นิยาม ของเศรษฐศาสตร์ 5 ข้อ

             ความอยากของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดตราบเท่าอายุขัย วันนี้อยากได้สิ่งนี้ วันต่อไปอยากได้สิ่งนั้น เป็นวัฏจักรหมุนเวียนอยู่ในวังวนแห่งความอยากนี้ ถึงแม้ว่าความอยากจะเป็นเรื่องที่ยากแก่การควบคุมของมนุษย์ปุถุชน แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องรู้เท่าทันในกิเลสเพื่อนำพาไปสู่การบริหารจัดการความอยากให้อยู่ในระดับที่พอประมาณ สมเหตุสมผล และสมดุลกับชีวิตของตัวเอง เพื่อก้าวให้ข้ามพ้นผ่านซึ่งกับดักแห่ง “ลัทธิบริโภคนิยม” ที่เชี่ยวกรากอยู่ในภาวะปัจจุบันนี้     

          �����㹤��ʵ�ȵ���ɷ�� 18 ʹ�� ��Է (Adam Smith) ��ʵ�Ҩ�����������Է����¡������ �����᡹�Ӣͧ�ѡ���ɰ��ʵ���ӹѡ�����ԡ (classical school) ����¹˹ѧ��ͪ��� An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations ���ͷ��������¡������� The Wealth of Nations � �.�. 1776 �Ѻ������繵������ɰ��ʵ�������á�������˭����ش ����˹�觢ͧ�š�Ҩ��֧�Ѩ�غѹ ��觷����ʹ�� ��Է���Ѻ�������Ѻ���¡��ͧ����� �Դ�����Ԫ����ɰ��ʵ�� �ǤԴ��ѡ�ͧ�ӹѡ�����ԡʹѺʹع�к����ɰ�ԨẺ���չ��� (laissez-faire) �¨ӡѴ���ҷ�ͧ�Ѱ���㹴�ҹ���ɰ�Ԩ�����դ�����������к����ɰ�ԨẺ���չ��� �з�������ȾѲ�������´� ���ɰ�Ԩ�ͧ����Ȩ��դ�����觤�觡���������Ѱ����á᫧�����պ��ҷ㹡Ԩ�����ҧ���ɰ�Ԩ�����·���ش��������á᫧��´շ���ش �Ѱ�����˹�ҷ����§�����ӹ�¤����дǡ �ѡ�Ҥ���ʧ����º���¢ͧ��ҹ���ͧ ��л�ͧ�ѹ����� ���������͡�� �繼����Թ�Ԩ�����ҧ���ɰ�Ԩ���ҧ���� ��蹤�� ʹ�� ��Է (Adam Smith) ����� ��ѧ����Ҥ� (��Ҵ)���� ��������¡��� ��ͷ���ͧ������ (invisible hand) �͡�ҡ��Է���ǹѡ���ɰ��ʵ��㹡�����ͧ �����ԡ�ѧ�շ���� ��ŷ�� (Thomas Multhus) ��Դ �Ԥ���� (David Ricardo) ���� ����� (John Mill)

ความหมายของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อผลิต บริโภค กระจาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจหรือสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีระเบียบ รู้จักใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีเป้าหมายต่างกันอันเนื่องจากหน่วยเศรษฐกิจต่างระดับกัน
ระดับผู้บริหารประเทศ ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ในการพิจารณาถึงการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่มีอย่างจำกัดนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ระดับประชาชน ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อ เป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกและตัดสินใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจประกอบอาชีพ หรือ ช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบ้านเมืองและวิธีแก้ไขของภาครัฐบาล
1. ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์
แบ่งเป็น 2 สาขา
1.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยหรือศึกษาเฉพาะกรณีเป็นเรื่อง ๆ เช่น การขึ้นราคาสินค้า การฟอกเงิน กฤติกรรมการบริโภค ของบุคคลในสังคม ฯลฯ
1.2 เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ปัญหาเงินเฟ้อ ฯลฯ
2. หน่วยเศรษฐกิจหรือผู้ประกอบการหมายถึง ผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการโดยเป็นผู้นำปัจจัยการผลิตซึ่งประกอบด้วย
2.1 ทุน Capital ทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สินค้า เครื่องจักร หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต
2.2 ที่ดิน Land หมายถึง แหล่งผลิตหรือทรัพยากรที่อยู่บนดิน ใต้ดิน และเหนือพื้นดิน
2.3 แรงงาน Labour หมายถึง การทำงานทุกชนิดที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ แรงงานนี้รวมถึง แรงงานด้านการใช้กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย
2.4 การประกอบการ Enterpreneurship หมายถึงผู้ผลิต ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยตรง เป็นผู้ให้ความริเริ่มในนโยบายต่างๆ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในส่วนสำคัญในอันที่จะทำให้ การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปัญหาพื้นฐานทางการผลิต
3.1 จะผลิตอะไร
3.2 จะผลิตอย่างไร
3.3 จะผลิตเพื่อใคร
เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด และสอดคล้องกับทรัพยากรของประเทศที่มีอย่างจำกัด ประเทศใดสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาพื้นฐานดังกล่าว โดยถือการกินดี อยู่ดีของประชาชนในประเทศเป็นเกณฑ์วัด แสดงว่าประเทศนั้นประสบความสำเร็จต่อปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

1. ยามนักเรียน ม.6 มาสอบสัมภาษณ์เข้าเรียน คำถามหนึ่งที่เรามักถามนักเรียนว่า สนใจมาสมัครเรียนที่นี่ ทราบหรือไม่ว่า เรียนเกี่ยวกับอะไร คำตอบจากนักเรียนหลายคน ส่วนใหญ่คล้ายกัน “เศรษฐศาสตร์ คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ซึ่งคือนิยามตามตำราเศรษฐศาสตร์ และ สาระเศรษฐศาสตร์ ในหนังสือเรียนมัธยมปลาย เมื่อขอให้นักเรียนช่วยขยายความบางคำ เช่น “ทรัพยากร” “ประโยชน์” “ความจำกัดขาดแคลน” ก็ได้คำอธิบายและความเข้าใจ ต่างกันไปบ้าง

2. “นิยามวิชาเศรษฐศาสตร์” มาจากไหน มาจาก Lionel C. Robbins (2441-2527) แห่ง London School of Economics ในหนังสือ An Essay on the Nature and Significance of Economic Science พิมพ์ครั้งแรก ปี 1932 ครั้งที่สอง ปี 1935 บรรณาธิการของวารสาร Economica ได้ออกฉบับพิเศษ Vol. 76, Issue Supplements 1, October, 2009. ตีพิมพ์บทความ 7 เรื่อง ที่ได้นำเสนอในงานประชุมวิชาการ “ครบรอบ 75 ปี หนังสือของ Robbins” (10-12 December, 2007) เนื้อหาบทความต่างๆ ครอบคลุมความเป็นมา, การอภิปรายแง่มุมทฤษฎี, วิธีวิทยา (Methodology) และ มุมมองต่างๆ ของ Robbins ผมอ่านเรื่องหนึ่ง เขียนโดย Roger E. Backhouse and Steve G. Medema เป็นเรื่องเกี่ยวกับ คำนิยามโดย Robbins เรื่อง “Defining Economics: The Long Road to Acceptance of the Robbins Definition.” (หน้า 805-820) ทำให้ทราบว่า กว่าวงการจะยอมรับนิยามนี้ มีเส้นทางวิบากอันยาวไกล เมื่อนับจาก 2475 ถึงวันนี้ ใกล้ล่วง 90 ปีแล้ว และ ยังมีนิยามอื่นๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคน ส่งเข้าประชัน ชี้ให้เห็นว่า นิยามโดย Robbins ไม่สะท้อนภาพวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่เพียงพอ ผู้เขียนบทความ ค้นหลักฐานต่างๆในรอบหลายสิบปี จากผู้ Review หนังสือของ Robbins ไว้ในวารสารต่างๆยุคนั้น, นิยามในตำราที่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์ท่านอื่น และ บทความที่เกี่ยวข้อง มาถึงปัจจุบัน ผมจับใจความคร่าวๆ มานำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่าน ได้ทราบความเป็นมา และสาระโดยย่อ เริ่มจาก คำนิยามของ Robbins (1932, p. 15) “Economics is the science which studies human behaviour as a relationship between ends and scarce means which have alternative uses.” “เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของคน ในการใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปในหลายทางเลือก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ”

3. มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ตำรารุ่นก่อน ยังให้ความสำคัญว่า “เศรษฐศาสตร์ ศึกษาถึงการผลิต, การเพิ่มพูนความมั่งคั่ง และสวัสดิการสังคม” อยู่เลย แปลว่า นิยามโดย Robbins ลดทอนเหลือเพียง การมีสิ่งอยู่อย่างจำกัด แล้วตัดสินใจให้เหมาะแก่ภาวะนั้นๆ ซึ่งหนีไม่พ้น ที่ต้องอธิบายเกาะกุมอยู่กับ “คนเรามักตัดสินใจ แบบมีเหตุมีผลเสมอ (Rational Choice)” ซึ่งจากองค์ความรู้ในยุคหลัง ยืนยันว่า “ไม่ เสมอไป” เมื่อหันมาดูพัฒนาการแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในตอนนี้ ได้ล่วงล้ำไปสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ถึงคราวหลายคน จะย้อนกลับมาดู คำนิยามเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมว่า มีอะไรบ้างที่ Robbins ละเลยไป ผู้เขียนบทความ ได้ค้นคว้าหลักฐานต่างๆ เพื่อหาสิ่งที่ถูกละเลยไป มานำเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบความเป็นมา (รวมถึงประเด็นอื่นจากบทความที่เหลืออีก 6 เรื่องในฉบับ) ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก ที่วารสาร Economica ออกฉบับพิเศษ เพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ ผู้เขียนบทความยอมรับว่า นิยามโดย Robbins เห็นชัดเจนว่า ถูกต้องอยู่ (self-evidently correct) ที่สะท้อนทั้งระดับบุคคล และ ระดับสังคมใดๆ ล้วนเผชิญปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ แต่ยังไม่ครอบคลุมพอ ถึงได้มีนิยามอื่นๆ มาประชันจากหลายคน อย่างแรก คำนิยาม ช่างขัดกับความรู้สึกกับภาวะในช่วงนั้น จึงล้อกันว่า Robbins เขียนนิยามขึ้นมา โดยให้ความสำคัญเรื่อง “ความจำกัดขาดแคลน” ในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก มันจะมีภาวะขาดแคลน ได้อย่างไร ในเมื่อมีแต่โรงงาน เครื่องจักร ถูกทิ้งร้าง และ คนงาน ว่างงานล้นหลาม การที่ Robbins เขียนคำนิยามวิชาด้วยภาวะจำกัดขาดแคลน เป็นมายาคติ หรือไม่ (Myth) (p.806) แล้วเป็นเรื่องแปลกอยู่ ที่กว่าวงการจะเริ่มยอมรับคำนิยามนั้น จนเวลาล่วงเข้าทศวรรษ 1960s แต่ก็ ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ทั่วไป ต่อมาผู้เขียนบทความ นำเสนอข้อถกเถียง ในประเด็นต่างๆ จากมุมมองของ Robbins เช่น ตัวเป้าหมายใดๆ (ends) ในสังคมนั้น ไม่ใช่งานของเศรษฐศาสตร์ เพราะเจือไปด้วยหลายมิติ ส่วนที่เป็นงานหลักทางเศรษฐศาสตร์ คือ จะใช้วิธีที่มีอยู่ (scarce means) อย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ แต่เรื่องตัวเป้าหมายใดๆนั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบาย (Policy-Maker) ได้พิจารณากำหนด ผู้เขียนสำรวจความเห็นของผู้ Review ในยุคนั้นพบว่า มีไม่เห็นด้วยหลายคน ยกตัวอย่าง ความเห็นจาก Dobb (p.807) เช่น เราจะไม่ดูบรรทัดฐาน (Norms) และ เป้าหมายที่ควรจะเป็นต่อสังคม บ้างหรือ ถ้าเช่นนั้น งานของเราก็จะมัวหาแต่วิธีการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่ถูกกำหนดมาแล้ว (given purposes) เท่านั้นหรือ แล้วเราจะได้แต่ข้อเสนอทางทฤษฎี (Corollaries) ทั้งที่งานของเราเน้นศึกษาข้อเท็จจริง และประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่มีในนั้น คำนิยามของ Robbins ก็มิได้สะท้อนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด (Economic Science as a whole)

4. ผมขอยกตัวอย่างนิยามอื่นๆ เช่น ตำรารุ่นก่อนหน้า Robbins โดย Alfred Marshall (1920) ปรมาจารย์เศรษฐศาสตร์จุลภาค บอกว่า “เศรษฐศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวการตัดสินใจต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนเรา” (A study of mankind in the ordinary business of life.) ตำราของ Sumner Schlichter ระบุว่า เป็นการศึกษา “วิถีปฏิบัติ และ ความสัมพันธ์อันซับซ้อนของมนุษย์” (A complex of human practices and relationships.) มีเพียงตำราของ Fairchild et tal (1926) เท่านั้น ที่ใกล้เคียงของ Robbins (The science of man’s activities devote to obtaining the material means for the satisfaction of his wants.) เมื่อตำราเหล่านี้มีการปรับปรุง แล้วพิมพ์ขึ้นใหม่ แต่ไม่มีเล่มใด ใช้นิยามตาม Robbins เลย มีตำราของ Paul Samuelson (1948) ให้นิยามไปแนวเดียวกับ Robbins และเห็นว่า แม้เกิดการว่างงานมากมาย ก็สะท้อนถึงภาวะทรัพยากรมีความจำกัดขาดแคลน ได้เหมือนกัน แต่ไม่ได้อ้างอิง Robbins แต่เน้นคำอธิบาย “สังคม จะผลิตอะไร-ผลิตอย่างไร -ผลิตเพื่อใคร (What? How? For Whom?)” ซึ่งสะท้อนถึงการผลิต และกระจายความมั่งคั่งทางสังคม ดังแนวตำรารุ่นก่อน ส่วนตำราของ Stigler ให้นิยามชัดเจน ด้วยมีความจำกัดขาดแคลน ต้องมีการจัดการ เพื่อให้สังคมบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ มีอีก 2 เล่ม ให้นิยามเน้นถึงภาวะจำกัดขาดแคลนว่า เป็นปัญหาสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ ส่วน McConnell (1969) และ Lipsey (1971) ได้ให้คำนิยามที่ต่างไปจาก Robbins นักเศรษฐศาสตร์ระดับตำนานอย่าง Milton Friedman (1962) เพื่อนของ Stigler สังกัดมหาวิทยาลัย Chicago ด้วยกัน เห็นว่า แนวคิดเรื่องความจำกัดขาดแคลนทรัพยากร กับการจัดสรรให้บรรลุเป้าหมายต่างๆนั้น มีลักษณะทั่วไปเกิน เกินที่จะคิดว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นเจ้าเข้าเจ้าของ (This is ‘a very general’ conception, one that ‘goes beyond matters obviously thought of as belonging to economics’.) แต่ผู้เขียนบทความตั้งข้อสังเกตว่า แม้แต่ในตำราของ Friedman เอง ที่ยกตัวอย่างเรื่องการจัดสรรเวลายามว่าง ซึ่งดูแปลกไปสักหน่อยสำหรับยุคนี้ ก็ดูพยายามอธิบายให้เป็นเรื่องทั่วไป (Generality) ที่เกินไป เหมือนกัน ในตอนท้ายๆบทความ ผู้เขียนเห็นว่า แม้นิยามโดย Robbins เริ่มเป็นที่ยอมรับ เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 1960s แต่เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐศาสตร์กำลังขยายองค์ความรู้ใหม่ๆ ตั้งแต่ 1960s, 1970s เรื่อยมา โดยผู้บุกเบิกสำคัญ เช่น Gary S. Becker, Ronald H. Coase, James M. Buchanan จึงได้ความรู้ใหม่ ที่ผสานสาขาอื่น เช่น สังคมและมานุษยวิทยา, กฎหมาย, บทบาทสถาบันการเมือง ขยายเป็นสหวิทยาการ มากขึ้น จนทั้ง 3 คนได้รับรางวัล Nobel แน่นอนว่า ทั้ง 3 คนได้เขียนนิยาม เศรษฐศาสตร์ ในมุมที่กว้างกว่า Robbins ที่เน้นถึงการศึกษาระบบตลาด, การแลกเปลี่ยน, และ บทบาททางสถาบันในสังคม มีคำนิยามหนึ่งที่อ้างถึงกันบ่อยๆ คือ Jacob Viner กล่าวแบบเถรตรง ว่า “เศรษฐศาสตร์ คือ สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ ทำ” (‘what economists do’) ซึ่ง Becker เห็นว่า การที่ Viner บอกเช่นนั้น ไม่เชิงหมายจะให้เป็นนิยามจริงๆ แต่เป็นปัญหาเชิงสัญลักษณ์ต่างหาก (emblematic of the problem) ที่ชี้ว่า เราจะมีปัญหาเสมอ ในการให้คำนิยามศาสตร์ ที่ตลอดเวลามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นั่นเอง แล้วไม่มีศาสตร์ใดๆ ที่เราจะสามารถเขียนคำนิยามให้ครอบคลุมได้เพียงพอ Becker เห็นว่า “เศรษฐศาสตร์ เป็นวิธีใช้ทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์” “The economic approach to human behavior.” อ่านแล้วดูเหมือนเป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ก็ว่าได้ แต่เมื่อ Becker ขยายความ “วิธี” ใช้วิเคราะห์ปัญหา ซึ่งอาจดูไกลสักหน่อย สำหรับผู้ที่ต้องการทราบเบื้องต้นว่า เศรษฐศาสตร์ คืออะไร แต่ไหนๆ ผมยกมาแล้ว ขอนำเสนอความเห็น Becker เผื่อมีผู้สนใจ เขาขยายความว่า “วิธีแบบเศรษฐศาสตร์” ที่เป็นหัวใจในการทำเข้าใจพฤติกรรมคนเรา คือ การใช้สมมติฐาน (Assumptions) เรื่อง “พฤติกรรมการเพิ่มให้มากที่สุด (Maximizing Behavior), ภาวะดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium) และ แบบแผนความพึงใจที่ชัดเจนแน่นอน (Stable Preferences)” นำมาร่วมใช้วิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา และให้ยืนหยัดในการใช้สมมติฐานเหล่านี้ ไปวิเคราะห์ปัญหา (p.814)

5. ทั้งหมดนี้เป็นเพียงสาระจากบทความโดยย่อ ซึ่งพอจะทำให้ผู้อ่าน ทราบว่า นิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ของ Robbins มิได้ยอมรับกันเป็นเอกฉันท์ เมื่อผู้เขียนบทความ สุ่มดูตำราเศรษฐศาสตร์ที่มีมากมายในปัจจุบัน พบว่า บางส่วนยังให้น้ำหนักเรื่องความจำกัดขาดแคลนทรัพยากร คือ หัวใจสำคัญของเศรษฐศาสตร์ ตามนิยามของ Robbins แต่ก็เพิ่มส่วนผสมแนวคิดอื่นกลมกลืนไปด้วย แล้วที่เรายังเห็นว่า ตำราเหล่านั้น ยังคงเรื่องความจำกัดขาดแคลนเป็นหนึ่งในนั้น อาจเป็นเพราะต้องการให้ผู้ที่เพิ่งมาศึกษาเศรษฐศาสตร์เริ่มแรก ได้มองเห็นภาพว่า เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับอะไร ก็เป็นได้ ผมเห็นว่า การเริ่มต้นด้วยความจำกัดขาดแคลน เป็นประโยชน์อยู่ไม่น้อย เพราะช่วยให้ นักเรียน นักศึกษา มองภาพออกและมีความเข้าใจพื้นฐาน ดังผู้เขียนยกตัวอย่าง ตำราของ Krugman and Wells (2004) ยังนิยามกว้างๆว่า “เศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษาระบบเศรษฐกิจ (The study of economies.)” จากนั้น จึงค่อยขยายความมากขึ้น ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ขอเชิญชวนอ่านต้นฉบับ ผู้เขียนได้แจกแจงที่มาที่ไปได้ละเอียดลออ ในฉบับเดียวกันยังมีบทความ โดยนักเศรษฐศาสตร์ท่านอื่นอีก 6 เรื่อง

นิยามของเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง

โดยสรุป เศรษฐศาสตร์หมายถึง - การตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง มาใช้ผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดที่สุด หรืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด - การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุดแก่สังคม

เศรษฐศาสตร์ หมายถึงอะไร pantip

เศรษฐศาสตร์มีนิยามที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (โดยเปรียบเทียบกับความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์) ให้เกิดประโยชน์ (ในทางเศรษฐศาสตร์ใช้คำว่าสวัสดิการ) สูงที่สุด นิยามนี้เป็นอะไรที่กินความหมายกว้างมาก และแสดงให้เห็นว่าในความเป็นจริงคนเราก็แทบเป็นนักเศรษฐศาสตร์โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ...

ความสําคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ มีอะไรบ้าง (มี 4 ข้อ) *

- เข้าใจโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและ หาแนวทางการแก้ไขปัญหา 1. ช่วยให้การจัดทรัพยากรมี ประสิทธิภาพสูงสุดและยุติธรรม 2. เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่จะช่วย ให้เข้าใจเหตุการณ์และปัญหา เศรษฐกิจในชีวิตประจาวัน 3. ให้ความรู้พื้นฐานอันเป็นประโยชน์ ในการประกอบอาชีพ 4. ช่วยให้ประชากรของ ...

ข้อใดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค

1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) ศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล/ แต่ละหน่วยเศรษฐกิจ - พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า - พฤติกรรมผู้ผลิตในการกาหนดราคาและปริมาณการผลิต