Micro bit 101 2 เข ยนโปรแกรมหน าย ม

บอร์ด micro:bit เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์สำหรับการศึกษาจากโครงการของ BBC (British Broadcasting Company) หรือบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงของอังกฤษ ที่ร่วมมือกับ Partner หลายบริษัท (ดูเพิ่มเติมได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Micro_Bit) ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ในยุคดิจิตอลแจกจ่ายให้แก่เด็กในประเทศอังกฤษ ต่อจากในอดีตที่ทาง BBC เคยทำบอร์ด BBC Micro ออกมาแล้วเมื่อปี 1980 เพื่อให้เกิดการเริ่มต้นเรียนรู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ของเด็กๆ

บอร์ด micro:bit ถูกออกแบบให้เขียนโค้ดและคอมไพล์ผ่านทางเว็บบราวน์เซอร์ สามารถใช้งานร่วมกับระบบอื่นๆได้หลายระบบ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ท (ใช้ได้ทั้ง android, iOS) อีกทั้งยังมีเซ็นเซอร์พื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ อาทิเช่น เซ็นเซอร์วัดแสง เซ็นเซอร์วัดความเร่ง เซ็นเซอร์เข็มทิศ รวมทั้งปุ่มกด และ LED แสดงผล ติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ตัวบอร์ดเรียกใช้เซ็นเซอร์แต่ละอย่างโดยง่าย ไม่จำเป็นต้องหาเซ็นเซอร์มาต่อเพิ่มเติมจึงเหมาะแก่การเรียนรู้สำหรับเด็กหรือผู้ที่สนใจ

ที่มา : https://www.thaieasyelec.com/article-wiki/latest-blogs/getting-started-with-the-microbit.html

Micro bit 101 2 เข ยนโปรแกรมหน าย ม

Micro bit 101 2 เข ยนโปรแกรมหน าย ม

Sathittham (Phoo) Sangthong

Follow

Published in

SS Blog

3 min read

Nov 11, 2018

--

เรามาเริ่มเขียนโปรแกรมเจ้า micro:bit โปรแกรมแรกของเรากันเถอะ

สิ่งที่เรากำลังจะทำ

  • ในโลกของการเขียนโปรแกรม “Hello World” คือ คำที่นิยมใช้เวลาเริ่มเขียนโปรแกรมแรก (มักเป็นโปรแกรมง่ายๆ เพื่อทดสอบการทำงาน ว่าสามารถทำงานได้จริง)
  • ในโลกของอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นกันครับ “Hello World” ก็คือ การทำ “ไฟกระพริบ”
  • ซึ่งวันนี้เราก็รวม 2 โลกเข้าด้วยกัน โดยการเขียนโปรแกรม Hello World ให้ไฟกระพริบ เป็นรูปหน้ายิ้ม และ รูปหน้าบึ้ง สลับกันไปมา ดังรูปด้านบนครับ

มาเริ่มลงมือทำกันเลย !

ขั้นที่ 1 : เปิด MakeCode

  1. เปิดเว็บบราวเซอร์ เข้าไปที่เว็บไซต์ https://makecode.microbit.org/
  2. สร้างโปรเจ็คขึ้นมาใหม่ (Create New Project)
    https://makecode.microbit.org/

ขั้นที่ 2 : เขียนโปรแกรม

2. ลากบล๊อกคำสั่ง Basic > Show leds มาวางไว้ในบล๊อกคำสั่ง forever

3. ในบล๊อกคำสั่ง Show leds ให้คลิกที่จุดที่ต้องให้ LED สว่าง ซึ่งในที่นี้เราจะทำเป็นหน้ายิ้ม กันก่อน

4. ลากบล๊อกคำสั่ง Basic > pause (ms) มาวางต่อจาก show leds

5. แก้ไขค่าตัวแปรให้เป็น “100” มิลลิวินาที (หรือ 0.1 วินาทีนั้นเอง)

6. คลิกขวาที่บล๊อก show leds แล้วเลือก Duplicate เพื่อทำการคัดลอกบล๊อกคำสั่งปัจจุบัน

7. ลากบล๊อกคำสั่ง show leds อันใหม่ (ที่เพิ่งคัดลอกมาในข้อ 6) มาวางต่อจาก pause (ms)

8. คลิกที่จุดที่ต้องการให้ LED สว่าง ซึ่งในบล๊อกคำสั่งนี้ เราจะทำรูป หน้าบึ้ง

ขั้นตอนที่ 3 ดาวโหลดโปรแกรมลงบอร์ด micro:bit

9. เปลี่ยนชื่อโปรเจค เป็นชื่ออะไรก็ได้ครับ (ในที่นี่ ผมตั้งชื่อว่า lab0-hellowmicrobit)

10. กด Download เพื่อบันทึกไฟล์และดาวโหลดไฟล์ ซึ่งเราจะได้ไฟล์นามสกุล .hex มาไว้ที่เครื่องเรา

11. เมื่อดาวโหลดเสร็จ ให้คลิกที่ปุ่ม Done ! เพื่อปิดหน้าต่าง

12. นำสาย Micro USB เสียบที่ micro:bit และต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

13. ที่คอมพิวเตอร์ของเรา จะมีไดร์ฟที่ชื่อ “MICROBIT” แสดงขึ้นมา โดยให้เราคลิกเข้าไปที่ไดร์ฟดังกล่าว

14. คัดลอก (ลากวาง) ไฟล์นามสกุล .hex ที่ดาวโหลดมาได้ มาไว้ที่ไดร์ฟ MICROBIT

ขั้นตอนที่ 4 ทดสอบ

  • เท่านี้ก็ได้ไฟกระพริบ หน้ายิ้ม/หน้าบึ้ง แล้วครับ

micro:bit 101

  • micro:bit 101–1. Hello, micro:bit !
  • micro:bit 101–2. เขียนโปรแกรมหน้ายิ้ม/หน้าบึ้ง !
  • micro:bit 101–3. เขียนโปรแกรม micro:bit บน Android
  • micro:bit 101–4. เขียนโปรแกรม micro:bit บน Apple iOS
  • micro:bit 101–5. โปรแกรมหัวใจกระพริบ (Flashing Heart)
  • micro:bit 101–6. โปรแกรมปุ่มกดหน้ายิ้ม (Smiley Button)
  • micro:bit 101–7. เกมส์เป่ายิงฉุบ (Rock-Paper-Scissors)
  • micro:bit 101–8. โปรแกรมอุณหภูมิ (Temperature)
  • micro:bit 101–9. โปรแกรมระดับความสว่างของแสง (Light Level)
  • micro:bit 101–10. โปรแกรมเสียง (Music)