เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) เป็นภาวะที่สมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยง โดยเกิดการหนาตัวของผนังหลอดเลือดจากการมีไขมันมาสะสมตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไหลผ่านไปได้น้อยลง ซึ่งถ้าเกิดการสะสมและหนามาก จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดความเสียหายต่อบริเวณนั้น ๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายได้   ซึ่งในบางรายอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีอาการผิดปกติ เช่น ตามองไม่เห็น ชาครึ่งซีก เป็นต้น แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เกิดจาก

  • ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบและขาดความยืดหยุ่น 
  • เกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
  • เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กแข็งตัวและเกาะที่ผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ จากนั้นหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง

เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน
เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน

อาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน โรคเส้นเลือดสมองตีบมักพบอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว
  • อัมพาตครึ่งซีก ใบหน้าบิดเบี้ยว สื่อสารไม่ได้
  • เสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว เช่น รู้สึกชาตามตัว แขนขาอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ และเดินเซ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง มักมีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดและกีดขวางการลำเลียงของเลือด ส่งผลทำให้เลือดแข็งทั่วร่างกาย
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะในกลุ่มนี้มีน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกายได้เช่นกัน
  • การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เพราะพวกนี้จะมีนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวที่ทำลายผนังหลอดเลือด
  • ครอบครัวที่เคยมีประวัติเส้นเลือดในสมองตีบ
  • ผู้สูงอายุ เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมตามไปด้วย

แนวทางการรักษาและวิธีการป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ

การรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบ สามารถรักษาได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์  ซึ่งบางรายสามารถใช้ยาบรรเทาอาการได้ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด การกินยาต้านเกล็ดเลือด รวมไปถึงฟื้นฟูให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ตามปกติ  เป็นต้น

การป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ สามารถป้องกันได้แบบง่าย ๆ ได้หลากหลายวิธีเช่น การกินยาควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  การรักษาความดันโลหิต ควบคุมน้ำหนักและรูปร่างให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เป็นต้น

หากเริ่มสงสัยว่าตัวเองเริ่มมีอาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อการรักษาที่รวดเร็วและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตเฉียบพลัน

     โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Stroke) คือโรคที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดสมอง ได้แก่  แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด วิงเวียนศีรษะหรือเดินเซ หมดสติ

     ชนิดของโรค

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน เกิดจาก “ลิ่มเลือด” ไปอุดหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้ขาดเลือด ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน เกิดการตายของเนื้อสมอง

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เกิด “ก้อนเลือด” ไปกดเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ

     การตรวจวินิจฉัย

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันโรค ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI brain)

     แนวทางการรักษา แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

ต้องทำการเปิดหลอดเลือดอย่างเร่งด่วนสามารถทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการ ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามของการรักษา

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก

ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมระบบประสาท เพื่อวางแผนการรักษาว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่

เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน

ภาพโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน

ภาพโรคหลอดเลือดสมองแตก

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

วิธีที่ 1 การให้ “ยาสลายลิ่มเลือด” (rt-PA) ทางหลอดเลือดดำ

เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา โดยแพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือดทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดออกซิเจนได้ทันเวลา

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

ได้รับยา

ไม่ได้รับยา

ความพิการน้อยลงจนแทบไม่มี

43 %

26 %

มีความพิการและต้องมีคนดูแล

40 %

53 %

โอกาสเลือดออกในสมอง

7 %

0.6 %

โอกาสเสียชีวิต

17 %

21 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • เลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือบริเวณอื่นๆ
  • ผู้ป่วย 1 ใน 100 ราย มีโอกาสแพ้ยารุนแรง
  • ผู้ป่วย 7 ใน 100 ราย มีโอกาสเลือดออกในสมอง

วิธีที่ 2 การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) และ/หรือให้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหรือแดงตามข้อบ่งชี้

เมื่อมีอาการหลอดเลือดแดงสมองขนาดใหญ่ตีบหรืออุดตัน แพทย์จะใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปตามหลอดเลือดจนถึงหลอดเลือดสมองบริเวณที่มีการอุดตันของลิ่มเลือด และทำการลากหรือดูดลิ่มเลือดออกเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

ได้รับการรักษา

โอกาสเปิดหลอดเลือดสมองสำเร็จ

80 %

กลับมาใช้ชีวิตปกติ

50 - 60 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • หลอดเลือดฉีดขาดหรือเลือดออกจากสมองน้อยกว่า 5%

ในกรณีผู้ป่วยและญาติได้พิจารณาข้อดี/ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาแล้วไม่เลือกรับการรักษาทั้ง 2 วิธี ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาตามอาการ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดตามมา และจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด และการทำกายภาพบำบัด

เส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากสาเหตุอะไร

พบได้บ่อยถึง 85% ของโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 15% ของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตก ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้

เส้นเลือดในสมองแตกรักษาอย่างไร

การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง

เส้นเลือดในสมองแตกสามารถหายได้ไหม

โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมองปริมาณน้อย อาจไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด แต่ให้การรักษาแบบประคับประคองได้ และหลังจากรับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน

เส้นเลือดในสมองตีบ ทำยังไง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาในปัจจุบัน ด้วยวิธีการนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองออกผ่านทางสายสวน เพื่อเปิดหลอดเลือดให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองได้ ซึ่งเป็นการรักษาในผู้ป่วยที่มีสภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ ...