เงินรับล่วงหน้าค่าบริการ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดให้นิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้มีรายได้ และเมื่อหักภาษีแล้วต้องนำส่งภาษีดังกล่าวให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไป ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย จะเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากร ตอนสิ้นปีผู้มีเงินได้จะต้องคำนวนภาษีเงินได้ประจำปี เมื่อได้ยอดภาษีเท่าไหร่ ให้นำภาษีที่จ่ายล่วงหน้ามาหักออก ถ้าพบว่าภาษีที่จ่ายล่วงหน้ามียอดที่มากกว่าภาษีที่คำนวนได้ ผู้มีเงินได้มีสิทธิ์ที่จะของภาษีคืนได้นะ (ถ้ากล้าขอคืน 😄)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ แต่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ (ผู้จ่ายเงินโครตซวยยย อยู่ดีๆมีภาระขึ้นมา)

หลักจำจ่ายๆ

นิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งให้กรม สรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

                ��� 4  �óա�â���Թ������͡������ԡ�÷���ա�����¡����ѡɳ��Թ������ǧ˹�� �Թ��Сѹ �Թ�Ѵ�� �Թ�ͧ �����Թ��蹷�����¡����ѡɳзӹͧ���ǡѹ�������觡����þҡ� ��� �.36/2536 ����ͧ ��â���Թ��ҵ���ѭ�������ҫ��������ѭ�ҫ��͢�¼�͹���з������Է�����Թ����ѧ����͹��ѧ����������������ͺ ����ҵ�� 78(2) ��觻�������ɮҡ� ŧ�ѹ��� 15 ��Ȩԡ�¹ �.�.2536 ��е������觡����þҡ� ��� �.61/2539 ����ͧ ��äӹdz�����ط�� ����Թ���ط������Ѻ�Ԩ��â����ѧ�������Ѿ�� ŧ�ѹ��� 1 ����Ҥ� �.�. 2539 ����ͻ�ԺѵԵ������觴ѧ�����

: บริษัทได้เรียกเก็บเงินประกันการเช่าจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นประกันว่าผู้เช่าจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าทุกประการตามสัญญาเช่า ดังนี้
    เงินประกัน ผู้เช่าตกลงที่จะมอบเงินประกันการเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเพื่อเป็นการประกันว่าผู้เช่า
จะปฏิบัติตามสัญญาเช่านี้ทุกประการ หากผู้เช่าเดิมผิดสัญญาเช่าและ/หรือบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนวันครบกำหนดอายุสัญญาเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิ์ริบเงินประกันการเช่านี้โดยเต็มจำนวนโดยไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ให้เช่าที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอื่น ๆ อนึ่ง เงินประกันการเช่านี้ มิให้ถือหรือใช้เป็นการชำระเงินค่าเช่าหรือเงินอื่น ๆ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือข้อกำหนดหรือข้อตกลงหรือข้อผูกพันใด ๆ ดังที่ระบุไว้ในสัญญาเช่านี้โดยถูกต้องครบถ้วน ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันดังกล่าวโดยปราศจากดอกเบี้ยให้กับผู้เช่าหลังจากที่ได้หักค่าเสียหาย (ถ้ามี) ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เช่าส่งมอบอุปกรณ์และพื้นที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพเรียบร้อยพร้อมทั้งชำระเงินหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่ค้างชำระทั้งหมดครบถ้วนแล้ว

  นอกจากนั้นบริษัทยังเรียกเงินประกันการรับบริการอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อการประกันว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามสัญญาบริการนี้ทุกประการ ตามสัญญาบริการ ดังนี้
    เงินประกันการรับบริการ ผู้รับบริการตกลงที่จะมอบเงินประกันเพื่อเป็นการประกันว่าผู้รับ
บริการจะปฏิบัติตามสัญญาบริการนี้ทุกประการ หากผู้รับบริการผิดสัญญาบริการ และ/หรือบอกเลิกสัญญาบริการก่อนกำหนดระยะเวลาผู้ให้บริการมีสิทธิ์ริบเงินประกันนี้โดยเต็มจำนวนโดยไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ให้เช่าที่จะได้ชดใช้ค่าเสียหายอื่น ๆ อนึ่ง เงินประกันดังกล่าวนี้มิให้ถือหรือใช้เป็นการชำระเงินค่าบริการหรือเงินอื่น ๆ ไม่ว่ากรณีใด ๆทั้งสิ้น ในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดหรือข้อตกลง หรือข้อผูกพันใด ๆ ดังที่ระบุไว้ในสัญญาบริการนี้โดยถูกต้องครบถ้วน ผู้ให้บริการจะคืนเงินประกันดังกล่าวนี้โดยปราศจากดอกเบี้ยให้กับผู้รับบริการหลังจากที่ได้หักค่าเสียหาย (ถ้ามี) ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้รับบริการในฐานะผู้เช่าได้ส่งมอบพื้นที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าโดยสมบูรณ์ตามสัญญาเช่า นั้น
    1. บริษัทฯ ต้องนำเงินประกันมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในขณะที่ได้เงินประกันนั้นมาหรือไม่
    2. บริษัทฯ ไม่ต้องนำเงินประกันมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในขณะที่ได้เงินประกันนั้นมาเพราะเงินประกันนั้นยังไม่ตกเป็นสิทธิ์ของลูกค้าของบริษัทหรือเป็นเงินที่ลูกค้าของบริษัทฯ พึงได้รับแต่ประการใด ถูกต้องหรือไม่

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4503วันที่: 5 มิถุนายน 2543เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการหักคืนเงินรับล่วงหน้าข้อกฎหมาย: คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541ข้อหารือ: บริษัทเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างได้รับการว่าจ้างจากผู้ว่าจ้างให้ก่อสร้างโดยมีเงื่อนไขการ
ชำระเงินค่าก่อสร้าง ดังนี้
1. ชำระเป็นเงินรับล่วงหน้า (Advance) ร้อยละ 10 ของมูลค่างานทั้งสัญญาเมื่อได้
ลงนามในสัญญา โดยในการรับชำระเงินรับล่วงหน้า บริษัทฯ ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ว่าจ้าง
และได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 3 นำส่งต่อกรมสรรพากรแล้ว
2. ชำระเงินค่างวดผลงานในแต่ละเดือน โดยหักคืนเงินรับล่วงหน้า (Advance) เป็น
จำนวนร้อยละ 10 ของงานที่ทำเสร็จในแต่ละงวดและบริษัทฯ ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจาก
ค่าผลงานสุทธิ หักเงินรับล่วงหน้าและสำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ว่าจ้างก็คำนวณจากค่าผลงานสุทธิหักเงิน
รับล่วงหน้าแล้วเช่นกัน
ต่อมาเกิดเหตุการณ์ทำให้บริษัทฯ ต้องยุติการก่อสร้างโดยผลงานที่ทำเสร็จจริงไม่เต็ม
จำนวนตามสัญญาจ้าง บริษัทฯ ได้เรียกให้ชำระเงินค่าผลงานที่ทำเสร็จไปแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ว่าจ้าง
ยังไม่ได้จ่ายชำระเงินให้บริษัทฯ และตกลงที่จะจ่ายเงินค่าผลงานให้โดยมีเงื่อนไขว่าบริษัทฯ ต้อง
ชำระคืนเงินรับล่วงหน้าคงเหลือทั้งหมดที่ยังไม่ได้ถูกหักคืนจากการชำระเงินค่าผลงานงวดก่อน โดยบริษัทฯ
คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
มูลค่าผลงานส่วนที่ยังไม่ได้มีการชำระเงิน A
หัก เงินรับล่วงหน้าคงเหลือทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักคืนให้ผู้ว่าจ้าง (B)
C
บวก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของ C D
หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ของ C (E)
สุทธิต้องจ่ายเงินให้บริษัทฯ F
บริษัทฯ จึงหารือว่า วิธีการปฏิบัติในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ
บริษัทฯ ข้างต้นปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพียงใด นั้นแนววินิจฉัย: 1. กรณีการหักคืนเงินรับล่วงหน้าจากค่างานงวดสุดท้าย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ
ต้องคำนวณจากเงินค่างานงวดสุดท้ายที่หักด้วยเงินรับล่วงหน้าส่วนที่เหลือจากเงินล่วงหน้าที่ได้หักประจำ
งวด แล้วคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากเงินค่างานในส่วนที่เหลือ ดังนั้น การปฏิบัติของบริษัทฯ
ตามข้อเท็จจริงถูกต้องแล้ว
2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ผู้ว่าจ้างต้องคำนวณจากเงินค่างานงวดสุดท้ายหัก
ด้วยเงินรับล่วงหน้าส่วนที่เหลือจากเงินรับล่วงหน้าที่ได้หักประจำงวด แล้วคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
โดยคำนวณจากเงินค่างานในส่วนที่เหลือ ดังนั้น การปฏิบัติของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงถูกต้องแล้ว ทั้งนี้
ตามข้อ 1(1)(ข) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.73/2541 ฯเลขตู้: 63/29387