แผน เฉพาะกิจ เพื่อการแก้ไขปัญหา

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2565 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามร่างแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองปี 2565 ต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

สาระสำคัญ ร่างแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2565 กำหนดขึ้นภายใต้หลักแนวคิด “1 สื่อสาร 5 ป้องกัน 3 เผชิญเหตุ” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดและเน้นย้ำการดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองโดยเฉพาะในช่วงเกิดสถานการณ์ โดยสรุปดังนี้

สื่อสาร 1 ข้อ 

1.เพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า

หน่วยงานหลัก
กระทรวงมหาดไทย/ กระทรวงสาธารณสุข/ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม/ สำนักนายกรัฐมนตรี/ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม/สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ/กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานสนับสนุน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม/

ภาคเอกชน/ กระทรวงศึกษาธิการ/กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ป้องกัน 5 ข้อ

1. ให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน   และฝุ่นละอองบรรจุในแผน ปภ.จังหวัด

หน่วยงานหลัก

กระทรวงมหาดไทย

หน่วยงานสนับสนุน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ กระทรวงอุตสาหกรรม/ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม/กระทรวงคมนาคม/       ภาคประชาสังคม

2. ขยายผลการบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยการเก็บขน (ชิงเก็บ ลดเผา) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน พื้นที่ริมทาง และประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันลงทะเบียนบริหารจัดการเชื้อเพลิง

หน่วยงานหลัก

กระทรวงมหาดไทย/ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/   กระทรวงคมนาคม/ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

หน่วยงานสนับสนุน

กระทรวงพลังงาน/ ภาคเอกชน

3. เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่าภายใต้ ศอญ. จิตอาสาพระราชทาน

หน่วยงานหลัก

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ กระทรวงมหาดไทย

หน่วยงานสนับสนุน
ศูนย์อำนวยการใหญ่ จิตอาสาพระราชทาน/ กระทรวงกลาโหม/สำนักงานตำรวจแห่งชาติ/ เครือข่ายจิตอาสาพระราชทาน

4. สร้างเครือข่ายและอาสาสมัคร เพื่อสนับสนุนการป้องกัน     และแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง

หน่วยงานหลัก

กระทรวงมหาดไทย/ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หน่วยงานสนับสนุน
กระทรวงกลาโหม/สำนักงานตำรวจแห่งชาติ/ เครือข่ายจิตอาสาพระราชทาน/เครือข่ายชุมชน

5. สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และพลังงานทางเลือก    เพื่อลดปัญหา PM2.5

หน่วยงานหลัก

กระทรวงพลังงาน/ กระทรวงมหาดไทย/ กระทรวงคมนาคม/ กรุงเทพมหานคร/ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หน่วยงานสนับสนุน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ ภาคเอกชน/กระทรวงอุตสาหกรรม

เผชิญเหตุ 3 ข้อ

1. เพิ่มความเข้มงวดควบคุมมลพิษจากหล่งกำเนิด ทั้งจากยานพาหนะและภาคอุตสาหกรรม ในเขตเมืองและ

เขตอุตสาหกรรม

หน่วยงานหลัก 

กระทรวงคมนาคม/ กระทรวงอุตสาหกรรม/ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ/กรุงเทพมหานคร
หน่วยงานสนับสนุน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

2. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าธรรมชาติ

หน่วยงานหลัก

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ กระทรวงมหาดไทย/ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

หน่วยงานสนับสนุน 

กระทรวงกลาโหม/ เครือข่าย อาสาสมัคร

3. กำหนดตัวชี้วัดร่วมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน และขยายหมู่บ้านคู่ขนานชายแดนภายใต้กรอบคณะกรรมการชายแดน

หน่วยงานหลัก 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ กระทรวงกลาโหม

หน่วยงานสนับสนุน

กระทรวงมหาดไทย/ กระทรวงการต่างประเทศ 

คุณภาพชีวิต-สังคม

เปิด 'แผนเฉพาะกิจ' แก้ปัญหา 'ฝุ่นละออง'

27 พ.ย. 2563 เวลา 12:10 น.584

มติ ครม.เห็นชอบแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษ "ฝุ่นละออง" ส่วนร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2563) ให้ ทส.นำแผนเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้าน ฝุ่นละออง (แผนเฉพาะกิจฯ) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนเฉพาะกิจฯ ต่อไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

ส่วนร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) (พ.ศ. 2563) ให้ ทส. นำแผนดังกล่าวเสนอไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้สาระสำคัญของแผนเฉพาะกิจฯ จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง โดยเฉพาะในช่วงเกิดสถานการณ์ โดยมีรายละเอียด เช่น

1.การสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย (เช่น แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และจัดทำแผนประชาสัมพันธ์)

2.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง ภายใต้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกหลักในการกำกับดูแลและรับมือสถานการณ์

3.การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า โดยการเก็บขน และใช้ประโยชน์เศษวัสดุในป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใน 17 จังหวัดภาคเหนือ

4.สร้างเครือข่าย อาสาสมัคร และจิตอาสา เป็นกลไกหลักเข้าถึงพื้นที่ ทั้งสื่อสาร ติดตาม เฝ้าระวัง และดับไฟ

5.เร่งขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ภายใต้ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน โดยกำหนดเป้าหมาย 12 จังหวัดภายในปี 2563 และครบ 76 จังหวัด ภายในปี 2570

6.เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

7.การพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 3 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน

8.ประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ โดยเริ่มใช้วันที่ 1 ธันวาคม 2563

9.พัฒนาระบบคาดการณ์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชันบัญชาการการดับไฟป่า โดยเริ่มใช้วันที่ 1 ธันวาคม 2563

10.บริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยใช้แอพพลิเคชันลงทะเบียนจัดการเชื้อเพลิง

11.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าไม้ และลดการเผาป่าผ่านการจัดที่ดินทำกิน

และ 12.เจรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งระดับอาเซียน ระดับทวิภาคี และระดับพื้นที่ชายแดน