การ ปฏิบัติ ตน ตาม กฎหมาย ใน ชีวิต ประจํา วัน

การ ปฏิบัติ ตน ตาม กฎหมาย ใน ชีวิต ประจํา วัน

กฎหมายเป็นกลไกสำคัญมากอย่างหนึ่งในการควบคุมสังคมให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข กฎหมายถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมทุกอย่างในชีวิตประจำวันเลยทีเดียว เพื่อให้กฎหมายถูกบังคับใช้อย่างถูกต้อง จึงมีวลีกล่าวว่า ประชาชนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพื่อให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องพื้นฐานกฎหมายที่ประชาชนทั่วไปต้องรู้มีเรื่องอะไรบ้าง

กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฏร์

การเกิด แก่ เจ็บตาย นอกจากจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับประชาชนทุกคนแล้ว ยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแบบที่เราต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วย เริ่มจากการเกิด เมื่อมีคนเกิดขึ้นในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งเกิดกับทางอำเภอภายใน 15 วันที่เกิด การแจ้งเกิดมีความสำคัญมากต่อเด็กเอง เพื่อให้เด็กได้รับเลขประจำตัวประชาชนเอาไว้อ้างอิง เมื่อก่อนอาจจะต้องไปแจ้งที่อำเภอ แต่หากเป็นโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพทางโรงพยาบาลจะมีมุมให้เราแจ้งเกิดได้เลย สองกรณีมีคนตายต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากยืนยันได้ว่าเสียชีวิตแล้ว อาจจะต้องมีการแนบใบรับรองแพทย์ด้วย สามการย้ายบ้านเราสามารถย้ายบ้านปลายทางได้เองเลย หรือ เจ้าบ้านต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วันว่ามีคนในบ้านย้ายออก

กฎหมายบัตรประชาชน

บัตรประชาชนเป็นเอกสารราชการที่สำคัญมาก เราทุกคนต้องทำ และเข้าใจถึงความสำคัญของมัน การทำบัตรประชาชนจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 7 ปี ที่สำนักงานอำเภอใกล้บ้าน หากบัตรประชาชนสูญหาย หรือ ชำรุด ต้องไปแจ้งขอทำใหม่ภายใน 30 วัน (หากเป็นบัตรชำรุด เอาบัตรที่ชำรุดไปด้วย กรณีบัตรหายต้องไปแจ้งตำรวจเอาไว้ด้วย เพื่อเป็นหลักฐานป้องกันตัวเองกรณีมิจฉาชีพเอาบัตรไปทำธุรกรรมผิดกฎหมาย) หากบัตรหมดอายุต้องไปทำใหม่ (ฟรี)

กฎหมายจราจร

การใช้รถใช้ถนน เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อทุกคน เพราะว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกัน ดังนั้นต้องรู้จักกฎจราจรเพื่อไม่ให้ตัวเองทำผิดจนอาจจะเกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและบุคคลอื่นได้ กฎหมายจราจรที่สำคัญก็จะมี การขับขี่ไม่ควรเกิดความเร็วที่กำหนด(90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) การไม่จอดในที่ห้ามจอด, ไม่แซงซ้าย, ไม่ขับรถย้อนศร, ไม่ปฏิบัติตามป้ายสัญญาณจราจร เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการใช้กฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันภัย การต่อภาษี เรื่องเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นต้องรู้

กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร

ทหาร เป็นอีกหนึ่งหมุดสำคัญของชายไทยทุกคน เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี จะต้องดำเนินกิจการทางทหารให้เรียบร้อย เริ่มจากการแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือน พฤศจิกายน ของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี ที่สัสดีอำเภอ ตามทะเบียนบ้านของตัวเอง โดยยึดให้ทะเบียนบ้านตัวเองเป็นภูมิลำเนาทหารด้วยในตัว จากนั้นก็จะต้องเข้ารับการคัดเลือกทหารเกณฑ์ตามลำดับ จะสมัครใจเป็นทหาร หรือ จะจับใบดำใบแดง ก็ได้ ส่วนการยกเว้นอื่นก็สามารถทำได้ตามกำหนด เช่น การเรียน รด., การสอบบรรจุข้าราชการอื่น, บุคคลที่ร่างกายไม่สมประกอบ เป็นต้น เรื่องนี้ต้องศึกษาให้ดี อย่าหนีทหาร เพราะอาจจะทำให้ตัวเองและครอบครัวเดือดร้อนกันได้หมด

กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน

ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับปืน ออกมาเยอะมาก ดังนั้นเราต้องรู้จักกฎหมายเกี่ยวกับปืนเพื่อให้ดำเนินได้อย่างถูกต้อง สำหรับปืนนั้น หากต้องการจะมีครอบครองจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ในกรณีที่เราย้ายปืน เราต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน และ หากเราได้รับมรดกปืนจากพ่อแม่ ต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับทราบต่อไป รวมถึงกรณีสูญหายด้วย (ป้องกันตัวเองในกรณีที่มีคนเอาปืนที่หายไปก่อเหตุอาชญากรรม)

กฎหมายเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราอย่าได้มองข้ามเด็ดขาด บางครั้งเราเผลอไม่ทำตามกฎหมายจนคิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ สุดท้ายถูกตำรวจดำเนินคดีจนเป็นเรื่องเป็นราวเสียเงิน เสียทรัพย์ เสียเวลาโดยใช่เหตุ ดังนั้นควรรู้จักเอาไว้เพื่อทำไม่ให้ผิดดีที่สุด

การ ปฏิบัติ ตน ตาม กฎหมาย ใน ชีวิต ประจํา วัน

ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย  หมายถึง   คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและถูกลงโทษหรือได้รับผลเสียหาย

ลักษณะสำคัญของกฎหมาย

1. ต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์  คือผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย โดยการเลือก ส.ส. เข้าไปทำหน้าที่แทน ในรัฐสภา ซึ่งมีหน้าที่ในการออกและพิจารณากฎหมายของไทย  ถ้ากรณีมีการปฏิวัติรัฐประหาร ผู้มีอำนาจสูงสุดก็คือ หัวหน้าคณะปฏิวัติ

2. ต้องเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยก็ตาม ไม่ใช่คำขอร้อง หรือคำแถลงการณ์

3. ใช้ได้ทั่วไป  กับทุกคนและทุกพื้นที่ในประเทศไทย

4. ใช้ได้เสมอไป จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก ถึงแม้จะล้าสมัยแล้วก็ตาม

5.  ต้องมีสภาพบังคับ (โทษ)  เช่นในกฎหมายอาญา มีโทษอยู่ 5 ประการเรียงจากหนักไปเบา ได้แก่ ประหารชีวิต  จำคุก   กักขัง   ปรับ  และริบทรัพย์สิน  ในกฎหมายแพ่ง  สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น  บังคับให้ชำระหนี้    ชดใช้ค่าเสียหาย    ในกฎหมายอื่นๆ เช่น ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตักเตือน หรือสั่งพักราชการ ให้ออก  ปลดออก หรือ  ไล่ออก เป็นต้น

ความสำคัญของความจำเป็นที่จะต้องรู้กฎหมาย

                กฎหมายเป็นบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย  มีวินัย  มีระเบียบ  สังคมสงบสุข ประเทศก็ดำรงอยู่ได้

ลำดับชั้นของกฎหมายไทย

                กฎหมายของไทยมีลำดับชั้นความจากสูงสุดลงมาต่ำสุด ดังรายชื่อต่อไปนี้

    1. รัฐธรรมนูญ

    2. พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด

    3. พระราชกฤษฎีกา

    4. กฎกระทรวง

    5. บัญญัติเทศบาล และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

            - กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญ จะถือว่าใช้บังคับไม่ได้

            - พระราชบัญญัติ ออกได้โดยคำยินยอมของรัฐสภาเท่านั้น

            - พระราชกำหนด ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยใช้ในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน แล้วค่อยมาขออนุมัติจากรัฐสภา

            - กฎกระทรวง ออกโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวงนั้นๆ

การบังคับใช้กฎหมาย  

          กฎหมายเมื่อได้รับความเห็นชอบผ่านตามขั้นตอนแล้วจะต้องประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก่อนถึงจะบังคับใช้กับประชาชนได้  สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชนชาติไทยเรามีกฎหมายใช้อยู่แล้ว ทั้งที่สร้างขึ้นเอง และได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กฎหมายที่ใช้ได้รับสืบทอดมาจากสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ได้มีการรวบรวมและตรวจชำระให้เหมาะสม เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการศาลและกฎหมาย ประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย  ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายแต่ละรูปแบบมีวิธีการจัดทำแตกต่างกัน  กฎหมายไทยย่อมีผลใช้บังคับกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย การบังคับใช้กฎหมายหากเกิดปัญหา จะต้องมีการตีความ หรืออุดช่องว่างแล้วแต่กรณี  กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับใช้ได้ตลอดไป ถ้าไม่ต้องการใช้จะต้องมีการยกเลิกซึ่งกระทำได้หลายวิธี

การ ปฏิบัติ ตน ตาม กฎหมาย ใน ชีวิต ประจํา วัน

วิวัฒนาการของกฎหมายไทย

                สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการแกครองแต่เพียงผู้เดียว ต้องปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความเป็นธรรม ยุติธรรม และมีเมตตาธรรม และพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสะสมต่อ ๆ กันมา โดยยึดหลักว่า จะต้องสอดคล้องกับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเอง โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยามีเป็นจำนวนมากตามความต้องการและความจำเป็นในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะผัวเมีย ฯลฯ เป็นต้น 

                สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการรวบรวมและตรวจชำระกฎหมายครั้งใหญ่ ฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กระจัดกระจาย ชำรุด หรือสูญหาย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยนำมารวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่ แก้ไขความคลาดเคลื่อน ความไม่ยุติธรรมที่ตรวจพบ และเพิ่มเติมในบางส่วนที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง

                สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากปัญหาการบังคับใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของชาติตะวันตก ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทรงโปรดให้มีการปฏิรูปการศาลยุติธรรมและระบบกฎหมายครั้งใหญ่ โดยจัดระเบียบการศาลยุติธรรมใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายตามคำกราบบังคมทูลของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ซึ่งทรงเป็นครูสอนกฎหมายเองด้วย และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายไทยและต่างประเทศ คณะกรรมการชุดนี้ได้ทำการร่างและประกาศใช้ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา  ร.ศ. 127 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ต่อมามีการปรับปรุงอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2486 และ 2499 เรียกว่า ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้มีการร่างและประกาศใช้ประมวลกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิถีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฯลฯ เป็นต้น

                การปฏิรูปกฎหมายศาลยุติธรรมและการประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ทำให้ประเทศไทยหมดยุคกฎหมายเก่า และเข้าสู่ยุคขบวนกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

1. การทะเบียนราษฎร์ 

                 บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้ ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร) ความผิด ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท 

2. บัตรประจำตัวประชาชน

                คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์ บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ) อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ความผิด ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

3.หนังสือมอบอำนาจ

                 การมอบอำนาจ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำ การเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน

4. กฎหมายที่ดิน 

                เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตราย ต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้ ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อย เพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน

5. อาวุธปืน 

                ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุความผิดและโทษของอาวุธปืน  มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท พกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณี

ที่มา : http://whanyencheese.blogspot.com/p/blog-page_625.html