ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่

จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว, น้ำหนัก, ส่วนสูง, และอายุ เป็นต้น
  2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัด และแสดงเป็นตัวเลขไม่ได้โดยตรง แต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติเชิงคุณภาพได้ (เป็นข้อความหรือตัวเลข) เช่น เพศ, ศาสนา, และคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ตัวอย่าง เรามีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับน้องหมาตัวนี้บ้าง

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data):

                          • น้องมี 4 ขา
                          • น้องมี 2 ตา
                          • น้องมี 2 หู

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data):

                          • น้องมีสีดำและสีน้ำตาล
                          • น้องมีขนยาว
                          • น้องเป็นเพศผู้

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ บุคคล เช่นผู้ให้สัมภาษณ์, ผู้กรอกแบบสอบถาม, เอกสารทุกประเภท, และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึงภาพถ่าย แผนที่ หรือแม้กระทั่งวัตถุ สิ่งของ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมมาโดยตรงจากแหล่งของข้อมูล เช่น การสอบถาม, การสัมภาษณ์, การทดลอง เป็นต้น
  2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งของข้อมูล แต่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของผู้อื่นที่ได้มีการทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว เช่น เอกสาร, รายงาน, หนังสือ, ข้อมูลที่หน่วยงานได้จัดทำไว้ เป็นต้น

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยทั่วไปสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายวิธี ได้แก่

  • การสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง สามารถมีได้หลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์โดยตรง, การใช้แบบสอบถาม, การทำโพล (Poll) เป็นต้น
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
  • การทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติจริงและสามารถกำหนดตัวแปรที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาได้
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
  • การสังเกต เป็นการสังเกตและจดบันทึกในสิ่งที่เราสนใจเอาไว้
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น หนังสือ, บทความ, เอกสารงานวิจัย เป็นต้น
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
    ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเภทข้อมูลและคำถามทางสถิติที่เราสนใจ โดยต้องคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้

    1. ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปตอบคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
    2. แหล่งข้อมูลเหมาะสมกับคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้ไหม
    3. จะดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร

การตั้งคำถามทางสถิติที่ดีน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ –> การตั้งคำถามทางสถิติ


ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

คำถามที่ 1 เด็กนักเรียนในโรงเรียนสิงโตวิทยาเดินทางมาโรงเรียนด้วยวิธีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การสังเกต และใช้แบบฟอร์มจดบันทึกในทุก ๆ เช้าด้านหน้าโรงเรียน

           ตัวอย่างเเบบฟอร์มจดบันทึก

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

 วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยทำแบบสอบถามเพื่อน ๆ ในโรงเรียนโดยการสุ่มเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 ตัวอย่างเเบบสำรวจ

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

คำถามที่ 2 ปริมาณของน้ำมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วหรือไม่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การทดลอง เช่น เราสามารถปลูกต้นถั่ว 3 ต้น โดยให้ปริมาณน้ำที่ต่างกันและบันทึกความสูงของต้นถั่วทุก ๆ สัปดาห์ เเล้วนำข้อมูลมาสรุปผลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

           วิธีที่ 2.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว ในกรณีที่มีคนเคยทดลองและมีแหล่งข้อมูลแล้ว

คำถามที่ 3 นักเรียนห้อง A ชอบสีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ    วิธีที่ 1.) การสำรวจ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถามโดยตรงกับนักเรียนในห้อง A

            วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ก็สามารถนำข้อมูลมาตอบคำถามทางสถิติที่เราตั้งไว้ได้

คำถามที่ 4 จำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนในแต่ละวันเป็นเท่าไหร่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว โดยการสอบถามบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน ในโรงเรียนส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะมีการเก็บข้อมูลการใช้งานห้องสมุดด้วยวิธีการต่าง ๆ ไว้อยู่แล้ว เช่น การใช้แผงกั้นสำหรับนับจำนวน, การเขียนชื่อในสมุดก่อนเข้าใช้ห้องสมุด, การแสกนบัตรนักเรียนก่อนใช้งาน เป็นต้น

 วิธีที่ 2.) การสังเกต โดยการนับจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วยตนเองแล้วจดบันทึก

คำถามที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   การทำแบบสอบถาม โดยอาจจะมีการประเมินเป็นระดับเกณฑ์ 1 ถึง 5 หรืออาจจะใช้เป็นระดับความพึงพอใจเช่น น้อย, ปานกลาง, มาก เป็นต้น


สุดท้ายนี้การเลือกใช้วิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่มีวิธีใดผิด หากจะต้องเก็บข้อมูลความสูงของต้นไม้ เราคงไม่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่หากเราจะเก็บข้อมูลความสูงของเพื่อนในห้องเราก็สามาถใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนทางสถิติที่มีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ได้รับเกิดความผิดพลาดน้อยก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปนำเสนอและวิเคราะห์ต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คลิปวิดีโอ การเก็บรวบรวมข้อมูล

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูล ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในโคลงโลกนิติ

หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบท     ความหมาย กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 3 ขั้นตอน

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลคืออะไร

การเก็บรวบรวมข้อมูล” หมายถึง กระบวนการที่จะทำให้ได้ข้อมูลมาเพื่อตอบสนองตามวัตถุประสงค์ การเก็บรวบรวบข้อมูลเริ่มต้นจากการวางแผนการเก็บเสียก่อน นักสถิติจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูล หรือค้นคว้าด้วยตัวเอง แล้วจึงทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว Exit.

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลมี 4 ขั้นตอน อะไรบ้าง

สำมะโน (Census) เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ.
การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey) ... .
การทดลอง (Experiment) ... .
เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว.

ขั้นตอนแรกของการรวบรวมข้อมูลคืออะไร

ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. กำหนดข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์หรือป ญหาการวิจัยว่ามี ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม รวมทั้งตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอะไรบ้าง นักวิจัยจะใช้อะไรเป น ตัวชี้วัดตัวแปรเหล่านั้นจึงจะสามารถได้ข้อมูลตามสภาพความเป นจริง

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล Data Collection.
กำหนดเป้าหมายในการรวบรวมข้อมูล จากวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายจากปัญหาของธุรกิจ หรืองานวิจัยที่ต้องการศึกษา.
ออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ.
ระบุกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสำรวจข้อมูล จำนวนการสำรวจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง รวมถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องสำรวจ.