ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง

เราจะ ให้อภัยตัวเอง จากความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างไร? บทความนี้ Alljit ร่วมกับคุณวันเฉลิม คงคาหลวง (นักจิตวิทยาการปรึกษา) เจ้าของแฟนเพจ Trust.นักจิตวิทยาการปรึกษา

Show

การให้อภัยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับการเป็นมนุษย์ 

คนเราสามารถผิดพลาดกันได้เสมอ บางคนทำผิดพลาดแบบไม่รู้ตัวไม่ตั้งใจที่จะทำลงไป และบางคนตั้งใจทำแต่พอได้ทำลงไปแล้วก็มานั่งคิดว่าเราไม่น่าทำสิ่งนั้นลงไปเลย

แต่กว่าที่เราจะคิดได้ก็สายเกินไปจนเป็นความรู้สึกผิดที่ติดตัว เราต้องรู้จักการเรียนรู้ที่จะให้อภัยตัวเอง ยอมรับกับความผิดพลาดที่เราได้ทำไปไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

การ ให้อภัยตัวเอง จากความผิดพลาดแบ่งได้สองกลุ่มใหญ่ ๆ

  • การ ให้อภัยตัวเอง จากความผิดพลาดแบ่งได้สองกลุ่มใหญ่ ๆ
      • 1.กลุ่มคนที่ตั้งใจทำผิดพลาดแต่ยังไม่สามารถปล่อยวางความผิดของตัวเอง
      • 2.กลุ่มคนที่ไม่ได้ตั้งใจทำให้ผิดพลาดแต่โทษตัวเอง
    • การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อ ให้อภัยตัวเอง
    • ทุกความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเราต้องมองให้เห็นข้อเท็จจริงให้ชัด  

1.กลุ่มคนที่ตั้งใจทำผิดพลาดแต่ยังไม่สามารถปล่อยวางความผิดของตัวเอง

กรณีตัวอย่าง ของการเป็นแฟนกัน การบอกเลิกใครสักคนในอดีตทำให้ชีวิตของเขาพังมาก ๆ เป็นความผิดพลาดของเราจนเราไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้ เพราะมันผ่านมานานแล้ว การที่เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้

เราคิดว่าเพราะเราเขาจึงรู้สึกแย่แบบนั้น ทำให้ปัจจุบันเราไม่ยอมรับกับตัวเอง ปิดกั้นตัวเอง กดดันตัวเองกลัวทำให้คนอื่นเสียใจ ทำให้มีปัญหาบานปลายมาด้วยการไม่กล้าที่จะเปิดใจกับใคร 

แต่ถ้าเราลองมองย้อนหลับไปในอดีต มันคือความผิดพลาดของเราจริง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว และเราไม่แก้ไขอะไรได้แล้วแต่จริง ๆ ชีวิตของเราคือการที่เดินไปข้างหน้านั้นคือสัจธรรมของชีวิต อยากให้เราลองมองย้อนกลับไปว่า

ที่บอกเลิกในวันนั้นยอมรับจากใจจริงเลยว่าเหตุผลที่บอกเลิกไม่ว่าจะอะไรก็ตาม ณ เวลานั้นเราได้ตัดสินใจไปแล้ว ไม่ใช่ความผิดของเราฝ่ายเดียวเพราะจริง ๆ แล้วอีกฝ่ายก็ต้องรับผิดชอบความรู้สึกของตัวเองเช่นกัน 

2.กลุ่มคนที่ไม่ได้ตั้งใจทำให้ผิดพลาดแต่โทษตัวเอง

กรณีของคนที่ถูกข่มขืน ไม่ว่าจะเป็นการที่ถูกหลอกจากกลุ่มเพื่อน หรือโดนคนแปลกหน้า จนทำให้ตัวผู้กระทำรู้สึกผิดกับตัวเอง เป็นตราบาปกับตัวเอง

ซึ่งผู้ที่ถูกกระทำจะโทษตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะมีสังคมที่ชอบมาคาดโทษผู้ตกเป็นเหยื่อว่าเพราะ การแต่งตัว การออกไปที่เปลี่ยวคนเดียว แต่ในความจริงแล้วคนที่เลวร้ายคือคนที่กระทำต่างหาก 

อีกกรณีคือ การโดนแกล้ง หรือบูลลี่ คนผิดคือคนที่ลงมือเมื่อตกอยู่ในสถานะของเหยื่อ เราอาจจะโทษตัวเอง

แต่อยากให้คิดว่าเราสามารถโทษอีกฝ่ายได้เลย ไม่ควรโทษตัวเอง เพื่อที่จะได้ให้อภัยตัวเองเพราะเราไม่ได้พลาดไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้อยากใช้ชีวิตให้เป็นแบบบนี้ แต่อีกฝ่ายต่างหากที่มาละเมิดสิทธิเสรีภาพของเราไป 

การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อ ให้อภัยตัวเอง

ไม่ว่าการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ผ่านมาแล้วมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับกับสิ่งที่เราตัดสินใจไป และยอมรับว่ามันเป็นไปแบบนั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของการมีวุฒิภาวะ

เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสุขภาพจิตที่ดีเมื่อเรายอมรับได้เราก็จะปล่อยเรื่องราวในอดีตได้ ไม่ว่าจะเป็นความกดดัน ความคาดหวัง ความรู้สึกที่ดีไม่พอ หรือแม้กระทั่งการโทษตัวเอง 

ในท้ายที่สุดเมื่อเรายอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราได้จริง ๆ เราจะสามารถปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการได้ และไม่รู้สึกผิดกับตัวเอง หรือโทษตัวเองอีก

อาจจะมีบ้างแต่จะไม่รู้สึกผิดถึงกับก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ การให้อภัยตัวเองต้องมองเห็นข้อเท็จจริงให้แน่ชัด และที่สำคัญคือการยอมรับตัวเอง 

ทุกความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเราต้องมองให้เห็นข้อเท็จจริงให้ชัด  

ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา ใช้ชีวิตต่อไปให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการปลอบโยนตัวเองต่อความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ระมัดระวังตัวเองเสมอที่จะไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำ

ถึงแม้ว่าระวังแล้วแต่ยังผิดพลาดแต่อย่างน้อยเราก็ได้ระวังอย่างเต็มที่แล้ว 

ในกรณีที่เราไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นถึงแม้ว่าสังคมจะคาดโทษกับสิ่งที่เราโดนกระทำ โดนสายตาคนนอกมองเราไม่ดี แต่ในความจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของเราเลย

ทำไมเราต้องใช้ชีวิตด้วยตราบาปที่เป็นความเชื่อผิด ๆ ของสังคม เราต้องเห็นความจริงยอมรับความจริงให้ได้

และยืนขึ้นด้วยความแข็งแรงของเรา เราไม่ได้ตั้งใจเปิดโอกาสให้ใครมาทำร้ายเรา ล่วงละเมิดเรา คนผิดคือคนที่เข้ามาล้ำเส้นและทำให้เราตกเป็นเหยื่อต่างหาก 

Post Views: 497

  • ลักษณะคนที่รู้สึกผิดมากจนกลายเป็นโทษตัวเอง
    • คนที่ชอบตำหนิตัวเอง
    • คนมี Self-Esteem สูงเกินไป
    • คนขาดความยืดหยุ่น
    • คนคาดหวังกับตัวเองสูง
    • คนไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
  • เมื่อความรู้สึกผิดมีมากเกินไปจนทำให้เราไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข
  • วิธีรักษาใจตัวเองในวันที่ ”ความรู้สึกผิด” ทำให้เราเลิกรักตัวเอง
    • ยอมรับว่าอดีตไม่ได้ตัดสินปัจจุบัน เข้าใจและเรียนรู้จากความผิดพลาด
    • ให้เวลาตัวเองร้องไห้บ้าง
    • พูดคุยกับผู้อื่น แบ่งปันความรู้สึกกับคนใกล้ตัว
    • พูดคำว่า "ขอโทษ" กับคนที่เรารู้สึกผิด
    • ทำงานอาสาสมัครต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
    • เรียนรู้ที่จะให้อภัยตัวเอง และเริ่มต้นชีวิตใหม่

หลายคนอาจจะมีเรื่องที่รู้สึกผิด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน การงาน หรือความรัก เป็นความรู้สึกผิดที่ติดอยู่ในใจ บางคนถึงขั้นจมอยู่กับมันจนไม่มีกำลังใจดำเนินชีวิตต่อ มูฟออนไม่ได้ หรือบางคนชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ยกตัวอย่างเช่น รู้สึกตัดสินใจผิดที่ลาออกจากงานเพื่อมาทำธุรกิจแต่สุดท้ายกลับไปไม่รอด หรือรู้สึกผิดที่นอกใจแฟนที่คบกันมาหลายปี และถ้าคุณคือคนนึงที่กำลังจมอยู่กับความผิดพลาดที่ “ล้ม” แล้ว “ลุกไม่ขึ้น” วันนี้ JobThaiจะพามาทำความเข้าใจกับมันรวมถึงบอกวิธีการรับมือ

ลักษณะคนที่รู้สึกผิดมากจนกลายเป็นโทษตัวเอง

ความรู้สึกผิด คือความรู้สึกแย่กับตัวเอง การยอมรับสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ มองว่าตัวเองได้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำออกไป ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางจิตใจ หรือทางร่างกาย กับคนอื่น หรือตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนเราสามารถรู้สึกผิดได้เป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกผิดนั้นควรอยู่ในความสมเหตุสมผล เราไม่ควรจมอยู่กับมันจนเกินพอดี รวมถึงยอมรับและหาวิธีปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ได้

ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง

เชื่อว่าหลายคนต่างต้องเคยมีความรู้สึกผิดกับเรื่องราวในชีวิตตัวเองกันทั้งนั้น แต่จะมีคนบางกลุ่มที่มีความรู้สึกผิดที่มากจนเกินพอดี จนกลายเป็นโทษ ซึ่งคนกลุ่มนั้นส่วนมากจะมีลักษณะดังนี้

1. คนที่ชอบตำหนิตัวเอง

คนที่ชอบโทษตัวเอง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมักจะตำหนิตัวเองไว้ก่อน เห็นข้อเสียของตัวเองมากกว่าข้อดีเสมอ  หรือรู้สึกผิดโดยไม่สมเหตุสมผล ซึ่งลักษณะการชอบตำหนิตัวเองนี้ บางส่วนจะมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์กับครอบครัวในวัยเด็ก เช่น โตมากับคนเลี้ยงที่เข้มงวด และไม่ค่อยแสดงความรัก หรือ ถูกลงโทษอยู่เป็นประจำ

2. คนมี Self-Esteem สูงเกินไป

คนที่มี Self-Esteem หรือมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าแสดงออกสูงเกินไป มักจะสร้างมาตรฐานของตัวเองให้สูงยิ่งขึ้น สร้างแรงกดดันให้ตัวเองแบบไม่รู้จบ จะเป็นคนที่ทำงานหนักมาก และเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น พวกเขามักจะให้อภัยตัวเองได้ยาก และมักคิดว่าตัวเองไม่เก่งหรือไม่ได้เรื่องหลังจากเจอกับความล้มเหลว ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้การให้อภัยตัวเองเกิดขึ้นได้ยากยิ่งขึ้น

3. คนขาดความยืดหยุ่น

คนที่ทำอะไรอยู่ในกรอบ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามแผนเป๊ะ ๆ รู้สึกว่าไม่ควรมีอะไรนอกเหนือจากสิ่งที่แพลนไว้ เพราะถ้าเกิดมีอะไรผิดแปลกไปจากที่คิด ก็จะคิดแล้วว่าแผนที่วางไว้ไม่สำเร็จ มักจะมองสิ่งต่าง ๆ เป็นขาวหรือดำเท่านั้น ไม่มองอะไรเป็นสีเทา

4. คนคาดหวังกับตัวเองสูง

คนที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ "คนสมบูรณ์แบบ" (Perfectionist) มักจะเป็นคนที่เข้มงวดและเคร่งครัดเกินไป เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงมาก มักจะทุ่มเทกับทุกสิ่งมากเกินไป ใส่ใจทุกรายละเอียด และอาจจะสร้างความกดดันให้กับตัวเองและคนใกล้ชิด เมื่อให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบมาก จึงคาดหวังให้ตัวเองทำสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา เวลาทำผิดพลาดขึ้นมาแม้เพียงน้อยนิด จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างที่สร้างมาพังทลาย

5. คนไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง

คนที่มีมุมมองความคิดต่อตัวเองในแง่ลบ ชอบหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับผู้อื่น เพราะคิดว่าผู้อื่นอาจรู้สึกไม่ชอบถ้าเกิดทำผิดพลาดอะไรไป ไม่ชอบทำสิ่งที่ท้าทาย เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถพอ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ขาดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถในการเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความท้าทายในชีวิต และเมื่อทำอะไรผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย จะรู้สึกแย่กับตัวเอง และมองตัวเองไม่มีค่าอยู่เสมอ

เมื่อความรู้สึกผิดมีมากเกินไปจนทำให้เราไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข

คนที่มีความรู้สึกผิดมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ส่วนมากจะเป็นคนที่เจอกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เช่น เราเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุและเป็นคนเดียวที่รอดชีวิตในขณะที่มีคนเสียชีวิตหลายคน จนรู้สึกผิดและไม่อยากมีชีวิตต่อไป หรือเราตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ในการทำงานจนธุรกิจล้มละลาย โดยที่ตัวเองคือหัวหน้าครอบครัวที่ทุกคนฝากความหวัง ความรู้สึกทรมานใจอย่างมากทำให้หลายคนใช้ชีวิตต่อไปอย่างไม่มีความสุข เฝ้าโทษตัวเองซ้ำ ๆ ยิ่งนึกถึงเหตุการณ์ความผิดนั้นบ่อย ๆ ยิ่งรู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้น จนกระทั่งไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข เพราะต้องการลงโทษตัวเอง หรือบางคนจะมีความสุขก็รู้สึกละอายใจ จึงต้องทำให้ตนเองรู้สึกทุกข์ใจ หรือทำให้ชีวิตตนเองตกต่ำอยู่ตลอด ใช้ชีวิตไปอย่างไม่ใยดีเพื่อชดเชยความผิด

วิธีรักษาใจตัวเองในวันที่ “ความรู้สึกผิด” ทำให้เราเลิกรักตัวเอง

แม้ว่าความเจ็บปวดของคนเราจะดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด แต่ความจริงแล้วมันมี ซึ่งคนที่จะพาให้เราก้าวผ่านเรื่องร้าย ๆ ได้ดีที่สุดก็คือ “ตัวเอง” และนี่คือวิธีรักษาใจตัวเองในวันที่ “ความรู้สึกผิด” ทำให้เราเลิกรักตัวเอง

ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง

1. ยอมรับว่าอดีตไม่ได้ตัดสินปัจจุบัน เข้าใจและเรียนรู้จากความผิดพลาด

มองว่าอดีตที่ผ่านมาเป็นแค่ความทรงจำหนึ่งของเรา และเราจะสร้างมันขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปัจจุบัน เราไม่ใช่คนในอดีต แต่เป็นคนใหม่ที่แตกต่างไปแล้ว ให้คิดว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด คนที่ไม่ผิดพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย รวมถึงเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น จำไว้เสมอว่า ความผิดพลาด คือครู

2. ให้เวลาตัวเองร้องไห้บ้าง

บางคนเมื่อเสียใจมักจะพยายามไม่ร้องไห้ เพราะคิดว่าการร้องไห้ทำให้เราอ่อนแอ ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องดี เพราะการร้องไห้ออกมาแสดงให้เรารู้ว่าตัวเองกำลังเศร้ามากแค่ไหนและควรหาวิธีจัดการมันยังไง นอกจากนั้นในน้ำตาที่หลั่งออกมายังมีฮอร์โมนเครียดออกมาด้วย ซึ่งจะทำให้เราผ่อนคลายขึ้นเมื่อได้ร้องไห้ ยอมรับว่าตัวเองเศร้าบ้างก็ไม่เป็นไรหรอก ให้ถือเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต แต่ก็อย่าถึงกับร้องหนักทุกวัน และซ้ำเติมตัวเองจนมากเกินไป

3. พูดคุยกับผู้อื่น แบ่งปันความรู้สึกกับคนใกล้ตัว

ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมา เปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกที่รุนแรง หรือเศร้าเสียใจขนาดไหน อาจจะหาเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนที่รู้สึกสนิทใจสักคนที่ไว้ใจได้และพูดมันออกมา เพราะการพูดเป็นการระบายเรื่องที่อยู่ในใจได้ดีที่สุด การเก็บความเศร้าและเสียใจไว้กับตัวคนเดียวมีแต่จะทำให้เจ็บช้ำมากขึ้น อย่าให้มันบั่นทอนชีวิตเรา

4. พูดคำว่า "ขอโทษ" กับคนที่เรารู้สึกผิด

ถ้ามีโอกาสให้พูดคำขอโทษกับคนที่เรารู้สึกผิดด้วย ไม่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเราหรือเขาจะผิดมากกว่ากันก็ตาม เพราะคำขอโทษ ถึงแม้จะเป็นแค่เพียงคำพูด แต่มันก็แสดงถึงความจริงใจให้คนฟังรู้สึกได้ว่าเราไม่ได้ตั้งใจให้ทุกอย่างเป็นแบบนี้ รวมถึงยังเหมือนเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยา "แผลใจ" ได้มาก และไม่ว่าอีกฝั่งจะยกโทษให้หรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยเราก็ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว

5. ทำงานอาสาสมัครต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ถ้าเรารู้สึกผิดและรู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เรามองเห็นคุณค่าของตัวเองน้อยลง ให้เปลี่ยนความรู้สึกผิดเป็นพลังด้านบวก โดยอาจจะลองทำงานอาสาสมัครที่สร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น เพื่อช่วยลดความรู้สึกผิด และกลับมาเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น หรือลองหากิจกรรมทำเพื่อไม่ให้ว่างคิดเรื่องราวต่าง ๆ เพราะเวลาที่ว่าง เรามักจะคิดมาก คิดฟุ้งซ่าน คิดเลยเถิดจนเกินจริง

6. เรียนรู้ที่จะให้อภัยตัวเอง และเริ่มต้นชีวิตใหม่

ความผิดในบางเรื่องสมควรถูกตำหนิเพื่อที่จะได้จดจำและนำไปแก้ไข แต่หากเรายิ่งใช้เวลากับความรู้สึกผิดนานเท่าไหร่ มันก็จะกัดกินความสุขและความภาคภูมิใจในตัวเรามากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจงเรียนรู้ที่จะให้อภัยคนอื่นไปพร้อมกับการให้อภัยตัวเอง ใจดีกับตัวเราเองบ้าง เพราะไม่มีใครที่รักษาแผลใจของตัวเองได้ดีกว่าตัวเองอีกแล้ว จากนั้นเริ่มต้นใหม่กับชีวิตที่ดีขึ้น

อย่าเก็บความรู้สึกผิดไว้กับตัวเองมากเกินไป อย่าโทษตัวเองตลอดเวลาว่าที่ผ่านมาทำได้ไม่ดีพอ อย่าทุกข์ทนจนจมอยู่กับมันจนไม่รู้จักจบ ลองให้อภัยตัวเอง หยุดลงโทษตัวเอง คิดว่ามันก็เป็นแค่อดีตแย่ ๆ ที่เราจะไม่มีวันให้มันมาทำลายอนาคตที่ดีของเรา คิดง่าย ๆ หากเรามีบ้านอยู่หนึ่งหลัง แล้ววันนึงเกิดหลังคารั่วหนึ่งจุด เราจะทิ้งบ้านหลังนั้นไปเลยไหม ถ้าคำตอบคือไม่ ก็จงอย่าทำให้สิ่งเล็กน้อยที่เกิดขึ้นมามีผลกับชีวิตที่เหลืออยู่ของเราเด็ดขาด

ฝากประวัติเพื่อหางานที่ใช่ได้ ที่นี่

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน