นักแสดงมักยืนหลังชนกำแพงที่มีรูปภาพ ข้อความ ตัดจากหนังสือพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งสามารถสะท้อนความสนใจของตัวละคร(ขณะนั้น) ที่ยังมีความยึดถือมั่นต่อหลักการ อุดมการณ์ แนวคิดลัทธิเหมาเจ๋อตุง

  • ภาพวาดหญิงสาวด้านหลังของ Véronique ไม่ได้มาจากการ์ตูนเรื่องไหนนะครับ แต่คือผลงานของ Antonio Lopez แฟชั่นดีไซเนอร์ชื่อดัง ตีพิมพ์ลงในนิตยสารแฟชั่น สำหรับโปรโมทเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ‘Fashion Illustration’
  • ขณะที่อีกภาพด้านหลัง Véronique คือเด็กๆสวมผ้าพันคอสีแดง (นี่ก็คือยุวแดงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน) กำลังรับฟังคำแนะนำ เสี้ยมสอนสั่งจากรุ่นพี่ (กระมัง)
    • ทั้งสองภาพนี้ของ Véronique แสดงถึงความสนใจที่มากกว่าแค่ประเด็นการเมือง แต่ยังเรื่องสวยๆงามๆของอิสตรีเพศด้วยเช่นกัน
  • ด้านหลังของ Guillaume คือภาพข่าวหนังสือพิมพ์ของประธานเหมาเจ๋อตุง ส่วนภาพวาดด้านซ้ายแอบนึกถึงผลงานของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี แต่คาดว่าอาจเป็นผลงานของ Lex de Bruijn (ผู้รับบท Kirilov) เพื่อสะท้อนใบหน้าอันเกรี้ยวกราด แสดงออกความรุนแรงต่อสถานการณ์การเมือง
  • ด้านหลังของ Yvonne แปะเพียงบทความเล็กๆ (แสดงถึงความสนใจอันน้อยนิดต่อสถานการณ์ของโลก) พบเห็นหัวข้อ La Paysanne française aujiurdhui แปลว่า The French peasant woman today (นี่ก็สะท้อนความสนใจของเธอที่แต่เรื่องสวยๆงามๆของตนเอง)

ส่วนการสัมภาษณ์ครึ่งหลังของ Véronique และ Henri จะแตกต่างจาก Guillaume และ Yvonne (ผมขอเขียนไว้ตรงนี้เลยแล้วกัน จะได้ไม่ต้องกล่าวถึงอีก)

  • ด้านหลังของ Véronique คือชั้นวางหนังสือ สามารถสื่อถึงการยังเป็นนักเรียน/นักศึกษา มีสิ่งต่างๆอีกมากมายให้ต้องลองผิดลองถูก รวมถึงกลุ่ม Aden Arabie ด้วยเช่นกัน
  • สำหรับ Henri ให้สัมภาษณ์หลังจากถูกขับไล่/ถอนตัวจากกลุ่ม แล้วกำลังรับประทานอาหาร แสดงความคิดเห็นถึงแผนการ/ภารกิจ ตระหนักว่าแนวคิดของ Aden Arabie ไม่สามารถนำมาปรับใช้ในทางปฏิบัติได้จริง
    • การรับประทานอาหาร ในบริบทนี้คงคือการบริโภคแนวคิด/หลักการของ Aden Arabie แล้วย่อยสิ่งต่างๆที่ได้เรียนรู้ให้ผู้ชมได้รับฟัง ชี้แนะนำให้เห็นถึงความเป็นจริง ไม่มีทางที่แผนการลอบสังหารจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใด

ระหว่างที่ Guillaume พยายามพูดอธิบาย พันผ้าปิดศีรษะให้ผู้ชมรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการแสดง-ชีวิตจริง เบื้องหน้า-หลังกล้อง (พบเห็น Raoul Coutard นั่งอยู่หลังกล้อง) ก็มีการเอ่ยถึงสองนักเขียนซึ่งถือเป็นนักปฏิวัติแห่งวงการ

  • William Shakespeare (1564-1616) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษ บุคคลแรกๆที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้าง พล็อตเรื่อง (Plot Structure) สำรวจตัวละคร (Charactor Study) การใช้สำนวนภาษา (Language) รวมถึงจัดแบ่งประเภท (Genre) และdkiไม่สามารถคาดเดาตอนจบ (หักมุม)
  • Bertolt Brecht (1898-1956) นักเขียนบทละครชาว German ผู้ครุ่นคิดพัฒนาทฤษฎี Episches Theater (แปลว่า Epic Theatre) ที่ถือว่าได้ทำการปฏิวัติวงการละครเวทีเช่นเดียวกัน
    • Episches Theater (Epic Theatre) ไม่ได้หมายถึงสเกลในการสร้าง แต่คือรูปแบบวิธีการนำเสนอ พยายามทำให้ผู้ชมตระหนักรู้ถึงสภาพความเป็นจริง หนึ่งในนั้นที่นิยมใช้กันคือเทคนิค Verfremdungseffekt แปลว่า Estrangement effect (หรือ Distancing effect หรือ Alienation Effects) ด้วยการทำบางสิ่งอย่างเพื่อขัดจังหวะ ทำลายความต่อเนื่อง ก่อกวนความรู้สึกของผู้ชม จักทำให้ผู้ชมบังเกิดสติในการครุ่นคิด ไม่ใช่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ล่องลอยไปกับสิ่งที่ละคร/ภาพยนตร์นำเสนอออกมา (ในจิตใต้สำนึก)

วิธีการจะอธิบายแนวคิดลัทธิเหมาเจ๋อตุงได้ง่ายที่สุด ก็คือทำเหมือนสอนหนังสือ ‘political learning’ โดยมีอาจารย์/ใครสักคนยืนพูดหน้าชั้น (จริงๆคือยืนอ่านสิ่งที่ผกก. Godard ตระเตรียมเขียนเอาไว้) และนักเรียนก็คือผู้ชมภาพยนตร์ และสมาชิกทั้ง 4-5 คนของ Aden Arabie แต่ต่างก็มีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันไปในแต่ละคาบเรียน

Omar Blondin Diop (1946-73) เป็นชาว Niger, West Africa ระหว่างยังศึกษามหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส เป็นสมาชิกกลุ่มการเมืองฝั่ง Marxist, ต่อมาเข้าร่วมการปฏิวัติ Mai ’68 และภายหลังกลายเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง Anti-Colonial ปักหลักอยู่ประเทศ Senegal ต่อต้านรัฐบาลหุ่นเชิด(ฝรั่งเศส)จนถูกจับกุม คาดว่าถูกลอบสังหารในเรือนจำ จนถึงปัจจุบันก็ไม่เคยได้รับความยุติธรรมใดๆ

หัวข้อบรรยายของ Omar เอาจริงๆผมไม่ได้ตั้งฟังสักเท่าไหร่ แค่พอรับรู้ว่าเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ Vladimir Lenin ทำให้สหภาพโซเวียตพัฒนาต่อยอดแนวคิดการปกครอง กลายมาเป็นลัทธิมากซ์และลัทธิเลนิน (Marxism–Leninism) ลองสังเกตปฏิกิริยาของนักเรียนทั้งห้า

  • Véronique, Guillaume และ Henri ตั้งใจรับฟังอย่างเอาจริงเอาจัง
  • Yvonne กำลังยืดเช็ดรองเท้า อยู่บนสุมกองหนังสือเล็กแดง มองมุมหนึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตประจำวันที่ยังต้องดำเนินไป ขณะเดียวกันคือไม่ได้ยี่หร่าต่อสิ่งที่กำลังรับฟังสักเท่าไหร่
  • ขณะที่ Kirilov กำลังซ่อมแฮนด์จักรยาน ส่วนที่ใช้ควบคุมทิศทางของจักรยาน แสดงถึงบุคคลผู้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่ม Aden Arabie รวมถึงวางแผน กำหนดทิศทาง และเป้าหมายดำเนินการ

ช่วงระหว่างการบรรยายของ Omar จะมีซีนที่กล้องเคลื่อนไหลภายนอกห้อง ซึ่งจะหยุดพักแบ่งออกได้เป็นสามระยะ

  • ภาพแรกก็คือ Omar (ผู้บรรยายหน้าห้องเรียน) และ Kirilov ที่กำลังซ่อมแฮนด์จักรยาน (บุคคลผู้ก่อตั้ง กำหนดทิศทางเป้าหมายกลุ่ม Aden Arabie)
  • กลุ่มนักเรียนที่มีความตั้งใจรับฟัง Véronique, Guillaume และ Henri ทั้งจดบันทึก พูดคุยสอบถาม แสดงความคิดเห็น
  • และ Yvonne กำลังทำความสะอาดรองเท้า ไม่ค่อยสนใจอะไรสักเท่าไหร่

นอกจากนี้ยังมีการแทรกภาพบุคคลสำคัญๆ ข้อความ หรือภาพทางการเมือง เพื่อเสริมการบรรยายของ Omar แต่ผมคงไม่เสียเวลาหาข้อมูลทั้งหมดนะครับ เอาที่น่าสนใจสองสามช็อตก็พอแล้วละ

  • ภาพแรกคือ Vladimir Lenin เมื่อปี ค.ศ. 1907 ขณะนั้นอายุ 37 ปี ขณะกำลังหลบหนีภัยออกจากรัสเซีย เพราะถูกไล่ล่าจากจักรพรรดิ Tarist
  • ภาพสองก็ยังคือ Lenin แต่เมื่อปี ค.ศ. 1917 พอไว้หนวดเลยเป็นภาพลักษณ์ที่มักคุ้นสักหน่อย ขณะนั้นน่าจะโค่นล้มจักรพรรดิ Tarist ได้สำเร็จแล้วกระมัง
    • สิ่งที่น่าสนใจของภาพนี้ก็คือการย้อมดวงตาสีแดง ทีแรกผมคาดว่าสื่อถึงการเสียชีวิตจากไปแล้ว แต่ครุ่นคิดไปมามันอาจหมายถึงอาการ ‘เลือดขึ้นหน้า’ ใช้ความรุนแรงในการโค่นล้มกษัตริย์ Tarist เปลี่ยนแปลงปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ (Communist)
  • ภาพสุดท้ายก็ยังคงเป็น Lenin แต่ได้กลายเป็นภาพวาด สามารถสื่อถึงหลังความตายได้กลายเป็นอมตะ หรือคือสัญลักษณ์แห่งสหภาพโซเวียต
    • ภาพนี้ไม่ใช่แค่ดวงตาที่ทาสีแดง แต่ยังริมฝีปาก เครื่องแบบทหาร สามารถสะท้อนถึงการปกครองระบอบ Leninism ใช้ความรุนแรงจัดการผู้ต่อต้าน ปิดปากพวกครุ่นคิดเห็นต่าง เข่นฆ่าศัตรูจนเปื้อนเลือดท่วมตัว

ระหว่างการสัมภาษณ์ Véronique จะมีแทรกภาพการต่อสู้ สงคราม ความรุนแรง รวมถึงบรรดาศิลปิน นักแสดง ที่ถือว่าเป็นนักปฏิวัติ(วงการ)ก็ได้กระมัง อาทิ

  • ผมไม่แน่ใจว่าภาพแรกคือใคร แต่เชื่อว่าต้องเป็นบุคคลมีชื่อเสียง บุกฝ่าดงไปยังทวีปแอฟริกัน (นั่นเป็นสิ่งที่ยุคสมัยนั้นไม่มีใครเขาทำกัน)
  • ภาพถ่าย Jean-Paul Belmondo ไม่รู้จากกองถ่าย Breathless (1960) หรือเปล่านะ ซึ่งถือเป็นผลงานที่ปฏิวัติวงการภาพยนตร์
  • ภาพสุดท้ายคือ Michel Polnareff นักร้องชาวฝรั่งเศสที่เพิ่งโด่งดังจากอัลบัมแรก Michel Polnareff (1966) โดยเฉพาะซิงเกิ้ลแรก La Poupée qui fait non (1966) นำเสนอบทเพลงที่มีความเป็นส่วนตัวเองสูงมากๆ ผิดแผกจากค่านิยมยุคสมัยนั้น อาจจะเรียกว่าคือหนึ่งในผู้ปฏิวัติวงการเพลงฝรั่งเศสได้เลยกระมัง

ระหว่างที่ทุกคนกำลังหลับสบาย Kirilov ทำตัวเป็นนาฬิกาปลุกตื่นยามเช้า ด้วยการเปิดบทเพลงชาติ Socialist ชื่อว่า Pierre Degeyter: The Internationale (1888) ด้วยการก้าวขึ้นบนเตียงนอน เดินวนไป-วนกลับ จนทำให้สมาชิกต้องลุกขึ้นมายืดเส้นยืด เต้นแอโรบิก … นี่มันค่ายฤดูร้อน (Summer Camp) เลยนะ!

The … theoretical … base … which … serves … as … a guide … in … our … thinking … is … Marxism … Leninism.

เอาจริงๆหนังไม่ได้นำเสนอออกมาตรงๆว่าใครคือหัวหน้ากลุ่ม Aden Arabie ถ้าอ้างอิงตามนวนิยาย Demons จักคือตัวละครของ Véronique แต่ฉากนี้ทำให้ผมครุ่นคิดว่า Kirilov คือบุคคลที่คอยกำหนดทิศทางดำเนินไปของกลุ่ม (อย่างน้อยคือผู้ร่วมก่อตั้ง) และต้องการอาสาเป็นผู้เสียสละสำหรับภารกิจลอบสังหาร กระทำสิ่งตอบสนองความเกรี้ยวกราดบางอย่างที่อัดแน่นภายใน

คาบเรียนของ Guillaume พยายามเปรียบเทียบละครเวที ภาพยนตร์ ให้สอดคล้องเข้ากับแนวคิดทางการเมือง (Socialist Theatre) โดยอ้างอิงถึงสองพี่น้อง Lumière brothers สรรค์สร้างผลงานมีลักษณะคล้ายภาพวาด Impressionist และแนวคิดภาพยนตร์ของ Georges Méliès ไม่ต่างจากละครเวทีของ Bertolt Brecht (ต่างถือเป็นผู้ปฏิวัติวงการเช่นเดียวกัน)

It proves Lumiere was a painter. He filmed the same things painters were painting at that time, men like Charo, Manet or Renoir. What did he film? He filmed train stations. He filmed public gardens, workers going home, men playing cards. He filmed trams. One of the last great Impressionists? Exactly, a contemporary of Proust. So Melies did the same thing. No, what was Melies doing at that time? He filmed a trip to the moon. Melies filmed the King of Yugoslavia’s visit to President Fallieres. And now in perspective, we realise those were the current events. No kidding, it’s true. He made current events. They were re-enacted, alright. Yet they were the real events. I’d even say Melies was like Brecht.

เกร็ด: ภาพยนตร์/สารคดีที่ Guillaume อ้างอิงถึงนั้นคือ Louis Lumière (1968) กำกับโดย Éric Rohmer (ตอนนั้นยังไม่ได้ออกฉายสาธารณะ แต่คาดว่าผกก. Godard และพรรคเพื่อน French New Wave คงมีโอกาสได้รับชมก่อนใคร) บันทึกการสนทนาระหว่าง Jean Renoir และ Henri Langlois เกี่ยวกับศาสตร์/ศิลปะภาพยนตร์ของ Louis Lumière

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ลูกเล่นในการบรรยายของ Guillaume ประกอบไปด้วย

  • การสวมใส่แว่นตาลายธงชาติ จากนั้นแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ หรือนโยบายส่งผลกระทบต่อประชาชน (คล้ายๆการสวมบทบาท เล่นละคร วิพากย์วิจารณ์การทำงาน)
  • จากนั้นมีการเล่นละครของ Yvonne สวมบทบาทเป็นเวียดกง ร้องขอความช่วยเหลือระหว่างเครื่องบิน/เรือรบ (ที่เป็นของเด็กเล่น) เติมน้ำมันยี่ห้อ ESSO กำลังโจมตี ทิ้งระเบิดปูพรม
  • ภาพวาดการ์ตูน Batman, Sergant Fury, Captain America ล้วนคือลักษณะการชวนเชื่อ (ของสื่อศิลปะ) ปลูกฝังค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ของสหรัฐอเมริกา

แต่ไฮไลท์ของหนังก็คือกำแพงที่เรียงรายด้วยหนังสือเล็กแดง ต้องการสื่อถึงสิ่งที่สามารถปกป้อง คุ้มครองชีวิตของประชาชน (เหมือนผนังกำแพง) คือความเชื่อมั่นศรัทธาต่อท่านประธานเหมาเจ๋อตุง ซึ่งหนังสือ/วิทยุ/อุดมการณ์ดังกล่าว จักแปรสภาพเป็นอาวุธ (ปืน) กำจัดขับไล่ เข่นฆ่าศัตรูให้พ่ายแพ้ภัยพาล

อีกช็อตหนึ่งที่ขยายแนวคิดดังกล่าวก็คือ รถถังของเล่นที่ปักธงสหรัฐอเมริกา พ่ายแพ้ให้กับกองหนังสือเล็กแดง นี่เช่นกันต้องการสื่อว่า ‘อุดมการณ์คืออาวุธที่ทรงพลังยิ่งกว่ายุทโธปกรณ์อื่นใด’ เพราะประชาชนจะไม่ยินยอมพ่ายแพ้แม้ตัวตาย ประเทศที่ใช้ความรุนแรงแม้สามารถเอาชนะสงคราม สุดท้ายกลับจะไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง

คาบเรียนของ Henri เหมือนจะนำเสนออิทธิพลของสหรัฐอเมริกา (ตัดให้เห็นภาพของ Véronique ที่ทำเหมือนไม่ได้สนใจรับฟังเพราะกำลังอ่านหนังสือพิมพ์ Pekin Information แต่ด้านหลังคือภาพการ์ตูนแฟชั่น แสดงถึงสิ่งความขัดแย้งที่อยู่ภายใน) ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์, Marxist และหลักการของมนุษยศาสตร์ (ตัดให้เห็นภาพของ Yvonne กำลังเช็ดกระจก ทำความสะอาดอพาร์ทเม้นท์ นั่นคือกิจวัตรประจำวันที่ยังคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไป)

หัวข้อบรรยายของ Henri พยายามนำเสนอการเมืองที่สะท้อนโลกความจริง อิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำวัน มันเลยไม่ค่อยมีใครอยากรับฟังสักเท่าไหร่ … บรรยายรอบสองเลยถูกส่งเสียงโห่ขับไล่

เมื่อเข้าสู่ Movement ที่สองของหนัง บทเพลง Mao Mao ทำให้บรรยากาศในอพาร์ทเมนท์แห่งนี้ปรับเปลี่ยนแปลงไป

  • Kirilov ที่เคยเงียบงัน เริ่มแสดงอารมณ์หุนหัน โยนทิ้งแฮนด์จักรยานที่เคยซ่อมไว้ออกไปนอกห้อง สัญลักษณ์ของการเรียกร้อง ต้องการกระทำอะไรบางสิ่งอย่างที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
  • ขณะที่ Yvonne ก็หยิบมืดขึ้นมาซ้อมทิ่มแทง …เลียนแบบ Psycho (1960)?
  • ระหว่างที่ Véronique กล่าวถึง André Malraux (1901-1976) จักปรากฎภาพรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม
  • ช็อตต่อไปพบเห็น Kirilov ทำท่าซ้อมจ่อยิงปืนฆ่าตัวตาย (ด้วยการลุก-นั่ง สองสามครั้ง) และภาพด้านหลัง Malcolm X (1925-65) นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ที่เพิ่งถูกลอบสังหารเมื่อไม่นานมานี้

เหล่านี้ล้วนแฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเป็นการชี้นำ บอกใบ้ว่า ชายคนนี้อาจคือเป้าหมาย จักต้องถูกเข่นฆาตกรรม!

คาบเรียนของ Kirilov เหมือนจะไม่มีใครอยากรับฟังเช่นกัน (เมื่อกล้องเคลื่อนไหลจากภายนอกห้อง พบเห็นบานหน้าต่างฝั่งนักเรียนที่ปิดอยู่) พยายามกล่าวถึงสามแม่สี น้ำเงิน-เหลือง-แดง ที่สามารถสื่อแทนอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา นั่นก็สะท้อนตัวตนของเขา มีความสนเพียงไม่กี่สิ่งอย่างเท่านั้น

ระหว่างที่ Kirilov กำลังพูดสอนอยู่นั่น Guillaume ก็ใช้ผ้าค่อยๆลบชื่อบุคคลสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ วรรณกรรม ละครเวที ฯลฯ มีใครบ้างก็ให้ลองไปสังเกตเอาเองนะครับ สามชื่อสุดท้ายคือ Williams (น่าจะ Shakespeare), Molière (นักเขียน/นักแสดงละครเวที ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบรมครูด้านสุขนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด) และ Brecht

ฉากนี้แฝงนัยยะถึงความพยายามของผู้กำกับ Godard ที่จะละทอดทิ้ง ทำลายอดีต ลบเลือนทุกสิ่งอย่างที่เคยเป็นอิทธิพล แรงบันดาลใจในการสรรค์สร้างผลงาน ต้องการเริ่มต้น “Set Zero” นับหนึ่งใหม่ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

For everything we see, we must consider three things. The position of the seeing eye, of the object seen and of the source of light.
  • ภาพวาด End of Night (1966) ผลงานของ Friedensreich Hundertwasser (1928-2000) จิตรกรชาว Austrian ที่แม้ยังคงเห็นเค้าโครงใบหน้ามนุษย์ แต่มีการใช้สีที่ราวกับคลื่น ‘spectrum’ เป็นการสำแดงลักษณะของ โลกความจริง (Reality) vs. จินตนาการเพ้อฝัน (Fantasy) หรือจะมองว่าคือภาพของการพบเห็นสิ่งเหนือธรรมชาติ (Transcendentalism)
    • ภาพนี้สอดคล้องแนวคิดแหล่งกำเนิดแสง ‘source of life’ เป็นสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ (จริงๆมันควรอยู่ลำดับสุดท้ายไม่ใช่รึ?)
  • ภาพวาด Coffee (1915) ผลงานของ Pierre Bonnard (1867-1947) จิตรกรสัญชาติฝรั่งเศส ผู้บุกเบิกยุคสมัย Post-Impressionist
    • สอดคล้องคำกล่าววัตถุที่มองเห็น (object seen)
  • เธอคนนี้คือ Henny Porten (1890-1960) นักแสดงยุคหนังเงียบ “The First Lady of German Cinema” ดาวดาราดวงแรกของวงการภาพยนตร์เยอรมัน (เทียบเท่ากับ Lillian Gish ที่ได้รับฉายา The First Lady of American Cinema)
    • นี่คือดวงตาอันพองโตของหญิงสาว (seeing eye)

แม้ว่าสาวๆจะไม่ได้รับโอกาสให้เป็นผู้บรรยายบทเรียนหน้าห้อง (นี่ก็สะท้อนสังคม ‘ชายเป็นใหญ่’ ที่ผู้กำกับ Godard ยังไม่สามารถดิ้นหลุดนอกกรอบความคิด) แต่ขณะนี้ Véronique ก็ทำการเสี้ยมสอน Guillaume ให้เรียนรู้จักแนวคิดของการต่อสู้ดิ้นรน ‘struggle on two fronts’ ซึ่งเป็นคำสอนของประธานเหมาเจ๋อตุง (จากหนังสือเล็กแดง) ด้วยการเปรียบเทียบการสูญเสียความรัก (แสร้งว่าบอกเลิก) ไปพร้อมๆกับรับฟังบทเพลง Franz Schubert: Piano Sonata in A major D. 664: I. Allegro moderato

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Guillaume ปิดตาจับนก (ผิวปากเพื่อส่งเสียงเหมือนนก) จากนั้นมีเสียงบรรยายกล่าวถึงความขัดแยังอันเนื่องมาจากสีผิว ชนชาติพันธุ์ ฯลฯ แล้วปรากฎภาพหญิงสาวสวมชุดคลุมสีดำ พูดบอกว่าฉันคือมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตแปลกประหลาดอะไร แต่ทำไมกลับถูกเลือกปฏิบัติเพียงเพราะไม่ได้เหมือนคนส่วนใหญ่ … การปิดตาของ Guillaume สื่อถึงการแสร้งว่ามองไม่เห็นอีกฝั่งฝ่ายว่าเป็นมนุษย์เหมือนกัน

แซว: ฉากนี้ทำให้ผมตระหนักว่า Jean-Pierre Léaud น่าจะมีความสามารถพิเศษในการผิวปาก (แสดงว่าตอน Masculin Féminin (1966) เป็นคนผิวปากเพลงของ Bach จริงๆ)

ใบหน้าแห่งความฝัน “face of a dream” คำกล่าวในหนังอ้างว่าเป็นผลงานของ Serge Dimitri Kirilov แต่ผมกลับหาข้อมูลจิตรกรคนนี้ไม่ได้เลยนะครับ! ถึงอย่างนั้นนี่ก็เป็นภาพวาดที่น่าสนใจไม่น้อย ใบหน้าเต็มไปด้วยส่วนผสมทรงผมหยิก-ตรง บลอนด์-แดง สีผิวดำ-ขาว-เหลือง ริ้วรอยกระเกลื้อน แสดงถึงความหลากหลายทางสีผิว เชื้อชาติ รวมเรียกว่าใบหน้าของมนุษยชาติ

เป้าหมายของ Aden Arabie คือการกำจัดศัตรูสาธารณะ (Public Enemy) ที่มีความครุ่นคิดเห็นต่างทางการเมือง เท่าที่ผมพอหาข้อมูลได้ประกอบด้วย

  • เบอร์ 1: ปธน. Lyndon B. Johnson แห่งสหรัฐอเมริกา
  • เบอร์ 2: Alexei Kosygin ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น (Cold Wars)
  • เบอร์ 4: หน้าปกหนังสือ Descartes (1946) แต่งโดย Jean-Paul Sartre ซึ่งพยายามนำเสนอความเห็นต่างขัดแย้งกับ René Descartes (1596-1650) ผู้บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ และยังเป็นนักคณิตศาสตร์บุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์
  • เบอร์ 7: Leonid Brezhnev ผู้นำสหภาพโซเวียต ในฐานะเลขาธิการกลางคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
  • เบอร์ 26: Heinrich Himmler หนึ่งในผู้นำพรรค Nazi ตัวตั้งตัวตีอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ Holocaust
  • เบอร์ 153: เหมือนจะเป็นผู้กำกับ Jean-Luc Godard

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

คาบเรียนสุดท้ายของหนัง Henri พยายามที่จะพูดสอนให้ทุกคนเรียนรู้จักการเผชิญหน้าความจริง นำเสนอหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ แต่กลับไม่มีใครสนใจรับฟัง แถมส่งเสียงโห่ร้องขับไล่ … กล่าวคือบรรดานักเรียนต้องการออกไปภาคปฏิบัติแล้วสิ!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังจาก Henri ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมภารกิจลอบสังหาร ก็แสดงความคิดเห็นถึงสมาชิก Aden Arabie ว่าเต็มไปด้วยความเพ้อเจ้อไร้สาระ (Fantasist) เพราะตระหนักรับรู้ว่าความรุนแรงไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไร จากนั้นมีการกล่าวถึง Louis Aragon (1897 – 1982) นักกวี นักเขียนนวนิยาย ผู้สนับสนุนพรรค Communist (และให้การสนับสนุนบรรดานักศึกษาในช่วง Mai ’68) ซึ่งการขีดๆเขียนๆดวงตาสีแดงๆคล้ายๆภาพตอนต้นเรื่องของ Vladimir Lenin ผมรู้สึกว่าแฝงนัยยะที่กลับตารปัตรตรงกันข้าม

ภาพวาด Abstract หาข้อมูลไม่ได้ว่าผลงานใคร มีลักษณะเหมือนสองบุคคล (กำลังจุมพิต) แต่ถ้ามองจากระยะไกลๆจะเห็นเหมือนรูปหัวใจ สามารถเติมเต็มคนละครึ่งซีกของกันและกัน … อาจจะสื่อว่า Louis Aragon คือบุคคลที่สามารถช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และกำหนดทิศทางของ Aden Arabie ได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ (ตรงกันข้ามกับ Lenin ที่ปกครองประเทศด้วยความรุนแรง/เผด็จการ สนเพียงกำจัดผู้ครุ่นคิดเห็นต่าง)

เมื่อมีการพูดถึงบุคคลที่ถูกตัดสินโทษข้อหาเป็นกบฎ ต่อต้านรัฐบาล มีการแทรกภาพสามบุคคล

  • Nikolay Bukharin (1888-1938) นักปฏิวัติชาว Russian สมาชิกระดับสูงของ Bolshevik เคยได้รับการสนับสนุนจาก Joseph Stalin แต่ความขัดแย้งบางอย่างเลยถูกขับไล่ จับกุม เหมือนจะใส่ร้ายป้ายสี และได้รับโทษประหารชีวิต
  • ภาพที่สองหาข้อมูลไม่ได้ว่าใคร
  • ส่วนภาพสุดท้ายมาจากโคตรหนังเงียบ Arsenal (1929) กำกับโดย Alexander Dovzhenko ซึ่งก็เป็นภาพสุดท้ายของหนัง ชายคนนี้แสดงความเกรี้ยวกราดด้วยการฉีกกระชากเสื้อผ้า ฆ่ากันให้ตายเลยดีกว่า

เสียงสนทนาที่สลับไปมาระหว่าง Véronique, Henri และ Yvonne (จนแทบจะแยกแยะไม่ออกว่าใครกำลังพูดอะไร) กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการสงคราม ต่อสู้กับผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง

  • Vladimir Lenin สนเพียงกำจัดศัตรู/ผู้เห็นต่างให้พ้นภัยพาล โดยไม่สนอะไรใครทั้งนั้น
  • Rosa Luxemburg (1871-1919) นักปฏิวัติชาว Polish, นักปรัชญา Marxist และต่อต้านสงคราม แสดงความคิดเห็นว่าใครอยากทำสงคราม ก็ควรเป็นผู้จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม (War Reparations)
    • นี่ถือว่าเป็นความเห็นตรงกันข้ามกับ Lenin นะครับ

แซว: แม้หนังกล่าวถึง Rosa Luxemburg แต่กลับใช้ภาพวาด La Prière Du Matin (1775-80) แปลว่า The Morning Prayer โดยจิตรกร Jean-Baptiste Greuze (1725-1805) สัญชาติฝรั่งเศส

ระหว่างที่ Yvonne อ่านเรื่องราวจากนิตยสารผู้หญิงที่สะท้อนความสนใจของตนเอง หนังมีการแทรกภาพ Montage ร้อยเรียงปฏิกิริยาใครต่อใครรอบข้าง

  • บทเพลง Mao Mao ดังขึ้นพร้อมภาพ Kirilov หันไปหาข้อความ Politique (แปลว่า Political) สื่อถึงความสนใจเพียงประเด็นการเมืองเท่านั้น
  • Yvonne แม้ยืนพิงกำแพงที่มีรูปภาพเหมาเจ๋อตุง แต่กำลังกัดกินแอปเปิ้ล ผลไม้ต้องห้าม
  • Guillaume ยกมือขึ้นป้องปาก พยายามปิดปั้น ปฏิเสธให้ความสนใจสิ่งอื่นนอกเหนือจากประเด็นการเมือง
  • ตอกสเลทก่อการให้สัมภาษณ์ของ Véronique แล้วมีเครื่องหมายกากบาทปรากฎขึ้นแวบหนึ่ง เพื่อบอกว่าซีนนี้ไม่ได้ใช้ ใช้ไม่ได้ ควรต้องตัดออก แต่ก็แทรกใส่เข้ามา (เพื่อสื่อว่านี่เป็นสิ่งที่ภาพยนตร์ไม่ให้การสนใจ)

เหล่านี้เหมือนต้องการสื่อว่า การกระทำของ Yvonne ที่ให้ความสนใจอะไรอื่นนอกเหนือจากการเมืองเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่ได้รับการยินยอมรับ … และเป็นฉากที่ทั้งตัดสลับไปมา และบทเพลง Mao Mao เดี๋ยวดัง-เดี๋ยวเงียบ สร้างความน่ารำคาญอย่างโคตรๆ (เพื่อจะสื่อถึงการปฏิเสธสนใจสิ่งอื่นนอกจากประเด็นการเมือง)

Henri ไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคคอมมิวนิสต์สั่งแบน Johnny Guitar (1954) ของผู้กำกับ Nicholas Ray เพียงเพราะเป็นภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกา ทั้งๆเนื้อหาสาระของหนังแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการล่าแม่มด/สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วง Hollywood Blacklist (เป็นภาพยนตร์ที่ออกไปทางต่อต้าน McCarthyism)

ความคิดเห็นดังกล่าวของ Henri ล้อกับเหตุผลที่เขาถูกขับไล่ออกจากกลุ่ม Aden Arabie เพียงเพราะความครุ่นคิดแตกต่าง ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง และแผนการลอบสังหารบุคคลสำคัญ ทั้งๆต่างก็เป็น Communist ด้วยกันทั้งนั้น!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ระหว่างเดินทางเพื่อไปทำภารกิจลอบสังหาร ทั้งซีเควนซ์นี้ถ่ายทำบนขบวนรถไฟจริงๆ เป็นการโต้ถกเถียงระหว่าง Véronique กับอาจารย์สอนปรัชญา Francis Jeanson แต่คำสนทนาของเธอนั้นเป็นการกระซิบผ่านหูฟังไร้สาย พูดให้ถูกก็คือผกก. Godard โต้ถกเถียงกับอาจารย์ Jeanson ที่พยายามย้ำเตือนสติ เตือนว่าการใช้ความรุนแรง/แผนการลอบสังหารไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์อันใด

แซว: เมื่อตอนถ่ายทำฉากนี้ ผู้กำกับ Godard เชื่อว่าตนเองโต้ถกเถียงจนสามารถเอาชนะ Jeanson แต่หลายมีถัดมาค่อยตระหนักถึงความไร้เดียงสาระของตนเอง … ผมว่าผู้ชมก็น่าจะสังเกตการเอาสีข้างไถของตัวละคร พยายามชักแม่น้ำทั้งห้า เถียงคําไม่ตกฟาก (ผกก. Godard) พูดอะไรก็ไม่รู้โคตรไร้สาระ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ล้อกับตอนต้นเรื่องที่เป็นการละเล่นจับมือ ขณะนี้ Véronique กำลังเล่นละครบีบรัดคอ Guillaume พยายามดิ้นซ้ายดิ้นขวา ซึ่งแฝงนัยยะทางการเมือง(ตามภาพพื้นหลัง)ของการลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มอำนาจรัฐบาลของชนชั้นกรรมาชีพ (น่าจะเป็นภาพจากการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย) เพื่อสื่อถึงภารกิจการลอบสังหารที่กำลังจะดำเนินตามแผนการ

ขณะเดียวกันยังสามารถสื่อถึงความขัดแย้งระหว่างคู่รักหนุ่ม-สาว ราวกับเป็นจุดแตกหัก! สังเกตว่าตั้งแต่ค่ำคืนแห่งการแสร้งบอกว่าเลิกรัก พวกเขาก็แทบไม่ได้อยู่ร่วมเฟรมเดียวกันอีก แม้ตำแหน่งที่นั่งของ Véronique และ Guillaume จะยังคงเก้าอี้ตัวเดิม แต่กล้องกลับใช้การแพนนิ่งเพื่อสร้างระยะห่างความสัมพันธ์ แบ่งแยกพวกเขาออกจากกัน

Kirilov เป็นบุคคลที่เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดต่อสถานการณ์การเมือง พยายามกำหนดทิศทางกลุ่ม Aden Arabie ให้กระทำบางสิ่งอย่างเพื่อระบายความคลุ้มคลั่งทรวงใน แต่เมื่อไม่ได้รับโอกาสให้ลอบสังหารเป้าหมาย เขาเลยอาสาเขียนจดหมายลาตาย ขอเป็นผู้เสียสละแทนคนอื่นๆ และก่อนที่จะเข่นฆ่าตัวตาย ทำการละเลงทาสีรุ้งรอบอพาร์ทเม้นท์ ราวกับว่านี่เป็นสรวงสวรรค์ที่ตนเองกำลังจะดำเนินทางไปถึง เชื่อว่าจักทำให้อนาคตฝรั่งเศสเกิดการปรับเปลี่ยนแปลงสู่โลกใหม่

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าจากการ์ตูนเล่มไหน แต่วิธีนำเสนอการลอบสังหารเป้าหมายด้วยการแทรกภาพนี้ คือลักษณะของศิลปะ/วัฒนธรรม ‘Pop Art’ เน้นความง่าย รวดเร็ว เห็นแล้วเข้าใจ บังเกิดอารมณ์ร่วม ไม่ต้องมีความสลับซับซ้อน เพียงแค่รับรู้ว่า Véronique ได้ทำการเข่นฆาตกรรมเป้าหมาย … แต่ประเดี๋ยวก่อน

แม้ว่า ‘Pop Art’ จะมีความเรียบง่าย รวดเร็ว ผลิตได้จำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันมันคือความฉาบฉวย เร่งรีบร้อน ทำให้ขาดการตรวจสอบ ไตร่ตรองให้รอบคอบ ก็เหมือนการเข้าผิดห้อง ฆาตกรรมผิดตัว จนต้องมีวนกลับไปรอบสอง แถมไม่มีใครตอบได้ว่าแท้จริงแล้ว Véronique เข้าใจถูกหรือผิด? หรือรอบหลังสังหารผิดคนอีกหรือเปล่า?

การสังหารผิดคน ยังแฝงนัยยะถึงผลกระทบจากการใช้ความรุนแรง แสดงออกด้วยอารมณ์ ขาดสติหยุดยับยั้งชั่งใจ ทำให้มีผู้บริสุทธิ์ ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ถูกลูกหลงจากความเห็นแก่ตัวของกลุ่ม/บุคคล เป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ แต่ยังสร้างปัญหาให้สังคม

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

สำหรับ Guillaume หลังค่ายฤดูร้อนสิ้นสุด พบเห็นเขาชุดนโปเลียน เข้าไปป่วนโรงละครแห่งหนึ่ง ตะโกนบอก “I’m fed up with this job!” ให้ความรู้สึกเหมือนผู้กำกับ Godard แสดงความเบื่อหน่ายต่อรูปแบบวิถีทางภาพยนตร์ อิทธิพลของ Hollwood ต้องการที่จะ …

Théâtre Année Zéro แปลว่า Year Zero Theatre ฟังดูคล้ายๆภาพยนตร์ Germany, Year Zero (1948) ของผู้กำกับ Roberto Rossellini และผกก. Godard ก็เคยอ้างอิงถึงเรื่อง Made in U.S.A. (1966) เพื่อสื่อถึงความต้องการ “Set Zero” หวนกลับสู่จุดเริ่มต้น แล้วเริ่มนับหนึ่งใหม่ … ยังตึกร้างที่มีสภาพปรักหักพัก แบบเดียวกับ Germany, Year Zero (1948)

The theatrical vocation of Guillaume Meister. ประโยคเต็มๆคือ The theatrical vocation of Guillaume Meister and his years of apprenticeship and his travels on the road of a genuine socialist theater.

ณ Year Zero Theatre คือสถานที่ที่ทำให้ Guillaume พบเจอหญิงสาว(โสเภณี)ในตู้กระจกสองคน เหมือนกำลังต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง

  • ฝั่งซ้ายคือ Yvonne มีความสวยสาว รูปร่างผอมบาง พร้อมจะเปลือยกาย ยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง
    • สัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ กล้าพูด กล้าแสดงออก ซึ่งสามารถเป็นตัวแทนแนวคิดการแสดง ละครเวที ภาพยนตร์ยุคสมัยใหม่
    • ขณะเดียวกันก็สื่อถึง Yvonne แม้อุตส่าห์เข้าร่วมกลุ่ม Aden Arabie แต่ก็ไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตปรับเปลี่ยนแปลงไป สุดท้ายก็ต้องหวนกลับมาเป็นโสเภณีขายตัว เพื่อธำรงชีพรอดในกรุง Paris ยุคสมัยใหม่
  • ฝั่งขวาคือหญิงสูงวัย รูปร่างอวบอ้วน
    • ตัวแทนของคนรุ่นเก่า ไม่พร้อมเปลี่ยนแปลงอะไร หรือคือวิถีดั้งเดิมของละครเวที/ภาพยนตร์

เกร็ด: Guillaume Meister น่าจะเป็นชื่อที่อ้างอิงจาก Wilhelm Meister ปรากฎอยู่ในวรรณกรรมสองเล่มของ Johann Wolfgang von Goethe

  • Wilhelm Meisters Lehrjahre (1795-96) แปลว่า Wilhelm Meister’s Apprenticeship
  • Wilhelm Meisters Wanderjahre, oder Die Entsagenden (1821) แปลว่า Wilhelm Meister’s Journeyman Years, or the Renunciants

ซึ่งเราสามารถตีความถึงตัวละคร Guillaume โดยค่ายฤดูร้อนยังเป็นเพียงนักศึกษาฝึกงาน ‘Apprentice’ หลังจากนั้นคือการเดินทางสู่การเป็นนักแสดง Socialist Theater

แต่ในโลกความจริงของ Guillaume ช่างตรงกันข้ามกับจินตนาการเพ้อฝัน/เล่นละคอนตบตาผู้ชม เขายังต้องหาเลี้ยงชีพด้วยอาชีพขายผักผลไม้ ถูกสังคมรุมประณามเพราะทัศนคติทางการเมืองที่แตกต่าง และหลังจากสิ้นสุดค่ายฤดูร้อน คงจะเลิกรากับ Véronique แล้วหวนกลับหาแฟนสาวคนเก่า (มั้งนะ) หาได้ออกเดินทางมุ่งสู่ Socialist Theater ตามที่คาดคิดไว้

I thought I’d made a leap forward. And I realised I’d made only the first timid step of a long march.

ประโยคสุดท้ายของหนังมีความเฉียบคมคายมากๆ ล้อกับการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า Great Leap Forward (1958-62) อีกนโยบายที่ฟังดูดีของประธานเหมาเจ๋อตุง แต่ในทางปฏิบัติกลับประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ทำให้ประเทศจีนก้าวถดถอยหลังลงคลองนับทศวรรษ และก่อให้เกิดทุพภิกขภัย (famine) มีประชาชนชาวจีนอดอยากปากแห้ง เสียชีวิตเพราะโรคขาดสารอาหารไม่ต่ำกว่า 10+ ล้านคน! (เป็นทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ)

แม้ Véronique จะประสบความสำเร็จในการลอบสังหารเป้าหมาย แต่มันก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรใดๆ และเมื่อครอบครัวของเธอเดินทางกลับมายังอพาร์ทเม้นท์ ค่ายฤดูร้อน ‘summer camp’ จึงจบสิ้น และเลิกรากันจริงๆกับ Guillaume

ช็อตสุดท้ายของหนังปิดประตูสีแดงทั้งสามบาน สื่อถึงการกีดกัน ปิดกั้น

  1. ลัทธิเหมาเจ๋อตุงไม่มีหนทางเข้ามาสร้างอิทธิพลใดๆต่อชาวฝรั่งเศส
  2. ทั้งหมดนี้เพียงแค่เรื่องเพ้อฝัน ภาพยนตร์/การแสดง ไม่มีทางบังเกิดขึ้นในชีวิตจริง
  3. รวมถึงวงการภาพยนตร์ที่ไม่มีทางละทอดทิ้งอดีต “Set Zero” แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
    Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตัดต่อโดย Agnès Guillemot (1931-2005) หนึ่งในขาประจำผู้กำกับ Jean-Luc Godard ร่วมงานกันตั้งแต่ Le petit soldat (1963) แต่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายคือ A Woman Is a Woman (1961) จนถึงผลงานสิ้นสุดยุคสมัยแรก Week-end (1967)

หนังไม่ได้ดำเนินโดยใช้มุมมองตัวละครหนึ่งใด แต่นำเสนอผ่านสมาชิกกลุ่ม Aden Arabie ซึ่งจะมีสองโครงสร้างซ้อนทับกันอยู่ ระหว่างบทสัมภาษณ์ตัวละคร vs. สามการเคลื่อนไหว

  • แบ่งตามบทสัมภาษณ์ จะมีจุดสังเกตคือโดยจุดสังเกตตัวละครนั้นๆพูดคุยสบตาหน้ากล้อง (ได้ยินเสียงกระซิบกระซาบคำถามของผู้กำกับ Godard) ซึ่งมักพูดเล่าถึงตนเอง และอ้างอิงเหตุการณ์กำลังบังเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
    • Dialogue 1 Guillaume (ไม่มีข้อความขึ้นนะครับ)
      • พยายามกล่าวถึงการแสดง-ชีวิตจริง ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถแยกแยะความแตกต่าง
    • Dialogue 2 Yvonne
      • พูดเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเอง มาจากบ้านนอก ขายตัวประปราย ทำงานปัดกวาดเช็ดถู ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสักเท่าไหร่
    • Dialogue 3 Véronique
      • แสดงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจังกับลัทธิเหมา ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้บังเกิดขึ้น
    • Dialogue 4 Henri After His Exculsion
      • ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมภารกิจลอบสังหาร จากนั้นพยายามชี้ให้เห็นความเป็นไปไม่ได้ สมาชิกแต่ละคนเพ้อเจ้อไร้สาระเกินไป
    • Following Dialogue 4 Henri Excluded (จริงๆมันควรเป็น Dialogue 5 Kirilov แต่เพราะชายคนนั้นปฏิเสธที่ให้สัมภาษณ์กระมัง)
      • ยังคงเป็น Henri ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภารกิจ แต่จะพบเห็นการตัดสินใจของ Kirilov เขียนจดหมาย และกระทำอัตวินิบาต
  • แบ่งตาม Movement (หรือโครงสร้างสามองก์)
    • First Movement of the Film (ไม่มีข้อความขึ้นนะครับ)
      • คาบเรียนการเมืองของ Omar และ Guillaume
      • ในช่วงบทสัมภาษณ์ Guillaume, Yvonne และครึ่งแรกของ Véronique
    • Second Movement of the Film
      • คาบเรียนการเมืองของ Kirilov และ Henri
      • ในช่วงบทสัมภาษณ์ครั้งหลังของ Véronique
    • Third Movement of the Film
      • นำเอาบทเรียนทั้งหมดมาปรับใช้ในชีวิตจริง
      • ในช่วงบทสัมภาษณ์ของ Henri

ทั้งสองโครงสร้างที่หนังนำเสนอมา ไม่ได้มีความสมดุลกับเนื้อหาเลยสักนิด! ผมรู้สึกว่าเป็นความพยายามของผู้กำกับ Godard ที่จะทำลายรูปแบบ ขนบกฎกรอบ ไม่ต้องการให้ผู้ชมหมกมุ่นยึดติดกับอะไรพรรค์นี้ … ถึงอย่างนั้นถ้าเราช่างหัวโครงสร้างที่หนังพยายามชี้ชักนำทาง แล้วใช้สติปัญญาครุ่นคิดด้วยตัวเราเอง ก็จะพบว่ามันไม่ได้มีความสลับซับซ้อนอะไรเลยนะ!

  • บทเรียนการเมือง (ครึ่งหนึ่งของหนัง)
    • รับฟังคำบรรยายในคาบเรียนของ Omar, Guillaume, Kirilov และ Henri
  • แผนการลอบสังหาร
    • สมาชิกทั้งห้าลงมติต่อแผนการลอบสังหารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
    • Yvonne ออกเดินทางโดยสารรถไฟ ถกเถียงความเป็นได้กับอาจารย์/นักปรัชญา Francis Jeanson
    • ขณะที่ Henri ปฏิเสธเข้าร่วมใดๆจึงถูกผลักไสออกจากกลุ่ม
  • จินตนาการเพ้อฝัน vs. โลกความจริง
    • การเสียสละของ Kirilov
    • การเดินทางของ Véronique โต้ถกเถียงกับอาจารย์บนรถไฟ
    • ภารกิจลอบสังหารของ Yvonne ที่ทั้งล้มเหลวและสำเร็จลุล่วง
    • เหตุการณ์หลังจากนั้น ที่ไม่มีอะไรปรับเปลี่ยนแปลงสักสิ่งอย่าง

สำหรับลีลาการตัดต่อของหนัง จัดเต็มด้วยสไตล์ Godardian เต็มไปด้วยการแทรกภาพ Montage ปรากฎข้อความ รูปถ่าย ภาพวาด หนังสือการ์ตูน ฯลฯ อะไรก็ไม่รู้มากมายสำหรับใช้อ้างอิง เปรียบเทียบถึง โดยมักสอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นๆ เพื่อสร้างความตื่นตา รำคาญใจ ชวนให้ผู้ชมตระหนักอยู่ตลอดว่านี่คือสื่อภาพยนตร์


ด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ผู้กำกับ Godard เลยเลือกใช้บทเพลงจาก Archive/Stock Music ทั้งดนตรีคลาสสิกของคีตกวี Franz Schubert, Antonio Vivaldi, Pierre Degeyter รวมถึงหยิบยืมเพลงของ Michel Legrand และ Karlheinz Stockhausen ผู้เชี่ยวชาญด้าน Electronic Music

  • Antonio Vivaldi: Concerto for 2 Violins in A Minor, RV 523: I. Allegro molto
    • ดังขึ้นระหว่างเปลี่ยน Movement หรือนำเข้าเหตุการณ์ต่อไป ได้ยินบ่อยครั้งจนจะถือว่าเป็น Main Theme เลยก็ว่าได้!
    • งานเพลงของ Vivaldi คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Baroque ศิลปะแห่งความขัดแย้ง ด้วยลักษณะดนตรีที่จะมีอย่างน้อยสองเสียง/เครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิด บรรเลงท่วงทำนองสะท้อนกัน หรือสลับเสียง หรือย้อนแก่นสาร (Reversing) ให้ความรู้สึกโอ่โถง หรูหรา จนมีลักษณะเหมือนนามธรรม
  • Franz Schubert: Piano Sonata in A major D. 664: I. Allegro moderato
    • ดังจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง หลังจาก Véronique แสร้งว่าเลิกรัก Guillaume
  • Pierre Degeyter: The Internationale (1888)
    • ดังขึ้นระหว่างที่ทุกคนกำลังนอนหลับอยู่ แต่แล้ว Kirilov กลับเดินข้ามหัว ย่ำเหยียบบนเตียง ปลุกตื่นทุกคนขึ้นจากความฝัน
    • นี่คือเพลงชาติของของกลุ่มเคลื่อนไหว Socialist (Left-Wing Anthem) ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19th ต้นฉบับจริงๆมีแค่เนื้อคำร้องแต่งโดย Eugène Pottier เมื่อปี 1871 ก่อนที่ Pierre Degeyter จะมาเรียบเรียงเป็นบทเพลงคลาสสิกปี 1888
    • This is the final struggle Let us gather together, and tomorrow The Internationale Will be the human race
  • บทเพลงของ Karlheinz Stockhausen ส่วนใหญ่เป็นเสียงกลอง และเครื่องกระทบ (percussion) เต็มไปด้วยท่วงทำนองแปลกๆ แนวทดลอง หรือคือ Avant-Garde Music เพื่อสร้างความรู้สึกแปลกแยก ไม่เข้าพวก (หรือก็คือกลุ่มสมาชิก Aden Arabie)
  • ส่วนของ Michel Legrand เห็นเจอว่าคือบทเพลงผิวปากของ Jean-Pierre Léaud แต่ผมฟังไม่ออกว่าจากภาพยนตร์เรื่องอะไร?

บทเพลงที่ได้ยินมักมีลักษณะเดี๋ยวดัง-เดี๋ยวหยุด เพียงท่อนสั้นๆไม่กี่เสี้ยววินาที ระหว่างกำลังพูดสัมภาษณ์ ประกอบรูปภาพ หรือข้อความปรากฎขึ้น (โดยเฉพาะช่วงระหว่างเปลี่ยน Movement) เหมือนจะตามอารมณ์ผู้กำกับ Godard แต่มีลักษณะเหมือนสร้อยของบทกวี แต่ก็มีนัยยะสำหรับกระตุ้นความสนใจ (เพราะดังๆหยุดๆ มันจึงสร้างความหงุดหงิด ฉงนสงสัย) ถือเป็นลวดลีลาสำคัญตามสไตล์ Godardian

ไฮไลท์ของเพลงประกอบต้องยกให้ Mao Mao แต่งโดย Claude Channes, Gérard Guégan, Gérard Hugé ขับร้องโดย Claude Channes ร่วมกับ Gérard Hugé Et Son Orchestre,

แรกเริ่มผู้กำกับ Godard ต้องการบทเพลงร็อค แต่พอไปพูดคุยกับนักเขียน Gérard Guégan ให้คำแนะนำแนวเพลง French Pop สร้างท่วงทำนองง่ายๆ ฟังแล้วติดหู สามารถร้องตามได้โดยทัน กลายมาเป็น Mao Mao ที่ฟังแล้วรู้สึกเหมือนล้อเลียน ประชดประชัน แต่มีเนื้อหาชวนเชื่อเข้าลัทธิเหมาอย่างเอาจริงจัง … ไม่รู้เหมือนกันว่าท่านประธานเหมาได้ยินแล้วจะรู้สึกยังไง?

ต้นฉบับฝรั่งเศสคำแปลอังกฤษLe Vietnam brûle et moi je hurle Mao Mao Johnson rigole et moi je vole Mao Mao le napalm coule et moi je roule Mao Mao les villes crèvent et moi je rêve Mao Mao les putains crient et moi je ris Mao Mao le ris est fou et moi je joue Mao Mao

C’est le petit livre rouge qui fait que tout enfin bouge.

L’impérialisme dicte partout sa loi, la révolution n’est pas un dîner, la bombe A est un tigre en papier, les masses sont les véritables héros.

Les ricains tuent et moi je mue Mao Mao les fous sont rois et moi je bois Mao Mao les bombes tonnent et moi je sonne Mao Mao les bébés fuient et moi je fuis Mao Mao les russes mangent et moi je danse Mao Mao Giáp dénonce, je renonce Mao Mao

C’est le petit livre rouge qui fait que tout enfin bouge.

La base de l’armée, c’est le soldat, le vrai pouvoir est au bout du fusil, les monstres seront tous anéantis, l’ennemi ne périt pas de lui-même.

Mao Mao Mao Mao Mao Mao Mao Mao

Vietnam is burning, and me I shout Mao Mao Johnson is laughing, and me I fly Mao Mao Napalm leaks down and me I spin Mao Mao Cities are dying and me I dream Mao Mao Whores are crying and me I laugh Mao Mao The laughter is crazy and me I play Mao Mao

It’s the little red book That causes everything to finally move

Imperialism dictates its law everywhere, Revolution is not a dinner party, The A-Bomb is a paper tiger, The masses are the true heroes.

The yankies kill and me, I grow Mao Mao The fools are kings and me I drink Mao Mao The bombs make noises and I ring Mao Mao Babes are fleeing and me I’m fleeing Mao Mao Russians are eating and me I dance Mao Mao Giáp calls out, I give up Mao Mao

It’s the little red book That causes everything to finally move

The basis of the army is the soldier, True power grows out of the barrel of a gun The beasts will all be annihilated The enemy doesn’t perish by itself.

Mao Mao Mao Mao Mao Mao Mao Mao

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้กำกับ Godard มีความสนใจในลัทธิเหมาเจ๋อตุง?

It wouldn’t be bad to ban the American cinema for a while. Three-quarters of the planet considers

cinema from the angle and according to the criteria of the American cinema … People must become aware that there are other ways to make films than the American way. Moreover this would force filmmakers of the United States to revise their conceptions. It would be a good thing.

Jean-Luc Godard

บทสัมภาษณ์นี้ของผู้กำกับ Godard แสดงให้เห็นถึงความเอือมละอาต่ออิทธิพลสหรัฐอเมริกา “Americanization” เข้ามามีอิทธิพลอย่างเอ่อล้นต่อชาวฝรั่งเศส รวมถึงตัวเขาเองต่อการสรรค์สร้างภาพยนตร์ เลยครุ่นคิดอยากที่จะ “Set Zero” ลบล้างทุกสิ่งอย่าง แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

I am distancing myself from the entire cinema that formed me, I am distancing myself from thirty years of talking pictures.

แนวคิดดังกล่าวบังเอิ้ญสอดคล้องกับประธานเหมาเจ๋อตุง ประกาศนโยบายปฏิวัติทางวัฒนธรรม Cultural Revolution (1966-76) ต้องการ “ทำลายโลกเก่า สร้างโลกใหม่” ลบล้างประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งอย่างจากอดีต แล้วให้ความสำคัญกับวัยรุ่นหนุ่มสาว/ยุวชนแดง มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ!

แม้ยุคสมัยนั้นยังไม่มีใครสามารถจินตนาการผลกระทบติดตามมาของ Cultural Revolution (1966-76) แต่ผู้กำกับ Godard ก็ตระหนักถึงความเป็นไปไม่ได้ต่อทั้งตนเองและการเมืองประเทศฝรั่งเศส แนวคิดของลัทธิเหมาเจ๋อตุงแม้ฟังดูดี แต่คืออุดมคติที่ไม่สามารถนำมาปรับใช้จริงในทางปฏิบัติ ด้วยบริบททางสังคมแตกต่างจากประเทศจีน (ฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งเสรีภาพ ไม่มีใครจะยินยอมศิโรราบต่อแนวคิดเผด็จการ) และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาได้ฝังรากลึก ใช้ความสะดวกสบายสร้างนิสัยขี้เกียจคร้าน ทำไมฉันต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้เลวร้ายลง

“เสรีภาพมาพร้อมกับความรุนแรง” นั่นคืออีกโลกทัศน์ของผู้กำกับ Godard สังเกตมาตั้งแต่สงครามอัลจีเรีย ตามด้วยสงครามเวียดนาม ฯลฯ ไม่ว่าแห่งหนไหนที่ต้องการอิสรภาพ ปลดแอกจากสถานะอาณานิคม ล้วนต้องผ่านการต่อสู้ เข่นฆ่า ความตาย ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงการเมืองฝรั่งเศส จึงมีเพียงหนทางเดียวเท่านั้นคือใครสักคนต้องตกตาย!

โดยไม่รู้ตัวแนวความคิดดังกล่าว ราวกับเป็น(หนึ่งใน)ชนวนก่อให้เกิดเหตุการณ์ Mai ’68 นั่นถือเป็น Cultural Revolution ของฝรั่งเศส กลุ่มนักศึกษาออกมาชุมนุมประท้วง นัดหยุดงาน เรียกร้องขับไล่ปธน. Charles de Gaulle แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ (เพราะ de Gaulle ก็ยังหวนกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี) แต่ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคม และศีลธรรม ครั้งสำคัญที่สุดของประเทศ (และยุโรปด้วยนะ)

สำหรับวงการภาพยนตร์ แม้ว่าผู้กำกับ Godard พยายามต่อต้านขัดขืนสักเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นอิทธิพลอะไรใดๆ เพราะการครุ่นคิดสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ ล้วนต้องมีพื้นฐานจากอดีต เคยปรากฎพบเห็นมาก่อนทั้งนั้น “ถ้าไม่มีอดีต ย่อมไร้ซึ่งปัจจุบันและอนาคต”

เช่นกันกับ La Chinoise (1967) ต่อให้พยายามลบล้างอดีตสักเพียงไหน สุดท้ายก็หนีไม่พ้นกรอบความครุ่นคิดของตนเอง เต็มไปด้วยลายเซ็นต์สไตล์ Godardian ตามรูปแบบวิถีที่เคยสรรค์สร้างภาพยนตร์ ซึ่งก็สะท้อนเข้ากับตอนจบ ไม่มีทางที่เขาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรใดๆ แค่เพียงจินตนาการเพ้อฝัน ถูกปลุกตื่นขึ้นมา และหวนกลับหาโลกความจริง

เกร็ด: ชื่อเต็มๆของหนังคือ La Chinoise, ou plutôt à la Chinoise: un film en train de se faire แปลว่า The Chinese, or, rather, in the Chinese manner: a film in the making ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องตั้งชื่อให้มันเยิ่นยาว คาดว่าคงคล้ายๆ Made in U.S.A. (1966) ที่ไม่ได้สร้างที่สหรัฐอเมริกา แต่คือการได้รับอิทธิพล “Americanization” สำหรับ La Chinoise ก็คือภาพยนตร์ได้รับแนวคิดจากลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoism)


เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับค่อนข้างดี สามารถคว้ารางวัล Grand Jury Prize (ที่สอง) เคียงข้าง China Is Near (1967) ต่างเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับประเทศจีนทั้งคู่เลยนะ! … ส่วนรางวัล Golden Lion ตกเป็นของ Belle de jour (1967)

หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง สามารถทำยอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศส 337,073 ใบ เป็นตัวเลขที่ดูธรรมดาๆ แต่ค่อนข้างสูงในบรรดาผลงานยุคกลางๆของผู้กำกับ Godard (สูงสุดในบรรดา 3 ผลงานที่ออกฉายปี ค.ศ. 1967)

La Chinoise (1967) และ Le Gai Savoir (1969) ได้รับการบูรณะพร้อมกัน ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2017 จัดจำหน่าย Blu-Ray โดย Kino Lorber และ Arrow Academy (แม้ว่า Criterion ไม่ได้รับสิทธิ์จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray แต่สามารถหารับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel)

รับชมหนังการเมืองของผู้กำกับ Godard สร้างความรำคาญให้ผมโคตรๆ ลักษณะไม่ต่างจากพวกหนังชวนเชื่อ ‘propaganda’ พยายามเสี้ยมสอน ควบคุมครอบงำ ทำให้ผู้ชมครุ่นคิดเห็นคล้อยตามอย่างตนเอง เหมาดีอย่างโน้น เหมาดีอย่างนี้ เสร็จแล้วกลับตบหัวลูบหลัง บอกว่าทั้งหมดก็แค่อุดมคติเพ้อฝัน ไม่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริง … แล้วมรึงจะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้หำห่าไรว่ะ!

การหันหน้าเข้าหาการเมืองของผู้กำกับ Godard ทำให้ผู้ชมตระหนักถึงความดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ‘eccentric’ ทำไมฉันต้องมาอดรนทนรับชมภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความคิดบิดๆเบี้ยวๆ จริงบ้างเท็จบ้าง ไร้สาระเป็นส่วนใหญ่ แถมด้วยลีลาการนำเสนอโคตรน่ารำคาญ ด้วยเหตุนี้นอกจากไม่ได้รับความนิยมจากผู้ชม นักวิจารณ์ก็เริ่มตีตนออกห่าง หลงเหลือเพียงอัครสาวกเดนตาย Godardian ยังคงสรรเสริญเยินยอปอปั้น Elite เท่านั้นถึงสามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน

แนะนำคอหนังการเมือง (Political) ประวัติศาสตร์ (Historical) นักเรียนรัฐศาสตร์ (Political Science) สนใจลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoism) ชื่นชอบการขบครุ่นคิด เต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์, ช่างภาพ ตากล้อง มุมมองของ Raoul Coutard น่าสนใจกว่าผู้กำกับ Jean-Luc Godard เสียอีก!

จัดเรต 15+ กับอุดมคติทางการเมือง ชี้นำความรุนแรงในการแก้ปัญหา

คำโปรย | มันเป็นไปไม่ได้ที่แนวคิดการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง จะสามารถปรับใช้ในการเมืองฝรั่งเศส La Chinoise ก็เฉกเช่นเดียวกัน

คุณภาพ | บิดๆเบี้ยวๆ ส่วนตัว | เหมา เหมา

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

The Red and the White (1967) : Miklós Jancsó ♥♥♥♥♡

ไม่ว่าคอมมิวนิสต์/กองทัพแดง (Red Army) หรือผู้นิยมพระเจ้าซาร์/การ์ดขาว (White Guard) สงความคือความเหี้ยมโหดร้าย มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด! ถ้าปีนั้นไม่เกิดเหตุการณ์ Mai ’68 ที่เทศกาลหนังเมือง Cannes จักคือหนึ่งในตัวเต็งคว้ารางวัล Palme d’Or

เท่าที่ผมลองสังเกตภาพยนตร์ที่อยู่ในสายการประกวด (In Competition) เทศกาลหนังเมือง Cannes ปี 1968 มีภาพยนตร์อยู่ 3 เรื่องที่คุณภาพอยู่เหนือกาลเวลาในปัจจุบัน The Red and the White (1967), The Firemen’s Ball (1967) และ Kuroneko (1968)

  • หลายคนอาจมองว่า The Firemen’s Ball (1967) ของ Miloš Forman โดดเด่นสุดเพราะได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film
  • แต่คะแนน IMDB สูงสุดคือ Kuroneko (1968) ของ Kaneto Shindô ที่ 7.7
  • และผลโหวตจากนักวิจารณ์ฝรั่งเศส French Syndicate of Cinema Critics เลือกให้ The Red and the White (1967) คว้ารางวัล Best Foreign Film of 1969 … ถ้าไม่ได้ Palme d’Or อย่างน้อยน่าจะการันตีรางวัล FIPRESCI Prize

The Red and the White (1967) เป็นภาพยนตร์ที่ผมรู้สึกว่ามีความบ้าระห่ำ คลุ้มบ้าคลั่ง แดงเดือด! นั่นเพราะผู้กำกับ Miklós Jancsó ได้รับมอบหมายให้สรรค์สร้างภาพยนตร์เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) กลับทำหนังออกมาในลักษณะสองแง่สองง่าม มองมุมหนึ่งคือใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) กรูไม่เอาสหภาพโซเวียต! ขณะเดียวกันช่วงท้ายของหนัง การก้าวสู่สนามรบทั้งรู้ว่าอาจต้องเผชิญหน้าความตาย นั่นถือเป็นทหารในอุดมคติ ให้กำเนิดวีรบุรุษสงคราม (Heroic-War) ก็ได้เช่นเดียวกัน

ใครที่สามารถครุ่นคิดทำความเข้าใจวิธีการนำเสนอของ The Red and the White (1967) จะตระหนักเลยว่านี่คือโคตรผลงาน Masterpiece โดยส่วนตัวหลงใหลคลั่งไคล้มากยิ่งกว่า The Round-Up (1966) และด้วยความสองแง่สองง่ามของการนำเสนอ มีเพียงกาลเวลาเท่านั้นถึงพิสูจน์ความตั้งใจแท้จริงของผู้กำกับ Jancsó นั่นทำให้กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุด … ที่ไม่ค่อยมีใครรับรู้จัก!


Miklós Jancsó (1921-2014) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Hungarian เกิดที่ Vác, Kingdom of Hungary ตั้งแต่เด็กครุ่นคิดอยากเป็นกำกับละครเวที แต่สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายจาก University of Cluj-Napoca แล้วช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถูกเกณฑ์เป็นทหาร เคยโดนควบคุมตัวอาศัยอยู่ค่ายกักกันสงคราม (Prisoner of War) หลังเอาตัวรอดมาได้สมัครเข้าเรียนสาขาผู้กำกับ Színház- és Filmművészeti Egyetem (SZFE) จบออกมาเริ่มจากกำกับสารคดีข่าว (Newsreel) สะสมประสบการณ์จนมีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก The Bells Have Gone to Rome (1958), เริ่มมีชื่อเสียงจาก My Way Home (1964), โด่งดังระดับนานาชาติกับ The Round-Up (1966), The Red and the White (1968), พัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์เรียกว่า ‘political musical’ ตั้งแต่ Winter Wind (1969), Electra, My Love (1974), Red Psalm (1972) ** คว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes

ความสนใจในช่วงแรกๆของ Jancsó มักเกี่ยวข้องประเด็นการเมือง การใช้อำนาจในทางมิชอบ (abuse of power) โดยอ้างอิงเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ สะท้อนเหตุการณ์บังเกิดขึ้นในปัจจุบัน(นั้น) เพื่อกล่าวถึงความคอรัปชั่นของฮังการีช่วงการปกครองพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การหนุนหลังสหภาพโซเวียต

สไตล์ของ Jancsó มักถ่ายทำยังพื้นที่ราบ/ชุมชนบทห่างไกล เพียงนำเสนอเหตุการณ์ ไม่ใคร่สนใจจิตวิเคราะห์ตัวละคร นักแสดงต้องซักซ้อมท่วงท่าขยับเคลื่อนไหว ตำแหน่งก้าวเดินไป ให้สอดคล้องการถ่ายทำแบบ Long Take กล้องเคลื่อนเลื่อน หมุนเวียนวน ซึ่งจะมีความยาว Average Shot Length เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Winter Wind (1969) มีเพียง 12 ช็อตใน 80 นาที) ก่อนพัฒนามาเป็นลักษณะที่เจ้าตัวเรียกกว่า ‘political musical’

I used long takes because I wanted films without cuts. I’m simply inept at cutting. I always hated flashbacks, empty passages and cuts. Each shot took as long as there was material in the camera—ten minutes. All my films were made up of eight, ten, maximum sixteen shots. Miklós Jancsó

ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) เปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิรัสเซีย (Russian Empire) สู่สหภาพโซเวียต (Soviet Union) สตูดิโอ Mosfilm ได้รับมอบหมายให้สรรค์สร้างภาพยนตร์เพื่อเฉลิมฉลองเหตุการณ์ดังกล่าว และด้วยความสนใจในตัวผู้กำกับ Miklós Jancsó ที่เพิ่งแจ้งเกิดระดับนานาชาติจากผลงาน The Round-Up (1966) เลยติดต่อขอร่วมทุนสตูดิโอ Mafilm ของประเทศฮังการี

แซว: ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง วงการภาพยนตร์ของสหภาพโซเวียตได้บังเกิดสูญญากาศครั้งใหญ่ เพราะบรรดาผู้กำกับระดับปรมาจารย์ Sergei Eisenstein, Vsevolod Pudovkin, Dziga Vertov, Alexander Dovzhenko ฯลฯ ต่างก็โรยรากันไป ยังไม่มีใครสามารถก้าวขึ้นมาแทนที่ Miklós Jancsó ถือเป็นหนึ่งในความหวังใหม่เลยก็ว่าได้! (เพราะฮังการีถือเป็นพันธมิตรสำคัญของสหภาพโซเวียต)

ผู้กำกับ Jancsó ร่วมงานนักเขียนบทขาประจำ Gyula Hernádi (1926-2005) แต่แทนที่พวกเขาจะพัฒนาบทภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ (Historical) หรือนำเสนอเหตุการณ์คาบเกี่ยวการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) กลับเลือกช่วงเวลาสองปีให้หลัง ค.ศ. 1919 ที่ราชอาณาจักรฮังการี (หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพิ่งแยกตัวจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี) แสดงเจตจำนงค์ในการสนับสนุนกองทัพแดง (Red Army) สู้รบต่อกรกับการ์ดขาว (White Guard)

เมื่อพัฒนาบทภาพยนตร์เสร็จสิ้น แน่นอนว่า Mosfilm ย่อมแสดงความไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่ แต่หัวหน้าสตูดิโอ Mafilm ขณะนั้น István Nemeskürty ให้การสนับสนุนวิสัยทัศน์ผู้กำกับ Jancsó อย่างเต็มที่! (น่าจะเพราะการมีส่วนร่วมของฮังการีในเรื่องราวของหนัง) แถมยังต่อรองขอใช้ทีมงานชาวฮังกาเรียนทั้งหมด ยกเว้นการถ่ายทำยังเมือง Kostroma ที่อยู่ติดกับแม่น้ำ Volga … ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม Mosfilm ถึงยินยอมความขนาดนี้?


สงครามกลางเมืองรัสเซีย ค.ศ. 1919 (Russian Civil War) เริ่มต้นที่แม่น้ำสายหนึ่ง ทหารแดงกำลังหลบหนีการ์ดขาว แต่เมื่อโดนล้อมจับกุมมักถูกสั่งให้ถอดเสื้อผ้า ปล่อยให้วิ่งหลบหนีแล้วออกไล่ล่า จากนั้นค่อยเข่นฆ่าอีกฝั่งฝ่าย … ทำราวกับเกมการละเล่น แมวไล่จับหนู

หลังจาก László (รับบทโดย András Kozák) นายทหารชาวฮังกาเรียน สามารถหลบหนีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อมาถึงเมืองแห่งหนึ่งซึ่งทหารแดงครอบครองอยู่ ถูกผู้บัญชาการ (รับบทโดย József Madaras) แสดงความไม่พึงพอใจทหารหลบหนี จึงสั่งให้ปลดอาวุธ ถอดเสื้อผ้า แล้วขับไล่ออกจากกองทัพ แต่ไม่ทันไรหลังจากนั้นการ์ดขาวก็เข้ายึดครองเมืองดังกล่าว ผู้บัญชาการคนนั้นเลยตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย ดีกว่ากลายเป็นเชลยสงคราม

หลังจากกวาดต้อนทหารแดงที่อยู่ในเมืองแห่งนี้ ผู้บัญชาการการ์ดแดงประกาศว่าใครไม่ใช่ชาวรัสเซียจะได้รับอนุญาตปล่อยตัว ส่วนบุคคลที่เหลือจะต้องถอดเสื้อผ้า และมีเวลา 15 นาทีในการหลบหนี แต่ด้วยความเข้าใจผิดของทหารฮังกาเรียนคนหนึ่ง เลยถูกไล่ล่าโดยการ์ดขาว สามารถเอาตัวรอดออกจากเมืองแห่งนี้ได้อย่างหวุดหวิด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังติดตามมาจนถึงโรงพยาบาลทหารแห่งหนึ่ง … László ก็มาหลบลี้ภัยอยู่สถานที่แห่งนี้ แล้วได้รับมอบหมายให้ไปขอกำลังเสริมมาสู้รบการ์ดขาว

แม้โรงพยาบาลจะคือสถานที่เป็นกลาง ไม่มีแดง-ไม่มีขาว แต่ผู้บัญชาการการ์ดขาวกลับบีบบังคับให้นางพยาบาลสาว เล่น-เต้น เริงระบำ พยายามเกี้ยวพาราสี กระทำสิ่งตอบสนองตัณหาของตนเอง หลังจากนั้นสั่งให้แยกผู้ป่วยแดง-ขาวออกจากกัน ระหว่างกำลังเริ่มต้นสังหารศัตรู ทหารแดงหน่วยใหม่ก็เข้ามาช่วยเหลือไว้ได้ทัน ถึงอย่างนั้นผู้บัญชาการทหารแดงกลับสั่งประหารชีวิต Sister Olga (รับบทโดย Krystyna Mikołajewska) ข้อหาทรยศขายชาติ เพราะคือบุคคลแบ่งแยกทหารแดง-ขาวออกจากกัน แล้วก็สั่งฆ่าผู้ป่วยการ์ดขาวที่ไม่ยินยอมจำนน ซะงั้น!

พอทหารแดงรวมกลุ่มกันได้อีกครั้ง สามารถยึดครองบ้านบนเนินเขาหลังหนึ่ง แต่กลับพบว่านั่นคือกัปดักของการ์ดขาว ตั้งแถวห้อมล้อมอยู่ริมแม่น้ำ Volga นั่นทำให้ทำให้ผู้บัญชาการทหารแดงสั่งให้ทุกคนตั้งแถวพร้อมเผชิญหน้า ก้าวเดินออกไปทั้งๆรับรู้ว่าต้องพบเจอกับความตาย … ท้ายสุดเมื่อ László นำกำลังเสริมมาถึง กลับไม่มีใครหลงเหลือรอดชีวิต


ในส่วนของนักแสดงนั้นมีอยู่สามคนที่ค่อนข้างโดดเด่น แต่ผมจะขอกล่าวถึงแค่เพียงคร่าวๆ นั่นเพราะ ‘สไตล์ Jancsó’ มองพวกเขาเหล่านี้เพียงกลไกดำเนินไปของเรื่องราว ไม่ได้ทำให้จับต้องได้ มีตัวตน ราวกับหุ่นยนต์ อุปกรณ์ประกอบฉาก (prop) … ให้ความรู้สึกคล้ายๆนักแสดงในผลงานผู้กำกับ Robert Bresson ที่ขยับเคลื่อนไหวอย่างไร้จิตวิญญาณ ส่วน ‘สไตล์ Jancsó’ ใช้การเคลื่อนเลื่อนกล้องจนมองไม่ทันเห็นจิตวิญญาณนักแสดง

András Kozák (1943-2005) รับบท László นายทหารหนุ่มชาวฮังกาเรียน กำลังถอยร่นจากแนวหน้าเพราะถูกไล่ล่าจากการ์ดขาว มีสีหน้าขลาดหวาดกลัวตัวสั่น อยากที่จะเอาตัวรอดจากสงคราม แต่พอมาถึงเมืองแห่งหนึ่งกลับถูกผู้บัญชาการทหารแดงสั่งปลดอาวุธ ถอดเสื้อผ้า ทำให้อับอายขายขี้หน้า และเมื่อมาถึงโรงพยาบาลแห่งหนึ่งแสร้งว่าได้รับบาดเจ็บ แล้วมีกัปตันมอบหมายภารกิจขอกำลังเสริม ทำให้เขามีข้ออ้างถอยร่นในที่สุด!

Krystyna Mikołajewska (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติ Polish โด่งดังจากผลงาน Pharaoh (1966), รับบทนางพยาบาลสาว Sister Olga ด้วยสัตย์สาบาน Hippocratic Oath เธอจึงไม่เลือกปฏิบัติทั้งทหารแดงและการ์ดขาว แต่เมื่อถูกผู้บัญชาการทหารการ์ดขาวบีบบังคับให้แบ่งแยกผู้ป่วยแดง-ขวา ด้วยความหวาดกลัวจึงจำต้องยินยอมทำตามคำสั่ง ผลลัพท์เมื่อผู้บัญชาการทหารแดงรับรู้เข้า ตีตราว่าเธอคือคนทรยศขายชาติ เลยโดนตัดสินโทษประหารชีวิต … นี่ฉันทำผิดอะไร?

Mikhail Kozakov (1934-2011) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย, รับบทผู้บัญชาการทหารแดง ผู้มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ยินยอมเสียสละชีพเพื่อชาติ รังเกียจคนทรยศหักหลัง (สั่งประหารชีวิต Sister Olga) รวมถึงประณามพวกล่าถอยหนี ซึ่งตัวเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อต้องเผชิญหน้าการ์ดแดง ทั้งรู้ว่าต้องพ่ายแพ้ กลับยังคงก้าวเดินไปข้างหน้า ไม่ยินยอมเสียศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย สมควรค่าแก่คำเรียกวีรบุรุษ … หรือคนบ้าดีนะ?


ถ่ายภาพโดย Tamás Somló (1929-93) สัญชาติ Hungarian สำเร็จการศึกษาจาก Színház- és Filmművészeti Egyetem (SZFE) น่าจะรุ่นเดียวกับผู้กำกับ Miklós Jancsó ร่วมงานกันตั้งแต่ถ่ายทำสารคดีข่าว ภาพยนตร์เรื่องแรก The Bells Have Gone to Rome (1959) และกลายเป็นขาประจำจนถึง The Confrontation (1969)

แม้ว่า ‘สไตล์ Jancsó’ กำลังอยู่ในขั้นเพาะบ่ม ทดลองผิดลองถูก แต่เราสามารถพบเห็นพัฒนาการ แนวคิด โดยเฉพาะการถ่ายทำ Long-Take แล้วเคลื่อนเลื่อนกล้องที่มักหมุนเวียนวนไปวนมา บางครั้งก็วงกลม 360 องศา ขณะที่นักแสดงถ้าไม่ยืนเข้าแถวก็ต้องขยับเคลื่อนไหว ก้าวเดินวนเวียนวนไป เดี๋ยวซ้าย-เดี๋ยวขวา เดี๋ยววกกลับมาที่เก่า เฉกเช่นเดียวกัน! ซึ่งนั่นแสดงถึงการซักซ้อมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แลดูมีลักษณะละม้ายคล้ายการเริงระบำ เลยได้รับการตั้งชื่อเรียก ‘political musical’

วิธีการของผู้กำกับ Jancsó ถือว่าเหมาะสมเข้ากันอย่างดี The Red and the White (1967) เพราะทำเกิดความสับสนวุ่นวาย สะท้อนความอลม่านในการสงคราม ไม่ว่าแดงหรือขาว ไม่จำเป็นต้องแยกฝั่งฝ่าย หรือเครื่องแบบทหารออกจากกัน เพราะสิ่งบังเกิดขึ้นคือความเหี้ยมโหดร้าย ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด เข่นฆ่ากันได้แม้แต่พวกพ้องร่วมชาติเดียวกัน

สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจมากๆก็คือ การใช้ Long-Take เวียนวนไปวนมาโดยรอบสถานที่/ตัวละคร จับจ้องเหตุการณ์บังเกิดขึ้นตรงข้างหน้า นั่นทำให้ผู้ชมไม่มีทางรับรู้สิ่งอื่นๆรอบข้าง นอกจากปฏิกิริยาแสดงออกของตัวละคร จู่ๆยืนหยุดนิ่ง สีหน้าตกตะลึง นั่นแปลว่าศัตรูปรากฎตัวขึ้นแบบคาดไม่ถึง!


ภาพแรกของหนัง นำเสนอภาพสโลโมชั่นพร้อมเสียงเป่าแตรทหาร (สัญลักษณ์ของการประจัญบาน) การมาถึงของทหารม้าการ์ดขาวแบบไม่ทันตั้งตัว แล้วจู่ๆก็ได้ยินเสียงปืน พร้อมใครบางคนตกหล่นลงจากหลังม้า เหมือนเพื่อจะสื่อว่าวีรบุรุษไม่มีอยู่จริงในสนามรบ (Anti-Heroic) ทุกคนมีโอกาสตกตายอย่างเท่าเทียมกัน

แซว: ไม่รู้ทำไมผมเห็นมุมกล้องช็อตนี้แล้วระลึกถึง Sátántangó (1994) ของผู้กำกับ Béla Tarr ขึ้นมาโดยทันที

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังขับไล่/ประจานกลุ่มคนหนีทหาร ผู้บัญชาการทหารแดงคนนี้ก็หวนกลับเข้ามาในเมือง มุมกล้องช็อตนี้ตั้งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว เปิดเผยรายละเอียดอะไร แต่จู่ๆเขากลับยกมือขึ้น ทิ้งปืน ถอดเสื้อผ้า แล้วพอสบโอกาสก็กระโดดตึกฆ่าตัวตาย

นี่เป็นช็อตนำเสนอการมาถึงของการ์ดขาว แทรกซึมเข้ามายึดครองเมืองแห่งนี้ได้อย่างน่าประทับใจ สร้างความฉงนสงสัยชั่วครู่ให้ผู้ชม ก่อนเฉลยคำตอบหลังจากแสดงความหาญกล้าดั่งวีรบุรุษ/ไม่ต่างจากคนบ้าของผู้บัญชาการคนนี้ (ยินยอมฆ่าตัวตาย ดีกว่าตกเป็นเชลยศัตรู!)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

พวกการ์ดขาวทำราวกับว่าสงครามคือเกมการละเล่น สำหรับเข่นฆ่าศัตรู/ทหารแดง อารัมบทโดยนายพลคนนี้ ปล่อยให้นักโทษออกวิ่ง แล้วทำราวกับกำลังยิงนกตกไม้ เห็นชีวิตมนุษย์ราวกับผักปลา ไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไร เช่นนั้นแล้วบุคคลระดับต่ำกว่า ผู้บัญชาการ นายทหาร ก็จำต้องเลียนแบบกระทำตาม นำสู่ฉากปล่อยเชลยนักโทษสงคราม ให้เวลาสิบห้านาทีก่อนออกไล่ล่า เข่นฆ่า ไม่ต่างจากแมวจับหนู

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

เมื่อตอนต้นเรื่องกัปตันการ์ดขาวคนนี้ (รับบทโดย János Görbe ใครเคยรับชม The Round-Up (1966) น่าจะจดจำได้กระมัง) เข่นฆ่านายทหารแดงยังแม่น้ำสายหนึ่ง ช่วงกลางๆเรื่องระหว่างเตรียมกำลังจะข่มขืนหญิงสาวชาวบ้าน พบเห็นโดยผู้บัญชาการที่มียศสูงกว่า เลยถูกสั่งปลดจากตำแหน่งและตัดสินโทษประหารชีวิต ถูกยิงตายตรงบริเวณข้างๆแม่น้ำ น่าจะสายเดียวกันกระมัง … ภาษาทางการของการนำเสนอลักษณะนี้เรียกว่า formalism แต่ผมชอบเรียกว่า ‘กรรมสนองกรรม’

จากบรรยากาศตึงเครียด เป็นๆตายๆ มาผ่อนคลายสักนิดกับการเล่น-เต้น เริงระบำ รับฟังบทเพลงจากวงดุริยางค์ แต่ให้ตายเถอะใครจะไปผ่อนคลายได้ลง เพราะผู้บัญชาการการ์ดขาวบีบบังคับให้นางพยาบาลขึ้นรถเดินทางมายังป่าเบิร์ช สถานที่ลับหูลับตา แถมยังต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดเดรสอีกต่างหาก! ถึงหนังไม่นำเสนอว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเธอหลังจากนี้ แต่ผมว่าผู้ชมคงคาดเดาไม่ยากสักเท่าไหร่

เกร็ด: เบิร์ช (Birch Tree) หนึ่งในต้นไม้ประจำชาติ จิตวิญญาณของชาวรัสเซีย แม้ภายนอกดูบอบบางแต่ก็มีความแข็งแกร่งภายใน ชื่นชอบอากาศหนาวจึงเติบโตแถบอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น จีน และหลายๆประเทศที่มีหิมะตก, ชาว Celts/Celtic เชื่อว่าคือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของการถือกำเนิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ เรียกว่าวัฎจักรชีวิตก็ได้เช่นกัน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ใครเคยรับชม The Round-Up (1966) น่าจะมักคุ้นกับสิ่งบังเกิดขึ้นกับ Sister Olga ถูกบีบบังคับให้พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ (János Gajdar ถูกขังอยู่ในห้องที่มีศพผู้เสียชีวิต) เลยเกิดอาการหวาดหวั่นสั่นสะพรึงกลัวตาย จึงยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บัญชาการการ์ดขาว (ทรยศหักหลังพรรคพวกพ้อง) แบ่งแยกผู้ได้รับบาดเจ็บแดง-ขาว ออกจากกัน!

ผมว่าใครต่อใครน่าจะบอกได้ว่าการกระทำของ Sister Olga เป็นการถูกบีบบังคับให้ต้องยอมจำนน หาใช่พฤติกรรมของคนทรยศหักหลังพวกพ้อง แต่นั่นไม่ใช่ในมุมมองของผู้บัญชาการทหารแดงที่สนเพียงเกียรติ ศักดิ์ศรี รักชาติยิ่งชีพ มองที่ผลของการกระทำ ไม่รับฟังความตั้งใจ-ไม่ตั้งใจ ใครหักหลังพวกเราล้วนคือศัตรูต้องเข่นฆ่า บ้าเลือด สูญเสียสติแตก!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ระหว่างที่ผู้บัญชาการการ์ดขาวกำลังสั่งประหารผู้ได้รับบาดเจ็บทหารแดง เหมือนได้ยินเสียงอะไรบางอย่างจึงสั่งให้หยุด แล้วมุมกล้องถ่ายให้เห็นฝูงม้าตรงข้ามแม่น้ำกำลังวิ่งอุตลุต (ม้าคือสัญลักษณ์ของอิสรภาพ การปลดปล่อย) นี่คือการเบี่ยงเบนความสนใจให้ทหารแดงสามารถแทรกซึมเข้ามาประชิดใกล้ แล้วจัดการเผด็จศึกเข่นฆ่าศัตรูให้หมดสิ้นซาก (ถือว่าทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บทหารแดงได้รับอิสรภาพโดยทันที!) … ล้อกับตอนต้นเรื่องที่การ์ดขาวที่แทรกซึมเข้ามาในเมืองโดยไม่มีใครรับรู้ตัว

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ทั้งการสั่งประหาร Sister Olga เข่นฆ่าการ์ดขาวที่ไม่ยินยอมจำนน รวมถึงโอบกอดจูบนางพยาบาลสาว พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้บัญชาการทหารแดง ช่างไม่แตกต่างจากผู้บัญชาการการ์ดขาว อีกฝั่งเคยทำอะไรไว้ อีกฝ่ายก็พร้อมเลียนแบบตาม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน ไม่ใคร่สนอะไรทั้งนั้น! จริงอยู่นี่คือวิถีของชีวิต สัจธรรมความจริง แต่มันไม่ใช่ในความเป็นมนุษย์ (humanity) เป็นการกระทำของเดรัจฉาน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

หลังปลดแอกโรงพยาบาล ผู้บัญชาการทหารแดงก็รวบรวมกองกำลังแล้วออกเดินทางมาจนถึงบ้านแห่งหนึ่งบนเนินเขาแห่งหนึ่ง (จะตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงประเทศฮังการีก็ได้นะครับ) แต่โดยไม่รู้ตัวการ์ดขาวได้เตรียมกองกำลังห้อมล้อมรอบทุกทิศทาง เมื่อตระหนักว่าไม่สามารถหลบหนี จึงสั่งนายทหารตั้งแถวแล้วก้าวเดิน พร้อมเผชิญหน้าความตายอย่างสมศักดิ์ศรีชายชาติทหาร กลายเป็นวีรบุรุษ … หรือคนบ้า ก็แล้วแต่ผู้ชมจะพินิจพิจารณา

ผมครุ่นคิดว่าการให้ทหารยืนเรียงแถวหน้ากระดานลักษณะนี้ คงต้องการสื่อถึงกำแพงมนุษย์ สังเกตว่าฝั่งการ์ดขาวมีถึงสามชั้น ซึ่งสามารถไล่เรียงลำดับขั้นบัญชาการ ไม่มีทางที่ทหารแดงไม่กี่สิบคนจะสามารถก้าวไปถึงปลายยอดแหลม (คาดว่าน่าจะระดับนายพล/ผู้บัญชาการเหล่าทัพ) แค่กำแพงด่านแรกก็ยังไปไม่ถึงด้วยซ้ำ … ความตายของนายทหาร ไม่ได้ทำให้ทิศทางสงครามปรับเปลี่ยนแปลงไปแม้แต่น้อย!

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

Laszló เมื่อพากองกำลังเสริมมาถึงสนามรบ วิ่งลงไปถึงแม่น้ำ Volga ก็พบว่าไม่มีหลงเหลือผู้รอดชีวิต การ์ดขาวก็กรีธาทัพไปไหนต่อไหนหมดสิ้น เขาจึงหยิบดาบขึ้นมาสดุดี ทำท่าเคารพศพวีรบุรุษ/ผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิตจากการสงคราม เสียสละเพื่อประเทศชาติ หรือตกตายไปอย่างน่าอเนจอนาถ

ผมเห็นช็อตนี้มีลักษณะเหมือน ‘ดาบสองคม’ จัดวางตำแหน่งตรงกึ่งกลางใบหน้านักแสดงพอดิบพอดี ทำให้สามารถแบ่งแยกทุกสิ่งอย่างออกเป็นสองฟากฝั่ง เหมือนทหารแดง-การ์ดขาว และภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองผู้ชม เห็นเป็นต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) หรือยกย่องวีรบุรุษ (Heroic-War)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตัดต่อโดย Zoltán Farkas (1913-80) สัญชาติ Hungarian ในสังกัดสตูดิโอ Mafilm เริ่มมีผลงานตั้งแต่ปี 1935, ร่วมงานผู้กำกับ Miklós Jancsó ตั้งแต่ Cantata (1963) จนกระทั่ง Electra, My Love (1974)

แม้นายทหารชาวฮังกาเรียน Laszló จะปรากฎตัวในทุกๆฉากใหญ่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าหนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของเขา เพียงบุคคลกำหนดทิศทางเรื่องราว ลำดับการถอยร่นทหารแดง เริ่มจาก …

  • แม่น้ำสายหนึ่ง
    • Laszló กำลังถอยร่น พบเห็นการ์ดขาวเข่นฆ่าทหารแดงอย่างเลือดเย็น
  • เมืองแห่งหนึ่ง
    • Laszló มาถึงเมืองแห่งหนึ่ง ถูกผู้บัญชาการสั่งให้ถอดเสื้อผ้า ขับไล่ออกจากกองทัพ (เพราะไม่ยินยอมรับทหารหลบหนี)
    • เมื่อผู้บัญชาการคนนั้นกลับเข้าไปในเมือง เมื่อพบเห็นการ์ดขาวเข้ายึดครอง จึงตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย
    • การ์ดขาวกวาดต้อนทหารแดง สั่งให้ถอดเสื้อผ้า แล้วเล่นเกมแมวไล่จับหนู มีเวลา 15 นาทีในการหลบหนี
    • ทหารแดงบางส่วนที่สามารถหลบหนีออกจากเมือง ยังคงถูกไล่ล่าโดยการ์ดขาว แล้วมีกัปตันคนหนึ่งกำลังจะข่มขืนหญิงสาวชาวบ้าน เลยถูกสั่งประหารชีวิต
  • โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
    • แม้คือสถานที่เป็นกลาง แต่ผู้บัญชาการการ์ดขาวกลับออกคำสั่งนางพยาบาลให้ทำตามคำเรียกร้องขอ ขึ้นรถสู่ป่าเบิร์ช เล่น-เต้น เริงระบำ กระทำสิ่งตอบสนองตัณหา
    • Laszló ได้รับมอบหมายให้ไปขอกำลังเสริมจากทหารแดง
    • ผู้บัญชาการการ์ดขาวสั่งให้ Sister Olga แบ่งแยกผู้ป่วยแดง-ขาว ออกจากกัน
    • ระหว่างกำลังยิงเป้าผู้ป่วยแดง กองทัพแดงก็เข้ามาช่วยเหลือได้ทัน แล้วเข่นฆ่าการ์ดขาวที่ไม่ยินยอมจำนน พร้อมสั่งประหารชีวิต Sister Olga
  • เนินเขาริมแม่น้ำ Volga
    • ผู้บัญชาการทหารแดงจัดกองกำลังมาจนถึงแม่น้ำ Volga แต่ถูกห้อมล้อมโดยการ์ดขาว ก็ยังคงเลือกที่จะก้าวเผชิญหน้าความตาย
    • Laszló นำกำลังเสริมมาถึงแต่ก็ไม่มีใครหลงเหลือรอดชีวิต

การดำเนินเรื่องของหนังให้ความรู้สึกเหมือน ‘ส่งต่อไม้ผลัด’ คล้ายๆแนวคิดของ La Ronde (1950) และ The Phantom of Liberty (1974) จากตัวละครหนึ่งสู่อีกตัวละครหนึ่ง เริ่มต้นจาก Laszló → สู่ผู้บัญชาการทหารแดง ซึ่งพอตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย → ก็เปลี่ยนมานำเสนอผู้บัญชาการการ์ดขาว ให้เวลานักโทษวิ่งหลบหนี → ทหารกลุ่มหนึ่งสามารถออกนอกเมืองได้สำเร็จ ฯลฯ ซึ่งบางครั้งแค่เพียงกล้องเคลื่อนจากตำแหน่งหนึ่งสู่อีกตำแหน่งหนึ่ง ก็สลับสับเปลี่ยนมุมมองการนำเสนอแล้วละ!


หนังถือว่าไม่มีเพลงประกอบ แต่จะได้ยินบทเพลงในลักษณะ ‘diegetic music’ จากวงดุริยางค์ช่วงกลางเรื่อง บรรเลงให้นางพยาบาลเล่น-เต้น เริงระบำ ดูเหมือนเพียงสร้างความเพลิดเพลินสำเริงกาย-ใจ ตอบสนองตัณหาของผู้บัญชาการการ์ดขาวเท่านั้นแหละ

นอกจากนี้ยังมีการบทเพลงของทหารแดง ครั้งหนึ่งพยายามล้อเลียนการ์ดขาวที่สั่งให้เขาร้องเพลง ก็เลยขับร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสที่อีกฝ่ายฟังไม่รู้เรื่อง (แต่ก็คาดไม่ยากว่าเนื้อร้องสื่อถึงอะไร) และไคลน์แม็กซ์ของหนัง เหล่าทหารหาญประสานเสียงบทเพลง La Marseillaise (เพลงชาติฝรั่งเศส) เพื่อสร้างความหึกเหิมขณะก้าวเดินสู่ความตาย

แซว: เอาจริงๆผมไม่เข้าใจว่าทำไมทหารฮังกาเรียนถึงขับร้องเพลงชาติฝรั่งเศส La Marseillaise แต่ถ้าสังเกตจากเนื้อคำร้องก็ถือว่าตรงกับใจความของหนังอยู่นะ

French originalEnglish translationAllons enfants de la Patrie, Le jour de gloire est arrivé ! Contre nous de la tyrannie L’étendard sanglant est levé, (bis) Entendez-vous dans les campagnes Mugir ces féroces soldats ? Ils viennent jusque dans vos bras Égorger vos fils, vos compagnes !

Refrain : Aux armes, citoyens, Formez vos bataillons, Marchons, marchons ! Qu’un sang impur Abreuve nos sillons !

Que veut cette horde d’esclaves, De traîtres, de rois conjurés ? Pour qui ces ignobles entraves, Ces fers dès longtemps préparés ? (bis) Français, pour nous, ah ! quel outrage Quels transports il doit exciter ! C’est nous qu’on ose méditer De rendre à l’antique esclavage !

Refrain

Quoi ! des cohortes étrangères Feraient la loi dans nos foyers ! Quoi ! Ces phalanges mercenaires Terrasseraient nos fiers guerriers ! (bis) Grand Dieu ! Par des mains enchaînées Nos fronts sous le joug se ploieraient De vils despotes deviendraient Les maîtres de nos destinées !

Refrain

Tremblez, tyrans et vous perfides L’opprobre de tous les partis, Tremblez ! vos projets parricides Vont enfin recevoir leurs prix ! (bis) Tout est soldat pour vous combattre, S’ils tombent, nos jeunes héros, La terre en produit de nouveaux, Contre vous tout prêts à se battre !

Refrain

Français, en guerriers magnanimes, Portez ou retenez vos coups ! Épargnez ces tristes victimes, À regret s’armant contre nous. (bis) Mais ces despotes sanguinaires, Mais ces complices de Bouillé, Tous ces tigres qui, sans pitié, Déchirent le sein de leur mère !

Refrain

Amour sacré de la Patrie, Conduis, soutiens nos bras vengeurs Liberté, Liberté chérie, Combats avec tes défenseurs ! (bis) Sous nos drapeaux que la victoire Accoure à tes mâles accents, Que tes ennemis expirants Voient ton triomphe et notre gloire !

Refrain

Couplet des enfants: Nous entrerons dans la carrière Quand nos aînés n’y seront plus, Nous y trouverons leur poussière Et la trace de leurs vertus (bis) Bien moins jaloux de leur survivre Que de partager leur cercueil, Nous aurons le sublime orgueil De les venger ou de les suivre.

Refrain

Arise, children of the Fatherland, The day of glory has arrived! Against us, tyranny’s Bloody standard is raised, (repeated) Do you hear, in the countryside, The roar of those ferocious soldiers? They’re coming right into your arms To cut the throats of your sons, your women!

Refrain: To arms, citizens, Form your battalions, March, march! Let an impure blood Water our furrows!

What does this horde of slaves Of traitors and conspiring kings want? For whom have these vile chains These irons, been long prepared? (repeated) Frenchmen, for us, ah! What outrage What furious action it must arouse! It is for us they dare plan A return to the old slavery!

Refrain

What! Foreign cohorts! Would make the law in our homes! What! These mercenary phalanxes Would strike down our proud warriors! (repeated) Great God! By chained hands Our brows would yield under the yoke Vile despots would themselves become The masters of our destinies!

Refrain

Tremble, tyrants and you traitors The shame of all parties, Tremble! Your parricidal schemes Will finally receive their prize! (repeated) Everyone is a soldier to combat you, If they fall, our young heroes, Will be produced anew from the ground, Ready to fight against you!

Refrain

Frenchmen, as magnanimous warriors, Bear or hold back your blows! Spare those sorry victims, For regretfully arming against us (repeated) But these bloodthirsty despots These accomplices of Bouillé All these tigers who, mercilessly, Tear apart their mother’s breast!

Refrain

Sacred love of the Fatherland, Lead, support our avenging arms Liberty, cherished Liberty Fight with your defenders! (repeated) Under our flags may victory Hurry to your manly accents So that your expiring enemies See your triumph and our glory!

Refrain

Children’s verse: We shall enter the (military) career When our elders are no longer there There we shall find their dust And the trace of their virtues (repeated) Much less keen to survive them Than to share their coffins We shall have the sublime pride To avenge or follow them.

Refrain

ผมรู้สึกว่าเราไม่จำเป็นต้องทำความใจเนื้อเรื่องราว รายละเอียดพื้นหลังของ The Red and the White (1967) ทหารแดงเข่นฆ่าการ์ดขาว ใครยึดครองสมรภูมิใคร ยุทธการแห่งหนไหน เพราะนั่นไม่ใช่สาระสำคัญของหนังที่ต้องการนำเสนอความสับสนวุ่นวายของสงคราม เครื่องแบบทหารที่แม้แตกต่างแต่ถ้าไม่สังเกตก็แยกไม่ออก รวมถึงเชื้อชาติ สีผิว ล้วนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งเดียว มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด! แม้แต่พรรคพวกเดียวกันเองก็ไม่ละเว้น

‘สไตล์ Jancsó’ มีความโดดเด่นมากๆในภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะลีลาการขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง เวียนวนไปวนมา วงกลม 360 องศา พร้อมการนำเสนอแต่ละช่วงเวลาที่ประเดี๋ยวทหารแดง อีกประเดี๋ยวสลับไปการ์ดขาว ใครเคยทำอะไรเลวร้าย เข่นฆ่าศัตรู ข่มขืนผู้บริสุทธิ์ ทำให้ใครอื่นต้องอับอายขายขี้หน้า อีกไม่นานผลกรรมก็จะติดตามตอบสนองอย่างรวดเร็วพลัน ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน ไม่ต้องเฝ้ารอคอยถึงชาติหน้าตอนบ่ายๆ

ผู้กำกับ Jancsó คงนำประสบการณ์จากเคยถูกเกณฑ์ทหาร เข้าร่วมสู้รบสงครามโลกครั้งที่สอง (ก่อนตกเป็นนักโทษเชลยสงคราม อาศัยอยู่ในค่ายกักกัน) มาสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างแน่นอน! และผมค่อนข้างเชื่อว่าเขาอาจเทียบแทนตนเองกับตัวละคร Laszló เพราะใจความต่อต้านสงครามของหนัง (Anti-Wars) เด่นชัดเจนกว่าการนำเสนอวีรบุรุษ (Heroic-War)

ผมเคยเขียนอธิบายไปแล้วเมื่อตอน The Round-Up (1966) ถึงธาตุแท้ตัวตนของผู้กำกับ Jancsó การยินยอมเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามสิ้นสุด ไม่ใช่เพราะเขาสนับสนุนเลือกข้างเผด็จการ แต่เพราะบทเรียนจากการเป็นทหาร/นักโทษเชลยสงครามทำให้เข้าใจวิถีของอำนาจ ตัวเขาก็แค่มนุษย์ตัวเล็กๆ ไร้ช่องทางหลบหนีเอาตัวรอดออกนอกประเทศฮังการี เมื่อไม่มีทางดิ้นรนขัดขืนก็ต้องก้มหัวศิโรราบ ยินยอมขายวิญญาณเพื่อกระทำตามความเพ้อใฝ่ฝัน (เพราะยุคสมัยนั้นในฮังการี สตูดิโอภาพยนตร์อยู่ใต้อาณัติของรัฐบาลเท่านั้น)

ความสองแง่สองง่ามของภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นอีกคำตอบที่ชัดเจนถึงผู้กำกับ Jancsó แสดงทัศนคติต่อทั้งทหารแดงและการ์ดขาว (เหมารวมสหภาพโซเวียต) แม้งก็โฉดชั่วร้าย ตัวอันตราย ไม่สนห่าเหวอะไรใครทั้งนั้น โดยเฉพาะในโรงพยาบาล สถานที่เป็นกลาง แม้งยังไม่ยอมปล่อยปละละเว้น ใครไม่ใช่พรรคพวกพ้องมิตรสหาย ล้วนคือศัตรูต้องเข่นฆ่าให้ตกตาย! … นั่นมันไม่ใช่มนุษย์แล้วนะครับ (นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่ผู้กำกับ Jancsó พยายามนำเสนอตัวละครแบบผ่านๆ เพียงตัวประกอบ อุปกรณ์ประกอบฉาก)

เอาจริงๆผมโคตรไม่เข้าใจมุมมองของบรรดาทหารหาญ ที่ยึดถือมั่นในเกียรติ ศักดิ์ศรี จริงอยู่การเสียสละเพื่อประเทศชาตินั้นน่ายกย่อง แต่ถ้ามันเป็นแบบภาพยนตร์เรื่องนี้ ความตายของแต่ละคนไม่ได้มีคุณค่าอะไรเลยนะ! เพียงเกมการละเล่น ชิงไหวชิงพริบ แมวไล่จับหนู ของบุคคลผู้มีอำนาจ ยศศักดินา เห็นชีวิตมนุษย์เหมือนผักปลา ไม่ต่างอะไรจากคนบ้าเสียสติแตก

หนึ่งในลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Jancsó’ คือนำเสนอการใช้อำนาจในทางมิชอบ (abuse of power) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ใบสั่งจากสหภาพโซเวียต พี่แกก็แสดงอารยะขัดขืนด้วยการพัฒนาเรื่องราวไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) แถมแทนที่จะทำออกมาลักษณะยกย่องวีรบุรุษ (Heroic-War) กลับสร้างความสองแง่สองง่ามถึงการต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)

ในส่วนเนื้อหาสาระของหนังคงไม่ต้องอธิบายมากความ เต็มไปด้วยการใช้อำนาจในทางมิชอบของบรรดาผู้บัญชาการทั้งทหารแดงและการ์ดขาว ฝั่งหนึ่งสนเพียงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความเป็นลูกผู้ชาย อีกฝ่ายก็กระทำสิ่งตอบสนองตัณหา ความพึงพอใจส่วนบุคคล

ตัวละคร Laszló พยายามถอยร่น หาหนทางหลบหนีจากสมรภูมิรบ ยังสามารถสื่อถึงผู้กำกับ Jancsó ใคร่อยากออกไปจากประเทศฮังการี แต่ขณะนั้นเขาแค่พอมีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์ระดับหนึ่ง ยังไร้ซึ่งหนทางเอาตัวรอดปลอดภัย ถึงอย่างนั้นคงอีกไม่นานเท่าไหร่ สถานการณ์ปัจจุบัน(นั้น)ก็ไม่ได้เลวร้ายเกินไป … เพราะการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ทำให้เขาได้รับการปฏิบัติ/อภิสิทธิ์ที่ดีกว่าชนชั้นกรรมมาชีพด้วยกระมัง


เหมือนว่าสตูดิโอ Mosfilm ได้เตรียมแผนการสำหรับหนังเรื่องนี้ไว้แล้ว นั่นคือทำการตัดต่อใหม่ โดยมุ่งเน้นนำเสนอให้มีลักษณะ Heroic-War เพื่อเฉลิมฉลองเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) แน่นอนว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่ประเมินว่ามีผู้ชมกว่า 2.6 ล้านคน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

ขณะที่ในฮังการี หลายๆประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นฉบับดั้งเดิมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เสียงตอบรับจากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ถือว่าดีล้นหลาม แม้ถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าหนังเข้าถึงยากสักนิด แต่ก็กลายเป็นผลงานประสบความสำเร็จสูงสุดของผู้กำกับ Jancsó เลยก็ว่าได้

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะปรับปรุงคุณภาพ 4K เสร็จสิ้นปี 2021 ภายใต้การดูแลของ National Film Institute Hungary กลายเป็น Blu-Ray โดย Kino Lorber รวมอยู่ในคอลเลคชั่น MASTER SHOT: The Films of Miklós Jancsó ประกอบด้วย The Round-Up (1966), The Red and the White (1967), The Confrontation (1969), Winter Wind (1969), Red Psalm (1972), Electra, My Love (1974)

บอกตามตรงว่าผมดูหนังไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าใครแดง? ใครขาว? คือมันอุตลุด ชุลมุนวุ่นวาย จริงๆคือไม่ได้ใคร่สนใจสังเกตเครื่องแบบตัวละครอย่างๆจริงๆจังๆ (ซึ่งมันก็ไม่จำเป็นสักเท่าไหร่) เห็นแค่ว่าใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-อย่างไร เหตุการณ์ดำเนินไป อีกประเดี๋ยวคนทำชั่วก็จักได้รับกรรมคืนสนอง ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน เมื่อมันเกิดขึ้นเวียนวนซ้ำๆสักสองสามรอบ ก็เริ่มตระหนักถึงความเหี้ยมโหดร้ายของสงคราม แต่สิ่งน่าทึ่งโคตรๆคือเรายังสามารถมองในมุมกลับตารปัตรตรงกันข้าม ถึงการเชิดชูวีรบุรุษ ทหารในอุดมคติ มันเป็นไปได้ยังไงกัน!

ตอนที่ผมเริ่มตระหนักถึงการใช้ภาษาภาพยนตร์เพื่อธิบายความเหี้ยมโหดร้ายของสงคราม ก็สร้างความขนลุกขนพองถึงความยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ แต่พอมาครุ่นคิดว่าเราสามารถมองหนังในลักษณะ Heroic-War นั่นเป็นอะไรที่คาดไม่ถึงอย่างรุนแรง แสดงถึงอัจฉริยภาพของผู้กำกับ Jancsó สมดังคำกล่าวอ้างของ Béla Tarr

The greatest Hungarian film director of all time. Béla Tarr กล่าวยกย่อง Miklós Jancsó

แนะนำคอหนังสงคราม (Pro-Wars), ต่อต้านสงคราม (Anti-Wars), พื้นหลังสงครามกลางเมืองรัสเซีย (Russian Civil War), ทหาร-ตำรวจ, นักสิทธิมนุษยชน, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างภาพ ตากล้อง ลุ่มหลงใหลใน Long Take ห้ามพลาดเด็ดขาด!

จัดเรต 18+ สงคราม รบราฆ่าฟัน ทรยศหักหลัง โศกนาฎกรรม

คำโปรย | ไม่ว่าจะฝั่ง The Red หรือฝ่าย The White สงครามคือความเหี้ยมโหดร้าย มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด!

คุณภาพ | มาสเตอร์พีซ ส่วนตัว | ใจสูญสลาย

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐) : ดอกดิน กัญญามาลย์ ♥♥♥♥

แม้คุณภาพฟีล์ม 16mm ที่คงเหลือถึงปัจจุบันจะไม่ค่อยสวยงามนัก แต่โศกนาฎกรรมความรักระหว่าง อริยวรรต (มิตร ชัยบัญชา) กับ ดารารายพิลาส (เพชรา เชาวราษฎร์) ดัดแปลงจากนวนิยายของ พนมเทียน ช่างงดงามตราตรึงยิ่งนัก และบทเพลงจุฬาตรีคูณ ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล (วงสุนทราภรณ์) เพราะพริ้งเหนือกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ในบรรดาผลงานของคู่ขวัญตลอดกาลแห่งเมืองไทย มิตร-เพชรา หลายคนอาจชื่นชอบ เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. ๒๕๐๘), รักเอย (พ.ศ. ๒๕๑๑), มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ฯ แต่โดยส่วนตัวหลงใหล จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐) เรื่องนี้ที่สุดแล้ว ไม่รู้เพราะตอนจบเป็นโศกนาฎกรรมความรักด้วยหรือเปล่านะ เลยตราตรึงประทับจิตมากเป็นพิเศษ

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (เกิด พ.ศ. ๒๔๗๔) นักเขียนนามปากกา พนมเทียน ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เกิดที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ชื่นชอบการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก ตอนอายุ ๑๒ ขวบ ต้องหลบหนีภัยสงครามโลกครั้งที่สองไปพักอาศัย ณ บ้านต้นตระกูลวิเศษสุวรรณภูมิ ซึ่งสะสมหนังสือไว้มากมาย ทำให้ได้เริ่มอ่านวรรณคดีของไทย รามเกียรติ์ พระอภัยมณี ฯ จนเกิดความอยากเขียนเองบ้าง ระหว่างเรียนมัธยมที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ตามด้วยสวนกุหลาบวิทยาลัย ทดลองเขียนนิยาย เห่าดง (พ.ศ. ๒๔๘๔) ในหนังสือวิชาประวัติศาสตร์ให้เพื่อนๆอ่าน ตามด้วย จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๔๙๑) ส่งเสนอสำนักพิมพ์ต่างๆ แต่ไม่มีใครไหนให้ความสนใจ เพราะตัวเขายังไม่มีชื่อเสียงเรียงนามเพียงพอ

แรงบันดาลใจของ จุฬาตรีคูณ พนมเทียนเล่าว่า เกิดจากการอ่านวรรณคดีไทยที่อยู่ในหลักสูตร ม.๖ เรื่อง กามนิต-วาสิฎฐี, Der Pilger Kamanita (ค.ศ. 1906) นิยายอิงพระพุทธศาสนา (นิกายมหายาน) ประพันธ์โดย Karl Adolph Gjellerup (1857-1919) ชาวเดนมาร์ก ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1917

เกร็ด: กามนิต ได้รับการยกย่องให้เป็น ‘หนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน’ ฉบับภาษาไทยแปลโดย เสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ รูปประกอบโดย ช่วง มูลพินิจ

มีข้อความตอนหนึ่งที่ทำให้คุณฉัตรชัยสะดุดใจ พูดถึงวังน้ำวนอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถือกำเนิดจากแม่น้ำคงคาและยมุนาไหลมาบรรจบกัน ความรุนแรงของสายน้ำทำให้เกิดเป็นวังน้ำวน และในยามค่ำคืนก็จะมีทางช้างเผือกที่สว่างไสวขาวโพลนทอดยาวลงมาราวกับจะมาบรรจบกัน ณ ที่แห่งนั้นถูกขานนามว่า ‘คงคาสวรรค์’ จึงเท่ากับเป็นการบรรจบกันของแม่น้ำ ๓ สาย คือ ๒ พื้นพิภพ และอีก ๑ จากสรวงสวรรค์ ตำแหน่งดังกล่าวถูกเรียกว่า ‘จุฬาตรีคูณ’

เกร็ดข้อเท็จจริง: จุฬาตรีคูณ หรือ สังคัม (Sangam) เป็นชื่อของสถานที่ในเมืองอัลลอฮาบาด (Allahabad) แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดียสามสายบรรจบกันคือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวตี ในทางกายภาพจะเห็นเพียงแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนาเท่านั้น เพราะแม่น้ำสรัสวดีเป็นแม่น้ำในตำนาน (ว่ากันว่าอาจคือธารน้ำใต้ดิน) ซึ่งสถานที่แห่งนี้ ยังใช้ประกอบพิธีกรรม มหากุมภะ ของศาสนาฮินดู

ภาพถ่ายมุมสูง ทำให้มองเห็นการบรรจบกันระหว่าง แม่น้ำคงคา-แม่น้ำยมุนา แบ่งแยกสีชัดเจน นี่เองสินะ จุฬาตรีคูณ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

จุฬาตรีคูณ เป็นชื่อที่แสนไพเราะ สถานที่คงจะสวยงามชวนฝัน หากนำคำนี้มาผูกเป็นนิยายรักที่ออกเศร้าสร้อยคงดีไม่น้อย, ปีถัดมา เมื่อคุณฉัตรชัย เดินทางไปศึกษาต่อยังคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอมเบย์ ประเทศอินเดีย จึงมีโอกาสศึกษาร่ำเรียนประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ในอดีตสถานที่แห่งนี้คือ กรุงพาราณสี เมืองหลวงของแคว้นกาสี เลยเริ่มต้นเขียนจินตนิยายย้อนยุค และยังได้แนวคิดเพิ่มเติมจากเทพปกรณัมกรีก Narcissus ชายหนุ่มรูปงาม ผู้ซึ่งเมื่อยามมองลงไปบนผืนน้ำแล้วได้พบเห็นเงาสะท้อนของตนเอง บังเกิดความหลงใหลตกหลุมรัก โดยหาทราบไม่นั่นเป็นเพียงภาพเงา ถึงขนาดกินไม่ได้นอนไม่หลับ จนสุดท้ายสิ้นชีวิตเพราะมิอาจผละสายตาไปจากความงามของเงาสะท้อนตนเอง

“(จุฬาตรีคูณ) เคยไปเสนอโรงพิมพ์แต่ไม่มีใครรับ เราก็เก็บไว้ พอกลับมาคนเริ่มรู้จัก จุฬาตรีคูณ ยังไม่ได้พิมพ์ก็มีคนมาขอไปทำภาพยนตร์ แล้วพอ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล และ ครูเอื้อ สุนทรสนาน เจ้าของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ได้อ่าน ก็ช่วยกันแต่งเพลงประจำเรื่องจุฬาตรีคูณให้อีก ๕ เพลง คือ เพลงจุฬาตรีคูณ เพลงเจ้าไม่มีศาล เพลงอ้อมกอดพี่ เพลงใต้ร่มมลุลี และเพลงปองใจรัก ก็เลยได้ตีพิมพ์ทีหลัง เป็นนวนิยายที่มีเพลงประจำด้วย” – พนมเทียน

พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังจากครูแก้วได้นำนวนิยาย จุฬาตรีคูณ มาทำเป็นละครเวที แสดงที่ศาลาเฉลิมไทย โดยคณะลูกไทย ทำให้ชื่อ แก้วฟ้า-พนมเทียน มีชื่อเสียงขึ้นมา (ละครเวที จุฬาตรีคูณ ใช้ชื่อแก้วฟ้า-พนมเทียน เพราะแก้วฟ้านำมาทำเป็นบทละคร ส่วนพนมเทียนเป็นผู้ประพันธ์) และผลงานเรื่องแรกที่เคยเขียนไว้ เห่าดง ก็เริ่มได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เพลินจิตต์รายวัน

reference: http://oknation.nationtv.tv/blog/chai/2007/08/30/entry-2

ความนิยมของพนมเทียน ส่วนหนึ่งสามารถวัดได้จากหลายๆผลงานได้รับการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ ก่อนหน้าเรื่องนี้ อาทิ เล็บครุฑ (พ.ศ. ๒๕๐๐), เห่าดง (พ.ศ. ๒๕๐๑), กัลปังหา (พ.ศ. ๒๕๐๕), รัศมีแข (พ.ศ. ๒๕๐๘) ฯ ล้วนประสบความสำเร็จทำเงินหลักล้านบาท และเมื่อเริ่มเขียน เพชรพระอุมา (พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๓๓) ก็ยิ่งได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่แปลกถ้านวนิยายเรื่องอื่นๆจะถูกติดต่อขอนำมาสร้างหนังอีกนับครั้งไม่ถ้วน

ดอกดิน กัญญามาลย์ ชื่อจริง ธำรง กัญญามาลย์ (พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๕๖๑) นักแสดง ผู้กำกับ สร้างภาพยนตร์ เจ้าของวลีดัง ‘ล้านแล้ว…จ้า’ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ชื่อเล่นว่าดิน เพราะเป็นคนตัวดำ ตั้งแต่เด็กชอบร้องลิเก เพลงพื้นบ้าน จนได้ฝึกและออกแสดงครั้งแรกกับคณะสวดคฤหัสถ์, ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มเข้าสู่วงการจากการเล่นจำอวดร่วมกับ อบ บุญติด แล้วหันมาเล่นละครย่อย ร้องเพลงหน้าม่าน และลิเก คณะศิวารมย์ ของครูเนรมิต, ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้เล่นละครกับ คณะอัศวินการละคร ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นตัวตลก และเริ่มใช้ชื่อการแสดงว่า ดอกดิน กัญญามาลย์, เริ่มสร้างภาพยนตร์ 16mm ร่วมกับ ล้อต๊อก และ สมพงษ์ พงษ์มิตร เรื่อง สามเกลอ (พ.ศ. ๒๔๙๕), ผลงานเด่น อาทิ นกน้อย (พ.ศ. ๒๕๐๗), จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐), คนกินเมีย (พ.ศ. ๒๕๑๗), แหม่มจ๋า (พ.ศ. ๒๕๑๘) แจ้งเกิด มยุรา เศวตศิลา, สิงห์สำออย (2520) ฯ

หลังจากประสบความสำเร็จล้นหลามกับ นกน้อย (พ.ศ. ๒๕๐๗) ล้านแรกของ ดอกดิน, ตนเองและเพชรา ยังคว้ารางวัลตุ๊กตาทอง ช่วงนั้นเลยแทบจะผูกขาดร่วมงาน มิตร-เพชรา มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ลมหวน (พ.ศ. ๒๕๐๘), แสงเทียน (พ.ศ. ๒๕๐๙), มดแดง (พ.ศ. ๒๕๑๐), ปูจ๋า (พ.ศ. ๒๕๑๐) จนมาถึง จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐) เลือกดัดแปลงจากละครเวที และนำแผ่นครั่งส่งให้โรงหนังพร้อมกันด้วย สำหรับเปิดประกอบขณะพากย์ฉาย

เกร็ด: ในจำนวนภาพยนตร์ ๓๒ เรื่องของดอกดิน ทำรายได้เกิน ๑ ล้านบาททั้งสิ้น ๒๔ เรื่อง ถือเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเมืองไทยก็ว่าได้

เรื่องราวของ อริยวรรต (มิตร ชัยบัญชา) จอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ต้องการรวมแผ่นดินชมพูทวีปให้เป็นหนึ่ง ยาตราทัพมาหยุดถึงริมฝั่งแม่น้ำคงคา เตรียมตัวข้ามไปยังกรุงพาราณสี แต่ราตรีนั้นฝันเห็นนิมิตหมาย ดารารายพิลาส (เพชรา เชาวราษฎร์) หญิงสาวสะอื้นร่ำไห้ชิงชังในความงามของตนเอง ด้วยความรุ่มร้อนพระทัยอยากพบเจอตัว จึงสั่งเลิกทัพแล้วชักชวนน้องรัก ขัตติยะราเชนทร์ (สมบัติ เมทะนี) ให้ร่วมออกเดินทางไปด้วยกัน กระนั้นด้วยความเฉลียวฉลาดของพระอนุชา ล่วงรู้ได้ว่านั่นย่อมเป็นเหตุลางร้าย พยายามขัดขวางแนะนำให้กลับไปอภิเษกสมรสพระคู่หมั้น อาภัสรา (เนาวรัตน์ วัชรา) ที่แม้จะเป็นคนรักของตน แต่พระราชบิดาทรงจัดการหมั้นหมายไว้ก่อนสวรรคต จึงมิอาจขัดคำสั่งพระทัย แต่สุดท้ายก็มิอาจขืนความดื้อด้านของราชะกษัตริย์ ยินยอมออกนำทางสู่กรุงพาราณสี พร้อมอีกหนึ่งบริวารตัวดำ (ดอกดิน กัญญามาลย์) เพื่อสร้างสีสันให้เรื่องราว

อริยวรรต ปลอมตัวเป็นพราหมณ์ วิพาหะ (ในนิยายคือผู้มีจักษุเพียงข้างเดียว, ในหนังแสร้งเป็นบอดสนิท) ขณะที่ ขัตติยะราเชนทร์ ปลอมเป็น กัญญะ ผู้มีเสียงเสนาะปานนกโกกิลา ทั้งสองเข้าไปถึงชานเมืองพาราณสีวันเดียวกับที่เจ้าหญิง ดารารายพิลาส ทรงหมั้นกับ กาฬสิงหะ กษัตริย์แห่งเวสาลีและเสด็จมานมัสการองค์ศิวะเทพที่เทวาลัย เมื่อนางแม่มดผู้ดูแลวิหาร เทวตี อัญเชิญเสด็จเจ้าหญิงเข้าสู่เทวาลัยใต้เงื้อมผา มีแต่เหล่าพี่เลี้ยงนางกำนัลตามเสด็จ ทันใดนั้นเกิดแผ่นดินไหวหินถล่มลงมาทับนางแม่มดและเหล่านางกำนัลตายสิ้น ส่วนเจ้าหญิงนั้น วิพาหะ เข้าไปช่วยพาตัวออกมาได้อย่างหวุดหวิด จากการช่วยชีวิตครั้งนี้ ทำให้สองสหายได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังตามคำเชิญของพระเจ้ากรุงพาราณสี

พราหณ์ วิพาหะ แฝงตัวเข้าไปพบเจ้าหญิงที่จุฬาตรีคูณ ซึ่งอยู่ติดกับอุทยานด้านหลังของปราสาทที่บรรทม ใช้เล่ห์มารยาเผยรูปโฉมแท้จริงจนผูกรักสมัครใคร่ ต่อมาถูกฝ่ายกาสีจับได้นำตัวไปคุมขังคุก ดารารายพิลาส จึงแอบเข้าไปช่วยเหลือปลดปล่อย แต่เขายืนกรานจะนำกองทัพทหารเข้ามาทำลายล้างกรุงพาราณสี สร้างความขุ่นเคืองให้หญิงสาวตะโกนเรียกทหาร ขณะเดียวกัน ขัตติยะราเชนทร์ นำทหารมาช่วยอีกแรงทำให้สามารถหนีออกไปได้ แต่พระอนุชากลับเสียท่าโดนจับกุมไว้แทน ได้รับข้อเสนอให้แลกเปลี่ยนเชลย คราแรก อริยวรรต ยืนกรานปฏิเสธเพราะไม่ต้องการเสียนางผู้เป็นที่รักไป ตั้งใจจะบุกโจมตีกาสีแทน เจ้าหญิงไม่ยอมเป็นคนบาปของแคว้นเลยกล่าวตัดขาดกับ อริยวรรต บีบบังคับให้แลกเปลี่ยนตัวนาง คล้อยลับหลังไปไม่นาน ขัตติยะราเชนทร์ ก็หนีกลับมาได้ก่อนเสียอย่างนั้น

ด้วยความเสียพระทัยที่ถูก องค์หญิงคนรักตัดรอนน้ำใจ ทำให้ไร้พระสติครุ่นคิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ทรงตัดสินพระทัยอภิเษกสมรสกับพระคู่หมั้นโดยทันทีกลางป่าไพร โดยไม่ฟังคำทัดทานจากใครว่าผิดโบราณราชประเพณีถือเป็นลางวิบัติ หลังเสร็จพิธีเจ้าหญิง ดารารายพิลาส ทรงหนีจากงานอภิเษกของตนเอง แต่กลับพบว่า อริยวรรต กลับมีราชินีแห่งมคธไปแล้ว ทรงเสียพระทัยอย่างยิ่งวิ่งหนีออกไปราวกับวิกลจริต ขณะเดียวกัน อริยวรรต คลุ้มคลั่งหนักยิ่งกว่า ยืนกรานยกทัพบุกกรุงพาราณสี แม้พระอนุชาจะทรงทัดทานเพียงไรก็ไม่รับฟัง กลับยังยกบัลลังก์แคว้นมคธให้ขึ้นครองราชย์ ส่วนพระองค์เองเข้าสู่สงครามนำหน้า ต่อมา ขัตติยะราเชนทร์ ยกทัพตามกลับไปสมทบก็ไม่ทันกาลเสียแล้ว อริยวรรต ทรงต้องอาวุธสวรรคต ขณะที่ ดารารายพิลาส ถูกกาฬสิงหะ และราษฎรทั้งอาณาจักรบังคับสู่สถานจุฬาตรีคูณ สังเวยชีวิตเฉกเช่นเดียวพระแม่ของนาง

นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา ชื่อจริง พันจ่าอากาศโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม (พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๕๑๓) พระเอกอันดับ ๑ ตลอดการของเมืองไทย เกิดที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ชื่นชอบเล่นกีฬาและชกมวย ช่วงระหว่างรับราชการทหารอากาศ จ่าโทสมจ้อยเห็นรูปร่างหน้าตาอันหล่อเหลาเอาการ ท่าทางบุคคลิกดีอ่อนโยน เลยส่งรูปแนะนำตัวให้กับ กิ่ง แก้วประเสริฐ จนได้กลายเป็นพระเอกหนังเรื่องแรก ชาติเสือ (พ.ศ. ๒๕๐๑), โด่งดังกับ จ้าวนักเลง (พ.ศ. ๒๕๐๒), ประกบคู่ขวัญตลอดกาล เพชรา เชาวราษฎร์ ครั้งแรกเรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (พ.ศ. ๒๕๐๔), ผลงานเด่นอื่นๆ เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. ๒๕๐๘), เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙), มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓), อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ฯ

รับบทอริยวรรต กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ว่ากันว่าสาเหตุแท้จริงที่ทรงบ้าคลั่งการสงคราม เพราะไม่อยากกลับไปขึ้นครองราชย์สมบัติ แล้วอภิเษกสมรสพระคู่หมั้น อาภัสรา ที่เป็นคนรักอยู่ก่อนแล้วของพระอนุชา ทั้งยังเป็นการออกค้นหาหาหญิงสาวที่มั่นเหมาะสมกับตนเองเท่านั้น ค่ำคืนหนึ่งฟ้าบันดาลให้เกิดนิมิตหมาย ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ชีวิตนี้ไม่ต้องการอะไรอื่นนอกจากครอบครองนางในฝันแต่เพียงผู้เดียว

ถึงจะรับบทบาทพระราชา มิตร ก็ยังคงเป็น มิตร (มากกว่าเป็นพระราชา) แต่ต้องยอมว่าภาพลักษณ์ Charisma เหมาะสม ยิ่งใหญ่ น่าเกรงขามอยู่ไม่น้อย ขณะเดียวกันก็สามารถกลายเป็นลูกแมวน้อยเมื่ออยู่ในอ้อมอกสาวคนรัก ความหน้ามืดตามัวเป็นเหตุให้บอดสนิทลืมเลือนวัตถุประสงค์ตั้งใจเดิม เมื่อแอบพบเห็น มเหสี กับ พระอนุชา สนทนาด้วยความบริสุทธิ์จากใจ ค่อยเริ่มรู้สำนึกได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ถูกต้อง ตระหนักโดยสันชาตญาณ นี่ย่อมเป็นการสงครามครั้งสุดท้ายในชีวิตอย่างแน่นอน

สมบัติ เมทะนี (เปิดปี พ.ศ. ๒๔๘๐) นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของสถิติ Guinness World Records รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลกถึง ๖๑๗ เรื่อง, เข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญจากแมวมองแถวโรงภาพยนตร์คิงส์-ควีนส์ ย่านวังบูรพา ด้วยรูปร่างสูงใหญ่ แสดงละครโทรทัศน์เรื่อง หัวใจปรารถนา (พ.ศ. ๒๕๐๓) ประกบวิไลวรรณ วัฒนพานิช, ต่อด้วยภาพยนตร์เรื่องแรก รุ้งเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๔) ประกบ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ผลงานเด่นๆ อาทิ น้ำตาลไม่หวาน (พ.ศ. ๒๕๐๗), ศึกบางระจัน (พ.ศ. ๒๕๐๘), เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (พ.ศ. ๒๕๐๘), จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐), เกาะสวาทหาดสวรรค์ (พ.ศ. ๒๕๑๒), พ่อปลาไหล (พ.ศ. ๒๕๑๕), สิงห์สำออย (พ.ศ. ๒๕๒๐), ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓) ฯ

รับบทขัตติยะราเชนทร์ พระอนุชาของ อริยวรรต เป็นผู้จงรักภักดีต่อพี่ คนรัก และผืนแผ่นดินมคธ มีความเฉลียวฉลาด มากด้วยสติปัญญา รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง มีทุกสิ่งอย่างเหนือกว่าพระเชษฐา แค่คลานออกจากพระครรภ์มาทีหลัง จึงต้องทรงเฝ้าคอยติดตามออกไปสู้รบปรบมือ รวมไปถึงในเรื่องการรัก ก็พร้อมเสียสละหลีกทางให้ แม้สุดท้ายจะสารู้แก่ใจ ก็มิอาจสกัดกั้นขวางโชคชะตาฟ้าดิน

ครั้งที่ ๔ สุดท้ายที่ สมบัติ ประกบคู่กับ มิตร นั่นเพราะนายทุนไม่ค่อยอยากให้พวกเขาประกบคู่กันเท่าไหร่ มันจะเป็นการเปรียบเทียบพระเอก ใครยิ่งใหญ่โดดเด่นเหนือกว่า ซึ่งครานี้เห็นชัดเลยว่า สมบัติ โดดเด่นกว่า มิตร เพราะต้องเป็นคนรองมือรองเท้า เสียสละตนเองแทบทุกสิ่งอย่างเพื่อพระเชษฐา อึดอัดอั้นรวดร้าวทุกข์ทรมาน แต่ยังคงยึดถือมั่นในคุณธรรม จริยธรรมสูงส่ง

ว่าไปชีวิตจริงของทั้งสอง สะท้อนเข้ากับบทบาทในหนังเรื่องนี้เลยนะ มิตร เข้าวงการก่อนโด่งดังระดับพระราชา สมบัติ มาที่หลังเลยสถานะเพียงพระอนุชา แถมยังมีฝีมือการแสดงโดดเด่นกว่ามาก เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่าน พ.ศ. ๒๕๑๓ หลังจาก มิตร สูญเสียชีวิตจากไป ก็กลายเป็น สมบัติ ก้าวขึ้นมาเป็นพระราชาองค์ใหม่แห่งสยามประเทศแทน

เพชรา เชาวราษฎร์ ชื่อจริง เอก ชาวราษฎร์ (เกิด พ.ศ. ๒๔๘๖) ชื่อเล่น อี๊ด นางเอกภาพยนตร์ไทยเจ้าของฉายา ‘นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง’ เกิดที่จังหวัดระยอง เมื่ออายุ ๑๕ เข้ามาเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพฯ จนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ช่วงงานที่ร้านเสริมสวยของน้องสาวพี่เขย ได้รับการชักชวนเข้าร่วมประกวดเทพธิดาเมษาฮาวาย พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ทำให้ได้รับการชักชวนจากศิริ ศิริจินดา และดอกดิน กัญญามาลย์ ให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (พ.ศ. ๒๕๐๕) ประกบ มิตร ชัยบัญชา ตามด้วย ดอกแก้ว (พ.ศ. ๒๕๐๕) กลายเป็นคู่ขวัญพระ-นาง มีชื่อเสียงโด่งดังค้างฟ้า อมตะเหนือกาลเวลา ผลงานเด่นๆ อาทิ นกน้อย (พ.ศ. ๒๕๐๘), เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. ๒๕๐๘), ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐), มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓), สวรรค์เบี่ยง (พ.ศ. ๒๕๑๓), อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ฯ

รับบท ดารารายพิลาส แค่ชื่อก็สื่อถึงความงดงามดั่งดาวบนฟากฟ้า แต่เริ่มต้นมาด้วยความจงเกลียด เดียดฉันท์ ความสวยของตนเอง เพราะเชื่อว่าพระมารดา ดาราราย ถูกสังเวยชีวิตเพราะถูกมั่นหมายให้สมรสกับกษัตริย์กรุงพาราณสี แต่พระองค์ทรงมีคนรักอยู่ก่อนแล้ว ได้พยายามหนีตามหลังจากให้ประสูติ ดารารายพิลาส แต่ชาวเมืองกลับมีมติให้นำไปถ่วงน้ำที่จุฬาตรีคูณ

แต่ชีวิตก็มักพบเจอประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม กงกรรมกงเกวียน เวียนมาบรรจบวนดั่งสายน้ำไหล เมื่อตัวเธอได้รับการช่วยเหลือจากพราหมณ์ปลอมตัวมา รับรู้ว่าแท้จริงคือ ราชะกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พยายามปฏิเสธคบหาความชั่วร้ายของเขา แต่ก็เป็นเหตุให้ต้องเลือกระหว่างความปรารถนาทางใจของตนเอง กับปวงประชาราษฎร มิอาจคิดคดทรยศต่อผืนแผ่นดินแดนบ้านเกิดเมืองนอน สุดท้ายเมื่อตัดสินใจแน่วแน่กลับพบเจอความผิดหวัง ชอกช้ำระกำใจ หวนกลับมาหาจุฬาตรีคูณครั้งสุดท้าย ทอดกายและวิญญาณให้ล่องลอยไปกับสายน้ำนี้

ความงามของ เพชรา เป็น ดารารายพิลาส ได้อย่างหมดจรดสมบูรณ์แบบ ทั้งจริตจ้าน ความสามารถ บีบคั้นเค้นอารมณ์ สะท้อนความรู้สึกภายในออกมาได้อย่างทรงพลัง อะไรเป็นสิ่งสำคัญสุดครุ่นคิดจนแทบคลั่ง รวดร้าวทุกข์ทรมานใจแสนสาหัสเมื่อพบความผิดหวัง ไม่หลงเหลือจิตวิญญาณใดๆให้อยากอยู่ต่อบนโลกใบนี้

เนาวรัตน์ วัชรา ชื่อจริง สมิรา ลำยาน (เกิด พ.ศ. ๒๔๙๒) ชื่อเล่น แหม่ม ลูกครึ่งไทย-ปาทาน พ่อเป็นชาวปากีสถาน นับถือพุทธศาสนา เกิดที่จังหวัดนครพนม จบการศึกษาชั้น ม.ศ. ๓ จากโรงเรียนวัดเศวตรฉัตร เข้าประกวดนางงามหลายที่ในชื่อ อรัญญา ดาราพร คว้ารางวัล รองนางสาวไทย อันดับ ๔ ในการประกวดนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๗ (ปีที่ อภัยรา หงสกุล คว้ารางวัลนางสายไทย), กรุยทางสู่วงการแสดง ภาพยนตร์เรื่องแรก เดือนร้าว (พ.ศ. ๒๕๐๘) ประกบ มิตร ชัยบัญชา คว้ารางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, ผลงานเด่นๆมักเล่นเป็นนางเอกเจ้าน้ำตา จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐), รักต้องห้าม (พ.ศ. ๒๕๑๕), แม่อายสะอื้น (พ.ศ. ๒๕๐๕), ลูกเหนือ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ฯ หลังจากแต่งงานเลยออกจากวงกร เป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร ยังมีชีวิตอยู่

รับบท อาภัสรา แม้จะทรงเป็นคู่หมั้นของ อริยวรรต แต่จิตใจตกหลุมรักใคร่ ขัตติยะราเชนทร์ ชีวิตมิต้องการแก้วแหวนเงินทอง มงกฎเลอค่าประการใด ขอแค่ได้ครองคู่อยู่กับบุคคลผู้ใจตนแสวงหา แต่เมื่อจอมกษัตริย์ทรงตรัสต้องการอภิเสกสมรส มิอาจหักห้ามทัดทานจนกลายเป็นมเหสี ตัดพ้อกับอดีตคนรัก ไฉนถึงกลับทอดทิ้งน้ำใจนางได้ลง

บทเล็กๆที่สร้างความรวดร้าวระทมใจให้กับผู้ชม ฉันทำผิดอะไรถึงตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกสถานนี้ โชคยังดีที่เสียงเพรียกจากหัวใจส่งไปถึงจอมกษัตริย์ เลยคงจะได้สุขสมเมื่อกาลเวลาผ่านไป

ถ่ายภาพโดย สมาน ทองทรัพย์สินธุ์, ด้วยฟีล์ม 16mm ต้นฉบับถือเป็นหนังเงียบ ใช้การพากย์เสียงหน้าโรง

หนังไม่ได้เดินทางไปถ่ายทำยังประเทศอินเดียนะครับ จำลองสร้างฉากขึ้นในโรงถ่าย โดยเฉพาะเมืองพาราณสี มีความอลังการใหญ่โตอยู่ไม่น้อย นั่นเป็นเหตุให้ส่วนใหญ่การถ่ายทำอยู่ในระยะภาพ Medium Shot และ Close-Up นอกเสียจากฉากสงครามสู้รบพุ่งกันตรงท้องทุ่งกว้าง เลยสามารถมี Long Shot ถ่ายติดทิวทัศน์นียภาพ และการควบม้าศึกเข้าประจันหน้า

ไดเรคชั่นงานภาพของ ดอกดิน กัญญามาลย์ ผมเคยวิพากย์ไว้ตอน สิงห์สำออย (พ.ศ. ๒๕๒๐) ว่ามีสัมผัสคล้ายคลึงหนังของ Howard Hawks ไม่ค่อยมี Establish Shot หรือปรุงแต่งฉากให้มีนัยยะความหมายลึกซึ้งประการใด เทคนิคก็ทั่วไป Panning, Tracking, เรื่องนี้มี Visual Effect เพิ่มเข้ามาด้วย ซ้อนภาพ ดารารายพิลาส ขณะ อริยวรรต กำลังหลับเพ้อฝัน ฯ

ฉากสงครามสู้รบ ต้องชมเลยว่ามีไดเรคชั่นที่ดูสนุก เพลิดเพลินกำลังพอดี ยอดเยี่ยมยิ่งกว่า ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ.๒๕๐๙-๒๕๑๐), เริ่มจากถ่าย Long Shot ระยะไกล พบเห็นศัตรูและฝ่ายตนเอง ควบม้าเข้าประจัน พอถึงระยะประทะก็ถ่ายมุมเงย (จากพื้น) กรอบการต่อสู้ของตัวละครสำคัญๆ สลับสับเปลี่ยนไปมาจนครบถ้วน ใครถูกฟันก็จะมีดิ้นพร่านแค่พอเป็นพิธี ไม่ได้เย่อเยิ้อครวญครางไม่ยอมตายสักที พอตัวประกอบสำคัญหมดสิ้นหน้าที่ ก็หลงเหลือแต่พระเอก-พระรอง มุ่งสู่ปลายทางสุดท้าย

ตัดต่อโดย …ไม่มีเครดิต… เหมือนว่าหนังเล่าเรื่องในมุมมองของขัตติยะราเชนทร์ เริ่มต้นมาเห็นกำลังเกี้ยวพาราสี อาภัสรา จากนั้นไปปลุกพระเชษฐา อริยวรรต ยินยอมนำทางสู่กรุงพาราณสี แม้จะมีฉากราชะเกี้ยวพาองค์หญิง แต่สามารถจินตนาการได้ว่า พระอนุชาคงแอบเฝ้ามองอารักขาอยู่แถวๆนั้น

ค่อนข้างน่าเสียหายที่หลายๆฉากได้สูญหาย อยู่ดีๆกระโดดข้ามไป คาดเดาได้เลยว่านั่นคงเกิดจากการเสื่อมสภาพของฟีล์มจนมิอาจกู้กลับคืน (หรือไม่ก็สูญหายไปจริงๆ) กระนั้นฉากสำคัญๆที่ทำให้ดูหนังรู้เรื่องยังคงอยู่ครบ ประติดต่อได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร … มันไม่ใช่อารมณ์หงุดหงิดนะ เป็นความเสียดายมากกว่า

สำหรับเพลงประกอบ ต้องชมบริษัทที่ทำการ Telecine และพากย์เสียงใหม่ เลือกนำเอาบทเพลงจากฉบับละครเวที นำมาปรับใช้ใส่เข้าไปในหนัง ทำให้อรรถรสในการรับชมเกิดสุนทรียะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยกลิ่นอายอินเดีย ช่างมีความไพเราะเพราะพริ้ง งดงามจนน้ำตาไหลพรากๆ

มีทั้งหมด ๕ เพลงดัง (จุฬาตรีคูณ, ใต้ร่มมลุลี, ปองใจรัก, อ้อมกอดพี่, จ้าวไม่มีศาล) แต่ขอเลือกนำมาเสนอเพียง ๓ บทเพลงอมตะ คำร้องโดย ครูแก้ว อัฉริยะกุล, ทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน

จุฬาตรีคูณ ต้นฉบับละครเวทีขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล (เกิด พ.ศ. ๒๔๖๖) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) อดีตนักร้องหญิงคนแรกของวงดนตรีกรมโฆษณาการ และนักร้องรุ่นแรกของวงสุนทราภรณ์

ความงดงามของเพลงไทยสมัยก่อน คือสัมผัลคำร้องที่มีความคล้องจองดั่งบทกวี ความหมายลึกซึ้งในทุกคำประโยค และลีลาการขับร้อง ออกเสียงคมชัดเจนทุกตัวอักษร รักษาความงดงามภาษาไทยได้อย่างเลิศเลอค่า

ข้าแต่คงคา จุฬาตรีคูณ

ดวงใจข้าอาดูร หนักเอย

ความงามวิไล ข้ามิได้ปรารถนา ข้าชังนักหนา เจ้าเอย

เพราะชนนีข้าวิไล จึงถูกสังเวยเสียในสายชล ด้วยรักเอย

จุฬาตรีคูณ ชนนีชีพสูญ ในสายจุฬาตรีคูณ นี่เอย

ดารารายเลิศโสภา ข้าไม่นำพา เพราะกลัวว่าจะถูกสังเวย

โปรดสาบสรรค์ ขอให้โฉมอันน่าเชย สิ้นสวยเลยไร้ค่า

ให้ข้าน่าชัง สิ้นหวังชื่นชม ขอให้ไร้ผู้นิยม นำพา

ขอให้สมใจในปรารถนา นะจุฬาตรีคูณ เจ้าเอย.

บทเพลงใต้ร่มมลุลี ต้นฉบับขับร้องคู่ วินัย จุลละบุษปะ – เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, ในหนังขับร้องใหม่โดย สมบัติ เมทะนี และ สวลี ผกาพันธ์ ไม่เทียบเท่าต้นฉบับ แต่ถือว่ามีเสน่ห์ของตนเองอยู่ไม่น้อย

เพลงปองรัก ต้นฉบับขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน และ มัณฑนา โมรากุล

จุฬาตรีคูณ คือบริเวณที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบ พานพบ ผสมรวมกลายเป็นลำเนาสายใหม่เคลื่อนไหลต่อไปราวกับไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น สะท้อนเข้ากับเรื่องราวดำเนินไปของชีวิต การพบเจอระหว่าง อริยวรรต กับ ดารารายพิลาส ราชะกษัตริย์ กับ เจ้าหญิงแห่งแคว้นศัตรู ถึงแม้แตกต่างแต่ความรักไม่มีพรมแดนขวางกั้น ต้องการครอบครองเป็นของกันและกัน ไม่ได้ด้วยกายในชาตินี้ สิ้นชีวีกลายเป็นจิตวิญญาณ อาศัยครองคู่ตราบชั่วฟ้าดินสลาย

เราสามารถเปรียบเทียบตรงๆ ดารารายพิลาส คือ กรุงพาราณสี ความต้องการครอบครองเป็นหญิงสาวของ อริยวรรต ปากอ้างด้วยใจรักแต่กลับครุ่นคิดพูดบอกใช้ความรุนแรง ยกทัพจับศึกตีหัวเมือง จนกว่าได้รับชัยชนะเป็นองค์จักรพรรดิ แต่นั่นหาใช่วิธีถูกต้องเหมาะสมควรไม่

ชายหนุ่มถ้าต้องการครอบครองหญิงสาว ต้องแสดงออกด้วยความรัก ความเข้าใจ ห่วงใยเอ็นดูทะนุถนอม เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความดีคือสิ่งที่สตรีมักจะตกหลุม’ไหล’ (อย่าเอาไปรวมกับอำนาจ เงินทอง ความเพ้อคลั่งวัตถุนิยม ของคนยุคสมัยนั้นนะครับ) ไม่ต่างอะไรกับประชาราษฏร์ หาได้ต้องการกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เกรียงไกร จับศึกใต้หล้าไม่เคยพบความพ่ายแพ้ แต่คือมหาราชาผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม จักทำให้ประเทศชาติร่มเย็นสงบสุขสบาย

ดูกรพระยาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่

เราตั้งอยู่แล้วในธรรม ๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศล ธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความ อดทนและความไม่พิโรธ แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิด แก่เรา ก็สุมุขหงส์นี้ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่ทราบความประทุษ ร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจาอันหยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา คำของสุมุขหงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘, พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐, ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ว่าด้วยพญาหงส์ติดบ่วง

ความลุ่มหลงใหล ยึดติดในกิเลส ตัณหา ราคะ คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์หน้ามืดตาบอด มองไม่เห็นทิศทางถูกต้องเหมาะสมในการดำเนินชีวิต ขาดธรรมะในการปกครองผู้คนประเทศชาติ รังแต่จักนำสู่ความวิปโยคหายนะ ทั้งตนเองและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

ช่วงทศวรรษ พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๐๑ ประเทศไทยเต็มไปด้วยปัญหาการเมือง เกิดรัฐประหาร ๕ ครั้งในรอบ ๑๒ ปี ย่อมแสดงว่าผู้นำประเทศแม้งโคตรคดโกงกินคอรัปชั่น สร้างความเดือดเนื้อร้อนรุ่มว้าวุ่นวายใจให้กับคนทั้งชาติ ผ่านมาการปฏิวัติล่าสุดมาเกือบๆ ๑๐ ปีแล้ว และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ล่วงลาลับจากไป ผู้กำกับ ดอกดิน กัญญามาลย์ คงคาดหวังให้ผู้นำบ้านเมือง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ๆ คงจักเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากอดีต รู้จักใช้ทศพิธราชธรรมในการบริหารประเทศ ชาติเราจักได้มีความสุขสงบเสียที

ผมเริ่มสังเกตพบว่า ดอกดิน กัญญามาลย์ ถ้าตอนเป็นผู้กำกับ มักสอดแทรกสาระความรู้ สะท้อนเสียดสีการเมือง ขนบวัฒนธรรม วิถีสังคมไทย ใส่ลงในภาพยนตร์ของตนเองด้วย นี่เรียกว่าความหลากหลาย ครบอรรถรสชาด ที่ไม่ใช่แค่เพียงความบันเทิงเริงอารมณ์พื้นฐานมนุษย์ สุข-ทุกข์-เสียงหัวเราะ-ซึ้งเศร้าเสียใจ ลึกล้ำกว่าแค่มองเห็นตา สั่นสะเทือนถึงจิตวิญญาณข้างใน

เข้าฉาย ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่โรงภาพยนตร์ โคลีเซี่ยม แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘ล้านแล้ว…จ้า’ ของผู้กำกับ ดอกดิน กัญญามาลย์ ซึ่งถ้าปีนั้นมีการประกวดรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี น่าจะไม่พลาดสาขาบทประพันธ์ ออกแบบฉาก เครื่องแต่งกาย อย่างแน่นอน

กาลเวลาได้ทำให้ จุฬาตรีคูณ ค่อยๆเลือนหายไปจากความสนใจ กระทั่งงานรำลึก ๒๑ ปี การจากไปของ มิตร ชัยบัญชา วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ขณะนั้นคุณกมล กุลตังวัฒนา เช่าโรงหนังแอมบาสเดอร์ สะพานขาว เพื่อฉาย มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดีแน่นขนัดเต็มไรง จนมีการร้องขอให้ฉายซ้ำ การซ่อมแซมปรับปรุงพากย์เสียงใหม่จึงเริ่มต้นขึ้น ซึ่งไม่เพียงแค่เรื่องเดียว จุฬาตรีคูณ, อินทรีทอง ฯ ก็ได้รับอานิสงค์ไปด้วย

เนื่องจากสมัยนั้น จุฬาตรีคูณ เป็นหนัง 16mm ใช้การพากย์เสียงสดๆหน้าโรง โชคยังดีมีกากฟีล์มหลงเหลือ ถูกนำแปลง พิมพ์ให้ให้เป็น 35mm แล้วพากย์เสียงใหม่ ออกฉาย ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ โรงหนังแอมบาสเดอร์

จากนั้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๖ บริษัท เอส.ที.วีดีโอ จำกัด จึงนำมาออกเป็นวีดีโอให้เช่า ถือว่า จุฬาตรีคูณ เป็นหนังมิตร ชัยบัญชา เรื่องแรกที่ได้ออกเป็นวีดีโอ แต่ว่าเป็นภาพแบบเต็มจอยังไม่ค่อยสวยสักเท่าไหร่, ต่อมาประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ คุณโต๊ะพันธมิตร จึงนำมาทำเป็นแผ่นวีซีดีออกอีกครั้ง คุณภาพเลยดูดีขึ้นกว่าเดิม แต่ต้องยอมว่าโอกาสการบูรณะหนังเรื่องนี้ค่อนข้างยากเสียหน่อย

reference: http://www.thaicine.org/board/index.php?topic=6340.0

ความแปลกประหลาดหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้ ไม่เคยถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ แต่มีการสร้างใหม่ Remake พ.ศ. ๒๕๒๓ ทุ่มทุนกว่า ๗ ล้านบาท กำกับโดย พรพจน์ กนิษฐเสน นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ปิยะ ตระกูลราษฎร์, วาสนา สิทธิเวช, พิศาล อัครเศรณี, มานพ อัศวเทพ, ส. อาสนจินดา ฯ

ผมเริ่มชื่นชอบหนังเรื่องนี้ตั้งแต่ได้ยินบทเพลงจุฬาตรีคูณ ไม่ได้ยินฟังมานมนานกลับยังจดจำท่วงทำนองคำร้องไม่ลืมเลือน และเริ่มตกหลุมรักเมื่อเข้าใจความหมายอันลึกซึ้งของ จุฬาตรีคูณ สายน้ำแห่งชีวิตที่ ดารารายพิลาส หลง’ไหล’เคลิบเคลิ้มกายใจ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ถึงจะมีเยอะแยะกับภาพยนตร์แนวโศกนาฎกรรมความรัก Romeo & Juliet แต่สิ่งล้นค่าความหมายที่สุดของ จุฬาตรีคูณ คือความโลภละโมบจนขาดสติของราชะกษัตริย์ หญิงงามไม่ต่างอะไรจากผืนแผ่นดินแดน ใช้ความรุนแรงสงครามเผด็จการ มีหรือจะได้ครอบครองจิตวิญญาณแห่งรัก

จัดเรต 13+ กับความโลภละโมบ เห็นแก่ตัว หน้ามืดตามัว มักมากในกามคุณ

TAGLINE | “จุฬาตรีคูณ แม่น้ำสามแพร่งที่ต้องเลือกไหล มิตร-เพชรา ตราตรึงสุดในผลงานของ ดอกดิน กัญญามาลย์”

QUALITY | SUPERB MY SCORE | LOVE

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐) : คุณาวุฒิ ♥♥♥♡

หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ มิตร ชัยบัญชา รับบทพร้อมกัน ๒ ตัวละคร หนึ่งไอ้บ้าใบ้ผู้โชคร้าย สองคือลูกชาย(ของไอ้ใบ้นะแหละ) เฉลียวฉลาด หล่อเหลา มาดผู้ดี ใครๆต่างเคลิบเคลิ้มตกหลุมรัก ประกบสามนักแสดง โสภา สถาพร, รักชนก จินดาวรรณ และบุศรา นฤมิตร ซึ่งโชคชะตาชีวิตจริงของพวกเธอ สะท้อนการปรับตัวภายใต้ ‘ร่มเงายุคสมัยของ เพชรา เชาวราษฏร์’ ได้อย่างน่าขนหัวลุก

ดัดแปลงจากผลงานของ จำลักษณ์ นามปากกาของ สำเนาว์ หิริโอตัปปะ (พ.ศ. ๒๔๖๔ – ๒๕๑๗) นักประพันธ์ชื่อดัง เจ้าของฉายา ‘ราชาลครเร่’ ก่อนหน้าจะมาเป็นนักเขียน เคยทำงานเป็นกะลาสี กัปตันเรือ ออกท่องสมุทรจนมีความเข้มแข็งแกร่งทั้งกายใจ หลังจากเบื่อหน่ายตัดสินใจกลับขึ้นบก ได้รับคำชักชวนจากเพื่อนๆเข้าร่วมคณะลคร จันทรโรภาพ ของหม่อมหลวงโกมล ปราโมช ได้มีโอกาสโชว์ฝีมือเขียนบทลครเรื่องแรก ตากสินมหาราช ตามด้วย ทาสวังหลัง ประสบความสำเร็จอย่างสูง คนดูแน่นขนัดเต็มโรง จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับลครให้หลายๆคณะ แต่เมื่อการมาถึงของภาพยนตร์ทำให้วงการนี้เริ่มซบเซา จึงผันตัวมาเขียนบทลครโทรทัศน์ นวนิยายลงหนังสือพิมพ์ หนึ่งในนั้นตีพิมพ์ลงในหนังสือขายหัวเราะ น่าเสียดายอายุสั้นไปเสียนิด จากไปด้วยวัยเพียง ๕๓ ปีเท่านั้น

สำหรับไทรโศก คงไม่ผิดอะไรจะเรียกนิยายน้ำเน่า เรื่องราวของมหาเศรษฐีเจ้าของไร่ไทรโศก หลังจากเสียชีวิต อ่านพินัยกรรม สร้างความผิดหวังให้ภรรยาและลูก เพราะเห็นคุณค่าของสาวใช้มากกว่าพวกตน แถมยังบีบบังคับให้แต่งงานจดทะเบียนสมรส และต้องมีบุตรร่วมกัน ถึงมีสิทธิ์ครอบครองพื้นที่ดินผืนใหญ่ ด้วยความคิดอันสุดแสนอัปลักษณ์ของคุณแม่และลูก แม้จะเข้าพิธีแต่งงานแต่กลับส่งตัวไอ้หนุ่มบ้าใบ้ ปิดไฟเข้าเรือนหอแทน หลังจากคลอดบุตรออกมายี่สิบปีผ่านไป ผลของการกระทำดังกล่าวได้ย้อนกลับหาตัวพวกเขาเอง กงกรรมเกวียนโดยแท้

เรื่องราวของนวนิยาย/ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือว่ามีความสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน ดำเนินเกี่ยวข้องกับบุคคลสามรุ่น สองช่วงเวลา สะท้อนผลกรรมดี-ชั่ว ที่คนรุ่นก่อนหน้าได้ครุ่นคิด-พูด-กระทำเอาไว้ สามารถสอนใจคนอ่าน/ผู้ชม ถึงสัจธรรม ‘กฎแห่งกรรม’ ไม่มากก็น้อย

ไฮไลท์ของหนังคือการแสดงของ มิตร ชัยบัญชา ที่ผมว่าอาจเป็นผลงานยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตแล้วก็เป็นได้ (แต่ผมก็ดูหนังของ มิตร มาไม่กี่สิบเรื่องเองนะ ในแง่ดราม่าต้องยอมว่าเรื่องนี้น่าจะเข้มข้นที่สุดแล้วกระมัง) เพราะต้องรับบทถึง ๒ ตัวละคร พ่อ-ลูก แต่กลับแตกต่างตรงกันข้ามสุดขั้ว มีฉากร่วมกันอยู่ด้วยนะ เป็นอย่างไรต้องลองหามารับชมดูเอง

วิจิตร คุณาวุฒิ หรือ คุณาวุฒิ ชื่อเดิม ซุ่นจือ เค้งหุน (พ.ศ. ๒๔๖๕ – ๒๕๔๐) ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร) เกิดที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย เรียนจบมาเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ‘ชีวิตไทยรายสัปดาห์’ ร่วมสมัยกับ ส. อาสนจินดา, อิศรา อมันตกุล และประมูล อุณหธูป เคยมีผลงานเขียนเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียง อาทิ น้ำตาจำอวด, โสเภณีร้องไห้ ฯ เริ่มมีความสนใจวงการภาพยนตร์ตามคำชักชวนของ ปรีทีป โกมลภิส ร่วมเล่นบทผู้ร้ายในภาพยนตร์เรื่อง ฟ้ากำหนด (พ.ศ. ๒๔๙๓) จากนั้นครูมารุต ชักชวนให้มาร่วมเขียนบทภาพยนตร์ สันติ วีณา (พ.ศ. ๒๔๙๗) หลังจากนี้ตัดสินใจหันหลังให้กับอาชีพนักข่าว เข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างเต็มตัว โดยมีผลงานกำกับ/เขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก ผาลีซอ (พ.ศ.๒๔๙๗), เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังประสบความสำเร็จจากผลงานถัดมา มรสุมสวาท (พ.ศ. ๒๔๙๙) บทประพันธ์ของอิศรา อมันตกุล นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล

ผลงานเด่นๆ อาทิ มือโจร (พ.ศ. ๒๕๐๔), โนห์รา (พ.ศ. ๒๕๐๙), เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙), เสน่ห์บางกอก (พ.ศ. ๒๕๐๙), ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐), แม่ศรีไพร (พ.ศ. ๒๕๑๔), น้ำเซาะทราย (พ.ศ. ๒๕๑๖), เมียหลวง (พ.ศ. ๒๕๒๑), คนภูเขา (พ.ศ. ๒๕๒๒), ลูกอีสาน (พ.ศ. ๒๕๒๕) ฯ

เจ้าคุณธีรรัตน์ หลังจากเสียชีวิตทิ้งพินัยกรรมให้กิตติ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน จะสามารถถือกรรมสิทธิ์ในไร่ไทรโศก อ.บางพระ จ.ศรีราชา ก็ต่อเมื่อแต่งงานและมีบุตรกับบานเย็น (บุศรา นฤมิตร) หญิงสาวในอุปการะที่จงรักเหมือนลูก ทำให้คุณหญิงธีรรัตน์ (น้ำเงิน บุญหนัก) ไม่พึงพอใจอย่างมาก จึงวางแผนให้กิตติยอมแต่งงานด้วย แต่เวลาส่งตัวเข้าห้องหอ หลอกให้นายใบ้ (มิตร ชัยบัญชา) เด็กวัดไม่รู้หัวนอนปลายตีน ปิดไฟ ร่วมรัก แม้จักเพียงแค่ค่ำคืนเดียว บานเย็นก็ตั้งครรภ์ คลอดออกมาเป็นผู้ชายถูกนำไปรับเลี้ยงที่กรุงเทพ ตั้งให้ชื่อว่า อู๊ดหรือยิ่งยง ถึงกระนั้นหญิงสาวกลับได้เด็กหญิงกำพร้าที่พ่อแม่ถูกฆ่าตายในไร่ ตั้งชื่อให้ว่า ไทรงาม

เวลาเคลื่อนผ่านไป ๒๐ ปี ยิ่งยง (มิตร ชัยบัญชา) โตเป็นหนุ่มและได้รู้จัก เด่นดาว (โสภา สถาพร) หลานสาวเจ้าคุณยงยศ ซึ่งอ๊อดหรือเกียรติกร ลูกชายแท้ๆของ กิตติ-อุษา ก็ชื่นชอบเด่นดาวเช่นกัน วันหนึ่ง ยิ่งยง กับ เด่นดาว เดินทางไปท่องเที่ยวยังไร่ไทรโศกพบเจอ ไทรงาม (รักชนก จินดาวรรณ) เรียนจบหมอและอาศัยอยู่ที่นั่นรักษาแม่ สองหญิงพบกันเห็นสร้อยคอเกิดข้อสงสัยว่าอาจมีความเกี่ยวเนื่อง (ภายหลังถึงได้รับรู้ว่าเป็นพี่น้อง) ขณะที่ยิ่งยงพลันตกหลุมรักไทรงาม ทราบความไปถึงคุณหญิงธีรรัตน์ รู้สึกผิดที่ทำกับบานเย็นไว้มาก จึงจัดการหมั้นหมายให้หนุ่มสาวทั้งสอง สร้างความไม่พึงพอใจให้เกียรติกรอย่างมาก จึงไปร่วมมือกับธน (ประมินทร์ จารุรารีต) และลูกชายเทพ (ชุมพร เทพพิทักษ์) ที่มีความแค้นเจ้าคุณยงยศ บุกปล้นไร่ไทรโศก สุดท้ายใครจะรอดใครจะตาย ต้องไปติดตามลุ้นกัน!

นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา ชื่อจริง พันจ่าอากาศโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม (พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๕๑๓) พระเอกอันดับ ๑ ตลอดการของเมืองไทย เกิดที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ชื่นชอบเล่นกีฬาและชกมวย ช่วงระหว่างรับราชการทหารอากาศ จ่าโทสมจ้อยเห็นรูปร่างหน้าตาอันหล่อเหลาเอาการ ท่าทางบุคคลิกดีอ่อนโยน เลยส่งรูปแนะนำตัวให้กับ กิ่ง แก้วประเสริฐ จนได้กลายเป็นพระเอกหนังเรื่องแรก ชาติเสือ (พ.ศ. ๒๕๐๑), โด่งดังกับ จ้าวนักเลง (พ.ศ. ๒๕๐๒), ประกบคู่ขวัญตลอดกาล เพชรา เชาวราษฎร์ ครั้งแรกเรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (พ.ศ. ๒๕๐๔), ผลงานเด่นอื่นๆ เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. ๒๕๐๘), เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙), มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓), อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ฯ

ไอ้บ้าใบ้ ไร้พ่อแม่ตั้งแต่เล็กเลยกลายเป็นเด็กวัด เติบโตขึ้นสติปัญญาก็ยังน้อยนิด ทำให้มักถูกกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง โดยเฉพาะค่ำคืนแต่งงานของ กิตติ กับ บานเย็น ถูกลวงล่อหลอกมอมเหล้าเข้าห้องหอ แม้เป็นค่ำคืนอันสุขสันต์แต่กลับนำความรวดร้าวทุกข์ทรมานใจ ผูกข้อมือร่ำราลูกน้อยของตัวเองด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัส ยี่สิบปีผ่านมาไปบังเอิญพบเห็นกระจกสะท้อนตนเอง ได้เพียงเฝ้าแอบมองให้ความช่วยเหลืออยู่ห่างๆ มิอาจเข้าไปโอบกอดแสดงออก ‘ฉันคือพ่อของลูก’

อู๊ด/ยิ่งยง หนุ่มหล่อนิสัยดี อัธยาศัยงาม ชอบให้ความช่วยเหลือผู้อื่น จึงเป็นที่รักใคร่ของทุกคนรอบข้าง โดยเฉพาะสาวๆต่างหลงใหลใคร่มสนใจ สร้างความอิจฉาริษยาอาฆาตแค้นให้อ๊อด (ตอนนั้นเข้าใจว่าเป็นพี่ชายแท้ๆ) เดินทางไปท่องเที่ยวไทรโศก ก็ไม่รู้ทำไมถึงตกหลุมรักแรกพบ ไทรงาม คงด้วยโชคชะตาล้วนๆกระมัง เฉกเช่นเดียวกับการเอาตัวรอดชีวิตหวุดหวิด ฆ่าผิดคน ซึ่งเมื่อรับทราบความจริงถึงต้นกำเนิด ก้มลงกราบพ่อผู้อาภัพ ไร้ซึ่งโอกาสรู้จักสนิทสนมมอบความภาคภูมิใจให้

ใช่ว่า มิตร ไม่อยากแสดงบทบาทขายการแสดงหรอกนะ แต่สมัยนั้นคงเลือกไม่ค่อยได้เท่าไหร่ เพราะวันๆเอาแต่เดินสายทำงาน เหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด มีโอกาสพักแค่วันที่ ๑๕ ของทุกๆเดือน ด้วยเหตุนี้แทบทุกเรื่อง มิตรจะแสดงเป็นตนเอง ไม่ว่าเศรษฐี กระยาจก บ้าใบ้ หรือนักเรียนนอก ก็อยู่ที่ว่าผู้กำกับ/ภาพยนตร์เรื่องนั้น จักเค้นเอาฝีมือ/ท้าทายความสามารถ ออกมาได้มากน้อยแค่ไหน

สำหรับ ไทรโศก เพราะความที่ ไอ้บ้าใบ้ มิอาจพูดบอกอะไรออกมาได้ จำต้องพึ่งท่าทาง ภาษามือ และที่สุดคือดวงตา โดยเฉพาะฉากอำลัยลา ผูกข้อมือลูกน้อยทารกรัก แววตาแห่งความโศก กลั่นอารมณ์ความรู้สึกออกจากภายใน แสดงความรวดร้าวทุกข์ทรมานได้อย่างทรงพลัง น่าจะเกือบๆที่สุดในผลงานการแสดงแล้วกระมัง

สามนางเอกของหนัง เริ่มจาก บุศรา นฤมิตร นางเอกเจ้าน้ำตา ผลงานอาทิ ทับทิม (พ.ศ. ๒๕๐๗), ผู้ใหญ่ลี (พ.ศ. ๒๕๐๘) ฯ แต่เมื่อ เพชรา เข้าวงการและได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ค่อยๆเปลี่ยนบทบาทไปเป็นตัวรอง แม่นางเอก อาทิ ดาวพระศุกร์ (พ.ศ. ๒๕๐๙), ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐) ฯ และก้าวมาเป็นนางเอกอันดับหนึ่งละครโทรทัศน์ยุคสมัยนั้นกับ คู่กรรม (พ.ศ. ๒๕๑๓)

รับบท บานเย็น ลูกสาวบุญธรรมในการอุปการะของ เจ้าคุณธีรรัตน์ เป็นคนธรรมะธัมโม ชอบนั่งเล่นมองตะวันตกดิน ต้องการเพียงชีวิตที่สงบสุขร่มเย็น แต่ท่านเจ้าคุณกลับเขียนไว้ในพินัยกรรมให้แต่งงานมีลูกกับกิตติ มิอาจขัดขืนต่อโชคชะตา ซ้ำร้ายยังติดโรคเรื้อนไม่มีใครอยากเข้าใกล้ เมื่อส่งมอบลูกชายที่ตนรักยิ่ง มีโอกาสรับเลี้ยงลูกสาวบุญธรรม รักดั่งแก้วตาดวงใจ ภายหลังโชคชะตาเข้าข้างเมื่อลูกๆทั้งสองได้รับการอนุเคราะห์จากคุณหญิง จับคู่หมั้นหมาย ใกล้ถึงคราพบเจอความสุขในชีวิตเสียทีสินะ

ความรันทดของตัวละคร ผมว่าสะท้อนความรู้สึกของ บุศรา จากเคยเป็นนางเอกมีแววโด่งดัง กลับถูกกลบด้วยรัศมีของ เพชรา แต่ก็ใช่ว่าจะยินยอมแพ้เลือนลางหายไป ค้นพบช่องทางของตนเอง ในบทบาทรันทนเจ้าน้ำตา เป็นคนร้องไห้สวยมากๆ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสารเห็นใจตัวละครสุดๆเลย

โสภา สถาพร ชื่อจริง โสภา พัคค์สุนทร (พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๔๙) ชื่อเล่น ติ๋ม เกิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากการชักชวนของ ชาลี อินทรวิจิตร และ ศรินทิพย์ ศิริวรรณ ผลงานเรื่องแรก เอื้อมเดือน (พ.ศ. ๒๕๐๖), ได้รับบทนำนางเอกเต็มตัว ศึกเสือไทย (พ.ศ. ๒๕๐๘), ผลงานเด่นๆ อาทิ เจ้าแม่ตะเคียนทอง (พ.ศ. ๒๕๐๙), สิงห์สันติภาพ (พ.ศ. ๒๕๐๙), ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐), วังสีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๑), ดวงใจคนยาก (พ.ศ. ๒๕๑๑) ฯ หลังจากแต่งงานก็ออกจากวงการใช้ชีวิตเรียบง่ายกับสามีฝรั่ง

รับบท เด่นดาว หลานสาวเจ้าคุณยงยศ พี่สาวแท้ๆของ ไทรงาม ในตอนแรกคบหาอยู่กับ เกียรติกร แต่ไม่ค่อยชอบในพฤติกรรมพยายามล่วงเกินเลยลามปาม ต่อมาพบเจอ ยิ่งยง ประทับใจในความเป็นสุภาพบุรุษ แต่ก็พลันผิดหวังเพราะเขาเลือกแต่งงานกับ ไทรงาม ต่อมาจึงโดน เกียรติกร ฉุดคร่าใช้กำลัง เกือบถูกข่มขืนเลยยิงปืนสวน สุดท้ายคลุ้มคลั่งเกือบกลายเป็นบ้า กรรมอะไรหนอ! ทำให้ชีวิตรันทดได้ขนาดนี้

นี่เป็นนักแสดงอีกคนผู้มิอาจเจิดจรัสจร้าในวงการเท่าที่ควร (เพราะ เพชรา) ด้วยความที่หน้าเด็ก ตัดผมสั้นดูน่ารักน่าชัง ขี้เล่นซุกซน ฉากช่วงท้ายที่อยู่ดีๆเธอลุกขึ้นหัวเราะอย่างบ้าคลั่ง นั่นสร้างความประหลาดใจให้อย่างยิ่งยวด คืออาการขัดแย้งกันเองภายใน แสดงออกมาได้อย่างน่าสงสารเสียจริง

รักชนก จินดาวรรณ เข้าสู่วงการด้วยการชักชวนจาก ศิริ ศิริจินดา (ผู้ค้นพบ เพชรา คาดหวังจะปั้นนางเอกคนใหม่แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) นำแสดงเรื่องแรก เพื่อนรัก (พ.ศ. ๒๕๐๙) คู่กับ มิตร ชัยบัญชา กลับไม่ประสบความสำเร็จ มีผลงานตามมา อาทื ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐), พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร (พ.ศ. ๒๕๑๐), หยาดฝน (พ.ศ. ๒๕๑๕), เด่นดวงเดือน (พ.ศ. ๒๕๑๖) ฯ แทบทุกเรื่องไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนในที่สุดก็เลิกร้างราออกจากวงการไป

รับบท ไทรงาม หมอสาวผู้มีความกตัญญูกตเวที ไม่รังเกียจแม่ที่เป็นโรคเรื้อน อยู่เคียงข้างตลอดตั้งใจจะรักษาให้หาย เป็นคนหัวก้าวหน้าไม่ชอบการคลุมถุงชน แต่ก็มิอาจหักห้ามโชคชะตาตนเองเมื่อถูกขอแต่งงานกับยิ่งยง ลึกๆคงชอบพอกันอยู่มั้งนะ

ทั้งๆที่ตัวละครได้ครองรักแต่งงานกับพระเอก แต่กลับไม่ได้มีบทบาทเด่นอะไรเลย น่าเศร้าใจแทน นี่คงเป็นเรื่องของโชคชะตาล้วนๆ ที่ทำให้ รักชนก มิอาจกลายเป็นอีกดาวดวงหนึ่งประดับวงการภาพยนตร์ไทย

สามนางเอกของหนังเรื่องนี้ ใต้ร่มเงายุคสมัยของ เพชรา เชาวราษฏร์ ปรากฎว่ามีโชคชะตาต่างกันอย่างน่าขนหัวลุก – บุศรา นฤมิตร หนีความดังของ เพชรา ไปกลายเป็นนางเอกอันดับหนึ่งแห่งวงการโทรทัศน์ ปรับเอาตัวรอดได้อย่างเฉลียวฉลาด – โสภา สถาพร พยายามดิ้นรนอยู่สักพักใหญ่ ประสบความสำเร็จบ้าง-ล้มเหลวบ้าง สุดท้ายเพียงพอแล้วออกไปใช้ชีวิตอย่างสงบสุขสันติ – รักชนก จินดาวรรณ ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในวงการภาพยนตร์ สุดท้ายออกจากวงการ เลือนลางหายไปตามกาลเวลา

ถ่ายภาพโดย ไพรัช สังวริบุตร (เกิด พ.ศ. ๒๔๗๔) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ด้วยความที่บิดาเป็นเจ้าของค่ายหนัง กรุงเทพภาพยนตร์ หลังเรียนจบจากเซนต์คาเบรียล เข้าร่วมช่วยงานจนได้เป็นตากล้อง รอยไถ (พ.ศ. ๒๕๐๓), แสงสูรย์ (พ.ศ. ๒๕๐๓)**คว้ารางวัลตุ๊กตาทอง ถ่ายภาพ (16mm) จากนั้นร่วมลงทุนกับ มิตร ชัยบัญชา ตั้งบริษัท วชิรนทร์ภาพยนตร์ ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง โดยเป็นผู้กำกับการแสดง และผู้กำกับภาพ ก่อนเข้าสู่วงการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๑๐

ถึงหนังถ่ายทำด้วยฟีล์ม 35mm แต่คุณภาพที่หลงเหลือถึงปัจจุบันก็ได้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เห็นว่าเคยสูญหายจากสารบบไปช่วงขณะหนึ่งด้วย แล้วได้รับการค้นพบโดย ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ และมนัส กิ่งจันทร์ จึงนำไปทำการ Telecine โดยบริษัท ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ ฟิล์ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้เสียงพากย์โดยทีมพากย์พันธมิตร

งานภาพส่วนใหญ่เป็นระยะ Medium Shot กับ Close-Up เน้นการสนทนาและแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร แต่ก็พอมีช็อตสวยๆของอ่าวไทยเป็นพื้นหลัง (แต่ผมก็ไม่เห็นต้นไทรสักต้นเลยนะ!)

ฟ้าแดง/อุกกาฟ้าเหลือง หนังใช้เป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้าย ที่ตัวละครกำลังจะได้พบเจอต่อไป, ภาพนี้คงมีการบรรยายอย่างเยอะในต้นฉบับนวนิยาย ทำให้ผู้กำกับ วิจิตร คุณาวุฒิ จำต้องใส่มาประกอบเพลงแบบเต็มๆหลายครั้งด้วย ซึ่งนี่คงเป็นความรำพันคิดถึงของผู้เขียน จำลักษณ์ อดีตเคยเป็นกะลาสี กัปตัน ล่องเรือออกทะเล นี่อาจจะเป็นลายเซ็นต์หนึ่งของท่านเลยกระมังนะ

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ฉากที่บานเย็นรับรู้เนื้อหาพินัยกรรม จากลุงเพิ่ม (อดินันท์ สิงห์หิรัญ) ภาพต้นไม้นี้ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ ถ้าเป็นต้นไทรจะถือว่าเหมาะเจาะกับชื่อหนังมาก (แต่ผมว่าไม่น่าจะใช่นะ) ทั้งสองสนทนาภายใต้ร่มเงาแห่งโชคชะตา ยืนเดิน เดี๋ยวสูงต่ำ ก่อนสุดท้ายจะทรุดลงนั่งเกาะต้นไม้ ไทรโศก

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

บานเย็นเป็นคนชอบเกาะ… เสียจริงนะ! ฉากนี้ตอนรับรู้ว่าตนเองท้องและป่วยเป็นโรคเรื้อน รับรู้ความจริงว่าลูกในครรภ์เป็นของไอ้บ้าใบ้ ไม่ใช่กิตติ ถึงขนาดครุ่นคิดฆ่าตัวตาย แต่ได้รับคำอ้อนวอนร้องขอจนเกิดสติจาก ลุงเพิ่ม เลยยังตั้งใจมีชีวิตต่อไปแม้มันจะต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส

เสาไฟนี้ คงจะอันเดียวกับภาพทะเลช็อตด้านบน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ช่วงใกล้จบครึ่งแรก กลุ่มของบานเย็น พบเจอเด็กทารกสาวบนเนินเขาแห่งหนึ่ง ตั้งชื่อให้ว่า ไทรงาม มุมกล้องเงยขึ้นเห็นท้องฟ้า ช่วงใกล้จบครึ่งหลัง เด่นดาว (พี่สาวแท้ๆของไทรงาม) ถูกลักพาตัวคุมไว้ใต้หุบเขาหนึ่ง มุมกล้องก้มลงเห็นพื้นดิน

นี่เป็นการสะท้อนครึ่งแรก-ครึ่งหลัง ที่ก็ยังมีอีกหลายๆเหตุการณ์ ดั่งกงกรรมเกวียน วัฎจักรขึ้นลงของชีวิต (ที่คือใจความของ ไทรโศก อีกด้วย)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ฉากที่คงอยู่ในความสนใจของใครหลายคน มิตร เจอ มิตร, ไอ้บ้าใบ้ พบกับลูกชาย ยิ่งยง จริงๆมันมี ๒-๓ วิธีที่ทำได้ด้วยข้อจำกัดของยุคสมัยนั้น ๑. คนส่วนใหญ่คงครุ่นคิดว่า มีการใช้นักแสดงแทน ติดหนวดกลายเป็นไอ้บ้าใบ้ ๒. แต่ถ้าสังเกตไดเรคชั่นช็อตนี้ให้ดีๆ นักแสดงจะไม่ยืนเหลื่อมล้ำกัน นั่นเป็นไปได้ว่าถ่ายสองเทคแล้วใช้การตัดฟีล์มกึ่งกลาง นำมาปะติดต่อกัน ๓. แบบเดียวกับข้อสอง แต่แทนที่จะตัดฟีล์มก็ใช้การซ้อนภาพแทน (แต่มันก็ไม่น่าออกมาชัดแจ๋วขนาดนี้นะ)

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ฉากที่ กิตติ มาขอ ไทรงาม ให้กับ เกียรติกร ลูกชายแท้ๆตนเอง ถือเป็นการกระทำที่กล้ำกลืนฝืนทน เพราะ กิตติ กับ บานเย็น เกลียดกันเข้ากระดูกดำ แน่นอนเรื่องอะไรที่เธอจะยินยอม

ไดเรคชั่นของทั้ง Sequence โดดเด่นมากๆเรื่องการจัดแสงเงา (ฉากอื่นจะไม่เด่นเรื่องการจัดแสงขนาดนี้) หลายครั้งใบหน้านักแสดง อาบครึ่งหลบซ่อนอยู่ในเงามืด สะท้อนถึงความรู้สึกที่อยู่ภายในจิตใจของตัวละคร ค่อยๆคืบคลานสู่ความเจ็บปวดรวดร้าวราน

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

เจ้าคุณธีรรัตน์ ก่อนเสียชีวิตก็ได้เจ็บป่วยกลายเป็นอมพาต สาเหตุอาจเพราะผลกรรมจากการทรยศหักหลังอดีตเพื่อนพ้อง ธน (จนตามจองเวรจองกรรมครอบครัวนี้ไม่คิดให้อภัย) กาลเวลาผ่านไป กิตติ ลูกชายโทนก็ประสบโชคชะตากรรมเดียวกัน ภาพถ่ายสลับด้านหัวเตียง สะท้อนให้เห็นไปเลยว่า ชีวิตมันก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ถ้าไม่เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่า คุณธรรม

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ความตายของกิตติ สูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่างทั้งคนรัก และลูกชายที่ทรยศหักหลัง ตกบันไดลงมาสู่เบื้องล่าง สะท้อนชีวิตอันตกต่ำของตนเอง ก่อนสิ้นลมตัดสินใจเปิดเผยความจริงกับ ยิ่งยง ฉันไม่ใช่พ่อแท้จริงของนาย คาดหวังว่ามันจะพอชดใช้กรรมต่างๆที่เคยก่อไว้บ้าง

คุณหญิงธีรรัตน์ ก็ไม่ต่างอะไรกับ กิตติ สวมแว่นแฟชั่นที่สะท้อนความเย่อหยิ่งทะนงตน ครึ่งแรกหัวชนฝารับไม่ได้ที่ลูกตนเองต้องแต่งงานกับหญิงไม่รู้หัวนอนปลายตีนอย่าง บานเย็น แต่ครึ่งหลังแก่ตัวลงมาก เริ่มครุ่นคิดถึงความสุขของหลานรัก จนใจอ่อนยอมจับทั้งคู่ให้แต่งงานกันโดยไม่สนอะไรอื่นอีกต่อไป

Journeyman บ ร ษทะล ม ต เวลา ซ บไทย

ตัดต่อ …ไม่มีเครดิต… เบื้องต้นแบ่งเรื่องราวออกเป็น ๒ องก์ จริงๆจะถือว่าดำเนินเรื่องในสายตาของ ลุงเพิ่ม ก็ได้นะ – ครึ่งแรก เรื่องราวของ บานเย็น-กิตติ-ไอ้บ้าใบ้ ส่วนใหญ่นำเสนอเรื่องราวของบานเย็น จากสุขไปทุกข์และมุ่งสู่ทางสายกลาง – ครึ่งหลัง ๒๐ กว่าปีผ่านไป หลักๆคือเรื่องราวของ ยิ่งยง – เกียรติกร – เด่นดาว -ไทรงาม ไม่ได้ใช้มุมมองใครเป็นพิเศษ สลับสับเปลี่ยนไปอย่างถ้วนทั่ว

ต้นฉบับต้องถือว่าไร้ซึ่งเพลงประกอบด้วย เพราะไม่มีปรากฎเครดิตใดๆ ซึ่งการพากย์ใหม่ก็มีการใส่ Soundtrack เพิ่มเข้าไป เป็นบทเพลงคลาสสิกคุ้นหูเสียเส่วนใหญ่ มีลักษณะมุ่งขับเน้นอารมณ์ความรู้สึกที่สะสมอยู่ภายในตัวละคร อาทิ – บานเย็น รับรู้ตนเองว่าต้องแต่งงานกับกิตติ เสียงไวโอลินอันโหยหวนรวดร้าว บีบคั้นทุกข์ทรมาน ทำเอาเธอทรุดลงนั่งที่โคนต้นไม้ คงร่ำไห้อยู่หลายเพลา – ไอ้บ้าใบ้ เดินสวนกับลูกชาย ยิ่งยง เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองพิศวงสงสัย แต่พอต้องเดินจากกัน ใช้เพียงเสียงเปียโนบรรเลง สะท้อนความโหยหาต้องการสนิทชิดใกล้

สำหรับสองบทเพลงคำร้องทั้งสองเพลง เป็นการแทรกเพิ่มเข้าไปในหนัง เลยดูผิดแผกแปลกต่างจากปกติพอสมควร, บทเพลงไทรโศก ดังขึ้นตอนต้นและท้ายเรื่อง แทนเครดิตหนังไปเลย แต่งคำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร, ทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน, ในหนังขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

อีกบทเพลงดังขึ้นตอน บานเย็น นั่งเหม่อมองท้องฟ้ายามเย็น แทรกใส่เพิ่มมาเต็มๆเพลง ตัดวนภาพหญิงสาว กับ พระอาทิตย์กำลังเคลื่อนคล้อยตกทะเล นี่ไม่ค่อยเข้ากันหนังสักเท่าไหร่ แต่เพลงเพราะเลยก็พอแกล้มไปได้บ้าง

บทเพลงฟ้าแดง คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร, ทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน, ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เช่นกัน

ไทรโศก คือเรื่องราวโศกนาฎกรรมของกลุ่มคน ผู้มีความลุ่มหลงใหลยึดติดในทรัพย์สินที่ดิน กองมรดก และชื่อเสียงวงศ์ตระกูล จนละเลยมองข้ามสิ่งสำคัญล้ำค่าที่สุดภายในจิตใจ เป็นเหตุให้คนดีต้องพลอยตกทุกข์ทรมาน เออออห่อหมกสมยอมความแบบไม่อยากตั้งใจ ซึ่งผลกรรมของคนรุ่นก่อน ได้ส่งผลย้อนคืนสนอง หวนกลับสู่พวกเขาเองตั้งแต่ในชาตินี้ เมื่อลูกหลานเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ – บางคน (คุณหญิงธีรรัตน์) จึงเริ่มรู้สึกตัว ครุ่นคิดขึ้นมาได้ – บางคน (กิตติ) ต้องให้ได้จังหวะใกล้ตาย ถึงค่อยรู้สำนึกตัว – และอีกคนหา (นายธน) ไร้ซึ่งสามัญสำนึกผิดชอบ ให้อภัยใคร

ต้นไทร คือไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อายุยืนยาวนานเป็นสิบร้อยปี คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น จนมีคำโบราณกล่าวว่า ‘ร่มโพธิ์ร่มไทร’ ช่วยทำให้เกิดความเป็นสุขทางใจ

การที่ ไทรยังโศก สะท้อนถึงมรสุมชีวิตที่เต็มไปด้วยความรวดร้าวทุกข์ทรมาน อันมีสาเหตุจากความรังเกียจเดียดฉันท์ อิจฉาริษยา มักมากในรูป-รส-กลิ่น-เสียง หลงใหลสิ่งของ-วัตถุนิยม จนมิอาจปล่อยวางทิฐิมานะของตนเองลงได้ ไม่มีอะไรในโลกที่เป็นของเราแท้ สักวันหนึ่งทุกอย่างได้มาก็ต้องสูญเสียไป สุข-ทุกข์ สมหวัง-ผิดหวัง รัก-เกลียด สองสิ่งขั้วตรงข้ามเติมเต็มและกัน ดั่งกงกรรมกงเกวียน กฎแห่งกรรม คือสัจธรรมความจริงของโลก

ความสนใจของผู้กำกับ วิจิตร คุณาวุฒิ ต้องการสะท้อนภาพที่ตรงกันข้ามระหว่างครึ่งแรก-ครึ่งหลัง นั่นคือการกระทำ-ผลลัพท์ ‘กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง’ คงตั้งใจปลูกฝังทัศนคติการคิดดี-พูดดี-ทำดี ย่อมเป็นศรีต่อตนเอง เพราะต่อให้โกรธเกลียดชังสักแค่ไหน อนาคตข้างหน้าวันใดอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือเกื้อกูล ถนอมน้ำใจกันไว้ให้มากจักเป็นประโยชน์ ยิ่งด้วยความบริสุทธิ์แท้จากภายใน ใครๆก็จะรักเราด้วยความจริง

ไทรโศก ได้รับการสร้างใหม่ (Remake) พ.ศ. ๒๕๒๔ กำกับโดย น้อยเศวต นำแสดงโดย พอเจตน์ แก่นเพชร ประกบ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ดวงใจ หทัยกาญจน์, เมตตา รุ่งรัตน์ รับบทคุณหญิงชื่น ธีระรัตน์ ฯ

เคยเป็นละครโทรทัศน์ ๒ ครั้ง – ช่อง ๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ กำกับโดย ภราดร เล็กประเสริฐ นำแสดงโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์, เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์, ชไมพร จตุรภุช, พิศมัย วิไลศักดิ์, ชุติมา นัยนา, จามิน เหมพิพัฒน์ ฯ – ช่อง ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ กำกับโดย ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ นำแสดงโดย พัชฏะ นามปาน, จิตตาภา แจ่มปฐม, คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์, ภูริ หิรัญพฤกษ์, พิเชษฐ์ไชย ผลดี, พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์, กมลชนก เขมะโยธิน ฯ

สิ่งที่โดยส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้มากๆ หนีไม่พ้นการแสดงของ มิตร ชัยบัญชา ในบทไอ้บ้าใบ้ เป็นความประทับใจแบบคาดไม่ถึง นี่ถ้าปีนั้นมีจัดรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี อย่างน้อยสุดต้องได้เข้าชิงอย่างแน่นอน

สำหรับไดเรคชั่นของ วิจิตร คุณาวุฒิ ต้องถือว่ายอดเยี่ยมใช้ได้ (อย่างน้อยก็น่าจะได้เข้าชิง ตุ๊กตาทอง เช่นกัน) แต่ถ้าเทียบกับผลงานชิ้นเอกอย่าง เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙), คนภูเขา (พ.ศ. ๒๕๒๒) หรือ ลูกอีสาน (พ.ศ. ๒๕๒๕) ถือว่ายังห่างชั้นอยู่มาก

แนะนำแฟนๆนวนิยาย ไทรโศก ของ จำลักษณ์, ชื่นชอบเรื่องราวน้ำเน่า แม่ทำตัวชั่วๆใส่ลูกสะใภ้ ภายหลังเลยได้รับผลกรรมตอบแทนอย่างสาสม, ประทับใจผลงานของ วิจิตร คุณาวุฒิ, มิตร ชัยบัญชา, โสภา สถาภร ฯ ไม่ควรพลาด