การ บริหาร งาน ใน หน้าที่ ผู้ บริหาร สถาน ศึกษา

Just for you: FREE 60-day trial to the world’s largest digital library.

The SlideShare family just got bigger. Enjoy access to millions of ebooks, audiobooks, magazines, and more from Scribd.

Read free for 60 days

Cancel anytime.

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

บทบาทของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้น ส่งเสริมให้การบริหารงานในบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารประสบผลสำเร็จ ซึ่งบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา  โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

   1. เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

   2. เป็นผู้นำในการบริหาร ยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

   3. เป็นผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

   4. เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ

   5. เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน

   6. เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย  โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

   7. เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในการสร้างสรรค์

   8. เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ  โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

   9. เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

  10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน

       ที่กล่าวมา ผู้บริหารที่ยึดหลักการ 10 ประการ ดังกล่าว ย่อมจะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารที่ดีจึงต้องสำรวจตนเองถึงข้อบกพร่องและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนางานอย่างสมำ่เสมอ  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการบริหารจัดการใหม่และการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งในการดำเนินงานผู้บริหารต้องยึดการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM: School based Management  ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้

    1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ

   2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม

   3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก

   4. การประสานความสัมพันธ์

   5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร

   6. การสร้าวงแรงจูงใจ

   7. การประเมินภายในและการประเมินภายนอก

   8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

   9.การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

   10. การส่งเสริมเทคโนโลยี

       ที่มา  ธีระ  รุญเจริญ  "การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา " อัดสำเนา ม.ป.ป.

บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีด้วยกันหลายมิติ ซึ่งพอจะรวบรวมได้ดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

การ บริหาร งาน ใน หน้าที่ ผู้ บริหาร สถาน ศึกษา

1. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ

1) จัดรูปแบบการศึกษา ม.15

2) จัดกระบวนการศึกษา ม. 24-30

3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ม. 39

4) เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ม. 40

5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ม. 48-50

6) ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ ม. 59

7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีฯ ม. 65-66

2. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

1) ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ม.6

2) เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่

3) จัดการศึกษาเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาสในรูปแบบเหมาะสม ม.12

4) ดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด

3. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 (ม.39)

1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา

2) บริหารกิจการสถานศึกษา

3) ประสานระดมทรัพยากร

4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา

5) จัดทำรายงานประจำปีต่อ กก.เขตพื้นที่

6) อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร

7) อื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย

8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ(ปฏิบัติราชการแทน) ม.44-45 - ปลัดศธ. เลขาฯ ถึง ผอ.สถานศึกษา - ผอ.สำนักฯในกรม ถึง ผอ.สถานศึกษา - ผอ.สพท. ถึง ผอ.สถานศึกษา

4. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎ ศธ. แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา 2546

1)วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนสถานศึกษา

2)วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ

3)เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป

4)แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานต่างๆ

5. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.รบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

1)ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ม.27(1)

2)พิจารณาความดีความชอบ ม.27(2)

3)ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร ม.27(3)

4)จัดทำมาตรฐานภาระงานครู ม.27(4)

5)ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ม.27(5)

6)ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก.รร.มอบหมาย ม.27(6)

7)สั่งให้ครูฯออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ ม.49

8)สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู บุคลากร ม.53(4)

9)สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก ม.56 วรรคสอง

10)สั่งให้ครูพ้นทดลองทำงานต่อไป ม.56 วรรคสอง

11)สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ ม.64

12)สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) ม.68

13)สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู ม.73

14)ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ม.75

15)แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ม.78

16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ม.79

17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ม.81

18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ม.82

19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95 98

20) อนุญาต ยับยั้งอนุญาตลาออก ม.108

21) สั่งแต่งตั้งกก.สอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ ม.110 (4)

22) สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ จำคุก

6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัด สพท.พ.ศ.2546

กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้

1)ผู้อำนวยการฯเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา

2)นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงาน สพท. แจ้งสพฐ.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี

3)การบริหารบุคคลตามกฎหมาย พรบ.ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

4)ยุบ รวม เลิกล้มรร. สพท.ตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตามหลักเกณฑ์ สพฐ.กำหนด

5)รร.มีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ แต่จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ กก.รร.ต้องเห็นชอบ รายงานสพท.

6)รร.มีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุตามวงเงิน อำนาจที่เลขา สพฐ.มอบ หรือ ผอ.สพท.มอบตามหลักเกณฑ์ที่สพฐ.กำหนดยกเว้นเงินเดือน

7)จัดทำระบบการเงิน บัญชี ตามรบสพฐ.กำหนด และทรัพย์สินฯผู้อุทิศทำหลักฐานการรับ บัญชีรับ-จ่ายฯรายงาน ผอ.สพท.ทุกสิ้นปีงบประมาณ ผอ.สพท.ตรวจสอบและรายงานเลขา สพฐ.โดยเร็ว 7. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น

        - รบ.ศธ.ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548

       - กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา

       - รบ.ศธ.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548        

       - รบ.ศธ.ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547 

       - รบ.ศธ.ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547 - รบ.ศธ.ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547

       -รบ.ศธ. ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547 -รบ.ศธ. ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547 - รบ.ศธ. ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547

      - รบ.ศธ. ว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ.2547 -รบ.ศธ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ(ฉ.2) พ.ศ.2547