ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ มมส. สถาปนาขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม 2511 แยกตัวจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามมีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่รวมประมาณกว่า 1,300 ไร่

ปัจจุบันเปิดดำเนินการเรียนการสอนครบรอบ 49 ปี โดยมีการจัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 9 รูป ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา 49 ปี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิต และนักเรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อความเป็นสิริมงคล

ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้จัดแถลงโชว์ผลงานวิจัยที่โดดเด่นในปี 2560 ในงานประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13 :From Local to Global in the Context of Thailand 4.0 : จากท้องถิ่นสู่สากลในบริบทประเทศไทย 4.0” ว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการใช้งานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสังคมและชุมชน ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชนโดยยึดวิสัยทัศน์ จากท้องถิ่นสู่สากล ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สมัยใหม่ เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความเป็นสากลในรอบปีที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่โดดเด่นที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน รวมถึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในอนาคต

อธิการบดี กล่าวเพิ่มเติมว่าในแต่ละปี นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ทั้งที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อยอดในอนาคต และงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

สำหรับ10 ผลงานวิจัยเด่นมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปี 2560 ได้แก่ 1. เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยระบบรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรมาศ เลาหวณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. หม้อผลิตไอน้ำประสิทธิภาพสูงเพื่อนึ่งก้อนเชื้อเห็ด ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภา แคนสี คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3. เครื่องกระเทาะและทำความสะอาดถั่วดาวอินคา ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณ ยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์    4. เคหะภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบศิริ แซ่ลี้ คณะวิทยาการสารสนเทศ 5. การออกแบบแผ่นบันทึกข้อมูลและหัวอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จุรีมาศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี จุรีมาศ คณะวิทยาศาสตร์  6. การผลิตพลาสติกชีวภาพ ผลงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ยอดธง ใบมาก คณะวิทยาศาสตร์ 7. กรรมวิธีการผลิตสารสกัดตรีผลา ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสบอร รินทอง คณะเภสัชศาสตร์ 8. ผลิตภัณฑ์อาหาร Low-GI ผลงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริธร ศิริอมรพรรณ 9. เซรั่มบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของโปรตีนไหมและสารสกัดจากถั่งเช่า ผลงานวิจัยของ รศ.ดร.วัลยา สุทธิขำ คณะวิทยาศาสตร์ และ10. การจำแนกพยาธิ diphyllobothriidean อย่างรวดเร็ว ผลงานวิจัยของ รศ. ดร.ต้องจิตร ถันชมนาง และคณะ คณะแพทยศาสตร์

ล่าสุดจากการจัดอันดับ University Ranking by Academic Performance หรือ URAP เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ผลปรากฏว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่อันดับที่ 16 ของประเทศไทย อันดับที่ 658 ของเอเชีย และอันดับที่ 1918 ของโลก ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม B จากตัวชี้วัดในการจัดอันดับ URAP 2016-2017 วิเคราะห์ข้อมูลจาก 6 ด้าน ประกอบด้วย Article 15.51 คะแนน, Citation 20.22 คะแนน, Total Documents 9.23 คะแนน, Article Impact Total 14.90 คะแนน, Citation Impact Total 9.99 คะแนน และ International Collaboration (20.30) รวมทั้งหมด 90.14 คะแนน

อย่างไรก็ตาม มมส.ยึดมั่นในปณิธานที่ตั้งไว้โดยมุ่งมั่นในการสั่งสมแสวงหาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผสมผสานกับวิทยาการที่เป็นสากลให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาสามารถพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรมและคุณธรรม

กำหนดพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์  ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน-ธันวาคม  ผู้นิพนธ์ทุกท่านสามารถส่งเรื่องมาพิมพ์ได้ โดยไม่ต้องเป็นสมาชิก และไม่จำเป็นต้องสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผลงานที่ได้รับการพิจารณาในวารสารจะต้องมีสาระที่น่าสนใจ เป็นงานที่ทบทวนความรู้เดิม หรือองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย รวมทั้งข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และจะต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนและไม่ อยู่ในระหว่างพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารใด บทความอาจถูกดัดแปลง แก้ไข เนื้อหา รูปแบบ  และสำนวน ตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควรทั้งนี้เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐาน สากลและนำไปอ้างอิงได้

ปีที่ 41 ฉบับที่ 6 (2022): Journal of Science and Technology Mahasarakham University

ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส

ดูทุกฉบับ

Indexed in

ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส


TCAS66 รอบ 1 : ม.มหาสารคาม 2 โครงการ

พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

  • ·
  • ·
  • ·
  • ·
  • ·
  • ·

มาแล้วค่ะ รับตรงรอบ Portfolio จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่ 2 โครงการแรกนี้ เป็นโครงการที่น้องๆ จะต้องได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียนก่อน โดยจะมีโครงการเด็กดีมีที่เรียน และ โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งทั้ง 2 โครงการ จะมีการกำหนด GPAX ขั้นต่ำเอาไว้ด้วย ไปดูรายละเอียดกันเลยค่ะ

ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
2 โครงการรอบ Portfolio ม.มหาสารคาม รับรวมกว่า 1,400 ที่นั่ง

โครงการเด็กดีมีที่เรียน รับรวม 1,062 ที่นั่ง

*เลือกได้ 1 สาขา

คณะที่เปิดรับสมัคร

  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยี
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
  • คณะการบัญชีและการจัดการ
  • คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • คณะนิติศาสตร์

คุณสมบัติ

  • อยู่ ม.6 โรงเรียนทั่วประเทศ
  • มี GPAX, GPA, หน่วยกิต ขั้นต่ำตามที่กำหนด
  • ต้องเป็นนักเรียนที่เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ และมีหนังสือรับรองจากโรงเรียน
  • เป็นนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากโรงเรียน สาขาวิชาละ 1 คนต่อ 1 โรงเรียนเท่านั้น
  • มีแฟ้มสะสมผลงาน Portfolio ด้านคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ ร่วมกิจกรรมการให้บริการแก่สังคม และ/หรือ เอกสารเฉพาะ ตามที่คณะกำหนด

เกณฑ์คัดเลือก

  • ส่วนที่ 1 พิจารณาจากผลการเรียน GPAX และ/หรือ GPA และ/หรือ หน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้ขั้นต่ำ ตามที่คณะ/สาขา กำหนด
  • ส่วนที่ 2 สอบสัมภาษณ์แบบออนไลน์ และการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน Portfolio
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส

กำหนดการรับสมัคร

  • 15-26 ก.ย. 65 โรงเรียนคัดเลือกนักเรียน สาขาวิชาละ 1 คน ต่อ 1 โรงเรียน
  • 20-26 ก.ย. 65 ระบบเปิดรับสมัคร โดยคนที่จะสมัครได้ต้องเป็นนักเรียนที่ได้รับคัดลเอก
  • 20-29 ก.ย. 65 ตรวจสอบสถานะการชำระเงิน
  • 6 ต.ค. 65 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ โครงการเด็กดีมีที่เรียน
  • 11 ต.ค. 65 สอบสัมภาษณ์
  • 12 ต.ค. 65 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
  • 7-8 ก.พ. 66 ยืนยันสิทธิ์ ในระบบ myTCAS
  • 9 ก.พ. หรือ 6 พ.ค. 66 สละสิทธิ์ช่วงที่ 1 สำหรับผู้ยืนยันสิทธิ์ในรอบที่ 1

รายละเอียด 

  • ระเบียบการ คลิก

โครงการส่งเสริมผู้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ รับ 443 คน

*สมัครได้ 1 สาขาวิชา

คณะที่เปิดรับสมัคร

  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยี
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
  • คณะการบัญชีและการจัดการ
  • คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • คณะนิติศาสตร์

คุณสมบัติ

  • อยู่ ม.6 โรงเรียนทั่วประเทศ
  • มี GPAX, GPA, หน่วยกิต ขั้นต่ำตามที่กำหนด
  • ต้องเป็นนักเรียนที่ผลงาน หลักฐาน แสดงความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีหนังสือรับรองจากโรงเรียน
  • เป็นนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากโรงเรียน สาขาวิชาละ 2 คนต่อ 1 โรงเรียนเท่านั้น
  • มีแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ เอกสารเฉพาะ ตามที่คณะ/สาขา กำหนด

เกณฑ์คัดเลือก

  • ส่วนที่ 1 พิจารณาจากผลการเรียน GPAX และ/หรือ GPA และ/หรือ หน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้ขั้นต่ำ ตามที่คณะ/สาขา กำหนด
  • ส่วนที่ 2 สอบสัมภาษณ์แบบออนไลน์ และการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน Portfolio
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส
ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส

กำหนดการรับสมัคร

  • 15-26 ก.ย. 65 โรงเรียนคัดเลือกนักเรียน สาขาวิชาละ 2 คน ต่อ 1 โรงเรียน
  • 20-26 ก.ย. 65 ระบบเปิดรับสมัคร โดยคนที่จะสมัครได้ต้องเป็นนักเรียนที่ได้รับคัดลเอก
  • 20-29 ก.ย. 65 ตรวจสอบสถานะการชำระเงิน
  • 6 ต.ค. 65 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ โครงการเด็กดีมีที่เรียน
  • 11 ต.ค. 65 สอบสัมภาษณ์
  • 12 ต.ค. 65 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
  • 7-8 ก.พ. 66 ยืนยันสิทธิ์ ในระบบ myTCAS
  • 9 ก.พ. หรือ 6 พ.ค. 66 สละสิทธิ์ช่วงที่ 1 สำหรับผู้ยืนยันสิทธิ์ในรอบที่ 1

รายละเอียด

  • ระเบียบการ คลิก
เว็บไซต์รับสมัคร

 

  • #TCAS
  • #TCAS66
  • #tcas66 ม.มหาสารคาม
  • #ม.มหาสารคาม รอบ Portfolio
  • #รอบพอร์ต ม.มหาสารคาม

17/09/65 10:00 น.

6,389

views

Facebook Twitter Line

ความเป็นเลิศทางวิชาการ มมส

พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า