ภูมิคุ้มกันก่อเอง active immunity จะถูกสร้างขึ้นจาก

ระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1)กลไกต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ (native immunity)

-ผิวหนังเป็นชั้นเคอราตินหลายๆชั้นป้องกันการเข้า-ออกของสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ที่ผิวหนังมีต่อมเหงื่อสร้างกรดแลคติกทำให้ผิวหนัง

มีคุณสมบัติเป็นกรด ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

-ทางเดินอาหาร ในกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรดและเอนไซม์ช่วยทำลายเชื้อโรคบางชนิดได้

-ทางเดินหายใจ มีการสร้างเมือกและซีเลียคอยดักจับสิ่งแปลกปลอม

-สารคัดหลั่ง จากน้ำตาและน้ำลาย มีไลโซโซมทำลายจุลชีพได้

-ท่อปัสสาวะและช่องคลอด มีเยื่อบุควบคุมการเข้าออกของสาร มีสภาพเป็นกรด

-ถ้าสิ่งแปลกปลอมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จัมีการต่อต้านจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทฟิลและโมโนไซต์ด้วยกระบวนการจับกันแบบฟาโกไซโทซิส

(โมโนไซต์กลายเป็นไมโครฟาจ)นอกจากนี้ยังมีเม็ดเลือดขาวชนิดอิโอซิโนฟิลและเบโซฟิล

2)กลไกต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ (specific acquired immunity)

การทำงานของบีเซลล์

-เมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้บีเซลล์มีการแบ่งตัวกลายเป็นพลาสมาเซลล์และเมมมอรี่เซลล์

-พลาสมาเซลล์จะสร้างแอนติบอดี้ที่มีความจำเพาะเพื่อเข้าจับกับแอนติเจนเมื่อแอนติเจนจับกันทำให้เกิดการตกตะกอน

โดยการสร้างแอนติบอดี้ต้องใช้เวลาในการสร้าง

-ส่วนเมมมอรี่บีเซลล์จะเตรียมพร้อมไว้ในกรณีที่แอนติเจนเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เมมมอรี่บีเซลล์จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเจรฺญเป็นพลาสมาเซลล์

เพื่อสร้างแอนติบอดี้อีกครั้ง

การทำงานของทีเซลล์ (สร้างและเจริญในต่อมไทมัส)

-เซลล์ทีผู้ช่วย (helper T-cell) กระตุ้นให้บีเซลล์สร้างแอนติบอดี้และกระตุ้นการทำงานของcytotoxic T-cell

-เซลล์ทีทำลายสิ่งแปลกปลอม (cytotoxic T-cell) ทำลายสิ่งแปลกปลอม เช่น เซลล์มะเร็ง เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส บางส่วนเจนิญที่เมมมอรี่เซลล์

เพื่อเตรียมตัวตอบสนองต่อแอนติเจนเดิมที่เข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

-เซลล์ทีกดภูมิคุ้มกัน (suppressor T-cell) ควบคุมการตอบสนองภูมิคุ้มคุ้มกันโดยสร้างสารไปกดการทำงานของบีเซลล์และทีเซลล์ชนิดอื่นๆ

การสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย

1)ภูมิคุ้มกันก่อเอง (active immune) เกิดจากร่างกายได้รับแอนติเจนแล้วได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา

ข้อดี : อยู่นานตลอดชีวิต

ข้อเสีย : ใช้เวลานานในการสร้างแอนติบอดี้

-วัคซีน คือ การนำแอนติเจนที่อ่อนกำลังหรือที่ตายแล้วไม่สามารถทำอันตรายได้มาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกัน

เพื่อออกมาต่อต้าน เช่น วัคซีนที่คุ้มกันโรคไอกรน ไทฟรอยด์ อหิวาตกโรค

-ท็อกซอยด์ คือ การนำเอาสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษมาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น บาดทะยัก

2)ภูมิคุ้มกันรับมา (passive immune) เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับแอนติบอดี้โดยตรง

ข้อดี : สามารถใช้ได้ทันที

ข้อเสีย : อยุ่ได้ไม่นานและเกิดอาการแพ้

-เซรุ่ม (serum) คือ น้ำเลือดของสัตว์ที่นำไฟบริโนเจนและโปทรอมบรินออกแล้ว

หมู่เลือดและการให้เลือด

ตามระบบ ABO จะแยกหมู่เลือดตามแอนติเจน พบที่เนื้อเยื่อหุ้มผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนี้

แอนติเจนหมู่เลือดA คือ A

แอนติบอดี้หมู่เลือดA คือ B

แอนติเจนหมู่เลือดB คือ B

แอนติบอดี้หมู่เลือดB คือ A

แอนติเจนหมู่เลือดAB คือ A,B

แอนติบอดี้หมู่เลือดAB คือ -

แอนติเจนหมู่เลือดO คือ -

แอนติบอดี้หมู่เลือดO คือ A,B

การตรวจหมู่เลือด

(เป็นการหาแอนติเจนโดยใช้หลักการantigenและantibodyตรงกัน)

การตรวหมู่เลือดทำได้โยการนำเลือดของผู้ป่วยไปแตะบนสไลด์ 2 ตำแหน่งจากนั้นนำน้ำยาที่เป็นแอนติเจนA,Bมาหยดลงบนสไลด์

กรณีที่1 ถ้าเป็นหมู่เลือดA เลือดจะตกตะกอนเมื่อหยดแอนติเจนAและไม่ตกตะกอนเมื่อหยดแอนติเจนB เนื่องจากบนผิวของเม็ดเลือดมีแอนติเจนA

กรณีที่2 ถ้าเป็นหมู่เลือดB เลือดจะไม่ตกตะกอนเมื่อหยดแอนติเจนAและตกตะกอนเมื่อหยดแอนติเจนB เนื่องจากบนผิวของเม็ดเลือดมีแอนติเจนB

กรณีที่3 ถ้าเป็นหมู่เลือดAB เลือดจะตกตะกอนเมื่อหยดแอนติเจนAและB เนื่องจากบนผิวของเม็ดเลือดมีแอนติเจนAและB

กรณีที่4 ถ้าเป็นหมู่เลือดO เลือดจะไม่ตกตะกอนเมื่อหยดแอนติเจนAและB เนื่องจากบนผวของเม้ดเลือดไม่มีแอนติเจนAและB

หมู่เลือดอาร์เอช (Rh group)

1)อาร์เอชบวก (Rh positive)

ที่ผิวของเม็ดเลือดจะมีแอนติเจนDมาแต่กำเนิดแต่ไม่มีแอนติบอดี้ในพลาสมา

2)อาร์เอชลบ (Rh negative)

ที่ผิวเม็ดเลือดไม่มีแอนติเจนDแต่สามารถสร้างแอนติบอดี้Dในพลาสมา ภายหลังได้รับเลือด Rh positive

-Rh negative จะไม่มีทั้งแอนติเจนDและแอนติบอดี้Dเมื่อรับเลือดจากRh positive

-Rh negative จะได้รับเฉพาะRh negativeด้วยกัน หาก Rh negativeรับเลือดจากRh positiveจะทำให้มีการสร้างแอนติบอดี้

เกิดการจับระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี้ทำให้ตกตะกอน เรียกว่า อิริโธบลาสโทซิส (Erythoblastosis)

ตัวอย่าง

ผลการตรวจเลือดสามีภรรยาคู่หนึ่ง พบว่าสามีมีหมู่เลือดRh positiveขณะที่ภรรยามีหมู่เลือดRh negative ทั้งสองตัดสินใจมีบุตรร่วมกันสองคน

-บุตรคนแรกมีหมู่เลือดRh positive ทำให้ไปกระตุ้นให้แม่ซึ่งมีหมู่เลือดRh negative สร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาแต่ไม่เป็นอันตรายต่อลูกคนแรก

เนื่องจากแอนติบอดี้ยังไม่เพียงพอทำให้ลูกคนแรกปลอดภัย

-บุตรคนที่ 2 มีหมู่เลือดRh positive เหมือนคนแรก ทำให้แอนติเจนของลูกไปจับกับแอนติบอดี้ของแม่ที่สร้างมาก่อนหน้านี้ทำให้เลือดของลูกคนที่สอง

เกิดการตกตะกอน เรียกว่า อิรอโธบลาสโทซิสฟิตัลลิส (Erythroblastosisfatalis)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันและระบบน้ำเหลือง

1)เม็ดเลือดขาวชนิด neutiphil เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีมากที่สุดในเลือดมนุษย์

2)แคลเซียม วิตามินเค ไฟบริโนเจน เป็นสารจำเป็นในการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย โรคภูมิแพ้เกิดจากการทำงานของเซลล์เบโซฟิล

และบี ลิมโฟไซต์

3)ผู้ป่วยโรคเอดส์ helper T-cell จะถูกทำลาย