การกําหนดราคาขั้นสูง ตัวอย่าง

กําหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Control)

           เป็นนโยบายที่รัฐบาลนํามาใช้เมื่อเห็นว่าราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เป็นราคาที่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะถ้าเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ ดังนั้นรัฐบาลจึงจําเป็นจะต้องหาทางช่วยแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการกําหนดราคาขั้นสูง โดยทั่วไปราคาขั้นสูงมักต่ํากว่าราคาดุลยภาพ นโยบายดังกล่าวมักเรียกกันว่า นโยบายควบคุมราคา (Price Control Policy)

การกําหนดราคาขั้นสูง ตัวอย่าง

(นโยบายการควบคุมราคา)

          จากรูป ราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยกลไกราคา คือ OP0 ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลเห็นว่าสูงเกินไป จึงเข้าแทรกแซงราคาสินค้าให้ต่ําลงเป็น OP1 มีผลทําให้ปริมาณการเสนอซื้อเป็น OQ1 แต่ปริมาณการเสนอขายกลับลดลงเป็น OQ2 เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) = O1Q2 ก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า = Q1Q2

การใช้นโยบายประกันราคาขั้นสูงของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลตามมาคือ

(ก) จะเกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน ใครมาทีหลังไม่ได้ก่อให้เกิดการรอ
คิวเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเวลา ถ้าคิดเป็นเงินแล้วอาจสูงกว่าราคาที่ซื้อขาย

(ข) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพของสินค้า หรือการให้บริการหลังขาย

(ค) เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้ากันอย่างลับๆ ที่เรียกกันว่า ตลาดมืด (Black Market)
โดยราคาที่ซื้อขายจะสูงกว่าราคาควบคุม แต่ไม่สูงกว่าราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายในที่นี้ OP2

เพื่อให้มาตรการการกําหนดราคาขั้นสูงทํางานได้รัฐบาลมักจะใช้นโยบายควบคู่กันไป คือ

(ก) นโยบายการปันส่วน (Rationing Policy)

เพื่อกระจายสินค้าที่มีไม่เพียงพอให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
โดยวิธีการแจกคูปอง ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) การนําเข้า (Import) เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ขาดแคลนทําให้ Supply ของสินค้าเพิ่มขึ้น
เช่นในกรณีที่รัฐบาลเคยนําเข้าปูนซีเมนต์จากจีน หรือน้ําตาลจากอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนสินค้าดังกล่าว

การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน จากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด

ที่มา http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf

การกำหนดราคาขั้นสูง (Price Ceiling: PC)

การกำหนดราคาขั้นสูง   (Price Ceiling หรือ Maximum Price) นั้นหมายถึง ราคาสูงสุดที่ถูกกำหนดขึ้นมาในระดับที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพอันเกิดจากการทำงานของกลไกราคา เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าชนิดต่างๆ สูงเกินไป

การกำหนดราคาขั้นสูงจะเกิดขึ้นในฝั่งของอุปสงค์ เมื่อรัฐบาลเห็นว่า ราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพของสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงเวลาหนึ่งเป็นราคาที่สูงเกินไป ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เช่น ในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อรุนแรง ภาวะที่ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นจนทำให้สินค้าในตลาดขาดแคลน หรือภาวะสงคราม เป็นต้น รัฐบาลจึงต้องมีนโยบายเข้ามาแทรกแซงโดยการกำหนดราคาขั้นสูง เพื่อพยุงราคาให้เกิดการผลิตที่มากขึ้น จนกระทั่งสินค้านั้นๆ มีราคาที่สมดุล ดังแสดงในกราฟ

จากกราฟ สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้คือ

การกําหนดราคาขั้นสูง ตัวอย่าง

ลักษณะที่ 1 รัฐบาลใช้วิธีปันส่วนสินค้าจากจำนวนปริมาณขายที่มีอยู่เป็นเกณฑ์ ซึ่งก็คือ การจำกัดปริมาณการบริโภคลงมาให้เท่ากับปริมาณสินค้า เช่น การแจกคูปองเพื่อใช้ในการแลกซื้อสินค้า ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง โดยผู้ผลิตสามารถนำคูปองดังกล่าวไปขึ้นเงินจากรัฐบาลได้ เป็นต้นจะเห็นได้ว่า วิธีการเช่นนี้ ทำให้เสมือนว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง โดย Shift ลง จากเส้น D (เส้นสีชมพู) มาเป็น D/ (เส้นสีน้ำเงิน) ปัญหาการขาดแคลนสินค้าก็จะหมดไป                      

ลักษณะที่ 2 รัฐบาลจัดหาสินค้าเพิ่มในตลาด ตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ การเพิ่มอุปทานของผู้ผลิต โดยทางเลือกแรก ได้แก่ 2.1) การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือนำสินค้าที่มีในสต็อกออกมาจำหน่าย ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้อุปทานทั้งหมดในตลาดเพิ่มขึ้น เส้นก็จะ Shift ขึ้น จากเส้น S (เส้นสีเขียว) ไปเป็นเส้น S/ (เส้นสีแดง) หรืออีกทางเลือกคือ 2.2) สนับสนุนให้มีการผลิตสินค้าภายในประเทศมากขึ้น ด้วยการที่รัฐออกมาตรการให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตที่อัตรา EC หน่วย (เช่น ลดภาษี เป็นต้น) ก็จะทำให้เส้น S (เส้นสีเขียว) สามารถ Shift มาเป็นเส้น S/ (เส้นสีแดง) ได้เช่นเดียวกัน ปัญหาสินค้าไม่เพียงพอต่อการบริโภคก็จะหมดไป

อย่างไรก็ตาม มาตรการการนำเข้าและการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต ก็ยังมีความแตกต่างกันในประเด็นของการกระจายผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายของรัฐบาล โดยถ้าใช้มาตรการนำเข้า รัฐบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ผู้ผลิตในประเทศจะขายสินค้าได้แค่ในปริมาณ QD และผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศจะขายสินค้าได้ในปริมาณ QC-QD ขณะที่ถ้าใช้มาตรการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต ผู้ผลิตในประเทศจะขายสินค้าได้ทั้งหมดถึง QC แต่รัฐบาลก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย

นอกจากนี้ การที่เกิดกรณีสินค้าในตลาดขาดแคลน หากรัฐบาลไม่มีการเข้ามาแทรกแซง ขณะที่ผู้ผลิตก็ไม่สามารถยกระดับราคาให้สูงขึ้นได้เพราะผิดกฎหมาย ผลที่จะตามมาก็คือ อาจจะทำให้เกิดการกักตุนสินค้าบางส่วนไปขายในตลาดมืด (Black market) หรือตลาดที่มีการซื้อขายกันในราคาที่สูงกว่าที่รัฐบาลกำหนดได้ เนื่องจากมีผู้ซื้อบางรายเต็มใจจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่สูงกว่าในราคาขั้นสูง ขณะเดียวกันผู้ขายก็ยินดีที่จะนำสินค้ามาขายในราคาที่สูงกว่าที่รัฐบาลกำหนดเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การซื้อขายในตลาดเกิดขึ้นในระดับราคาและปริมาณที่เกิดจากการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทานในตลาดมืดนั่นเอง

กล่าวโดยสรุป การช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการกำหนดราคาขั้นสูงทั้ง 2 ลักษณะจะทำให้ราคาที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงต่ำกว่าราคาตลาด (PC < PM) โดยวิธีปันส่วนสินค้าทำให้เสมือนว่าปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดลดลง ขณะที่วิธีการจัดการสินค้ามาเพิ่มในตลาด ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าในตลาดเพิ่มมากขึ้น

สรุปคือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ เพื่อใคร

              รัฐบาลจัดทำการกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ฯ

ที่มาแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://ecokmutt.files.wordpress.com


การกําหนดราคาขั้นสูง ใช้ในกรณีใด

การกำหนดราคาขั้นสูง (maximum price control) การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด

การประกันราคาขั้นสูงหมายถึงอะไร

หมายถึง การที่รัฐเข้าไปกำหนดราคาสินค้าให้สูงกว่าระดับราคา ดุลยภาพเดิมที่เป็นอยู่ วัตถุประสงค์: ส่วนใหญ่ใช้นโยบายนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกร เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำจนสร้างความเดือดร้อนกับเกษตรกร เช่น นโยบายประกันราคาข้าว อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น

การที่รัฐใช้วิธีกำหนดราคาสินค้าขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค หมายถึง ข้อใด

การควบคุมราคาขั้นสูงเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากการที่สินค้าที่จ าเป็นแก่การด ารงชีวิตมีราคากว่าราคาควบคุม เช่น สบู่ ยาสีฟัน น ้ามันพืช ข้าวสาร น ้าตาลทราย นมผงเลี้ยงทารก เนื่องจากขณะนั้นเกิดภาวะข้าวของแพง

การกำหนดราคาขั้นสูงเกิดจากสาเหตุใด

ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาแพง จึงกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาแพง จึงกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาถูก จึงกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาถูก จึงกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค